ฐานข้อมูล เรื่อง พระกำแพงสามขา จังหวัดกำแพงเพชร

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]

ชื่อเรียกทางการ[แก้ไข]

         พระสกุลช่าง กำแพงเพชร

ชื่อเรียกอื่นๆ[แก้ไข]

         พระกำแพงสามขา หรือ พระกำแพงขาโต๊ะ

แหล่งค้นพบ[แก้ไข]

         วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]

         เลขที่ 207 ตําบลในเมือง ถนนเทศา และถนนราชดําเนิน อําเภอเมือง จังหวัดกําแพงเพชร

หน่วยงานที่ดูแลรักษา[แก้ไข]

         วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้ค้นพบ[แก้ไข]

         เจ้าอาวาสวัดเสด็จ ซึ่งไม่มีการบันทึกชื่อเจ้าอาวาสที่ค้นพบ

สถานการณ์ขึ้นทะเบียน[แก้ไข]

         ไม่มีการขึนทะเบียน

สถานที่เก็บรักษา[แก้ไข]

         วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

ข้อมูลทางโบราณคดี[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา[แก้ไข]

         พระสกุลช่างกำแพงเพชร
         พระสกุลช่างเมืองกำแพงเพชร จะเป็นพระที่มีรูปลักษณ์คล้ายพระสุโขทัย แต่จะมีพระพักตร์หน้าที่แตกต่างกัน คือหน้าผากจะกว้างและคางเสี้ยม (เรียวแหลม) ลงมา แต่พระพักตร์ของพระสุโขทัยใบหน้าจะเป็นรูปทรงไข่  พระพุทธรูปเมืองกำแพงเพชร แบ่งออกเป็น 4 หมวด ได้แก่ 
             1. หมวดหน้านางคางหงิก 
             2. หมวดพระพุทธชินราช มีลักษณะคล้ายพระสุโขทัย แต่พิเศษอีก 1 ลักษณะ นิ้วพระหัตถ์จะเรียงยาวเสมอเท่ากันหมด 
             3. หมวดวัดตะกวน จะมีรูปร่างอ้วน พระพักตร์กลม และเศียรใหญ่
             4. หมวดสกุลช่างกำแพงเพชร  หน้าผากจะกว้างและคางเสี้ยม
          พระสกุลช่างเมืองกำแพงเพชรที่มีจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกำแพงเพขร จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ภาพที่ 1 แสดงเศียรพระพุทธรูป.jpg

ภาพที่ 1 แสดงเศียรพระพุทธรูป พระสกุลช่างกำแพงเพชร (พุทธศตวรรษที่ 20)

พบจากการขุดแต่งโบราณสถานในจังหวัดกำแพงเพชร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

          พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเรียวเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งเป็นสัน พระโอษฐ์ค่อนข้างหนา มุมพระโอษฐ์จีบขึ้นเล็กน้อย พระกรรณยาวปลายงอนเล็กน้อย ขมวดพระเกศาบนพระเศียรมีขนาดเล็กมาก พระอุษณีษะนูนใหญ่ พระรัศมีเป็นเปลวสูง มีวงแหวนคั่นระหว่างพระอุษณีษะกับพระรัศมี อันเป็นลักษณะเป็นของพระพุทธรูปสกุลช่างกำแพงเพชร พระอังสาผาย บั้นพระองค์คอดเล็ก ส่วนองค์พระพุทธรูปมีรอยชำรุดแตกร้าว พระพุทธรูปครองจีวรแบบห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายสังฆาฏิพาดอยู่บนพระอังสาซ้ายยาวตกลงมาจรดพระนาภี  ปลายชายสังฆาฏิเป็นลายแฉกคล้ายเขี้ยวตะขาบ พระหัตถ์ขวาวางคว่ำที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นดินเพื่อเรียกพระแม่ธรณีมาเป็นพยาน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐาน
ภาพที่ 2 พระสกุลช่างกำแพงเพชร.jpg

ภาพที่ 2 แสดงรูปลักษณ์พระสกุลช่างกำแพงเพชร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย

พบที่วัดกรุสี่ห้อง จังหวัดกำแพงเพชร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

ภาพที่ 3 พระสกุลช่างกำแพงเพชร.jpg

ภาพที่ 3 แสดงรูปลักษณ์พระสกุลช่างกำแพงเพชร มีการชำรุดตามกาลเวลา

บริเวณฐานที่เป็นสามขา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

         พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร 
         พระพุทธเจ้าหลวงฯ รัชกาลที่ 5 พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2449 ประทับแรมเมืองกำแพงเพชร อยู่ถึง วันที่ 27 สิงหาคม รวมทั้งสิ้น 10 วัน  เพื่อทรงรับทราบถึงความเป็นไปของบ้านเมืองด้วยพระองค์เอง ทรงเยี่ยมเยียนราษฎร และทอดพระเนตรโบราณสถานในเมืองนคาชุมและเมืองกำแพงเพชร และ ทรงบันทึกว่า  
         "วันนี้ ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4โมงเช้าจึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง…ป่าไม้นี้  พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ คลองสวนหมากนี้ ตามลัทธิเก่าถือว่าเป็นที่ร้ายนัก จะขึ้นล่องต้องเมินหน้าไปเสียข้างฝั่งตะวันออก เพียงแต่แลดูก็จับไข้ ความจริงนั้นเป็นที่มีไข้ชุมจริง เพราะเป็นน้ำลงมาแต่ห้วยในป่าไม้แต่เงินไม่เป็นเครื่องห้ามกันให้ผู้ใดกลัวความตายได้ แซงพอกะเหรี่ยงซึ่งเรียกว่า พญาตะก่า พี่พะโป้มาทำป่าไม้ราษฎรที่อยู่ฟากตะวันออกก็พลอยข้ามไปหากินมีบ้านเรือนคนมากขึ้น ความกลัวเกรงก็เสื่อมไป 
         กินข้าวแล้วล่องลงมาขึ้นที่วัดพระธาตุ ซึ่งแต่เดิมเป็นพระเจดีย์อย่างเดียวกับที่วังพระธาตุใหญ่องค์หนึ่ง ย่อมสององค์ พญาตะก่าสร้างรวมสามองค์ เป็นองค์เดียว แปลงรูปเป็นพระเจดีย์มอญ แต่ยังไม่แล้วเสร็จพระยาตะก่าตาย พะโป้จึงได้มาปฏิสังขรณ์ต่อ ได้ยกยอดฉัตรซึ่งมาแต่เมืองมะระแหม่งพึ่งแล้ว แต่ฐานชุกชียังถือปูนไม่รอบ พระเจดีย์นี้ทาสีเหลือง มีลายปูนขาว แลดูในแม่น้ำงามดี 
          มีราษฎรมาหาเป็นอันมาก ขากลับลงเรือชะล่าล่องไปขึ้นท้ายเมืองใหม่ เดินขึ้นมาจนถึงพลับพลา ที่เมืองใหม่นี้มีถนนสองสาย ยาวขึ้นมาตามลำน้ำ เคียงกันขึ้นมา มาแต่ท้ายเมืองถึงพลับพลาประมาณ 20 เส้น วันนี้ถ่ายรูปได้มาก แต่สนุก ได้ตัดผมตามพระเทพาภรณ์ขึ้นมาจากบางกอกโดยทางรถไฟลงเรือมาแต่นครสวรรค์ เพราะหาเวลาตัดผมไม่ได้"
ภาพที่ 4 พระบรมฉายาลักษณ์.jpg

ภาพที่ 4 แสดงพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 5 และ ข้าราชบริพารผู้ติดตาม

ในเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

ภาพที่ 5 เสด็จประพาสต้น.jpg

ภาพที่ 5 แสดงเรือที่ใช้เสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร

          ตามประวัติการเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เป็นหลักฐานยืนยันว่ามีวัดเสด็จอยู่ก่อนแล้ว แต่ไม่มีประวัติการก่อสร้างวัดที่ไม่มีการบันทึกถึง พ.ศ. ที่สร้างได้แน่ชัด จากการสัมภาษณ์พระครูสุทธิวชิรศาสน์ ได้ทราบว่าเกิดจากการสันนิษฐานว่า แต่ ณ ขณะที่ รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นได้มีประชาชนมารอรับเสด็จบริเวณหน้าวัดเป็นจำนวนมากขณะที่เสด็จผ่าน จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อวัดว่า “วัดเสด็จ” บางแหล่งก็ให้ข้อมูลว่า เคยเห็นพระธาตุเสด็จจากวัดนี้ (เจดีย์องค์ที่ ปรักหักพังแล้วได้สร้างมณฑปทับได้ ซึ่งจะได้กล่าวในเรื่องการสร้างมณฑปอีกครั้งหนึ่ง) ไปยังเจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุฝั่งนครชุมและ ในบางครั้งพระธาตุก็จะเสด็จมาจากวัดพระบรมธาตุมายังวัดเสด็จ ด้วยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่งที่กล่าวมานี้ จึงได้มีนามว่า “วัดเสด็จ” หรือ สมเด็จพุฒาจารย์โต หรือหลวงพ่อโต เสด็จมาเยี่ยมญาติที่กําแพงเพชร หลายเพลา ได้ประทับพักแรม ที่วัดเสด็จ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อวัดเสด็จก็เป็นได้ 
          ปัจจุบันวันเสด็จ วัดเสด็จตั้งอยู่บริเวณถนนเทศา และถนนราชดําเนิน เลขที่ 207 ตําบลในเมือง อําเภอเมือง จังหวัดกําแพงเพชร มี โบราณสถานที่สำคัญภายในวัดได้แก่ มณฑป และมณฑปประดิษฐานพระประธาน มีเสนาสนะภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ  วิหาร  และพระประธานในอุโบสถ 
ภาพที่ 6 แสดงภาพพระอุโบสถ.png

ภาพที่ 6 แสดงภาพพระอุโบสถในอดีต

          วัดเสด็จได้พบ จารึกรอยพระพุทธบาทวัดเสด็จ หลักที่ 52 แผ่นรูปรอยพระพุทธบาท (ชำรุด) เป็นวัตถุโลหะ ขนาดกว้าง 105.5 เซนติเมตร ยาว 154 เซนติเมตร อักษรขอมสุโขทัย ไม่ปรากฏหลักฐานผู้พบ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งวัดได้ทีมีรอยพระพุทธบาทจำลอง เพื่อให้ประชาชนกราบไหว้ซึ่งประดิษฐานอยู่ในมณฑปวับเสด็จ
ภาพที่ 7 แสดงภาพรอยพระพุทธบาท.png

ภาพที่ 7 แสดงภาพรอยพระพุทธบาทจำลอง

          วัดเสด็จได้มี พระกำแพงสามขา หรือ พระกำแพงขาโต๊ะ เป็นชื่อเรียกที่ทางวัดและคนในชุมชนนิยมเรียก ซึ่งเป็นพระที่มีความเก่าแก่ แต่เนื่องด้วยตามประวัติแล้วไม่สามารถยืนยันได้ถึงปีที่สร้างพระกำแพงสามขา เพราะไม่สามารถระบุที่แน่ชัดในการสร้างวัด ผู้สร้างวัด และผู้สร้างพระได้มีเพียงข้อสันนิษฐานที่มาขอชื่อวัด ได้สันนิษฐานว่า อาจมีการสร้างตั้งแต่สมัยสุโขทัย เนื่องจากศิลปะของฐานพระที่มีสามขา และบางวัด บางจังหวัดอาจมี 4-5 ขา มีลักษณะคล้ายพระสกุลช่างที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑสภานแห่งชาติ 
         พระกำแพงสามขา
          พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ เป็นพระที่พบเจอครั้งแรก ในปี 2549 โดยพบใต้ฐานพระประธานในอุโบสถ เป็นพระเนื้อโลหะ ลักษณะคล้ายพระสกุลช่างดังที่ได้กล่าวข้างต้น แต่ไม่สามารถสืบทราบ ปี พศ. ที่ได้จัดสร้าง ไม่มีข้อมูลผู้สร้างพระ มีเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีการสร้างตั้งแต่ก่อนมีวัดเสด็จ เพราะการขุดพบนั้น ได้ขุดพบบริเวณใต้ฐานพระประธาน นั่นหมายถึง มีการสร้างก่อนที่รัชกาลที่ 5 เสด็จพระพาสต้น และศิลปะเป็นแบบสุโขทัย ซึ่งเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ มีฐานคล้ายขาโต๊ะ เป็น 3 ขา จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นศิลปะแบบเดียวกันกับพระสกุลช่าง กำแพงเพชร แต่พระที่วัดเสด็จไม่ได้มีการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร ในปัจจุบัน 
ภาพที่ 8 พระกำแพงสามขา.jpg

ภาพที่ 8 พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร องค์ที่ 1 ณ วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

ภาพที่ 9 พระกำแพงสามขา.jpg

ภาพที่ 9 พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร องค์ที่ 2 ณ วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

          นอกจากนี้ พระสกุลช่าง กำแพงเพชร ซึ่งมีรูปลักษณ์แบบพระกำแพงสามขา วัดเสด็จ กำแพงเพชร ยังได้ขุดพบเจอที่วัดอื่นอีก เช่น วัดอาวาสน้อย และอาจพบเจอในวัดอื่นๆในจังหวัดกำแพงเพชรอีกแต่ไม่ได้มีการบันทึก หรือ พูดปากต่อปากของคนในชุมชน เนื่องจากมีการซื้อขายวัตถุมงคลโบราณในตลาดนักสะสมพระกรุ และหากสืบทราบว่าใคร หรือวัดใด มีวัตถุมงคล จะมักเกิดเหตุการณ์ลักขโมย เพื่อนำไปขายให้กับกลุ่มนักสะสมในราคาที่สูงได้ แม้หากชาวบ้านในชุมชนขุดพบ ก็มักจะไม่เปิดเผยแก่บุคคลทั่วไป อาจสะสมไว้กราบไว้บูชาเองหรือนำไปขายเพื่อให้ได้ราคาสูง
              - สมัย/วัฒนธรรม
                สมัยสุโขทัย – ต้นอยุธยา
              - อายุทางโบราณคดี
                • ยุคสมัยสุโขทัย
                • ยุคสมัยอยุธยา
                • ยุคสมัยรัตนโกสินทร์
             - อายุทางวิทยาศาสตร์
               ไม่มีการพิสูจน์อายุมวลทางทางวิทยาศาสตร์
             - อายุทางตำนาน
               สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 – 20) 761 ปี
               สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20 – 21) 661 ปี
             - ประเภทของแหล่งโบราณคดี
               วัตถุโบราณ

ข้อมูลจำเพาะวัตถุโบราณ[แก้ไข]

คำอธิบาย/ลักษณะ/รูปร่าง รูปทรง[แก้ไข]

         พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเรียวเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งเป็นสัน พระโอษฐ์ค่อนข้างหนา มุมพระโอษฐ์จีบขึ้นเล็กน้อย พระกรรณยาวปลายงอนเล็กน้อย ขมวดพระเกศาบนพระเศียรมีขนาดเล็กมาก พระอุษณีษะนูนใหญ่ พระรัศมีเป็นเปลวสูง มีวงแหวนคั่นระหว่างพระอุษณีษะกับพระรัศมี อันเป็นลักษณะเป็นของพระพุทธรูปสกุลช่างกำแพงเพชร พระอังสาผาย บั้นพระองค์คอดเล็ก ส่วนองค์พระพุทธรูปมีรอยชำรุดแตกร้าว พระพุทธรูปครองจีวรแบบห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายสังฆาฏิพาดอยู่บนพระอังสาซ้ายยาวตกลงมาจรดพระนาภี ปลายชายสังฆาฏิเป็นลายแฉกคล้ายเขี้ยวตะขาบ พระหัตถ์ขวาวางคว่ำที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นดิน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐาน 

วัสดุผลิตภัณฑ์[แก้ไข]

         โลหะสัมฤทธิ์

ประเภทการใช้งาน[แก้ไข]

          กราบไหว้ บูชา

กระบวนการผลิต/ ขั้นตอนการใช้งาน[แก้ไข]

          หล่อสัมฤทธิ์ 

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]

          พิพิธภัณทสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
          วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]

         11 มีนาคม 2561

วันเดือนปีที่ปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

          -

ผู้สำรวจ[แก้ไข]

         นางสาวพลอยพรรณ สอนสุวิทย์

คำสำคัญ (Tag)[แก้ไข]

         พระกำแพงสามขา, วัดพระสกุลช่างกำแพงเพชร, วัดเสด็จ