ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง จังหวัดกำแพงเพชร"
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 39: | แถว 39: | ||
<p align = "center"> '''ภาพที่ 9 เสาธรรมจักร''' </p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 9 เสาธรรมจักร''' </p> | ||
<p align = "center"> (ที่มา: ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร และคณะ, 2562) </p> | <p align = "center"> (ที่มา: ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร และคณะ, 2562) </p> | ||
+ | === พระพุทธเจ้าเงินไหลมา === | ||
+ | พระพุทธเจ้าเงินไหลมา เป็นพระประธานภายในโบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง จังหวัดกำแพงเพชร มีรูปแบบศิลปะหมวดกำแพงเพชร แบบพระพุทธสิหิงค์ เนื้อเงินบริสุทธิ์ทั้งองค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 32 นิ้ว หนักประมาณ 400 กิโลกรัม | ||
+ | พระครูวิเชียรธรรมนาทเปิดเผยว่า พระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ มีรูปแบบศิลปกรรมแบบพระกำแพงเพชร หรือที่เรียกว่า สกุลช่างกำแพงเพชร โดยพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ ตามตำนานล้านนาเล่าว่า เจ้าเมืองกำแพงเพชร ชื่อพระยาญาณดิศ (อำมาตย์ปัญญา) ซึ่งเป็นโอรสบุญธรรมของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ในสมัยอยุธยา ได้นำพระพุทธสิหิงค์มาไว้ที่กำแพงเพชร เพื่อบูชาให้เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่สักการะของสมณชีพราหมณ์ และชาวเมืองกำแพงเพชร ภายหลังทางอยุธยาได้ขอพระพุทธสิหิงค์คืน โดยอ้างว่าพระยาญาณดิศนำพระพุทธสิหิงค์มาโดยไม่ได้บอกทางอยุธยา และพระยาญาณดิศจึงมีความประสงค์จะจำลองพระพุทธสิหิงค์ไว้ แต่ทางอยุธยาไม่อนุญาต จึงทำให้พระยาญาณดิศทั้งสมณชีพราหมณ์ และชาวเมืองกำแพงเพชร เสียใจเป็นอย่างมาก เพราะพระพุทธสิหิงค์เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองแต่ไม่ได้อยู่ที่กำแพงเพชรอีกต่อไป (สยามคเณศ, ม.ป.ป., ออนไลน์) | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 10 พิธีเทเนื้อเงินหล่อ.jpg|400px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 10 พิธีเทเนื้อเงินหล่อพระประธานพระพุทธเจ้าเงินไหลมา''' </p> | ||
+ | <p align = "center"> (ที่มา: สยามคเณศ, ม.ป.ป., ออนไลน์) </p> | ||
+ | ต่อมาในปี พ.ศ.2557 วัดหนองปลิง พร้อมทั้งผู้มีจิตศรัทธา สาธุชนทุกท่าน มีความปรารถนาและความตั้งใจหล่อพระซึ่งเป็นศิลปะหมวดกำแพงเพชร แบบพระพุทธสิหิงค์ ชื่อ "พระพุทธเจ้าเงินไหลมา" ให้ได้สำเร็จตามความประสงค์ของพระยาญาณดิศ พร้อมบรรพบุรุษในอดีต และนำมาประดิษฐานไว้ในโบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อให้สมเกียรติและเป็นประวัติศาสตร์ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองชาวกำแพงเพชรสืบต่อไป | ||
+ | == บทสรุป == | ||
+ | ประวัติและความสำคัญของวัดมีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ นอกจากนี้วัดยังมีความสำคัญในแง่เป็นสิ่งแสดงถึงความศรัทธา แสดงประวัติศาสตร์และบริบทความเชื่อของคนในช่วงเวลาของการสร้างศาสนสถานด้วย นักท่องเที่ยวชาวไทยจะเข้ามาทัศนศึกษาเพื่อเป้าหมายทางศาสนา ส่วนนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะเข้ามาทัศนศึกษาเพื่อแสวงหาความรู้ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและความเชื่อของคนไทยในอดีต และคนไทยในปัจจุบัน ซึ่งวัดหรือศาสนสถานจะสะท้อนมิติทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของคนไทยได้อย่างดีจะเห็นได้ว่าวัดหนองปลิงที่กล่าวข้างต้น แต่ละประเภทก็จะมีองค์ประกอบที่แสดงให้เห็นมิติทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมได้อย่างดี เช่น โบสถ์ศิลาแลง มีพระประธานภายในโบสถ์ คือ พระพุทธเจ้าเงินไหลมา ซึ่งจะแสดงสถาปัตยกรรมการออกแบบตามแบบแผนสกุลช่างของจังหวัดกำแพงเพชร และยังเป็นที่แสดงภาพแกะสลักที่ปรากฏภายนอกตามผนังโบสถ์ และกำแพงรอบโบสถ์ซึ่งแสดงพระไตรปิฎก พระธรรมจักร ภาพคติธรรมและพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ใช้เป็นหลักยึดถือร่วมกัน ภาพแกะสลักนี้ในแต่ละช่องจะมีภาพที่แสดงแตกต่างกันเพื่อต้องการสื่อสารให้ผู้มาเที่ยวชมได้รับทราบถึงแง่คิด ความเชื่อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนมิติทางความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้สร้างได้ เมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามาทัศนศึกษาจะเข้าใจสังคมไทยได้อย่างดี |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:04, 11 มกราคม 2564
เนื้อหา
บทคัดย่อ[แก้ไข]
ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา มีองค์ประกอบ คือ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ สถูป พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ และกุฏิ หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุ สามเณร เป็นศูนย์กลางสังคมของพุทธศาสนิกชน และเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมประเพณีในพระพุทธศาสนา เป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ซึ่งพุทธศาสนิกชนนิยมไปกราบไหว้บูชา และร่วมกิจกรรมต่างๆ ในพุทธศาสนา (พระครูสันติธรรมาภิรัต, 2557, หน้า 89) เพราะวัดเป็นศูนย์กลางของสังคม และพระสงฆ์ซึ่งเป็นตัวแทนของวัดเป็นผู้นำของจิตใจของประชาชนเป็นศูนย์รวมแห่งความเชื่อถือการร่วมมือกัน เป็นที่ประกอบพิธีกรรม เป็นเบ้าหล่อหลอมวิถีชีวิตชาวพุทธไทย วัดเป็นแหล่งรวมของศิลปกรรมอันล้ำค่าทั้งด้านสถาปัตยกรรม ปฏิมากรรมและจิตรกรรม ที่ศิลปินได้ถ่ายทอดลักษณะเด่นของคำสอนทางพระพุทธศาสนาออกมาในงานศิลปะอย่างกลมกลืนน่าชื่นชมเป็นพุทธศิลป์ที่ให้คุณค่าทั้งด้านความงามและทั้งเป็นสื่อให้คนได้เข้าถึงธรรมปฏิบัติซึ่งช่วยกล่อมเกลาจิตใจมนุษย์ให้อ่อนโยนและสะอาด บริสุทธิ์ขึ้น พุทธศิลป์ที่ปรากฏในวัดจึงเป็นศิลปะแห่งอุดมคติที่ให้คุณค่าและความหมายเชิงจริยธรรมอย่างสูง (ภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม, 2556, น.72) สำหรับแนวทางการสนับสนุนให้ศาสนสถานที่สำคัญของวัดให้เป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยว อาทิเช่น พระปรางค์ อุโบสถวิหาร สถูปเจดีย์ พระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ หอไตร เป็นต้น นอกจากจะเป็นสิ่งจูงใจให้ประชาชนสนใจเข้าวัดมากขึ้น ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงอายธรรม ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และเทคโนโลยี รวมถึงวัดยังเป็นแหล่งเชื่อมโยงความเป็นมาของวัฒนธรรมกับชุมชน และยังเป็นสถานที่ที่รวบรวมมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาและอัจฉริยะของบรรพบุรุษที่เกิดการสั่งสมและถ่ายทอดทางวัฒนธรรม จังหวัดกำแพงเพชร มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ โบราณสถาน โบราณวัตถุ โดยเฉพาะกลุ่มแหล่งท่องเที่ยววัดในจังหวัดกำแพงเพชร มีวัดที่สำคัญและมีชื่อเสียงจำนวนมาก เช่น วัดพระแก้ว วัดพระสี่อิริยาบถ ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร วัดพระบรมธาตุนครชุม รอยะพระพุทธบาทจำลอง วัดเสด็จ หลวงพ่อโม้ วัดเทพโมฬี หลวงพ่อเพชร วัดบาง หลวงพ่อโต วัดคูยาง หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ โบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง เป็นต้น จะเห็นได้ว่า วัดในปัจจุบันเป็นศูนย์รวมของมรดกวัฒนธรรมและสรรพวิชาอันหลากหลายนับตั้งแต่โบราณกาล มีพระสงฆ์เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้อนุรักษ์สืบสาน และใช้ประโยชน์ในการประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา และกิจกรรมอื่นๆ ของชุมชน ปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป บทบาทของวัดและพระสงฆ์ลดลงไปจากเดิม แต่กระนั้นวัดและพระสงฆ์ก็ยังปรับเปลี่ยนบทบาทให้สอดคล้องกับสภาพสังคม โดยบทบาทหลักของวัดก็ยังคงเป็นสถานที่พำนักของพระสงฆ์สามเณร เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฏิบัติธรรม สืบทอดและเผยแผ่หลักธรรมคำสั่งสอน และยังมีฐานะเป็นแหล่งประดิษฐานและรวบรวมของมรดกทางศิลปวัฒนธรรมทั้งที่เป็นโบราณสถานโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ตลอดถึงการเป็นศูนย์กลางในการประกอบประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน ดังนั้น วัดจึงมีบทบาทอีกอย่างหนึ่งคือ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นอีกบทบาทหนึ่งของวัดที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงพุทธ จึงเป็นกระบวนการพัฒนาวัดในประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยจะต้องเริ่มจากกระบวนการพัฒนาวัดให้เจริญ ทำให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงพุทธ ซึ่งอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านระบบการทำงาน เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาวัด เพิ่มการดูแลรักษาให้วัดมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด จัดวัดให้ดูโปร่ง สบายตา ไม่รกทึบ และเป็นสถานที่สงบ ไม่มีเสียงอึกทึกครึกโครม ที่เป็นเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวของวัด เพื่อให้เกิดศรัทธาแก่นักท่องเที่ยว โดยเริ่มจากการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธ เป็นการเดินทางไปท่องเที่ยวยังศาสนสถาน เพื่อเยี่ยมชมหรือบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ นมัสการศาสนสถาน และพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ทำบุญทำทานและการสาธารณกุศลต่างๆ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาด้วย หรืออาจจะบำเพ็ญสาธารณกุศลในงานเทศกาลประเพณีต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ ประกอบการเรียนรู้ การสัมผัส การชื่นชมเอกลักษณ์ความงดงามทางวัฒนธรรม คุณค่าทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของกลุ่มชนอื่น (พระครูสังฆรักษ์วุฒิพงษ์ วุฑฒิวโส, 2560, น.90)
คำสำคัญ : วัดหนองปลิง, โบสถ์ศิลาแลง
บทนำ[แก้ไข]
วัดหนองปลิง[แก้ไข]
วัดหนองปลิง ตั้งอยู่บ้านคลองบางทวน ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร จากคำบอกเล่า เชื่อว่าบริเวณละแวกนี้เคยเป็นหนองน้ำและมีปลิงจำนวนมาก จึงทำให้คนในชุมชนเรียกขานนามว่า หนองปลิง วัดหนองปลิง ได้รับอนุญาตก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2540 โดยมีพระครูวิเชียรธรรมนาทหรือหลวงพ่อสีหนาท เป็นท่านเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ และเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก แต่เดิมสถานที่บริเวณวัดหนองปลิงแห่งนี้เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทั้ง 2 พระองค์เคยใช้บริเวณนี้เป็นสถานที่พักรบและซ้อมรำดาบ รำทวน ทั้งยังเป็นเมืองหน้าด่าน ชื่อว่า “เมืองเนินทอง” ตามประวัติของวัดหนองปลิงจะมีที่ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประมาณ 3 กิโลเมตร ส่วนทางด้านหน้าของวัดหนองปลิง มีคลองน้ำยาวไปถึงศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย จนทำให้ตลอดเส้นทางบริเวณนี้เกิดหมู่บ้านขึ้น และได้รับการขานนามตามประวัติศาสตร์ว่า “คลองรำดาบรำทวน” และต่อมาชาวบ้านก็ได้เรียกบริเวณนี้ว่า “คลองบางทวน” (เอ็มไทย, 2561, ออนไลน์) วัดหนองปลิง ตั้งอยู่ตั้งอยู่บนเนินเขา บริเวณหน้าวัดมีรูปปั้นพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์เดินรับบิณฑบาตตลอดเส้นทาง ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 บริเวณด้านหน้าวัดหนองปลิง
(ที่มา: สำนักปฏิบัติธรรม วัดหนองปลิง, 2562)
ปัจจุบันวัดหนองปลิงได้การรับแต่งตั้งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกำแพงเพชรแห่งที่ 2 (ดีเด่น) ภายในวัด ประกอบด้วย อาคารขนาดใหญ่สามชั้น ชั้นแรกเป็นห้องพักสำหรับผู้มาอาศัยปฏิบัติธรรม ชั้นที่ 2 เป็นห้องสำหรับประกอบพิธีบุญ และชั้นที่ 3 เป็นห้องโถงขนาดใหญ่ที่ใช้อบรมสัมมนา (สันติ อภัยราช, 2560, ออนไลน์) ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 อาคารปฏิบัติธรรม วัดหนองปลิง
(ที่มา: ข่าวจังหวัดกำแพงเพชร, 2559, ออนไลน์)
โบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง[แก้ไข]
ศิลาแลง (Laterite) เป็นวัสดุธรรมชาติที่เกิดขึ้นบริเวณมรสุมเขตร้อน ซึ่งคนในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้จักและนำมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานานแล้ว มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์รู้จักนำศิลาแลงมาบดผสมกับยางไม้ใช้เป็นสีในการวาดภาพตามถ้ำและหน้าผาหิน นอกจากนั้นคนในภูมิภาคนี้ได้นำศิลาแลงมาใช้ในการก่อสร้างวัดและปราสาทหินดังที่พบเห็นในประเทศไทย กัมพูชา และลาว มีอายุย้อนหลังไปตั้งแต่ 700 – 1,000 ปี ที่ผ่านมา โดยทั่วไปจะพบเห็นศิลาแลงอยู่บนผิวดินหรือใต้ผิวดินเพียงเล็กน้อย ศิลาแลงจึงจัดเป็นตะกอนพื้นผิว ที่เป็นผลมาจากกระบวนการผุพังทางธรณีวิทยา และพบในประเทศที่อยู่ในมรสุมเขตร้อนเท่านั้น การผุพังในกระบวนการเกิดศิลาแลงส่วนมากเป็นการผุพังทางเคมี ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสภาพ ของแร่ที่ประกอบอยู่ในหิน หรือในตะกอนที่สะสมตัวอยู่บริเวณนั้น ศิลาแลงจะมีโทนสีแดง แดงปนเหลือง แดงอมส้ม น้าตาลแดง และสีอิฐ เป็นต้น สีของศิลาแลงส่วนมากจะขึ้นอยู่กับปริมาณของเหล็กและแมงกานีสตามระยะเวลาที่เกิดการผุพังทางเคมี รวมทั้งปริมาณของธาตุอื่นที่ประกอบอยู่ในศิลาแลง เช่น อลูมิเนียม ปกติจะมีสีขาวแต่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ำเมื่อผสมกับเหล็กซิลิกาจะมีสีแดงแบบสนิมเหล็กเมื่อผสมกับไฮดรอกไซด์ของเหล็ก (สิน สินสกุล, ม.ป.ป., ออนไลน์) ซึ่งสถานที่ที่สามารถพบศิลาแลง ได้แก่ บริเวณเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ วัดอาวาสใหญ่ วัดซุ้มกอ วัดสิงห์ วัดกรุสี่ห้อง และบ่อศิลาแลงพรานกระต่าย เป็นต้น ดังภาพที่ 3
ภาพที่ 3 บ่อศิลาแลง และการตัดศิลาแลง ของจังหวัดกำแพงเพชร
(ที่มา: บุญส่ง จอมดวง, 2556, ออนไลน์)
โบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2557 โดยใช้หินศิลาแลงในการก่อสร้างทั้งหลัง ด้วยความตั้งใจของหลวงพ่อสีหนาท ท่านเจ้าอาวาสวัดหนองปลิง เพราะศิลาแลงเป็นวัสดุขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร ดั่งคำขวัญจังหวัดท่อนหนึ่งว่า “ศิลาแลงใหญ่” โดยให้ช่างผู้ชำนาญเป็นผู้แกะสลักศิลาแลงเป็นลวดลายต่างๆ ที่มีความปราณีตและละเอียดทุกกระเบียดนิ้ว
ภาพที่ 4 โบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง
(ที่มา: ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร และคณะ, 2562)
บริเวณด้านหน้าทางขึ้นประดับด้วยรูปปั้นของนาคี-นาคา เป็นผู้คอยปกปักรักษาโบสถ์ และรูปปั้นช้างทรงเครื่อง หน้าประตูทางเข้าโบสถ์ ประดับด้วยท้าวเวสสุวรรณ ส่วนผนังโบสถ์ด้านหลังสลักเป็นพระพุทธรูปปางเปิดโลก อิริยาบถยืนอยู่เหนือดอกบัว ข้างใต้พระพุทธรูปเป็นภาพนักษัตร 12 ราศี เปรียบเหมือนพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ ตลอดจนกำแพงรอบโบสถ์ก็ยังแกะสลักเป็นคติสอนธรรมและพุทธประวัติ รวมแล้วมีมากกว่าหนึ่งร้อยช่อง ภายในโบสถ์ ใช้ไม้ตะเคียนเนื้อแข็งแท้จากประเทศพม่าแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ ทั้งหลัง
ภาพที่ 5 รูปปั้นนาคี-นาคา ผู้คอยปกปักรักษาโบสถ์
(ที่มา: ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร และคณะ, 2562)
ภาพที่ 6 รูปปั้นช้างทรงเครื่อง หน้าประตูทางเข้าโบสถ์
(ที่มา: ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร และคณะ, 2562)
ภาพที่ 7 พระพุทธรูปปางเปิดโลก อิริยาบถยืนอยู่เหนือดอกบัว
(ที่มา: ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร และคณะ, 2562)
ภาพที่ 8 ท้าวเวสสุวรรณ
(ที่มา: ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร และคณะ, 2562)
ภาพที่ 9 เสาธรรมจักร
(ที่มา: ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร และคณะ, 2562)
พระพุทธเจ้าเงินไหลมา[แก้ไข]
พระพุทธเจ้าเงินไหลมา เป็นพระประธานภายในโบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง จังหวัดกำแพงเพชร มีรูปแบบศิลปะหมวดกำแพงเพชร แบบพระพุทธสิหิงค์ เนื้อเงินบริสุทธิ์ทั้งองค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 32 นิ้ว หนักประมาณ 400 กิโลกรัม พระครูวิเชียรธรรมนาทเปิดเผยว่า พระพุทธสิหิงค์ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรค์ มีรูปแบบศิลปกรรมแบบพระกำแพงเพชร หรือที่เรียกว่า สกุลช่างกำแพงเพชร โดยพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ ตามตำนานล้านนาเล่าว่า เจ้าเมืองกำแพงเพชร ชื่อพระยาญาณดิศ (อำมาตย์ปัญญา) ซึ่งเป็นโอรสบุญธรรมของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ในสมัยอยุธยา ได้นำพระพุทธสิหิงค์มาไว้ที่กำแพงเพชร เพื่อบูชาให้เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่สักการะของสมณชีพราหมณ์ และชาวเมืองกำแพงเพชร ภายหลังทางอยุธยาได้ขอพระพุทธสิหิงค์คืน โดยอ้างว่าพระยาญาณดิศนำพระพุทธสิหิงค์มาโดยไม่ได้บอกทางอยุธยา และพระยาญาณดิศจึงมีความประสงค์จะจำลองพระพุทธสิหิงค์ไว้ แต่ทางอยุธยาไม่อนุญาต จึงทำให้พระยาญาณดิศทั้งสมณชีพราหมณ์ และชาวเมืองกำแพงเพชร เสียใจเป็นอย่างมาก เพราะพระพุทธสิหิงค์เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองแต่ไม่ได้อยู่ที่กำแพงเพชรอีกต่อไป (สยามคเณศ, ม.ป.ป., ออนไลน์)
ภาพที่ 10 พิธีเทเนื้อเงินหล่อพระประธานพระพุทธเจ้าเงินไหลมา
(ที่มา: สยามคเณศ, ม.ป.ป., ออนไลน์)
ต่อมาในปี พ.ศ.2557 วัดหนองปลิง พร้อมทั้งผู้มีจิตศรัทธา สาธุชนทุกท่าน มีความปรารถนาและความตั้งใจหล่อพระซึ่งเป็นศิลปะหมวดกำแพงเพชร แบบพระพุทธสิหิงค์ ชื่อ "พระพุทธเจ้าเงินไหลมา" ให้ได้สำเร็จตามความประสงค์ของพระยาญาณดิศ พร้อมบรรพบุรุษในอดีต และนำมาประดิษฐานไว้ในโบสถ์ศิลาแลง วัดหนองปลิง จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อให้สมเกียรติและเป็นประวัติศาสตร์ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองชาวกำแพงเพชรสืบต่อไป
บทสรุป[แก้ไข]
ประวัติและความสำคัญของวัดมีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ นอกจากนี้วัดยังมีความสำคัญในแง่เป็นสิ่งแสดงถึงความศรัทธา แสดงประวัติศาสตร์และบริบทความเชื่อของคนในช่วงเวลาของการสร้างศาสนสถานด้วย นักท่องเที่ยวชาวไทยจะเข้ามาทัศนศึกษาเพื่อเป้าหมายทางศาสนา ส่วนนักท่องเที่ยวต่างประเทศจะเข้ามาทัศนศึกษาเพื่อแสวงหาความรู้ทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและความเชื่อของคนไทยในอดีต และคนไทยในปัจจุบัน ซึ่งวัดหรือศาสนสถานจะสะท้อนมิติทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของคนไทยได้อย่างดีจะเห็นได้ว่าวัดหนองปลิงที่กล่าวข้างต้น แต่ละประเภทก็จะมีองค์ประกอบที่แสดงให้เห็นมิติทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมได้อย่างดี เช่น โบสถ์ศิลาแลง มีพระประธานภายในโบสถ์ คือ พระพุทธเจ้าเงินไหลมา ซึ่งจะแสดงสถาปัตยกรรมการออกแบบตามแบบแผนสกุลช่างของจังหวัดกำแพงเพชร และยังเป็นที่แสดงภาพแกะสลักที่ปรากฏภายนอกตามผนังโบสถ์ และกำแพงรอบโบสถ์ซึ่งแสดงพระไตรปิฎก พระธรรมจักร ภาพคติธรรมและพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่ใช้เป็นหลักยึดถือร่วมกัน ภาพแกะสลักนี้ในแต่ละช่องจะมีภาพที่แสดงแตกต่างกันเพื่อต้องการสื่อสารให้ผู้มาเที่ยวชมได้รับทราบถึงแง่คิด ความเชื่อ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะสะท้อนมิติทางความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้สร้างได้ เมื่อนักท่องเที่ยวเข้ามาทัศนศึกษาจะเข้าใจสังคมไทยได้อย่างดี