ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(สร้างหน้าด้วย "== บทคัดย่อ == ประเพณี หมายถึง การทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย...")
 
แถว 1: แถว 1:
 
== บทคัดย่อ ==
 
== บทคัดย่อ ==
 
           ประเพณี หมายถึง การทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างสืบเนื่อง มีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งมายังรุ่นต่อๆ มาได้ ถ้าหากผู้หนึ่งผู้ใดไม่เห็นด้วยหรือไม่ทำตามก็อาจถือได้ว่ากระทำผิดประเพณี อาจได้รับการติฉินนินทาหรือแม้กระทั่งการถูกลงโทษ ประเพณีและพิธีกรรมในประเทศไทยเกิดจากความเชื่อในอำนาจลี้ลับเหนือธรรมชาติและศาสนา อันประกอบด้วยพุทธและพราหมณ์ มีการปฏิบัติเพื่อบูชาตามความเชื่อดังกล่าวผ่านประเพณีและพิธีกรรมในรอบปีหรือประเพณี 12 เดือน ทั้งนี้จำแนกได้เป็น ประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร์หรือประเพณีท้องถิ่น ประเพณีหลวง คือ ประเพณีและพิธีกรรมอันเกี่ยวแก่พระมหากษัตริย์ ขณะที่ประเพณีราษฎร์หรือประเพณีท้องถิ่น คือ ประเพณีและพิธีกรรมอันเกี่ยวแก่ราษฎร มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่เนื่องจากมีประวัติศาสตร์ความเป็นมา และสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2559)
 
           ประเพณี หมายถึง การทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างสืบเนื่อง มีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งมายังรุ่นต่อๆ มาได้ ถ้าหากผู้หนึ่งผู้ใดไม่เห็นด้วยหรือไม่ทำตามก็อาจถือได้ว่ากระทำผิดประเพณี อาจได้รับการติฉินนินทาหรือแม้กระทั่งการถูกลงโทษ ประเพณีและพิธีกรรมในประเทศไทยเกิดจากความเชื่อในอำนาจลี้ลับเหนือธรรมชาติและศาสนา อันประกอบด้วยพุทธและพราหมณ์ มีการปฏิบัติเพื่อบูชาตามความเชื่อดังกล่าวผ่านประเพณีและพิธีกรรมในรอบปีหรือประเพณี 12 เดือน ทั้งนี้จำแนกได้เป็น ประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร์หรือประเพณีท้องถิ่น ประเพณีหลวง คือ ประเพณีและพิธีกรรมอันเกี่ยวแก่พระมหากษัตริย์ ขณะที่ประเพณีราษฎร์หรือประเพณีท้องถิ่น คือ ประเพณีและพิธีกรรมอันเกี่ยวแก่ราษฎร มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่เนื่องจากมีประวัติศาสตร์ความเป็นมา และสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2559)
           ประเพณีหลวง เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ปฏิบัติเฉพาะในราชสำนัก ปัจจุบันกระทำขึ้นเพื่อเทิดทูนศาสนาและความเป็นสิริมงคลแก่สิริราชสมบัติ ตลอดจนเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของบูรพกษัตริย์ และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ราษฎรในการทำการเกษตร ทั้งนี้พระราชพิธี 12 เดือน ที่ปรากฏในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชพีธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช พระราชพิธีสงกรานต์ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชกุศลวิสาขบูชา พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราช เป็นต้น ขณะที่ประเพณีราษฎร์หรือประเพณีท้องถิ่น เป็นประเพณีที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างไปในแต่ละพื้นที่เนื่องจากมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ สภาพอากาศตลอดจนประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ประกอบไปด้วย ประเพณีเกี่ยวกับ                      ความอุดมสมบูรณ์ ประเพณีเพื่อความเป็นสิริมงคลของชุมชนและงานรื่นเริง ประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อในโลกหน้าและความสำคัญของเครือญาติกลุ่มสายตระกูลและความสามัคคีและบูรณาการของชุมชนและท้องถิ่น และประเพณีการทำบุญเนื่องในพระพุทธศาสนามีการจัดขึ้นในรอบปีหรือเรียกว่า ประเพณี 12 เดือน ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ เทศกาลสารท เทศกาลออกพรรษา ประเพณีเซิ้งบั้งไฟหรือบุญบั้งไฟ เทศกาลเข้าพรรษา งานปอยส่างลอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเพณีทิ้งกระจาดวัดพนัญเชิง จังหวัดอยุธยา ประเพณีกำเกียง จังหวัดสุโขทัย ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเพณีสารทไทยกล้วยไข่ จังหวัดกำแพงเพชร ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม เป็นต้น (ศิราพร ณ ถลาง, 2558, หน้า 360)  
+
           ประเพณีหลวง เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ปฏิบัติเฉพาะในราชสำนัก ปัจจุบันกระทำขึ้นเพื่อเทิดทูนศาสนาและความเป็นสิริมงคลแก่สิริราชสมบัติ ตลอดจนเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของบูรพกษัตริย์ และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ราษฎรในการทำการเกษตร ทั้งนี้พระราชพิธี 12 เดือน ที่ปรากฏในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชพีธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช พระราชพิธีสงกรานต์ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชกุศลวิสาขบูชา พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราช เป็นต้น ขณะที่ประเพณีราษฎร์หรือประเพณีท้องถิ่น เป็นประเพณีที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างไปในแต่ละพื้นที่เนื่องจากมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ สภาพอากาศตลอดจนประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ประกอบไปด้วย ประเพณีเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ ประเพณีเพื่อความเป็นสิริมงคลของชุมชนและงานรื่นเริง ประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อในโลกหน้าและความสำคัญของเครือญาติกลุ่มสายตระกูลและความสามัคคีและบูรณาการของชุมชนและท้องถิ่น และประเพณีการทำบุญเนื่องในพระพุทธศาสนามีการจัดขึ้นในรอบปีหรือเรียกว่า ประเพณี 12 เดือน ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ เทศกาลสารท เทศกาลออกพรรษา ประเพณีเซิ้งบั้งไฟหรือบุญบั้งไฟ เทศกาลเข้าพรรษา งานปอยส่างลอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเพณีทิ้งกระจาดวัดพนัญเชิง จังหวัดอยุธยา ประเพณีกำเกียง จังหวัดสุโขทัย ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเพณีสารทไทยกล้วยไข่ จังหวัดกำแพงเพชร ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม เป็นต้น (ศิราพร ณ ถลาง, 2558, หน้า 360)  
 
           ประเพณีเผาข้าวหลาม เป็นประเพณีที่จัดสืบทอดกันมาและเพื่อสืบสานพิธีกรรมทางศาสนา นอกจากการทำบุญกุศลแล้วยังเป็นการชุมนุมพบปะกันของคนในชุมชน นิยมจัดงานประเพณีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ปัจจุบันมีการจัดงานประเพณีเผาข้าวหลามในหลายพื้นที่ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ประเพณีเผาข้าวหลาม จังหวัดระยอง ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามหรือประเพณีบุญข้าวหลาม จังหวัดฉะเชิงเทรา และประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น  
 
           ประเพณีเผาข้าวหลาม เป็นประเพณีที่จัดสืบทอดกันมาและเพื่อสืบสานพิธีกรรมทางศาสนา นอกจากการทำบุญกุศลแล้วยังเป็นการชุมนุมพบปะกันของคนในชุมชน นิยมจัดงานประเพณีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ปัจจุบันมีการจัดงานประเพณีเผาข้าวหลามในหลายพื้นที่ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ประเพณีเผาข้าวหลาม จังหวัดระยอง ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามหรือประเพณีบุญข้าวหลาม จังหวัดฉะเชิงเทรา และประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น  
 
'''คำสำคัญ :''' ประเพณีเผาข้าวหลาม, งานเพ็ญเดือนสาม, ไหว้พระบรมธาตุนครชุม
 
'''คำสำคัญ :''' ประเพณีเผาข้าวหลาม, งานเพ็ญเดือนสาม, ไหว้พระบรมธาตุนครชุม

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:24, 13 มกราคม 2564

บทคัดย่อ

         ประเพณี หมายถึง การทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างสืบเนื่อง มีการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งมายังรุ่นต่อๆ มาได้ ถ้าหากผู้หนึ่งผู้ใดไม่เห็นด้วยหรือไม่ทำตามก็อาจถือได้ว่ากระทำผิดประเพณี อาจได้รับการติฉินนินทาหรือแม้กระทั่งการถูกลงโทษ ประเพณีและพิธีกรรมในประเทศไทยเกิดจากความเชื่อในอำนาจลี้ลับเหนือธรรมชาติและศาสนา อันประกอบด้วยพุทธและพราหมณ์ มีการปฏิบัติเพื่อบูชาตามความเชื่อดังกล่าวผ่านประเพณีและพิธีกรรมในรอบปีหรือประเพณี 12 เดือน ทั้งนี้จำแนกได้เป็น ประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร์หรือประเพณีท้องถิ่น ประเพณีหลวง คือ ประเพณีและพิธีกรรมอันเกี่ยวแก่พระมหากษัตริย์ ขณะที่ประเพณีราษฎร์หรือประเพณีท้องถิ่น คือ ประเพณีและพิธีกรรมอันเกี่ยวแก่ราษฎร มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่เนื่องจากมีประวัติศาสตร์ความเป็นมา และสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน (ศรีศักร วัลลิโภดม, 2559)
         ประเพณีหลวง เป็นประเพณีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ปฏิบัติเฉพาะในราชสำนัก ปัจจุบันกระทำขึ้นเพื่อเทิดทูนศาสนาและความเป็นสิริมงคลแก่สิริราชสมบัติ ตลอดจนเพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของบูรพกษัตริย์ และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ราษฎรในการทำการเกษตร ทั้งนี้พระราชพิธี 12 เดือน ที่ปรากฏในปัจจุบัน ได้แก่ พระราชพีธีบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช พระราชพิธีสงกรานต์ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชกุศลวิสาขบูชา พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันปิยมหาราช เป็นต้น ขณะที่ประเพณีราษฎร์หรือประเพณีท้องถิ่น เป็นประเพณีที่สะท้อนให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลายและมีความแตกต่างไปในแต่ละพื้นที่เนื่องจากมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ สภาพอากาศตลอดจนประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ประกอบไปด้วย ประเพณีเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ ประเพณีเพื่อความเป็นสิริมงคลของชุมชนและงานรื่นเริง ประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อในโลกหน้าและความสำคัญของเครือญาติกลุ่มสายตระกูลและความสามัคคีและบูรณาการของชุมชนและท้องถิ่น และประเพณีการทำบุญเนื่องในพระพุทธศาสนามีการจัดขึ้นในรอบปีหรือเรียกว่า ประเพณี 12 เดือน ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ เทศกาลสารท เทศกาลออกพรรษา ประเพณีเซิ้งบั้งไฟหรือบุญบั้งไฟ เทศกาลเข้าพรรษา งานปอยส่างลอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประเพณีทิ้งกระจาดวัดพนัญเชิง จังหวัดอยุธยา ประเพณีกำเกียง จังหวัดสุโขทัย ประเพณีอุ้มพระดำน้ำ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประเพณีสารทไทยกล้วยไข่ จังหวัดกำแพงเพชร ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม เป็นต้น (ศิราพร ณ ถลาง, 2558, หน้า 360) 
         ประเพณีเผาข้าวหลาม เป็นประเพณีที่จัดสืบทอดกันมาและเพื่อสืบสานพิธีกรรมทางศาสนา นอกจากการทำบุญกุศลแล้วยังเป็นการชุมนุมพบปะกันของคนในชุมชน นิยมจัดงานประเพณีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ปัจจุบันมีการจัดงานประเพณีเผาข้าวหลามในหลายพื้นที่ และมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ประเพณีเผาข้าวหลาม จังหวัดระยอง ประเพณีขึ้นเขาเผาข้าวหลามหรือประเพณีบุญข้าวหลาม จังหวัดฉะเชิงเทรา และประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น 

คำสำคัญ : ประเพณีเผาข้าวหลาม, งานเพ็ญเดือนสาม, ไหว้พระบรมธาตุนครชุม บทนำ

         วัดพระบรมธาตุนครชุม
         วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุม เป็นพระอารามหลวงประจำเมืองกำแพงเพชรเหมือนกับวัดพระแก้ว วัดพระบรมธาตุ ขึ้นทะเบียนเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 1858 ในสมัยต้นกรุงสุโขทัย เมื่อตีความจากจารึกนครชุม วัดพระบรมธาตุควรจะสร้างเมื่อ พ.ศ. 1762 ในสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เจดีย์มหาธาตุเมืองนครชุมเดิมมี 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน สันนิษฐานว่าสร้างโดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระมหาธรรมราชาลิไท สร้างเป็นพุทธเจดีย์ประจำรัชกาล
         วัดพระบรมธาตุ เจริญรุ่งเรืองมากกว่า 200 ปี จนกระทั่งเมืองนครชุมถึงภาวะล่มสลายตามกฎแห่งอนิจจัง เพราะแม่น้ำปิงกัดเซาะแนวกำแพงเมืองพังพินาศ ความเจริญรุ่งทางพุทธจักรและอาณาจักรได้สูญสิ้นไปจากเมืองนครชุม เมืองฝั่งตรงข้ามทางทิศตะวันออกคือ เมืองกำแพงเพชรได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่วัดพระบรมธาตุร้างมานานกว่า 300 ปี จนกระทั่งถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ วัดพระบรมธาตุจึงมีหลักฐานที่ชัดเจนอีกครั้ง จากหนังสือพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2449  ณ เมืองกำแพงเพชร ความว่า ใน พ.ศ. 2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม ได้เสด็จมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชรพักที่วัดเสด็จ ได้อ่านจารึกนครชุม ที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดเสด็จ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ได้ทราบว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตกตรงข้ามเมืองเก่าสามองค์ จึงได้ให้เจ้าเมืองกำแพงเพชรพระยารามรณรงค์สงคราม (น้อย) ได้ป่าวร้องให้ประชาชนแผ้วถาง พบพระเจดีย์ตามจารึกจริง และปฏิสังขรณ์ขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2414 แซภอ (แซงพอ หรือ พระยาตะก่า) พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงมีใจศรัทธาจะบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม พระยากำแพงเพชร เจ้าเมืองได้ทำหนังสือขออนุญาตลงมาที่กรุงเทพ ทางกรุงเทพจึงตอบอนุโมทนาและอนุญาตให้ซ่อมแซมได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2418 แซภอ ถึงแก่กรรมจึงทำให้การปฏิสังขรณ์ชะงักไปจนถึง พ.ศ. 2448-2449 พะโป้จึงรวบรวมทุนทรัพย์ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่จนสำเร็จ และยกยอดฉัตรขึ้นประดิษฐานในเพ็ญเดือน 6 พ.ศ. 2449 ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน 
ภาพที่ 1 แม่น้ำปิงบริเวณหน้าวัดเมื่อ 50 กว่าปีก่อน.jpg

ภาพที่ 1 แม่น้ำปิงบริเวณหน้าวัดเมื่อ 50 กว่าปีก่อน

(ที่มา: ธนิต บูรนันท์, 2556)

ภาพที่ 2 ภาพถ่ายทางอากาศองค์พระบรมธาตุ.jpg

ภาพที่ 2 ภาพถ่ายทางอากาศองค์พระบรมธาตุ

(ที่มา: ธนิต บูรนันท์, 2556)

         ปัจจุบันวัดพระบรมธาตุ มีฐานะเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2509 ตามประกาศของกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2509  ตั้งอยู่เลขที่ 15 หมู่ที่ 3 บ้านปากคลองใต้ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 4 บริเวณวัดมีเนื้อที่ 32 ไร่ 2 งาน บนที่ราบริมแม่น้ำปิง ภายในวัดมีเจดีย์ขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า "พระบรมธาตุเจดีย์" เป็นเจดีย์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเช่นกันกับตัววัด พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ตั้งเรียงกันสามองค์อยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์กลางของพระเจดีย์นั้นประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์อยู่ภายในภาชนะเงินรูปสำเภา พระเจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นพระเจดีย์ทรงมอญซึ่งได้รับการบูรณะขึ้นภายหลัง   สิ่งสำคัญอีกอย่างในวัดคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งชาวกำแพงเพชรเชื่อกันว่าเป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระยาลิไททรงปลูกเมื่อ พ.ศ.1900 เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ประมาณ 9 คนโอบ
         วัดพระบรมธาตุเปิดให้เข้านมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ทุกวัน ตั้งแต่เช้าจนเย็น และศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลนครชุม เปิดให้เข้าชม ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น. และเพื่อสืบทอดประเพณีบูชาพระบรมธาตุ ทางจังหวัดกำแพงเพชรจะจัดงานประเพณีนบพระเล่นเพลงโดยจะจัดพิธีรำพุทธบูชา ซึ่งเป็นประเพณีไหว้พระบรมธาตุ ที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยงานจะจัดขึ้นทุกปี ในวันเพ็ญเดือน 3 ตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งในทุกๆ ปี มีประชาชนเข้ามาร่วมในงานเป็นจำนวนมาก
ภาพที่ 3 องค์พระบรมธาตุในปัจจุบัน.jpg

ภาพที่ 3 องค์พระบรมธาตุในปัจจุบัน

(ที่มา: ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร และคณะ, 2562)

ภาพที่ 4 รำพุทธบูชา ถวายองค์พระบรมธาตุ เนื่องในงานประเพณีนบพระเล่นเพลง.jpg