ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หัตถกรรมเป่าแก้วบ้านโนนจั่น ตำบลทุ่งทราย อำเภอทรายทองวัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(กระบวนการผลิตเป่าแก้วบ้านโนนจั่น)
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 78: แถว 78:
 
== การป้องกันอันตราย (safety first) ==
 
== การป้องกันอันตราย (safety first) ==
 
           '''อันตรายจากอุปกรณ์เป่าแก้วและพื้นที่ทำงาน'''  
 
           '''อันตรายจากอุปกรณ์เป่าแก้วและพื้นที่ทำงาน'''  
           อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าในการเป่าแก้ว เช่น เครื่องเจาะแก้ว เครื่องตัดแก้ว เครื่องขัดแก้ว เป็นต้น                     ล้วนก่อให้เกิดอันตรายได้เสมอหากไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติของเครื่องจักร                 หรือเศษแก้วที่แตกและกระเด็นขณะใช้งานเครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวจึงต้องระมัดระวัง ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี ดูแลรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายให้ใช้ได้หรือพร้อมใช้ตลอดเวลา
+
           อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าในการเป่าแก้ว เช่น เครื่องเจาะแก้ว เครื่องตัดแก้ว เครื่องขัดแก้ว เป็นต้น ล้วนก่อให้เกิดอันตรายได้เสมอหากไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติของเครื่องจักร หรือเศษแก้วที่แตกและกระเด็นขณะใช้งานเครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวจึงต้องระมัดระวัง ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี ดูแลรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายให้ใช้ได้หรือพร้อมใช้ตลอดเวลา
 
           ส่วนอันตรายอันอาจจะเกิดจากสถานที่ทำงาน เนื่องจากการระบายอากาศและก๊าซต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ของก๊าซและเชื้อเพลิงขณะทำงาน ระบายไม่ดี เพียงพอ แสงสว่างที่มากหรือน้อยเกินไปก็ก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นเดียวกัน หากมีสถานที่ที่เหมาะสมแล้วนอกจากจะช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้แล้ว ยังมีส่วนช่วยให้ชิ้นงานที่ทำออกมีมีคุณภาพด้วย
 
           ส่วนอันตรายอันอาจจะเกิดจากสถานที่ทำงาน เนื่องจากการระบายอากาศและก๊าซต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ของก๊าซและเชื้อเพลิงขณะทำงาน ระบายไม่ดี เพียงพอ แสงสว่างที่มากหรือน้อยเกินไปก็ก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นเดียวกัน หากมีสถานที่ที่เหมาะสมแล้วนอกจากจะช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้แล้ว ยังมีส่วนช่วยให้ชิ้นงานที่ทำออกมีมีคุณภาพด้วย
 
           ในการเป่าแก้ว อาจมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ จำเป็นต้องเตรียมสิ่งต่างๆ ที่มีความจำเป็นเพื่อใช้ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นไว้ให้พร้อม เช่น ตู้ยาหรือตู้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First aid) ที่มียาหรือเวชภัณฑ์อย่างเพียงพอเหมาะสม นอกจากนั้นก็เป็นน้ำยาล้างตา เครื่องดับเพลิง ทรายหรือผ้าห่มดับไฟ วางไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน ง่ายต่อการนำมาใช้ และต้องมีคู่มือวิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเหล่านี้ด้วย และต้องไม่ลืมฝึกซ้อมเพื่อระงับเหตุฉุกเฉินเพื่อให้มีความพร้อมทั้งผู้ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ฉุกเฉิน และขั้นตอนการระงับเหตุอย่างถูกวิธี
 
           ในการเป่าแก้ว อาจมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ จำเป็นต้องเตรียมสิ่งต่างๆ ที่มีความจำเป็นเพื่อใช้ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นไว้ให้พร้อม เช่น ตู้ยาหรือตู้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First aid) ที่มียาหรือเวชภัณฑ์อย่างเพียงพอเหมาะสม นอกจากนั้นก็เป็นน้ำยาล้างตา เครื่องดับเพลิง ทรายหรือผ้าห่มดับไฟ วางไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน ง่ายต่อการนำมาใช้ และต้องมีคู่มือวิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเหล่านี้ด้วย และต้องไม่ลืมฝึกซ้อมเพื่อระงับเหตุฉุกเฉินเพื่อให้มีความพร้อมทั้งผู้ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ฉุกเฉิน และขั้นตอนการระงับเหตุอย่างถูกวิธี
 +
 
== กระบวนการผลิตเป่าแก้วบ้านโนนจั่น ==
 
== กระบวนการผลิตเป่าแก้วบ้านโนนจั่น ==
 
           1. ขั้นเตรียมการ
 
           1. ขั้นเตรียมการ
แถว 91: แถว 92:
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 8 การขึ้นรูปม้าน้ำ ''' </p>
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 8 การขึ้นรูปม้าน้ำ ''' </p>
 
<p align = "center"> (ที่มา : สุวลัย  อินทรรัตน์, 2562) </p>
 
<p align = "center"> (ที่มา : สุวลัย  อินทรรัตน์, 2562) </p>
               (2) เก็บรายละเอียดด้วยความพิถีพิถัน หากต้องการทำเป็นรูปสัตว์ ให้นำแก้วจี้ไฟ ให้เกิด              ความร้อนแล้วขึ้นรูปจากหาง ไปยังขา ลำตัว และหัว (แล้วแต่ความถนัดของช่าง)
+
               (2) เก็บรายละเอียดด้วยความพิถีพิถัน หากต้องการทำเป็นรูปสัตว์ ให้นำแก้วจี้ไฟ ให้เกิดความร้อนแล้วขึ้นรูปจากหาง ไปยังขา ลำตัว และหัว (แล้วแต่ความถนัดของช่าง)
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 9 การเก็บรายละเอียดส่วนหัวของกุ้ง.jpg|500px|thumb|center]]
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 9 การเก็บรายละเอียดส่วนหัวของกุ้ง.jpg|500px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 9 การเก็บรายละเอียดส่วนหัวของกุ้ง ''' </p>
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 9 การเก็บรายละเอียดส่วนหัวของกุ้ง ''' </p>
แถว 113: แถว 114:
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 13 ผลงานการเป่าแก้วของคุณณรงค์  แสงอโน ''' </p>
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 13 ผลงานการเป่าแก้วของคุณณรงค์  แสงอโน ''' </p>
 
<p align = "center"> ที่มา : สุวลัย  อินทรรัตน์, 2562) </p>
 
<p align = "center"> ที่มา : สุวลัย  อินทรรัตน์, 2562) </p>
 +
 
== บทสรุป ==
 
== บทสรุป ==
 
           การเป่าแก้วนั้น นอกจากจะต้องมีความรู้ต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ยังต้องมีเทคนิคที่ถูกต้องในการทำงานด้วย เทคนิคพื้นฐานที่จำเป็นได้แก่ การควบคุมเปลวไฟ การหมุนแก้วในระหว่างการทำงาน การเผาแก้ว การยืดแก้ว การย่นแก้วและเทคนิคต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลาและประสบการณ์เป็นอย่างดี เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า
 
           การเป่าแก้วนั้น นอกจากจะต้องมีความรู้ต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ยังต้องมีเทคนิคที่ถูกต้องในการทำงานด้วย เทคนิคพื้นฐานที่จำเป็นได้แก่ การควบคุมเปลวไฟ การหมุนแก้วในระหว่างการทำงาน การเผาแก้ว การยืดแก้ว การย่นแก้วและเทคนิคต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลาและประสบการณ์เป็นอย่างดี เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 16:20, 15 มกราคม 2564

บทนำ[แก้ไข]

         แก้ว วัสดุคุ้นเคยที่ทุกคนรู้จัก ด้วยคุณสมบัติทางวิทยาศาสตร์ที่ดี 3 ประการคือ ความโปร่งใส ความแข็งแกร่ง และความทนทานต่อสารเคมี หลายคนคงเคยได้เห็นความสวยงามของหลอดแก้วในรูปทรงแบบต่าง ๆ ซึ่งนับเป็นความสวยงานที่เกิดขึ้นจากวิทยาศาสตร์และศิลปะศาสตร์ควบคู่ด้วยกัน เราเรียกศิลปะสิ่งนี้ว่า ศิลปะของการเป่าแก้ว  
         การเป่าแก้วในปัจจุบัน มีอยู่ 2 รูปแบบคือ การเป่าเพื่อใช้ในทางวิทยาศาสตร์ กับการเป่าเพื่อความสวยงามหรือศิลปะ โดยในทางวิทยาศาสตร์ก็เพื่อการสร้างวัสดุอุปกรณ์เครื่องแก้วต่าง ๆ ที่ใช้ในงานทดลองและวิจัย ในด้านศิลปะก็ทำเพื่อความสวยงาม เป็นของประดับตกแต่งซึ่งทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ เครื่องประดับ เป็นต้น
         แต่เดิมการเป่าแก้วจะไม่ใช้ตะเกียงเหมือนปัจจุบัน โดยใช้วิธีการเป่าลมผ่านเข้าไปในด้านหนึ่งของท่อโลหะกลวง (Blowing pipe) โดยที่ปลายด้านหนึ่งคือหลอดแก้วที่หลอมเหลวรวมกันเป็นก้อน การเป่าแก้วสามารถที่จะควบคุมรูปร่างขนาดได้ตามความต้องการในขณะที่แก้วนั้นกำลังร้อนอยู่ การเป่าแบบนี้จะใช้เวลานานต้องมีเตาหลอมแก้ว อาจใช้คนจำนวนมากในการทำ
         นายณรงค์ แสงอโน ราษฎรบ้านโนนจั่นได้ไปทำงานที่กรุงเทพฯได้ศึกษาหนังสือเกี่ยวกับวิธีการเป่าแก้ว  ที่ได้มาจากญาติ ที่ทำงานอยู่สถาบันวิจัยแห่งชาติ จากนั้นก็ได้ทำการทดลองทำ ดัดแปลงเป่าเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เริ่มมีความชำนาญ จึงได้เปิดร้านเพื่อผลิตและจำหน่ายอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่ไม่เป็นที่นิยม ต่อมาเมื่อสมรสจึงกลับมาบ้าน แล้วชักชวนชาวบ้านมาฝึกโดยไม่คิดค่าฝึกสอนแต่ประการใด จากนั้นก็ได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานต่างๆ และทางกลุ่มจดทะเบียนเมื่อ ปี 2541 สมาชิกจะทำการผลิตที่บ้านตนเอง ซึ่งในปัจจุบันทางกลุ่มมีเตาสำกรับเป่าแก้ว ประมาณ 70-80 เตา และรวมกันจัดตั้งศูนย์แสดงสินค้า โดยผลกำไรของศูนย์  จะนำเข้ากลุ่ม แล้วจะมีเงินปันผลให้

คำสำคัญ : เป่าแก้ว , หัตถกรรมเป่าแก้ว , บ้านโนนจั่น

ที่มา[แก้ไข]

         ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษย์รู้จัดและคุ้นเคยกับแก้วเป็นอย่างดี อุปกรณ์ ของใช้ ภาชนะต่าง ๆ มากมายทำขึ้นมาจากแก้ว ทั้งนี้เนื่องจากแก้วที่มีใช้งานกันอย่างกว้างขวางนั้นมีสมบัติที่ดี 3 ประการ คือ มีความโปร่งใส (Transparency) , มีความแข็งแกร่ง (Hardness)  และมีความทนทานต่อสารเคมี (Chemical Resistance) นอกจากนี้การปรับปรุง เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของแก้วชนิดพิเศษต่าง ๆ ถูกคิดค้นเพื่อการนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ถึงแม้ความก้าวหน้าทางด้านพลาสติกและเทคโนโลยีของโพลิเมอร์จะพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ขนทำให้พลาสติกถูกผลิตออกมาใช้งานอย่างกว้างขวางในทุกกิจการก็ตาม แต่พลาสติกก็ไม่อาจ จะทดแทนแก้วได้อย่างสมบูรณ์

ประวัติของแก้ว[แก้ไข]

         สันนิษฐานว่า แก้วกำเนิดขึ้นครั้งแรกโดยธรรมชาติ โดยเกิดจากหินหลอมเหลงจากภูเขาไฟ โดยหินหลอมเหลวนี้ไหลออกจากภูเขาไฟขณะภูเขาไฟมีการระเบิด ในขณะที่ไหลไปตามพื้นจะเกิดการหลอมละลายพวกหินและทรายและแร่ธาตุต่าง ๆ รวมไว้มากมาย ต่อมาเมื่อเย็นตัวลงจึงแข็งตัวกลายเป็นของแข็งที่มีสีสัน แวววาว และมีความคมอยู่ตัว ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า หินออบซิเดียน (Obsidian) มนุษย์ใน  ยุคนั้นจึงนำหินดังกล่าวมาทำเป็นอาวุธ ทำหอก ทำมีด เป็นต้น พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่พอจะทำให้เชื่อได้ว่า มนุษย์รู้จักการผลิตแก้วขึ้นครั้งแรกในอียิปต์และซีเรีย เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว โดยได้พบลูกปัดแก้ว (Glass beads) และภาชนะต่าง ๆ ที่ทำขึ้นจากแก้ว
         ศิลปะของการเป่าแก้ว ถูกค้นพบแถบตะวันออกกลาง บริเวณชายฝั่งทะเลที่ชาวโพลีนีเซียน (Phoenician) อาศัยอยู่จากบันทึกและนิยายพื้นบ้านนั้น พ่อค้าชาวโพนิเซีย (ประเทศซีเรีย) พบแก้วโดยบังเอิญขณะตั้งค่ายพักแรมริมชายทะเล โดยพบว่าบริเวณหาดทรายที่ใช้ก่อเตาประกอบอาหารมีของเหลวใสเกิดขึ้น ในการก่อเตานั้นพ่อค้าใช้หินโทรนา (Trona)  (มีสูตรเคมีเป็น Na2CO3.NaHCO3.2H2O) มาวางบนหาดทรายสำหรับเป็นที่รองรับราวแขวนหม้อประกอบอาหาร  ความร้อนจากไฟทำให้ทรายและหินโทรนาหลอมรวมกัน เมื่อดับไฟจึงเกิดการเย็นตัวลงของส่วนผสม  ทำให้ได้วัสดุใหม่ คือ แก้ว ที่เราใช้ปัจจุบันนี้  มีนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ คิดว่าพ่อค้าเหล่านั้นคงจะโยนเปลือกหอยหรือกระดองปูเข้าไปในกองไฟด้วย จึงทำให้เกิดแก้วขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากส่วนผสมระหว่าง Na2O กับ –SiO2 นั้นละลายน้ำได้ง่าย ต่อเมื่อมี CaO จึงจะคงรูปอยู่ได้
         ก่อนคริสตศักราช 20 ปี มีการค้นพลกรรมวิธีในการทำเครื่องประดับจากแก้ว, ภาชนะที่ทำจากแก้วและของมีค่าอื่น ๆ ที่ทำด้วยแก้วในซากปรักหักพังของเมืองปอมเปอี การผลิตภาชนะหรืองานศิลปะต่าง ๆ จากแก้ว ยังคงใช้วิธีการเป่าแก้วมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นั่นก็คือ การเป่าลมผ่านเข้าไปในด้านหนึ่งของท่อโลหะกลวง (Blowing pipe) โดยที่ด้านตรงข้ามเป็นแก้วที่หลอมเหลวถูกหมุนจนรวมกันเป็นก้อน ผู้ที่เป่าแก้วสามารถควบคุมรูปร่าง ขนาด ได้ตามต้องการในขณะที่แก้วกำลังร้อนอยู่ โดยการใช้อุปกรณ์ตกแต่งที่ทำด้วยไม้หรือการเข้าเตาหลอมหลายครั้ง
         การเป่าแก้วในปัจจุบัน มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ 
             1. การเป่าแก้ววิทยาศาสตร์ (Scientific glassblowing)  หมายถึง การเป่าแก้วเพื่อการสร้างหรือซ่อมอุปกรณ์เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ สำหรับใช้ประกอบการทำการทดลองและวิจัยทางเคมีหรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยผลงานที่ออกมามักมีรูปแบบ ลักษณะและขนาดที่ค่อนข้างแน่นอน เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น ท่อนำก๊าซ, หลอดหยด, คอนเดนเซอร์ หรือชุดกลั่น เป็นต้น
ภาพที่ 1 ผลงานการเป่าแก้วทางวิทยาศาสตร์.jpg

ภาพที่ 1 ผลงานการเป่าแก้วทางวิทยาศาสตร์

(ที่มา : S P Glass เป่าแก้ว จำหน่ายเครื่องแก้ววิทยาศาสตร์, 2560)

             2. การเป่าแก้วศิลป์ (Artistic glassglowing) หมายถึง การเป่าแก้วเพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงาม สำหรับทำเป็นเครื่องประดับ เครื่องตกแต่ง ทำของชำร่วยต่าง ๆ โดยผลงานที่ออกมามักมีรูปแบบไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับจินตนาการ, ความถนัดและการออกแบบของช่างเป่าแก้วแต่ละบุคคล เช่น เป่าแก้วเป็นรูปสัตว์, ดอกไม้ หรือ เรือ เป็นต้น
ภาพที่ 2 ผลงานการเป่าแก้วทางศิลป์.jpg

ภาพที่ 2 ผลงานการเป่าแก้วทางศิลป์

(ที่มา : กระทรวงวัฒนธรรม, 2558)

         การเป่าแก้วจำแนกตามกรรมวิธีในการเป่าแก้ว ได้ 2 ชนิด คือ
             1. การเป่าแก้วโดยไม่ใช้ตะเกียงเป่าแก้ว เป็นวิธีการเป่าแก้วที่เก่าแก่ โดยเริ่มจากแก้วที่หลอมเหลว (แก้วที่หลอมอาจมาจากการผสมสารต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของแก้วหรือมาจากเศษแก้วแตก) นำเอามารวมกันไว้ที่ปลายของท่อเหล็กที่จะเป่า (Iron blowpipe) และมีการตกแต่งรูปร่างโดยใช้แผ่นไม้  จากนั้นทำการเป่าลมเข้าไปในท่อเหล็กเพื่อให้แก้วที่หลอมเหลวพองตัวออก มีรูปร่างและขนาดตามต้องการ การเป่าโดยวิธีนี้ต้องอาศัยช่างเป่าแก้วที่มีความชำนาญเป็นพิเศษ ข้อเสียของวิธีนี้คือต้องใช้เวลามาก, ต้องมีเตาหลอมแก้ว, เสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง นอกจากนั้นบางครั้งช่างเป่าแก้วไม่สามารถทำงานโดยลำพังตนเองต้องมีผู้ช่วยร่วมทำงานด้วย
ภาพที่ 3 การเป่าแก้วโดยใช้ท่อเหล็ก.jpg

ภาพที่ 3 การเป่าแก้วโดยใช้ท่อเหล็ก

(ที่มา : ณัฐดนัย เนียมทอง, 2561)

             2. การเป่าแก้วโดยใช้ตะเกียงเป่าแก้ว เป็นวิธีการเป่าแก้วที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้มีความสะดวกและง่ายในการเป่าแก้ว ง่ายในการฝึกฝนเรียนรู้ถึงหลักการเบื้องต้น สามารถปฏิบัติการเพียงคนเดียวโดยไม่ต้องมีผู้ช่วย จะทำเมื่อใดและนานเท่าใดก็ได้ วิธีการเป่าแก้วโดยวิธีนี้เริ่มจากการ ใช้ตะเกียงเป่าแก้วเผาแท่งแก้วหรือหลอมแก้วให้เปลี่ยนเป็นรูปต่าง ๆ ที่มีความสวยงามในแง่ศิลปะหรือทำเป็นเครื่องแก้ววิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ได้ ศิลปะการเป่าแก้วของช่างแต่ละคนจะมีขอบเขตจำกัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจินตนาการและความชำนาญอย่างไรก็ดีความชำนาญจะเกิดขึ้นได้หากมีการปฏิบัติการบ่อย ๆ 
ภาพที่ 4 การใช้ตะเกียงเป่าแก้วขึ้นรูปม้าน้ำ.jpg

ภาพที่ 4 การใช้ตะเกียงเป่าแก้วขึ้นรูปม้าน้ำ

(ที่มา : สุวลัย อินทรรัตน์, 2562)

อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการเป่าแก้ว[แก้ไข]

         สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการเป่าแก้ว คือ อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการเป่าแก้ว ซึ่งมีจำนวนมากมาย สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่อาจต้องการอุปกรณ์ที่จำเป็นเพียง 2-3 อย่างเท่านั้น แต่ที่สำคัญต้องมีตะเกียงเป่าแก้ว
         1. ตะเกียงเป่าแก้ว มีหลายชนิดแตกต่างกันไปตามบริษัทที่ผลิต แต่หลักการจะคล้ายคลึงกัน คือ การผ่านเชื้อเพลิง (อาจใช้ก๊าซบิวเทน, ก๊าซถ่านหิน, ก๊าซไฮโดรเจน, ก๊าซธรรมชาติ) เข้าไปในท่อหนึ่งและก๊าซออกซิเจนอีกท่อหนึ่ง ก๊าซทั้งสองจะพบกันที่หัวเตาหรือผสมกันก่อนถึงหัวเตาก็ได้ เมื่อจุดไฟจะได้เปลวไฟที่ร้อนมาก ตะเกียงเป่าแก้วสามารถจำแนกได้ 3 ระดับ ตามชนิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ ดังนี้
             1.1 ตะเกียงเป่าแก้วความร้อนสูง โดยออกแบบมาเพื่อใช้ก๊าซบิวเทนผสมกับออกซิเจนเป็นเชื้อเพลิง อุณหภูมิของเปลวไฟ ประมาณ 1,800–2,200°C ตะเกียงเป่าแก้วชนิดนี้ใช้สำหรับดัดแปลงรูปร่างแก้วที่เป็นแก้วแข็ง เช่น แก้วโบโรซิลิเกต เป็นต้น การจุดไฟนั้นต้องจุดตอนที่ผ่านก๊าซบิวเทนเพียงเล็กน้อยไปยังหัวเตาก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณก๊าซบิวเทน ในขณะเดียวกันค่อย ๆ เพิ่มก๊าซออกซิเจน เปลวไฟที่เกิดจากปฏิกิริยาของก๊าซทั้งสองนี้จะมีความร้อนสูงมาก
             1.2 ตะเกียงเป่าแก้วความร้อนต่ำ ออกแบบเพื่อให้ก๊าซบิวเทนกับอากาศผสมกันเป็นเชื้อเพลิง  เปลวไฟที่ได้จะมีอุณหภูมิประมาณ 800°C ตะเกียงเป่าแก้วชนิดนี้ใช้สำหรับเป่าแก้วอ่อน เช่น แก้วโซดา
             1.3 ตะเกียงเป่าแก้วความร้อนปานกลาง ตะเกียงเป่าแก้วชนิดนี้ใช้ก๊าซบิวเทน, ก๊าซออกซิเจนและอากาศผสมกัน ความร้อนของเปลวไฟที่ได้จะมีอุณหภูมิไม่สูงและไม่ต่ำจนเกินไป คือ ประมาณ 1,600°C นิยมใช้กันมากในประเทศเยอรมัน คือ ข้อดีของตะเกียงเป่าแก้วแบบนี้ คือ สามารถใช้กับแก้วที่แข็งและแก้วอ่อนได้ โดยการปรับอัตราการไหลของก๊าซทั้งสามตามต้องการ
             ดังนั้น การเลือกใช้ตะเกียงเป่าแก้ว ต้องคำนึงถึงงานที่จะทำเป็นสำคัญ โดยจะต้องพิจารณาเชื้อเพลิงที่ใช้, ความร้อนที่ต้องการ, ความทนทานต่อความร้อนของหัวเป่าแก้ว และขนาดของหัวเป่าแก้วด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีตะเกียงเป่าแก้วถูกผลิตออกมามากมายหลายลักษณะ
ภาพที่ 5 ตะเกียงเป่าแก้วแบบต่าง ๆ.jpg

ภาพที่ 5 ตะเกียงเป่าแก้วแบบต่าง ๆ

(ที่มา : ประสิทธิ์ ปุระชาติ, 2562)

         2. ก๊าซเชื้อเพลิง (Fuel gases) ก๊าซเชื้อเพลิงที่สามารถใช้กับตะเกียงเป่าแก้วสำหรับงานเป่าแก้ว มีหลายชนิด คือ
             2.1 ก๊าซถ่านหิน (Coal gas)  เป็นก๊าซที่ได้จากการเผ่าถ่านหินให้ร้อนประมาณ 1,0000°C ในที่ที่มีอากาศจำกัด ส่วนประกอบของก๊าซถ่านหินขึ้นอยู่กับแหล่งของถ่านหินที่ได้มา โดยทั่วไปค่าเฉลี่ยของส่วนประกอบต่าง ๆ ของก๊าซถ่านหินมีไฮโดรเจน 50%, มีเทน 32%, คาร์บอนมอนนอกไซด์ 8%, ไนโตรเจน 6% และเอธิลีน 4% (โดยปริมาตร) ก๊าซถ่านหินเหมาะสำหรับใช้กับการเป่าแก้วอ่อน เช่น แก้วตะกั่ว หรือ แก้วโซดา แต่ไม่ค่อยดีนักเมื่อใช้กับการเป่าแก้วแข็ง เช่น แก้วโบโรซิลิเกต
             2.2 ก๊าซไฮโดรเจน (Hydrogen gases) ก๊าซไฮโดรเจน สามารถนำมาเป็นก๊าซเชื้อเพลิง     ในการเป่าแก้วได้ โดยก๊าซไฮโดรเจนจะถูกบรรจุในถังเหล็ก เมื่อเต็มถังจะมีความดันประมาณ 140kg/cm2 (2,000 1b/in2) ถ้าไม่มีก๊าซถ่านหินก็สามารถใช้ก๊าซไฮโดรเจนแทนได้ แต่ก๊าซไฮโดรเจนราคาค่อนข้างแพง แพงกว่าก๊าซถ่านหินมาก เปลวไฟที่ได้จากก๊าซไฮโดรเจนกับอากาศ จะมีอุณหภูมิประมาณ 20450°C  ไม่สามารถใช้กับแก้วโซดาเพราะแก้วจะหลอมเร็วมาก เปลวไฟชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้กับแก้วโบโรซิลิเกต แต่เปลวไฟที่ได้จากก๊าซไฮโดรเจนกับออกซิเจนนั้นเหมาะสำหรับแก้วซิลิเกต เพราะอุณหภูมิสูงมาก ประมาณ 2,6600°C ซึ่งไม่เหมาะสำหรับใช้กับแก้วโบโรซิลิเกตเช่นกัน เพราะแก้วชนิดนี้หลอมเร็วเกินไปทำการควบคุมได้ยาก
             ความดันของก๊าซในถังก๊าซเชื้อเพลิงไม่ควรปล่อยให้เป็นศูนย์บนเครื่องชี้ความดันของก๊าซ ในถัง ควรจะนำออกไปอัดก๊าซใหม่ เมื่อความดันภายในถังมีมากพอ (ประมาณ 25 1b/in2) ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศและออกซิเจนเข้าไปตกค้างภายในถัง ซึ่งจะเกิดการผสมกับก๊าซเชื้อเพลิงที่อัดใหม่
             2.3 ก๊าซธรรมชาติ (Natural gas) ก๊าซธรรมชาติส่วนใหญ่ประกอบด้วย ก๊าซมีเทน (CH4) และมีก๊าซอื่น ๆ อยู่ในอัตราส่วนต่าง ๆ กัน ก๊าซที่สำคัญได้แก่ อีเทน โปรเปน และบิวเทน เป็นต้น ก๊าซธรรมชาตินี้ใช้กันมากในงานเป่าแก้วในประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะราคาค่อนข้างถูกและมีประสิทธิภาพดีพอควร เปลวไฟระหว่างก๊าซธรรมชาติกับอากาศจะมีอุณหภูมิประมาณ 1,8750°C และเปลวไฟระหว่างก๊าซธรรมชาติกับออกซิเจนจะมีอุณหภูมิประมาณ 2,9300°C
             2.4 ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquified petroleum gas, LPG)  ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ประกอบด้วยก๊าซโพรเพน (C3H8) และบิวเทน (C4H10) บรรจุอยู่ในถังโลหะที่ความดัน 7-10 kg/cm3 (100-140 1b/in2) เป็นของเหลว แต่ที่ความดันบรรยากาศ โพรเพน (C3H8) และบิวเทน (C4H10) จะมีสถานะเป็นก๊าซปิโตรเลียม (LPG) สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการเป่าแก้วได้ แต่ต้องใช้ตะเกียงเป่าแก้วที่ออกแบบพิเศษ เชื้อเพลิงนี้ประกอบด้วยโพรเพนเหลวและบิวเทนเหลวในอัตราส่วนต่างกัน และยังมีไฮโดรคาร์บอนอื่นอยู่เป็นจำนวนเล็กน้อย เชื้อเพลิงนี้จะกลายเป็นไอเมื่อนำมาใช้ที่ความดันบรรยากาศ ปิโตรเลียมเหลวไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่เป็นพิษ ติดไฟได้ง่ายจึงต้องระมัดระวัง อย่างไรก็ตามผู้ผลิตจะเติมกลิ่นที่มีกลิ่นฉุนลงไปด้วยเพื่อใช้เป็นสัญญาเตือนผู้ใช้เมื่อมีการรั่วของก๊าซเกิดขึ้น
             ดังนั้น เมื่อนำเอาก๊าซเชื้อเพลิงไปใช้ในตะเกียงเป่าแก้ว ตะเกียงเป่าแก้วต้องออกแบบให้เหมาะสมกับก๊าซเชื้อเพลิงชนิดนั้นด้วย ส่วนอุณหภูมิของเปลวไฟที่เกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับว่าผสมอากาศหรือออกซิเจนกับก๊าซเชื้อเพลิงชนิดใด อุณหภูมิสูงสุดของเปลวไฟที่ได้จากก๊าซเชื้อเพลิงกับอากาศหรือ ออกซิเจนสามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 ตารางก๊าซเชื้อเพลิงที่ใช้ในตะเกียงเป่าแก้ว

ก๊าซเชื้อเพลิง ตัวช่วยการสันดาป อุณหภูมิสูงสุด (°C)
ไฮโดรเจน อากาศ 2,045
ไฮโดรเจน ออกซิเจน 2,660
ก๊าซถ่านหิน อากาศ 1,950
ก๊าซถ่านหิน ออกซิเจน 2,730
ก๊าซธรรมชาติ อากาศ 1,875
ก๊าซธรรมชาติ ออกซิเจน 2,930
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว อากาศ 1,930
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ออกซิเจน 2,760
ภาพที่ 6 ก๊าซที่ใช้ในการเป่าแก้วบ้านโนนจั่น.jpg

ภาพที่ 6 ก๊าซที่ใช้ในการเป่าแก้วบ้านโนนจั่น

(ที่มา : สุวลัย อินทรรัตน์, 2562)

         3. แว่นตาเป่าแก้ว (Eyeglasses) ในการเป่าแก้วมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องสวมแว่นตาที่มีความจำเพาะกับงานเป่าแก้ว โดยเลือกเลนส์ที่มีชื่อเรียกว่า Didymium ซึ่งเลนซ์นี้สามารถดูดกลืนแสงในช่วงสีเหลืองได้ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เมื่อแก้วได้รับความร้อนจากไฟที่เกิดจากก๊าซเชื้อเพลิงและก๊าซสันดาป จะเปล่งแสง สีเหลืองออกมา แสงสีเหลืองที่เปล่งออกมานี้เป็นแสงที่เกิดจากธาตุโซเดียมที่เป็นส่วนประกอบของแก้ว มีความสว่างจ้ามาก ทำให้ผู้เป่าแก้วมองชิ้นงานไม่ชัดเจนและแสบตา นอกจากนั้นยังประกอบด้วยแสงยูวี (UV light) ซึ่งเป็นแสงที่อันตรายมากต่อดวงตา สำหรับเสนส์ Didymium เป็นแก้วพิเศษที่ประกอบด้วย neodymium oxide และ praseodymium oxide
         แว่นตาเป่าแก้วนี้ ยังช่วยป้องกันอันตรายหรืออุบัติเหตุ ที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดแก้ว การต่อแก้ว และการเป่าแก้ว อาจมีเศษแก้ว หรือสะเก็ดแก้ว กระเด็นเข้าตาได้ แว่นตาเป่าแก้วจึงจัดเป็นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายได้อย่างดี ต้องสวมตลอดเวลาเมื่อทำการเป่าแก้ว
ภาพที่ 7 แว่นตาเป่าแก้ว.jpg

ภาพที่ 7 แว่นตาเป่าแก้ว

(ที่มา : สุวลัย อินทรรัตน์, 2562)

การป้องกันอันตราย (safety first)[แก้ไข]

         อันตรายจากอุปกรณ์เป่าแก้วและพื้นที่ทำงาน 
         อุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าในการเป่าแก้ว เช่น เครื่องเจาะแก้ว เครื่องตัดแก้ว เครื่องขัดแก้ว เป็นต้น ล้วนก่อให้เกิดอันตรายได้เสมอหากไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ทั้งนี้เนื่องจากธรรมชาติของเครื่องจักร หรือเศษแก้วที่แตกและกระเด็นขณะใช้งานเครื่องมือ การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวจึงต้องระมัดระวัง ใช้เครื่องมือให้ถูกวิธี ดูแลรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายให้ใช้ได้หรือพร้อมใช้ตลอดเวลา
         ส่วนอันตรายอันอาจจะเกิดจากสถานที่ทำงาน เนื่องจากการระบายอากาศและก๊าซต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาไหม้ของก๊าซและเชื้อเพลิงขณะทำงาน ระบายไม่ดี เพียงพอ แสงสว่างที่มากหรือน้อยเกินไปก็ก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นเดียวกัน หากมีสถานที่ที่เหมาะสมแล้วนอกจากจะช่วยลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้แล้ว ยังมีส่วนช่วยให้ชิ้นงานที่ทำออกมีมีคุณภาพด้วย
         ในการเป่าแก้ว อาจมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ จำเป็นต้องเตรียมสิ่งต่างๆ ที่มีความจำเป็นเพื่อใช้ป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นไว้ให้พร้อม เช่น ตู้ยาหรือตู้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First aid) ที่มียาหรือเวชภัณฑ์อย่างเพียงพอเหมาะสม นอกจากนั้นก็เป็นน้ำยาล้างตา เครื่องดับเพลิง ทรายหรือผ้าห่มดับไฟ วางไว้ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน ง่ายต่อการนำมาใช้ และต้องมีคู่มือวิธีการใช้อุปกรณ์ดับเพลิงเหล่านี้ด้วย และต้องไม่ลืมฝึกซ้อมเพื่อระงับเหตุฉุกเฉินเพื่อให้มีความพร้อมทั้งผู้ปฏิบัติงาน อุปกรณ์ฉุกเฉิน และขั้นตอนการระงับเหตุอย่างถูกวิธี

กระบวนการผลิตเป่าแก้วบ้านโนนจั่น[แก้ไข]

         1. ขั้นเตรียมการ
             (1)  เตรียมแท่งแก้ว
             (2)  จุดไฟ และเร่งความแรงของไฟให้ได้ประมาณ 1,200 องศาเซลเซียส
             (3)  ใส่แว่นตาเพื่อป้องกันแสงจากไฟ
         2. ขั้นการผลิต
             (1)  นำแก้วมาเป่าขึ้นรูปด้วยไฟ อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส
ภาพที่ 8 การขึ้นรูปม้าน้ำ.jpg

ภาพที่ 8 การขึ้นรูปม้าน้ำ

(ที่มา : สุวลัย อินทรรัตน์, 2562)

             (2) เก็บรายละเอียดด้วยความพิถีพิถัน หากต้องการทำเป็นรูปสัตว์ ให้นำแก้วจี้ไฟ ให้เกิดความร้อนแล้วขึ้นรูปจากหาง ไปยังขา ลำตัว และหัว (แล้วแต่ความถนัดของช่าง)
ภาพที่ 9 การเก็บรายละเอียดส่วนหัวของกุ้ง.jpg

ภาพที่ 9 การเก็บรายละเอียดส่วนหัวของกุ้ง

(ที่มา : สุวลัย อินทรรัตน์, 2562)

             (3) เก็บรายละเอียด เช่น เล็บ หนวด ให้ใช้เครื่องมือที่มีลักษณะกลมมีขอบวงแหวน เช่น น๊อต แล้วนำมาแต่งเป็นรูปขนโดนนำไปแตะที่ตัวแก้วแล้วหมุนไปมา เป็นเหมือนขนสัตว์ เป็นต้น
             (4) การตั้งรูปแก้วที่เป็นรูปต่าง ๆ กับพื้นเพื่อการทรงตัวที่มั่นคง ให้นำแก้วที่ทำเสร็จแล้วและยังมีความร้อนคงอยู่แตะกับพื้นผิวเรียบที่เป็นคาร์บอนเบา ๆ
ภาพที่ 10 ฐานตั้งสำหรับม้าน้ำ.jpg

ภาพที่ 10 ฐานตั้งสำหรับม้าน้ำ

(ที่มา : สุวลัย อินทรรัตน์, 2562)

         3. ขั้นหลังการผลิต 
         นำแก้วที่ผลิตเสร็จแล้วไปเป่าด้วยแก๊สออกซิเจน เพื่อไม่ให้แก้วเปราะและแตกง่าย การตกแต่งลักษณะพิเศษ การเป่าแก้วแรกเริ่มนั้นมีการจัดทำแบบธรรมดาที่เรียกว่า แก้วใส กล่าวคือ เมื่อนำแก้วแท่งมาเป่าขึ้นเป็นรูปสัตว์หรือรูปทรงตามต้องการแล้วถือว่าเสร็จสิ้นกระบวนการเป่าขึ้นรูป สามารถบรรจุหีบห่อ เพื่อจำหน่ายได้ในปัจจุบัน ได้มีการเพิ่มเทคนิคในการจัดทำซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถดำเนินการได้ใน 2 รูปแบบ คือ
             1. การพ่นทราย โดยใช้เครื่องปั้มลมพ่นทรายละเอียด ออกไปบริเวณที่ต้อง เช่น ที่หาง หนวด ขา หรือลำตัว เป็นต้น การพ่นทรายจะทำให้แก้วที่มีลักษณะใส มีสีขาวขุ่นเกาะบริเวณที่พ่น เมื่อสังเกตให้ดีจะเห็นเป็นรูปเล็ก ๆ ที่เกิดจากการที่ทรายถูกอัดแล้วฉีดไปแรง ๆ กระทบกับวัตถุหรือแก้วตรงบริเวณที่ต้องการนั่นเอง 
             2. การลงสีเคลือบทอง การลงสีนี้อาจจะผ่านขั้นตอนการพ่นทรายหรือไม่ก็ได้ โดยนำสีทอง มาทาลงในส่วนที่ต้องการ แล้วนำไปอบในเตาอบ ด้วยอุณหภูมิ 650°C เป็นระยะเวลา 3-4 ชั่วโมง
ภาพที่ 11 การเป่าแก้วรูปแบบธรรมดาที่เรียกว่า แก้วใส.jpg

ภาพที่ 11 การเป่าแก้วรูปแบบธรรมดาที่เรียกว่า แก้วใส

(ที่มา : สุวลัย อินทรรัตน์, 2562)

ภาพที่ 12 การเป่าแก้วรูปแบบลงสีเคลือบทอง.jpg

ภาพที่ 12 การเป่าแก้วรูปแบบลงสีเคลือบทอง

(ที่มา : ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม, 2562)

ภาพที่ 13 ผลงานการเป่าแก้วของคุณณรงค์.jpg

ภาพที่ 13 ผลงานการเป่าแก้วของคุณณรงค์ แสงอโน

ที่มา : สุวลัย อินทรรัตน์, 2562)

บทสรุป[แก้ไข]

         การเป่าแก้วนั้น นอกจากจะต้องมีความรู้ต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ยังต้องมีเทคนิคที่ถูกต้องในการทำงานด้วย เทคนิคพื้นฐานที่จำเป็นได้แก่ การควบคุมเปลวไฟ การหมุนแก้วในระหว่างการทำงาน การเผาแก้ว การยืดแก้ว การย่นแก้วและเทคนิคต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลาและประสบการณ์เป็นอย่างดี เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับความต้องการของลูกค้า