ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูล เรื่อง เครื่องเงินท้องถิ่น ภูมิปัญญาวิถีชีวิตคนเผ่าคลองลาน"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
แถว 44: แถว 44:
 
           '''วัฒนธรรมของชาวเขากับเครื่องเงิน'''  
 
           '''วัฒนธรรมของชาวเขากับเครื่องเงิน'''  
 
           วัฒนธรรมของของชาวเขาอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชรสมัยก่อนนั้น บุคคลใดที่เป็นมารดาจะต้องเรียนรู้การทำเครื่องเงินไว้เพื่อทำให้ลูกสาวหลังการแต่งงาน หรือถ้าครอบครัวใดมีบุตรทั้งลูกชายและลูกสาว ครอบครัวนั้นก็จะทำเข็มขัดให้ลูกสาว และทำสร้อยคอมอบให้ลูกชาย ปัจจุบันการใส่เครื่องเงินของชาวเขา ถ้าเป็นชาวเขาที่อยู่อาศัยใกล้กับคนในเมืองนั้น ส่วนใหญ่จะนิยมใส่กันเฉพาะงานสำคัญ เช่น งานปีใหม่ม้ง เป็นต้น แต่ยังมีชาวเขาที่อาศัยอยู่บนเขาเท่านั้นที่ยังคงใส่เครื่องเงินเป็นเครื่องประดับกับชุดม้งในชีวิตประวัน  
 
           วัฒนธรรมของของชาวเขาอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชรสมัยก่อนนั้น บุคคลใดที่เป็นมารดาจะต้องเรียนรู้การทำเครื่องเงินไว้เพื่อทำให้ลูกสาวหลังการแต่งงาน หรือถ้าครอบครัวใดมีบุตรทั้งลูกชายและลูกสาว ครอบครัวนั้นก็จะทำเข็มขัดให้ลูกสาว และทำสร้อยคอมอบให้ลูกชาย ปัจจุบันการใส่เครื่องเงินของชาวเขา ถ้าเป็นชาวเขาที่อยู่อาศัยใกล้กับคนในเมืองนั้น ส่วนใหญ่จะนิยมใส่กันเฉพาะงานสำคัญ เช่น งานปีใหม่ม้ง เป็นต้น แต่ยังมีชาวเขาที่อาศัยอยู่บนเขาเท่านั้นที่ยังคงใส่เครื่องเงินเป็นเครื่องประดับกับชุดม้งในชีวิตประวัน  
=='''สถานที่ผลิต'''==
+
==='''สถานที่ผลิต'''===
 
           หมู่บ้านตลาดม้ง บ้านเลขที่ 26 หมู่ 16 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
 
           หมู่บ้านตลาดม้ง บ้านเลขที่ 26 หมู่ 16 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
 
=='''วัสดุผลิตภัณฑ์'''==  
 
=='''วัสดุผลิตภัณฑ์'''==  

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:23, 10 มีนาคม 2564

ข้อมูลทั่วไปของผลิตภัณฑ์

ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์

         เครื่องเงินชาวเขา

ชื่อเรียกอื่นๆ

         -

คำอธิบาย

         เครื่องเงินชาวเขาในอำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเงินชาวเขานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ชนเผ่าหลักๆ ได้แก่ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน(เย้า) และกลุ่มชนเผ่าม้ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มชนเผ่านี้ มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการเริ่มต้นทำเครื่องเงินชาวเขาที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน(เย้า) เป็นช่างผลิตเครื่องเงินขาวเขากลุ่มแรกที่มีวิธีการผลิตสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ สำหรับกลุ่มชนเผ่าม้งนั้น เริ่มต้นทำเครื่องเงินจากการไปฝึกทักษะวิชาชีพที่จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากที่นั่นได้ขึ้นชื่อเรื่องวิธีการผลิตเครื่องเงินชาวเขาเผ่าม้งและเมื่อหลังจากที่ชนเผ่าม้งได้เรียนรู้วิธีการผลิตเครื่องเงินแล้ว ก็ได้นำความรู้นั้นมาใช้เป็นการประกอบอาชีพ ณ ถิ่นฐานบ้านเกิดของตน 
         งานหัตถกรรมเครื่องเงินชาวเขานี้ เป็นงานฝีมือประเภทเครื่องประดับซึ่งมีความละเอียดและความประณีตเป็นอย่างมาก ลวดลายของเครื่องเงินนั้นจะใช้ลวดลายแบบโบราณดั้งเดิม อาทิ ลายธรรมชาติ ลายต้นไม้ ลายรอยเท้าสัตว์ ซึ่งเลียนแบบมาจากธรรมชาติ สิ่งที่อยู่รอบตัว หรือสิ่งของเครื่องใช้ทำมาหากิน 
1 แสดงผลิตภัณฑ์สร้อยคอที่ทำจากเงิน.jpg

ภาพที่ 1 แสดงผลิตภัณฑ์สร้อยคอที่ทำจากเงิน

2 แสดงผลิตภัณฑ์แหวนที่ทำจากเงิน.jpg

ภาพที่ 2 แสดงผลิตภัณฑ์แหวนที่ทำจากเงิน

         บางครั้งลายของเครื่องเงินนั้นจะขึ้นอยู่กับลูกค้าที่มาสั่งทำ โดยทางผู้ที่ผลิตเครื่องเงินจะมีลวดลายต่างๆ มาให้ลูกค้าเลือกตามความต้องการ ซึ่งส่วนหนึ่งลายสินค้ามาจากที่ทางผู้ผลิตได้มีการออกแบบเอง ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์เครื่องเงินจะถูกผลิตออกมาในรูปแบบของสร้อยคอ สร้อยข้อมือ แหวน กระเป๋า และเข็มขัด ซึ่งในแต่ละรูปแบบของเครื่องเงินจะมีราคาจำหน่ายแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของแร่เงินที่ใช้ในการผลิต ซึ่งน้ำหนักของแร่เงินจะคิดเป็นกรัม กรัมละ 45-50 บาท หรือขึ้นอยู่กับราคานำเข้าแร่เงินในแต่ละวัน 

ตัวอย่างรูปแบบและลวดลายของเครื่องเงิน ชนิดสร้อยคอ

3 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดสร้อยคอ (ลายกุหลาบ).jpg

ภาพที่ 3 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดสร้อยคอ (ลายกุหลาบ)

4 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดสร้อยคอ (ลายผีเสื้อ).jpg

ภาพที่ 4 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดสร้อยคอ (ลายผีเสื้อ)

5 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดสร้อยคอ (ลายไข่มุก).jpg

ภาพที่ 5 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดสร้อยคอ (ลายไข่มุก)

6 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดสร้อยคอ (ลายสี่เหลี่ยมคางหมู).jpg

ภาพที่ 6 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดสร้อยคอ (ลายสี่เหลี่ยมคางหมู)

7 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินลายชนิดสร้อยคอ (ลายดอกกุหลาบสีทอง).jpg

ภาพที่ 7 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินลายชนิดสร้อยคอ (ลายดอกกุหลาบสีทอง)

8 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน (ลายดอกบัวดิน).jpg

ภาพที่ 8 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน (ลายดอกบัวดิน)

ตัวอย่างรูปแบบและลวดลายของเครื่องเงิน ชนิดกำไลข้อมือ

9 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดกำไลข้อมือ (ลายดอกรังหอก).jpg

ภาพที่ 9 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดกำไลข้อมือ (ลายดอกรังหอก)

10 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดกำไลข้อมือ.jpg

ภาพที่ 10 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดกำไลข้อมือ (ลายรูปดาว/ลายรูปหัวใจ)

11 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดกำไลข้อมือ.jpg

ภาพที่ 11 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดกำไลข้อมือ (ลายดอกกุหลาบ/ลายดอกพิกุล/ลายดอกมะลิ / ลายรูปหยดน้ำ)

12 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดกำไลข้อมือ.jpg

ภาพที่ 12 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดกำไลข้อมือ (ลายดอกกุหลาบ)

ตัวอย่างรูปแบบและลวดลายของเครื่องเงิน ชนิดต่างหู

13 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดต่างหู ลวดลายต่างๆ.jpg

ภาพที่ 13 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดต่างหู ลวดลายต่างๆ

ตัวอย่างรูปแบบและลวดลายของเครื่องเงิน ชนิดแหวน

14 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดแหวน ลวดลายต่างๆ.jpg

ภาพที่ 14 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดแหวน ลวดลายต่าง ๆ

15 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดแหวน ลวดลายต่างๆ (ต่อ).jpg

ภาพที่ 15 แสดงผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชนิดแหวน ลวดลายต่าง ๆ (ต่อ)

         วัฒนธรรมของชาวเขากับเครื่องเงิน 
         วัฒนธรรมของของชาวเขาอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชรสมัยก่อนนั้น บุคคลใดที่เป็นมารดาจะต้องเรียนรู้การทำเครื่องเงินไว้เพื่อทำให้ลูกสาวหลังการแต่งงาน หรือถ้าครอบครัวใดมีบุตรทั้งลูกชายและลูกสาว ครอบครัวนั้นก็จะทำเข็มขัดให้ลูกสาว และทำสร้อยคอมอบให้ลูกชาย ปัจจุบันการใส่เครื่องเงินของชาวเขา ถ้าเป็นชาวเขาที่อยู่อาศัยใกล้กับคนในเมืองนั้น ส่วนใหญ่จะนิยมใส่กันเฉพาะงานสำคัญ เช่น งานปีใหม่ม้ง เป็นต้น แต่ยังมีชาวเขาที่อาศัยอยู่บนเขาเท่านั้นที่ยังคงใส่เครื่องเงินเป็นเครื่องประดับกับชุดม้งในชีวิตประวัน 

สถานที่ผลิต

         หมู่บ้านตลาดม้ง บ้านเลขที่ 26 หมู่ 16 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

วัสดุผลิตภัณฑ์

         เงิน (ดังรูปด้านล่าง)
16 แสดงวัตถุดิบแร่เงิน ที่ใช้ในการผลิตเครื่องประดับ.jpg

ภาพที่ 16 แสดงวัตถุดิบแร่เงิน ที่ใช้ในการผลิตเครื่องประดับ

ประเภทการใช้งาน

         ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องประดับเงินในชีวิตประจำวัน หรือในวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันปีใหม่ม้ง ในวันแต่งงาน เป็นต้น  

กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน

ขั้นตอนที่ 1 นำเงินเม็ดมาหลอมโดยผ่านความร้อน

17 แสดงขั้นตอนการหลอมแร่เงินด้วยความร้อน.jpg

ภาพที่ 17 แสดงขั้นตอนการหลอมแร่เงินด้วยความร้อน

ขั้นตอนที่ 2 ตีขึ้นรูปตามแบบที่ต้องการ

18 แสดงตัวอย่างขั้นตอนการขึ้นลายเครื่องเงิน.jpg

ภาพที่ 18 แสดงตัวอย่างขั้นตอนการขึ้นลายเครื่องเงิน

ขั้นตอนที่ 3 ตอกลายตามที่ลูกค้าต้องการ

19 แสดงการขึ้นรูป ตอกลายตามแบบที่กำหนดไว้.jpg

ภาพที่ 19 แสดงการขึ้นรูป/ตอกลายตามแบบที่กำหนดไว้

ขั้นตอนที่ 4 นำชิ้นส่วนทั้งหมดมาประกอบเข้าด้วยกัน

20 แสดงขั้นตอนการประกอบชิ้นส่วนเครื่องเงินตามแบบที่ต้องการ.jpg

ภาพที่ 20 แสดงขั้นตอนการประกอบชิ้นส่วนเครื่องเงินตามแบบที่ต้องการ

ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนการทำความสะอาดและเป่าไล่ความชื้น

21 แสดงขั้นตอนการทำความสะอาดเครื่องเงิน.jpg

ภาพที่ 21 แสดงขั้นตอนการทำความสะอาดเครื่องเงิน

ขั้นตอนที่ 6 นำเครื่องเงินมาตั้งโชว์ที่หน้าร้าน เพื่อจำหน่าย

22 แสดงการนำเครื่องเงินขึ้นแสดงโชว์เพื่อจำหน่าย.jpg

ภาพที่ 22 แสดงการนำเครื่องเงินขึ้นแสดงโชว์เพื่อจำหน่าย

ผลิตภัณฑ์เครื่องเงินอำเภอคลองลานที่เป็นที่นิยมของตลาด

         1. แหวน
2 แสดงผลิตภัณฑ์แหวนที่ทำจากเงิน.jpg

ภาพที่ 23 แสดงผลิตภัณฑ์ของกลุ่มชนเผ่าอำเภอคลองลานที่เป็นที่นิยมของตลาด (แหวน)

         2. สร้อยคอ



ภาพที่ 24 แสดงผลิตภัณฑ์ของกลุ่มชนเผ่าอำเภอคลองลานที่เป็นที่นิยมของตลาด (สร้อยคอ) 3. กระเป๋า




ภาพที่ 25 แสดงผลิตภัณฑ์ของกลุ่มชนเผ่าอำเภอคลองลานที่เป็นที่นิยมของตลาด (กระเป๋า) 4. เข็มขัด











ภาพที่ 26 แสดงผลิตภัณฑ์ของกลุ่มชนเผ่าอำเภอคลองลานที่เป็นที่นิยมของตลาด (เข็มขัด)

2. ข้อมูลการสำรวจ

2.1 แหล่งอ้างอิง : บ้านของ นายพงษ์ศิพัฒน์ อัศธรบัตถ์ (ผู้ให้สัมภาษณ์) เลขที่ 26 หมู่16 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร





ภาพที่ 27 แสดงสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร


2.2 วันเดือนปีที่สำรวจ : สำรวจข้อมูล วันที่ 8 มีนาคม 2561

2.3 วันปรับปรุงข้อมูล : -

2.4 ผู้สำรวจข้อมูล : นางสาววีรวรรณ แจ้งโม้ นางสาวณัฐริกา พวงนาค นางสาวรสริน สิงหรา ณ อยุธยา นางสาวรินรดา จันทร์แก้ว นางสาวเบญญาภา สระทองอ้อย นางสาวจุฑามาศ นาโตนด นางสาวสกาวมาส เวชศิลป์

2.5 คำสำคัญ : เครื่องเงินชาวเขา , จังหวัดกำแพงเพชร , เครื่องประดับ










ภาคผนวก








  ผู้ให้สัมภาษณ์ ข้อมูลส่วนของอำเภอคลองลาน นายบุญมา อินต๊ะ อายุ 64 ปี (ตำแหน่งอดีตกำนันผู้ใหญ่บ้านโป่งน้ำร้อน) บ้านเลขที่ 19/1 หมู่ 1 ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร (เบอร์โทร 089-2673046)







ภาพที่ 28 แสดงผู้ให้สัมภาษณ์ข้อมูลความเป็นมาของผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชาวเขา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ข้อมูลส่วนของเครื่องเงินชาวเขา นายพงษ์ศิพัฒน์ อัศธรบัตถ์ อายุ 41 ปี (พี่ชายเจ้าของการผลิตเครื่องเงินชาวเขา) บ้านเลขที่ 26 หมู่16 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร (เบอร์โทร 080 – 117-4554 , 085 – 269-9976)




เอกสารอ้างอิง

ภาพที่ 29 แสดงผู้ให้สัมภาษณ์ข้อมูลความการทำเครื่องเงินและการจัดจำน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องเงินชาวเขา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร