ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มชาติพันธุ์ ชุมชนและสังคม : หมู่บ้านกะเหรี่ยงน้ำตกคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
แถว 17: แถว 17:
 
           '''2. ลักษณะบ้านเรือน'''
 
           '''2. ลักษณะบ้านเรือน'''
 
           ชาวกะเหรี่ยงนิยมปลูกบ้านไว้ตามเชิงเขาอยู่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-4 หลัง บางส่วนก็ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบเช่นเดียวกับชาวพื้นราบทั่วไป ชาวะเหรี่ยงนิยมตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร ไม่ย้ายถิ่นบ่อยๆ รูปแบบเรือนกะเหรี่ยง เป็นเรือนหลังคาจั่วความชันต่ำทรงหมาแหงน สร้างเป็นบ้านยกพื้นสูง มีชานบ้าน บริเวณใต้ถุนเรือนจะใช้เก็บฟืนและเลี้ยงสัตว์ ลักษณะบ้านจะก่อตั้งด้วยไม้ไผ่โดยหลังคานั้นก่อสร้างด้วยใบแตนที่มีอยู่ในท้องถิ่น ใช้งานได้ประมาณ 2-3 ปี แล้วก็จะเปลี่ยนใหม่ ซึ่งหาได้ในป่าบนภูเขา ผนังเรือนเป็นไม้ไผ่สาน ด้านหน้าเรือนเป็นไม้แผ่นปูเว้นร่อง ภายในเรือนมีการจัดเตาไฟไว้บริเวณกลางห้อง ส่วนด้านหน้าจัดไว้เป็นส่วนเก็บอาหารแห้ง และเก็บของใช้ ห้องส้มสร้างแยกต่างหากจากตัวบ้าน จากการสัมภาษณ์ ซะนุย คามภูผา (สัมภาษณ์, 3 กุมภาพันธ์ 2561)
 
           ชาวกะเหรี่ยงนิยมปลูกบ้านไว้ตามเชิงเขาอยู่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-4 หลัง บางส่วนก็ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบเช่นเดียวกับชาวพื้นราบทั่วไป ชาวะเหรี่ยงนิยมตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร ไม่ย้ายถิ่นบ่อยๆ รูปแบบเรือนกะเหรี่ยง เป็นเรือนหลังคาจั่วความชันต่ำทรงหมาแหงน สร้างเป็นบ้านยกพื้นสูง มีชานบ้าน บริเวณใต้ถุนเรือนจะใช้เก็บฟืนและเลี้ยงสัตว์ ลักษณะบ้านจะก่อตั้งด้วยไม้ไผ่โดยหลังคานั้นก่อสร้างด้วยใบแตนที่มีอยู่ในท้องถิ่น ใช้งานได้ประมาณ 2-3 ปี แล้วก็จะเปลี่ยนใหม่ ซึ่งหาได้ในป่าบนภูเขา ผนังเรือนเป็นไม้ไผ่สาน ด้านหน้าเรือนเป็นไม้แผ่นปูเว้นร่อง ภายในเรือนมีการจัดเตาไฟไว้บริเวณกลางห้อง ส่วนด้านหน้าจัดไว้เป็นส่วนเก็บอาหารแห้ง และเก็บของใช้ ห้องส้มสร้างแยกต่างหากจากตัวบ้าน จากการสัมภาษณ์ ซะนุย คามภูผา (สัมภาษณ์, 3 กุมภาพันธ์ 2561)
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 1 ลักษณะบ้าน.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 1 ลักษณะบ้านเรือนของคนปกาเกอะญอใช้ต้นแตนทำหลังคาบ้าน'''</p>
 +
          '''3. ลักษณะการแต่งกายของชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือชนเผ่ากะเหรี่ยง'''
 +
          ลักษณะการแต่งกายของชนเผ่ากะเหรี่ยงหรือ ปกากะญอ กะเหรี่ยงในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กะเหรียงสะกอ กะเหรี่ยงโป และ อีก 2 กลุ่ม คือ คะยา หรือบะเว และตองสู หรือพะโอ กะเหรี่ยงกลุ่มต่างๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน แต่การแต่งกายของแต่ละกลุ่มมีลักษณะเฉพาะของตนเองที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ฉะนั้นลักษณะการแต่งกายจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถบ่งชี้ให้เห็นได้ชัดเจนถึงเอกลักษณ์ของกะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม การแต่งกายของเด็กและหญิงสาวจะเป็นชุดทรงกระสอบ ผ้าฝ้ายพื้นขาว ทอหรือปักประดับลวดลายให้งดงาม ส่วนหญิงที่มีครอบครัวแล้วจะสวมเสื้อสีดำ น้ำเงิน และผ้านุ่งสีแดงคนละท่อน ตกแต่งด้วยลูกเดือย หรือทอยกดอก ยกลาย สำหรับผู้ชายกะเหรี่ยงนั้นส่วนมากจะสวมเสื้อตัวยาวถึงสะโพก ตัวเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยแถบสีไม่มีการปักประดับเหมือนเสื้อผู้หญิง นุ่งกางเกงสะดอ นิยมใช้สร้อยลูกปัดเป็นเครื่องประดับ และสวมกำไลเงินหรือตุ้มหู
 +
          ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยา และตองสูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่า ในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกายไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ หญิงกะเหรี่ยงสะกอแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งเสื้อมีลวดลายหลากหลาย และละเอียดมากกว่าแถบจังหวัดตาก หรือกะเหรี่ยงโปแถบจังหวัดกาญจนบุรีก็มีลวดลายตกแต่งเสื้อผ้าแตกต่างจากภาคเหนือ ในจังหวัดเชียงรายที่มีการนำแฟชั่นใหม่ๆ มาทำซึ่งมีลักษณะ ที่แปลกออกไป เช่น ทำผ้าปูโต๊ะที่มีลวดลายประยุกต์ใหม่ๆ และมีลายปักแบบลายไทยอีกมากมายซึ่งเป็นไปตามยุคสมัย และการพัฒนาของเทคโนโลยี (ภคพร วงค์ดอยแก้ว, 2558)
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 2 การแต่งกาย.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 2 การแต่งกายของชนเผ่าปกาเกอะญอ'''</p>
 +
<p align = "center"> (ที่มา : ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขา กำแพงเพชร, 2554)</p>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:11, 21 ธันวาคม 2563

กลุ่มชาติพันธุ์ ชุมชนและสังคม : หมู่บ้านกะเหรี่ยงน้ำตกคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

บทนำ

         กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง เดิมอาศัยอยู่แถบบริเวณต้นแม่น้ำสาละวินของพม่า ต่อมาได้อพยพเข้าสู่ประเทศพม่าและประเทศไทย มีภาษาพูดเรียกว่า ภาษากะเหรี่ยง อยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวกะเหรี่ยงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหลายอย่าง นอกเหนือจากภาษาพูดแล้ว ยังมีการแต่งกาย ศิลปะการแสดง และประเพณีต่างๆ อนึ่ง คำว่า “กะเหรี่ยง” นั้น บางท่านถือว่าเป็นคำไม่เหมาะสม เป็นการเรียกด้วยความดูถูก แต่ชาวกะเหรี่ยงในบางชุมชน ก็แนะนำตัวเองว่า กะเหรี่ยง มิได้เห็นเป็นคำไม่เหมาะสมหรือดูถูก ทั้งนี้ความรู้สึกดังกล่าวยังขึ้นอยู่กับทรรศนะของผู้เรียกด้วย (โสภา เรือนแก้ว, ม.ป.ป.) อย่างไรก็ตามคนล้านนาและคนทางภาคตะวันตกมักเรียกกะเหรี่ยงว่า “ยาง” พม่าเรียกว่า “กะยิ่น” ฝรั่งเรียกว่า “กะเรน” (บางที่เขียนว่า กะเร็น) แต่พม่าจะออกเสียง ร เป็น ย แต่คำว่า กะเหรี่ยง กะเรน หรือ กะยิ่น ก็เป็นคำที่พวกเขาไม่ชอบนัก สังเกตได้จากเมื่อครั้งพม่าได้รับเอกราช พวกเขาได้ตั้งชื่อรัฐของตนเองว่า “กะยา” แปลว่า “คน” (จิตร ภูมิศักดิ์, 2544, หน้า 279-280) ดังนั้นคนในปัจจุบันจึงนิยมเรียกกะเหรี่ยงว่า “ปกาเกอะญอ” แทน แต่หากศึกษากันไปแล้วกลับพบว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ที่เดิมนักมานุษยวิทยาเห็นว่าควรจัดอยู่ในกลุ่มของกะเหรี่ยงกลับไม่ได้เรียกตัวเองว่ากะเหรี่ยงแต่อย่างใด กลับเรียกเป็นชื่ออื่น กลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเรียกว่ากะเหรี่ยงมีหลายกลุ่มแตกต่างกันไป โดยใหญ่ๆ แบ่งได้ 4 ประเภท ได้แก่ ปกาเกอะญอ (สกอ) เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โพล่ (โป) ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ตองสู (ปะโอ) อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน    และคะยา (บะเว) อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน  

คำสำคัญ : กลุ่มชาติพันธุ์, กะเหรี่ยง, ปะกาเกอะญอ, หมู่บ้านกะเหรี่ยงน้ำตกคลองลาน

กลุ่มชาติพันธุ์ ชุมชนและสังคม

         บริเวณพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรส่วนที่เป็นที่ราบลุ่มของฟากฝั่งแม่น้ำปิงเป็นพื้นที่ราบติดต่อกับที่ราบลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน และสามารถติดต่อเลยไปถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสักในจังหวัดเพชรบูรณ์ลงมา ขณะเดียวกันทางทิศเหนือและทิศตะวันตกเป็นพื้นที่ที่เป็นภูเขา ที่ราบในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชรจึงเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงที่อยู่ทางเหนือสุดที่มีความเหมาะสมในการตั้งชุมชมในสมัยโบราณ และยังเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และทรัพยากรทางธรรมชาติ ประชากรในพื้นที่ประกอบด้วยคนพื้นราบและกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ปกาเกอะญอ ม้ง ลีซอ ไทยทรงดำ รวมทั้งการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานของคนอีสาน และคนเมือง (ภาคเหนือ) ที่เข้ามาอย่างน้อย 50 ปีทีผ่านมาโดยมีการตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอเมืองรอบนอก ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงและลำน้ำสาขาต่างๆ มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบกึ่งสังคมชนบท พึ่งพิงระบบการผลิตแบบเกษตรกรรมเป็นหลัก (สิริวรรณ  สิรวณิชย์, วรพรรณ  ขาวประทุม และบุญล้อม  ด้วงวิเศษ, 2559, หน้า 126) พื้นที่ในเขตตำบลคลองลานก็เช่นกัน มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบเชิงเขา มีภูเขาสลับซับซ้อนเป็นจำนวนมาก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินปนทราย พื้นที่ภูเขาเป็นป่าไม้อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีน้ำตกตลอดปี คือ น้ำตกคลองลานทำให้พื้นที่เหมาะสมแก่การปลูกพืชไร่ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา และเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ และผลไม้ยืนต้น 
         กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือเดิมเรียกกันว่ากลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไปทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งจากการสำรวจ มี 2 หมู่บ้าน (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2558) คือ 
         1. หมู่ 3 บ้านคลองน้ำไหลใต้ ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 80 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ รับจ้างทำไร่มันสำปะหลัง
         2. หมู่ 18 บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร มีจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน อาชีพหลัก คือ ทำไร่มันสำปะหลังและหาของป่าขาย

หมู่บ้านกะเหรี่ยงน้ำตกคลองลาน

         หมู่บ้านกะเหรี่ยงน้ำตกคลองลาน ตั้งอยู่หมู่ที่ 18 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ประชากรที่อาศัยในหมู่บ้านเป็นชนเผ่าปะกาเกอะญอ ที่มีการอพยพย้ายถิ่นฐานกระจายไปทั่วประเทศไทย และส่วนหนึ่งเดิมได้มาตั้งถิ่นฐานในเขตอุทยานแห่งชาติคลองลาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่สูงขึ้นไปในหมู่บ้านในปัจจุบัน โดยบริเวณที่อยู่อาศัยเดิมเป็นส่วนหนึ่งของบ้านสวนส้มหมู่ที่ 2 ตำบลคลองลานพัฒนา จากนั้นรัฐบาลมีนโยบายผลักดันชาวเขาออกจากพื้นที่ป่า และได้ประกาศจัดตั้งให้เป็นพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองลาน เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2525 ปัจจุบันชาวปะกาเกอะญอมีอาชีพหลักคือ ทำไร่มันสำปะหลัง และหาของป่าขาย มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สร้างรายได้ คือ ผ้าทอกะเหรี่ยง และหมู่บ้านกะเหรี่ยงน้ำตกคลองลานยังได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ทั้งภาษาและชุดประจำเผ่า ที่ชาวปกาเกอะญอยังคงใส่ในงานประเพณีที่สำคัญ 
         วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าปะกากะญอบ้านน้ำตกคลองลานยังคงมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นตามแบบวิถีชีวิตของชาวปะกาเกอะญอ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยมากมาย ชาวบ้านที่นี่ยังคงเรียบง่าย รักความสันโดษ มีการปลูกผัก เลี้ยงหมูและไก่ไว้รับประทานในครอบครัว

วิถีชีวิตชนเผ่าปะกาเกอะญอ หรือ กะเหรี่ยงน้ำตกคลองลาน

         สามารถแบ่งวิถีชีวิตของชนเผ่าปะกาเกอะญาหมู่บ้านกะเหรี่ยงน้ำตกคลองลานได้ 6 ประเภท ได้แก่
         1. วิถีชีวิตด้านอาชีพ
         กะเหรี่ยงน้ำตกคลองลานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ กะเหรียงดั้งเดิมจะประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา ทำมันสำปะหลังอยู่ตามป่าตามเขา ปลูกพืชผักสวนครัวตามฤดูกาล ส่วนสัตว์เลี้ยงก็จะเลี้ยงไว้เพื่อเป็นอาหารมากกว่าการค้าขาย ใช้ชีวิตแบบพึ่งป่าพึ่งน้ำอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่
         2. ลักษณะบ้านเรือน
         ชาวกะเหรี่ยงนิยมปลูกบ้านไว้ตามเชิงเขาอยู่เป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-4 หลัง บางส่วนก็ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบเช่นเดียวกับชาวพื้นราบทั่วไป ชาวะเหรี่ยงนิยมตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร ไม่ย้ายถิ่นบ่อยๆ รูปแบบเรือนกะเหรี่ยง เป็นเรือนหลังคาจั่วความชันต่ำทรงหมาแหงน สร้างเป็นบ้านยกพื้นสูง มีชานบ้าน บริเวณใต้ถุนเรือนจะใช้เก็บฟืนและเลี้ยงสัตว์ ลักษณะบ้านจะก่อตั้งด้วยไม้ไผ่โดยหลังคานั้นก่อสร้างด้วยใบแตนที่มีอยู่ในท้องถิ่น ใช้งานได้ประมาณ 2-3 ปี แล้วก็จะเปลี่ยนใหม่ ซึ่งหาได้ในป่าบนภูเขา ผนังเรือนเป็นไม้ไผ่สาน ด้านหน้าเรือนเป็นไม้แผ่นปูเว้นร่อง ภายในเรือนมีการจัดเตาไฟไว้บริเวณกลางห้อง ส่วนด้านหน้าจัดไว้เป็นส่วนเก็บอาหารแห้ง และเก็บของใช้ ห้องส้มสร้างแยกต่างหากจากตัวบ้าน จากการสัมภาษณ์ ซะนุย คามภูผา (สัมภาษณ์, 3 กุมภาพันธ์ 2561)
ภาพที่ 1 ลักษณะบ้าน.jpg

ภาพที่ 1 ลักษณะบ้านเรือนของคนปกาเกอะญอใช้ต้นแตนทำหลังคาบ้าน

         3. ลักษณะการแต่งกายของชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือชนเผ่ากะเหรี่ยง
         ลักษณะการแต่งกายของชนเผ่ากะเหรี่ยงหรือ ปกากะญอ กะเหรี่ยงในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กะเหรียงสะกอ กะเหรี่ยงโป และ อีก 2 กลุ่ม คือ คะยา หรือบะเว และตองสู หรือพะโอ กะเหรี่ยงกลุ่มต่างๆ เหล่านี้มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกัน แต่การแต่งกายของแต่ละกลุ่มมีลักษณะเฉพาะของตนเองที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ฉะนั้นลักษณะการแต่งกายจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถบ่งชี้ให้เห็นได้ชัดเจนถึงเอกลักษณ์ของกะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม การแต่งกายของเด็กและหญิงสาวจะเป็นชุดทรงกระสอบ ผ้าฝ้ายพื้นขาว ทอหรือปักประดับลวดลายให้งดงาม ส่วนหญิงที่มีครอบครัวแล้วจะสวมเสื้อสีดำ น้ำเงิน และผ้านุ่งสีแดงคนละท่อน ตกแต่งด้วยลูกเดือย หรือทอยกดอก ยกลาย สำหรับผู้ชายกะเหรี่ยงนั้นส่วนมากจะสวมเสื้อตัวยาวถึงสะโพก ตัวเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยแถบสีไม่มีการปักประดับเหมือนเสื้อผู้หญิง นุ่งกางเกงสะดอ นิยมใช้สร้อยลูกปัดเป็นเครื่องประดับ และสวมกำไลเงินหรือตุ้มหู
         ปัจจุบันกลุ่มกะเหรี่ยงที่ยังคงสวมใส่เครื่องแต่งกายประจำเผ่าในวิถีชีวิตปกติ มีเพียงกลุ่มโป และสะกอเท่านั้น ส่วนกลุ่มคะยา และตองสูไม่สวมใส่ชุดประจำเผ่า ในชีวิตประจำวันแล้ว กะเหรี่ยงแต่ละกลุ่ม นอกจากจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกัน กะเหรี่ยงกลุ่มเดียวกันแต่อยู่ต่างพื้นที่ ก็มีลักษณะการแต่งกายไม่เหมือนกันด้วย เช่น กะเหรี่ยงโปแถบอำเภอแม่เสรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน แต่งกายมีสีสันมากกว่าแถบจังหวัดเชียงใหม่ หญิงกะเหรี่ยงสะกอแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอน และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งเสื้อมีลวดลายหลากหลาย และละเอียดมากกว่าแถบจังหวัดตาก หรือกะเหรี่ยงโปแถบจังหวัดกาญจนบุรีก็มีลวดลายตกแต่งเสื้อผ้าแตกต่างจากภาคเหนือ ในจังหวัดเชียงรายที่มีการนำแฟชั่นใหม่ๆ มาทำซึ่งมีลักษณะ ที่แปลกออกไป เช่น ทำผ้าปูโต๊ะที่มีลวดลายประยุกต์ใหม่ๆ และมีลายปักแบบลายไทยอีกมากมายซึ่งเป็นไปตามยุคสมัย และการพัฒนาของเทคโนโลยี (ภคพร วงค์ดอยแก้ว, 2558)
ภาพที่ 2 การแต่งกาย.jpg

ภาพที่ 2 การแต่งกายของชนเผ่าปกาเกอะญอ

(ที่มา : ศูนย์วัฒนธรรมชาวเขา กำแพงเพชร, 2554)