ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดสิงคาราม"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(สร้างหน้าด้วย "=='''ข้อมูลทั่วไป'''== ==='''ชื่อเรียก'''=== วัดสิงคาราม ==='''ศาสนา'...")
 
แถว 31: แถว 31:
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 5 หลวงปู่สิงห์ (หลวงปู่เจ้าวัด).jpg|500px|thumb|center]]
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 5 หลวงปู่สิงห์ (หลวงปู่เจ้าวัด).jpg|500px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 5 หลวงปู่สิงห์ (หลวงปู่เจ้าวัด)''' </p>  
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 5 หลวงปู่สิงห์ (หลวงปู่เจ้าวัด)''' </p>  
           อุโบสถ (อ่านว่า อุ-โบ-สด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของ พระภิกษุสงฆ์จะใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง“สีมา” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้บวชมากขึ้น อีกทั้งภายใน พระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มาสักการบูชาและร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก พระอุโบสถจึงถูกสร้าง ขึ้นเป็นอาคารถาวรและมักมี การประดับตกแต่งอย่างสวยงาม สำหรับอุโบสถเดิมของวัดสิงคารามจะเป็นอาคารชั้นเดียว ปัจจุบันชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างอุโบสถหลังใหม่ มีความสวยงาน
+
           อุโบสถ (อ่านว่า อุ-โบ-สด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของ พระภิกษุสงฆ์จะใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง“สีมา” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้บวชมากขึ้น อีกทั้งภายใน พระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มาสักการบูชาและร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก พระอุโบสถจึงถูกสร้างขึ้นเป็นอาคารถาวรและมักมี การประดับตกแต่งอย่างสวยงาม สำหรับอุโบสถเดิมของวัดสิงคารามจะเป็นอาคารชั้นเดียว ปัจจุบันชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างอุโบสถหลังใหม่ มีความสวยงาน
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 6 อุโบสถหลังเก่าวัดสิงคาราม.jpg|500px|thumb|center]]
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 6 อุโบสถหลังเก่าวัดสิงคาราม.jpg|500px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 6 อุโบสถหลังเก่าวัดสิงคาราม''' </p>   
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 6 อุโบสถหลังเก่าวัดสิงคาราม''' </p>   

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:14, 12 เมษายน 2564

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อเรียก

         วัดสิงคาราม

ศาสนา

         ศาสนาพุทธ มหานิกาย

ที่ตั้ง

         เลขที่ 1 หมู่ 1 ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร 62140

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์

         ละติจูด (Latitude) : 16.0005871
         ลองติจูด (Longitude) : 99.8026453

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

         สำนักงานพระพุทธศาสนา

สถานะการขึ้นทะเบียน

         ประเภท วัดราษฎร์

วัน/เดือน/ปีก่อสร้าง

         วันที่ตั้งวัด 2400
         วันรับวิสุงคามสีมา 1 มกราคม 2506

ข้อมูลจำเพาะ

ประวัติความเป็นมา/คำบอกเล่า/ตำนาน

         วัดสิงคาราม เป็นวัดที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของชาวบ้านสลกบาตร สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นที่เคารพสักการะของประชาชน วัดสิงคารามเป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดกำแพงเพชร โดยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2521 ได้ต้อนรับการเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 10 สมัยทรงอิสริยยศเป็นสยามกุฏราชกุมาร ทรงเสร็จเป็นองค์ประธานตัดหวายลูกนิมิตควรแล้วที่ชาวสลกบาตรจะภูมิใจและช่วยกันทำนุบำรุง และวันจันทร์ที่ 1 มกราคม 2560 ตั้งแต่เวลา 19.19 น. นายธัชชัย สีสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ  ณ วัดสิงคาราม ตำบลสลกบาตร อำเภอขาณุวรลักษบุรี  จังหวัดกำแพงเพชร โดยอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นสู่ยอดพระธาตุ เพื่อความเหมาะสม มีพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก
ภาพที่ 1 พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นสู่ยอดพระธาตุ.jpg

ภาพที่ 1 พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นสู่ยอดพระธาตุ

         วัดสิงคาราม หรือวัดสิงห์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองสลกบาตร มีองค์พระเก่าที่ชาวบ้านเรียก “หลวงปู่สิงห์”ที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านตำบลสลกบาตรได้เคารพและนับถือ กันมาแต่ช้านานถือว่าเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่ของตำบลสลกบาตร ปัจจุบันได้มีการบูรณะขึ้นมาอย่างสวยงามเพื่อให้ประชาชนชาวสลกบาตรหรือผู้ที่ผ่านมาไว้แวะมาสักการะบูชาและขอพร
ภาพที่ 2 พระธาตุสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุ.jpg

ภาพที่ 2 พระธาตุสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุ

ภาพที่ 3 หลวงปู่เจ้าวัดก่อนเริ่มบูรณะ.jpg

ภาพที่ 3 หลวงปู่เจ้าวัดก่อนเริ่มบูรณะ

         วิหารหลวงปู่เจ้าวัด ทำฝ้าเพด้านด้วยไม้สักทอง รั้วแกะสลักประจำปีเกิด 12 ราศรี ภายในเป็นที่ประดิษฐานของหลวงปู่สิงห์ (หลวงปู่เจ้าวัด)
ภาพที่ 4 วิหารหลวงปู่เจ้าวัด.jpg

ภาพที่ 4 วิหารหลวงปู่เจ้าวัด

ภาพที่ 5 หลวงปู่สิงห์ (หลวงปู่เจ้าวัด).jpg

ภาพที่ 5 หลวงปู่สิงห์ (หลวงปู่เจ้าวัด)

         อุโบสถ (อ่านว่า อุ-โบ-สด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของ พระภิกษุสงฆ์จะใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง“สีมา” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้บวชมากขึ้น อีกทั้งภายใน พระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มาสักการบูชาและร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก พระอุโบสถจึงถูกสร้างขึ้นเป็นอาคารถาวรและมักมี การประดับตกแต่งอย่างสวยงาม สำหรับอุโบสถเดิมของวัดสิงคารามจะเป็นอาคารชั้นเดียว ปัจจุบันชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างอุโบสถหลังใหม่ มีความสวยงาน
ภาพที่ 6 อุโบสถหลังเก่าวัดสิงคาราม.jpg

ภาพที่ 6 อุโบสถหลังเก่าวัดสิงคาราม

ภาพที่ 7 อุโบสถหลังใหม่วัดสิงคาราม.jpg

ภาพที่ 7 อุโบสถหลังใหม่วัดสิงคาราม

         นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปให้ประชาชนได้กราบไหว้ในสถานที่ต่างๆอีกหลายจุด แล้วแต่ความศัรทธา
ภาพที่ 8 พระพุทธรูปภายในวัดสิงคาราม.jpg

ภาพที่ 8 พระพุทธรูปภายในวัดสิงคาราม

ภาพที่ 9 ต้นตะเคียน.jpg

ภาพที่ 9 ต้นตะเคียน

         ภายในวัดบริเวณวิหารหลวงปู่เจ้าวัดมีต้นตะเคียน ที่ชาวบ้านให้ความเคารพและเข้ามากราบไหว้กันเป็นจำนวนมาก โดยนำดอกไม้ ผ้าสีต่างๆ ผูกไว้ด้วยความศรัทธา

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

         -

บุคคลที่เกี่ยวข้อง

         เจ้าอาวาสพระมหาพร้อมเพรียง ภูริญาโณ

วิธี/ขั้นตอน/กระบวนการในการสักการะ

         ดอกไม้ ธูป เทียน

ข้อมูลการสำรวจ

แหล่งอ้างอิง

         เจ้าอาวาสพระมหาพร้อมเพรียง ภูริญาโณ
         เทศบาลตำบลสลกบาตร

วันเดือนปีที่สำรวจ

         วันที่ 9-10 มีนาคม 2562

วันปรับปรุงข้อมูล

         -

ผู้สำรวจข้อมูล

         นางสาวสุรินทร์  เพชรไทย

คำสำคัญ (tag)

         วัดสิงคาราม, หลวงปู่สิงห์, หลวงปู่เจ้าวัด, ต้นตะเคียน