ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูล เรื่อง สืบสานประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(สร้างหน้าด้วย " สืบสานประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง เป็...")
 
แถว 64: แถว 64:
 
| 17.30 น. || พระสงค์เจริญพระพุทธมนต์เย็นและร่วมพิธีทอดผ้าป่าสามัคคีจำนวน 120 กอง
 
| 17.30 น. || พระสงค์เจริญพระพุทธมนต์เย็นและร่วมพิธีทอดผ้าป่าสามัคคีจำนวน 120 กอง
 
|-
 
|-
| 19.00 น. || ร่วมพิธีเปิดงาน – พิธีเปิดงานโดยนายธานี ธัญญาโภชน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร – ชมการแสดงของศิลปินดารา นักแสดง รำวงย้อนยุค ชมมวย และมหรสพอีกมากมาย ณ บริเวณศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง – การแสดงรำจากชมรมสตรีตำบลห้วยยั้ง – ชม ชิม ช๊อป อาหารไทยพื้นบ้านอำเภอพรานกระต่าย พร้อมทั้งชมศิลปะ หัตถกรรมและวัฒนธรรมไทยสมัยโบราณ – ชมภาพเก่าเล่าขานตำนานพรานกระต่าย (แต่งกายย้อนยุค) – ประกวดพูดภาษาถิ่น – ประกวดธิดาชบาแก้ว – การละเล่นพื้นบ้าน
+
| 19.00 น. || ร่วมพิธีเปิดงาน  
 +
|-
 +
| || – พิธีเปิดงานโดยนายธานี ธัญญาโภชน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร
 +
|-
 +
| || – ชมการแสดงของศิลปินดารา นักแสดง รำวงย้อนยุค ชมมวย และมหรสพอีกมากมาย ณ บริเวณศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง
 +
|-
 +
| ||  – การแสดงรำจากชมรมสตรีตำบลห้วยยั้ง
 +
|-
 +
| || – ชม ชิม ช๊อป อาหารไทยพื้นบ้านอำเภอพรานกระต่าย พร้อมทั้งชมศิลปะ หัตถกรรมและวัฒนธรรมไทยสมัยโบราณ
 +
|-
 +
| || – ชมภาพเก่าเล่าขานตำนานพรานกระต่าย (แต่งกายย้อนยุค)
 +
|-
 +
| || – ประกวดพูดภาษาถิ่น
 +
|-
 +
| || – ประกวดธิดาชบาแก้ว
 +
|-
 +
| || – การละเล่นพื้นบ้าน  
 
|}
 
|}
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 7 การเตรียมงานประเพณี.jpg|500px|thumb|center]]
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 7 การเตรียมงานประเพณี.jpg|500px|thumb|center]]
แถว 77: แถว 93:
 
| 07.00 น. || ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ณ บริเวณศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง
 
| 07.00 น. || ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ณ บริเวณศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง
 
|}
 
|}
 
+
==='''ความสำคัญของงานสืบสานประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง'''===
1.9 ความสำคัญของงานสืบสานประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง
+
          การสืบสานประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองนั้นมีความสำคัญต่อคนในชุมชน  พรานกระต่ายเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเพณีดังกล่าวเป็นเครื่องแสดงออกถึงความเคารพต่อบรรพบุรุษ นั้นก็คือ พ่อพราน ผู้ริเริ่มก่อตั้งชุมชนพรานกระต่ายจากการออกมาล่ากระต่ายที่มีลักษณะขนสีทองเพื่อนำไปถวายแด่มเหสีของสมเด็จพระร่วงเจ้า นอกจากประเพณีฯนี้เป็นเครื่องแสดงออกถึงความเคารพแล้วยังเป็นช่วงเวลาที่ทำให้คนในท้องถิ่นได้มีโอกาสร่วมแรงร่วมใจ จัดเตรียมงานเพื่อบวงสรวงและร่วมอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น นำมาซึ่งความสามัคคีของชุมชนและยังเป็นโอกาสในผู้เฒ่าผู้แก่ หรือผู้สูงอายุในชุมชนร่วมระลึกถึงวันวานครั้นยังเป็นสาว ในการแสดงของรำวงย้อนยุค มวยโบราณและมหรสพอีกมากมาย ซึ่งจัดแสดงอยู่ ณ บริเวณศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองนั้นเอง  
การสืบสานประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองนั้นมีความสำคัญต่อคนในชุมชน  พรานกระต่ายเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเพณีดังกล่าวเป็นเครื่องแสดงออกถึงความเคารพต่อบรรพบุรุษ นั้นก็คือ พ่อพราน ผู้ริเริ่มก่อตั้งชุมชนพรานกระต่ายจากการออกมาล่ากระต่ายที่มีลักษณะขนสีทองเพื่อนำไปถวายแด่มเหสีของสมเด็จพระร่วงเจ้า นอกจากประเพณีฯนี้เป็นเครื่องแสดงออกถึงความเคารพแล้วยังเป็นช่วงเวลาที่ทำให้คนในท้องถิ่นได้มีโอกาสร่วมแรงร่วมใจ จัดเตรียมงานเพื่อบวงสรวงและร่วมอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น นำมาซึ่งความสามัคคีของชุมชนและยังเป็นโอกาสในผู้เฒ่าผู้แก่ หรือผู้สูงอายุในชุมชนร่วมระลึกถึงวันวานครั้นยังเป็นสาว ในการแสดงของรำวงย้อนยุค มวยโบราณและมหรสพอีกมากมาย ซึ่งจัดแสดงอยู่ ณ บริเวณศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองนั้นเอง (สิทธิโชค พะโยม, 2561 )
+
==='''กิจกรรมภายในงาน'''===
 
+
          1. ภาพนิทรรศการย้อนอดีต เป็นการจัดภาพเก่าๆของอำเภอพรานกระต่ายมาแสดง โดยภายในงานมีการรวมภาพเก่ามากมายที่ไม่สามารถเห็นได้ง่ายๆ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เห็นว่าอดีตเป็น  เช่นไร และสามารถถ่ายภาพเก็บเป็นที่ระลึกได้
1.10 กิจกรรมภายในงาน
+
[[ไฟล์:ภาพที่ 10 ขุดสระน้ำนันทวดี สระวัดกุฏิการาม.jpg|500px|thumb|center]]
1. ภาพนิทรรศการย้อนอดีต เป็นการจัดภาพเก่าๆของอำเภอพรานกระต่ายมาแสดง โดยภายในงานมีการรวมภาพเก่ามากมายที่ไม่สามารถเห็นได้ง่ายๆ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เห็นว่าอดีตเป็น  เช่นไร และสามารถถ่ายภาพเก็บเป็นที่ระลึกได้
+
<p align = "center"> '''ภาพที่ 10 ขุดสระน้ำนันทวดี สระวัดกุฏิการาม''' </p> 
+
          2. การแข่งขันพูดภาษาถิ่น หรือที่เรียกว่า ภาษาพานต๋าย จะมีลักษณะสำเนียงคล้ายภาษาทางจังหวัดสุโขทัย เป็นภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอำเภอพรานกระต่าย ซึ่งไป ณ สถานที่แห่งใด สามารถบ่งบอกได้ว่า เป็นคนพื้นเพที่ใด ลักษณะคำของภาษาพรานกระต่าย บางคำไม่สามารถเขียนเป็นตัวอักษรได้ ส่วนมากไม่มีคำควบกล่ำ แต่วิธีการเขียน จะเขียนให้ใกล้กับสำเนียงที่สุด
ภาพที่ 10 ขุดสระน้ำนันทวดี สระวัดกุฏิการาม(สัตยา จันแดง, 2561)
+
'''ตัวอย่างภาษาพรานกระต่าย'''
2. การแข่งขันพูดภาษาถิ่น หรือที่เรียกว่า ภาษาพานต๋าย จะมีลักษณะสำเนียงคล้ายภาษาทางจังหวัดสุโขทัย เป็นภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอำเภอพรานกระต่าย ซึ่งไป ณ สถานที่แห่งใด สามารถบ่งบอกได้ว่า เป็นคนพื้นเพที่ใด ลักษณะคำของภาษาพรานกระต่าย บางคำไม่สามารถเขียนเป็นตัวอักษรได้ ส่วนมากไม่มีคำควบกล่ำ แต่วิธีการเขียน จะเขียนให้ใกล้กับสำเนียงที่สุด(นายสิทธิโชค พะโยม, 2561)
+
กะบวก คือ หลุม <br>
ตัวอย่างภาษาพรานกระต่าย
+
กะบก คือ จอบ <br>
กะบวก คือ หลุม
+
จอบ คือ เสียม <br>
กะบก คือ จอบ
+
ต๊กกะหยั่น คือ กระดานหก <br>
จอบ คือ เสียม
+
อีงวม คือ สุ่มไก่ <br>
ต๊กกะหยั่น คือ กระดานหก
+
เสื่อ คือ เสือ <br>
อีงวม คือ สุ่มไก่
+
เสือ คือ เสื่อ <br>
เสื่อ คือ เสือ
+
[[ไฟล์:ภาพที่ 11 ตัวอย่างภพภายในงานและตัวอย่างภาษาพานต๋าย.jpg|500px|thumb|center]]
เสือ คือ เสื่อ  
+
<p align = "center"> '''ภาพที่ 11 ตัวอย่างภพภายในงานและตัวอย่างภาษาพานต๋าย''' </p>   
 
+
          3. ลานวัฒนธรรม เป็นลานที่ใช้สำหรับจัดการแสดงการละเล่นพื้นบ้านต่าง โดยเป็นลานที่กว้างสามารถชมการแสดงได้ง่าย มีทั้งการแสดงของผู้ใหญ่ และการละเล่นของเด็กควบคู่กันไป โดยในงานจะมีการบรรเลงเพลงไทย ของนักเรียนจากโรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมภายในงานได้รู้สึกผ่อนคลายไปในตัว อีกทั้งยังการประกวดธิดาชบาแก้ว หรือธิดาช้าง โดยผู้ที่เข้าร่วมการประกวดต้องโชว์ ความสามารถพิเศษมาแข่งขันกัน ทำให้ผู้เข้าชมได้รู้สึกเพลิดเพลินไปกับการประกวดธิดาชบาแก้ว
 
 
ภาพที่ 11 ตัวอย่างภพภายในงานและตัวอย่างภาษาพานต๋าย (สัตยา จันแดง, 2561)
 
3. ลานวัฒนธรรม เป็นลานที่ใช้สำหรับจัดการแสดงการละเล่นพื้นบ้านต่าง โดยเป็นลานที่กว้างสามารถชมการแสดงได้ง่าย มีทั้งการแสดงของผู้ใหญ่ และการละเล่นของเด็กควบคู่กันไป โดยในงานจะมีการบรรเลงเพลงไทย ของนักเรียนจากโรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมภายในงานได้รู้สึกผ่อนคลายไปในตัว อีกทั้งยังการประกวดธิดาชบาแก้ว หรือธิดาช้าง โดยผู้ที่เข้าร่วมการประกวดต้องโชว์ ความสามารถพิเศษมาแข่งขันกัน ทำให้ผู้เข้าชมได้รู้สึกเพลิดเพลินไปกับการประกวดธิดาชบาแก้ว
 
  
 
   
 
   

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:39, 14 เมษายน 2564

         สืบสานประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง เป็นประเพณีของชาวอำเภอพรานกระต่ายเป็นการจัดงานเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษของชาวอำเภอพรานกระต่าย โดยการจัดงานนั้นอาศัยความร่วมมือของชาวบ้าน และหน่วยงานในภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้งานบรรลุล่วงไปได้ด้วยดี บรรยากาศภายในงานจะเต็มไปด้วยการดำเนินชีวิตในอดีต รวมถึงการบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของอำเภอพรานกระต่าย และยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ร่วมสนุกกันอีกมากมาย ทั้งด้านการละเล่นพื้นบ้าน ตลอดไปจนถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอำเภอพรานกระต่าย เพื่อให้งานดำเนินไปได้อย่างราบรื่นจึงมีสถานที่อำนวยความสะดวกให้แก่ ผู้ที่เข้าร่วมในงานได้สะดวกสบายยิ่งขึ้นจึงมีการจัดงานแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงภายในงานได้อย่างครบถ้วน 
ภาพที่ 1 ศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองในปัจจุบัน.jpg

ภาพที่ 1 ศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองในปัจจุบัน

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อเรียก

         สืบสานประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง

ชื่อเรียกอื่น ๆ

         งานเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง

เดือนที่จัดงาน

         วันที่ 4 – 6 พฤษภาคม ของทุกปี

เวลาทางจันทรคติ

         -

สถานที่

         บริเวณศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง หมู่ที่ 6 ตำบลถ้ำกระต่ายทอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร

ประเภทประเพณี

         ประเพณีไทยในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก คือ จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม ขนบประเพณีหรือสถาบัน และธรรมเนียมประเพณี โดยมีรายละเอียดของแต่ละประเภทดังนี้
         จารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หมายถึง สิ่งซึ่งสังคมใดสังคมหนึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง เป็นเรื่องของความผิดถูก มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นสมาชิกในสังคมผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิดเป็นชั่วจะต้องถูกตำหนิหรือได้รับการลงโทษจากคนในสังคมนั้น เช่น ลูกหลานต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า เป็นต้น 
         ขนบประเพณี หรือสถาบัน หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วปฏิบัติสืบต่อกันมา ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทางตรง ได้แก่ ประเพณีที่มีการกำหนดเป็นระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติอย่างชัดแจ้งว่าบุคคลต้องปฏิบัติอย่างไร เช่น สถาบันโรงเรียน ทางอ้อม ได้แก่ ประเพณีที่รู้กันโดยทั่วๆไป โดยไม่ได้วางระเบียบไว้แน่นอน แต่ปฏิบัติไปตามคำบอกเล่าหรือสังคมปฏิบัติ เช่น ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด การตาย การแต่งงาน ซึ่งเป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิต หรือประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล ตรุษ สารท การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
         ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญที่ทุกคนควรทำ มีความผิดถูกเหมือนจารีตประเพณี เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนปฏิบัติกันทั่วไปจนเกิดความเคยชินและไม่รู้สึกเป็นภาระหน้าที่เพราะเป็นสิ่งที่มีมานาน เช่น การแต่งกาย การพูด การรับประทานอาหาร การเป็นแขกไปเยี่ยมผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วประเพณียังสามารถแบ่งย่อยได้อีก 4 ประเภท คือ
             ก. ประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิตหรือประเพณีครอบครัว ได้แก่ ประเพณีการเกิด ประเพณีการบวช ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีงานศพ
             ข. ประเพณีท้องถิ่นของชุมชนหรือประเพณีส่วนรวมตามเทศกาล ประเพณีการชักพระ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีงานบุญบั้งไฟ ประเพณีการรับประทานอาหาร
             ค. ประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีที่เกี่ยวกับอาชีพ เช่น ภาคใต้ ได้แก่ การลงขันลงหิน การทำขันและเครื่องลงยา การทำผ้าบาติก การทำโสร่งปาเต๊ะ ประเพณีการแต่งกาย ประเพณีการแต่งกาย ประเพณีการละเล่นในงานนักขัตฤกษ์ เช่น การละเล่นหนังตะลุง มโนราห์ เป็นต้น
             ง. ประเพณีราชการ คือประเพณีที่ทางราชการเป็นผู้กำหนดขึ้น จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ รัฐพิธีและพระราชพิธี
         ดังนั้น จากการจำแนกหรือแบ่งแยกประเภทของประเพณีตามแบบแผนแล้วนั้น งานสืบสานประเพณีเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองจีงอยู่ในประเภทขนบประเพณีหรือสถาบัน ประเภทประเพณีท้องถิ่น เนื่องจากประเพณีดังกล่าวเป็นประเพณีที่ดำเนินการสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลานาน นอกจากนั้นแล้วยังเป็นประเพณีที่เกิดขึ้นเฉพาะในท้องถิ่นพรานกระต่ายอีกด้วย 
ภาพที่ 2 ภาพจำลองการดักจับกระต่ายของนายพราน.jpg

ภาพที่ 2 ภาพจำลองการดักจับกระต่ายของนายพราน

ประวัติความเป็นมา

         พรานกระต่ายเป็นชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางเหนือของจังหวัด มีฐานะเป็นอำเภอมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยได้รับจัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอเมื่อปี 2438 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการปกครองของจังหวัดกำแพงเพชร ชื่ออำเภอ “พรานกระต่าย” มีประวัติความเป็นมาเป็นตำนานเล่าขนานกันมาหลายชั่วคนคือ เมื่อประมาณปี พ.ศ.1420 เมืองพรานกระต่ายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองบางพานมี มหาพุทธสาครเป็นกษัตริย์ ซึ่งตัวเมืองตั้งอยู่ห่างจากอำเภอปัจจุบันทางทิศใต้ประมาณ 15 กิโลเมตร เมืองบางพานนั้นเจริญรุ่งเรืองมา เพราะตั้งอยู่ในที่ราบลำน้ำใหญ่ไหลผ่านจากจังหวัดสุโขทัยจนถึงเมืองกำแพงเพชร เส้นทางดังกล่าวจึงกลายเป็นเส้นทางคมนาคมอันอุดมสมบูรณ์ เมื่อมีความอุดมสมบูรณ์จึงมีบ้านเรือนตั้งอาศัยอยู่ริมแม่น้ำทั้ง 2 ฝั่ง ปัจจุบันมีเมืองเก่าแก่ทรุดโทรมอยู่ในป่ารกเป็นอันมาก เช่น วัดโคก บ้านวังไม้พานและบ้านจำปีจำปา เป็นต้น สัญลักษณ์แห่งความเจริญสูงสุดก็คือการสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองสัมฤทธิ์ไว้ที่เขานางทอง ชื่อ “นางทอง” นั้นเป็นชื่อที่ได้อัญเชิญมาจากมเหสีของพระร่วง นอกจากวัดเขานางทองแล้วยังมีถนนที่ใช้ในการเดินทางจากสุโขทัยผ่านอำเภอพรานกระต่ายจนมาถึงจังหวัดกำแพงเพชร เรียกว่า ในสมัยนั้นชาวบ้านจึงเรียกถนนสายนั้นว่า“ถนนพระร่วง”
         กล่าวกันว่าในช่วงประมาณปี พ.ศ.1800 พระร่วงได้ครองเมืองสุโขทัยและได้ทรงมีนโยบายที่จะขยายอาณาเขตให้กว้างขวางและมั่นคง จึงดำริที่จะสร้างเมืองหน้าด่านขึ้น จึงได้รับสั่งให้นายพรานผู้ชำนาญเดินป่าออกสำรวจเส้นทางและชัยภูมิที่มีลักษณะดีเหมาะสำหรับสร้างเป็นเมืองหน้าด่าน กลุ่มนายพรานจึงได้กระจายกันออกสำรวจเส้นทางต่างๆ จนกระทั่งหนึ่งในนายพรานของพระร่วงมาถึงบริเวณ (อำเภอพรานกระต่ายในปัจจุบัน )แห่งหนึ่ง ได้พบกระต่ายป่าขนสีเหลืองเปล่งปลั่งคล้ายสีทองสวยงามมาก นายพรานคนนั้นจึงกลับไปกราบถวายบังคมทูลขอราชานุญาตจากพระร่วงเจ้า เพื่อจะกลับมาจับกระต่ายขนสีทองตัวนี้มาถวายเป็นราชบรรณาการถวายแด่พระมเหสีของพระร่วง เมื่อกราบบังคมทูลขอพระราชานุญาตเรียบร้อยแล้ว นายพรานคนนั้นจึงกลับไปติดตามกระต่ายป่าตัวดังกล่าว ณ บริเวณที่เดิมที่พบกระต่ายและใช้ความพยายามทุกวิถีทางเพื่อดักจับกระต่ายตัวนั้นหลายครั้ง แต่กระต่ายตัวนั้นสามารถหลบหนีไปได้ทุกครั้ง ด้วยความมุมานะที่จะจับกระต่ายขนสีทองตัวนั้นเป็นเครื่องบรรณาการแก่พระมเหสีของพระร่วง นายพรานจึงชักชวนเพื่อนฝูงนายพรานด้วยกันมาช่วยกันจับ เมื่อเวลาผ่านไปก็ยังไม่สามารถจับกระต่ายตัวนั้นได้ นายพรานเหล่านั้นจึงอพยพพี่น้อง ลูกหลานและกลุ่มเพื่อนฝูงตามมาสร้างบ้านถาวรขึ้นเพื่อหวังที่จะจับกระต่ายขนสีทองให้ได้ กระต่ายขนสีทองตัวนั้นได้หลบหนีเข้าไปในถ้ำซึ่งหน้าถ้ำมีขนาดเล็ก เล็กจนนายพรานไม่สามารถจะเข้าไปได้แม้จะพยายามหาทางเข้าเท่าไรก็ไม่พบ นายพรานจึงตั้งหมู่บ้านขึ้นหน้าถ้ำเพื่อเฝ้าคอยหวังจะจับกระต่ายขนสีทองตัวนั้นเมื่อกระต่ายออกมาจากถ้ำ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาหมู่บ้านของนายพรานก็ได้ขยายตัวกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ชาวบ้านในสมัยนั้นจึงได้เรียกชุมชนนั้นว่า “บ้านพรานกระต่าย” และกลายมาเป็นชื่ออำเภอในเวลาต่อมา
5=400px

ภาพที่ 2 หุ่นจำลองนายพรานที่มาดักจับกระต่าย

         ในปัจจุบันถ้ำที่กระต่ายขนสีทองหนีเข้าไปซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ถ้ำกระต่ายทอง” นั้น ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่เพื่อทำให้เป็นสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่นแล้ว ประชาชนก็ยังเห็นความสำคัญของสถานที่นี้จึงได้ช่วยกันดูแลเพื่อเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับหมู่บ้านสมกับเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญอำเภอพรานกระต่ายที่ว่า
             “เอกลักษณ์ภาษาถิ่น          หินอ่อนเมืองพาน
          ตำนานกระต่ายทอง               เห็ดโคนดองรสดี”
         ถ้ำกระต่ายทองแม้จะเป็นตำนานที่เล่าขานกันต่อๆมา รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น สยามมงกุฎราชกุมาร ในรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จมายังเมืองพรานกระต่ายเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2150 และได้กล่าวถึงเมืองพรานกระต่ายว่า “ถึงบ้านพรานกระต่ายจวนเที่ยง ที่บ้านพรานกระต่ายนี้ มีบ้านเรือนหนาแน่น ทุก ๆ บ้านมีรั้วกั้นเป็นอาณาเขต สังเกตว่าบ้านช่องดี สะอาดเรียบร้อยเป็นระเบียบ จึงเข้าใจว่าราษฎรตามแถบนี้อยู่จะบริบูรณ์ สังเกตกิริยามารยาทเรียบร้อย ซึ่งทำให้เข้าใจว่าที่นี่จะเป็นเมืองอย่างโบราณกาล” นั่นเอง จากคำกล่าวข้างต้นทำให้เรารู้ว่า เมืองพรานกระต่ายเป็นขุมชนที่มีมาอย่างยาวนาน
ภาพที่ 3 พิธีบวงสรวงศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง.jpg

ภาพที่ 3 พิธีบวงสรวงศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง

ภาพที่ 4 รำบวงสรวงเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง.jpg

ภาพที่ 4 รำบวงสรวงเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง

กำหนดการของงานสืบสานประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง

         กำหนดการจัดกิจกรรมงานประจำปี ประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง ของชาวอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชรนั้น เป็นงานประเพณีที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้าน เพื่อให้เป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเคารพ สักการะ และระลึกถึงผู้ให้กำเนิดพื้นที่ชุมชนพรานกระต่ายแห่งนี้ นั้นก็คือ พรานกระต่ายของสมเด็จพระร่วงเจ้า นั้นเอง เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าถ้ำกระต่ายทองประจำปี 2561 ที่ผ่ามานั้น ชาวบ้านได้กำหนดจัดงานสืบสานประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายท้องไว้ทั้งหมด 3 วันคือ วันที่ 4 - 6 โดยมีรายละเอียดของการจัดการในแต่ละวันดังนี้\แต่ก่อนที่จะมีงานประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปีนั้น จะมีพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลก่อน ซึ่งการจัดพิธีบวงสรวงในแต่ละปีนั้นจะมีการจัดงานทั้งภาคเช้าและภาคค่ำ แล้วจึงมีงานประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองในช่วงเดือน พฤษภาคมต่อไป
ภาพที่ 5 พิธีบวงสรวง.jpg

ภาพที่ 5 พิธีบวงสรวง ไหว้ครู พ่อพรานถ้ำกระต่ายทองในภาคเช้า

วันที่ 4 พฤษภาคม 2561

เวลา รายการ
07.00 น. อัญเชิญเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอำเภอพรานกระต่าย แห่รอบตลาดพรานกระต่าย เพื่อให้พี่น้องชาวพรานกระต่ายได้สักการบูชา
17.00 น. ชม ชิม ช๊อป อาหารไทยพื้นบ้านอำเภอพรานกระต่าย
ภาพที่ 6 ขบวนแห่พ่อพรานถ้ำกระต่ายทอง.jpg

ภาพที่ 7 ขบวนแห่พ่อพรานถ้ำกระต่ายทอง

วันที่ 5 พฤษภาคม 2561

เวลา รายการ
09.09 น. ร่วมพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง - ชมการแสดงรำบวงสรวงเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง จากชุมชนถ้ำกระต่ายทอง – การแสดงบรรเลงดนตรีไทย จากโรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม
13.30 น. ทำการแข่งขันหมากฮอท จากผู้ที่เข้าร่วมแข่งขัน
17.30 น. พระสงค์เจริญพระพุทธมนต์เย็นและร่วมพิธีทอดผ้าป่าสามัคคีจำนวน 120 กอง
19.00 น. ร่วมพิธีเปิดงาน
– พิธีเปิดงานโดยนายธานี ธัญญาโภชน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร
– ชมการแสดงของศิลปินดารา นักแสดง รำวงย้อนยุค ชมมวย และมหรสพอีกมากมาย ณ บริเวณศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง
– การแสดงรำจากชมรมสตรีตำบลห้วยยั้ง
– ชม ชิม ช๊อป อาหารไทยพื้นบ้านอำเภอพรานกระต่าย พร้อมทั้งชมศิลปะ หัตถกรรมและวัฒนธรรมไทยสมัยโบราณ
– ชมภาพเก่าเล่าขานตำนานพรานกระต่าย (แต่งกายย้อนยุค)
– ประกวดพูดภาษาถิ่น
– ประกวดธิดาชบาแก้ว
– การละเล่นพื้นบ้าน
ภาพที่ 7 การเตรียมงานประเพณี.jpg

ภาพที่ 8 การเตรียมงานประเพณี ณ เจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง

ภาพที่ 8 การเตรียมงานลานวัฒนธรรม.jpg

ภาพที่ 9 การเตรียมงานลานวัฒนธรรมในงานประเพณีศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง

วันที่ 6 พฤษภาคม 2561

เวลา รายการ
07.00 น. ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ณ บริเวณศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง

ความสำคัญของงานสืบสานประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง

         การสืบสานประเพณีท้องถิ่นศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองนั้นมีความสำคัญต่อคนในชุมชน  พรานกระต่ายเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเพณีดังกล่าวเป็นเครื่องแสดงออกถึงความเคารพต่อบรรพบุรุษ นั้นก็คือ พ่อพราน ผู้ริเริ่มก่อตั้งชุมชนพรานกระต่ายจากการออกมาล่ากระต่ายที่มีลักษณะขนสีทองเพื่อนำไปถวายแด่มเหสีของสมเด็จพระร่วงเจ้า นอกจากประเพณีฯนี้เป็นเครื่องแสดงออกถึงความเคารพแล้วยังเป็นช่วงเวลาที่ทำให้คนในท้องถิ่นได้มีโอกาสร่วมแรงร่วมใจ จัดเตรียมงานเพื่อบวงสรวงและร่วมอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่น นำมาซึ่งความสามัคคีของชุมชนและยังเป็นโอกาสในผู้เฒ่าผู้แก่ หรือผู้สูงอายุในชุมชนร่วมระลึกถึงวันวานครั้นยังเป็นสาว ในการแสดงของรำวงย้อนยุค มวยโบราณและมหรสพอีกมากมาย ซึ่งจัดแสดงอยู่ ณ บริเวณศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทองนั้นเอง 

กิจกรรมภายในงาน

         1. ภาพนิทรรศการย้อนอดีต เป็นการจัดภาพเก่าๆของอำเภอพรานกระต่ายมาแสดง โดยภายในงานมีการรวมภาพเก่ามากมายที่ไม่สามารถเห็นได้ง่ายๆ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เห็นว่าอดีตเป็น  เช่นไร และสามารถถ่ายภาพเก็บเป็นที่ระลึกได้
ภาพที่ 10 ขุดสระน้ำนันทวดี สระวัดกุฏิการาม.jpg

ภาพที่ 10 ขุดสระน้ำนันทวดี สระวัดกุฏิการาม

         2. การแข่งขันพูดภาษาถิ่น หรือที่เรียกว่า ภาษาพานต๋าย จะมีลักษณะสำเนียงคล้ายภาษาทางจังหวัดสุโขทัย เป็นภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวอำเภอพรานกระต่าย ซึ่งไป ณ สถานที่แห่งใด สามารถบ่งบอกได้ว่า เป็นคนพื้นเพที่ใด ลักษณะคำของภาษาพรานกระต่าย บางคำไม่สามารถเขียนเป็นตัวอักษรได้ ส่วนมากไม่มีคำควบกล่ำ แต่วิธีการเขียน จะเขียนให้ใกล้กับสำเนียงที่สุด

ตัวอย่างภาษาพรานกระต่าย กะบวก คือ หลุม
กะบก คือ จอบ
จอบ คือ เสียม
ต๊กกะหยั่น คือ กระดานหก
อีงวม คือ สุ่มไก่
เสื่อ คือ เสือ
เสือ คือ เสื่อ

ภาพที่ 11 ตัวอย่างภพภายในงานและตัวอย่างภาษาพานต๋าย.jpg

ภาพที่ 11 ตัวอย่างภพภายในงานและตัวอย่างภาษาพานต๋าย

         3. ลานวัฒนธรรม เป็นลานที่ใช้สำหรับจัดการแสดงการละเล่นพื้นบ้านต่าง โดยเป็นลานที่กว้างสามารถชมการแสดงได้ง่าย มีทั้งการแสดงของผู้ใหญ่ และการละเล่นของเด็กควบคู่กันไป โดยในงานจะมีการบรรเลงเพลงไทย ของนักเรียนจากโรงเรียนพรานกระต่ายพิทยาคม เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมภายในงานได้รู้สึกผ่อนคลายไปในตัว อีกทั้งยังการประกวดธิดาชบาแก้ว หรือธิดาช้าง โดยผู้ที่เข้าร่วมการประกวดต้องโชว์ ความสามารถพิเศษมาแข่งขันกัน ทำให้ผู้เข้าชมได้รู้สึกเพลิดเพลินไปกับการประกวดธิดาชบาแก้ว


ภาพที่ 12 ลานวัฒนธรรมในงานประเพณีเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง (สัตยา จันแดง, 2561) 4. ร้านค้าภายในงานจะประกอบไปด้วยการแต่งกายย้อนยุค เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดงาน โดยร้านค้าของกินภายในงาน จะเป็นเกี่ยวกับอาหารพื้นบ้าน สำหรับร้านค้าท้องถิ่นภาชนะที่ใส่อาหารนั้นเป็นวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ง่าย ทำให้ลดการเกิดภาวะโลกร้อน โดยวัสดุจากใบตองมาทำเป็นภาชนะ

ภาพที่ 13 การแต่งกายย้อนยุคของพ่อค้าแม่ค้าในงานประเพณีฯ (สัตยา จันแดง, 2561) 5. สถานที่พักผ่อน เป็นสถานที่จัดทำให้ดูคล้ายกับธรรมชาติมากที่สุดโดยประกอบไปด้วย หุ่นฟาง ควาย เกวียน และสำหรับที่นั่งพักนั้นทำจากฟางอัดก้อน นำมาวางไว้เป็นจุดต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก และยังประกอบไปด้วยมุมถ่ายภาพต่างๆ ที่จัดขึ้นไว้ภายในงาน


ภาพที่ 14 มุมถ่ายภาพ(สัตยา จันแดง, 2561)

วันเดือนปีที่สำรวจ : 30 สิงหาคม 2561 วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 6 กุมภาพันธ์ 2561 ผู้ควบคุมการสำรวจ อาจารย์วีรวรรณ แจ้งโม้ ผู้สำรวจข้อมูล 1. นายจิตตพัฒน์ ไชยวิสุทธิกุล 2. นายภิรวัฒน์ ขำแจ้ง 3. นายนฤเสฐ โพสี 4. นายอภิเชษฐ์ หนูหอม 5. นายทัศนัย ขุนพิลึก คำสำคัญ เจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง,พรานกระต่าย, จังหวัดกำแพงเพชร, ประเพณีท้องถิ่น