ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความเชื่อ ความศรัทธาจากชาวจีนโพ้นทะเลสู่คลองลาน กำแพงเพชร"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(สร้างหน้าด้วย "== บทนำ == ชาวจีนโพ้นทะเล หรือชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศ...")
 
 
(ไม่แสดง 3 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 3: แถว 3:
 
== ประเพณีที่ถือปฏิบัติในรอบปี ==
 
== ประเพณีที่ถือปฏิบัติในรอบปี ==
 
           เมื่อพูดถึงประเพณีแล้ว จากการศึกษางานวิจัยและบทความต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและหลักการดำเนินชีวิตของคนไทยและคนจีนพบว่า ทั้ง 2 ชนชาติมีความเชื่อและหลักถือปฏิบัติที่ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะชาวจีนที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทยนั้นในปัจจุบันได้มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่กลมกลืนกับชาวจีนเดิมเป็นอย่างมาก แต่ถึงกระนั้น ในการดำเนินชีวิตชาวจีนยังคงรักษาประเพณีดั้งเดิมที่มีการสืบทอดปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน มีการศึกษาครั้งนี้ขอยกตัวอย่างประเพณีที่ชาวจีนถึงถือการปฏิบัติตลอดทั้งปี ทั้งหมด 11 ประเพณี ดังนี้  
 
           เมื่อพูดถึงประเพณีแล้ว จากการศึกษางานวิจัยและบทความต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและหลักการดำเนินชีวิตของคนไทยและคนจีนพบว่า ทั้ง 2 ชนชาติมีความเชื่อและหลักถือปฏิบัติที่ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะชาวจีนที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทยนั้นในปัจจุบันได้มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่กลมกลืนกับชาวจีนเดิมเป็นอย่างมาก แต่ถึงกระนั้น ในการดำเนินชีวิตชาวจีนยังคงรักษาประเพณีดั้งเดิมที่มีการสืบทอดปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน มีการศึกษาครั้งนี้ขอยกตัวอย่างประเพณีที่ชาวจีนถึงถือการปฏิบัติตลอดทั้งปี ทั้งหมด 11 ประเพณี ดังนี้  
           1. ประเพณีตรุษจีน คือ เทศกาลขึ้นปีใหม่ หรือที่ชาวจีนเรียกประเพณีนี้ว่า “ซุนเจี้ย” ซึ่งหมายถึง “วันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ” โดยประเพณีตรุษจีนจะมีช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธี ตั้งแต่ช่วงสิ้นปีไปจนถึง    ไม่เกินวันที่ 15 เดือน 1 ของจีน ประเพณีนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่ญาติพี่น้องจะมารวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆอาทิ การทำความสะอาดบ้าน การจัดเตรียมอาหารและเครื่องเซ่นไหว้ที่ใช้ในการประกอบพิธี  
+
           1. ประเพณีตรุษจีน คือ เทศกาลขึ้นปีใหม่ หรือที่ชาวจีนเรียกประเพณีนี้ว่า “ซุนเจี้ย” ซึ่งหมายถึง “วันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ” โดยประเพณีตรุษจีนจะมีช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธี ตั้งแต่ช่วงสิ้นปีไปจนถึงไม่เกินวันที่ 15 เดือน 1 ของจีน ประเพณีนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่ญาติพี่น้องจะมารวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆอาทิ การทำความสะอาดบ้าน การจัดเตรียมอาหารและเครื่องเซ่นไหว้ที่ใช้ในการประกอบพิธี  
 
           2. ประเพณีเช็งเม้ง หรือการไหว้หลุมศพบรรพบุรุษ ตรงกับวันที่ 5 เดือน 3 ของจีน หรือประมาณวันที่ 5 เมษายนของทุกปี ประเพณีเช็งเม้งเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติตามคำสอนของลัทธิขงจื้อ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ลูกหลานของชาวจีนจะรวมตัวและพากันเซ่นไหว้สุสานหรือฮวงซุ้ยของบรรพบุรุษ ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน
 
           2. ประเพณีเช็งเม้ง หรือการไหว้หลุมศพบรรพบุรุษ ตรงกับวันที่ 5 เดือน 3 ของจีน หรือประมาณวันที่ 5 เมษายนของทุกปี ประเพณีเช็งเม้งเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติตามคำสอนของลัทธิขงจื้อ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ลูกหลานของชาวจีนจะรวมตัวและพากันเซ่นไหว้สุสานหรือฮวงซุ้ยของบรรพบุรุษ ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน
 
           3. ประเพณีไหว้ขนมจ่าง ประเพณีไหว้ขนมจ่างของชาวจีน ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน ประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ชาวจีนถือปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ที่ได้ทำความดีให้กับประเทศชาติบ้านเมืองในสมัยโบราณ  
 
           3. ประเพณีไหว้ขนมจ่าง ประเพณีไหว้ขนมจ่างของชาวจีน ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน ประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ชาวจีนถือปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ที่ได้ทำความดีให้กับประเทศชาติบ้านเมืองในสมัยโบราณ  
แถว 27: แถว 27:
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 2 บรรยากาศภายในศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานในช่วงที่ไม่มีเทศกาล''' </p>
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 2 บรรยากาศภายในศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานในช่วงที่ไม่มีเทศกาล''' </p>
 
<p align = "center"> (ที่มา : วีรวรรณ  แจ้งโม้ และคณะ, 2562) </p>
 
<p align = "center"> (ที่มา : วีรวรรณ  แจ้งโม้ และคณะ, 2562) </p>
 +
 
== ประวัติความเป็นมาของประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน ==
 
== ประวัติความเป็นมาของประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน ==
           เช่นเดียวกับความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน ซึ่งชาวคลองลานเชื่อว่า เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานคอยให้ความคุ้มครองชาวบ้านในตัวตลาดคลองลานอยู่ ความเชื่อและความศรัทธาดังกล่าว เกิดขึ้นจากเหตุเพลิงไหม้ในปีพ.ศ. 2538 ตลาดคลองลานได้เกิดเหตุไฟไหม้บ้านกว่า 10 หลังคาเรือน ถึง 2 ครั้งในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากเหตุไฟไหม้ครั้งที่ 2 ประชาชนภายในตลาดคลองลานจึงมีความคิดที่จะรวมตัวกันเพื่อทำบุญตลาดขึ้น โดยได้นิมนต์หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล มาทำพิธี ในระหว่างทำพิธีอยู่นั้น หลวงพ่อไพบูลย์ก็ได้กล่าวกับคนในตลาดว่า เมื่อตอนที่ระหว่างอยู่ในสมาธิ ท่านได้เห็นแสงไฟสีขาว 2 ดวง อยู่บริเวณต้นไทรต้นใหญ่หลังตลาด หลังจากนั้นหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล จึงได้นำชาวบ้านไปยังต้นไทรต้นใหญ่ที่หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ได้เห็นในนิมิต เมื่อถึงต้นไทรต้นดังกล่าวก็พบว่า ใต้ต้นไทรต้นดังกล่าวมีศาลเจ้าเล็กๆ อยู่ 1 ศาลด้วย หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ได้กล่าวต่อไปว่า เมื่อท่านอยู่ในสมาธินั้นได้พบกับคนจีน 2 คน ผู้ชายสูงอายุ 1 คน และผู้หญิงสูงอายุอีก 1 คน ประทับอยู่ที่ศาลแห่งนั้น จากนั้นชาวบ้านภายในตลาดคลองลานจึงได้กราบสักการะผู้ชายและผู้หญิงสูงอายุที่ประทับอยู่ ณ ศาลเจ้าแห่งนั้นตามที่หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล   ได้เห็นในนิมิตและตั้งให้เป็นปึงเถ่ากงปึงเถ่าม่า (เจ้าพ่อเจ้าแม่) ประจำตลาดคลองลาน นอกจากนั้นแล้วหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ยังกล่าวต่ออีกว่าสิ่งที่เจ้าพ่อเจ้าแม่ชื่นชอบเป็นอย่างมากนั้นก็คือ หัวใจสีน้ำเงิน สมควรที่จะเอามาสำหรับสักการะ บูชาเป็นอย่างมาก จากนั้นชาวบ้านภายในตลาดคลองลานจึงจัดทำล็อกเก็ตหัวใจสีน้ำเงินขึ้นมาเพื่อนำมาบูชาและสักการะปึงเถ่ากงปึงเถ่าม่า เมื่อสักการะปึงเถ่ากงปึงเถ่าม่าแล้ว หลังจากนั้นตลาดคลองลานก็ไม่เกิดเหตุการณไฟไหม้อีกเลย
+
           เช่นเดียวกับความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน ซึ่งชาวคลองลานเชื่อว่า เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานคอยให้ความคุ้มครองชาวบ้านในตัวตลาดคลองลานอยู่ ความเชื่อและความศรัทธาดังกล่าว เกิดขึ้นจากเหตุเพลิงไหม้ในปีพ.ศ. 2538 ตลาดคลองลานได้เกิดเหตุไฟไหม้บ้านกว่า 10 หลังคาเรือน ถึง 2 ครั้งในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากเหตุไฟไหม้ครั้งที่ 2 ประชาชนภายในตลาดคลองลานจึงมีความคิดที่จะรวมตัวกันเพื่อทำบุญตลาดขึ้น โดยได้นิมนต์หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล มาทำพิธี ในระหว่างทำพิธีอยู่นั้น หลวงพ่อไพบูลย์ก็ได้กล่าวกับคนในตลาดว่า เมื่อตอนที่ระหว่างอยู่ในสมาธิ ท่านได้เห็นแสงไฟสีขาว 2 ดวง อยู่บริเวณต้นไทรต้นใหญ่หลังตลาด หลังจากนั้นหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล จึงได้นำชาวบ้านไปยังต้นไทรต้นใหญ่ที่หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ได้เห็นในนิมิต เมื่อถึงต้นไทรต้นดังกล่าวก็พบว่า ใต้ต้นไทรต้นดังกล่าวมีศาลเจ้าเล็กๆ อยู่ 1 ศาลด้วย หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ได้กล่าวต่อไปว่า เมื่อท่านอยู่ในสมาธินั้นได้พบกับคนจีน 2 คน ผู้ชายสูงอายุ 1 คน และผู้หญิงสูงอายุอีก 1 คน ประทับอยู่ที่ศาลแห่งนั้น จากนั้นชาวบ้านภายในตลาดคลองลานจึงได้กราบสักการะผู้ชายและผู้หญิงสูงอายุที่ประทับอยู่ ณ ศาลเจ้าแห่งนั้นตามที่หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ได้เห็นในนิมิตและตั้งให้เป็นปึงเถ่ากงปึงเถ่าม่า (เจ้าพ่อเจ้าแม่) ประจำตลาดคลองลาน นอกจากนั้นแล้วหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ยังกล่าวต่ออีกว่าสิ่งที่เจ้าพ่อเจ้าแม่ชื่นชอบเป็นอย่างมากนั้นก็คือ หัวใจสีน้ำเงิน สมควรที่จะเอามาสำหรับสักการะ บูชาเป็นอย่างมาก จากนั้นชาวบ้านภายในตลาดคลองลานจึงจัดทำล็อกเก็ตหัวใจสีน้ำเงินขึ้นมาเพื่อนำมาบูชาและสักการะปึงเถ่ากงปึงเถ่าม่า เมื่อสักการะปึงเถ่ากงปึงเถ่าม่าแล้ว หลังจากนั้นตลาดคลองลานก็ไม่เกิดเหตุการณไฟไหม้อีกเลย
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 3 เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน.jpg|500px|thumb|center]]
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 3 เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน.jpg|500px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 3 เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน''' </p>
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 3 เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน''' </p>
แถว 48: แถว 49:
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 8 หน้าศาลเจ้าสำหรับไหว้อัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน ''' </p>
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 8 หน้าศาลเจ้าสำหรับไหว้อัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน ''' </p>
 
<p align = "center"> (ที่มา : วีรวรรณ แจ้งโม้และคณะ, 2561) </p>
 
<p align = "center"> (ที่มา : วีรวรรณ แจ้งโม้และคณะ, 2561) </p>
[[ไฟล์:ภาพที่ 9 สถานที่ไหวอันเชิญเทพเจ้า.jpg|500px|thumb|center]]
+
[[ไฟล์:ภาพที่ 11 สถานที่ไหว้อันเชิญเทพเจ้า.jpg|500px|thumb|center]]
<p align = "center"> '''ภาพที่ 9 สถานที่ไหวอันเชิญเทพเจ้า ''' </p>
+
<p align = "center"> '''ภาพที่ 9 สถานที่ไหว้อันเชิญเทพเจ้า''' </p>
 
<p align = "center"> (ที่มา : วีรวรรณ แจ้งโม้และคณะ, 2561) </p>
 
<p align = "center"> (ที่มา : วีรวรรณ แจ้งโม้และคณะ, 2561) </p>
 +
 
== การแสดงภายในงาน ==
 
== การแสดงภายในงาน ==
 
           จากความศรัทธาและความพยายามที่จะสืบทอดความเชื่อ จากรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งนั้น ชาวอำเภอคลองลานจึงจัดให้มีการแสดงเป็นประจำทุกปีเพื่อสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน อาทิ การแสดงงิ้ว การแห่มังกรและสิงโต นอกจากนั้นแล้วยังมีการแสดงของศิลปินนักร้องอีกมากมายทำให้ประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นจำนวนมาก  
 
           จากความศรัทธาและความพยายามที่จะสืบทอดความเชื่อ จากรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งนั้น ชาวอำเภอคลองลานจึงจัดให้มีการแสดงเป็นประจำทุกปีเพื่อสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน อาทิ การแสดงงิ้ว การแห่มังกรและสิงโต นอกจากนั้นแล้วยังมีการแสดงของศิลปินนักร้องอีกมากมายทำให้ประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นจำนวนมาก  

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:57, 16 เมษายน 2564

บทนำ[แก้ไข]

         ชาวจีนโพ้นทะเล หรือชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันนั้นได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพในประเทศไทยเป็นเวลานาน โดยมีการผสมผสานกลมกลืนระหว่างวัฒนธรรมของชนทั้งสองกลุ่ม ความเชื่อ ความศรัทธารวมถึงเอกลักษณ์กลายเป็นวัฒนธรรมผสม แต่ถึงอย่างไรก็ตามชาวจีนโพ้นทะเลยังคงรักษา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี ของตนไว้เป็นอย่างดี อย่างที่เราจะเห็นได้ในทุกพื้นที่ที่มีคนจีนอาศัยอยู่ จะมีเทศกาลปีใหม่จีน(ตรุษจีน) สารทจีน ให้อยู่ในทุกพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ครบถ้วนเกี่ยวกับที่มาที่ไปของความเชื่อ ความศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้ศึกษาขอพาไปรู้จักกับประเพณีในรอบ 1 ปีของชาวจีนดังในหัวข้อ “ประเพณีที่ถือปฏิบัติในรอบปี”

ประเพณีที่ถือปฏิบัติในรอบปี[แก้ไข]

         เมื่อพูดถึงประเพณีแล้ว จากการศึกษางานวิจัยและบทความต่างๆที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและหลักการดำเนินชีวิตของคนไทยและคนจีนพบว่า ทั้ง 2 ชนชาติมีความเชื่อและหลักถือปฏิบัติที่ใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะชาวจีนที่เข้ามาอาศัยในประเทศไทยนั้นในปัจจุบันได้มีขนบธรรมเนียมประเพณีที่กลมกลืนกับชาวจีนเดิมเป็นอย่างมาก แต่ถึงกระนั้น ในการดำเนินชีวิตชาวจีนยังคงรักษาประเพณีดั้งเดิมที่มีการสืบทอดปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน มีการศึกษาครั้งนี้ขอยกตัวอย่างประเพณีที่ชาวจีนถึงถือการปฏิบัติตลอดทั้งปี ทั้งหมด 11 ประเพณี ดังนี้ 
         1. ประเพณีตรุษจีน คือ เทศกาลขึ้นปีใหม่ หรือที่ชาวจีนเรียกประเพณีนี้ว่า “ซุนเจี้ย” ซึ่งหมายถึง “วันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ” โดยประเพณีตรุษจีนจะมีช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธี ตั้งแต่ช่วงสิ้นปีไปจนถึงไม่เกินวันที่ 15 เดือน 1 ของจีน ประเพณีนี้เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่ญาติพี่น้องจะมารวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆอาทิ การทำความสะอาดบ้าน การจัดเตรียมอาหารและเครื่องเซ่นไหว้ที่ใช้ในการประกอบพิธี 
         2. ประเพณีเช็งเม้ง หรือการไหว้หลุมศพบรรพบุรุษ ตรงกับวันที่ 5 เดือน 3 ของจีน หรือประมาณวันที่ 5 เมษายนของทุกปี ประเพณีเช็งเม้งเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติตามคำสอนของลัทธิขงจื้อ เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ลูกหลานของชาวจีนจะรวมตัวและพากันเซ่นไหว้สุสานหรือฮวงซุ้ยของบรรพบุรุษ ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน
         3. ประเพณีไหว้ขนมจ่าง ประเพณีไหว้ขนมจ่างของชาวจีน ตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน ประเพณีนี้เป็นประเพณีที่ชาวจีนถือปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ที่ได้ทำความดีให้กับประเทศชาติบ้านเมืองในสมัยโบราณ 
         4. ประเพณีสารทจีน เป็นประเพณีทำบุญกลางปี ตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ของจีน เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อทำบุญ อุทิศส่วนกุศลให้กับดวงวิญญาณเร่ร่อนไร้ญาติ โดยเชื่อว่าการเซ่นไหว้นี้จะช่วยให้ครอบครัวเป็นสุข ดังนั้นในประเพณี สารทจีนบางบ้านจะจัดให้มีอาหารทำพิธีจำนวน 3 ชุด คือ สำหรับไหว้เจ้าหน้าที่ชุดที่ 1 ไหว้บรรพบุรุษชุดที่ 2 และไหว้ต้นตระกูลจีนชุดที่ 3 ของเซ่นไหว้ในประเพณีนั้นมีทั้งอาหารคาวขนมเข่งขนมเทียนผลไม้และกระดาษเงินกระดาษทอง เป็นต้น (นฤมล ลี้ปิยะชาติ, 2559, น. 126-128)
         5. ประเพณีไหว้พระจันทร์ ในอดีตประเพณีนี้จัดขึ้นเพื่อสวดขอพรเทพเจ้า เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศเกษตรกรรมและในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของจีนจะตรงกับช่วงหลังการเก็บเกี่ยวของฤดูใบไม้ร่วงพอดี โดยทั่วไปในช่วงเวลานี้ท้องฟ้าจะปลอดโปร่งและอากาศดี ซึ่งเป็นเวลาที่พระจันทร์สว่างมากที่สุด ชาวจีนจึงเฉลิมฉลองด้วยการจัดเลี้ยงหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อแสดงถึงการเคารพบูชาและแสดงการขอบคุณต่อเทพเจ้า 
         6. ประเพณีถือศีลกินเจ การกินเจของคนจีนหมายถึง การงดรับประทานของคาวประเภทเนื้อสัตว์ต่างๆ ตลอดจนการถือศีลไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ประเพณีถือศีลกินเจตรงกับวันที่ 1-9 เดือน 9 ของจีน (บางคนอาจจะเริ่มกินเจก่อนประมาณ 1-2 วัน เพื่อเป็นการล้างท้อง) ประเพณีกินเจเป็นประเพณีที่มุ่งบูชาดาวนพเคราะห์ทั้ง 9 ตามความเชื่อของชาวจีนนั้น กลุ่มดาวจระเข้ทั้ง 9 นี้ถือกำเนิดมาจากผู้วิเศษ 9 องค์ ซึ่งเป็นผู้ถือบัญชารายชื่อมนุษย์ในโลก ดังนั้น จึงเป็นเทพเจ้าที่กำหนดความเป็น ความตายให้แก่มนุษย์ได้ เพื่อเป็นการแสดงให้เทพเจ้าแห่งความดีที่ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและถือศีลกินเจ รวมถึงเพื่อเป็นการชำระล้างร่างกายและทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ชาวจีนจึงถือปฏิบัติตามความเชื่อดังกล่าวในช่วงเวลานี้ของทุกปี
         7. ประเพณีทิ้งกระจาด ตรงกับช่วงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 7 ของจีน และยังถือปฏิบัติในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจอีกด้วย การทิ้งกระจาดถือเป็นงานบุญที่กระทำไปเพื่อความเมตตาเป็นธรรมช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก 
         8. ประเพณีไหว้ขนมอี้ จะจัดขึ้นในช่วงอาทิตย์สุดท้ายสิ้นปีจีน เป็นประเพณีเซ่นไหว้เพื่อขอบคุณเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ที่ช่วยให้ความคุ้มครองและให้มีชีวิตอย่างปลอดภัยมาตลอดทั้งปี เทพเจ้าที่เซ่นไหว้ประกอบไปด้วยเทวดาทั่วไป เทพเจ้าประจำบ้าน เทพเจ้าเตาไฟและบรรพบุรุษภายในบ้าน บางครอบครัวอาจเซ่นไหว้วิญญาณเร่ร่อนภายนอกบ้านด้วย
         9. ประเพณีแต่งงาน การแต่งงานถือเป็นเรื่องใหญ่ในชีวิตของคนจีนตั้งแต่สมัยโบราณถึงปัจจุบันการแต่งงานจะมีพิธีการขั้นตอนและการเฉลิมฉลองที่ซับซ้อนมากมาย นอกจากนั้นการแต่งงานยังเป็นประเพณีที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อดั้งเดิมของคนจีนในเรื่องของการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษทั้งที่ยังมีชีวิตและล่วงลับไปแล้ว ยังเป็นการแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นประเพณีที่แสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้อาวุโสและผู้มีพระคุณ ประเพณีแต่งงานของจีนยังแฝงไว้ด้วยจริยธรรมและการสอนให้รู้จักประพฤติปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรมอันดีงามดังจะเห็นได้จากการมีขั้นตอนสู่ขอที่ต้องได้รับการยินยอมจากญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย รวมถึงการห้ามอยู่กินกันก่อนพิธีแต่งงาน โดยเฉพาะหากมีการตั้งครรภ์ก่อนการทำพิธีแต่งงานนั้น คู่บ่าวสาวจะทำพิธีไหว้ฟ้าดินไม่ได้เพราะถือว่าไม่ได้ขออนุญาตจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อน 
         10. ประเพณีแซยิด ในธรรมเนียมของชาวจีนประเพณีแซยิดคือ ประเพณีที่จะระลึกถึงวันคล้ายวันเกิดให้กับผู้อาวุโสเป็นประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวที ความซื่อสัตย์และการเคารพผู้อาวุโส การประกอบพิธีแซยิดหรือการทำบุญคล้ายวันเกิดครบรอบ 60 ปีนั้น เป็นการแสดงความยินดีที่มีอายุยืนยาวเป็นการแสดงถึงการบรรลุความเป็นคนอย่างสมบูรณ์พอได้ผ่านประสบการณ์ด้านต่างๆ สุดท้าย
         11. ประเพณีงานศพ เป็นงานที่จัดขึ้นเมื่อมีสมาชิกในครอบครัวถึงแก่กรรมบรรดาญาติพี่น้องก็จะประกอบพิธีทางศาสนาเพื่อให้ผู้ถึงแก่กรรมได้รับความสุขในปรภพและเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพบุรุษ รวมทั้งยังเชื่อว่าจะส่งผลให้บรรดาญาติพี่น้องตลอดจนผู้ที่มีส่วนในการทำพิธีศพได้รับความสุขความเจริญการจัดงานศพเป็นการแสดงออกถึงความเชื่อของชาวจีนทั้งในความเชื่อตามลัทธิขงจื้อลัทธิเต๋าและความเชื่อในพุทธศาสนา (ศุภการ สิริไพศาล, 2550, น.74) 
         จากทั้งหมดนี้คือ ประเพณีที่เกิดขึ้นตลอด 1 ปี แต่ที่สำคัญคือ ตามความเชื่อที่คนจีนมักจะประพฤติปฏิบัติกัน มากไปกว่านั้นบางครอบครัวยังนับถือและปฏิบัติมากกว่า 11 ประเพณีนี้ อาทิ ประเพณีหยวนเซียว เป็นต้น นอกจากประเพณีดังกล่าวจะแสดงถึงวิถีชีวิต ความเชื่อ และความเป็นไปของชาวจีนแล้ว การนับถือเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ยังเป็นอีกรูปแบบที่แสดงออกถึงความเหนียวแน่นของคนจีนที่มีต่อสิ่งลี้ลับตามความเชื่อดั้งเดิมและเก่าแก่ที่สุดของชาวจีนมักจะเชื่อว่าสิ่งต่างๆ ที่กระทบต่อชีวิตมนุษย์เกิดจากการดลบันดาลของเทพเจ้าเพื่อเป็นการเอาใจเทพเจ้าและช่วยขจัดปัดเป่าความไม่ดีที่เกิดขึ้นจึงต้องมีพิธีกรรมต่างๆรวมทั้งการสร้างศาลเจ้าให้เป็นที่สิงสถิตของเทพเจ้าทั้งหลาย เช่น เทพเจ้าประจำอาชีพ เทพเจ้าประจำทะเล ภูเขา ป่า แม่น้ำ บ้านเรือน เป็นต้น เทพเจ้าของจีนสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มคือ
         1. เทพเจ้าระดับชาวบ้าน หมายถึงวิญญาณที่สถิตอยู่ตามบ้านเรือนมีระดับความบริสุทธิ์และอิทธิฤทธิ์ไม่สูงนะเช่น ตี่ จู๋เอี๊ยะ จะเซ่นไหว้ด้วยอาหารคาวหวานแบบเดียวกับที่ชาวบ้านรับประทาน  
         2. เทพเจ้าป่าเขาและเทพที่ล่องหนได้ ถือว่าอยู่ระดับสูงกว่าพวกแรกและมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากกว่า  
         3. เทพเจ้าชั้นสูงเป็นเทพเจ้าที่ทรงคุณธรรมเป็นเลิศเช่นเทพเจ้ากวนอูเจ้าแม่ทับทิมเป็นต้นซึ่งอยู่ในศาลเจ้าที่ควรสร้างให้มีขนาดใหญ่ซึ่งขณะนั้นแสดงถึงความสามัคคีของคนในชุมชนด้วย 
         4. เทพเจ้าชั้นสูงสุดได้แก่พระพุทธเจ้าพระโพธิสัตว์และเทพเจ้าที่เป็นเสียงต่างๆเช่น โป๊ยเซียน เป็นต้น
         ความเชื่อในเรื่องลี้ลับนี้นั้นแสดงออกอย่างชัดเจนจากการศึกษากระบวนการสืบทอดประเพณีทางสังคมของชาวไทยเชื้อสายจีน ชุมชนบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ของชนาภา เมธีเกรียงไกร (ชนาภา เมธีเกรียงไกร, 2559, น.90) จากการศึกษาดังกล่าวทำให้ทราบว่า ความเชื่อเรื่องลี้ลับนั้นมีมาอย่างยาวนานตั้งแต่ชาวจีนยังอาศัยอยู่ในแผ่นดินใหญ่จนอพยพมาสู่ผืนแผ่นดินไทย จากการศึกษาดังกล่าวพบว่า ชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากิจและสร้างครอบครัว ซึ่งชาวจีนแต้จิ๋วนี้เป็นกลุ่มที่มีความเชื่อในเรื่องผีสาง เทวดาและการบูชาบรรพบุรุษเข้มข้นกว่าชาวจีนกลุ่มอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นกลุ่มที่เคร่งครัดต่อประเพณีเป็นอย่างมาก บางครั้งอาจจะเรียกได้ว่างมงายก็ว่าได้ 
         ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เมื่อชาวจีนเข้ามาอยู่อาศัยและตั้งชุมชนในเมืองไทย อาทิ ชุมชนในอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ชาวจีนที่เข้ามาอาศัยอยู่มีการดำเนินชีวิตและประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อของตน จนในปัจจุบันพิธีกรรมดังกล่าวผสมผสานเข้ากับพิธีกรรมของคนไทยในพื้นที่ แต่ในหลายพิธีกรรม คนไทยเชื้อสายจีนยังคงอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี อาทิประเพณีแต่งงานหรือโครงสร้างอำนาจในครอบครัวชาวจีนยังคงให้สิทธิกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง ส่วนในหลายประเพณีเกิดการผสมผสานระหว่างความเป็นไทยและจีน เช่น คนไทยถือศีลกินเจในเทศบาลของคนจีน และคนจีนเข้าร่วมในประเพณีสงกรานต์ตามอย่างคนไทย เป็นต้น เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับการค้าขาย ซึ่งเป็นอาชีพที่คนจีนถนัดและนิยมทำกันมาเป็นเวลานาน จากการศึกษางานวิจัยและบทความต่างๆ พบว่า ชาวจีนในพื้นที่ต่างๆมีความเชื่อคล้ายคลึงกัน โดยเชื่อว่า ลูกปัดหินสี ฮกลกซิ่ว ปี่เซี๊ยะ เต่า กบ โดยเชื่อว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้เป็นสิริมงคลให้ค้าขายดี ชาวไทยเชื้อสายจีนในชุมชนบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ยังมีความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเรื่องลี้ลับคล้ายกับชาวบ้านในอำเภอคลองลาน กล่าวคือ ชาวบ้านในชุมชนบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีการนับถือเทพเจ้าตามบรรพบุรุษ โดยส่วนใหญ่นับถือ เจ้าแม่กวนอิม      เจ้าพ่อกวนอู พระสังกัจจาย และที่สำคัญคือ เจ้าพ่อโกมินทร์และเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งทั้ง 2 องค์หลังเป็นเหมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่นก็ว่าได้ เป็นเหมือนศูนย์รวมจิตใจของชุมชนตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ความเชื่อดังกล่าวเกิดจากการที่ในปี 2447 ที่ชุมชนตลาดบ้านใหม่เกิดเหตุไฟไหม้ ระหว่างที่เกิดเหตุ ชาวไทยเชื้อสายจีนในรุ่นที่ 2 (อายุระหว่าง 50-70 ปี) หรือผู้ที่ดูแลศาลเจ้าพ่อโกมินทร์กล่าวว่า ตนได้อธิษฐานขอให้เจ้าพ่อโกมินทร์คุ้มครองชาวชุมชนตลาดบ้านใหม่ด้วย ตนก็พูดอธิษฐานอยู่เช่นนั้นวนไปวนมาซ้ำๆ เพราะในเวลานั้นชาวชุมชนตลาดบ้านใหม่ต้องการที่พึ่งเป็นอย่างมาก สิ่งอัศจรรย์ก็ปรากฏคือ อยู่ๆฝนก็ตกลงมาช่วยดับไฟ ทุกคนในชุมชนจึงเชื่อว่าเป็นเพราะเจ้าพ่อโกมินทร์และเจ้าแม่ทับทิมที่ดลบันดาลให้ฝนตกทำให้ความเสียหายไม่เกิดขึ้นมากไปกว่านี้ ด้วยความเชื่อในอิทธิฤทธิ์และปาฏิหาริย์ของศาลเจ้าทั้งสองแห่งนี้ จึงทำให้ชาวไทยเชื้อสายจีนในชุมชนบ้านใหม่โดยเฉพาะรุ่นพ่อแม่ ปู่ย่า มีความเชื่อและศรัทธาต่อองค์เทพทั้งสองเป็นอย่างมาก
ภาพที่ 1 บรรยากาศภายในศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่.jpg

ภาพที่ 1 บรรยากาศภายในศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

(Facebook Pages ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน, 2558, ออนไลน์)

ภาพที่ 2 บรรยากาศภายในศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่.jpg

ภาพที่ 2 บรรยากาศภายในศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานในช่วงที่ไม่มีเทศกาล

(ที่มา : วีรวรรณ แจ้งโม้ และคณะ, 2562)

ประวัติความเป็นมาของประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน[แก้ไข]

         เช่นเดียวกับความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน ซึ่งชาวคลองลานเชื่อว่า เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานคอยให้ความคุ้มครองชาวบ้านในตัวตลาดคลองลานอยู่ ความเชื่อและความศรัทธาดังกล่าว เกิดขึ้นจากเหตุเพลิงไหม้ในปีพ.ศ. 2538 ตลาดคลองลานได้เกิดเหตุไฟไหม้บ้านกว่า 10 หลังคาเรือน ถึง 2 ครั้งในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากเหตุไฟไหม้ครั้งที่ 2 ประชาชนภายในตลาดคลองลานจึงมีความคิดที่จะรวมตัวกันเพื่อทำบุญตลาดขึ้น โดยได้นิมนต์หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล มาทำพิธี ในระหว่างทำพิธีอยู่นั้น หลวงพ่อไพบูลย์ก็ได้กล่าวกับคนในตลาดว่า เมื่อตอนที่ระหว่างอยู่ในสมาธิ ท่านได้เห็นแสงไฟสีขาว 2 ดวง อยู่บริเวณต้นไทรต้นใหญ่หลังตลาด หลังจากนั้นหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล จึงได้นำชาวบ้านไปยังต้นไทรต้นใหญ่ที่หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ได้เห็นในนิมิต เมื่อถึงต้นไทรต้นดังกล่าวก็พบว่า ใต้ต้นไทรต้นดังกล่าวมีศาลเจ้าเล็กๆ อยู่ 1 ศาลด้วย หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ได้กล่าวต่อไปว่า เมื่อท่านอยู่ในสมาธินั้นได้พบกับคนจีน 2 คน ผู้ชายสูงอายุ 1 คน และผู้หญิงสูงอายุอีก 1 คน ประทับอยู่ที่ศาลแห่งนั้น จากนั้นชาวบ้านภายในตลาดคลองลานจึงได้กราบสักการะผู้ชายและผู้หญิงสูงอายุที่ประทับอยู่ ณ ศาลเจ้าแห่งนั้นตามที่หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ได้เห็นในนิมิตและตั้งให้เป็นปึงเถ่ากงปึงเถ่าม่า (เจ้าพ่อเจ้าแม่) ประจำตลาดคลองลาน นอกจากนั้นแล้วหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ยังกล่าวต่ออีกว่าสิ่งที่เจ้าพ่อเจ้าแม่ชื่นชอบเป็นอย่างมากนั้นก็คือ หัวใจสีน้ำเงิน สมควรที่จะเอามาสำหรับสักการะ บูชาเป็นอย่างมาก จากนั้นชาวบ้านภายในตลาดคลองลานจึงจัดทำล็อกเก็ตหัวใจสีน้ำเงินขึ้นมาเพื่อนำมาบูชาและสักการะปึงเถ่ากงปึงเถ่าม่า เมื่อสักการะปึงเถ่ากงปึงเถ่าม่าแล้ว หลังจากนั้นตลาดคลองลานก็ไม่เกิดเหตุการณไฟไหม้อีกเลย
ภาพที่ 3 เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน.jpg

ภาพที่ 3 เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

(ที่มา : ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน, 2561)

         ในปีต่อๆมา ด้วยความเชื่อ เคารพ นับถือและเพื่อสักการะให้เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวภายในตัวตลาดคลองลานจึงได้มีการจัดงานงิ้ว เพื่อถวายแก่ปึงเถ่ากงปึงเถ่าม่า(เจ้าพ่อเจ้าแม่) เป็นประจำทุกปี จนกลายเป็นงานประเพณีประจำปีพื้นที่อำเภอคลองลานมาจนถึงปัจจุบัน เพราะนอกจากจะเป็นการถวายสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลแล้ว ยังเป็นงานประเพณีที่กระตุ้นให้เกิดความรักความสามัคคีและความปรองดองภายในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย (สมพงษ์ พงศ์สุทธิยากร, 2561, สัมภาษณ์)
ภาพที่ 4 ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานในปัจจุบัน.jpg

ภาพที่ 4 ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานในปัจจุบัน

(ที่มา : วีรวรรณ แจ้งโม้และคณะ, 2561)

ภาพที่ 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหน้าศาลเจ้า.jpg

ภาพที่ 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหน้าศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

(ที่มา : วีรวรรณ แจ้งโม้และคณะ, 2561)

ภาพที่ 6 ภาพสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลเจ้า.jpg

ภาพที่ 6 ภาพสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

(ที่มา : วีรวรรณ แจ้งโม้และคณะ, 2561)

ภาพที่ 7 ภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลเจ้า.jpg

ภาพที่ 7 ภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

(ที่มา : วีรวรรณ แจ้งโม้และคณะ, 2561)

ภาพที่ 8 หน้าศาลเจ้าสำหรับไหว้อัญเชิญ.jpg

ภาพที่ 8 หน้าศาลเจ้าสำหรับไหว้อัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

(ที่มา : วีรวรรณ แจ้งโม้และคณะ, 2561)

ภาพที่ 11 สถานที่ไหว้อันเชิญเทพเจ้า.jpg

ภาพที่ 9 สถานที่ไหว้อันเชิญเทพเจ้า

(ที่มา : วีรวรรณ แจ้งโม้และคณะ, 2561)

การแสดงภายในงาน[แก้ไข]

         จากความศรัทธาและความพยายามที่จะสืบทอดความเชื่อ จากรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่งนั้น ชาวอำเภอคลองลานจึงจัดให้มีการแสดงเป็นประจำทุกปีเพื่อสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน อาทิ การแสดงงิ้ว การแห่มังกรและสิงโต นอกจากนั้นแล้วยังมีการแสดงของศิลปินนักร้องอีกมากมายทำให้ประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นจำนวนมาก 
         1. การแสดงงิ้ว หรือที่เรียกว่า “ป่วงเซียง” เป็นการแสดงโดยมีวัตถุเพื่อให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ซึ่งเป็นเทพเจ้าประจำท้องถิ่นได้ชม นอกจากจะแสดงให้กับเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานได้ชมแล้วยังแสดงให้กับประชาชนทั่วไปได้ดูอีกด้วย โดยงิ้วจะเล่นตามเรื่องราวตำนานต่างๆ ของคนจีน ทั้งนี้คณะงิ้วทุกคณะ จะไม่นิยมเล่นเรื่องการเมือง เพราะอาจเกิดทำให้ความแตกแยกในชุมชนได้ (สมพงษ์ พงศ์สุทธิยากร, 2561)
ภาพที่ 10 ตัวอย่างการแสดงงิ้ว.jpg

ภาพที่ 10 ตัวอย่างการแสดงงิ้วในประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

(ที่มา : ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน, 2561, ออนไลน์)

         2. การแห่มังกรและสิงโต คือ พิธีศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งของคนจีน หรือคนไทยเชื้อสายจีน โดยชาวชุมชนที่นับถือนั้น เมื่อมีพิธีการแห่สิงโต มังกร ก็จะนำเทพที่ปั้นขึ้นมาเป็นกายสมมุติ ที่มีอยู่ภายในบ้านออกมาขึ้นเกี้ยวหรือหาม พร้อมมังกร สิงโต และโหล่โก๊ ไปตามบ้านแต่ละหลัง ให้ได้กราบไหว้สักการะ มังกรและสิงโตนั้นคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งมี มั่งคั่ง ร่ำรวย โชคลาภ เงินทอง ค้าขายร่ำรวย กิจการเจริญรุ่งเรืองและช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไป เป็นต้น
ภาพที่ 11 การแห่มังกรไปตามตลาด.jpg

ภาพที่ 11 การแห่มังกรไปตามตลาดคลองลานเพื่อให้เป็นสิริมลคลแก่พื้นที่

(ที่มา : ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน, 2561, ออนไลน์)

ภาพที่ 12 การแสดงมังกรตามความเชื่อของคนไทย.jpg

ภาพที่ 12 การแสดงมังกรตามความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีนในประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่

(ที่มา : ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน, 2561, ออนไลน์)

ภาพที่ 13 การแสดงสิงโตตามความเชื่อของคนไทย.jpg

ภาพที่ 13 การแสดงสิงโตตามความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีน

(ที่มา : ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน, 2561, ออนไลน์)

         3. การแห่เกี้ยวเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานเข้าในตัวบ้าน คือ การแห่เกี้ยวหรือการอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานเข้าสู่ตัวบ้านนั้น เป็นความเชื่อและความศรัทธาของคนในชุมชนคลองลานว่า หากมีการอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานเข้าสู่ตัวบ้านและสักการะแล้วจะทำให้คนที่อาศัยอยู่ในบ้านนั้นอยู่เย็นเป็นสุข มีแต่ความเจริญรุ่งเรือน ในอดีตเจ้าของบ้านที่จะอัญเชิญเกี้ยวเจ้าพ่อเจ้าแม่เข้าบ้านนั้นจะมีการจัดเตรียมพื้นที่คือ หน้าบริเวณที่สักการะศาลเจ้าที่ที่อยู่ภายในตัวบ้าน นอกกจากนั้นแล้วจะเตรียมพื้นที่ทำเป็นบ่อหรืออ่างสำหรับให้มังกร ลงไปเล่นน้ำ และพ่นน้ำเพราะชาวบ้านมีความเชื่อว่า เมื่อมังกรได้เล่นน้ำและพ่นน้ำจะทำให้มังกรมีความสุข และมังกรจะอวยพรให้บ้านนั้นอยู่เย็นเป็นสุข ร่ำรวยเงินทองตามไปด้วย แต่ในปัจจุบันจะชาวบ้านส่วนหนึ่งหันมาปรับเปลี่ยนการรับเกี้ยวเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานที่หน้าบ้านแทนในตัวบ้านนั้นเอง
ภาพที่ 14 ชาวบ้านอัญเชิญเกี้ยว.jpg

ภาพที่ 14 ชาวบ้านอัญเชิญเกี้ยวเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานเข้าบ้านเพื่อสักการะ

(ที่มา : ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน, 2561, ออนไลน์)

ความสำคัญ[แก้ไข]

         ประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานนั้น เป็นงานประเพณีที่ถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ประชาชนปละชาวบ้านในอำเภอคลองลานทั้งชาวบ้านเชื้อสายจีนและชาวไทยเชื้อสายอื่นๆที่มีจิตศรัทธาได้มีโอกาสเข้าร่วมสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน ซึ่งถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านในเขตอำเภอคลองลานใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นการกระทำที่เสริมสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัวด้วย นอกจากนั้นแล้วประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานยังเป็นการเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีอันดีระหว่างชาวบ้านในเขตอำเภอคลองลาน เนื่องจากเป็นงานประจำปีที่จะต้องอาศัยทั้งกำลังทรัพย์และกำลังแรงงานของชาวบ้านมาช่วยดำเนินกิจกรรมให้งานประจำปีนี้สามารถสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีนั้นเอง (สมพงษ์ พงศ์สุทธิยากร, 2561)

การสืบทอดประเพณีของชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีน[แก้ไข]

         การสืบทอดหรือรูปแบบในการสืบทอดประเพณีหรือพิธีกรรมต่างๆนั้นมีผลเกี่ยวเนื่องกับการถ่ายทอดเป็นสำคัญซึ่งจะประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการถ่ายทอดรายละเอียดของความเชื่อขนบธรรมเนียมประเพณีและค่านิยมในเรื่องสำคัญต่างๆที่บรรพบุรุษต้องการให้ลูกหลานปฏิบัติตามโดยมีวิธีการที่แตกต่างกันไป ซึ่งลักษณะของการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมหมายถึง การสอนให้คนรุ่นหลังรับรู้ถึงระบบสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่คนในสังคมนั้นได้เคยมีการตกลงกันว่ามีความหมายอย่างไร ต้องการสื่อสารถึงอะไร ด้วยวิธีการใด ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมอาจเป็นการถ่ายทอดความคิดความเชื่อรูปแบบการดำเนินชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณี เทศกาลและพิธีกรรมที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของกลุ่มคนในสังคมและวัฒนธรรมหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะตัวและแตกต่างจากสังคมอื่น การถ่ายทอดทางวัฒนธรรมหลักแล้วจะมีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบคือ 
         1. ทางตรงเป็นกระบวนการทางสังคมที่เกิดขึ้นภายใต้ระยะเวลาที่ยาวนาน ตั้งแต่เด็กเล็กถึงวัยรุ่น ในปัจจุบันการถ่ายทอดจะอยู่ในรูปการพูดคุยบอกเล่ากลมสั่งสอนการให้เป็นผู้ปฏิบัติโดยตรงโดยพ่อแม่ปู่ย่าตายายสู่ลูกหลานโดยตรงซึ่งรูปแบบนี้จะเห็นได้ชัดในครอบครัวเป็นสำคัญ
         2. ทางอ้อมเป็นการถ่ายทอดที่มิได้เจตนาจะก่อให้เกิดพฤติกรรมใดๆแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยตรงเช่นการแสดงความคิดเห็นทัศนคติการพูดคุยที่ไม่เป็นทางการหรือการปฏิบัติเป็นตัวอย่างแต่ความคิดความเชื่อค่านิยมอุดมการณ์ตลอดจนพฤติกรรมบางอย่างเกิดขึ้นโดยบังเอิญไม่ได้จงใจซึ่งอาจเป็นผลมาจากการสังเกตการเลียนแบบพฤติกรรม หรือเกิดจากการที่บุคคลค่อยๆซึมซับความคิดความเชื่อลักษณะนิสัยบางอย่างที่ตนเองไม่รู้จนเกิดเป็นจิตสำนึกหรือความรับผิดชอบที่มีต่อบางสิ่งบางอย่างนั้นเอง (ชนาภา เมธีเกรียงไกร, 2559, น. 116-117)
         จากการศึกษากระบวนการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมของชาวชุมชนอำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า มีกระบวนการถ่ายทอดทั้งทางตรงและทางอ้อมไม่ว่าจะเป็นการจัดงานประเพณีฯ ที่มีสืบเนื่องต่อกันมาอย่างยาวนาน เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความเชื่อให้คนรุ่นหลังรู้และยึดมั่นปฏิบัติ รวมไปถึงความเชื่อ ความศรัทธาที่คนรุ่นก่อนมีต่อศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานนั้นเอง