ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูล เรื่อง ประเพณีเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม ไว้พระบรมธาตุกำแพงเพชร"
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 70: | แถว 70: | ||
3. หากกะทิเดือดมาก ต้องคอยดึงจุกข้าวหลามออก แล้วเทกะทิใส่เข้าไปใหม่ | 3. หากกะทิเดือดมาก ต้องคอยดึงจุกข้าวหลามออก แล้วเทกะทิใส่เข้าไปใหม่ | ||
4. การย่างข้าวหลามจะต้องอาศัยระยะเวลาในการย่างถึง 1 ชั่วโมง ข้าวหลามจึงจะออกมาดูน่ารับประทาน | 4. การย่างข้าวหลามจะต้องอาศัยระยะเวลาในการย่างถึง 1 ชั่วโมง ข้าวหลามจึงจะออกมาดูน่ารับประทาน | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 8 การนำข้าวหลามมาจัดเรียง.jpg|500px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 9 การนำข้าวหลามมาจัดเรียงใส่รางเหล็กเพื่อรอเผา ''' </p> | ||
+ | <p align = "center"> (ที่มา: ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร และคณะ, 2562) </p> | ||
[[ไฟล์:ภาพที่ 9 การนำข้าวหลามที่ใส่รางเหล็กแล้วไปที่รางเผา.jpg|500px|thumb|center]] | [[ไฟล์:ภาพที่ 9 การนำข้าวหลามที่ใส่รางเหล็กแล้วไปที่รางเผา.jpg|500px|thumb|center]] | ||
− | <p align = "center"> '''ภาพที่ | + | <p align = "center"> '''ภาพที่ 10 การนำข้าวหลามที่ใส่รางเหล็กแล้วไปที่รางเผา ''' </p> |
=='''ข้อมูลการสำรวจ'''== | =='''ข้อมูลการสำรวจ'''== | ||
==='''วันเดือนปีที่สำรวจ'''=== | ==='''วันเดือนปีที่สำรวจ'''=== |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 21:14, 16 เมษายน 2564
เนื้อหา
ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]
ชื่อเรียก[แก้ไข]
ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม
ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]
งานเผาข้าวหลาม เพ็ญเดือนสาม
เดือนที่จัดงาน[แก้ไข]
เดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี
เวลาทางจันทรคติ[แก้ไข]
ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 หรือ วันเพ็ญเดือนสาม
สถานที่[แก้ไข]
ประเพณีเผาข้าวหลาม จัดขึ้นที่บริเวณวัดพระบรมธาตุเจดียาราม เลขที่ 15 หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีพื้นที่อยู่ริมแม่น้ำปิง
ประเภทของประเพณี[แก้ไข]
ประเพณีท้องถิ่นของชุมชน หรือประเพณีส่วนร่วมตามเทศกาล เป็นประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับราษฎร ประกอบไปด้วย ประเพณีเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ ประเพณีเพื่อความเป็นสิริมงคลของชุมชนและงานรื่นเริง ประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับความเชื่อในโลกหน้าและความสำคัญของเครือญาติกลุ่มสายตระกูลและความสามัคคีและบูรณาการของชุมชนและท้องถิ่น และประเพณีการทำบุญเนื่องในพระพุทธศาสนามีการจัดขึ้นในรอบปีหรือเรียกว่า ประเพณี 12 เดือน
ประวัติความเป็นมา[แก้ไข]
ประวัติวัดพระบรมธาตุนครชุม วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุม เป็นพระอารามหลวงประจำเมืองกำแพงเพชรเหมือนกับวัดพระแก้ว วัดพระบรมธาตุ ขึ้นทะเบียนเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. 1858 ในสมัยต้นกรุงสุโขทัย เมื่อตีความจากจารึกนครชุม วัดพระบรมธาตุควรจะสร้างเมื่อ พ.ศ.1762 ในสมัยของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เจดีย์มหาธาตุเมืองนครชุมเดิมมี 3 องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน สันนิษฐานว่าสร้างโดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระมหาธรรมราชาลิไท สร้างเป็นพุทธเจดีย์ประจำรัชกาล วัดพระบรมธาตุ เจริญรุ่งเรืองมากกว่า 200 ปี จนกระทั่งเมืองนครชุมถึงภาวะล่มสลายตามกฎแห่งอนิจจัง เพราะแม่น้ำปิงกัดเซาะแนวกำแพงเมืองพังพินาศ ความเจริญรุ่งทางพุทธจักรและอาณาจักรได้สูญสิ้นไปจากเมืองนครชุม เมืองฝั่งตรงข้ามทางทิศตะวันออกคือ เมืองกำแพงเพชรได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่ วัดพระบรมธาตุร้างมานานกว่า 300 ปี จนกระทั่งถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ วัดพระบรมธาตุจึงมีหลักฐานที่ชัดเจนอีกครั้ง จากหนังสือพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2449 ณ เมืองกำแพงเพชร ความว่า ใน พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม ได้เสด็จมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชรพักที่วัดเสด็จ ได้อ่านจารึกนครชุม ที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดเสด็จ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ได้ทราบว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตกตรงข้ามเมืองเก่าสามองค์ จึงได้ให้เจ้าเมืองกำแพงเพชรพระยารามรณรงค์สงคราม (น้อย) ได้ป่าวร้องให้ประชาชนแผ้วถาง พบพระเจดีย์ตามจารึกจริง และปฏิสังขรณ์ขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2414 แซภอ (แซงพอ หรือ พระยาตะก่า) พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงมีใจศรัทธาจะบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม พระยากำแพงเพชร เจ้าเมืองได้ทำหนังสือขออนุญาตลงมาที่กรุงเทพ
ทางกรุงเทพจึงตอบอนุโมทนาและอนุญาตให้ซ่อมแซมได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2418 แซภอ ถึงแก่กรรม จึงทำให้การปฏิสังขรณ์ชะงักไปจนถึง พ.ศ.2448-2449 พะโป้จึงรวบรวมทุนทรัพย์ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่จนสำเร็จ และยกยอดฉัตรขึ้นประดิษฐานในเพ็ญเดือน 6 พ.ศ.2449 ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน
ภาพที่ 1 แม่น้ำปิงบริเวณหน้าวัดเมื่อ 50 กว่าปีก่อน
ภาพที่ 2 ภาพถ่ายทางอากาศองค์พระบรมธาตุ
ปัจจุบัน วัดพระบรมธาตุ มีฐานะเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2509 ตามประกาศของกรมศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2509 ตั้งอยู่เลขที่ 15 หมู่ที่ 3 บ้านปากคลองใต้ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 4 บริเวณวัดมีเนื้อที่ 32 ไร่ 2 งาน บนที่ราบริมแม่น้ำปิง ภายในวัดมีเจดีย์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "พระบรมธาตุเจดีย์" เป็นเจดีย์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยสุโขทัยเช่นกันกับตัววัด พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ดอกบัวตูม) ตั้งเรียงกันสามองค์อยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์กลางของพระเจดีย์นั้นประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์อยู่ภายในภาชนะเงินรูปสำเภา พระเจดีย์องค์ปัจจุบันเป็นพระเจดีย์ทรงมอญซึ่งได้รับการบูรณะขึ้นภายหลัง สิ่งสำคัญอีกอย่างในวัดคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งชาวกำแพงเพชรเชื่อกันว่าเป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระยาลิไททรงปลูกเมื่อ พ.ศ.1900 เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ประมาณ 9 คนโอบ วัดพระบรมธาตุเปิดให้เข้านมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ทุกวัน ตั้งแต่เช้าจนเย็น และศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลนครชุม เปิดให้เข้าชม ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น. และเพื่อสืบทอดประเพณีบูชาพระบรมธาตุ ทางจังหวัดกำแพงเพชรจะจัดงานประเพณีนบพระเล่นเพลงโดยจะจัดพิธีรำพุทธบูชา ซึ่งเป็นประเพณีไหว้พระบรมธาตุ ที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยงานจะจัดขึ้นทุกปี ในวันเพ็ญเดือน 3 ตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งในทุกๆ ปี มีประชาชนเข้ามาร่วมงานเป็นจำนวนมาก
ภาพที่ 3 องค์พระบรมธาตุในปัจจุบัน
ภาพที่ 4 รำพุทธบูชา ถวายองค์พระบรมธาตุ เนื่องในงานประเพณีนบพระเล่นเพลง
ความสำคัญ[แก้ไข]
ประเพณีเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม ในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดกำแพงเพชรจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มแม่บ้านในตำบลนครชุม และจากต่างอำเภอ ต่างพร้อมใจกันมาร่วมประเพณีเผาข้าวหลามตามภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาแต่โบราณที่วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีการเผาข้าวหลาม ไหว้พระบรมธาตุนครชุม และนำออกจำหน่ายในราคากระบอกละ 10-20 บาท เป็นการหารายได้ทำนุบำรุงวัดพระบรมธาตุนครชุมเหมือนที่เคยปฏิบัติกันมาเป็นประจำทุกปีจนกลายเป็นมหกรรมเผาข้าวหลามภูมิปัญญาไทย ในงานประเพณีไหว้พระบรมธาตุนครชุม เพ็ญเดือน 3 ซึ่งนิยมจัดงานประเพณีเป็นประจำต่อเนื่องทุกปี โดยชาวบ้านแต่ละคนต่างช่วยลงแรงกันตั้งแต่เตรียมข้าวสาร ตัดกระบอกไม้ไผ่ ขูดมะพร้าวที่ทางวัดเตรียมไว้จำนวนมาก ก่อนที่จะคั้นน้ำกะทิ บรรจุข้าวเหนียวน้ำกะทิแล้วนำมาตั้งไว้บนราวเหล็กก่อนที่จะใช้ไฟสุมจนข้าวหลามสุกแล้วนำออกขาย
ภาพที่ 5 วิธีการเผาข้าวหลาม
เจ้าคุณพระราชวชิรเมธี (2562) เจ้าอาวาสวัดบรมธาตุ รองเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวว่า ประเพณีเผาข้าวหลามของชาวนครชุมนี้ได้มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยผู้เฒ่าผู้แก่ชาวนครชุมได้เล่าให้ฟังว่า เนื่องจากที่วัดพระบรมธาตุเจดียารามนี้เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระธาตุองค์เดียวที่มีอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง ดังนั้นชาวพุทธจึงมาทำบุญกันที่วัดนี้อย่างมากมาย
ภาพที่ 6 เจ้าคุณพระราชวชิรเมธี เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ
ภาพที่ 7 ชาวบ้านช่วยกันเตรียมวัตถุดิบในการทำข้าวหลาม
ในอดีตการเดินทางมาทำบุญที่วัดพระบรมธาตุนครชุมค่อนข้างลำบาก ต้องใช้เวลานาน การนำข้าวปลาอาหารมาทำบุญถ้านำมาจากบ้านจะทำให้อาหารบูดเน่า ไม่สามารถถวายพระได้ ประกอบกับในช่วงเดือน 3 นี้เป็นช่วงที่ชาวบ้านกำลังเก็บเกี่ยวข้าวใหม่ ดังนั้น ชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธจึงนิยมนำข้าวเหนียวที่เก็บเกี่ยวได้ในช่วงต้นฤดู มาทำบุญกับพระสงฆ์เพื่อเป็นสิริมงคล คนโบราณจึงได้นำข้าวเหนียวมาเผาในบริเวณวัดเพื่อถวายพระ ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนวิถีปฏิบัติให้เข้ากับยุคสมัยในภายหลัง ซึ่งทุกขั้นตอนกระบวนการทำข้าวหลามนั้นต้องใช้วัตถุดิบที่สดใหม่ทุกวันเพื่อคุณภาพและความหอมอร่อยของข้าวหลามที่ไม่เหมือนใครทำให้เวลามีการจัดงานประเพณีเผาข้าวหลามไหว้พระบรมธาตุนครชุมนี้ขึ้น ข้าวหลามที่ขายอยู่เป็นประจำในเมืองจะขายแทบไม่ได้เลยเพราะประชาชนจะแห่มาซื้อข้าวหลามที่วัดพระบรมธาตุกันหมด เพราะความอร่อยหอมมันแบบโบราณที่เจ้าคุณพระราชวชิรเมธี อยากเก็บรักษาไว้ให้ลูกหลานได้สืบทอดต่อกันไป ประชาชนจะชอบรสชาติที่อร่อยแบบโบราณและเมื่อมีงานก็จะมีมหรสพซึ่งจะได้ทานข้าวหลามไปด้วยและเดินชมมหรสพไปด้วยทำให้ผู้ชมจากทั่วทุกที่หลั่งไหลเข้ามาชิมข้าวหลามที่วัดพระบรมธาตุนครชุมอย่างหนาแน่น วิธีการทำข้าวหลาม ส่วนผสม 1. ข้าวสารเหนียว 2. น้ำตาลทราย 3. กะทิ 4. ถั่วดำต้มสุก 5. เกลือป่น 6. ไม้ไผ่ข้าวหลาม 7. กาบมะพร้าว วัสดุอุปกรณ์ 1. ไม้ไผ่อ่อน 2. มีดปลอกข้าวหลาม (พร้า) 3. ราวเหล็ก (เตาเผาข้าวหลาม) 4. ถ่าน 5. ช้อนหรือทัพพี 6. หม้อสำหรับต้มน้ำกะทิ ใช้ในการต้มน้ำกะทิที่ผสมน้ำตาลและเกลือเพื่อจะนำมากรอกใส่กระบอกข้าวหลามและทำให้ข้าวหลามบูดช้าลง เพราะกะทิมีการต้มให้สุกแล้วนั่นเอง 7. ไม้คีบถ่าน ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน 1. ตัดไผ่ข้าวหลามให้ยาวประมาณ 12 นิ้ว ล้างเฉพาะด้านนอกกระบอก ให้สะอาด คว่ำกระบอกลง พักไว้ให้แห้ง 2. ผสมกะทิ น้ำตาล และเกลือ รวมกันแล้วคนให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย 3. ล้างข้าวสารเหนียวให้สะอาดจนกระทั่งน้ำใส นำข้าวใส่ตะกร้าเพื่อให้สะเด็ดน้ำ ใส่ถั่วดำต้มสุกลงในข้าว คลุกเคล้าให้เข้ากัน 4. นำข้าวที่ผสมถั่วดำแล้วใส่ลงในกระบอก 1 กำมือ กระแทกเบาๆ ทำสลับกันต่อไปเรื่อยๆ จนเต็มกระบอก เลือกด้านบนกระบอกไว้ประมาณ 2 นิ้ว สำหรับปิดจุก 5. นำกาบมะพร้าวม้วนมาปิดกระบอกข้าวหลาม 6. เผาข้าวหลามพอประมาณ 30-45 นาที สังเกตกระบอกมีสีเหลืองทั่ว แสดงว่าข้าวหลามสุก 7. ทิ้งไว้ให้อุ่น ปอกเปลือก และเหลาให้เปลือกข้าวหลามบางลง เพื่อให้แกะรับประทานได้ง่าย
ภาพที่ 8 นำถั่วดำต้มสุกใส่ลงในข้าว คลุกเคล้าให้เข้ากัน
วิธีการย่างไฟ 1. ติดไฟเตา เมื่อไฟติดได้ที่แล้ว จึงนำกระบอกข้าวหลามที่เตรียมไว้มาวางเรียงในลักษณะตั้งเอนขึ้นให้พิงกับแนวหลักที่ทำจากท่อนเหล็ก 2. ควรพลิกข้าวหลามอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ข้าวหลามสุกอย่างทั่วถึง และไม่ให้ข้าวหลามไหม้บริเวณใดบริเวณหนึ่ง 3. หากกะทิเดือดมาก ต้องคอยดึงจุกข้าวหลามออก แล้วเทกะทิใส่เข้าไปใหม่ 4. การย่างข้าวหลามจะต้องอาศัยระยะเวลาในการย่างถึง 1 ชั่วโมง ข้าวหลามจึงจะออกมาดูน่ารับประทาน
ภาพที่ 9 การนำข้าวหลามมาจัดเรียงใส่รางเหล็กเพื่อรอเผา
(ที่มา: ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร และคณะ, 2562)
ภาพที่ 10 การนำข้าวหลามที่ใส่รางเหล็กแล้วไปที่รางเผา
ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]
วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]
วันที่ 9 มกราคม 2562 ณ วัดพระบรมธาตุนครชุม จ.กำแพงเพชร
วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ณ วัดพระบรมธาตุนครชุม จ.กำแพงเพชร วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 ณ วัดพระบรมธาตุนครชุม จ.กำแพงเพชร
ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]
1. อาจารย์ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร 2. นางสาวสุฑามาศ โคกมา 3. นางสาวชโลธร วงศ์กัทลีคาม 4. นายธวัชชัย หมื่นฤทธิ์
คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]
• ประเพณีเผาข้าวหลาม, งานประเพณีเพ็ญเดือนสาม • วัดพระบรมธาตุ