ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูล เรื่อง ประเพณีม้าแห่นาค อำเภอคลองขลุง"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(สร้างหน้าด้วย "=='''ข้อมูลทั่วไป'''== ไฟล์:ภาพที่ 1 แสดงลักษณะการใช้ม้าแห่น...")
 
(ประวัติความเป็นมาของประเพณีม้าแห่นาค)
 
แถว 21: แถว 21:
 
           1. โกนผมนาค  
 
           1. โกนผมนาค  
 
               เริ่มโดยพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่มาร่วมบุญงานบวชพระในครั้งนี้ ทำการขลิบผมให้นาคเป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นพระสงฆ์จะทำการโกนผมให้นาค ตามประเพณีการบวชพระที่ปฏิบัติโดยทั่วกันนั้น ผมนาคที่โกนแล้วจะห่อด้วยใบบัวแล้วนำไปลอยที่แม่น้ำหรือวางไว้ใต้ร่มโพธิ์ โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ในการปลงผมนั้นจะปลงที่บ้านหรือที่วัดก็ได้แล้วแต่ความสะดวก แต่โดยทั่วไปนิยมปลงผมที่วัดมากกว่า เนื่องจากญาติหรือแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานจะได้มีโอกาสร่วมพิธีตัดผมนาค อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาของเจ้าภาพและแขกที่มาร่วมงานอีกด้วย เพราะเมื่อปลงผมเสร็จจะได้ทำพิธีเวียนประทักษิณรอบสีมา และเข้าอุโบสถประกอบพิธีอุปสมบทต่อไป
 
               เริ่มโดยพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่มาร่วมบุญงานบวชพระในครั้งนี้ ทำการขลิบผมให้นาคเป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นพระสงฆ์จะทำการโกนผมให้นาค ตามประเพณีการบวชพระที่ปฏิบัติโดยทั่วกันนั้น ผมนาคที่โกนแล้วจะห่อด้วยใบบัวแล้วนำไปลอยที่แม่น้ำหรือวางไว้ใต้ร่มโพธิ์ โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ในการปลงผมนั้นจะปลงที่บ้านหรือที่วัดก็ได้แล้วแต่ความสะดวก แต่โดยทั่วไปนิยมปลงผมที่วัดมากกว่า เนื่องจากญาติหรือแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานจะได้มีโอกาสร่วมพิธีตัดผมนาค อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาของเจ้าภาพและแขกที่มาร่วมงานอีกด้วย เพราะเมื่อปลงผมเสร็จจะได้ทำพิธีเวียนประทักษิณรอบสีมา และเข้าอุโบสถประกอบพิธีอุปสมบทต่อไป
[[ไฟล์:ภาพที่ 3 แสดงการโกนผมนาคจากญาติผู้ใหญ่.jpg|500px|thumb|center]]
+
[[ไฟล์:ภาพที่ 3 แสดงการโกนผมนาคจากญาติผู้ใหญ่.jpg|400px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 4 แสดงการโกนผมนาคจากญาติผู้ใหญ่และผู้มาร่วมงาน ''' </p>  
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 4 แสดงการโกนผมนาคจากญาติผู้ใหญ่และผู้มาร่วมงาน ''' </p>  
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 5 แสดงการล้างตัวนาคหลังจากโกนผมเสร็จเรียบร้อยแล้ว.jpg|500px|thumb|center]]
 
[[ไฟล์:ภาพที่ 5 แสดงการล้างตัวนาคหลังจากโกนผมเสร็จเรียบร้อยแล้ว.jpg|500px|thumb|center]]
แถว 41: แถว 41:
 
           3. การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา  
 
           3. การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา  
 
               การเวียนประทักษิณในทางพระพุทธศาสนา คือ การกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ การหมุนไปทางขวา คือการหมุนไปสู่ความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ตรงกันข้ามกับการหมุนไปด้านซ้ายเป็นการหมุนทวนความดี คือ การกระทำที่เป็นทุจริตทางกาย วา และใจ การทำประทักษิณเวียนขวารอบสีมาก่อนเข้าอุโบสถของผู้ที่จะบวชพระนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ยังเป็นอุบายที่คนโบราณสอนให้รู้ว่า สิ่งที่จะทำต่อไปนี้เป็นการกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
 
               การเวียนประทักษิณในทางพระพุทธศาสนา คือ การกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ การหมุนไปทางขวา คือการหมุนไปสู่ความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ตรงกันข้ามกับการหมุนไปด้านซ้ายเป็นการหมุนทวนความดี คือ การกระทำที่เป็นทุจริตทางกาย วา และใจ การทำประทักษิณเวียนขวารอบสีมาก่อนเข้าอุโบสถของผู้ที่จะบวชพระนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ยังเป็นอุบายที่คนโบราณสอนให้รู้ว่า สิ่งที่จะทำต่อไปนี้เป็นการกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
[[ไฟล์:9 การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา.jpg|400px|thumb|center]]
+
[[ไฟล์:9 การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา.jpg|500px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 9 การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา''' </p>   
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 9 การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา''' </p>   
 
           4. การบรรพชา (บวชสามเณร)  
 
           4. การบรรพชา (บวชสามเณร)  
 
               เมื่อนาคได้เข้าไปในอุโบสถแล้ว นาคจะวันทาพระประธานอีกครั้งด้วยวิธีอย่างเดียวกันกับวันทาสีมา จากนั้นกลับไปนั่ง ณ สถานที่ที่จัดเตรียมไว้สำหรับนาค บิดา มารดา (หรือญาติผู้ใหญ่)มอบผ้าไตรให้นาค นาคคุกเข่ากราบ 3 หน ยื่นแขนประณมมือรับผ้าไตร จากนั้นประณมมือประคองผ้าไตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ เมื่อถึงแนวพระสงฆ์ให้คุกเข่าลงแล้วคลานเข่าเข้าไปถวายผ้าไตรนั้นแก่ท่าน รับดอกไม้ ธูปเทียนแพเครื่องสักการะ (มีผู้ส่งให้ข้างหลัง) ถวายพระอุปัชฌาย์ กราบลง 3 หน            พระอุปัชฌาย์มอบผ้าไตรคืนให้ ประณมมือประคองผ้าไตร กล่าวคำขอบรรพชานาคโน้มตัวเข้าไปใกล้ๆพระอุปัชฌาย์เพื่อคล้องผ้าอังสะให้ จากนั้นนั่งพับเพียบลงประณมมือ ตั้งใจฟังโอวาทของพระอุปัชฌาย์
 
               เมื่อนาคได้เข้าไปในอุโบสถแล้ว นาคจะวันทาพระประธานอีกครั้งด้วยวิธีอย่างเดียวกันกับวันทาสีมา จากนั้นกลับไปนั่ง ณ สถานที่ที่จัดเตรียมไว้สำหรับนาค บิดา มารดา (หรือญาติผู้ใหญ่)มอบผ้าไตรให้นาค นาคคุกเข่ากราบ 3 หน ยื่นแขนประณมมือรับผ้าไตร จากนั้นประณมมือประคองผ้าไตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ เมื่อถึงแนวพระสงฆ์ให้คุกเข่าลงแล้วคลานเข่าเข้าไปถวายผ้าไตรนั้นแก่ท่าน รับดอกไม้ ธูปเทียนแพเครื่องสักการะ (มีผู้ส่งให้ข้างหลัง) ถวายพระอุปัชฌาย์ กราบลง 3 หน            พระอุปัชฌาย์มอบผ้าไตรคืนให้ ประณมมือประคองผ้าไตร กล่าวคำขอบรรพชานาคโน้มตัวเข้าไปใกล้ๆพระอุปัชฌาย์เพื่อคล้องผ้าอังสะให้ จากนั้นนั่งพับเพียบลงประณมมือ ตั้งใจฟังโอวาทของพระอุปัชฌาย์
[[ไฟล์:10 แสดงการบรรพชาต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์.jpg|400px|thumb|center]]
+
[[ไฟล์:10 แสดงการบรรพชาต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์.jpg|500px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 10 แสดงการบรรพชาต่อหน้าพระภิกษุสง''' </p>     
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 10 แสดงการบรรพชาต่อหน้าพระภิกษุสง''' </p>     
 
           5. การอุปสมบท (การบวชพระ)   
 
           5. การอุปสมบท (การบวชพระ)   
แถว 52: แถว 52:
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 7 แสดงภาพพระใหม่หลังจากผ่านพิธีบวชเรียบร้อยแล้ว ''' </p>  
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 7 แสดงภาพพระใหม่หลังจากผ่านพิธีบวชเรียบร้อยแล้ว ''' </p>  
 
           6. การซักซ้อมอันตริยกธรรม  
 
           6. การซักซ้อมอันตริยกธรรม  
               อันตริยกธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบวช การซักซ้อมอันตริยกธรรม หมายถึง การซักซ้อมสอบถามสิ่งที่เป็นข้อห้ามสำหรับผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ หากมีข้อห้ามเหล่านี้แล้วบวชเป็นภิกษุไม่ได้ ซึ่งผู้ขอบวชจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ ตามความเป็นจริง ท่ามกลางสงฆ์ จากนั้น ฟังสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาเพื่อยกสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด เสร็จแล้วกราบ 3 หน ประนมมือคลานเข่าถอยหลังออกไป พอพ้นพระสงฆ์แล้วลุกขึ้นไปยืนอยู่ที่เดิม ในกรณีที่พระอุปัชฌาย์ไม่บอกอนุศาสน์เอง ท่านจะมอบให้พระคู่สวดเป็นผู้บอกอนุศาสน์ พระคู่สวดเดินตามไปยืนบนอาสนะสวดบอกอนุศาสน์ การสวดบอกอนุสาสน์ท่านจะบอกเป็นภาษาบาลีไว้ก่อนพระใหม่ฟังสวดอนุศาสน์ไปจนจบ เมื่อกลับถึงที่พักแล้ว พระอาจารย์หรือพระพี่เลี้ยงจะแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับอนุศาสน์อีกครั้ง(คำสอนหรือคำชี้แจงที่พระอุปัชฌาย์หรือพระกรรมวาจาจารย์บอกแก่พระภิกษุผู้บวชใหม่หลังจากบวชเสร็จ)  
+
               อันตริยกธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบวช การซักซ้อมอันตริยกธรรม หมายถึง การซักซ้อมสอบถามสิ่งที่เป็นข้อห้ามสำหรับผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ หากมีข้อห้ามเหล่านี้แล้วบวชเป็นภิกษุไม่ได้ ซึ่งผู้ขอบวชจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ ตามความเป็นจริง ท่ามกลางสงฆ์ จากนั้น ฟังสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาเพื่อยกสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด เสร็จแล้วกราบ 3 หน ประนมมือคลานเข่าถอยหลังออกไป พอพ้นพระสงฆ์แล้วลุกขึ้นไปยืนอยู่ที่เดิม ในกรณีที่พระอุปัชฌาย์ไม่บอกอนุศาสน์เอง ท่านจะมอบให้พระคู่สวดเป็นผู้บอกอนุศาสน์ พระคู่สวดเดินตามไปยืนบนอาสนะสวดบอกอนุศาสน์ การสวดบอกอนุสาสน์ท่านจะบอกเป็นภาษาบาลีไว้ก่อนพระใหม่ฟังสวดอนุศาสน์ไปจนจบ เมื่อกลับถึงที่พักแล้ว พระอาจารย์หรือพระพี่เลี้ยงจะแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับอนุศาสน์อีกครั้ง(คำสอนหรือคำชี้แจงที่พระอุปัชฌาย์หรือพระกรรมวาจาจารย์บอกแก่พระภิกษุผู้บวชใหม่หลังจากบวชเสร็จ)
 +
 
 
==='''ความสำคัญ'''===
 
==='''ความสำคัญ'''===
 
           ประเพณีบวชนาค หรือ อุปสมบทของชายไทยที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จะต้องบวชเพื่อทดแทนบุญคุณของบิดามารดาและถือเป็นการอบรมบ่มนิสัยให้มีศีลธรรมอันเป็นประเพณีสืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในการที่นาคขี่ม้าเป็นการทดสอบจิตใจและความอดทนของนาคโดยตลอด 3-4ชั่วโมง จะมีจังหวะที่นาคจะโดดเด้งไปตามจังหวะเนื่องจากคนแบกม้าโยกม้าไปตามจังหวะ และยังมีความร้อนของแดดเป็นอุปสรรค และม้าที่นาคขี่นั้นยังมีความแข็ง จึงเป็นความลำบากที่ทำให้เจ็บตัวเป็นการทดสอบความอดทนของนาคและทดสอบจิตใจของนาคก่อนเข้าพิธี อีกนัยหนึ่งคือ เพื่อระลึกถึงการออกผนวชขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงสระสิริราชสมบัติออกผนวชโดยการขี่ม้า
 
           ประเพณีบวชนาค หรือ อุปสมบทของชายไทยที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จะต้องบวชเพื่อทดแทนบุญคุณของบิดามารดาและถือเป็นการอบรมบ่มนิสัยให้มีศีลธรรมอันเป็นประเพณีสืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในการที่นาคขี่ม้าเป็นการทดสอบจิตใจและความอดทนของนาคโดยตลอด 3-4ชั่วโมง จะมีจังหวะที่นาคจะโดดเด้งไปตามจังหวะเนื่องจากคนแบกม้าโยกม้าไปตามจังหวะ และยังมีความร้อนของแดดเป็นอุปสรรค และม้าที่นาคขี่นั้นยังมีความแข็ง จึงเป็นความลำบากที่ทำให้เจ็บตัวเป็นการทดสอบความอดทนของนาคและทดสอบจิตใจของนาคก่อนเข้าพิธี อีกนัยหนึ่งคือ เพื่อระลึกถึงการออกผนวชขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงสระสิริราชสมบัติออกผนวชโดยการขี่ม้า

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:16, 19 เมษายน 2564

ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]

ภาพที่ 1 แสดงลักษณะการใช้ม้าแห่นาค.jpg

ภาพที่ 1 แสดงลักษณะการใช้ม้าแห่นาค

         “ม้าแห่นาค” เป็นประเพณีที่ถูกสืบทอดต่อกันมาจากโบราณ โดยจัดขึ้นจากชาวบ้านหมู่บ้านดอนคา ตำบลดอนคา อำเภออู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อคนในท้องถิ่นได้อพยพย้ายถิ่นมายังจังหวัดกำแพงเพชร คนกลุ่มนี้จึงนำประเพณีม้าแห่นาคที่กลุ่มของตนมีความเชื่อและนับถือมาเผยแพร่สู่พื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ นั้นก็คือ จังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันคนกลุ่มนี้ได้อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 1 ตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากชาวบ้านมีการย้ายถิ่นฐานมาเพื่อประกอบอาชีพ แต่งงาน โดยมีความเชื่อว่า เมื่อลูกหลานอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ลูกหลานบ้านนั้นก็จะจัดประเพณีงานบวชพระหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ม้าแห่นาค” ขึ้นเพื่อให้ลูกหรือหลานคนนั้นได้บวชเพื่อทดแทนพระคุณบิดา มารดา โดยชาวบ้านจะช่วยกันสร้างม้าปลอมที่ทำมาจากฟางข้าวขึ้น เพื่อใช้เป็นตัวแทนม้าที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นพาหนะในการออกผนวช นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการทดสอบความอดทนของนาค เนื่องจากตอนแห่นาคจากบ้านไปสู่อุโบสถของวัดนั้น ระหว่างทางผู้แบกจะขย่มม้าให้มีลักษณะเหมือนม้าย่อง ตามจังหวะเพลง (เอียงไปซ้ายขวา) นั้นเอง 

เดือนที่จัดงาน[แก้ไข]

         วันที่ 7 – 8 เดือนเมษายน พ.ศ.2561 หรือตามฤกษ์ดีของแต่ละปี

เวลาทางจันทรคติ[แก้ไข]

         ตรงกับแรม 8 ค่ำ เดือน 5

สถานที่[แก้ไข]

         สถานที่จัดงานบวช : บ้านเลขที่ 166/1 หมู่ 1 ตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 
         สถานที่บรรพชา : วัดจันทาราม เลขที่ 1 หมู่ที่ 1 ตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 
ภาพที่ 2 แสดงสถานที่บรรพชา.jpg

ภาพที่ 2 แสดงสถานที่บรรพชา

ประเภทประเพณี[แก้ไข]

         ประเพณีไทยในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก คือ จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม ขนบประเพณีหรือสถาบัน และธรรมเนียมประเพณี ประเพณีม้าแห่นาคก็เช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นจารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม เนื่องจากประเพณีบวชพระเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม เพราะเมื่อชายใดที่อายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ จะต้องบวชเพื่อทดแทนคุณบิดา มารดา แต่หากผู้ชายคนนั้น ไม่บวชตามจารีตประเพณีที่สืบทอดต่อกันมานั้น ก็จะถูกถูกตำหนิหรือได้รับการลงโทษจากคนในสังคมนั้น ว่าชายคนนั้น เป็นคนอกตัญญู เช่นเดียวกับความเชื่อที่ว่า ลูกหลานต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า ถ้าใครไม่เลี้ยงดูถือว่าเป็นคนเนรคุณหรือลูกอกตัญญูนั้นเอง 
ภาพที่ 2 แสดงการแห่นาคด้วยม้าปลอม.jpg

ภาพที่ 3 แสดงการแห่นาคด้วยม้าปลอม

ประวัติความเป็นมาของประเพณีม้าแห่นาค[แก้ไข]

         เมื่อนามมาแล้วชาวบ้านหมู่ 1 ตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ได้ย้ายถิ่นฐานกันมาจากบ้านดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีและมีประเพณีที่สำคัญที่ได้นำมาจากบ้านดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีด้วยก็คือ “ประเพณีม้าแห่นาค” เหตุผลที่เป็นม้าก็เพราะชาวบ้านมีความเชื่อกันมาว่าในสมัยที่พระพุทธเจ้าออกผนวชนั้นมีม้าเป็นพาหนะในการออกผนวช ดังนั้น ชาวบ้านจึงเลียนแบบการออกผนวชของพระพุทธเจ้าซึ่งใช้ม้าเป็นพาหนะ โดยการทำม้าปลอมขึ้นมา ม้าปลอมจะถูกสร้างขึ้นมาจากหญ้าแฝกโดยความร่วมมือของคนในหมู่บ้าน และตกแต่งม้าปลอมนั้นอย่างประณีต สวยงาม เมื่อตกแต่งเรียบร้อยแล้วนั้นจึงนำม้านั้นไปผูกติดกับไม้ไผ่เพื่อให้นาคได้ขี่บนหลังม้า เมื่อนาคขึ้นบนหลังม้าปลอมเรียบร้อยแล้วจะมีกลุ่มเพื่อนนาคประมาณ 10 คน ผลัดเปลี่ยนกันแบกม้าไปสู้อุโบสถของวัด ระหว่างทางจากบ้านสู่อุโบสถของวัดนั้น คนแบกม้าจะมีการแบกอย่างเป็นจังหวะม้าย่อง เพื่อให้การเดิน ถูกเดินอย่างมีจังหวะ จังหวะม้าย่องเป็นการบ่งบอกว่าจังหวะนี้ควรหยุด ควรเดินหน้าหรือควรถอยหลัง นอกจากนั้นแล้วขบวนแห่นั้นจะแห่ไปรอบๆหมู่บ้านเพื่อเป็นการเชิญชวนให้ผู้คนในหมู่บ้านมาร่วมงานอุปสมบทดังกล่าวอีกด้วย ประเพณีม้าแห่นาคถูกสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จนถึงปัจจุบัน 
         ขั้นตอนการจัดประเพณีบวชพระแห่นาค
         1. โกนผมนาค 
             เริ่มโดยพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่มาร่วมบุญงานบวชพระในครั้งนี้ ทำการขลิบผมให้นาคเป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นพระสงฆ์จะทำการโกนผมให้นาค ตามประเพณีการบวชพระที่ปฏิบัติโดยทั่วกันนั้น ผมนาคที่โกนแล้วจะห่อด้วยใบบัวแล้วนำไปลอยที่แม่น้ำหรือวางไว้ใต้ร่มโพธิ์ โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ในการปลงผมนั้นจะปลงที่บ้านหรือที่วัดก็ได้แล้วแต่ความสะดวก แต่โดยทั่วไปนิยมปลงผมที่วัดมากกว่า เนื่องจากญาติหรือแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานจะได้มีโอกาสร่วมพิธีตัดผมนาค อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาของเจ้าภาพและแขกที่มาร่วมงานอีกด้วย เพราะเมื่อปลงผมเสร็จจะได้ทำพิธีเวียนประทักษิณรอบสีมา และเข้าอุโบสถประกอบพิธีอุปสมบทต่อไป
ภาพที่ 3 แสดงการโกนผมนาคจากญาติผู้ใหญ่.jpg

ภาพที่ 4 แสดงการโกนผมนาคจากญาติผู้ใหญ่และผู้มาร่วมงาน

ภาพที่ 5 แสดงการล้างตัวนาคหลังจากโกนผมเสร็จเรียบร้อยแล้ว.jpg

ภาพที่ 5 แสดงการล้างตัวนาคหลังจากโกนผมเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ภาพที่ 6 การโกนผมนาค.jpg

ภาพที่ 6 การโกนผมนาค

7 แสดงการล้างตัวนาคหลังจากโกนผมเสร็จเรียบร้อยแล้ว.jpg

ภาพที่ 7 แสดงการล้างตัวนาคหลังจากโกนผมเสร็จเรียบร้อยแล้ว

         2. แต่งตัวนาค
             การแต่งตัวนาคนั้นควรแต่งด้วยชุดขาวทั้งหมด ซึ่งจะบ่งบอกถึงความสะอาดบริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา ใจ ของผู้ที่จะบวช การแต่งตัวนาค ไม่ควรมีเครื่องประดับประดามากจนเกินไป โดยขอแนะนำเครื่องแต่งตัวนาคตามประเพณีนิยมดังนี้ 
             2.1 เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว 
             2.2 สบงขาว 
             2.3 อังสะขาว 
             2.4 เข็มขัด หรือสายรัดสำหรับรัดสบง ในส่วนเข็มขัดนี้ ใช้สำหรับรัดสบงขาว ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้เข็มขัดนาค ในกรณีที่ไม่มีเข็มขัดนาคจะใช้เข็มขัดอย่างอื่นหรือสายรัดแทนก็ได้ ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว แต่การใช้เข็มขัดนาคเป็นการปฏิบัติตามประเพณีการบวชพระที่นิยม เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่า "นาค" ซึ่งเป็นชื่อเรียกผู้ที่จะบวชในพระพุทธศาสนาเท่านั้น  
             2.5 เสื้อคลุมนาค 
             2.6 สร้อยคอ หากมีสร้อยคอจะสวมให้นาคก็ได้หรือไม่สวมก็ได้ แต่ไม่ควรคล้องพวงมาลัยให้นาค เพราะจากนาคจะกลายเป็นนักร้องแทน
ภาพที่ 4 การแต่งกายนาคในงานประเพณีม้าแห่นาค.jpg

ภาพที่ 8 การแต่งกายนาคในงานประเพณีม้าแห่นาค

         3. การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา 
             การเวียนประทักษิณในทางพระพุทธศาสนา คือ การกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ การหมุนไปทางขวา คือการหมุนไปสู่ความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ตรงกันข้ามกับการหมุนไปด้านซ้ายเป็นการหมุนทวนความดี คือ การกระทำที่เป็นทุจริตทางกาย วา และใจ การทำประทักษิณเวียนขวารอบสีมาก่อนเข้าอุโบสถของผู้ที่จะบวชพระนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ยังเป็นอุบายที่คนโบราณสอนให้รู้ว่า สิ่งที่จะทำต่อไปนี้เป็นการกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
9 การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา.jpg

ภาพที่ 9 การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา

         4. การบรรพชา (บวชสามเณร) 
             เมื่อนาคได้เข้าไปในอุโบสถแล้ว นาคจะวันทาพระประธานอีกครั้งด้วยวิธีอย่างเดียวกันกับวันทาสีมา จากนั้นกลับไปนั่ง ณ สถานที่ที่จัดเตรียมไว้สำหรับนาค บิดา มารดา (หรือญาติผู้ใหญ่)มอบผ้าไตรให้นาค นาคคุกเข่ากราบ 3 หน ยื่นแขนประณมมือรับผ้าไตร จากนั้นประณมมือประคองผ้าไตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ เมื่อถึงแนวพระสงฆ์ให้คุกเข่าลงแล้วคลานเข่าเข้าไปถวายผ้าไตรนั้นแก่ท่าน รับดอกไม้ ธูปเทียนแพเครื่องสักการะ (มีผู้ส่งให้ข้างหลัง) ถวายพระอุปัชฌาย์ กราบลง 3 หน            พระอุปัชฌาย์มอบผ้าไตรคืนให้ ประณมมือประคองผ้าไตร กล่าวคำขอบรรพชานาคโน้มตัวเข้าไปใกล้ๆพระอุปัชฌาย์เพื่อคล้องผ้าอังสะให้ จากนั้นนั่งพับเพียบลงประณมมือ ตั้งใจฟังโอวาทของพระอุปัชฌาย์
10 แสดงการบรรพชาต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์.jpg

ภาพที่ 10 แสดงการบรรพชาต่อหน้าพระภิกษุสง

         5. การอุปสมบท (การบวชพระ)  
             การอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุนี้  มีข้อที่ควรทำความเข้าใจ  คือ ถึงแม้จะบวชเป็นพระภิกษุ แต่ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการบวชเป็นสามเณรก่อนทุกครั้ง ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุต้องขอนิสัยจากพระอุปัชฌาย์ การจะอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ บริขารต้องครบทุกอย่างที่เรียกว่าบริขาร 8 จึงจะสามารถบวชได้ สามเณรรับบาตรจากบิดามารดาที่นำมาประเคนเดินด้วยเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ น้อมบาตรถวายท่าน กราบลง 3 หน แล้วยืนขึ้นกล่าวคำขออุปสมบท 
ภาพที่ 7 แสดงภาพพระใหม่หลังจากผ่านพิธีบวชเรียบร้อยแล้ว.jpg

ภาพที่ 7 แสดงภาพพระใหม่หลังจากผ่านพิธีบวชเรียบร้อยแล้ว

         6. การซักซ้อมอันตริยกธรรม 
             อันตริยกธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบวช การซักซ้อมอันตริยกธรรม หมายถึง การซักซ้อมสอบถามสิ่งที่เป็นข้อห้ามสำหรับผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ หากมีข้อห้ามเหล่านี้แล้วบวชเป็นภิกษุไม่ได้ ซึ่งผู้ขอบวชจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ ตามความเป็นจริง ท่ามกลางสงฆ์ จากนั้น ฟังสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาเพื่อยกสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด เสร็จแล้วกราบ 3 หน ประนมมือคลานเข่าถอยหลังออกไป พอพ้นพระสงฆ์แล้วลุกขึ้นไปยืนอยู่ที่เดิม ในกรณีที่พระอุปัชฌาย์ไม่บอกอนุศาสน์เอง ท่านจะมอบให้พระคู่สวดเป็นผู้บอกอนุศาสน์ พระคู่สวดเดินตามไปยืนบนอาสนะสวดบอกอนุศาสน์ การสวดบอกอนุสาสน์ท่านจะบอกเป็นภาษาบาลีไว้ก่อนพระใหม่ฟังสวดอนุศาสน์ไปจนจบ เมื่อกลับถึงที่พักแล้ว พระอาจารย์หรือพระพี่เลี้ยงจะแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับอนุศาสน์อีกครั้ง(คำสอนหรือคำชี้แจงที่พระอุปัชฌาย์หรือพระกรรมวาจาจารย์บอกแก่พระภิกษุผู้บวชใหม่หลังจากบวชเสร็จ)

ความสำคัญ[แก้ไข]

         ประเพณีบวชนาค หรือ อุปสมบทของชายไทยที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จะต้องบวชเพื่อทดแทนบุญคุณของบิดามารดาและถือเป็นการอบรมบ่มนิสัยให้มีศีลธรรมอันเป็นประเพณีสืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในการที่นาคขี่ม้าเป็นการทดสอบจิตใจและความอดทนของนาคโดยตลอด 3-4ชั่วโมง จะมีจังหวะที่นาคจะโดดเด้งไปตามจังหวะเนื่องจากคนแบกม้าโยกม้าไปตามจังหวะ และยังมีความร้อนของแดดเป็นอุปสรรค และม้าที่นาคขี่นั้นยังมีความแข็ง จึงเป็นความลำบากที่ทำให้เจ็บตัวเป็นการทดสอบความอดทนของนาคและทดสอบจิตใจของนาคก่อนเข้าพิธี อีกนัยหนึ่งคือ เพื่อระลึกถึงการออกผนวชขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงสระสิริราชสมบัติออกผนวชโดยการขี่ม้า
         การบวชยังมีกุศโลบาย ที่นำเอาความเชื่อที่ว่า กุศลของการบวชนั้นจะทำให้ พ่อแม่ได้ “เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์”  ทั้งนี้เพราะเมื่อลูกชายไปบวช คนที่เป็นพ่อเป็นแม่ หรือเป็นญาติ ๆ ก็มักจะมีโอกาสได้ทำบุญบ่อยขึ้น เช่น การตักบาตร การเข้าวัดไปถวายเพลพระลูกชาย 
ภาพที่ 8 ส่งนาคเข้าโบสถ์.jpg

ภาพที่ 11 ส่งนาคเข้าโบสถ์

ภาพที่ 9 ฉลองพระใหม่.jpg

ภาพที่ 12 ฉลองพระใหม่

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]

         วันที่ 20 เดือน มกราคม พ.ศ.2562

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         วันที่ 26 เดือน มกราคม พ.ศ.2562

ผู้ควบคุมการสำรวจ[แก้ไข]

         อาจารย์วิษณุเดช  นันไชยแก้ว
         อาจารย์วีรวรรณ  แจ้งโม้
         อาจารย์ชูเกียรติ  เนื้อไม้

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         1. นายวรัญชิต  เขตร์ขัน    
         2. นางสาววราภรณ์  ทันมา
         3. นางสาวลลิตา  ทองดาดาษ 
         4. นางสาวรัมภ์รดา   แหวนพรม