ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การแห่พระด้วยเกวียนในงานประเพณีวันสงกรานต์"
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) ล (Admin ย้ายหน้า [[พูดคุย:กลุ่มชาติพันธุ์ ชุมชนและสังคม : หมู่บ้านกะเหรี่ยงน้ำตกคลองลาน จังหวัดก...) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (/* การแห่พระด้วยเกวียนในงานประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณีทรงคุณค่า อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแ...) |
||
แถว 1: | แถว 1: | ||
== การแห่พระด้วยเกวียนในงานประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณีทรงคุณค่า อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร == | == การแห่พระด้วยเกวียนในงานประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณีทรงคุณค่า อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร == | ||
+ | === ที่มาประเพณีสงกรานต์ === | ||
+ | วันสงกรานต์ หรือ ประเพณีสงกรานต์ เป็นวันฉลองการขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งโดยทั่วไปจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน ตรงกับเดือนห้าตามจันทรคติ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยมีประเพณีสงกรานต์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯให้ ตราขึ้น กล่าวถึง การพระราชพิธีเผด็จศกและพระราชพิธีลดแจตร พระราชพิธีเผด็จศกเป็นพิธีการเกี่ยวกับการตัดจากปีเก่าขึ้นสู่ปีใหม่ ส่วนพระราชพิธีลดแจตรนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงสันนิษฐานว่าหมายถึงพระราชพิธีรดน้ำเดือน 5 แสดงว่าประเพณีสงกรานต์ของหลวงมีมาตั้งแต่ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ในสมัยก่อนไทยใช้จุลศักราช การขึ้นปีใหม่จึงเป็นการขึ้นจุลศักราชใหม่ คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การเคลื่อนที่ หรือการเคลื่อนย้าย หมายถึง การเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งสู่อีกราศีหนึ่ง ตามความหมายในภาษาสันสกฤตสงกรานต์จึงเกิดขึ้นทุกเดือน ส่วนระยะเวลาที่คนไทยเรียกว่า “สงกรานต์” นั้น เป็นช่วงที่พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ นับว่าเป็นมหาสงกรานต์ เพราะเป็นวันและเวลาตั้งต้นปีใหม่ตามสุริยคติ ซึ่งถือปฏิบัติในอินเดีย อินเดียซึ่งนับถือศาสนาฮินดูมีประเพณีฉลองปีใหม่ที่เรียกว่าทิวาลี(Diwali) ในฤดูใบไม้ผลิ เป็นเวลานานมาแล้วในสมัยโบราณไทยนับเดือนตามจันทรคติและฉลองการขึ้นปีใหม่ในเดือนอ้ายซึ่งตรงกับเดือนธันวาคม ประเพณีสงกรานต์จึงน่าจะเป็นประเพณีฉลองการขึ้นปีใหม่ที่รับมาจากอินเดีย เนื่องจากเดือนเมษายนเป็นเวลาที่คนไทยว่างจากการทำนาจึงเป็นการเหมาะสมสำหรับคนไทยที่จะฉลอง ปีใหม่ในช่วงเวลานั้นด้วย ในการฉลองการขึ้นปีใหม่อินเดียมีงานเรียกว่า โหลี(Holi) และมีตำนานเล่าถึงงานโหลีนี้หลายสำนวนอธิบายความเป็นมาของการเล่นสาดน้ำสี ในงานฉลองโหลีนี้คนอินเดียมีการเล่นสาดแป้งและน้ำสีใส่กัน คนไทยซึ่งนับถือพระพุทธศาสนามีประเพณีฉลองสงกรานต์ด้วยการทำบุญ รดน้ำและสาดน้ำเพื่อแสดงความกตัญญู และแสดงความปรารถนาดีต่อกัน นอกจากนี้ยังมีตำนานซึ่งอธิบายความเป็นมาของประเพณีสงกรานต์ ตลอดจนการทำนายเรื่องดินฟ้าอากาศ การผลิตพืชผลและเหตุการณ์บ้านเมืองด้วย | ||
+ | ประเพณีสงกรานต์เป็นการฉลองการขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติแต่เนื่องจากยังนิยมนับวันทางจันทรคติกันอยู่ ช่วงเวลาฉลองสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่นจึงอาจไม่ตรงกันทีเดียว โดยปกติอยู่ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน ในล้านนาบางปีสงกรานต์อาจอยู่ในช่วงวันที่ 14-16 เมษายน ในภาคกลางนิยมทำบุญตักบาตร ในวันที่ 13 เมษายน ถือเป็นวันมหาสงกรานต์คือเป็นวันที่พระอาทิตย์ก้าวเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันสิ้นปีเก่า วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา คือวันที่เชื่อมต่อระหว่างปีเก่ากับปีใหม่ และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศกขึ้นปีใหม่ | ||
+ | ประเพณีสงกรานต์ นอกจากเป็นประเพณีการขึ้นปีใหม่ของไทยแล้วยังพบว่าประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสหภาพพม่า ประเทศกัมพูชา ตลอดจนกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลไทหลายกลุ่มก็มีประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีการขึ้นปีใหม่ด้วย เช่น ไทลื้อในเขตปกครองตนเองสิบสองพันนา และไทเหนือในเขตปกครองตนเองใต้คง มณฑลยูนนานสาธารณรัฐประชาชนจีน ไทขึนและไทใหญ่ในสหภาพพม่า ไทพ่าเก ไทอ่ายตอนและไทคำตี่หรือไทคำที่ในรัฐอัสสัมและรัฐอรุณาจัลประเทศ ประเทศอินเดียน่าสังเกตว่า สังคมที่มีประเพณีสงกรานต์ล้วนเป็นสังคมที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน (กระทรวงวัฒนธรรม, 2560) | ||
+ | === ประเพณีสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่น === | ||
+ | สงกรานต์ภาคเหนือ (สงกรานต์ล้านนา) หรือ “ประเพณีปี๋ใหม่เมือง” อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เริ่มตั้งแต่ “วันสังขารล่อง”(13 เม.ย.) ที่มีการทำความสะอาดบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล “วันเนา”หรือ “วันเน่า”(14 เม.ย.) วันที่ห้ามใครด่าทอว่าร้ายเพราะจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี “วันพญาวัน” หรือ “วันเถลิงศก” (15 เม.ย.) วันนี้ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม ก่อนจะไปรดน้ำดำหัวขอขมาญาติผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย “วันปากปี”(16 เม.ย.) ชาวบ้านจะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่างๆ เพื่อขอขมาคารวะ และ “วันปากเดือน”(17 เม.ย.) เป็นวันที่ชาวบ้านส่งเคราะห์ต่างๆออกไปจากตัว เพื่อปิดฉากประเพณีสงกรานต์ล้านนา | ||
+ | สงกรานต์ภาคอีสาน นิยมจัดกันอย่างเรียบง่าย แต่ว่ามากไปด้วยความอบอุ่น โดยคนอีสานจะเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า “บุญเดือนห้า” หรือ “ตรุษสงกรานต์” และจะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง เป็นเวลาเริ่มงานโดยพระสงฆ์จะตีกลองโฮมเปิดศักราช จากนั้นญาติโยมจะจัดเตรียมน้ำอบหาบไปรวมกันที่ศาลาวัดเพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วต่อด้วยการรดน้ำดำหัว ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอขมาลาโทษจากนั้นก็จะเป็นการเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน | ||
+ | สงกรานต์ภาคใต้ ตามความเชื่อของประเพณีสงกรานต์แบบดั้งเดิมที่ภาคใต้แล้ว สงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง พวกเขาจึงถือเอาวันแรกของสงกรานต์ (13 เม.ย.) เป็น “วันส่งเจ้าเมืองเก่า” โดยจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์สิ่งไม่ดีออกไป ส่วน “วันว่าง” (14 เม.ย.) ชาวนครจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด และสรงน้ำพระพุทธรูป และวันสุดท้ายเป็น “วันรับเจ้าเมืองใหม่” (15 เม.ย.) จะทำพิธีต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงามส่งท้ายสงกรานต์ประเพณีสงกรานต์ | ||
+ | สงกรานต์ภาคกลาง เริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน เป็นวัน“มหาสงกรานต์” วันที่ 14 เป็น “วันกลาง” หรือ “วันเนา” วันที่ 15 เป็น “วันเถลิงศก” ทั้ง 3 วันประชาชนจะประกอบพิธีทางศาสนา มีการทำบุญ ตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระ การขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทราย | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 1 ประเพณีสงกรานต์.jpg|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 1 ประเพณีสงกรานต์''' </p> | ||
+ | <p align = "center"> (ที่มา : กระทรวงวัฒนธรรม, 2560) </p> | ||
+ | === ความเป็นมาของอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร === | ||
+ | อำเภอลานกระบือ เดิมมีชื่อว่าบ้านลานควาย เนื่องจากบริเวณวัดแก้วสุริย์ฉาย มีดินโป่งอุดมสมบูรณ์ จึงมีควายป่ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นลานขนาดใหญ่ เรียกกันสามัญว่าลานควาย เมื่อตั้งเป็นบ้านเรือนขึ้น เรียกกันว่า บ้านลานควาย ต่อมายกฐานะเป็นตำบลและเปลี่ยนชื่อเป็นตำบลลานกระบือเพราะคนที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บ้านลานควายเป็นชาวอีสาน การเรียกบ้านลานควายเมื่อเป็นภาษาอีสานจึงกลายเป็นอย่างอื่น เพื่อความเหมาะสมจึงเปลี่ยนชื่อเป็นลานกระบือในที่สุด ตำบลลานกระบือเดิมขึ้นอยู่กับอำเภอพรานกระต่าย เมื่อ พ.ศ. 2520 ได้แยกและยกฐานะ เป็นกิ่งอำเภอลานกระบือมี 3 ตำบล คือ ตำบลลานกระบือ ตำบลหนองหลวงและตำบลช่องลม และยกฐานะจากกิ่งอำเภอ เป็นอำเภอลานกระบือ ในปี พ.ศ.2527 โดยเป็นหนึ่งในสิบเอ็ดอำเภอของจังหวัดกำแพงเพชร (สันติ อภัยราช, 2550) | ||
+ | อำเภอลานกระบือ มีประเพณีสำคัญ ได้แก่ 1.พิธีกวนข้าวทิพย์ 2.การแห่พระเนื่องในวันสงกรานต์ 3.วันเข้าพรรษา 4.วันออกพรรษา 5.การบวช และ 6.การแต่งงาน โดยประเพณีแห่พระด้วยเกวียนเป็นประเพณีที่ขึ้นชื่อของคนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นประเพณีที่จัดในช่วงประเพณีสงกรานต์ | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 2 ประเพณีสงกรานต์.jpg|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 2 ประเพณีสงกรานต์ ในจังหวัดกำแพงเพชร''' </p> | ||
+ | <p align = "center"> (ที่มา : สันติ อภัยราช, 2550) </p> | ||
+ | === ประเพณีการแห่พระด้วยเกวียน ในอำเภอลานกระบือ === | ||
+ | ประเพณีการแห่พระลานกระบือ ที่เรียกว่า “แห่พระ” เนื่องมาจากการประชาชนได้อัญเชิญพระพุทธรูปและนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นล้อเกวียนแห่ไปตามหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำในวันสงกรานต์ ประเพณีการแห่พระลานกระบือเป็นประเพณีที่ชาวบ้านตำบลลานกระบือดั่งเดิมได้ปฏิบัติสืบทอดกันมานาน และมีอยู่ช่วงหนึ่งได้หายไปจนกระทั่งมีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟัง สำนักงานเทศบาลตำบลลานกระบือจึงได้ฟื้นฟูประเพณีการแห่พระขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2545 การจัดงานจะจัดในช่วงวันสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 13 - 16 เมษายน ซึ่งแต่เดิมประชาชนในเขตเทศบาลตำบลลานกระบือ จัดการแห่พระเป็นเวลา 4 วัน ต่อมาลดลงเหลือ 2 วัน ปัจจุบันเหลือ 1 วัน โดยจัดในพิธีแห่พระในวันที่ 16 เมษายน เป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณ ช่วงวันสงกรานต์ จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรักความผูกพันที่มีต่อกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และ ศาสนา ดังนี้ คุณค่าต่อครอบครัวทำให้สมาชิกของครอบครัว ได้มีโอกาสมาอยู่ร่วมกัน เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตา เช่น ช่วยกันทำความสะอาดบ้าน จัดบ้านใหม่ ช่วยกันทำขนมไว้ทำบุญและเลี้ยงลูกหลาน เช่น ข้าวต้มมัด แกงบวชฟักทอง ขนมเปียกปูน ฯลฯ จัดหาผ้าใหม่มอบให้คนรักนับถือ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ รวมทั้งแสดงความกตัญญู กตเวทิตาต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้คุณค่าต่อชุมชนทำให้เกิดความ สมัครสมานสามัคคีในชุมชน เช่น ส่งขนม / ของกินให้แก่กันและกันร่วมกันทำบุญให้ทาน พบปะสังสรรค์สนุกสนานรื่นเริงร่วมกันคุณค่าต่อสังคมทำให้มีความเอื้ออาทรต่อบุคคลในสังคมและร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ที่สาธารณะ และอาคารสถานที่ต่าง ๆ ในระหว่างวันที่ 13 - 16 เมษายน ของทุกปี ชาวอำเภอลานกระบือทุกตำบลจะจัดประเพณีสงกรานต์ โดยมีกิจกรรมที่คล้าย ๆ กันคือ การทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ รดน้ำให้กัน และบางตำบลอาจมีกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ มากมาย โดยแต่ละกิจกรรมจะแฝงไว้ด้วยคุณค่าและแสดงออกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 3 ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน.jpg|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 3 ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร''' </p> | ||
+ | <p align = "center"> (ที่มา : สันติ อภัยราช, 2550) </p> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:43, 22 ธันวาคม 2563
เนื้อหา
การแห่พระด้วยเกวียนในงานประเพณีวันสงกรานต์ ประเพณีทรงคุณค่า อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
ที่มาประเพณีสงกรานต์
วันสงกรานต์ หรือ ประเพณีสงกรานต์ เป็นวันฉลองการขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งโดยทั่วไปจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน ตรงกับเดือนห้าตามจันทรคติ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยมีประเพณีสงกรานต์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯให้ ตราขึ้น กล่าวถึง การพระราชพิธีเผด็จศกและพระราชพิธีลดแจตร พระราชพิธีเผด็จศกเป็นพิธีการเกี่ยวกับการตัดจากปีเก่าขึ้นสู่ปีใหม่ ส่วนพระราชพิธีลดแจตรนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงสันนิษฐานว่าหมายถึงพระราชพิธีรดน้ำเดือน 5 แสดงว่าประเพณีสงกรานต์ของหลวงมีมาตั้งแต่ต้นสมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว ในสมัยก่อนไทยใช้จุลศักราช การขึ้นปีใหม่จึงเป็นการขึ้นจุลศักราชใหม่ คำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การเคลื่อนที่ หรือการเคลื่อนย้าย หมายถึง การเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งสู่อีกราศีหนึ่ง ตามความหมายในภาษาสันสกฤตสงกรานต์จึงเกิดขึ้นทุกเดือน ส่วนระยะเวลาที่คนไทยเรียกว่า “สงกรานต์” นั้น เป็นช่วงที่พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ นับว่าเป็นมหาสงกรานต์ เพราะเป็นวันและเวลาตั้งต้นปีใหม่ตามสุริยคติ ซึ่งถือปฏิบัติในอินเดีย อินเดียซึ่งนับถือศาสนาฮินดูมีประเพณีฉลองปีใหม่ที่เรียกว่าทิวาลี(Diwali) ในฤดูใบไม้ผลิ เป็นเวลานานมาแล้วในสมัยโบราณไทยนับเดือนตามจันทรคติและฉลองการขึ้นปีใหม่ในเดือนอ้ายซึ่งตรงกับเดือนธันวาคม ประเพณีสงกรานต์จึงน่าจะเป็นประเพณีฉลองการขึ้นปีใหม่ที่รับมาจากอินเดีย เนื่องจากเดือนเมษายนเป็นเวลาที่คนไทยว่างจากการทำนาจึงเป็นการเหมาะสมสำหรับคนไทยที่จะฉลอง ปีใหม่ในช่วงเวลานั้นด้วย ในการฉลองการขึ้นปีใหม่อินเดียมีงานเรียกว่า โหลี(Holi) และมีตำนานเล่าถึงงานโหลีนี้หลายสำนวนอธิบายความเป็นมาของการเล่นสาดน้ำสี ในงานฉลองโหลีนี้คนอินเดียมีการเล่นสาดแป้งและน้ำสีใส่กัน คนไทยซึ่งนับถือพระพุทธศาสนามีประเพณีฉลองสงกรานต์ด้วยการทำบุญ รดน้ำและสาดน้ำเพื่อแสดงความกตัญญู และแสดงความปรารถนาดีต่อกัน นอกจากนี้ยังมีตำนานซึ่งอธิบายความเป็นมาของประเพณีสงกรานต์ ตลอดจนการทำนายเรื่องดินฟ้าอากาศ การผลิตพืชผลและเหตุการณ์บ้านเมืองด้วย ประเพณีสงกรานต์เป็นการฉลองการขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติแต่เนื่องจากยังนิยมนับวันทางจันทรคติกันอยู่ ช่วงเวลาฉลองสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่นจึงอาจไม่ตรงกันทีเดียว โดยปกติอยู่ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน ในล้านนาบางปีสงกรานต์อาจอยู่ในช่วงวันที่ 14-16 เมษายน ในภาคกลางนิยมทำบุญตักบาตร ในวันที่ 13 เมษายน ถือเป็นวันมหาสงกรานต์คือเป็นวันที่พระอาทิตย์ก้าวเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันสิ้นปีเก่า วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา คือวันที่เชื่อมต่อระหว่างปีเก่ากับปีใหม่ และวันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศกขึ้นปีใหม่ ประเพณีสงกรานต์ นอกจากเป็นประเพณีการขึ้นปีใหม่ของไทยแล้วยังพบว่าประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวสหภาพพม่า ประเทศกัมพูชา ตลอดจนกลุ่มชนที่พูดภาษาตระกูลไทหลายกลุ่มก็มีประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีการขึ้นปีใหม่ด้วย เช่น ไทลื้อในเขตปกครองตนเองสิบสองพันนา และไทเหนือในเขตปกครองตนเองใต้คง มณฑลยูนนานสาธารณรัฐประชาชนจีน ไทขึนและไทใหญ่ในสหภาพพม่า ไทพ่าเก ไทอ่ายตอนและไทคำตี่หรือไทคำที่ในรัฐอัสสัมและรัฐอรุณาจัลประเทศ ประเทศอินเดียน่าสังเกตว่า สังคมที่มีประเพณีสงกรานต์ล้วนเป็นสังคมที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยาน (กระทรวงวัฒนธรรม, 2560)
ประเพณีสงกรานต์ในแต่ละท้องถิ่น
สงกรานต์ภาคเหนือ (สงกรานต์ล้านนา) หรือ “ประเพณีปี๋ใหม่เมือง” อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เริ่มตั้งแต่ “วันสังขารล่อง”(13 เม.ย.) ที่มีการทำความสะอาดบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล “วันเนา”หรือ “วันเน่า”(14 เม.ย.) วันที่ห้ามใครด่าทอว่าร้ายเพราะจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี “วันพญาวัน” หรือ “วันเถลิงศก” (15 เม.ย.) วันนี้ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม ก่อนจะไปรดน้ำดำหัวขอขมาญาติผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย “วันปากปี”(16 เม.ย.) ชาวบ้านจะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่างๆ เพื่อขอขมาคารวะ และ “วันปากเดือน”(17 เม.ย.) เป็นวันที่ชาวบ้านส่งเคราะห์ต่างๆออกไปจากตัว เพื่อปิดฉากประเพณีสงกรานต์ล้านนา สงกรานต์ภาคอีสาน นิยมจัดกันอย่างเรียบง่าย แต่ว่ามากไปด้วยความอบอุ่น โดยคนอีสานจะเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า “บุญเดือนห้า” หรือ “ตรุษสงกรานต์” และจะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง เป็นเวลาเริ่มงานโดยพระสงฆ์จะตีกลองโฮมเปิดศักราช จากนั้นญาติโยมจะจัดเตรียมน้ำอบหาบไปรวมกันที่ศาลาวัดเพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วต่อด้วยการรดน้ำดำหัว ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอขมาลาโทษจากนั้นก็จะเป็นการเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน สงกรานต์ภาคใต้ ตามความเชื่อของประเพณีสงกรานต์แบบดั้งเดิมที่ภาคใต้แล้ว สงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง พวกเขาจึงถือเอาวันแรกของสงกรานต์ (13 เม.ย.) เป็น “วันส่งเจ้าเมืองเก่า” โดยจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์สิ่งไม่ดีออกไป ส่วน “วันว่าง” (14 เม.ย.) ชาวนครจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด และสรงน้ำพระพุทธรูป และวันสุดท้ายเป็น “วันรับเจ้าเมืองใหม่” (15 เม.ย.) จะทำพิธีต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงามส่งท้ายสงกรานต์ประเพณีสงกรานต์ สงกรานต์ภาคกลาง เริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน เป็นวัน“มหาสงกรานต์” วันที่ 14 เป็น “วันกลาง” หรือ “วันเนา” วันที่ 15 เป็น “วันเถลิงศก” ทั้ง 3 วันประชาชนจะประกอบพิธีทางศาสนา มีการทำบุญ ตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระ การขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทราย
ภาพที่ 1 ประเพณีสงกรานต์
(ที่มา : กระทรวงวัฒนธรรม, 2560)
ความเป็นมาของอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
อำเภอลานกระบือ เดิมมีชื่อว่าบ้านลานควาย เนื่องจากบริเวณวัดแก้วสุริย์ฉาย มีดินโป่งอุดมสมบูรณ์ จึงมีควายป่ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นลานขนาดใหญ่ เรียกกันสามัญว่าลานควาย เมื่อตั้งเป็นบ้านเรือนขึ้น เรียกกันว่า บ้านลานควาย ต่อมายกฐานะเป็นตำบลและเปลี่ยนชื่อเป็นตำบลลานกระบือเพราะคนที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บ้านลานควายเป็นชาวอีสาน การเรียกบ้านลานควายเมื่อเป็นภาษาอีสานจึงกลายเป็นอย่างอื่น เพื่อความเหมาะสมจึงเปลี่ยนชื่อเป็นลานกระบือในที่สุด ตำบลลานกระบือเดิมขึ้นอยู่กับอำเภอพรานกระต่าย เมื่อ พ.ศ. 2520 ได้แยกและยกฐานะ เป็นกิ่งอำเภอลานกระบือมี 3 ตำบล คือ ตำบลลานกระบือ ตำบลหนองหลวงและตำบลช่องลม และยกฐานะจากกิ่งอำเภอ เป็นอำเภอลานกระบือ ในปี พ.ศ.2527 โดยเป็นหนึ่งในสิบเอ็ดอำเภอของจังหวัดกำแพงเพชร (สันติ อภัยราช, 2550) อำเภอลานกระบือ มีประเพณีสำคัญ ได้แก่ 1.พิธีกวนข้าวทิพย์ 2.การแห่พระเนื่องในวันสงกรานต์ 3.วันเข้าพรรษา 4.วันออกพรรษา 5.การบวช และ 6.การแต่งงาน โดยประเพณีแห่พระด้วยเกวียนเป็นประเพณีที่ขึ้นชื่อของคนในท้องถิ่น ซึ่งเป็นประเพณีที่จัดในช่วงประเพณีสงกรานต์
ภาพที่ 2 ประเพณีสงกรานต์ ในจังหวัดกำแพงเพชร
(ที่มา : สันติ อภัยราช, 2550)
ประเพณีการแห่พระด้วยเกวียน ในอำเภอลานกระบือ
ประเพณีการแห่พระลานกระบือ ที่เรียกว่า “แห่พระ” เนื่องมาจากการประชาชนได้อัญเชิญพระพุทธรูปและนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นล้อเกวียนแห่ไปตามหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำในวันสงกรานต์ ประเพณีการแห่พระลานกระบือเป็นประเพณีที่ชาวบ้านตำบลลานกระบือดั่งเดิมได้ปฏิบัติสืบทอดกันมานาน และมีอยู่ช่วงหนึ่งได้หายไปจนกระทั่งมีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟัง สำนักงานเทศบาลตำบลลานกระบือจึงได้ฟื้นฟูประเพณีการแห่พระขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2545 การจัดงานจะจัดในช่วงวันสงกรานต์ ระหว่างวันที่ 13 - 16 เมษายน ซึ่งแต่เดิมประชาชนในเขตเทศบาลตำบลลานกระบือ จัดการแห่พระเป็นเวลา 4 วัน ต่อมาลดลงเหลือ 2 วัน ปัจจุบันเหลือ 1 วัน โดยจัดในพิธีแห่พระในวันที่ 16 เมษายน เป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณ ช่วงวันสงกรานต์ จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรักความผูกพันที่มีต่อกันทั้งในครอบครัว ชุมชน สังคม และ ศาสนา ดังนี้ คุณค่าต่อครอบครัวทำให้สมาชิกของครอบครัว ได้มีโอกาสมาอยู่ร่วมกัน เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตา เช่น ช่วยกันทำความสะอาดบ้าน จัดบ้านใหม่ ช่วยกันทำขนมไว้ทำบุญและเลี้ยงลูกหลาน เช่น ข้าวต้มมัด แกงบวชฟักทอง ขนมเปียกปูน ฯลฯ จัดหาผ้าใหม่มอบให้คนรักนับถือ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ รวมทั้งแสดงความกตัญญู กตเวทิตาต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้คุณค่าต่อชุมชนทำให้เกิดความ สมัครสมานสามัคคีในชุมชน เช่น ส่งขนม / ของกินให้แก่กันและกันร่วมกันทำบุญให้ทาน พบปะสังสรรค์สนุกสนานรื่นเริงร่วมกันคุณค่าต่อสังคมทำให้มีความเอื้ออาทรต่อบุคคลในสังคมและร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน วัดวาอาราม ที่สาธารณะ และอาคารสถานที่ต่าง ๆ ในระหว่างวันที่ 13 - 16 เมษายน ของทุกปี ชาวอำเภอลานกระบือทุกตำบลจะจัดประเพณีสงกรานต์ โดยมีกิจกรรมที่คล้าย ๆ กันคือ การทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ รดน้ำให้กัน และบางตำบลอาจมีกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ มากมาย โดยแต่ละกิจกรรมจะแฝงไว้ด้วยคุณค่าและแสดงออกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย
ภาพที่ 3 ประเพณีแห่พระด้วยเกวียน อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
(ที่มา : สันติ อภัยราช, 2550)