ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาหารและขนมที่ทำจากกล้วยไข่ จังหวัดกำแพงเพชร"
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (→บรรณานุกรม) |
||
แถว 309: | แถว 309: | ||
กล้วยไข่เป็นของขึ้นชื่อในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นแหล่งปลูกกล้วยไข่รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยกล้วยไข่ที่ปลูกในจังหวัดกำแพงเพชรได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคว่า มีคุณภาพดี ผิวสวย เปลือกสีทอง รสชาติหวานหอม อร่อย เนื้อนุ่ม แกนในของกล้วยไม่กระด้าง จึงเป็นผลไม้ที่ทำรายได้มาสู่จังหวัดได้ปีละไม่น้อยกว่า สามร้อยล้านบาท จนได้รับการยกย่องให้เป็นผลไม้ประจำจังหวัด เมื่อรวมเข้ากับเทศกาลเดือนสิบ จึงได้มีการจัดงานประเพณี"สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง" โดยมีสาระหลักของงานอยู่ที่การส่งเสริมผลผลิตทางเกษตร ของดีเมืองกำแพงเพชรการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีสารทไทยและสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร ในกล้วยไข่นั้นได้มีการค้นพบว่ามีประโยชน์สูงมากนอกจากผลของกล้วยแล้วส่วนต่างๆ ของกล้วยไข่ก็ยังมีคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันไปนับว่ามีประโยชน์ทุกส่วนกล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร ต้นจะเล็ก สูงประมาณ 2 เมตรถึง 2 เมตรครึ่ง ผลไม่ใหญ่ไม่เล็ก เนื่องจากชุดดินของจังหวัดกำแพงเพชร เหมาะสมกับการปลูกกล้วยไข่ ลักษณะของกล้วยที่ผิวเป็นจุดๆ นั้น ไม่ใช่เกิดจากโรคแมลงหรือเน่าเสีย แต่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ว่าเป็นกล้วยไข่พันธ์แท้ของจังหวัดกำแพงเพชร โดยกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น ผิวจะตกกระเป็นจุดดำๆ แต่จะหวานและหอมกว่าพื้นที่จังหวัดอื่นๆมาก นอกจากนี้ยังมีสินค้าโอท็อปที่ทำมาจากกล้วยไข่หลายอย่าง และยังสามารถนำมาทำอาหารและขนมได้หลากหลายเมนู | กล้วยไข่เป็นของขึ้นชื่อในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นแหล่งปลูกกล้วยไข่รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยกล้วยไข่ที่ปลูกในจังหวัดกำแพงเพชรได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคว่า มีคุณภาพดี ผิวสวย เปลือกสีทอง รสชาติหวานหอม อร่อย เนื้อนุ่ม แกนในของกล้วยไม่กระด้าง จึงเป็นผลไม้ที่ทำรายได้มาสู่จังหวัดได้ปีละไม่น้อยกว่า สามร้อยล้านบาท จนได้รับการยกย่องให้เป็นผลไม้ประจำจังหวัด เมื่อรวมเข้ากับเทศกาลเดือนสิบ จึงได้มีการจัดงานประเพณี"สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง" โดยมีสาระหลักของงานอยู่ที่การส่งเสริมผลผลิตทางเกษตร ของดีเมืองกำแพงเพชรการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีสารทไทยและสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร ในกล้วยไข่นั้นได้มีการค้นพบว่ามีประโยชน์สูงมากนอกจากผลของกล้วยแล้วส่วนต่างๆ ของกล้วยไข่ก็ยังมีคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันไปนับว่ามีประโยชน์ทุกส่วนกล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร ต้นจะเล็ก สูงประมาณ 2 เมตรถึง 2 เมตรครึ่ง ผลไม่ใหญ่ไม่เล็ก เนื่องจากชุดดินของจังหวัดกำแพงเพชร เหมาะสมกับการปลูกกล้วยไข่ ลักษณะของกล้วยที่ผิวเป็นจุดๆ นั้น ไม่ใช่เกิดจากโรคแมลงหรือเน่าเสีย แต่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ว่าเป็นกล้วยไข่พันธ์แท้ของจังหวัดกำแพงเพชร โดยกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น ผิวจะตกกระเป็นจุดดำๆ แต่จะหวานและหอมกว่าพื้นที่จังหวัดอื่นๆมาก นอกจากนี้ยังมีสินค้าโอท็อปที่ทำมาจากกล้วยไข่หลายอย่าง และยังสามารถนำมาทำอาหารและขนมได้หลากหลายเมนู | ||
=='''บรรณานุกรม'''== | =='''บรรณานุกรม'''== | ||
− | ดอกแก้ว จรัสแสง. (2562). ขนมที่ทำจากกล้วยไข่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://cookpad.com/th/search. [2562, กันยายน 25]. | + | ดอกแก้ว จรัสแสง. (2562). ขนมที่ทำจากกล้วยไข่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://cookpad.com/th/search. [2562, กันยายน 25]. <br> |
− | ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา. (2559). อนุรักษ์กล้วยไข่กำแพงเพชร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.matichon.co.th/sme/news_364144. [2562, กันยายน 25]. | + | ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา. (2559). อนุรักษ์กล้วยไข่กำแพงเพชร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.matichon.co.th/sme/news_364144. [2562, กันยายน 25]. <br> |
− | ประวรรณ สุนทรสมัย. (2562). ประโยชน์ของกล้วยไข่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.honestdocs.co/banana. [2562, กันยายน 25]. | + | ประวรรณ สุนทรสมัย. (2562). ประโยชน์ของกล้วยไข่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.honestdocs.co/banana. [2562, กันยายน 25]. <br> |
− | พัชราพร สิริคง. (2559). เมนูกล้วยไข่ ขนมไทยเติมความหวานยามบ่ายแบบกล้วยๆ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://cooking.kapook.com/view160433.html?fbclid. [2562, กันยายน 25]. | + | พัชราพร สิริคง. (2559). เมนูกล้วยไข่ ขนมไทยเติมความหวานยามบ่ายแบบกล้วยๆ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://cooking.kapook.com/view160433.html?fbclid. [2562, กันยายน 25]. <br> |
− | ศศิวิมล แสวงผล. (2552). กล้วยไข่กำแพงเพชร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bananacenterkp.weebly.com/. [2562, ตุลาคม 31]. | + | ศศิวิมล แสวงผล. (2552). กล้วยไข่กำแพงเพชร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bananacenterkp.weebly.com/. [2562, ตุลาคม 31]. <br> |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:48, 21 พฤษภาคม 2564
เนื้อหา
บทนำ[แก้ไข]
กล้วยไข่เป็นสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร นิยมรับประทานกับกระยาสารท กล้วยไข่ปลูกกันมากในจังหวัดกำแพงเพชร จากงานวิจัยของสำนักโภชนาการ กรมอนามัย พบว่า มีประโยชน์สูง โดยมีวิตามินอี เบต้าแคโรทีน และวิตามีนซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง หรือทำให้เกิดการอักเสบ การทำลายเนื้อเยื่อ รวมทั้งโรคตาต้อกระจกได้และยังสามารถทำเป็นอาหารหรือขนมได้หลากหลายชนิด กล้วยไข่ใสจังหวัดกำแพงเพชนส่วนมากผู้คนจะรู้จักเป็นอย่างดีเพราะจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมื่องแห่งกล้วยไข่ แล้วกล้วยไข่ยังสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้อีกด้วย และที่ขาดไม่ได้เลยคือการทำขนมจากกล้วยไข่นั้นเองสามารถนำมาทำขนมได้หลากหลายชนิดซึ่งผู้คนนิยมนำกล้วยไข่มาทำเป็นขนมขายเพราะในจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อเรื่องกล้วยไข่บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประโยชน์ของกล้วยไข่ 2) ลักษณะของกล้วยไข่ 3) ประวัติความเป็นมา และ 4) การประกอบอาหาร/ขนมที่ทำจากกล้วยไข่
ประโยชน์ของกล้วยไข่[แก้ไข]
ในกล้วยไข่นั้นได้มีการค้นพบว่ามีประโยชน์สูงมากโดยประกอบไปด้วย เบต้าแคโรทีน และวิตามินซี ซึ่งสารเหล่านี้จะช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งหรือทำให้เนื้อเยื่ออักเสบนอกจากนี้ยังมีสารจำพวก เกลือแร่ วิตามินเอ วิตามินบี 2 วิตามินบี 6 โดยในกล้วยไข่ 1 ผลที่มีน้ำหนักประมาณ 40 กรัม มีสารเบต้าแคโรทีนสูงถึง 108 ไมโครกรัม วิตามินอี 0.19 มิลลิกรัม วิตามินซี 4 มิลลิกรัม และให้พลังงานถึง 44 กิโลแคลอรี่ นอกจากผลของกล้วยแล้วส่วนต่างๆ ของกล้วยไข่ก็ยังมีคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันดังนี้ - ยางของกล้วยไข่ : ช่วยในเรื่องช่วยสมานรอยแผล ห้ามเลือด มีรสฝาด - ผลดิบของกล้วยไข่ : ใช้ชงกับนำร้อนหรือบดให้เป็นผงละเอียดในการรับประทาน เพื่อช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร และบรรเทาอาการท้องเสียเรื้อรัง และให้รสฝาด - ผลสุกของกล้วยไข่ : ช่วยในเรื่องของการบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และยังช่วยในเรื่องของการขับถ่ายเนื่องจากมีไฟเบอร์สูง ให้รสหวาน - หัวปลีของกล้วยไข่ : ช่วยในเรื่องของลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้โรคกระเพาะและลำไส้ โรคโลหิตจาง ทั้งยังมีแคลเซียม ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม และฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อกระดูก และให้รสฝาด - ใบของกล้วยไข่ : สามารถนำมาต้มอาบเพื่อแก้อาการผดผื่นคัน หรือจะนำไปปิ้งไฟเพื่อนำมาปิดทับแผลไฟไหม้ช่วยบรรเทาอาการจากไฟไหม้ได้ ให้รสจืด - รากของกล้วยไข่ : สามารถนำมาต้มเพื่อดื่มแก้ไข้ ร้อนใน กระหายน้ำได้ ทั้งยังช่วยในเรื่องช่วยสมานแผลภายใน แก้โรคบิด ผดผื่นคัน ท้องอืด ท้องเสีย ให้รสฝาดเย็น - หยวกของกล้วยไข่ : เมื่อนำมาเผาไฟแล้วเอามาทานจะช่วยขับพยาธิ ให้รสฝาดเย็น - เหง้าของกล้วยไข่ : สามารถช่วยรักษาบาดแผลภายในบริเวณของทวารหนักได้ หรือนำมาปรุงเพื่อใช้เป็นยาแก้ริดสีดวงทวารแบบมีเลือดออก ให้รสฝาดเย็น (ประวรรณ สุนทรสมัย, 2562, ออนไลน์)
ลักษณะของกล้วยไข่[แก้ไข]
กล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชรงกำแพงเพชร ต้นจะเล็ก สูงประมาณ 2 เมตรถึง 2 เมตรครึ่ง ผลไม่ใหญ่ไม่เล็ก ผิวเมื่อสุกแล้วสีเหลืองสดใส แก่จัดผิวจะตกกระเป็นสีน้ำตาลดำ รสชาติหวานวัดได้ประมาณ 24 องศาบิค ไม่มีรสเปรี้ยว เนื้อแน่นเหนียวตลอดทั้งลูก เปลือกบางจึงไม่เหมาะกับการส่งออก ผิดกับพันธ์อื่นๆ ซึ่งลูกใหญ่ที่ปลูกในจังหวัดอื่นๆ เพื่อส่งออกแต่รสชาติต่างกันมาก เนื่องจากชุดดินของจังหวัดกำแพงเพชร เหมาะสมกับการปลูกกล้วยไข่ ลักษณะของกล้วยที่ผิวเป็นจุดๆ นั้น ไม่ใช่เกิดจากโรคแมลงหรือเน่าเสีย แต่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ว่าเป็นกล้วยไข่พันธ์แท้ของจังหวัดกำแพงเพชร (ประวรรณ สุนทรสมัย, 2562, ออนไลน์)
ภาพที่ 1 ลักษณะของกล้วยไข่
ที่มา: ศศิวิมล แสวงผล, 2552, ออนไลน์
ประวัติความเป็นมา[แก้ไข]
ประวัติความเป็นมาของกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เป็นแหล่งปลูกกล้วยไข่รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทย กล้วยไข่ที่ปลูกในจังหวัดกำแพงเพชรได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคว่า มีคุณภาพดี ผิวสวย เปลือกสีทอง รสชาติหวานหอม อร่อย เนื้อนุ่ม แกนในของกล้วยไม่กระด้าง จึงเป็นผลไม้ที่ทำรายได้มาสู่จังหวัดได้ปีละไม่น้อยกว่าสามร้อยล้านบาท จนได้รับการยกย่องให้เป็นผลไม้ประจำจังหวัด เมื่อรวมเข้ากับเทศกาลเดือนสิบ จึงได้มีการจัดงานประเพณี "สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง" โดยมีสาระหลักของงานอยู่ที่การส่งเสริมผลผลิตทางเกษตร ของดีเมืองกำแพงเพชรการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีสารทไทยและสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร ตามประวัติที่เล่ากันมาเชื่อกันว่านายฮะคลิ้ง แซ่เล้า ชาวจีนจากนครปฐม ซึ่งเดิมมีอาชีพรับจ้าง ต่อมาได้เปลี่ยนอาชีพเป็นพ่อค้าเรือเร่ เดินทางค้าขายระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดกำแพงเพชร และได้ตัดสินใจเข้ามาใช้ชีวิตและตั้งบ้านเรือน หักร้างถางป่าทำสวนกล้วยไข่ โดยนำกล้วยไข่หน่อแรกเข้ามาปลูกไว้ที่บ้านเกาะตาล หมู่ที่ 2 ตำบลแสนตอ อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ.2465 (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนบ้านเกาะตาล) จากแปลงปลูกแห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชร กล้วยไข่ได้แพร่หลายเข้าไปสู่หมู่บ้านข้างเคียง โดยชนชาวจีนเป็นส่วนใหญ่ เช่น นายปั๊กฮ้อ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "เจ๊กค้อ" ได้นำต้นกล้วยไข่ไปปลูกที่บ้านเกาะสามสิบ และชาวจีนบางรายได้นำไปปลูกที่บ้านเตาสูบ บ้านเกาะฝ้าย บ้านหาดชะอม ก่อนจะแพร่หลายไปทั่วจังหวัดกำแพชเพชร ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไข่แห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชรที่บ้านเกาะตาล ไปโรยรา และสูญหายไปพร้อมกับชีวิตของนายฮะคลิ้ง แซ่เล้า หมดแล้ว จนทำให้จังหวัดกำแพงเพชรแหล่งปลูกกล้วยไข่รายใหญ่ของประเทศ ทำให้มีการริเริ่มจัดงานกล้วยไข่เมืองกำแพงขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2524 ในสมัยของนายจำนงค์ ยังเทียน เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ด้วยความร่วมมือกับภาคเอกชน นักธุรกิจและการโรงแรม โดยจัดขึ้นในช่วงเทศกาลสารทไทย ซึ่งตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ เรียกชื่องานว่า "งานกล้วยไขเมืองกำแพง" ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2526 ได้เปลี่ยนชื่อการจัดงานเสียใหม่เป็น "งานสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร" ด้วยเป็นการจัดงานในช่วงวันสารทไทย และต่อมาในปี 2546 คณะกรรมการจัดงานได้มีมติให้ใช้ชื่อว่า "งานประเพณีสารทไทย กล้วยไขเมืองกำแพง" ความแตกต่างของกล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชรงกำแพงเพชรต้นจะเล็กสูงประมาณ 2 เมตรถึง 2 เมตรครึ่ง ผลไม่ใหญ่ไม่เล็ก ผิวเมื่อสุกแล้วสีเหลืองสดใส แก่จัดผิวจะตกกระเป็นสีน้ำตาลดำ รสชาติหวาน วัดได้ประมาณ 24 องศาบิค ไม่มีรสเปรี้ยว เนื้อแน่นเหนียวตลอดทั้งลูก เปลือกบางจึงไม่เหมาะกับการส่งออก ผิดกับพันธ์อื่นๆ ซึ่งลูกใหญ่ที่ปลูกในจังหวัดอื่นๆ เพื่อส่งออก แต่รสชาติต่างกันมาก เนื่องจากชุดดินของจังหวัดกำแพงเพชร เหมาะสมกับการปลูกกล้วยไข่ ลักษณะของกล้วยที่ผิวเป็นจุดๆ นั้น ไม่ใช่เกิดจากโรคแมลงหรือเน่าเสีย แต่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ว่าเป็นกล้วยไข่พันธ์แท้ของจังหวัดกำแพงเพชร
การประกอบอาหาร/ขนมที่ทำจากกล้วยไข่[แก้ไข]
กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ “กล้วยไข่หวาน” น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก ถ้าหากพูดถึงจังหวัดกำแพงเพชรจะมีสิ่งที่ขึ้นชื่อและเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอยู่ไม่กี่อย่างหนึ่งในนั้นคือ กล้วยไข่ ที่มีเอกลักษณ์ ไม่เหมือนกล้วยไข่พื้นที่จังหวัดอื่นๆ โดยกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น ผิวจะตกกระเป็นจุดดำๆ แต่จะหวานและหอมกว่าพื้นที่จังหวัดอื่นๆมาก นอกจากนี้ยังมีสินค้าโอท็อปที่ทำมาจากกล้วยไข่หลายอย่าง และยังสามารถนำมาทำอาหารและขนมได้ (ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา, 2559, ออนไลน์) อาหารที่ทำจากกล้วยไข่ สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารมีทั้งหมด 1 อย่าง ได้แก่
ภาพที่ 2 แกงไก่บ้านกับลูกกล้วยไข่
ที่มา: ดอกแก้ว จรัสแสง, 2559, ออนไลน์
แกงไก่บ้านกับลูกกล้วยไข่ ส่วนผสมการทำแกงไก่บ้านกับลูกกล้วยไข่ เครื่องแกงกะทิทางใต้ 3ช้อนโต๊ะ ลูกกล้วยไข่อร 1 หวี น้ำหัวกะทิ 1 ถ้วยตวง น้ำหางกะทิ 3 ถ้วยตวง เนื้อไก่บ้าน 1 ก.ก เกลือ 1 ช้อนชา วิธีทำ 1. นำเนื้อไก่มาล้างให้สะอาดพักไว้ ตามด้วยเอาน้ำใส่กะละมัง แล้วก็ลอกเปลือกสีเขียวเข้มของลูกกล้วยออกให้เหลือไว้แต่สีเขียวอ่อนข้างใน 2. แล้วก็เอากล้วยผ่าตามยาวลูกแล้วหั่นเฉลีนงนำไส่ในกะละมังไว้ 3. นำหางกะทิใส่หม้อนำขึ้นตั้งไฟปานกลางพอเดือดละลายเครื่องแกง นำเนื้อไก่มาใส่เคี่ยวต่อไปจนเนื้อไก่เริ่มเปื่อย 4. พอเนื้อไก่เปื่อยและนิ่มดีแล้วนำน้ำหัวกะทิมาใส่ลงไปเลยนำเกลือใส่ลงไปรอเดือดอีกครั้งใส่ใบมะกรูดชิมรสชาติดู ปรุงรสให้อร่อย (ดอกแก้ว จรัสแสง, 2559, ออนไลน์) ขนมที่ทำจากกล้วยไข่ มี 15 อย่าง ได้แก่
ภาพที่ 3 กล้วยไข่เชื่อม
ที่มา: พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์
1. กล้วยไข่เชื่อม ส่วนผสม กล้วยไข่เชื่อม หัวกะทิ 2 ถ้วย เกลือป่น (หยิบมือ) แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1+1/2 ช้อนโต๊ะ กล้วยไข่ห่าม ๆ 2 หวี น้ำตาลทรายขาว 450 กรัม น้ำสะอาด 400 กรัม วิธีทำกะทิสำหรับราดหน้า วิธีที่ 1 สำหรับหัวกะทิที่คั้นโดยไม่ใช้น้ำ ให้เอาหัวกะทิผสมเกลือป่นเล็กน้อยแล้วนำไปตั้งไฟอ่อนคนไปเรื่อย ๆ จนกะทิข้นขึ้น วิธีที่ 2 สำหรับหัวกะทิที่คั้นแบบใส่น้ำ หรือกะทิกล่อง ให้เอาหัวกะทิ 2 ถ้วย ผสมกับแป้งสาลีอเนกประสงค์ 1+1/2 ช้อนโต๊ะ และเกลือป่นหยิบมือ (ใส่พอให้มีรสเค็มปะแล่ม ๆ) คน ๆ ให้แป้งละลายเข้ากับหัวกะทิก่อน แล้วค่อยนำไปตั้งไฟกลาง ๆ ระหว่างตั้งไฟก็ใช้ตะกร้อมือคนเรื่อย ๆ จนกระทั่งแป้งสุกและกะทิข้น พอกะทิสุกข้นแล้วก็ยกลงจากเตา ตั้งพักไว้ให้เย็น วิธีทำกล้วยไข่เชื่อม 1. ปอกเปลือกกล้วยไข่ออก ดึงเส้นดำออกให้หมด ตัดหัว-ท้ายเล็กน้อยเพื่อความสวยงาม แช่ไว้ในน้ำผสมเกลือนิดหน่อย เพื่อไม่ให้กล้วยเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ ๆ (แต่ถ้าหากปอกแล้วเชื่อมเลย ก็ไม่ต้องแช่) 2. ทำน้ำเชื่อม โดยผสมน้ำกับน้ำตาลทรายเข้าด้วยกันแล้วนำไปตั้งไฟ คนให้ละลาย นำมาลงกรองด้วยผ้าขาวบางหรือกระชอนตาถี่ ๆ ครั้งหนึ่ง จากนั้นก็เทใส่กลับคืนหม้อ แล้วนำไปตั้งไฟเคี่ยวต่อจนน้ำเชื่อมข้น ข้อสังเกตคือฟองก็จะยิ่งเล็กลงในสูตรเคี่ยวน้ำเชื่อมให้ลดลงไปประมาณ 1/4 ก็จะได้น้ำเชื่อมที่มีความเหนียวได้ที่ 3. ใส่กล้วยไข่ลงไปในน้ำเชื่อม ใช้ไฟกลาง ๆ ค่อนมาทางอ่อน รอจนกล้วยมีสีเหลืองเข้มสม่ำเสมอกัน ตักใส่ภาชนะ ราดกะทิ (พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์)
ภาพที่ 4 กล้วยไข่บวชชี
ที่มา: พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์
2. กล้วยไข่บวชชี จากที่เคยกินกล้วยน้ำว้าบวชชี มาลองชิมกล้วยไข่บวชชีบ้างดีไหม วิธีทำแสนง่าย เชื่อเถอะอร่อยไม่แพ้ต้นฉบับ ปอกเปลือกกล้วยไข่รอเลย ส่วนผสม กล้วยไข่บวชชี กล้วยไข่ 8 ลูก หางกะทิ 250 มิลลิลิตร (หรือนมสด) ใบเตย 2 ใบ น้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ เกลือ (เล็กน้อย) หัวกะทิ 200 มิลลิลิตร น้ำเปล่าผสมเกลือสำหรับแช่กล้วย วิธีทำกล้วยบวชชี 1. ปอกเปลือกกล้วยไข่ หั่นเป็นชิ้นพอดีคำแล้วนำแช่ลงในน้ำเปล่าผสมเกลือ 2. ต้มหางกะทิกับใบเตยจนเดือด ใส่เกลือป่น น้ำตาลทราย และน้ำตาลปี๊บลงไป คนให้ละลายรอจนเดือดอีกครั้ง 3. ลดไฟลงแล้วช้อนกล้วยไข่จากน้ำใส่ลงไป รอจนเดือดอีกครั้งและกล้วยสุกนิ่ม ใส่หัวกะทิ ลงไป ต้มจนเดือดประมาณ 3 นาที ตักใส่ถ้วย พร้อมเสิร์ฟ (พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์)
ภาพที่ 5 ข้าวเม่าทอด
ที่มา: พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์
3. ข้าวเม่าทอด อย่าเพิ่งทิ้งกล้วยไข่สุกงอม กินเพียว ๆ คงหวานเลี่ยนจับเอามาทำข้าวเม่าทอดกันเลย จับกล้วยไข่ห่อหน้ากระฉีกแล้วชุบแป้งก่อนเอาไปทอด ชิ้นเดียวคงไม่พอ ส่วนผสม ข้าวเม่าทอด กล้วยไข่สุกงอม 1 หวี ข้าวเม่า 2 ถ้วย มะพร้าวขูด 350 กรัม น้ำ 1/2 ถ้วย น้ำตาลปี๊บ 250 กรัม แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย หัวกะทิ 1 ถ้วย เกลือป่น 1/2 ช้อนชา น้ำปูนใส 2 ช้อนโต๊ะ ไข่ไก่ 1 ฟอง น้ำมันพืช (สำหรับทอด) วิธีทำหน้ากระฉีก 1. คั่วข้าวเม่า 1 ถ้วยด้วยไฟอ่อนจนพองกรอบแล้วกดบี้ให้แตก 2. นำข้าวเม่าที่เหลือผสมกับน้ำแล้วนวดพอนุ่ม (อย่าให้แฉะเกินไป) ใส่มะพร้าวขูดลงไป ตามด้วยน้ำตาลปี๊บ นวดให้ละลายเข้ากัน 3. ใส่ข้าวเม่าที่คั่วไว้ลงไป นำขึ้นตั้งไฟอ่อนแล้วกวนจนเหนียวจนสามารถปั้นเป็นก้อนได้ 4. ทำแป้งชุบฝอย โดยผสมแป้งข้าวเจ้า หัวกะทิ เกลือ และน้ำปูนใส นวดจนส่วนผสมข้นและละลายเข้ากัน 5. นำกล้วยมาห่อด้วยหน้ากระฉีก (ส่วนผสมข้าวเม่า) ให้สวยงาม 6. ใส่น้ำมันพืชลงในกระทะ นำขึ้นตั้งไฟแรง จากนั้นนำกล้วยชุบลงในส่วนผสมแป้ง 7. ทำฝอยข้าวเม่า โดยใช้มือจุ่มแป้งให้ชุ่มแล้วสลัดแป้งลงในกระทะ ขณะที่กำลังทอดกล้วยอยู่ ใช้ตะหลิวเขี่ยมารวมกันเป็นแพ ตักขึ้นวางบนกล้วยข้าวเม่า ตักน้ำมันราดบนฝอยจนเหลืองกรอบ 8. พอกล้วยข้าวเม่าสุกเหลืองตักขึ้นวางบนตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมัน จัดใส่จานวางฝอยข้าวเม่าด้านบน (พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์)
ภาพที่ 6 เค้กกล้วยไข่ช็อกโกแลต
ที่มา: พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์
4. เค้กกล้วยไข่ช็อกโกแลต ส่วนผสม เค้กกล้วยไข่ช็อกโกแลต (สำหรับ 7 ชิ้น) แป้งเค้ก 125 กรัม ผงโกโก้ 35 กรัม ผงฟู 3/4 ช้อนชา เบกกิ้งโซดา 3/4 ช้อนชา กล้วยไข่บด 1/2 ถ้วยตวง กลิ่นวานิลลา 1/2 ช้อนชา ไข่ไก่ (เบอร์ 0) 1 ฟอง น้ำตาลทราย 100 กรัม น้ำตาลทรายแดง 50 กรัม เกลือ 1/4 ช้อนชา นมสด 60 กรัม น้ำมันพืช 60 กรัม น้ำสะอาด 120 กรัม ดาร์กช็อกโกแลตชิพ หรือไวท์ช็อกโกแลตชิพ สำหรับโรยหน้า วิธีทำเค้กกล้วยไข่ช็อกโกแลต 1. เปิดเตาอบที่อุณหภูมิ 180 องศาเซลเซียส เตรียมไว้ 2. ร่อนแป้ง โกโก้ ผงฟู และเบกกิ้งโซดาเข้าด้วยกัน 2-3 ครั้ง ใส่ลงในอ่างผสมแล้วทำหลุม ตรงกลาง เตรียมไว้ 3. ผสมกล้วยไข่บดกับกลิ่นวานิลลาเข้าด้วยกัน เตรียมไว้ 4. ตีไข่ไก่ให้เป็นฟองหยาบ ๆ ค่อย ๆ ใส่น้ำตาลทรายและเกลือลงไปตีให้เข้ากัน ใส่นม น้ำมันพืช และน้ำ ลงไปตีให้เข้ากัน จากนั้นใส่ส่วนผสมกล้วยลงไป ตีผสมให้เข้ากันอีกครั้ง 5. เทส่วนผสมกล้วยเมื่อครู่ลงในหลุมแป้ง ตีผสมให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว 6. เทส่วนผสมใส่ลงพิมพ์ประมาณ 3/4 ของพิมพ์ โรยด้วยช็อกโกแลตชิพ นำเข้าอบประมาณ 20 – 25 นาที (ถ้าใช้ถ้วยใหญ่ อบประมาณ 24 นาที ถ้าถ้วยเล็กจะใช้เวลาน้อยกว่านั้น) นำออกจากเตา พักทิ้งไว้บนตะแกรง พร้อมเสิร์ฟ (พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์)
ภาพที่ 7 กล้วยไข่ทอดกรอบ
ที่มา: พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์
5. กล้วยไข่ทอดกรอบ ส่วนผสม แป้งทอดกรอบ 200 กรัม น้ำตาลทรายตามชอบ (ใส่นิดหน่อยเพราะกล้วยหวานอยู่แล้ว) นมสด หรือ กะทิ 150 มล หรือ กล่องเล็ก งาขาว น้ำมัน วิธีทำ 1. ปอกกล้วยผ่าครึ่ง 2. ผสมทุกอย่างเข้าด้วยกัน อย่าให้เหนียวมากมันจะไม่ติดกล้วย ถ้ายังเหนียวให้เติมนมรึกะทิเพิ่มได้ 3. ตั้งกะทะให้เดือด แล้วค่อยๆผ่อนลง อย่าใช้ไฟแรง พอเหลืองกรอบให้ตักขึ้น (พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์)
ภาพที่ 8 กล้วยนมสดมะพร้าวอ่อน
ที่มา: พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์
6. กล้วยนมสดมะพร้าวอ่อน ส่วนผสม นมข้นจืด 1 กระป๋อง นมข้นหวาน 3 ช้อนโต๊ะ ใบเตย กล้วยไข่ 6-7 ผล แปะก๋วย 1/4 ถ้วย เนื้อมะพร้าวอ่อน 1/4 ถ้วย น้ำตาล 1 ช้อนโต๊ะ วิธีทำ เทนมข้นจืดและนมข้นหวานลงไปในหม้อ เปิดไฟอ่อนถึงปานกลาง เพื่อความหอมให้ใส่ใบเตยลงไปด้วยผ่ากล้วยเอาใยออกแล้วหั่นให้ได้ 4 ส่วน ใส่แปะก๋วยและเนื้อมะพร้าวอ่อนลงไป ตามด้วยน้ำตาลทราย ถ้าอยากได้หวานอีกก็สามารถเติมลงไปได้ หลังจากนั้นต้มจนกล้วยนิ่ม เสร็จแล้วก็ปิดไฟ ยกลงจากเตา ตักใส่ถ้วยเสิร์ฟได้เลย (พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์)
ภาพที่ 9 มูสกล้วยไข่
ที่มา: พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์
7. มูสกล้วยไข่ ส่วนผสม กล้วยไข่สุกงอม 4-5 ลูก นมสด 1 ถ้วยตวง ครีมสด 1/2 ถ้วยตวง นมข้นจืด 3 ช้อนโต๊ะ น้ำเชื่อมกลิ่นคาราเมล 2 ช้อนโต๊ะ แผ่นเจลาตินแช่น้ำจนนิ่ม 1 แผ่น ช็อกโกแลตซอส 1 ช้อนโต๊ะ คาราเมลซอสและช็อกโกแลตซอสสำหรับตกแต่ง วิธีทำ หั่นกล้วยเป็นชิ้นปั่นเข้ากับนมสด ครีมสดและนมข้นจืดจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน นำกล้วยที่ผสมแล้วไปตั้งไฟอ่อนเมื่อเริ่มเดือดเล็กน้อยแล้วจึงใส่แผ่นเจลาตินคนจนแผ่นเจลาตินละลาย แล้วยกลงทันที จากนั้นใส่น้ำเชื่อมกลิ่นคาราเมล คนให้เข้ากันแล้วพักไว้ แบ่งส่วนผสมกล้วยที่อุ่นแล้วออกมาประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ ผสมเข้ากับช็อกโกแลตซอสแล้วพักไว้ ตักส่วนผสมกล้วยลงในพิมพ์หรือภาชนะ ที่ต้องการ เคาะเบาๆ ให้หน้าขนมเรียบเสมอกัน แล้วจึงใส่ส่วนผสมกล้วยที่ผสมกับช็อกโกแลตซอสบนหน้าขนม เคาะหรือเกลี่ยเบา ๆ ให้เรียบอีกครั้ง หลังจากนั้นนำไปแช่เย็นที่ช่องธรรมดาประมาณ 1 ชั่วโมงหรือจนกระทั่งขนมเริ่มอยู่ตัว รับประทานกับคาราเมลซอสช็อกโกแลต (พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์)
ภาพที่ 10 กล้วยทอดอินโด
ที่มา: พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์
8. กล้วยทอดอินโด ส่วนผสม แป้งสาลีอเนกประสงค์ 360 กรัม มาการีน 125 กรัม น้ำตาลทราย 50 กรัม กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา น้ำเปล่า 150 มิลลิลิตร กล้วยไข่ วิธีทำ ผสมแป้งสาลีกับมาการีน คนให้เข้ากัน จากนั้นก็เติมน้ำตาลทรายและกลิ่นวานิลลา กวนให้เข้ากันอีกครั้ง เติมน้ำเปล่าลงไปทีละน้อยแล้วนวดให้เนียน เติมน้ำเปล่าจนหมดแล้วนวดให้เป็นเนื้อเดียวกัน นำแป้งที่นวดเป็นแล้วมาคลึงให้บาง แล้วหั่นแป้งให้เป็นแนวยาว ปอกเปลือกกล้วยออก เอากล้วยมาพันด้วยแป้ง ให้เป็นเกลียว ตั้งกระทะใส่น้ำมันให้ท่วม รอจนน้ำมันร้อนแล้วนำกล้วยลงไปทอด ทอดจนแป้งเหลืองกรอบน่ารับประทาน หลังจากนั้นนำกล้วยทอดขึ้นมาสะเด็ดน้ำมัน เสิร์ฟคู่กับนมข้นหวานได้เลย (พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์)
ภาพที่ 11 ครีมพายกล้วยไข่
ที่มา: พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์
9. ครีมพายกล้วยไข่ ส่วนผสม ฐานพาย แครกเกอร์ 226 กรัม เนยละลาย 2 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1/8 ช้อนชา วิธีทำ ฐานพาย บดแครกเกอร์ให้ละเอียด นำเนยที่ละลายแล้วใส่ลงไปและคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำแครกเกอร์ลงไปกรุในพิมพ์ที่เตรียมไว้ให้แน่น นำกล้วยหอมมาปอกเปลือกและผ่าครึ่งเป็นแนวยาว ตกแต่งให้ทั่วพิมพ์ ส่วนผสม ครีมพาย น้ำตาลทราย 1 ถ้วย Whipping Cream 2 ถ้วย เหล้ารัม 1 ช้อนโต๊ะ (ถ้าไม่มีใช้น้ำสับปะรด) เกลือ 1/8 ช้อนชา แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ ไข่ไก่ขนาด 2 ฟอง เนยสดเย็นจัด หั่นเป็นก้อนเล็กๆ 2 ช้อนโต๊ะ กลิ่นวานิลา 1/2 ช้อนชา วิธีทำ ครีมพาย ตอกไข่ไก่และเหล้ารัมใส่ชามผสม ตีเข้ากันแล้วพักไว้ นำแป้งข้าวโพด แป้งสาลี เกลือ และน้ำตาลทราย ใส่ลงไปในหม้อและใช้ตะกร้อมือคนส่วนผสมให้เข้ากัน จากนั้นก็เทนมใส่ลงไปคนให้เข้ากัน นำหม้อไปตั้งไฟใช้ไฟปานกลาง และใช้ตะกร้อมือคนส่วนผสมตลอดเวลาห้ามหยุด ถ้าหยุดอาจจะเป็นก้อนได้ ให้คนส่วนผสมไปเรื่อย ๆ จนข้น เมื่อส่วนผสมข้น นำลงจากเตา ให้เทส่วนผสมลงในชามผสมที่ตีไข่ไว้เมื่อสักครู่นี้ ต้องเททีละน้อย ๆ เพราะจะทำให้ไข่สุกได้ และพร้อมกับใช้ตะกร้อมือคนไปด้วยตลอด เมื่อเทส่วนผสมจนหมด คนให้เข้ากันและเทกลับใส่หม้ออีกครั้งนึง ตั้งไฟปานกลางและคนไปเรื่อย ๆ จนเห็นว่าเดือด นำลงจากเตา ใส่เนยและกลิ่นวนิลาลงไป คนจนกว่าเนยจะละลาย เทใส่แม่พิมพ์ที่กรุด้วยแครกเกอร์และวางกล้วยไข่ไว้เรียบร้อยแล้ว โดยเริ่มเทจากตรงกลางเพื่อให้หน้าของครีมพายสวยเรียบเนียนวางทิ้งไว้ให้หายร้อน จากนั้นนำเข้าตู้เย็นจนครบ 6 ชั่วโมงขึ้นไป นำออกมาแกะพิมพ์ แล้วหั่นใส่จานเสิร์ฟได้เลย (พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์)
ภาพที่ 12 กล้วยไข่ฉาบ
ที่มา: พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์
10. กล้วยไข่ฉาบ วัตถุดิบ กล้วยไข่ 1 หวี น้ำตาลทราย 500 กรัม เกลือ 1 ช้อนชา น้ำมันสำหรับทอด มะนาว 2 ลูก น้ำเปล่า ¼ ถ้วยตวง วิธีทำ นำกล้วยไข่มาปอกเปลือก แล้วแช่ในน้ำผสมน้ำมะนาว เพื่อป้องกันไม่ให้กล้วยดำ ตั้งน้ำมันให้ร้อน เอากล้วยที่ปอกไว้มาฝานลงไปทอด คอยคนอย่าให้กล้วยติดกัน ทอดจนสุกเหลือง แล้วตักขึ้นพักไว้ ตั้งหม้อไฟกลาง ใส่น้ำตาลทราย เกลือ และน้ำเปล่า เคี่ยวให้ละลายเป็นผลึกเล็กน้อย แล้วนำไปราดลงกล้วยที่ทอดไว้ คลุกให้เข้ากัน (พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์)
ภาพที่ 13 กล้วยอบกรอบ
ที่มา: พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์
11. กล้วยอบกรอบ ส่วนผสม กล้วยอบกรอบ กล้วยไข่ดิบ เกลือป่น 3/4 ช้อนชา น้ำเปล่า 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช (สำหรับทอด) วิธีทำกล้วยอบกรอบ 1. ปอกเปลือกกล้วยแล้วหั่นแว่น หนาประมาณ 1 มิลลิเมตร 2. ผสมเกลือกับน้ำ คนจนเกลือละลาย เตรียมไว้ 3. ตั้งกระทะใช้ไฟปานกลาง ใส่น้ำมันลงไปกะพอท่วมกล้วย พอร้อนแบ่งกล้วยลงไปทอด พอกล้วยเริ่มลอยขึ้นมา ใส่น้ำเกลือลงไปประมาณ 1 ช้อนชา ทอดจนสุกเหลืองกรอบ ตักขึ้นพักไว้สะเด็ดน้ำมัน ทอดจนกว่ากล้วยจะหมด พอเย็นลงแล้วก็จัดเสิร์ฟ หรือเก็บใส่ภาชนะ (พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์)
ภาพที่ 14 กล้วยตาก
ที่มา: พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์
12. กล้วยตาก ส่วนผสม กล้วยตาก กล้วยไข่ เกลือป่น น้ำ วิธีทำกล้วยตาก 1. ปอกเปลือกกล้วยออก เรียงลงบนตะแกรง นำไปตากแดดประมาณ 5 วัน หรือจนกล้วยเกือบแห้งสนิท และหมั่นคอยพลิกกลับด้านอยู่เสมอ 2. ก่อนนำกล้วยไปตากแดดในวันที่ 6 ให้ละลายน้ำกับเกลือให้เข้ากันนำขึ้นตั้งไฟต้มจนเดือดทิ้งไว้จนเย็น จากนั้นใช้ขวดน้ำคลึงหรือกดกล้วยให้แบน แล้วนำกล้วยลงไปล้างในน้ำเกลือที่เตรียมไว้ จากนั้นนำกล้วยวางเรียงบนตะแกรง นำไปตากแดดอีก 1-2 วัน จนกล้วยแห้งได้ที่ 3. เมื่อกล้วยแห้งได้ที่แล้ว ใส่กล้วยลงในหม้อ ปิดฝาให้สนิท วางทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้น้ำตาลจากกล้วยซึมออกมา (กล้วยจะเงาและไม่แห้ง) จากนั้นเก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด พร้อมเสิร์ฟ (พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์)
ภาพที่ 15 พัฟกล้วยเชื่อม
ที่มา: พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์
13. พัฟกล้วยเชื่อม ส่วนผสม พัฟกล้วยเชื่อม กล้วยไข่เชื่อม 350 กรัม แป้งพัฟเพสตรีสำเร็จรูป 500 กรัม (แป้งพายชั้น) ไข่ไก่ตีพอแตก 1 ฟอง น้ำตาลไอซิ่ง (สำหรับโรย) น้ำเปล่า พิมพ์กดรูปวงกลมขอบหยัก (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว) ส่วนผสม กล้วยเชื่อม กล้วยไข่ห่าม น้ำตาลปี๊บ 200 กรัม น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี 100 กรัม น้ำเปล่า 6 ถ้วยตวง น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ น้ำเปล่าผสมเกลือป่น สำหรับแช่กล้วย วิธีทำกล้วยเชื่อม 1. ปอกเปลือกกล้วยหั่นเป็นชิ้น ใส่ลงในน้ำเกลือ แช่พักไว้ 2. ใส่น้ำเปล่า น้ำตาลปี๊บ และน้ำตาลทราย ลงในภาชนะ ตั้งไฟพอเดือด 3. ใส่กล้วย น้ำมะนาว รอให้เดือดคอยช้อนฟองทิ้งจนหมด เคี่ยวต่อด้วยไฟอ่อน 2-3 ชั่วโมงหรือจนกล้วยเป็นสีแดง มีลักษณะมันเงาจากตัวน้ำเชื่อมที่เคลือบกล้วย ยกลงพักไว้ให้เย็นสนิท วิธีทำพัฟกล้วยเชื่อม 1. หั่นกล้วยเชื่อม เป็นชิ้นเล็ก ๆ เตรียมไว้ 2. ใช้ไม้คลึงแป้งรีดแป้งพัฟเพสตรี ให้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมโดยให้มีความหนาประมาณ 1/4 เซนติเมตร 3. ใช้พิมพ์กดแป้งให้หมด 4. ตักกล้วยเชื่อมลงตรงกลางแผ่นแป้ง ทาขอบแป้งด้วยน้ำเปล่า จากนั้นประกบแป้งปิดให้สนิท 5. วางเรียงใส่ถาดอบที่ทาเนยขาว แล้วทาไข่ไก่บนหน้าขนมบาง ๆ จนทั่ว นำเข้าอบที่อุณหภูมิ 325 องศาฟาเรนไฮต์ ประมาณ 20-30 นาทีหรือจนสุกเหลือง นำออกจากเตาอบ แซะออกจากถาด พักไว้ ให้คลายความร้อน โรยน้ำตาลไอซิ่ง จัดเสิร์ฟ (พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์)
ภาพที่ 16 กล้วยไข่กวน
ที่มา: พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์
14. กล้วยไข่กวน ส่วนผสม กล้วยไข่สุกงอม 3 หวี น้ำตาลปีบ 500 กรัม หัวกะทิ 2 ถ้วยตวง เกลือ 1 ช้อนชา แบะแซ 300 กรัม วิธีทำ 1. ปอกเปลือกกล้วยไข่ ยีผ่านตะแกรงไม้ไผ่ให้ละเอียด 2. ผสมกล้วย น้ำตาล กะทิ และเกลือ ขยำให้เข้ากันหรือปั่น กวนด้วยไฟกลาง ๆ จนเหนียว ลดไฟให้อ่อนลงเรื่อย ๆ จนอ่อนมาก กวนต่อไปจนร่อนไม่ติดภาชนะ กวนต่อไป 10-20 นาที แล้วเท ใส่ถาด ปูแผ่นพลาสติกใช้ขวดกลมกลิ้งกดหน้าขนมให้เรียบ ตัดเป็นชิ้นขนาดเท่ากัน บรรจุในภาชนะที่แห้งหรือกระดาษแก้ว (พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์)
ภาพที่ 17 บราวนี่กล้วยไข่ช็อกโกแลต
ที่มา: พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์
15. บราวนี่กล้วยไข่ช็อกโกแลต ส่วนผสม บราวนี่กล้วยไข่ช็อกโกแลต กล้วยไข่สุก 8 ผล แป้งโฮลวีท 2 ถ้วย ไข่ไก่ 1 ฟอง น้ำมันมะพร้าว 1/2 ถ้วย น้ำผึ้ง 1 ถ้วย โยเกิร์ต 1/2 ถ้วย เบกกิ้งโซดา 1 ช้อนชา ผงโกโก้ 2 ช้อนโต๊ะ ผงกาแฟ หรือผงโกโก้ 1 ช้อนโต๊ะ เบอร์รี่ (ตามชอบ) วิธีทำบราวนี่กล้วยไข่ช็อกโกแลต 1. ปอกเปลือกกล้วยออกแล้วใส่เนื้อกล้วยลงในเครื่องปั่น เติมแป้งโฮลวีท ตอกไข่ลงไป ตามด้วยน้ำมันมะพร้าว น้ำผึ้ง โยเกิร์ต เบกกิ้งโซดา ผงโกโก้ และผงกาแฟ ปั่นทุกอย่างเข้าด้วยกัน 2. เทส่วนผสมใส่พิมพ์กระดาษ นำเข้าไปอบใช้ไฟบน-ล่าง ประมาณ 180 องศาเซลเซียสเซลเวลา 20 นาที 3. พอสุกแล้วแกะพิมพ์กระดาษออก จัดใส่จาน โรยไอซิ่งนิดหน่อย วางด้วยเบอร์รีข้าง ๆ เสิร์ฟพร้อมลาเต้นมไขมันต่ำ และไม่ใส่น้ำตาล (พัชราพร สิริคง, 2559, ออนไลน์)
บทสรุป[แก้ไข]
กล้วยไข่เป็นของขึ้นชื่อในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นแหล่งปลูกกล้วยไข่รายใหญ่ที่สุดของประเทศไทยกล้วยไข่ที่ปลูกในจังหวัดกำแพงเพชรได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคว่า มีคุณภาพดี ผิวสวย เปลือกสีทอง รสชาติหวานหอม อร่อย เนื้อนุ่ม แกนในของกล้วยไม่กระด้าง จึงเป็นผลไม้ที่ทำรายได้มาสู่จังหวัดได้ปีละไม่น้อยกว่า สามร้อยล้านบาท จนได้รับการยกย่องให้เป็นผลไม้ประจำจังหวัด เมื่อรวมเข้ากับเทศกาลเดือนสิบ จึงได้มีการจัดงานประเพณี"สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง" โดยมีสาระหลักของงานอยู่ที่การส่งเสริมผลผลิตทางเกษตร ของดีเมืองกำแพงเพชรการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีสารทไทยและสนับสนุนการท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร ในกล้วยไข่นั้นได้มีการค้นพบว่ามีประโยชน์สูงมากนอกจากผลของกล้วยแล้วส่วนต่างๆ ของกล้วยไข่ก็ยังมีคุณประโยชน์ที่แตกต่างกันไปนับว่ามีประโยชน์ทุกส่วนกล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร ต้นจะเล็ก สูงประมาณ 2 เมตรถึง 2 เมตรครึ่ง ผลไม่ใหญ่ไม่เล็ก เนื่องจากชุดดินของจังหวัดกำแพงเพชร เหมาะสมกับการปลูกกล้วยไข่ ลักษณะของกล้วยที่ผิวเป็นจุดๆ นั้น ไม่ใช่เกิดจากโรคแมลงหรือเน่าเสีย แต่เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ว่าเป็นกล้วยไข่พันธ์แท้ของจังหวัดกำแพงเพชร โดยกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น ผิวจะตกกระเป็นจุดดำๆ แต่จะหวานและหอมกว่าพื้นที่จังหวัดอื่นๆมาก นอกจากนี้ยังมีสินค้าโอท็อปที่ทำมาจากกล้วยไข่หลายอย่าง และยังสามารถนำมาทำอาหารและขนมได้หลากหลายเมนู
บรรณานุกรม[แก้ไข]
ดอกแก้ว จรัสแสง. (2562). ขนมที่ทำจากกล้วยไข่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://cookpad.com/th/search. [2562, กันยายน 25].
ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา. (2559). อนุรักษ์กล้วยไข่กำแพงเพชร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.matichon.co.th/sme/news_364144. [2562, กันยายน 25].
ประวรรณ สุนทรสมัย. (2562). ประโยชน์ของกล้วยไข่. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.honestdocs.co/banana. [2562, กันยายน 25].
พัชราพร สิริคง. (2559). เมนูกล้วยไข่ ขนมไทยเติมความหวานยามบ่ายแบบกล้วยๆ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://cooking.kapook.com/view160433.html?fbclid. [2562, กันยายน 25].
ศศิวิมล แสวงผล. (2552). กล้วยไข่กำแพงเพชร. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://bananacenterkp.weebly.com/. [2562, ตุลาคม 31].