ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูล เรื่อง กระยาสารทมอกล้วยไข่กำแพงเพชร"
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (→ผู้สำรวจข้อมูล) |
||
(ไม่แสดง 8 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 19: | แถว 19: | ||
กระยาสารทเป็นอาหารหวานที่เป็นสัญลักษณ์ของวันสารทไทยตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นเทศกาลทำบุญเดือน 10 ของประเทศไทย ซึ่งคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธจะทำอาหารคาวหวานไปทำบุญให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว | กระยาสารทเป็นอาหารหวานที่เป็นสัญลักษณ์ของวันสารทไทยตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นเทศกาลทำบุญเดือน 10 ของประเทศไทย ซึ่งคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธจะทำอาหารคาวหวานไปทำบุญให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว | ||
หมู่บ้านได้มีประเพณีสืบทอดการกวนกระยาสารทในช่วงเดือนสิบของทุกปี โดยทุกครัวเรือนจะกวนกระยาสารทเพื่อไปทำบุญ ต่อมาไม่นิยมกวนกระยาสารทกันเหมือนสมัยก่อน แต่มีความต้องการใช้ทุกครัวเรือนเลยมีการตั้งกลุ่มกวนกระยาสารทแม่บ้านตะเคียนงาม ขึ้นในปี พ.ศ.2539 และเข้าสู่การแข่งขันกวนกระยาสารทในงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง โดยสำนักงานเกษตรอำเภอลานกระบือ ในปี พ.ศ.2550 ชนะเลิศ การกวนกระยาสารท ประเภทรสชาด (องค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมา, 2561) | หมู่บ้านได้มีประเพณีสืบทอดการกวนกระยาสารทในช่วงเดือนสิบของทุกปี โดยทุกครัวเรือนจะกวนกระยาสารทเพื่อไปทำบุญ ต่อมาไม่นิยมกวนกระยาสารทกันเหมือนสมัยก่อน แต่มีความต้องการใช้ทุกครัวเรือนเลยมีการตั้งกลุ่มกวนกระยาสารทแม่บ้านตะเคียนงาม ขึ้นในปี พ.ศ.2539 และเข้าสู่การแข่งขันกวนกระยาสารทในงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง โดยสำนักงานเกษตรอำเภอลานกระบือ ในปี พ.ศ.2550 ชนะเลิศ การกวนกระยาสารท ประเภทรสชาด (องค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมา, 2561) | ||
− | ชูเกียรติ์ ดวงชาถม (สัมภาษณ์, 9 กันยายน 2564) พบว่า กระยาสารทถือเป็นประเพณีนิยมมาแต่โบราณกาลว่าเทศกาลทำบุญสิ้นเดือน 10 คือ วัน เวลา เดือนและปี ที่ผ่านพ้นไปกึ่งปี และโดยที่มนุษย์ชาติดำรงอยู่ได้ด้วยเกษตรกรรมเป็นหลักสำคัญ | + | ชูเกียรติ์ ดวงชาถม (สัมภาษณ์, 9 กันยายน 2564) พบว่า กระยาสารทถือเป็นประเพณีนิยมมาแต่โบราณกาลว่าเทศกาลทำบุญสิ้นเดือน 10 คือ วัน เวลา เดือนและปี ที่ผ่านพ้นไปกึ่งปี และโดยที่มนุษย์ชาติดำรงอยู่ได้ด้วยเกษตรกรรมเป็นหลักสำคัญ เมื่อถึงกึ่งปีเป็นฤดูกาลที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนมจึงได้มีกรรมวิธีปรุงแต่งที่เรียกกันว่า กวนข้าวทิพย์หรือข้าวปายาสข้าวยาคูและขนมชนิดหนึ่งเรียกว่ากระยาสารทแล้วประกอบการบำเพ็ญกุศลถวายพระสงฆ์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนาทั้งอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนผู้มีพระคุณ และแจกสมนาคุณญาติมิตรตามคติที่ชาวไทยเป็นพุทธศาสนิกชนแม้จะเป็นประเพณีที่มีส่วนมาจากลัทธิ พราหมณ์ ชาวไทยก็นิยมรับเพราะเป็นประเพณีในส่วนที่มีคุณธรรมอันดีพึงยึดปฏิบัติ ประเพณีวันสารทตรงกับ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 อาหารหวานที่ใช้ถวายพระในวันนั้น คือกระยาสารท ในอดีตเมื่อถึงเทศกาลสารทไทยจะมีการกวนกระยาสารทแข่งกันเป็นที่สนุกสนาน และตามธรรมเนียมแล้วคนรุ่นเก่าจะนิยมนำกระยาสารท ซึ่งถือเป็นขนมชั้นดีไปมอบให้ผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือหรือแลกกันกินเป็นการประชันฝีมือกันอีกด้วยและถ้าจะกินกระยาสารทให้ครบเครื่องจริง ๆ จะต้องมีมะพร้าวขูดโรยบนกระยาสารทและกินคู่กับกล้วยไข่การทำบุญ ในเทศกาลสารทนี้ทั่วทุกภูมิภาคของไทยจะทำบุญวันสารทไทยเหมือนกันแต่เรียกชื่อต่างกันไปในภาคใต้เรียกประเพณีชิงเปรต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกทำบุญข้าวสารท ภาคเหนือเรียก ตาลก๋วยสลาก |
− | กระยาสารท เป็นขนมไทย ทำจากถั่วงา ข้าวคั่ว และน้ำตาล มักทำกันมากในช่วงกระยาสารทไทย | + | กระยาสารท เป็นขนมไทย ทำจากถั่วงา ข้าวคั่ว และน้ำตาล มักทำกันมากในช่วงกระยาสารทไทย แรม 15 ค่ำ ปลายเดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนว่า ขนมกระยาสารทเป็นขนมโบราณ มีความพิเศษตรงที่เป็นขนมสำหรับงานบุญประเพณีของไทย เรียกได้ว่าเป็นขนมที่มีประเพณี และวันเวลาเป็นของตัวเองชัดเจนมากเลยทีเดียว จนอาจจะทำให้หลายคนนึกสงสัยขึ้นมาได้ ว่าทำไมขนมกระยาสาทรหอมหวานที่เป็นแพเหนียว ๆ นี้ จึงมีความสำคัญมากเสียจนต้องจัดพิธีทำบุญด้วยขนมกระยาสารท แม้ขนมกระยาสารทจะเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่รากศัพท์ของคำว่าสารทจริง ๆ แล้วเป็นคำในภาษาอินเดีย มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงระยะปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับฤดูการผลิดอกออกผลของพืชพันธุ์ โบราณจึงถือกันวาควรจะนำผลผลิตเหล่านั้นมาถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นการสักการะ และขอพรให้พืชของตนออกดอกออกผลดกดี และประเพณีนี้ก็มีในแถบประเทศจีนและตอนเหนือของยุโรปด้วย แต่สำหรับไทยแล้วประเพณีนี้มาแพร่หลายในช่วงสมัยสุโขทัย พร้อม ๆ กับพราหมณ์ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย แต่ช่วงเวลาของประเพณีตามอินเดีย เป็นช่วงเวลาที่ตรงกับระยะข้าวเริ่มออกรวงของไทย ชาวบ้านจึงเกี่ยวข้าวที่ยังมีเปลือกอ่อน ๆ และเมล็ดยังไม่แก่ เอามาคั่วแล้วตำให้เป็นเมล็ดข้าวแบน ๆ เรียกว่า ข้าวเม่าแทน (วิกิพีเดีย, ม.ป.ป.) |
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 1 ร้านป้าเลี่ยมกำแพงเพชร.jpg|400px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 1''' ร้านป้าเลี่ยมกำแพงเพชร (TH.WorldOrgs, ม.ป.ป.) </p> | ||
+ | =='''ข้อมูลการประกอบอาหาร'''== | ||
+ | ==='''เครื่องปรุง'''=== | ||
+ | จากการสัมภาษณ์ ชูเกียรติ์ ดวงชาถม ของการทำกระยาสารทมีขั้นตอนการทำและวัตถุดิบมากมาย โดยมีส่วนผสมดังนี้ | ||
+ | 1. ข้าวตอก 1 ½ กิโลกรัม | ||
+ | 2. ถั่วลิสง 6 กิโลกรัม | ||
+ | 3. งาขาวคั่ว 5 กิโลกรัม | ||
+ | 4. ข้าวเม่า 12 กิโลกรัม | ||
+ | 5. แบะแซ 8 กิโลกรัม | ||
+ | 6. น้ำตาลปี๊บ 15 กิโลกรัม | ||
+ | 7. กะทิ 12 กิโลกรัม | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 2 น้ำตาลปี๊บ.jpg|400px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 2''' น้ำตาลปี๊บ (ZZUGLife, 2561) </p> | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 3 กะทิ.jpg|400px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 3''' กะทิ (Asiatic, ม.ป.ป.) </p> | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 4 ถั่วลิสง.jpg|400px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 4''' ถั่วลิสง (ศูนย์สารนิเทศทางอาหาร, ม.ป.ป.) </p> | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 5 ข้าวตอก.jpg|400px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 5''' ข้าวตอก (Lazada, ม.ป.ป.) </p> | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 6 ข้าวเม่า.jpg|400px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 6''' ข้าวเม่า (Ngoc Anh- VOV5, 2560) </p> | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 7 แบะแซ.jpg|400px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 7''' แบะแซ (ISERTBLOG, 2560) </p> | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 8 งาขาวคั่ว.jpg|400px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 8''' งาขาวคั่ว (กองบรรณาธิการ HD, 2561) </p> | ||
+ | ==='''ขั้นตอนการปรุง'''=== | ||
+ | ส่วนผสมของขนมกระยาสารทประกอบด้วย กะทิ น้ำตาลมะพร้าว แบะแซ นมข้น นมสด เนย ข้าวเม่าคั่ว ถั่วลิสง งาขาว และมะนาว | ||
+ | วิธีการ | ||
+ | 1. ทำนำน้ำตาลลงกวนให้ละลายมีกลิ่นหอมก่อน | ||
+ | 2. จากนั้นก็ใส่กะทิลงไปกวน พร้อมกับเติมแบะแซนมข้นนมสดและเนยลงไป ที่สำคัญคือต้องบีบมะนาวลงไปด้วย | ||
+ | 3. แล้วเคี่ยวนาน 1 ชั่วโมงเศษ ๆ จนเหนียวข้น สีต้องไม่เข้มเกินไปเพราะดูไม่สวยไม่น่ารับประทาน | ||
+ | 4. จากนั้นยกลงมาตั้งให้เย็น ส่วนข้าวเม่าคั่ว ถั่วลิสง ถั่วและงาขาว ทุกอย่างต้องคั่วให้สุก | ||
+ | 5. จากนั้นนำมาอบควันเทียนให้มีกลิ่นหอม แล้วนำมาเทใส่กระทะคลุกเคล้ากับน้ำกะทิที่เคี่ยวจนได้ที่แล้ว | ||
+ | 6. ก็จะกลายเป็นขนมกระยาสารทที่มีรสชาติอร่อย กรอบ หอม มัน หวานน้อย ร่วน สีสวยออกน้ำตาลอ่อนเหลืองนวล ๆ | ||
+ | 7. นำส่วนผสมที่คั่วไว้แล้ว เทลงในกระทะน้ำกะทิ คนให้เข้ากัน | ||
+ | 8. แล้วทิ้งไว้ให้อุ่น จึงตัดเป็นแผ่นๆหรือ บรรจุใส่ถุง หรือภาชนะที่เหมาะสม สามารถเก็บไว้ได้นาน | ||
+ | ==='''การเสิร์ฟ/การรับประทาน'''=== | ||
+ | เสิร์ฟเป็นชิ้น ทานพอดีคำ | ||
+ | =='''ข้อมูลการสำรวจ'''== | ||
+ | ==='''แหล่งอ้างอิง'''=== | ||
+ | กองบรรณาธิการ HD. (2561). ''ประโยชน์ของงาขาว ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง.'' เข้าถึงได้จาก https://hd.co.th/the-benefits-of-white-sesame | ||
+ | ณัญศิมา รอดอุนา. (ม.ป.ป.). ''กระยาสารท.'' เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/natsima39/2 | ||
+ | วิกิพีเดีย. (ม.ป.ป.). ''กระยาสารท.'' เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/กระยาสารท | ||
+ | ศูนย์สารนิเทศทางอาหาร. (ม.ป.ป.). ''ถั่วลิสง.'' เข้าถึงได้จาก http://www.fic.ifrpd.ku.ac.th/fic/index.php/2016-04-26-06-50-20/food-news-main-menu-3/fic-food-news-menu/606-food1-27-08-2018 | ||
+ | สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2561). ''กระยาสารท.'' เข้าถึงได้จาก http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/09/29/กระยาสารท/ | ||
+ | สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี. (2561). ''"กระยาสาท" บ้านสร้าง หวาน มัน หอม อร่อย ต้องลอง.'' เข้าถึงได้จาก https://www.m-culture.go.th/prachinburi/ewt_news.php?nid=756&filename=index | ||
+ | องค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมา. (ม.ป.ป.). ''ผลิตภัณฑ์ตำบล.'' เข้าถึงได้จาก http://www.janthima.go.th/otop-detail_82 | ||
+ | Asiatic. (ม.ป.ป.). ''กะทิอัมพวา กะทิ 100% PET.'' เข้าถึงได้จาก http://www.asiaticagro.com/shop/Catalogue.php?PCode=AW019 | ||
+ | ISERTBLOG. (2560). ''แบะแซ คืออะไร มีประโยชน์อะไรบ้าง.'' เข้าถึงได้จาก https://isertblog.wordpress.com/2017/01/31/แบะแซ-คืออะไร-มีประโยชน์/ | ||
+ | Lazada. (ม.ป.ป.). ''ข้าวตอก สำหรับงานมงคล งานแต่งงาน ข้าวตอก สำหรับ กระดิ่งเงินกระดิ่งทอง อาหารนกถุงใหญ่.'' เข้าถึงได้จาก https://www.lazada.co.th/products/i216651467.html | ||
+ | Ngoc Anh- VOV5. (2560). ''ข้าวเม่าเหมจี- อาหารจานเด็ดของชาวฮานอย.'' เข้าถึงได้จาก https://vovworld.vn/th-TH/ชวตชนบท /ขาวเมาเหมจ-อาหารจานเดดของชาวฮานอย-589986.vov | ||
+ | TH.WorldOrgs. (ม.ป.ป.). ''ร้านป้าเลี่ยม กล้วยฉาบป้าเลี่ยมกำแพงเพชร.'' เข้าถึงได้จาก https://th.worldorgs.com/แคตตาล็อก/อำเภอเมืองกำแพงเพชร/ตลาด/ร้านป้าเลี่ยม-กล้วยฉาบป้าเลี่ยมกำแพงเพชร#google_vignette | ||
+ | ZZUGLife. (2561). ''COCONUT SUGAR: น้ำตาลปี๊บ.'' เข้าถึงได้จาก http://maeusanee.blogspot.com/2018/02/coconut-sugar.html | ||
+ | ==='''ผู้สำรวจข้อมูล'''=== | ||
+ | อาจารย์ธัญรดี บุญปัน อาจารย์โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร | ||
+ | ฐิติรัตน์ พะนะกานา และ ศันสนีย์ ไกรจันทร์ นักศึกษาโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:11, 12 มกราคม 2565
เนื้อหา
ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]
ชื่อเรียก[แก้ไข]
กระยาสารท
ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]
ข้าวเม่าคั่ว, ขนม 7 อย่าง
แหล่ง/ถิ่นอาหาร[แก้ไข]
ตลาดมอกล้วยไข่
ประเภทอาหาร[แก้ไข]
ขนมทานเล่น
ผู้คิดค้น[แก้ไข]
นายโชคชัย คำไทย และ นางสาวกิมล้วน ชื่นบาน
ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]
ประวัติความเป็นมา[แก้ไข]
กระยาสารท เป็นขนมที่พบได้โดยทั่วไป ถือเป็นภูมิปัญญาไทยในการถนอมอาหาร และที่กำแพงเพชรได้มีการกวนกระยาสารทกันมาอย่างยาวนาน ในอดีตมีการกวนกันเกือบทุกบ้าน จะไม่มีจำหน่าย แต่จะแจกกันเมื่อกวนแล้ว ส่วนสำคัญจะนำไปถวายพระเนื่องในวันสำคัญต่างๆ ปัจจุบันนิยมทำกินกันในช่วงเทศกาลสารทไทยระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปีที่กำแพงเพชร กำแพงเพชรเป็นเมืองกล้วยไข่ จึงมีกล้วยไข่เป็นเครื่องเคียงที่อร่อยมาก กล้วยไข่ที่กำแพงเพชรมีมานานแล้วมิใช่พึ่งมีเหมือนดังที่เข้าใจกัน และประเพณีสารทไทยกล้วยไข่นั้นคู่กับกำแพงเพชรมานับร้อยปี (ณัฐศิมา รอดอุนา, ม.ป.ป.) สอนให้เยาวชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงความเป็นมาเป็นการสร้างคุณค่าทางด้านจิตใจให้ผลิตภัณฑ์กระยาสารท นอกเหนือคุณค่าทางโภคชนาการจะเป็นยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้ดีขึ้นอย่างมั่นคง ที่ชุมชนอนันตสิงห์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชุมชนอนันต์สิงห์ได้รวมตัวกันกวนกระยาสารทเพื่อจัดจำหน่ายวันละหลายกระทะ มีรสชาติอร่อยหวานมัน หาที่เปรียบเทียบได้ยาก นางทองล้วน นาควังไทร ประธานกลุ่ม ได้มีการสาธิตการกวนกระยาสารท ด้วยอัธยาศัย ไมตรีอันดียิ่ง ท่านเล่าว่า ได้กวนกระยาสารทมาหลายสิบปีแล้ว จึงมีความภูมิใจในอาชีพนี้เป็นอย่างยิ่ง นับว่าน่ายกย่องแม่บ้านกลุ่มนี้ที่สุด (ณัฐศิมา รอดอุนา, ม.ป.ป.) กระยาสารท นับว่าเป็นภูมิปัญญาที่คู่กับชาติไทย คู่กับกำแพงเพชร อย่างไม่เสื่อมคลาย แม้การกวนกระยาสารทจะผ่านมาหลายร้อยปีแล้ว ความทรงจำยังอยู่คู่กำแพงเพชรคู่ชาติไทยไปตลอดกาล ไม่เสื่อมคลาย(ณัฐศิมา รอดอุนา, ม.ป.ป.) อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ มีเปรตตนหนึ่งปลอมตัวเป็นพระสงฆ์เข้าเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรู เปรตตนนั้นได้เผยความจริงว่า ตนเคยเป็นพระสงฆ์แต่มีความโลภจึงต้องชดใช้กรรมเป็นเปรต แล้วเปรตตนนั้นก็ขอให้พระองค์พระราชทานกระยาสารท ซึ่งปรุงแต่งด้วยของ 7 อย่าง ได้แก่ น้ำตาล น้ำผึ้ง ถั่ว งา ข้าวตอก ข้าวเม่า น้ำนมวัว เพื่อประทังความหิวโหย ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นตรงซึ่งกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 พระเจ้าอชาตศัตรูจึงทำขนมกระยาสารทแล้วกรวดน้ำอุทิศให้แก่เปรตตามที่ขอไว้ (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี, 2561) ในพิธีสารทมีการนำอาหารเทศกาลสารทไปถวายเป็นภัตตาหารแด่พระสงฆ์เพื่อเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษและผู้ล่วงลับของครอบครัว ต่อมาภายหลังจึงได้กลายเป็นเทศกาลทำบุญที่ปฏิบัติกันทั่วทุกภูมิภาคในสังคมไทย เช่น ประเพณีชิงเปรตในภาคใต้ การทำบุญข้าวสารทในภาคอีสาน เป็นต้น สำหรับธรรมเนียมการปรุงอาหารจากพืชพันธุ์ธัญญาหารแรกเก็บเกี่ยวในเทศกาลสารทนั้น ถือว่าเป็นการประกอบอาหารที่มีความประณีตเพื่อแสดงความสักการะต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือพระพุทธคุณ โดยมีความพิถีพิถันแตกต่างกันไปตามลำดับชั้นของผู้ประกอบพิธีกรรมด้วย ในพระราชพิธีสารทของหลวงจะมีการปรุงอาหารที่ประณีตกว่า มีธรรมเนียมการปรุงอาหารในวันสารทที่ชื่อว่า ข้าวทิพย์ ซึ่งเป็นอาหารโบราณในพระราชพิธีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยนำพืชพันธุ์ธัญญาหารต่างๆ อาทิ ข้าว ถั่ว งา น้ำผึ้ง น้ำอ้อย รวมถึงผลไม้ชั้นดีชนิดต่างๆ มากวนในกระทะให้เป็นเนื้อเดียวกันจนได้เป็นขนมเหนียวๆ ข้าวทิพย์มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มธุปายาส ซึ่งเปรียบเป็นอาหารที่นางสุชาดาถวายแด่พระพุทธเจ้าก่อนที่พระพุทธองค์จะตรัสรู้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดให้เพิ่มอาหารอีกชนิดหนึ่งในพระราชพิธีสารทคือ ข้าวยาคู ทำจากข้าวที่แตกรวงอ่อนๆ ซึ่งข้าวยังไม่แข็งเป็นเมล็ดคั้นออกมาเป็นน้ำข้าวที่เรียกว่า น้ำนมข้าว แล้วนำไปผสมกวนกับแป้งให้จับตัวเป็นก้อน ได้ขนมที่มีลักษณะคล้ายแป้งเปียกรับประทานกับน้ำนมหรือกะทิ เนื่องจากปัจจุบันราชสำนักได้ยกเลิกพระราชพิธีสารท จึงไม่ค่อยพบเห็นอาหารทั้ง 2 ชนิดนี้แล้ว สำหรับอาหารในเทศกาลสารทที่เป็นธรรมเนียมการปรุงของชาวบ้านโดยทั่วไป เรียกว่า กระยาสารท ซึ่งเป็นอาหารประเภทเดียวกับข้าวทิพย์ของราชสำนัก โดยเป็นการกวนพืชพันธุ์ธัญญาหารชนิดต่างๆ รวมเข้าด้วยกัน แต่กระยาสารทมีส่วนประกอบน้อยกว่าและไม่ใช้เวลาในการกวนส่วนประกอบนานจนกลายเป็นเนื้อเดียว โดยใช้ข้าวตอกที่ได้จากการคั่วข้าวเหนียวทั้งเปลือกให้แตก ถั่วลิสง งาขาว และข้าวเม่า กวนรวมกับน้ำอ้อยและกะทิ ได้เป็นขนมกรอบรสชาติหอมหวาน นิยมทานคู่กับกล้วยไข่เพื่อตัดรสหวานปัจจุบันสามารถ หากระยาสารทรับประทานได้ตลอดปี เนื่องจากทั่วทุกภูมิภาคนิยมทำกระยาสารทเป็นสินค้าจำหน่ายตามท้องถิ่น ซึ่งมีการเพิ่มเติมส่วนประกอบอื่น ๆ เพื่อให้ได้รสชาติและจุดขายที่แตกต่างกัน อาทิ ผลไม้แห้งต่างๆ เม็ดมะม่วงหินพาน หรือปรุงด้วยน้ำใบเตยเพื่อเพิ่มความหอมของขนม (สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561) ส่วนตำราความเชื่อของขนมกระยาสารทมีอยู่ 2 ตำราด้วยกัน ตำราหนึ่งกล่าวว่า มีพี่น้องอยู่สองคนชื่อ มหากาลผู้พี่ และจุลกาลผู้น้อง ทั้งสองทำการเกษตรกรรมร่วมกันคือ ปลูกข้าวสาลีบนที่ผืนเดียวกัน จุลกาลนั้นเห็นว่าข้าวสาลีที่กำลังท้องนั้นมีรสหวานอร่อย ก็เลยอยากนำข้าวนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์ จึงปรึกษากับมหากาลพี่ชาย แต่มหากาลไม่เห็นด้วย มหากาลจึงแบ่งที่ดินออกเป็น 2 ส่วน เพื่อให้ต่างคนต่างนำข้าวไปใช้กิจอันใดก็ได้ จุลกาลจึงนำเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องมาผ่า แล้วต้มกับน้ำต้มสด ใส่เนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายกรวด เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระสงฆ์ จุลกาลได้ทูลความปรารถนาของตนกับพระพุทธเจ้าว่า ขอให้ตนบรรลุธรรมวิเศษก่อนใคร และเมื่อกลับบ้านไป ก็พบว่านาข้าวสาลีของตนนั้นออกรวงอุดมสมบูรณ์สวยงาม จนเก็บเกี่ยวไป 9 ครั้งก็ยังอุดมสมบูรณ์อยู่อย่างนั้นตลอดไป (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี, 2561) กระยาสารทเป็นอาหารหวานที่เป็นสัญลักษณ์ของวันสารทไทยตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นเทศกาลทำบุญเดือน 10 ของประเทศไทย ซึ่งคนไทยที่นับถือศาสนาพุทธจะทำอาหารคาวหวานไปทำบุญให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว หมู่บ้านได้มีประเพณีสืบทอดการกวนกระยาสารทในช่วงเดือนสิบของทุกปี โดยทุกครัวเรือนจะกวนกระยาสารทเพื่อไปทำบุญ ต่อมาไม่นิยมกวนกระยาสารทกันเหมือนสมัยก่อน แต่มีความต้องการใช้ทุกครัวเรือนเลยมีการตั้งกลุ่มกวนกระยาสารทแม่บ้านตะเคียนงาม ขึ้นในปี พ.ศ.2539 และเข้าสู่การแข่งขันกวนกระยาสารทในงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง โดยสำนักงานเกษตรอำเภอลานกระบือ ในปี พ.ศ.2550 ชนะเลิศ การกวนกระยาสารท ประเภทรสชาด (องค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมา, 2561) ชูเกียรติ์ ดวงชาถม (สัมภาษณ์, 9 กันยายน 2564) พบว่า กระยาสารทถือเป็นประเพณีนิยมมาแต่โบราณกาลว่าเทศกาลทำบุญสิ้นเดือน 10 คือ วัน เวลา เดือนและปี ที่ผ่านพ้นไปกึ่งปี และโดยที่มนุษย์ชาติดำรงอยู่ได้ด้วยเกษตรกรรมเป็นหลักสำคัญ เมื่อถึงกึ่งปีเป็นฤดูกาลที่ข้าวออกรวงเป็นน้ำนมจึงได้มีกรรมวิธีปรุงแต่งที่เรียกกันว่า กวนข้าวทิพย์หรือข้าวปายาสข้าวยาคูและขนมชนิดหนึ่งเรียกว่ากระยาสารทแล้วประกอบการบำเพ็ญกุศลถวายพระสงฆ์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนาทั้งอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนผู้มีพระคุณ และแจกสมนาคุณญาติมิตรตามคติที่ชาวไทยเป็นพุทธศาสนิกชนแม้จะเป็นประเพณีที่มีส่วนมาจากลัทธิ พราหมณ์ ชาวไทยก็นิยมรับเพราะเป็นประเพณีในส่วนที่มีคุณธรรมอันดีพึงยึดปฏิบัติ ประเพณีวันสารทตรงกับ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 อาหารหวานที่ใช้ถวายพระในวันนั้น คือกระยาสารท ในอดีตเมื่อถึงเทศกาลสารทไทยจะมีการกวนกระยาสารทแข่งกันเป็นที่สนุกสนาน และตามธรรมเนียมแล้วคนรุ่นเก่าจะนิยมนำกระยาสารท ซึ่งถือเป็นขนมชั้นดีไปมอบให้ผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือหรือแลกกันกินเป็นการประชันฝีมือกันอีกด้วยและถ้าจะกินกระยาสารทให้ครบเครื่องจริง ๆ จะต้องมีมะพร้าวขูดโรยบนกระยาสารทและกินคู่กับกล้วยไข่การทำบุญ ในเทศกาลสารทนี้ทั่วทุกภูมิภาคของไทยจะทำบุญวันสารทไทยเหมือนกันแต่เรียกชื่อต่างกันไปในภาคใต้เรียกประเพณีชิงเปรต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกทำบุญข้าวสารท ภาคเหนือเรียก ตาลก๋วยสลาก กระยาสารท เป็นขนมไทย ทำจากถั่วงา ข้าวคั่ว และน้ำตาล มักทำกันมากในช่วงกระยาสารทไทย แรม 15 ค่ำ ปลายเดือน 10 และบางท้องถิ่นนิยมรับประทานกับกล้วยไข่ มีกล่าวถึงในนิราศเดือนว่า ขนมกระยาสารทเป็นขนมโบราณ มีความพิเศษตรงที่เป็นขนมสำหรับงานบุญประเพณีของไทย เรียกได้ว่าเป็นขนมที่มีประเพณี และวันเวลาเป็นของตัวเองชัดเจนมากเลยทีเดียว จนอาจจะทำให้หลายคนนึกสงสัยขึ้นมาได้ ว่าทำไมขนมกระยาสาทรหอมหวานที่เป็นแพเหนียว ๆ นี้ จึงมีความสำคัญมากเสียจนต้องจัดพิธีทำบุญด้วยขนมกระยาสารท แม้ขนมกระยาสารทจะเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย แต่รากศัพท์ของคำว่าสารทจริง ๆ แล้วเป็นคำในภาษาอินเดีย มีความหมายว่า ฤดูใบไม้ร่วง หรือช่วงระยะปลายฝนต้นหนาว ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันกับฤดูการผลิดอกออกผลของพืชพันธุ์ โบราณจึงถือกันวาควรจะนำผลผลิตเหล่านั้นมาถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อเป็นการสักการะ และขอพรให้พืชของตนออกดอกออกผลดกดี และประเพณีนี้ก็มีในแถบประเทศจีนและตอนเหนือของยุโรปด้วย แต่สำหรับไทยแล้วประเพณีนี้มาแพร่หลายในช่วงสมัยสุโขทัย พร้อม ๆ กับพราหมณ์ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในไทย แต่ช่วงเวลาของประเพณีตามอินเดีย เป็นช่วงเวลาที่ตรงกับระยะข้าวเริ่มออกรวงของไทย ชาวบ้านจึงเกี่ยวข้าวที่ยังมีเปลือกอ่อน ๆ และเมล็ดยังไม่แก่ เอามาคั่วแล้วตำให้เป็นเมล็ดข้าวแบน ๆ เรียกว่า ข้าวเม่าแทน (วิกิพีเดีย, ม.ป.ป.)
ภาพที่ 1 ร้านป้าเลี่ยมกำแพงเพชร (TH.WorldOrgs, ม.ป.ป.)
ข้อมูลการประกอบอาหาร[แก้ไข]
เครื่องปรุง[แก้ไข]
จากการสัมภาษณ์ ชูเกียรติ์ ดวงชาถม ของการทำกระยาสารทมีขั้นตอนการทำและวัตถุดิบมากมาย โดยมีส่วนผสมดังนี้ 1. ข้าวตอก 1 ½ กิโลกรัม 2. ถั่วลิสง 6 กิโลกรัม 3. งาขาวคั่ว 5 กิโลกรัม 4. ข้าวเม่า 12 กิโลกรัม 5. แบะแซ 8 กิโลกรัม 6. น้ำตาลปี๊บ 15 กิโลกรัม 7. กะทิ 12 กิโลกรัม
ภาพที่ 2 น้ำตาลปี๊บ (ZZUGLife, 2561)
ภาพที่ 3 กะทิ (Asiatic, ม.ป.ป.)
ภาพที่ 4 ถั่วลิสง (ศูนย์สารนิเทศทางอาหาร, ม.ป.ป.)
ภาพที่ 5 ข้าวตอก (Lazada, ม.ป.ป.)
ภาพที่ 6 ข้าวเม่า (Ngoc Anh- VOV5, 2560)
ภาพที่ 7 แบะแซ (ISERTBLOG, 2560)
ภาพที่ 8 งาขาวคั่ว (กองบรรณาธิการ HD, 2561)
ขั้นตอนการปรุง[แก้ไข]
ส่วนผสมของขนมกระยาสารทประกอบด้วย กะทิ น้ำตาลมะพร้าว แบะแซ นมข้น นมสด เนย ข้าวเม่าคั่ว ถั่วลิสง งาขาว และมะนาว วิธีการ 1. ทำนำน้ำตาลลงกวนให้ละลายมีกลิ่นหอมก่อน 2. จากนั้นก็ใส่กะทิลงไปกวน พร้อมกับเติมแบะแซนมข้นนมสดและเนยลงไป ที่สำคัญคือต้องบีบมะนาวลงไปด้วย 3. แล้วเคี่ยวนาน 1 ชั่วโมงเศษ ๆ จนเหนียวข้น สีต้องไม่เข้มเกินไปเพราะดูไม่สวยไม่น่ารับประทาน 4. จากนั้นยกลงมาตั้งให้เย็น ส่วนข้าวเม่าคั่ว ถั่วลิสง ถั่วและงาขาว ทุกอย่างต้องคั่วให้สุก 5. จากนั้นนำมาอบควันเทียนให้มีกลิ่นหอม แล้วนำมาเทใส่กระทะคลุกเคล้ากับน้ำกะทิที่เคี่ยวจนได้ที่แล้ว 6. ก็จะกลายเป็นขนมกระยาสารทที่มีรสชาติอร่อย กรอบ หอม มัน หวานน้อย ร่วน สีสวยออกน้ำตาลอ่อนเหลืองนวล ๆ 7. นำส่วนผสมที่คั่วไว้แล้ว เทลงในกระทะน้ำกะทิ คนให้เข้ากัน 8. แล้วทิ้งไว้ให้อุ่น จึงตัดเป็นแผ่นๆหรือ บรรจุใส่ถุง หรือภาชนะที่เหมาะสม สามารถเก็บไว้ได้นาน
การเสิร์ฟ/การรับประทาน[แก้ไข]
เสิร์ฟเป็นชิ้น ทานพอดีคำ
ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]
แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]
กองบรรณาธิการ HD. (2561). ประโยชน์ของงาขาว ไอเดียการกินการใช้เพื่อสุขภาพ และข้อควรระวัง. เข้าถึงได้จาก https://hd.co.th/the-benefits-of-white-sesame ณัญศิมา รอดอุนา. (ม.ป.ป.). กระยาสารท. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/natsima39/2 วิกิพีเดีย. (ม.ป.ป.). กระยาสารท. เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/กระยาสารท ศูนย์สารนิเทศทางอาหาร. (ม.ป.ป.). ถั่วลิสง. เข้าถึงได้จาก http://www.fic.ifrpd.ku.ac.th/fic/index.php/2016-04-26-06-50-20/food-news-main-menu-3/fic-food-news-menu/606-food1-27-08-2018 สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2561). กระยาสารท. เข้าถึงได้จาก http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/09/29/กระยาสารท/ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี. (2561). "กระยาสาท" บ้านสร้าง หวาน มัน หอม อร่อย ต้องลอง. เข้าถึงได้จาก https://www.m-culture.go.th/prachinburi/ewt_news.php?nid=756&filename=index องค์การบริหารส่วนตำบลจันทิมา. (ม.ป.ป.). ผลิตภัณฑ์ตำบล. เข้าถึงได้จาก http://www.janthima.go.th/otop-detail_82 Asiatic. (ม.ป.ป.). กะทิอัมพวา กะทิ 100% PET. เข้าถึงได้จาก http://www.asiaticagro.com/shop/Catalogue.php?PCode=AW019 ISERTBLOG. (2560). แบะแซ คืออะไร มีประโยชน์อะไรบ้าง. เข้าถึงได้จาก https://isertblog.wordpress.com/2017/01/31/แบะแซ-คืออะไร-มีประโยชน์/ Lazada. (ม.ป.ป.). ข้าวตอก สำหรับงานมงคล งานแต่งงาน ข้าวตอก สำหรับ กระดิ่งเงินกระดิ่งทอง อาหารนกถุงใหญ่. เข้าถึงได้จาก https://www.lazada.co.th/products/i216651467.html Ngoc Anh- VOV5. (2560). ข้าวเม่าเหมจี- อาหารจานเด็ดของชาวฮานอย. เข้าถึงได้จาก https://vovworld.vn/th-TH/ชวตชนบท /ขาวเมาเหมจ-อาหารจานเดดของชาวฮานอย-589986.vov TH.WorldOrgs. (ม.ป.ป.). ร้านป้าเลี่ยม กล้วยฉาบป้าเลี่ยมกำแพงเพชร. เข้าถึงได้จาก https://th.worldorgs.com/แคตตาล็อก/อำเภอเมืองกำแพงเพชร/ตลาด/ร้านป้าเลี่ยม-กล้วยฉาบป้าเลี่ยมกำแพงเพชร#google_vignette ZZUGLife. (2561). COCONUT SUGAR: น้ำตาลปี๊บ. เข้าถึงได้จาก http://maeusanee.blogspot.com/2018/02/coconut-sugar.html
ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]
อาจารย์ธัญรดี บุญปัน อาจารย์โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ฐิติรัตน์ พะนะกานา และ ศันสนีย์ ไกรจันทร์ นักศึกษาโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร