ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูล เรื่อง เพลงกล่อมเด็กนครไตรตรึงษ์"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
แถว 365: แถว 365:
 
  '''1.1 ด้านรูปแบบ'''
 
  '''1.1 ด้านรูปแบบ'''
 
           เพลงกล่อมเด็กที่ปรากฏนั้นไม่มีรูปแบบคําประพันธ์ตายตัว มีสัมผัสคล้องจองมากบ้างน้อย บ้าง ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกับกลอนทั่วไป มีสัมผัสระหว่างวรรค ใช้ถ้อยคําเรียบง่าย ไม่มีทํานอง ตายตัว ในส่วนความยาวของเพลงแต่ละเพลงมีไม่เท่ากัน กําหนดแน่นอนไม่ได้ ผู้ร้องอาจขยายออกไป ได้เรื่อยๆ หรือตัดให้สั้นเข้าก็ได้ โดยมีคําเห่กล่อมแทรกเป็นระยะ เช่น เอย เอ๊ย เอเอ้ โอละเห่ เป็นต้น ตัวอย่าง : รูปแบบเพลงกล่อมเด็ก
 
           เพลงกล่อมเด็กที่ปรากฏนั้นไม่มีรูปแบบคําประพันธ์ตายตัว มีสัมผัสคล้องจองมากบ้างน้อย บ้าง ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกับกลอนทั่วไป มีสัมผัสระหว่างวรรค ใช้ถ้อยคําเรียบง่าย ไม่มีทํานอง ตายตัว ในส่วนความยาวของเพลงแต่ละเพลงมีไม่เท่ากัน กําหนดแน่นอนไม่ได้ ผู้ร้องอาจขยายออกไป ได้เรื่อยๆ หรือตัดให้สั้นเข้าก็ได้ โดยมีคําเห่กล่อมแทรกเป็นระยะ เช่น เอย เอ๊ย เอเอ้ โอละเห่ เป็นต้น ตัวอย่าง : รูปแบบเพลงกล่อมเด็ก
<p style="text-indent: 15em;">'''เพลงเจ้าเนื้อเย็น'''</h3>
+
<p style="text-indent: 10em;">'''เพลงเจ้าเนื้อเย็น'''</h3>
 
{| class="wikitable"
 
{| class="wikitable"
 
|-
 
|-

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:29, 24 มกราคม 2565

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อวรรณกรรม/บทเพลง/บทกวี

         เพลงกล่อมเด็กนครไตรตรึงษ์

ผู้แต่ง

         ไม่ปรากฏหลักฐานผู้แต่ง แต่จากการศึกษาขึ้นอยู่กับการบอกเล่าของแต่ละเพลงที่บอกเล่ากันมาผ่านทางมุขปาฐะ

สถานที่ค้นพบวรรณกรรม/บทเพลง/บทกวี

         เพลงกล่อมเด็กตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สามารถรวบรวมเพลงกล่อมเด็กจากหมู่ที่ 4 บ้านวังพระธาตุ และหมู่ที่ 7 บ้านไตรตรึงษ์ รวมทั้งสิ้น 28 เพลง จากการศึกษาเพลงกล่อมเด็กตำบลไตรตรึงษ์ พบว่า มีลักษณะใกล้เคียงกับเพลงกล่อมเด็กของภาคกลางมากที่สุด ทั้ง ในด้านรูปแบบ เนื้อหา และภาษา จะมีลักษณะเนื้อหาของเพลงกล่อมเด็กภาคกลางโดยทั่วไปมีเนื้อร้องคล้ายบทร้อยกรองแต่ในวรรคแรกมักกล่าวถึง สิ่งที่นำมาขับกล่อม และ ลงท้ายด้วยคำว่า “เอย”  “เจ้านกเขาเอย”  “เจ้านกเอี้ยงเอย”  “เจ้ากาละเกดเอย” ฯลฯ แสดงให้เห็นว่าชาวบ้านไตรตรึงษ์มีวัฒนธรรมร่วมกับคนภาคกลางมากกว่าภาคอื่น ๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมเช่น เรื่องภาษา อาหารการกิน การแต่งกาย วิถีชีวิต สภาพสังคม ตลอดจนความคิดความเชื่อ เป็นต้น

ความเป็นมา

         เพลงกล่อมเด็กเป็นบทเพลงที่จัดอยู่ในเพลงพื้นบ้านโดยมีจุดประสงค์ใช้ร้องกล่อมเด็กหรือปลอบเด็กเพื่อให้เด็กนอนหลับ การร้องเพลงกล่อมเด็กมักสืบทอดกันมาด้วยวิธีการจดจำจากรุ่นสู่รุ่น เป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมมุขปาฐะ โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดที่สำคัญ ส่วนเนื้อหาและท่วงทำนองจะแตกต่างกันตามลักษณะท้องถิ่นนั้นๆ เช่น เพลงกล่อมเด็กในภาคเหนือเรียก “เพลงอื่อลูก” ภาคอีสานเรียก “เพลงนอนสาหล่า” “เพลงนอนสาเดอ” ภาคกลางเรียก “เพลงกล่อมเด็ก” “เพลงกล่อมลูก” ภาคใต้เรียก “เพลงชาน้อง” “เพลงร้องเรือ” เป็นต้น เรื่องราวเฉพาะเกี่ยวกับเพลงกล่อมเด็กของตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พบว่ามีมาดั้งเดิมแต่ครั้งอดีตโดยผูกพันกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนมาช้านาน โดยเพลงที่ร้องกล่อมนั้นสามารถสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมการเลี้ยงลูกของคนไทยในแถบภาคกลางสะท้อนความเป็นอยู่ ความเชื่อ วิธีคิดตลอดจนโลกทัศน์ของชาวบ้านไตรตรึงษ์ได้เป็นอย่างดี บทเพลงกล่อมเด็กเป็นเพลงที่ใช้คำง่าย ๆ ไพเราะ ใช้ภาษาในท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ มีเนื้อหาแสดงความรักและความผูกพันของแม่กับลูก สะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ทางวัฒนธรรมการเลี้ยงลูกของคนไทยที่ให้เด็กนอนเปลสาย โดยแม่หรือคนในครอบครัวขับร้องเพลงกล่อมมีทั้ง ขู่ทั้ง ปลอบ และร้องเล่านิทาน เพื่อให้เด็กเพลิดเพลินนอนหลับได้เร็วขึ้น บทเพลงที่ร้องนั้นช่วยกระตุ้นพัฒนาการและช่วยอบรมกล่อมเกลาเด็กมาแต่เยาว์วัย และสามารถช่วยให้เกิดความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูกได้เป็นอย่างดี อีกประการหนึ่งจะเห็นว่าในการดำเนินชีวิตประจำวันหรือกิจกรรมต่างๆ ของสังคมไทยตั้งแต่เกิดจนตายมักจะเกี่ยวข้องกับบทร้องที่เป็นกาพย์กลอนอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเพลงกล่อมเด็ก เพลงการละเล่นของเด็ก เพลงทำขวัญนาค และเพลงกล่อมหอ เป็นต้น (สุวรรณี ทองรอด, 2551, หน้า 5)

ฉันทลักษณ์

         ตัวอย่างเพลงกล่อมเด็กทั้ง 28 เพลง (สุวรรณี  ทองรอด, 2551)

1. เพลงลิ้นทอง

เอ.. เฮ.. เฮย แม่จะกล่าวถึงเรื่องราวลิ้น ทองเอย
ชายมีเมียสอง รักเมียเอย ไม่เท่ากัน
เมียหลวงจะตีด้วยท่อนอ้อย.. เอย
เมียน้อยจะตีด้วยท่อนจันทร์.. เอย
รักเมียไม่เท่ากัน .. เอย
บาปนั้น เอย.. มาถึงตัว

2. เพลงนางประทุม

แม่จะขอกล่าวเรื่องราวเอย.. นางประทุมรูปสวยรวยละลุ่มเอย..
เจ้าเกิดในพุ่มบุษบา ฤๅษีเลี้ยงไว้เติบใหญ่ขึ้นมา
ฤๅษีไปป่านางก็ร้อยพวงมาลัย ลอยแก้ว..ลอยแก้ว..
นางแก้วก็พิษฐานไปเนื้อคู่อยู่ที่ไหน ให้พวงมาลัยสวมคอ..เอย
ให้มาร่วมฟูกร่วมหมอน มาร่วมที่นอนกับนาง

3. เพลงนางชะนี

โอ้ชะนีมือเหนียวเอย ..มือเหนี่ยวกิ่งพฤกษา พบเพื่อนแล้วก็พากันมากินผล.. เอ่ย
บ้างก็ห้อยโหนโยนราวแสวงหาลูกไม้ ฤาเอามาต้องกินลูกไม้ป่าเอย
ไม่ได้ทำไร่ทำนาก็เป็นเหมือนคน บ้างก็ขึ้นต้นไทรไกวตัวเอิง..เอย
ร้องเรียกหาผัวอยู่อลวน ฮือ มุนีฤาษีท่านประทาน อือ เอย
ให้เยาวมาลย์มากับผัวตน นางได้มากับผัว... เอิงเอย
นางมาคิดชั่วชาติที่แสนกล คิดฆ่าผัวตัวเสียเอิงเอย
หล่อนจะยอมเป็นเมียพวกโจร พอผัวสิ้นชีวิต คิดแล้วทางนี้เอย
ไอ้โจรมันก็หนีทิ้งไปกลางหน เลยเขาสาปตัวแม่นางโมรา
เศร้าโศกาอยู่กระสับกระสน เห็นพระอาทิตย์ระบายสี...เอย
สำคัญว่าเลือดสามี นางก็รํ่าบ่นตัวของแม่ชะนีเอย
ว่าเดิมทีเอ๋ยเป็นคน

4. เพลงวัดโบสถ์ (1)

เอ เฮ้ย ฮา วัดเอ๋ยวัดโบสถ์..เอย มีต้นโตนดอยู่เจ็ดต้น ฮือ
พ่อขุนทองไปปล้น..เอย ป่านฉะนี้แล้วไม่เห็นมา
เขารํ่าลือมา..เอย ว่าขุนทองเอย..ตายแล้ว
เหลือแต่กระดูกให้ลูกแก้ว..เอย เมียรักเอยจะไปปลง ฮือ
ศพเอ๋ยพ่อขุนทอง คดข้าวใส่ห่อ เอย ถ่อเอ๋ยเรือมา ฮือ
ลุงอินนี้ถือถาด..เอย ยกกระบัตรเอยท่านถือธง
ถือท้ายเรือหงส์..เอย ปลงศพเอ๋ยพ่อขุนทอง
เรือไปล่มที่ท่าสิงห์..เอย ไปปีนขึ้นได้เอ๋ยที่ท่าทอง
เสียข้าวเสียของ..เอย เสียเงินเสียทอง เอ๋ยก็ไม่คิด
เสียปลาสลิด.. เอย ติดท้ายเรือไป

5. เพลงเจ้างามประเสริฐ

งามเอ๋ย เจ้างาม นะประเสริฐเอย ขวัญเจ้าแม่เถิดนะแม่ยามยาก
น้ำอ้อยหรือน้ำ ตาล เอย แม่มิได้พาน ฮือ หนอพบปะ.. เอย
ความยากนะ แม่คุณ ..เอย

6. เพลงเนื้อเย็น (1)

เนื้อเอ๋ยเนื้อเย็นเอย ไม่ไม่ให้ไปเล่นเอ๋ยในน้ำ
จระเข้เหรา มันจะพาเข้าถ้ำ ..เอย มันจะพาระกำ เอ๋ย แม่คุณ

7.เพลงเนื้อเย็น (2)

เอยหนอ เจ้าเนื้อ เย็นเอย แม่มิให้ลูกไปเล่น.. เอย
ในท้องคลองน้ำ มันมากนะ มันจะพาเจ้าลอยล่อง.. เอย
ท้องคลองนะแม่คุณ เอ เฮ้ เอ๋ย โอ เห่

8. เพลงแม่เนื้ออุ่น (1)

เนื้อ เอย หนอ เนื้อ อุ่น.. เอย เมื่อไรเจ้าจะมีบุญหนอ แม่จะได้พึ่ง ฮือ
เมื่อเจ้าตกยาก ฮือ ลงไป ไม่มีใครจะครวญถึง..เอย
เอวกลึงนะแม่คุณ เอ เฮ่ เอย โอ เห่

9. เพลงแม่เนื้ออุ่น (2)

แม่เนื้ออุ่นเอย.. เนื้อเจ้าละมุนเหมือนสำลี
แม่ไม่ให้ใครมาแตะต้อง กลัวจะหมองศรีเอย
คนดีนะแม่คุณ

10. เพลงแม่เนื้ออ่อน (1)

เนื้อเอยเนื้ออ่อนเอย ไม่หลับไม่นอนหรือจะคอยใคร
ญาติวงศ์หรือพงศาเอย.... ของแม่ จะมาหนอทางไหน เอย ..คอยใครเล่าแม่คุณ

11. เพลงแม่เนื้ออ่อน (2)

แม่เนื้ออ่อน เอย อ้อนแม่ เธอจะนอน ฮือ วันฮือ นอนหลับนอนไหล เอย
นอนไปหนอนาน ๆ ตื่นขึ้นมา แม่จะรับขวัญ เอิง เอย นอนวัน ฮือ นะ แม่คุณ

12. เพลงเจ้าร้อยชั่ง

เจ้าร้อยชั่ง..เอย แม่จะชั่งเจ้าด้วยน้ำรัก..เอย
ชั่งเอย.. เงินหนอชั่งทอง มาสักสองสามรับ..เอย
ยังไม่เท่าลูกรักเอย ของแม่คนเดียว เอ ..เฮ..เฮ้

13. เพลงบุญชู

โอละเห่ เอย เห่ เจ้าร้อยชั่ง หนอบุญชูเอย
บุญแม่ยังอยู่ลูกเอย จะครื้น เครง ฮือ
สิ้นบุญน้อยของแม่หนอหาไม่ เด็กเลี้ยงควายมันจะหนอ กุมเหง เอย
จะครื้นเครงเอย.. ก็ไม่มี

14. เพลงวัดนอก

วัดเอยวัดนอก.. เอย มีแต่ดอกเอ๋ยแคแดง
ตกตํ่าก็ยิ่งแพง.. เอย สาวน้อยจะห่ม.. เอย สีชมพู
เจ้าก็มีผัวแล้ว.. เอย จะแต่งไปให้เอย..หนอ.. ใครดู
แต่งตัวไปล่อชู้.. เอย เขารู้กันเสียเต็มใจ ..เอย

15. เพลงระลอก

เอ.. ระลอกเอยพัดมา ดังจ๊อก..เอย ระลอกก็ซัดเอย ให้แรง
พัดพ่อ พัดแม่ เอย ยังจะไว้..เอย เอาบุญใหญ่หน้าถ้าแข็ง เอย
มีเรี่ยว มีแรง.. เอย จะแทนคุณ ยังไม่ไว้เอาบุญเอย.. แทนคุณเอย
แม่เอย .. เอ เฮ้

16. เพลงแมวเหมียว

เอ.. เอ้.. เอ้ .. แมวเอ๋ยแมวเหมียว แยกเขี้ยวยิงฟัน
เสือปลาหน้าสั้น กัดกันเอย เอ.. เอ้

17. เพลงค้างคาว

โยนยาวเอ๊ย ค้างคาวกินกล้วย
มารับน้องไปด้วย ไปช่วยกันโยนยาวเอ๋ย เอ เฮ้

18. เพลงตุ๊กแก

ตุ๊กแกเอย.. นอนไม่หลับ
ตุ๊กแกกินตับ เสียทีหวา เอ เอ.. เอ้

19. เพลงคล้องช้าง

เอ.. เฮ้ย วันเอ๋ยวันนี้เอย แม่ว่าเอย..จะไปคล้องช้าง
ข้ามห้วยบึงบาง ข้ามเขาพนมทอง
คล้องช้างนี่มาได้เอย แม่ใส่ไว้เอย...ที่ในซอง
เกี่ยวหญ้านี่มากองเอย ช้างน้อยเอ๋ย..ก็ไม่กิน
ยกเอยงวงขึ้นพาดงาเอย น้ำตาก็ไหลเอ๋ย..อยู่ริน..ริน
ช้างน้อยก็ไม่กินเอย เพราะคิดถึงถิ่นเอย..มารดา

20. เพลงวัดโบสถ์ (2)

วัดเอ๋ยนะวัดโบสถ์.. เอย มีแต่ข้าวโพด เอย สาลี
เห็นลูกเขยตกยาก.. เอย แม่ยายก็พรากลูกสาวหนี
เหลือแต่ข้าวโพดสาลี.. เอย ตั้งแต่วันนี้ก็โรย ฮือ รา

21. เพลงนกกาเหว่า

นกเอ๋ยนกกาเหว่าเอย ไข่ให้เอ๋ยแม่กาฟัก
แม่เอ๋ยกาหลงรักเอย ฟักไข่เอ๋ยในอุทร
คาบเอ๋ยเอาข้าวมาเผื่อเอย แม่คาบเอาเหยื่อเอ๋ยมาป้อน
ช้อนน้ำมาให้ลูกกินเอย สอนบินเอยนะแม่คุณ
ปีกหางเจ้าก็ไม่กล้าแข็งเอย อย่าเพิ่งท้อแม่จะสอนบิน
พาลูกไปหากินเอย ตามฝั่งเอ๋ยแม่คงคา
ปีกบินก็เหยียบแต่ปลายไร่เอย ปากเจ้าก็ไซร้เอ๋ยจะหาปลา
นายพรานก็ยกปืนขึ้นส่องเอย ด้อมมองเอ๋ยจะยิงแม่กา
ยิงโป้งก็ตายคว่ำเอย มาตายตรงน้ำเสียแล้วนะแม่กา

22. เพลงนกเขา (1)

นกเขา เอย ขันตะเช้า เอ๋ยจนเย็น ขันให้มันหนอดัง ดัง เอย
แม่จะฟังแต่เสียงเล่น เอย เสียงเย็นนะ แม่ (พ่อ) คุณ

23. เพลงนกเขา (2)

นกเขาฝอยเอย ข้ามมาหย่อย เอ๋ยนาหลัง
นกเขาครั่งเอย แม่จะขังเจ้าเข้าไว้ หนอในกรง
เก็บแต่ดอกจำปี หนอจำปา กาหลงเอ๋ยมาแซมผม เอย เจ้านอน เอเฮ้

24. นกขมิ้น

นกขมิ้นเหลืองอ่อนเอย ค่ำแล้วเจ้าจะนอนที่ไหนเอย
นอนไหนก็นอนได้ สุมทุมพุ่มไม้ก็เคยนอน

25. เพลงขนมลูกโยน

โยน โย้น โย้น ขนมลูกโยน โยนเข้ากอไผ่
ช้างงาเล็ก เจ็กงาใหญ่ เก็บดอกไม้
บูชาบาล ผัวทำงาน เมียเล่นชู้
จับไม้กระทู้ ไปล้อมรางเป็ด ไปล้อมรางไก่
แม่อีโหลง แม่อีไหล ตะพายข้าวแช่
ไม่บอกกับแม่ ว่าจะไปเมืองไหน ไปเมืองพลับ
ลูกเขยเลยจับ ไปรับพ่อตา พ่อตากูมาแล้วเหวย
ลูกเขยกูมาแล้ววา อ้ายแก้วกางกา กอดเมียกลางวัน
ลุกขึ้นไก่ขัน ตะวันแดงแจ๋

26. เพลงโยทิง

โยทิง โยนช้า ทำนาหนองไหน ทำนาหนองไอ้เข้โอ้
ขี่ช้างงาโตไปซดหญ้าก่อง ลูกโด่เต็มท้องออกลูกเป็นพัน
ขนมทอดมันขายอันละสิบเบี้ย ไปซื้อไก่เตี้ยมาแลกตุ่นโพ
ขโมยโอ๊กโอ๊กลักโถกูไป กูจับตัวได้เสียเมืองพริกที
หน้าแข็งเป็นฝีจมูกเป็นไฝ ไปตัดห่อไม้ หน่อไม้ไม่กลัว
ไปหักสายบัวเป็นหัวระประกาย ไอ้เชิงมันลาย จมูกมันงอน
ไอ้เมื่อมันนอนมันนอนใต้ไม้ ไอ้เมื่อมันไปไม่รู้ใต้ไม่รู้เหนือ

27. เพลงสู้ควาย

เล..เล่..เล อ้ายเลขุนปลัด ขนทรายเข้าวัด
นัดกันเล่นควาย ควายมึงควายกู
เข้าสู้ด้วยกัน ควายใครแพ้
ด่าแม่เจ้าของมัน เล..เล่..เล

28. เพลงโอ้ละทึก

โอ้ละเห่ เอ๋ยเห่ โอละทึก ฮือ ลุกแต่ดึก ฮือ เอย.. ทำขนมหม้อแกง
ไอ้ผัวก็ด่า นางเมียก็แช่ง เอิงเอย ขนมก็คาหม้อแกง
         พบว่าฉันทลักษณ์แบ่งเป็น กลอนแปด 14 เพลง กลอนดอกสร้อย 3 เพลง กลอนหก 1 เพลง กลอนสี่ 4 เพลง กลอนสุภาพ 6 เพลง รวมทั้งหมด 28 เพลง

ประเภทคำประพันธ์

         เพลงกล่อมเด็กที่ปรากฏนั้น ไม่มีรูปแบบคำประพันธ์ตายตัว มีสัมผัสคล้องจองมากบ้างน้อยบ้าง ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกับกลอนทั่วไป มีสัมผัสระหว่างวรรค ใช้ถ้อยคำเรียบง่าย ไม่มีทำนองตายตัว ในส่วนความยาวของเพลงแต่ละเพลงมีไม่เท่ากัน กำหนดแน่นอนไม่ได้ ผู้ร้องอาจขยายออกไปได้เรื่อยๆ หรือตัดให้สั้น เข้าก็ได้ โดยมีคำเห่กล่อมแทรกเป็นระยะ เช่น เอย เอ๋ย เอเอ้ โอละเห่ เป็นต้น

ประวัติวรรณกรรม/บทเพลง/บทกวี

         การศึกษาเพลงกล่อมเด็กของตําบลไตรตรึงษ์ จากการเก็บข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2551 พบว่ามีเพลงกล่อมเด็กจํานวนทั้งสิ้น 28 เพลง ซึ่งผู้วิจัย (สุวรรณี ทองรอด) สามารถวิเคราะห์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ด้านรูปแบบ
         เพลงกล่อมเด็กที่ปรากฏนั้นไม่มีรูปแบบคําประพันธ์ตายตัว มีสัมผัสคล้องจองมากบ้างน้อย บ้าง ส่วนใหญ่มีลักษณะคล้ายกับกลอนทั่วไป มีสัมผัสระหว่างวรรค ใช้ถ้อยคําเรียบง่าย ไม่มีทํานอง ตายตัว ในส่วนความยาวของเพลงแต่ละเพลงมีไม่เท่ากัน กําหนดแน่นอนไม่ได้ ผู้ร้องอาจขยายออกไป ได้เรื่อยๆ หรือตัดให้สั้นเข้าก็ได้ โดยมีคําเห่กล่อมแทรกเป็นระยะ เช่น เอย เอ๊ย เอเอ้ โอละเห่ เป็นต้น ตัวอย่าง : รูปแบบเพลงกล่อมเด็ก

เพลงเจ้าเนื้อเย็น

(เอยหนอ) เจ้าเนื้อเย็น เอย

แม่มิให้ลูกไปเล่น เอย

ในท้องคลองน้ำมันมากนะ

มันจะพาเจ้าลอยล่อง เอย

ท้องคลองนะแม่คุณ

เอ เฮ้ เอ๊ย โอเพ่