ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศิลปกรรมสกุลช่างกำแพงเพชร"
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 6: | แถว 6: | ||
<p align = "center"> แรงบันดาลใจ (อิทธิพลการสร้างสรรค์) → รูปแบบที่ได้จากการประยุกต์สร้างสรรค์ → </p> | <p align = "center"> แรงบันดาลใจ (อิทธิพลการสร้างสรรค์) → รูปแบบที่ได้จากการประยุกต์สร้างสรรค์ → </p> | ||
<p align = "center"> ศิลปกรรมสกุลช่างเมืองกำแพงเพชร → ตอบสนองการรับใช้พุทธศาสนา </p> | <p align = "center"> ศิลปกรรมสกุลช่างเมืองกำแพงเพชร → ตอบสนองการรับใช้พุทธศาสนา </p> | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 1 กระบวนการทำงานของภูมิปัญญาศิลปกรรมสกุลช่างกำแพงเพชร''' </p> | ||
+ | == การศึกษาศาสนสถาน (สถาปัตยกรรม) สกุลช่างกำแพงเพชร == | ||
+ | ศักดิ์ชัย สายสิงห์ (ม.ป.ป.) หน้า 8-20 อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แบ่งศิลปะเมืองกำแพงเพชรไว้ 2 รูปแบบดังนี้ คือ 1. ศาสนสถาน (สถาปัตยกรรม) ในสมัยสุโขทัย กับหลังสมัยสุโขทัย 2. ศาสนวัตถุ (ปฏิมากรรม พระพุทธรูป) | ||
+ | == ศาสนสถาน (สถาปัตยกรรม) == | ||
+ | === 1. ศาสนสถาน (สถาปัตยกรรม) สกุลช่างกำแพงเพชรในสมัยสุโขทัย === | ||
+ | สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นจะมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ซึ่งเมืองกำแพงเพชรตามหลักฐานได้แก่ วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดพระเจดีย์ทอง วัดกะโลทัย วัดเจดีย์ยอดทอง วัดสิงห์ วัดวังพระธาตุ (ไตรตรึงษ์) และวัดพระบรมธาตุ (นครชุม) ปัจจุบันถูกสร้างครอบด้วยเจดีย์แบบมอญพม่า | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 2 รูปแบบเจดีย์.png|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 2 รูปแบบเจดีย์ทรงดอกบัวตูมในสมัยสุโขทัยที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร''' </p> | ||
+ | <p align = "center"> (ที่มา : ศักดิ์ชัย สายสิงห์, 2561) </p> | ||
+ | อย่างไรก็ตามเจดีย์ทรงดอกบัวตูมที่ยังคงเหลือรูปแบบสมบูรณ์ให้ศึกษาได้ คือ เจดีย์วัดกะโลทัยและเจดีย์กลางทุ่ง เจดีย์ทั้ง 2 องค์มีระเบียบเดียวกับเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมโดยทั่วไป โดยเฉพาะส่วนสำคัญ คือ ส่วนฐานบันลูกฟัก 2 ขั้น เพียงแต่ส่วนที่เป็นลูกแก้วอกไก่และลูกฟักได้รับการบูรณะใหม่โดยกรมศิลปากรทำเป็นแถบสี่เหลี่ยมธรรมดาไม่ได้ปั้นปูนเป็นลวดลายบัวลูกแก้วอกไก่และลูกฟัก แต่ก็ทำความเข้าใจได้ว่า เป็นลูกแก้วอกไก่และลูกฟักตามระเบียบของฐานเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม สำหรับวัดกะโลทัยนั้นมีรูปแบบครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนที่วัดเจดีย์กลางทุ่งมีส่วนที่แตกต่างจากระเบียบของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเพียงเล็กน้อยคือ มีส่วนฐานและชั้นเขียนที่อาจผิดระเบียบอยู่ เพราะมี ชั้นเขียน 3 ชั้น แต่ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3 สูงกว่าชั้นที่ 2 มากและผิดส่วนและผิดระเบียบของเจดีย์รูปแบบนี้ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากการซ่อมผิด ซึ่งจริงๆ ควรจะเป็นชั้นเขียนที่มีสัดส่วนเท่าๆกัน ประมาณ 4-5 ชั้น ตามระเบียบโดยทั่วไป ดังภาพที่ 3 และ 4 | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 3 รูปแบบเจดีย์.jpg|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 3 รูปแบบเจดีย์ทรงดอกบัวตูมของวัดกะโลทัย''' </p> | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 4 รูปแบบเจดีย์.jpg|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 4 รูปแบบเจดีย์ทรงดอกบัวตูมของวัดเจดีย์กลางทุ่ง''' </p> | ||
+ | อีกแห่งหนึ่งคือ เจดีย์วัดวังพระธาตุ เมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองกำแพงเพชรลงมาทางทิศใต้ราว 11 กิโลเมตร เป็นวัดที่สำคัญที่สุดของเมืองเปรียบเสมือนมหาธาตุประจำเมือง รูปแบบของเจดีย์มีระเบียบโดยรวมเหมือนกับเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมทุกประการ มีส่วนที่แตกต่างอยู่ 2 ส่วนและนับเป็นส่วนสำคัญมาก คือ มีฐานบัวลูกแก้วอกไก่แบบเตี้ย เพิ่มมา 1 ฐาน และฐานเขียงกว้างมาก ซึ่งฐานส่วนนี้ไม่เคยปรากฏในเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเลย จากการเพิ่มฐานบัวทำให้ส่วนชั้นเขียนเหลือเพียง 3 ชั้น ซึ่งพิจารณาส่วนนี้น่าจะเป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นรุ่นหลังที่มีการบูรณะ เมื่อเพิ่มแล้วจึงมาลดชั้นเขียนเหลือเพียง 3 ชั้น อีกส่วนหนึ่งของรูปแบบที่เปลี่ยนไปเล็กน้อย คือ ส่วนฐานบัวที่รูปแบบโดยทั่วไปเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น แต่ที่นี่เป็นลูกฟัก 2 เส้น ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน อาจจะเป็นการบูรณะผิดของคนในยุคหลังที่ไม่เข้าใจรูปแบบเดิมแล้ว ดังภาพที่ 5 | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 5 เจดีย์วัดวังพระธาตุ.jpg|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 5 เจดีย์วัดวังพระธาตุ''' </p> | ||
+ | ส่วนวัดเจดีย์ทองและวัดสิงห์ ปัจจุบันสภาพพังทลายจนไม่สามารถศึกษาระเบียบได้อย่างละเอียด อาจกล่าวได้ว่าเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเมืองกำแพงเพชรนั้นมีหลักฐานสำคัญ คือ วัดพระบรมธาตุที่มีหลักฐานเดิมว่า เป็นเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมและมีจารึกที่พบในวัดนี้ คือจารึกหลักที่ 33 นครชุมที่กล่าวถึง พญาลิไทเสด็จมาประดิษฐานพระธาตุยังเมืองกำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 1900 จึงอาจเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่า เจดีย์ที่พระองค์ทรงสถาปนาน่าจะเป็นเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม ทำให้อาจกล่าวได้ต่อไปอีกกว่าทั้งวัดเจดีย์กลางทุ่ง และวัดเจดีย์ทองที่อยู่บริเวณเมืองนครชุมอันเป็นเมืองในสมัยสุโขทัย น่าจะสร้างขึ้นในระยะเวลาเดียวกันนี้หรืออาจจะหลังกว่าเพียงเล็กน้อย | ||
+ | === 2. ศาสนสถาน (สถาปัตยกรรม) สกุลช่างกำแพงเพชรหลังสมัยสุโขทัย === | ||
+ | พบว่าภายหลังจากอาณาจักรสุโขทัยถูกผนวกกับกรุงศรีอยุธยาแล้ว เมืองสำคัญในช่วงนี้มาอยู่ที่กำแพงเพชรและพิษณุโลก แต่หลักฐานทางศิลปกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในช่วงระยะเวลานี้พบหลักฐานค่อนข้างมากที่ เมืองกำแพงเพชร ได้แก่ กลุ่มเจดีย์ทรงระฆังที่การผสมผสานระหว่างเจดีย์แบบสุโขทัย ล้านนาและอยุธยา บทบาทของอยุธยาและล้านนาปรากฏอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 21 สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มดังนี้ | ||
+ | '''กลุ่มที่ 1 เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย-อยุธยา (ที่มีอิทธิพลศิลปะอยุธยา) : เจดีย์ที่มีสิงห์ล้อม''' | ||
+ | เจดีย์วัดพระแก้วมีลักษณะโดยรวมที่ยังเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย คือ มีชุดบัวถลารองรับองค์ระฆัง และเป็นกลุ่มเจดีย์แบบพิเศษ คือ การมีช่องจระนำที่ฐานประดิษฐานพระพุทธรูปโดยรอบลักษณะเดียวกับเจดีย์วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย และ ที่ฐานมีการประดับสิงห์ล้อม (รูปที่ 6) โดยรูปแบบแล้วเหมือนกับช้างล้อม ปัจจุบันส่วนหัวสิงห์ชำรุดหายไปหมดแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้ทราบว่าเป็นสิงห์โดยดูจากเท้าสิงห์ที่มีกรงเล็บยื่นออกมา ต่างจากเท้าช้างที่จะตรงๆ นอกจากนี้ยังดูจากเครื่องทรงของสิงห์คล้ายกับเครื่องทรงที่ปรากฏในเจดีย์สิงห์ล้อม สมัยอยุธยา ดังภาพที่ 6 และภาพที่ 7 | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 6 เจดีย์วัดพระแก้ว.jpg|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 6 เจดีย์วัดพระแก้ว''' </p> | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 7 ฐานเจดีย์รูปสิงห์.jpg|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 7 ฐานเจดีย์รูปสิงห์''' </p> | ||
+ | เจดีย์วัดสิงห์สันนิษฐานได้ว่า ได้รับอิทธิพลมาจากอยุธยาเพราะในศิลปะสุโขทัยไม่พบว่ามีการทำเจดีย์ที่มีสิงห์ล้อมในลักษณะนี้ แต่พบอยู่ในศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นกลุ่มหนึ่ง เช่น เจดีย์ที่วัดธรรมิกราช วัดแม่นางปลื้ม วัดสามวิหาร เป็นต้น ซึ่งกำหนดอายุว่าอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น เพราะลักษณะของสิงห์นั้นเป็นแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะเขมรสอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวว่าเจ้าสามพระยาได้เสด็จไปตีอาณาจักรกัมพูชาได้และมีการนำสิงห์และทวารบาล สำริด จากเมืองพระนคร มายังพระนครศรีอยุธยา แต่ในภายหลังเมื่อพระเจ้าบุเรงนองมาตีกรุงศรีอยุธยา ได้นำประติมากรรมชุดดังกล่าวไปไว้ยังเมืองพม่าจึงสันนิษฐานว่า การนำประติมากรรมรูปสิงห์มาประดับฐานเจดีย์แทนช้าง น่าจะเกิดขึ้นในรัชกาลเจ้าสามพระยาเป็นต้นมา เพราะทั้งลักษณะและรูปแบบบนั้นเหมือนกับประติมากรรมสิงห์สำริดในศิลปะเขมรนั้น กับอีกส่วนหนึ่งลวดลายที่ประดับสิงห์ เป็นลายแบบอยุธยาตอนต้นที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะเขมร คล้ายกับลายกรุยเชิง และสอดคล้องกับรูปแบบของเจดีห์ทรงระฆังในกลุ่มนี้ที่มีส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นขุดบัวคว่ำ-บัวหงายในผังแปดเหลี่ยม ซึ่งจัดเป็นงานศิลปะในสมัยอยุธยาตอนต้น ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้น | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 8 รูปแบบสันนิษฐานวัดสิงห์.jpg|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 8 รูปแบบสันนิษฐานวัดสิงห์''' </p> | ||
+ | <p align = "center"> (ที่มา : สันติ เล็กสุขุม, 2557) </p> | ||
+ | '''กลุ่มที่ 2 เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย-ล้านนา : เจดีย์ที่มีฐานและส่วนรังรับองค์ระฆังแปดเหลี่ยม อิทธิพลศิลปะหริภุญชัย-ล้านนา''' | ||
+ | รูปแบบเจดีห์วัดพระธาตุมีส่วนฐานที่แตกต่างจากที่พบอยู่ในศิลปะสุโขทัยโดยทั่วไป คือ มีชั้นฐานเขียนในผังแปดเหลี่ยมหลายชั้น รองรับฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย ซึ่งมีถึง 2 ฐาน อยู่ในผังแปดเหลี่ยมฐานชั้นล่างประดับลูกแก้วอกไก่กลางท้อนไม้ 1 เส้น ลูกแก้วอกไก่มีขนาดใหญ่มาก แตกต่างจากที่พบ โดยทั่วไป ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษได้ โดยมีส่วนที่แตกต่าง คือเจดีย์องค์นี้มีชั้นบัวคว่ำ-บัวหงายในผังแปดเหลี่ยมเพิ่มขึ้นอีก 1 ชั้น เป็นฐานบังลูกแก้วอกไก่ที่มีการประดับลูกแก้ว 2 เส้น ซึ่งลักษณะฐานในผังแปดเหลี่ยมนี้ไม่ใช่ศิลปะสุโขทัยและลังกา อีกส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะล้านนา ได้แก่ บัลลังก์ในผังย่อมุมไม้สิบสองอันเป็นรูปแบบที่นิยมอยู่ในศิลปะล้านนาซึ่งมาจากสายเจดีย์ปาละ ส่วนสายเจดีย์สุโขทัยและอยุธยาจะเป็นผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ได้สืบต่อมาจากศิลปะลังกากล่าวโดยสรุป คือ เจดีย์องค์นี้มีการผสมผสานรูปแบบระหว่างล้านนากับสุโขทัยโดยมีแผนผังที่เป็นแบบอยุธยาตอนต้นแล้ว ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นถึงยุคสมัยที่สัมพันธ์กับเจดีย์วัดพระแก้วในสมัยอยุธยาตอนต้น ที่สุโขทัยน่าจะหมดอำนาจลงแล้ว เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองปากประตูที่ติดระหว่างล้านนากับอยุธยา จึงมีศิลปกรรมที่ผสมผสานกันทั้ง 3 สมัย คือ ที่เป็นแบบแผนดั้งเดิม คือ สุโขทัยและอยุธยาปนกับล้านนา และเจดีย์องค์นี้มีแรงบันดาลใจมาจากศิลปะล้านนามากกว่า | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 9 เจดีย์วัดพระธาตุ เมืองกำแพงเพชร.jpg|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 9 เจดีย์วัดพระธาตุ เมืองกำแพงเพชร''' </p> | ||
+ | '''กลุ่มที่ 3 เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย-ล้านนา-อยุธยา : เจดีย์ที่มีส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นบัวคว่ำบัวหงายแบบล้านนา''' | ||
+ | วัดช้างรอบตั้งอยู่ในเขตอรัญญิก ด้านทิศเหนือของเมืองกำแพงเพชร ถือเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่มากวัดหนึ่งและน่าจะสร้างขึ้นตามคติของความเป็นศูนย์กลางจักรวาล กล่าวคือ มีการยกชั้นประทักษิณสูงมาก ทางขึ้นมีการประดับสิงห์และเทวดา รอบฐานประดับช้างโดยรอบ และที่ผนังทำเป็นงานปูนปั้นรูปต้นไม้ อาจหมายถึง คติของป่าหิมพานต์ มีช้างเป็นผู้ค้ำจุนจักรวาลมีสิงห์ที่เป็นสัญลักษณ์ของป่าหินพานต์และเทวดา เป็นทวารบาลหรือสัญลักษณ์ของสวรรค์ นอกจากนี้ทางนี้ทางขึ้นประทักษิณยังมีชุ้มประตูที่มียอดปราสาทอีทด้วย ที่มีลานประทักษิณทั้ง 4 มีการประดับเจดีย์จำลอง (สถูปิกะ) ที่ฐานเจดีย์บริเวณชั้นประทักษิณ มีแถวหงส์ โดย หงส์หมายถึง สัญลักษณ์ของสวรรค์ เช่นเดียวกัน เหมือนแถวหงส์มีประติมากรรมปูนปั้นเล่าเรืองพุทธประวัติที่แบ่งเป็นช่องๆ (ปัจจุบันชำรุดสูญหายเกือบหมดแล้ว) สำหรับรูปแบบเจดีย์ สภาพในบัจจุบันพังทลายลงมาเหลือตั้งแต่ฐานล่างขึ้นไปจนถึงชุดรองรับองค์ระฆังชั้นที่ 2 เท่านั้น แต่จากส่วนที่เหลือสามารถศึกษารูปแบบได้จากส่วนรองรับองค์ระฆัง ที่ทำเป็นชุดบัวคว่ำ-บัวหงายเตี้ยๆท้องไม้ประดับลูกฟัก 1 เส้นเต็มท้องไม้ น่าจะมี 3 ชั้น ตามระเบียบของเจดีย์ทรงระฆังทั่วไป และส่วนองค์ระฆังละยอดก็น่าจะเหมือนเจดีย์ทรงระฆังโดยทั่วไป | ||
+ | ลักษณะสำคัญที่ช่วยในการกำหนดอายุได้ คือ ลวดลายประดับช้าง ได้พบว่าลายส่วนใหญ่เป็นลายพรรณพฤกษา คือ ลายดอกไม้ ใบไม้ มีลวดลายที่ใบระกาที่ส่วนคอช้าง ได้พบว่าลายส่วนคอช้างนั้นเหมือนกับลวดลายที่ผ้านุ่งของเทวรูปสำริดพระอิศวรที่พบที่เมืองกำแพงเพชร มีจารึกที่ฐานระบุ พ.ศ. 2053 ดังนั้นลวดลายนี้จึงน่าจะมีความสัมพันธ์กันและเป็นลายที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น อายุของเจดีย์จึงน่าจะร่วมสมัยกับอายุพระอิศวรองค์นี้ คือในราวต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 แล้ว | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 10 รูปรายละเอียดเจดีย์วัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร.jpg|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 10 รูปรายละเอียดเจดีย์วัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร''' </p> | ||
+ | <p align = "center"> (ที่มา : ศักดิ์ชาย สายสิงห์, 2561) </p> | ||
+ | == งานปฎิมากรรม (พระพุทธรูป) == | ||
+ | พระพุทธรูปสกุลช่างกำแพงเพชร กลางพุทธศตวรรษที่ 19 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 มีลักษณะ คือ เป็นรูปไข่ยาว พระนลาฏกว้าง พระหนุเสี้ยม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูงอย่างมาก และการทำพระขนงที่มีเส้นระหว่างขอบบนและขอบพระเนตรป้ายเป็นแผ่นใหญ่ๆ ซึ่งลักษณะเช่นนี้ได้รับความนิยมมาก ในพระพุทธรูปสมัยอยุธยา ดังนั้นสกุลช่างกำแพงเพชรนี้ส่วนหนึ่งคงมีความเกี่ยวข้องกับศิลปะอยุธยาที่เข้ามาผสมผสาน และลักษณะดังกล่าวนี้ได้เข้าไปปรากฏในพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยาด้วยเช่นกัน จากการศึกษาพระพุทธรูปเมืองกำแพงเพชร ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้ | ||
+ | === 1.พระพุทธรูปหมวดใหญ่ สมัยสุโขทัย === | ||
+ | เป็นสกุลช่างกำแพงเพชรมีลักษณะย่อยที่สามารถแบ่งได้เป็นหมวดกำแพงเพชรตามที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป คือ พระพุทธรูปที่มีลักษณะเช่นเดียวกับพระพุทธรูปหมวดใหญ่ในสมัยสุโขทัยแต่ลักษณะเฉพาะของสกุลช่างกำแพงเพชร คือ พระนลาฏกว้าง และพระหนุเสี้ยม พระพักตร์ยาวอย่างมาก เมื่อพระพักตร์ยาวทำให้ส่วนต่างๆยาวหรือสูงตามไปด้วย ได้แก่ พระเศียร (ขมวดพระเกศา) สูง พระอุษณีษะสูง และพระรัศมีทรงสูงอย่างมากด้วยเช่นกัน ถ้าเทียบสัดส่วนกับพระพุทธรูปหมวดใหญ่โดยทั่วไปในศิลปะสุโขทัย จะมีขมวดพระเกศาเล็กกว่าหมวดใหญ่อย่างมากและใกล้เคียงกับพระพุทธรูปสมัยอยุธยา และได้พบว่าในหมวดกำแพงเพชรนี้ส่วนหนึ่งมีอิทธิพลของศิลปะอยุธยาเข้ามาผสม ได้แก่ การทำพระขนงที่ระหว่างพระขนงกับเส้นเปลือกพระเนตรที่ป้ายเป็นแผ่นโค้ง และพระโอษฐ์บางครั้งไม่หยักเป็นคลื่นแบบสุโขทัย แต่เป็นพระโอษฐ์ที่ยกริมพระโอษฐ์แบบอยุธยา ตัวอย่างพระพุทธรูปสำคัญคือ พระพุทธรูปสำริดพบจากวัดต่างๆ ในเมืองกำแพงเพชร จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร เช่น พระพุทธรูปปางมารวิชัย (ดังภาพที่ 11 และภาพที่ 12) | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 11 พระพุทธรูปปางมารวิชัย.png|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 11 พระพุทธรูปปางมารวิชัย หมวดกำแพงเพชร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร''' </p> | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 12 พระเศียรพระพุทธรูป.png|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 12 พระเศียรพระพุทธรูป หมวดกำแพงเพชร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร''' </p> | ||
+ | === 2. อิทธิพลพระพุทธรูปล้านนา === | ||
+ | เป็นกลุ่มพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร ลักษณะโดยรวมแล้วแสดงให้เห็นถึงรูปแบบที่ผสมผสานระหว่างพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในศิลปะล้านนาและสุโขทัยอย่างแท้จริง โดยที่มีลักษณะเฉพาะแบบสุโขทัยปรากฏอยู่และเป็นลักษณะที่แตกต่างจากพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในศิลปะล้านนา คือ การประทับนั่งขัดสมาธิเพชรเป็นแบบสุโขทัยที่พระซงฆ์ไขว้กันชัดเจนเป็นสามเหลี่ยมและพระบาทลอยขึ้นไม่เรียบเสมอกันแบบล้านนา และมีชายผ้า 2 ชายซ้อนกัน ปลายม้วนคล้ายเขี้ยวตะขาบ อย่างไรก็ตามพระพักตร์ของพระพุทธรูปเมืองกำแพงเพชรกลับมีลักษณะที่ต่างไปจากสุโขทัยอย่างมาก คือ พระพักตร์เล็กพระโอษฐ์เล็ก ไม่ใช่พระโอษฐ์หยักเป็นครึ่งแบบสุโขทัย ส่วนพระวรกายค่อนข้างเล็กและป้อม จากลักษณะของการผสมผสานรูปแบบระหว่างล้านนากับสุโขทัยเป็นแบบพี่พัฒนาไปจากต้นแบบแล้ว ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นในช่องหลังกว่าที่พบที่สุทัย และสร้างขึ้นตามคติของพระพุทธสิหิงค์ในล้านนา ที่แพร่หลายอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 แล้ว โดยเฉพาะภายหลังจากสุโขทัยหมดอำนาจลงและผนวกเข้ากับอยุธยา เมืองกำแพงเพชรกลางเป็นเมืองศูนย์กลางการติดต่อกันระหว่างล้านนากับอยุธยา โดยได้พบงานศิลปกรรมทั้งเจดีย์และพระพุทธรูปที่มีการผสมผสานกันระหว่างศิลปะล้านนากับศิลปะอยุธยาอย่างแท้จริง ดังภาพที่ 13 | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 13 พระพุทธรูปปางมารวิชัย.png|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 13 พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร''' </p> | ||
+ | === 3. อิทธิพลศิลปะอยุธยา === | ||
+ | เป็นพระพุทธรูปสุโขทัยได้รับอิทธิพลศิลปะอยุธยามีลักษณะของการทำพระขนงป้าย หรือลักษณะพระโอษฐ์ที่เป็นแบบอยุธยา และที่เป็นกลุ่มพระพุทธรูปแบบอยุธยา ได้แก่ พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 และแบบอู่ทองรุ่นที่ 3 พระพุทธรูปดังกล่าวมีลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปแบบอู่ทอง ได้แก่ การมีไรพระศก ขมวดพระเกศาเป็นเกลียวเล็กมาก พระรัศมีเป็นเปลวสูงอย่างมาก ประทับนั่งบนฐานหน้ากระดานหรือฐานบัวที่เว้าเป็นร่อง ส่วนที่เป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 คือ พระพักตร์สี่เหลี่ยมสีพระพักตร์ถมึงทึง ส่วนที่เป็นแบบอู่ทองรุ่นที่ 3 คือพระพักตร์ยาวและมีลักษณะเดียวงกับพระพุทธรูปหมวดใหญ่สมัยสุโขทัย เพียงแต่มีส่วนทีแตกแต่งอย่างมากคือ ขมวดพระเกศาเล็กมาก พระรัศมีเป็นเปลวสูงอย่างมาก มีไรพระศก เป็นต้น ดังภาพที่ 14 | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 14 ศิลปะพระพุทธรูปปางมารวิชัย.png|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 14 ศิลปะพระพุทธรูปปางมารวิชัย อิทธิพลศิลปะอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ''' </p> | ||
+ | == บทสรุป == | ||
+ | จากการศึกษา ศิลปกรรมสกุลช่างกำแพงเพชร รับอิทธิพลรูปแบบที่ผสมผสานจากศิลปะสกุลช่างต่างๆ ทั้งสุโขทัย อยุธยาและล้านนา ด้วยเพราะเป็นเมืองปากประตู ที่อยู่กึ่งกลางการสัญจรค้าขายระหว่างอยุธยาและล้านนา จนเกิดศิลปกรรมที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ของกำแพงเพชร โดยการศึกษาพบว่าศิลปะสกุลช่างเมืองกำแพงเพชรมี 2 รูปแบบดังนี้ 1.ศาสนสถาน(สถาปัตยกรรม) ในสมัยสุโขทัยกับหลังสมัยสุโขทัย 2.งานปฏิมากรรม (พระพุทธรูป) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันศิลปกรรมสกุลช่างกำแพงเพชรบางส่วนได้มีสภาพผุพังและทลายไปตามกาลเวลา จนไม่สามารถพบเห็นรูปแบบรายละเอียดเดิมได้อย่างครบถ้วน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาศิลปกรรมสกุลช่างกำแพงเพชร ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน ภูมิปัญญาของชาวกำแพงเพชรให้คงอยู่สืบไป |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 10:20, 24 ธันวาคม 2563
เนื้อหา
บทนำ[แก้ไข]
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา ศิลปกรรมสกุลช่างกำแพงเพชร ซึ่งจังหวัดกำแพงเพชรได้รับการรับรองจาก UNESCO ให้เป็นเมืองมรดกโลกด้วยเพราะเป็นพื้นที่ที่มีโบราณสถานสำคัญทางประวัติศาสตร์รวมอยู่มากมายหลายแห่ง ซึ่งทั้งหมดเป็นศาสนสถานอันแสดงให้เห็นถึงการให้คุณค่าสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจของผู้คน และเป็นวัฒนธรรมหลักของผู้คนในสังคมไทย ที่ตอบสนองการรับใช้พุทธศาสนาและการเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนามาเป็นเวลายาวนาน โดยโบราณสถานแต่ละแห่งนั้นมีเรื่องราว ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่อื่นๆใกล้เคียง เช่น สุโขทัย และศรีสัชนาลัย รวมถึงรูปแบบการสร้างสรรค์ศิลปกรรมของกำแพงเพชรด้านสถาปัตยกรรม ทั้งโบราณวัตถุอย่างปฏิมากรรมต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยและสมัยหลังสุโขทัย มีความผสมผสานและได้รับอิทธิพลจากรูปแบบศิลปะสกุลช่างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สุโขทัย อยุธยา และล้านนา ความผสมผสานรูปแบบและการได้รับอิทธิพลดังกล่าว ได้ประกอบกันทำให้เกิดรูปแบบของงานศิลปกรรมที่อาจกล่าวได้ว่ามีลักษณะเฉพาะ จนสามารถเรียกว่าเป็นสกุลช่างกำแพงเพชรได้ เช่น พระพุทธรูปสกุลช่างกำแพงเพชร หรือเจดีย์กลุ่มหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะเป็นฐานแปดเหลี่ยมที่พบได้มาก ในเมืองกำแพงเพชร ซึ่งความเฉพาะตัวที่ค้นพบนี้สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของช่างท้องถิ่นเมืองกำแพงเพชรในสมัยโบราณ
คำสำคัญ : ศิลปกรรม, สกุลช่าง, กำแพงเพชร
กระบวนการทำงานของภูมิปัญญาศิลปกรรมสกุลช่างกำแพงเพชร[แก้ไข]
ภูมิปัญญาศิลปกรรมสกุลช่างกำแพงเพชรในบทความนี้จะเกี่ยวข้องกับศาสนสถาน (สถาปัตยกรรม) และศาสนวัตถุ (ปฏิมากรรม) เพื่อรับใช้พุทธศาสนาของช่างท้องถิ่นเมืองกำแพงเพชรโบราณซึ่งผู้เขียนได้สรุปกระบวนการทำงานของภูมิปัญญาศิลปกรรมสกุลช่างกำแพงเพชรไว้ ดังภาพที่ 1
แรงบันดาลใจ (อิทธิพลการสร้างสรรค์) → รูปแบบที่ได้จากการประยุกต์สร้างสรรค์ →
ศิลปกรรมสกุลช่างเมืองกำแพงเพชร → ตอบสนองการรับใช้พุทธศาสนา
ภาพที่ 1 กระบวนการทำงานของภูมิปัญญาศิลปกรรมสกุลช่างกำแพงเพชร
การศึกษาศาสนสถาน (สถาปัตยกรรม) สกุลช่างกำแพงเพชร[แก้ไข]
ศักดิ์ชัย สายสิงห์ (ม.ป.ป.) หน้า 8-20 อาจารย์ประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แบ่งศิลปะเมืองกำแพงเพชรไว้ 2 รูปแบบดังนี้ คือ 1. ศาสนสถาน (สถาปัตยกรรม) ในสมัยสุโขทัย กับหลังสมัยสุโขทัย 2. ศาสนวัตถุ (ปฏิมากรรม พระพุทธรูป)
ศาสนสถาน (สถาปัตยกรรม)[แก้ไข]
1. ศาสนสถาน (สถาปัตยกรรม) สกุลช่างกำแพงเพชรในสมัยสุโขทัย[แก้ไข]
สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นจะมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ซึ่งเมืองกำแพงเพชรตามหลักฐานได้แก่ วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดพระเจดีย์ทอง วัดกะโลทัย วัดเจดีย์ยอดทอง วัดสิงห์ วัดวังพระธาตุ (ไตรตรึงษ์) และวัดพระบรมธาตุ (นครชุม) ปัจจุบันถูกสร้างครอบด้วยเจดีย์แบบมอญพม่า
ภาพที่ 2 รูปแบบเจดีย์ทรงดอกบัวตูมในสมัยสุโขทัยที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร
(ที่มา : ศักดิ์ชัย สายสิงห์, 2561)
อย่างไรก็ตามเจดีย์ทรงดอกบัวตูมที่ยังคงเหลือรูปแบบสมบูรณ์ให้ศึกษาได้ คือ เจดีย์วัดกะโลทัยและเจดีย์กลางทุ่ง เจดีย์ทั้ง 2 องค์มีระเบียบเดียวกับเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมโดยทั่วไป โดยเฉพาะส่วนสำคัญ คือ ส่วนฐานบันลูกฟัก 2 ขั้น เพียงแต่ส่วนที่เป็นลูกแก้วอกไก่และลูกฟักได้รับการบูรณะใหม่โดยกรมศิลปากรทำเป็นแถบสี่เหลี่ยมธรรมดาไม่ได้ปั้นปูนเป็นลวดลายบัวลูกแก้วอกไก่และลูกฟัก แต่ก็ทำความเข้าใจได้ว่า เป็นลูกแก้วอกไก่และลูกฟักตามระเบียบของฐานเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม สำหรับวัดกะโลทัยนั้นมีรูปแบบครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนที่วัดเจดีย์กลางทุ่งมีส่วนที่แตกต่างจากระเบียบของเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเพียงเล็กน้อยคือ มีส่วนฐานและชั้นเขียนที่อาจผิดระเบียบอยู่ เพราะมี ชั้นเขียน 3 ชั้น แต่ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3 สูงกว่าชั้นที่ 2 มากและผิดส่วนและผิดระเบียบของเจดีย์รูปแบบนี้ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากการซ่อมผิด ซึ่งจริงๆ ควรจะเป็นชั้นเขียนที่มีสัดส่วนเท่าๆกัน ประมาณ 4-5 ชั้น ตามระเบียบโดยทั่วไป ดังภาพที่ 3 และ 4
ภาพที่ 3 รูปแบบเจดีย์ทรงดอกบัวตูมของวัดกะโลทัย
ภาพที่ 4 รูปแบบเจดีย์ทรงดอกบัวตูมของวัดเจดีย์กลางทุ่ง
อีกแห่งหนึ่งคือ เจดีย์วัดวังพระธาตุ เมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองกำแพงเพชรลงมาทางทิศใต้ราว 11 กิโลเมตร เป็นวัดที่สำคัญที่สุดของเมืองเปรียบเสมือนมหาธาตุประจำเมือง รูปแบบของเจดีย์มีระเบียบโดยรวมเหมือนกับเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมทุกประการ มีส่วนที่แตกต่างอยู่ 2 ส่วนและนับเป็นส่วนสำคัญมาก คือ มีฐานบัวลูกแก้วอกไก่แบบเตี้ย เพิ่มมา 1 ฐาน และฐานเขียงกว้างมาก ซึ่งฐานส่วนนี้ไม่เคยปรากฏในเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเลย จากการเพิ่มฐานบัวทำให้ส่วนชั้นเขียนเหลือเพียง 3 ชั้น ซึ่งพิจารณาส่วนนี้น่าจะเป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นรุ่นหลังที่มีการบูรณะ เมื่อเพิ่มแล้วจึงมาลดชั้นเขียนเหลือเพียง 3 ชั้น อีกส่วนหนึ่งของรูปแบบที่เปลี่ยนไปเล็กน้อย คือ ส่วนฐานบัวที่รูปแบบโดยทั่วไปเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ 2 เส้น แต่ที่นี่เป็นลูกฟัก 2 เส้น ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน อาจจะเป็นการบูรณะผิดของคนในยุคหลังที่ไม่เข้าใจรูปแบบเดิมแล้ว ดังภาพที่ 5
ภาพที่ 5 เจดีย์วัดวังพระธาตุ
ส่วนวัดเจดีย์ทองและวัดสิงห์ ปัจจุบันสภาพพังทลายจนไม่สามารถศึกษาระเบียบได้อย่างละเอียด อาจกล่าวได้ว่าเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเมืองกำแพงเพชรนั้นมีหลักฐานสำคัญ คือ วัดพระบรมธาตุที่มีหลักฐานเดิมว่า เป็นเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมและมีจารึกที่พบในวัดนี้ คือจารึกหลักที่ 33 นครชุมที่กล่าวถึง พญาลิไทเสด็จมาประดิษฐานพระธาตุยังเมืองกำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 1900 จึงอาจเป็นข้อสันนิษฐานได้ว่า เจดีย์ที่พระองค์ทรงสถาปนาน่าจะเป็นเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูม ทำให้อาจกล่าวได้ต่อไปอีกกว่าทั้งวัดเจดีย์กลางทุ่ง และวัดเจดีย์ทองที่อยู่บริเวณเมืองนครชุมอันเป็นเมืองในสมัยสุโขทัย น่าจะสร้างขึ้นในระยะเวลาเดียวกันนี้หรืออาจจะหลังกว่าเพียงเล็กน้อย
2. ศาสนสถาน (สถาปัตยกรรม) สกุลช่างกำแพงเพชรหลังสมัยสุโขทัย[แก้ไข]
พบว่าภายหลังจากอาณาจักรสุโขทัยถูกผนวกกับกรุงศรีอยุธยาแล้ว เมืองสำคัญในช่วงนี้มาอยู่ที่กำแพงเพชรและพิษณุโลก แต่หลักฐานทางศิลปกรรมที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ในช่วงระยะเวลานี้พบหลักฐานค่อนข้างมากที่ เมืองกำแพงเพชร ได้แก่ กลุ่มเจดีย์ทรงระฆังที่การผสมผสานระหว่างเจดีย์แบบสุโขทัย ล้านนาและอยุธยา บทบาทของอยุธยาและล้านนาปรากฏอยู่ในพุทธศตวรรษที่ 21 สามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1 เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย-อยุธยา (ที่มีอิทธิพลศิลปะอยุธยา) : เจดีย์ที่มีสิงห์ล้อม เจดีย์วัดพระแก้วมีลักษณะโดยรวมที่ยังเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย คือ มีชุดบัวถลารองรับองค์ระฆัง และเป็นกลุ่มเจดีย์แบบพิเศษ คือ การมีช่องจระนำที่ฐานประดิษฐานพระพุทธรูปโดยรอบลักษณะเดียวกับเจดีย์วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย และ ที่ฐานมีการประดับสิงห์ล้อม (รูปที่ 6) โดยรูปแบบแล้วเหมือนกับช้างล้อม ปัจจุบันส่วนหัวสิงห์ชำรุดหายไปหมดแล้ว แต่สิ่งที่ทำให้ทราบว่าเป็นสิงห์โดยดูจากเท้าสิงห์ที่มีกรงเล็บยื่นออกมา ต่างจากเท้าช้างที่จะตรงๆ นอกจากนี้ยังดูจากเครื่องทรงของสิงห์คล้ายกับเครื่องทรงที่ปรากฏในเจดีย์สิงห์ล้อม สมัยอยุธยา ดังภาพที่ 6 และภาพที่ 7
ภาพที่ 6 เจดีย์วัดพระแก้ว
ภาพที่ 7 ฐานเจดีย์รูปสิงห์
เจดีย์วัดสิงห์สันนิษฐานได้ว่า ได้รับอิทธิพลมาจากอยุธยาเพราะในศิลปะสุโขทัยไม่พบว่ามีการทำเจดีย์ที่มีสิงห์ล้อมในลักษณะนี้ แต่พบอยู่ในศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้นกลุ่มหนึ่ง เช่น เจดีย์ที่วัดธรรมิกราช วัดแม่นางปลื้ม วัดสามวิหาร เป็นต้น ซึ่งกำหนดอายุว่าอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น เพราะลักษณะของสิงห์นั้นเป็นแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะเขมรสอดคล้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวว่าเจ้าสามพระยาได้เสด็จไปตีอาณาจักรกัมพูชาได้และมีการนำสิงห์และทวารบาล สำริด จากเมืองพระนคร มายังพระนครศรีอยุธยา แต่ในภายหลังเมื่อพระเจ้าบุเรงนองมาตีกรุงศรีอยุธยา ได้นำประติมากรรมชุดดังกล่าวไปไว้ยังเมืองพม่าจึงสันนิษฐานว่า การนำประติมากรรมรูปสิงห์มาประดับฐานเจดีย์แทนช้าง น่าจะเกิดขึ้นในรัชกาลเจ้าสามพระยาเป็นต้นมา เพราะทั้งลักษณะและรูปแบบบนั้นเหมือนกับประติมากรรมสิงห์สำริดในศิลปะเขมรนั้น กับอีกส่วนหนึ่งลวดลายที่ประดับสิงห์ เป็นลายแบบอยุธยาตอนต้นที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะเขมร คล้ายกับลายกรุยเชิง และสอดคล้องกับรูปแบบของเจดีห์ทรงระฆังในกลุ่มนี้ที่มีส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นขุดบัวคว่ำ-บัวหงายในผังแปดเหลี่ยม ซึ่งจัดเป็นงานศิลปะในสมัยอยุธยาตอนต้น ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นต้น
ภาพที่ 8 รูปแบบสันนิษฐานวัดสิงห์
(ที่มา : สันติ เล็กสุขุม, 2557)
กลุ่มที่ 2 เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย-ล้านนา : เจดีย์ที่มีฐานและส่วนรังรับองค์ระฆังแปดเหลี่ยม อิทธิพลศิลปะหริภุญชัย-ล้านนา รูปแบบเจดีห์วัดพระธาตุมีส่วนฐานที่แตกต่างจากที่พบอยู่ในศิลปะสุโขทัยโดยทั่วไป คือ มีชั้นฐานเขียนในผังแปดเหลี่ยมหลายชั้น รองรับฐานบัวคว่ำ-บัวหงาย ซึ่งมีถึง 2 ฐาน อยู่ในผังแปดเหลี่ยมฐานชั้นล่างประดับลูกแก้วอกไก่กลางท้อนไม้ 1 เส้น ลูกแก้วอกไก่มีขนาดใหญ่มาก แตกต่างจากที่พบ โดยทั่วไป ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษได้ โดยมีส่วนที่แตกต่าง คือเจดีย์องค์นี้มีชั้นบัวคว่ำ-บัวหงายในผังแปดเหลี่ยมเพิ่มขึ้นอีก 1 ชั้น เป็นฐานบังลูกแก้วอกไก่ที่มีการประดับลูกแก้ว 2 เส้น ซึ่งลักษณะฐานในผังแปดเหลี่ยมนี้ไม่ใช่ศิลปะสุโขทัยและลังกา อีกส่วนหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะล้านนา ได้แก่ บัลลังก์ในผังย่อมุมไม้สิบสองอันเป็นรูปแบบที่นิยมอยู่ในศิลปะล้านนาซึ่งมาจากสายเจดีย์ปาละ ส่วนสายเจดีย์สุโขทัยและอยุธยาจะเป็นผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ได้สืบต่อมาจากศิลปะลังกากล่าวโดยสรุป คือ เจดีย์องค์นี้มีการผสมผสานรูปแบบระหว่างล้านนากับสุโขทัยโดยมีแผนผังที่เป็นแบบอยุธยาตอนต้นแล้ว ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นถึงยุคสมัยที่สัมพันธ์กับเจดีย์วัดพระแก้วในสมัยอยุธยาตอนต้น ที่สุโขทัยน่าจะหมดอำนาจลงแล้ว เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองปากประตูที่ติดระหว่างล้านนากับอยุธยา จึงมีศิลปกรรมที่ผสมผสานกันทั้ง 3 สมัย คือ ที่เป็นแบบแผนดั้งเดิม คือ สุโขทัยและอยุธยาปนกับล้านนา และเจดีย์องค์นี้มีแรงบันดาลใจมาจากศิลปะล้านนามากกว่า
ภาพที่ 9 เจดีย์วัดพระธาตุ เมืองกำแพงเพชร
กลุ่มที่ 3 เจดีย์ทรงระฆังแบบสุโขทัย-ล้านนา-อยุธยา : เจดีย์ที่มีส่วนรองรับองค์ระฆังเป็นบัวคว่ำบัวหงายแบบล้านนา วัดช้างรอบตั้งอยู่ในเขตอรัญญิก ด้านทิศเหนือของเมืองกำแพงเพชร ถือเป็นวัดที่มีขนาดใหญ่มากวัดหนึ่งและน่าจะสร้างขึ้นตามคติของความเป็นศูนย์กลางจักรวาล กล่าวคือ มีการยกชั้นประทักษิณสูงมาก ทางขึ้นมีการประดับสิงห์และเทวดา รอบฐานประดับช้างโดยรอบ และที่ผนังทำเป็นงานปูนปั้นรูปต้นไม้ อาจหมายถึง คติของป่าหิมพานต์ มีช้างเป็นผู้ค้ำจุนจักรวาลมีสิงห์ที่เป็นสัญลักษณ์ของป่าหินพานต์และเทวดา เป็นทวารบาลหรือสัญลักษณ์ของสวรรค์ นอกจากนี้ทางนี้ทางขึ้นประทักษิณยังมีชุ้มประตูที่มียอดปราสาทอีทด้วย ที่มีลานประทักษิณทั้ง 4 มีการประดับเจดีย์จำลอง (สถูปิกะ) ที่ฐานเจดีย์บริเวณชั้นประทักษิณ มีแถวหงส์ โดย หงส์หมายถึง สัญลักษณ์ของสวรรค์ เช่นเดียวกัน เหมือนแถวหงส์มีประติมากรรมปูนปั้นเล่าเรืองพุทธประวัติที่แบ่งเป็นช่องๆ (ปัจจุบันชำรุดสูญหายเกือบหมดแล้ว) สำหรับรูปแบบเจดีย์ สภาพในบัจจุบันพังทลายลงมาเหลือตั้งแต่ฐานล่างขึ้นไปจนถึงชุดรองรับองค์ระฆังชั้นที่ 2 เท่านั้น แต่จากส่วนที่เหลือสามารถศึกษารูปแบบได้จากส่วนรองรับองค์ระฆัง ที่ทำเป็นชุดบัวคว่ำ-บัวหงายเตี้ยๆท้องไม้ประดับลูกฟัก 1 เส้นเต็มท้องไม้ น่าจะมี 3 ชั้น ตามระเบียบของเจดีย์ทรงระฆังทั่วไป และส่วนองค์ระฆังละยอดก็น่าจะเหมือนเจดีย์ทรงระฆังโดยทั่วไป ลักษณะสำคัญที่ช่วยในการกำหนดอายุได้ คือ ลวดลายประดับช้าง ได้พบว่าลายส่วนใหญ่เป็นลายพรรณพฤกษา คือ ลายดอกไม้ ใบไม้ มีลวดลายที่ใบระกาที่ส่วนคอช้าง ได้พบว่าลายส่วนคอช้างนั้นเหมือนกับลวดลายที่ผ้านุ่งของเทวรูปสำริดพระอิศวรที่พบที่เมืองกำแพงเพชร มีจารึกที่ฐานระบุ พ.ศ. 2053 ดังนั้นลวดลายนี้จึงน่าจะมีความสัมพันธ์กันและเป็นลายที่เกิดขึ้นในสมัยอยุธยาตอนต้น อายุของเจดีย์จึงน่าจะร่วมสมัยกับอายุพระอิศวรองค์นี้ คือในราวต้นถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 21 แล้ว
ภาพที่ 10 รูปรายละเอียดเจดีย์วัดช้างรอบ เมืองกำแพงเพชร
(ที่มา : ศักดิ์ชาย สายสิงห์, 2561)
งานปฎิมากรรม (พระพุทธรูป)[แก้ไข]
พระพุทธรูปสกุลช่างกำแพงเพชร กลางพุทธศตวรรษที่ 19 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 มีลักษณะ คือ เป็นรูปไข่ยาว พระนลาฏกว้าง พระหนุเสี้ยม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูงอย่างมาก และการทำพระขนงที่มีเส้นระหว่างขอบบนและขอบพระเนตรป้ายเป็นแผ่นใหญ่ๆ ซึ่งลักษณะเช่นนี้ได้รับความนิยมมาก ในพระพุทธรูปสมัยอยุธยา ดังนั้นสกุลช่างกำแพงเพชรนี้ส่วนหนึ่งคงมีความเกี่ยวข้องกับศิลปะอยุธยาที่เข้ามาผสมผสาน และลักษณะดังกล่าวนี้ได้เข้าไปปรากฏในพระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยาด้วยเช่นกัน จากการศึกษาพระพุทธรูปเมืองกำแพงเพชร ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1.พระพุทธรูปหมวดใหญ่ สมัยสุโขทัย[แก้ไข]
เป็นสกุลช่างกำแพงเพชรมีลักษณะย่อยที่สามารถแบ่งได้เป็นหมวดกำแพงเพชรตามที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป คือ พระพุทธรูปที่มีลักษณะเช่นเดียวกับพระพุทธรูปหมวดใหญ่ในสมัยสุโขทัยแต่ลักษณะเฉพาะของสกุลช่างกำแพงเพชร คือ พระนลาฏกว้าง และพระหนุเสี้ยม พระพักตร์ยาวอย่างมาก เมื่อพระพักตร์ยาวทำให้ส่วนต่างๆยาวหรือสูงตามไปด้วย ได้แก่ พระเศียร (ขมวดพระเกศา) สูง พระอุษณีษะสูง และพระรัศมีทรงสูงอย่างมากด้วยเช่นกัน ถ้าเทียบสัดส่วนกับพระพุทธรูปหมวดใหญ่โดยทั่วไปในศิลปะสุโขทัย จะมีขมวดพระเกศาเล็กกว่าหมวดใหญ่อย่างมากและใกล้เคียงกับพระพุทธรูปสมัยอยุธยา และได้พบว่าในหมวดกำแพงเพชรนี้ส่วนหนึ่งมีอิทธิพลของศิลปะอยุธยาเข้ามาผสม ได้แก่ การทำพระขนงที่ระหว่างพระขนงกับเส้นเปลือกพระเนตรที่ป้ายเป็นแผ่นโค้ง และพระโอษฐ์บางครั้งไม่หยักเป็นคลื่นแบบสุโขทัย แต่เป็นพระโอษฐ์ที่ยกริมพระโอษฐ์แบบอยุธยา ตัวอย่างพระพุทธรูปสำคัญคือ พระพุทธรูปสำริดพบจากวัดต่างๆ ในเมืองกำแพงเพชร จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร เช่น พระพุทธรูปปางมารวิชัย (ดังภาพที่ 11 และภาพที่ 12)
ภาพที่ 11 พระพุทธรูปปางมารวิชัย หมวดกำแพงเพชร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ภาพที่ 12 พระเศียรพระพุทธรูป หมวดกำแพงเพชร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
2. อิทธิพลพระพุทธรูปล้านนา[แก้ไข]
เป็นกลุ่มพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร ลักษณะโดยรวมแล้วแสดงให้เห็นถึงรูปแบบที่ผสมผสานระหว่างพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในศิลปะล้านนาและสุโขทัยอย่างแท้จริง โดยที่มีลักษณะเฉพาะแบบสุโขทัยปรากฏอยู่และเป็นลักษณะที่แตกต่างจากพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในศิลปะล้านนา คือ การประทับนั่งขัดสมาธิเพชรเป็นแบบสุโขทัยที่พระซงฆ์ไขว้กันชัดเจนเป็นสามเหลี่ยมและพระบาทลอยขึ้นไม่เรียบเสมอกันแบบล้านนา และมีชายผ้า 2 ชายซ้อนกัน ปลายม้วนคล้ายเขี้ยวตะขาบ อย่างไรก็ตามพระพักตร์ของพระพุทธรูปเมืองกำแพงเพชรกลับมีลักษณะที่ต่างไปจากสุโขทัยอย่างมาก คือ พระพักตร์เล็กพระโอษฐ์เล็ก ไม่ใช่พระโอษฐ์หยักเป็นครึ่งแบบสุโขทัย ส่วนพระวรกายค่อนข้างเล็กและป้อม จากลักษณะของการผสมผสานรูปแบบระหว่างล้านนากับสุโขทัยเป็นแบบพี่พัฒนาไปจากต้นแบบแล้ว ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นในช่องหลังกว่าที่พบที่สุทัย และสร้างขึ้นตามคติของพระพุทธสิหิงค์ในล้านนา ที่แพร่หลายอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 แล้ว โดยเฉพาะภายหลังจากสุโขทัยหมดอำนาจลงและผนวกเข้ากับอยุธยา เมืองกำแพงเพชรกลางเป็นเมืองศูนย์กลางการติดต่อกันระหว่างล้านนากับอยุธยา โดยได้พบงานศิลปกรรมทั้งเจดีย์และพระพุทธรูปที่มีการผสมผสานกันระหว่างศิลปะล้านนากับศิลปะอยุธยาอย่างแท้จริง ดังภาพที่ 13
ภาพที่ 13 พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
3. อิทธิพลศิลปะอยุธยา[แก้ไข]
เป็นพระพุทธรูปสุโขทัยได้รับอิทธิพลศิลปะอยุธยามีลักษณะของการทำพระขนงป้าย หรือลักษณะพระโอษฐ์ที่เป็นแบบอยุธยา และที่เป็นกลุ่มพระพุทธรูปแบบอยุธยา ได้แก่ พระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 และแบบอู่ทองรุ่นที่ 3 พระพุทธรูปดังกล่าวมีลักษณะสำคัญของพระพุทธรูปแบบอู่ทอง ได้แก่ การมีไรพระศก ขมวดพระเกศาเป็นเกลียวเล็กมาก พระรัศมีเป็นเปลวสูงอย่างมาก ประทับนั่งบนฐานหน้ากระดานหรือฐานบัวที่เว้าเป็นร่อง ส่วนที่เป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทองรุ่นที่ 2 คือ พระพักตร์สี่เหลี่ยมสีพระพักตร์ถมึงทึง ส่วนที่เป็นแบบอู่ทองรุ่นที่ 3 คือพระพักตร์ยาวและมีลักษณะเดียวงกับพระพุทธรูปหมวดใหญ่สมัยสุโขทัย เพียงแต่มีส่วนทีแตกแต่งอย่างมากคือ ขมวดพระเกศาเล็กมาก พระรัศมีเป็นเปลวสูงอย่างมาก มีไรพระศก เป็นต้น ดังภาพที่ 14
ภาพที่ 14 ศิลปะพระพุทธรูปปางมารวิชัย อิทธิพลศิลปะอยุธยา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
บทสรุป[แก้ไข]
จากการศึกษา ศิลปกรรมสกุลช่างกำแพงเพชร รับอิทธิพลรูปแบบที่ผสมผสานจากศิลปะสกุลช่างต่างๆ ทั้งสุโขทัย อยุธยาและล้านนา ด้วยเพราะเป็นเมืองปากประตู ที่อยู่กึ่งกลางการสัญจรค้าขายระหว่างอยุธยาและล้านนา จนเกิดศิลปกรรมที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์ของกำแพงเพชร โดยการศึกษาพบว่าศิลปะสกุลช่างเมืองกำแพงเพชรมี 2 รูปแบบดังนี้ 1.ศาสนสถาน(สถาปัตยกรรม) ในสมัยสุโขทัยกับหลังสมัยสุโขทัย 2.งานปฏิมากรรม (พระพุทธรูป) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันศิลปกรรมสกุลช่างกำแพงเพชรบางส่วนได้มีสภาพผุพังและทลายไปตามกาลเวลา จนไม่สามารถพบเห็นรูปแบบรายละเอียดเดิมได้อย่างครบถ้วน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการศึกษาศิลปกรรมสกุลช่างกำแพงเพชร ทั้งนี้เพื่ออนุรักษ์ สืบสาน ภูมิปัญญาของชาวกำแพงเพชรให้คงอยู่สืบไป