ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัตลักษณ์จังหวัดกำแพงเพชร ระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(แนวทางการสร้างสรรค์ระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา)
แถว 13: แถว 13:
 
== แนวทางการสร้างสรรค์ระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา ==
 
== แนวทางการสร้างสรรค์ระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา ==
 
           การสร้างสรรค์ผลงานระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา มีชาวไทยภูเขาพำนักอยู่ที่อำเภอคลองลานมีมากมายหลายเผ่าแต่สำหรับการแสดงชุดนี้ได้คัดสรรเลือกจำนวน 6 เผ่า มาจัดสร้างเป็นชุดการแสดงคือ เผ่าม้ง เผ่าลีซอ เผ่ามูเซอ เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าเย้า และเผ่าอีก้อ ดังภาพที่ 1
 
           การสร้างสรรค์ผลงานระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา มีชาวไทยภูเขาพำนักอยู่ที่อำเภอคลองลานมีมากมายหลายเผ่าแต่สำหรับการแสดงชุดนี้ได้คัดสรรเลือกจำนวน 6 เผ่า มาจัดสร้างเป็นชุดการแสดงคือ เผ่าม้ง เผ่าลีซอ เผ่ามูเซอ เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าเย้า และเผ่าอีก้อ ดังภาพที่ 1
[[ไฟล์:ภาพที่ 1 การแต่งกายชาวไทยภูเขา.jpg|thumb|center]]
+
[[ไฟล์:ภาพที่ 1 การแต่งกายชาวไทยภูเขา.jpg|400px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 1 การแต่งกายชาวไทยภูเขา''' </p>
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 1 การแต่งกายชาวไทยภูเขา''' </p>
 +
 
== เพลงประกอบการแสดง ==
 
== เพลงประกอบการแสดง ==
 
           เนื้อเพลง ระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา ประพันธ์โดย 
 
           เนื้อเพลง ระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา ประพันธ์โดย 

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:22, 24 ธันวาคม 2563

บทนำ

         การศึกษาอัตลักษณ์จังหวัดกำแพงเพชรระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ชนเผ่าชาวไทยภูเขาที่ปรากฏอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร 2) เพื่อสร้างสรรค์ระบำชุดใหม่ 1 ชุด โดยการศึกษาข้อมูลประวัติวิถีชีวิต เครื่องแต่งกาย การละเล่นและความเป็นมาของชนเผ่าชาวไทยภูเขาที่ปรากฏอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรพบว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ 6 ชนเผ่า จำนวน 37,682 คน ประกอบด้วย ชนเผ่าชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ชนเผ่าชาวไทยภูเขาเผ่าเมี่ยน ชนเผ่าชาวไทยภูเขาเผ่าปกาเกอะญอ ชนเผ่าชาวไทยภูเขาเผ่าลาหู่ ชนเผ่าชาวไทยภูเขาเผ่าลีซู และชนเผ่าชาวไทยภูเขาเผ่าลัวะ (ชนเผ่าชาวไทยภูเขาเผ่าอีก้อมีจำนวนน้อยมาก)
         จากการศึกษาการแสดงชาวไทยภูเขา 6 เผ่า คือ ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง (แม้ว) ชาวไทยภูเขาเผ่าเย้า (เมี่ยน) ชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอ (ลาหู่)  ชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) ชาวไทยภูเขาเผ่าลีซอ (ลีซู) ชาวไทยภูเขาเผ่าอีก้อ (อาข่า) รูปแบบของการแสดงมีองค์ประกอบคือ 1) การตีท่ารำตามคำร้องตามลักษณะ   ที่สื่อความหมายของท่ารำได้อย่างเหมาะสม 2) เครื่องแต่งกาย แต่งสวยงามตามลักษณะของชนเผ่าชาวไทยภูเขาของแต่ละชนเผ่า 3) มีการแปลแถวเพื่อให้เกิดความสวยงามตามรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ไทย 4) เพลงประกอบ   การแสดงเลียนเสียงของชนเผ่าชาวไทยภูเขาโดยใช้วงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ
         ความโดดเด่นของการแสดงชุดนี้อยู่ที่เครื่องแต่งกายมีความงดงาม รูปแบบการแสดงที่ไม่ซับซ้อน ความหมายของเพลงที่ดีและสร้างสรรค์ มุ่งเน้นให้เกิดความรักความสามัคคีในความเป็นชนชาติไทย
         ระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขาเป็นการแสดงที่ประดิษฐ์หรือเรียกได้ว่าเป็นนาฏยประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นแต่มีความหมายเป็นการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ได้ในเชิงสื่อความหมายเป็นการแสดงของจังหวัดกำแพงเพชร และการแสดงระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา ได้ใช้ในการสืบสานงานวัฒนธรรมสื่อความเป็นจังหวัดกำแพงเพชร  ในหลายโอกาสเช่นงานต้อนรับแขกที่มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชรและในโอกาสเผยแพร่งานศิลปะและวัฒนธรรมในท้องถิ่นและในระดับชาติและเป็นการแสดงอีกชุดหนึ่งที่ควรจะถ่ายทอดองค์ความรู้ วิธีการแสดงให้สู่รุ่นเยาวชนเพื่อให้การแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรต่อไป

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

         จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองมรดกโลกมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางด้านธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม โบราณสถานที่สำคัญหลายแห่งนับว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวเมืองหนึ่งของประเทศไทย ทุกภาคส่วนจึงมีแนวคิดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทุกด้าน ด้านศิลปะการแสดงก็มีแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานระบำชุดใหม่เพื่อแสดงให้กับนักท่องเที่ยวได้รับชมและยังสร้างผลงานการแสดงให้โดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดกำแพงเพชร ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนาและสร้างสรรค์ระบำชุดรวมเผ่าชาวเขาขึ้นเพื่อใช้เป็นการแสดงในการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม และยังสามารถพัฒนาเป็นระบำที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชร

แนวทางการพัฒนาชุดระบำรวมเผ่าชาวเขา

         การพัฒนาชุดระบำรวมเผ่าชาวเขาเพื่อเป็นการแสดงชุดหนึ่งทีเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดกำแพงเพชร มีขั้นตอนดังนี้
         ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาประวัติความเป็นมา ประเพณี วิถีชีวิต ของชนเผ่าที่อาศัยอยู่ อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
         ขั้นตอนที่ 2 ศึกษารูปแบบการสร้างสรรค์งานออกแบบการแสดงระบำชุดใหม่ ออกแบบท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกาย การแปรรูปแบบแถวการแสดง รวมทุกองค์ประกอบของการแสดง
         ขั้นตอนที่  3 นำผลงานออกแสดงเผยแพร่

แนวทางการสร้างสรรค์ระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา

         การสร้างสรรค์ผลงานระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา มีชาวไทยภูเขาพำนักอยู่ที่อำเภอคลองลานมีมากมายหลายเผ่าแต่สำหรับการแสดงชุดนี้ได้คัดสรรเลือกจำนวน 6 เผ่า มาจัดสร้างเป็นชุดการแสดงคือ เผ่าม้ง เผ่าลีซอ เผ่ามูเซอ เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าเย้า และเผ่าอีก้อ ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 การแต่งกายชาวไทยภูเขา.jpg

ภาพที่ 1 การแต่งกายชาวไทยภูเขา

เพลงประกอบการแสดง

         เนื้อเพลง ระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา ประพันธ์โดย  	
         - อาจารย์สำรวม  ฉ่ำกมล  อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย (ในสมัยนั้น)    
         - อาจารย์สราวุธ  สุขกมล  ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ภาพที่ 2 เนื้อเพลง.jpg

ภาพที่ 2 เนื้อเพลง “ระบำรวมเผ่าชาวเขา”

การกระจายพำนักอยู่ของชาวเขา

         นักมนุษยวิทยา ชื่อกอร์ดอน แบ่งชาวเขาในไทยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 
         1. กลุ่มเอเชียตะวันออก [Austro Asiatic] มีทิศทางการอพยพจากใต้ขึ้นเหนือ และอาศัยอยู่ใน ประเทศไทยก่อนชนชาติไทยจะอพยพลงมาตั้งอาณาจักร ได้แก่ ละว้า ขมุ ฮ่อ ถิ่น และผีตองเหลือง
         2. กลุ่มจีน - ทิเบต [Sino-Tebetan Stock] ที่มีทิศทางการอพยพจากเหนือลงมาใต้ คือ อพยพลงมาจากจีน พม่า ลาว เข้าสู่ประเทศไทย หลังจากที่ชนชาติไทย ได้ตั้งอาณาจักรขึ้นมาแล้ว และกลุ่มนี้ยังแบ่งได้เป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ กลุ่มทิเบต - พม่า [Tibeto - Berman] ได้แก่ เผ่าอีก้อ มูเซอ กะเหรี่ยง และกลุ่มจีนเดิม [Main Chinase] ได้แก่ เผ่าแม้ว และเย้า
             - ภาคเหนือตอนบน เป็นภูมิภาคที่ชาวเขาอาศัยอยู่มากที่สุด เพราะมีสภาพภูมิอากาศ หนาวเย็น มีเทือกเขาสลับซับซ้อนมากมาย สามารถปลูกฝิ่นได้ง่าย และสะดวกต่อการซื้อ ขายฝิ่น ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ลำพูน แพร่ พะเยา และลำปาง
             - ภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และกำแพงเพชร โดย 2 ใน 3 ของจำนวนชาวเขาในส่วนนี้ เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ในจังหวัดตาก
             - ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันตก มีชาวเขาอาศัยอยู่ใน 7 จังหวัดคือ กาญจนบุรี อุทัยธานี ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และนครสวรรค์ ร้อยละ 95 เป็น ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง
             - ชาวเขาเผ่าอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ แม้ว มูเซอ เย้า อ่าข่า(อีก้อ) และลีซอ โดยจะกล่าวถึงชาวเขา เผ่าที่สำคัญ 6 เผ่า ดังนี้ กะเหรี่ยง [Karen] , แม้วหรือม้ง [Hmong] , มูเซอ [Lahu] (พรานป่า) , เย้า [Yao] , อีก้อ [Akha] เรียกตัวเองว่า อาข่า , ลีซอ [Lisu]
             - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือที่จังหวัดเลย เป็นจังหวัดเดียวที่มีชาวเขาอาศัยอยู่ ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าแม้วที่อพยพหนีภัยมาจากประเทศลาว จากการกระจายตัวของชาวเขา พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของชาวเขาในประเทศไทย เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ซึ่งมีประชากร รวมประมาณ 200,000 คน จากจำนวนประชากรชาวเขาทั้งสิ้นประมาณ 400,000 คน ทั่วประเทศ จึงได้มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรง ในหลายแห่ง เช่น ในเมืองพังหยุนในปี พ.ศ.2009 และการต่อสู้ในมณฑลไกวเจาในระหว่าง พ.ศ. 2276 - 2278 และการต่อสู้ในมณฑลเสฉวนในระหว่าง พ.ศ. 2306 – 2318 ในที่สุด ชาวม้งประสบกับความพ่ายแพ้ สูญเสียพลรบ และประชากรเป็นจำนวนมาก ในที่สุดม้งก็เริ่มอพยพถอยร่นสู่ ทางใต้ และกระจายเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลับขึ้นอยู่บนที่สูงป่าเขาในแคว้นสิบสองจุไทย สิบสองปันนา และอีกกลุ่มได้อพยพไปตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรลาวบริเวณทุ่งไหหินเดียนเบียนฟู โดยมีหัวหน้าม้งคนหนึ่ง คือ นายพลวังปอ ได้ราบรวมม้ง และอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2400 เศษ เป็นต้นมา

เผ่าม้ง

         ปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 151,080 คน

การแต่งกาย

         ผู้หญิง ใส่กระโปรง ทอด้วยป่านใยกัญชง (ต้นคล้ายกัญชา แต่ดอกและใบใช้สูบไม่ได้) การทำกระโปรงของหญิงม้ง โดยการใช้เล็บสะกิดใยกัญชงออกเป็นเส้น แล้วฝั่นต่อกันเป็นม้วนใหญ่ นำไปฟอกด้วยน้ำด่างขี้เถ้าจะได้ด้ายสีขาวอมเหลือง นำไปทอเป็นผ้ามีผิวสัมผัสหยาบหนา แต่นุ่มเป็นมัน มีความกว้างประมาณ 40 เซนติเมตร นำไปเขียนด้วยขี้ผึ้ง เป็นลวดลายเรขาคณิต นำไปย้อมสีน้ำเงินอมดำ แล้วนำไปต้มให้ขี้ผึ้งละลาย เป็นการทำบาติกแบบโบราณนำผ้าที่ย้อม แล้วมาพับเป็นพลีทเล็ก ๆ แล้วใช้ไม้กดทับไว้ให้จีบอยู่ตัว แล้วใช้ด้ายร้อยจีบ เอว ใช้ผ้าสีต่าง ๆ กุ๊นตกแต่งกระโปรง และ ปักด้วยด้ายสีต่างๆ เสื้อเอวเกือบจะลอย แขนยาว มีปกเสื้อด้านหลัง ผ่าหน้า หรือทับไปทางซ้ายทำด้วยผ้าสี ดำ มีตกแต่งลวดลาย ผ้าคาดเอวสีดำ มีพู่แดงเป็นชายครุย มีสนับแข็งสีดำ ผมขมวดเป็นมวย ใส่ หมวดผ้าหรือโพกผ้าสีดำ ใส่ต่างหูเงิน ห่วงคอทำด้วยเงิน 3-4 วงซ้อนกัน ด้านหลังเสื้อตกแต่ง ด้วยเหรียญเงินเก่า 
         ผู้ชาย นุ่งกางเกงดำเป้าต่ำ เสื้อดำแขนยาว เอวลอย (มีเสื้อข้างในสีขาว) ผ้าคาดเอวสี แดง คาดทับด้วยเข็มขัดเงิน ห่วงเงินคล้องคอ 1 ห่วง หมวกผ้าดำมีจุกแดงตรงกลาง
         แม้วเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อยู่ในประเทศจีนซึ่งชอบอพยพโยกย้ายที่อยู่ไปเรื่อยๆ แม้ว เป็นคำที่ใช้เรียกกันทั่วไป ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า “เมี้ยว” ชาวเขาเผ่าแม้วจะเรียกตัวเองในหมู่พวก เดียวกันว่า “ม้ง” 

ม้งแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย

         ม้งขาว
             - หญิง สวมกระโปรงผ้าป่านดิบยาวลงมาถึงหัวเข่า มีผ้าพันหน้าแข้งตั้งแต่ข้อเท้ถึงหัวเข่า แต่ปัจจุบันนี้หันมาใส่กางเกงสีดำกว้าง ๆ แบบจีน คาดเอวด้วยผ้าสีแดง ปล่อยชายผ้าสี่เหลี่ยมทิ้งยาวลงมาด้านหน้าและด้านหลัง คอปกเสื้อกว้างแบบทหารเรือ โพกหัวด้วยผ้าสีคราม หรือสีดำ 
             - ชาย นุ่งกางเกงดำกว้าง ๆ เป้าหย่อนลงมาไม่มากนัก สวมเสื้อป้ายอกมีผ้าคาดเอว
         ม้งเขียว
             - หญิง ยังสวมกระโปรงสีฟ้าแก่ ประดับลายภาพวาดด้วยขี้ผึ้งและมีปักลวดลายในส่วนล่างของกระโปรง มีผ้าคาดเอวสีแดง ผ้าห้อยลงมาสีดำ เสื้อเป็นสีต่างๆ คอปกเสื้อเล็กกว่าม้งขาว 4 นิ้ว ขอบปกเป็นรูปโค้ง ไม่มีผ้าโพกหัว แต่มีผ้าถักบาง ๆ แถบเป็นลายดอกไม้สีแดง พันรอบมวยผม 
             - ชาย ใส่กางเกงดำเหมือนม้งขาว แต่เป้ากางเกงหย่อนลงมาจนเกือบถึงพื้นดินแบบอาหรับ ปลายขารัดที่ข้อเท้า สวมหมวกทำด้วยผ้าแพรต่วน ไม่มีขอบ 
         ม้งดำ 
             ส่วนม้งดำนั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีในประเทศไทย ในลาวจะมีน้อยมาก เพราะเป็นการยากที่จะแยกว่า เป็นม้งดำ เพราะจะรับทั้งแบบการแต่งกายและภาษาจากม้งขาวและเขียวไว้ ส่วนมากจะเรียกตามสีของเสื้อผ้าที่สวมใส่

เผ่าเย้า

         มักจะอยู่บนไหล่เขา ใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน มุงหลังคาด้วยหญ้าคา ฝาบ้านเป็นไม้เนื้ออ่อน ภาษาคล้ายภาษาจีนกลางมาก บางคำคล้ายแม้ว

การแต่งกาย

         - หญิง นุ่งกางเกงสีน้ำเงินหรือปนดำ เนื้อผ้าหยาบ ด้านหน้าของกางเกงปักด้วยลวดลาย เป็นดอกดวงละเอียดสวยงาม เสื้อเป็นเสื้อคลุมคอแหลมรูปตัววี สีดำหรือสีน้ำเงินเข้มยาวถึงข้อเท้า ผ่าด้านหน้าตลอดติดไหมพรมสีแดงที่อกเสื้อรอบคอลงมาถึงหน้าท้อง เสื้อผ่าด้านข้างทั้ง 2 ข้าง ตั้งแต่เอวลงไป เวลาสวมชายผ้าด้านหน้าทั้งสองแฉกไขว้กัน และพันรอบเอวไปผูกเงื่อนด้านหลัง ส่วนแผ่นหลังปล่อยไว้ อกเสื้อกลัดติดกันด้วยแผ่นเงินสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดหัวเข็มขัด ผมจะทา ด้วยขี้ผึ้งเหนียว และพันด้วยผ้าสีแดงทับด้วยผ้าสีน้ำเงินปนดำ ชายทั้งสองข้างปักด้วยลวดลายดอกดวงที่งดงาม เวลาแต่งงานจะมีเครื่องประดับผมที่สวยงามแผ่นใหญ่คลุมบนผ้าโพกผมอีกที เครื่องประดับทำด้วยเงิน ต่างหูเป็นวงกลม มีศรผ่ากลาง ห่วงคอมีตั้งแต่ 1-5 ห่วง มีกำไลข้อมือ แหวน
         การโพกศีรษะของสตรีเย้ามี 2 แบบ 
             - แบบหัวโต นิยมใช้สีหนักออกไปทางสีแดงมาก เรียกว่า เย้าแดง (เมี่ยนซิ) 
    	     - แบบหัวแหลม นิยมใช้สีหนักออกไปทางสีเขียว เรียกว่า เย้าขาว (เมี่ยน – แปะ)
         - ชาย นุ่งกางเกงสีดำ หรือน้ำเงินเข้มคล้ายกางเกงจีน ขอบขากางเกงขลิบด้วยไหมสีแดง สวมเสื้อดำหรือน้ำเงินเข้ม (นิยมใช้ผ้าแพร) ผ่าอกไขว้ไปข้าง ๆ เล็กน้อย มีลวดลายติดอยู่เป็นแถบตามแนวที่ผ่าลงมาติดกระดุมเงินเป็นรูปกลม ๆ ที่คอตามแนวไปรักแร้ลงไปที่เอว เสื้อยาว คลุมเอวไม่สั้น เหมือนแม้ว เครื่องประดับ ใส่ต่างหูเงินเป็นรูปกลม ตรงกลางมีลูกศรชี้ลงมา ไม่สวมกำไลมือและ ห่วงคอ