ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รำแม่ศรีจังหวัดกำแพงเพชร"
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (→ประวัติและความเป็นมา) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (→เพลงที่ใช้ในการแสดง) |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 20: | แถว 20: | ||
เพลงประกอบในภาพยนตร์เรื่องนี้ประพันธ์โดย ชาลี อินทรวิจิตร-อ.กวี สัตโกวิท และขับร้องโดย สมบัติ เมทะนี, ชรินทร์ นันทนาคร, สวลี ผกาพันธุ์, ฉลอง สิมะเสถียร, รอง เค้ามูลคดี, ประสานศรี สิงหานนท์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เพิ่มสีสันด้วยการใส่ฉากเพลง 35 มม. ประกอบเรื่องเอาไว้ ซึ่งเป็นธรรมเนียมนิยมของหนังไทยหลายเรื่องในยุคก่อนที่จะกลายเป็นยุคฟิล์ม 35 มม. อย่างเต็มตัว โดยเวลาฉายในโรงภาพยนตร์ ตัวหนังซึ่งเป็นฟิล์ม 16 มม. จะฉายด้วยเครื่องฉาย 16 มม. โดยมีนักพากย์คอยพากย์เสียงสดๆ แต่เมื่อถึงฉากเพลงซึ่งมีเสียงเพลงในฟิล์ม จะสลับไปฉายด้วยเครื่องฉาย 35 มม. บางครั้งหนัง 16 มม. ที่มีฉากเพลง 35 มม. แบบนี้มักเรียกล้อเล่นกันในวงการว่า หนัง 51 มม. (16+35) ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของ มาลาริน บุนนาค เป็นบุตรของ ธิดา บุนนาค (เบีย, 2562) | เพลงประกอบในภาพยนตร์เรื่องนี้ประพันธ์โดย ชาลี อินทรวิจิตร-อ.กวี สัตโกวิท และขับร้องโดย สมบัติ เมทะนี, ชรินทร์ นันทนาคร, สวลี ผกาพันธุ์, ฉลอง สิมะเสถียร, รอง เค้ามูลคดี, ประสานศรี สิงหานนท์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เพิ่มสีสันด้วยการใส่ฉากเพลง 35 มม. ประกอบเรื่องเอาไว้ ซึ่งเป็นธรรมเนียมนิยมของหนังไทยหลายเรื่องในยุคก่อนที่จะกลายเป็นยุคฟิล์ม 35 มม. อย่างเต็มตัว โดยเวลาฉายในโรงภาพยนตร์ ตัวหนังซึ่งเป็นฟิล์ม 16 มม. จะฉายด้วยเครื่องฉาย 16 มม. โดยมีนักพากย์คอยพากย์เสียงสดๆ แต่เมื่อถึงฉากเพลงซึ่งมีเสียงเพลงในฟิล์ม จะสลับไปฉายด้วยเครื่องฉาย 35 มม. บางครั้งหนัง 16 มม. ที่มีฉากเพลง 35 มม. แบบนี้มักเรียกล้อเล่นกันในวงการว่า หนัง 51 มม. (16+35) ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของ มาลาริน บุนนาค เป็นบุตรของ ธิดา บุนนาค (เบีย, 2562) | ||
จากการสัมภาษณ์นางนิชรา พรมประไพ (การสัมภาษณ์, 24 ตุลาคม 2565) พบว่า นางนิชรา พรมประไพ เป็นวิทยากรท้องถิ่นสอนนักเรียนมีพื้นเพเป็นคนนครชุมตั้งแต่เกิดได้เห็นงานวิจัยการรำแม่ศรีทำให้ความสนใจและไม่อยากให้การรำแม่ศรีของชาวนครชุมหายไปนางนิชรา พรมประไพ จึงนำการรำแม่ศรีมาสอนเด็กที่โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม และยังพาเด็กๆไปร่วมโชว์ในงานต่างๆของจังหวัดหรือชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้กับเด็กๆ ปัจจุบันที่การรำแม่ศรีไม่เป็นที่นิยมนางนิชรา พรประไพจึงนำการรำแม่ศรีมาประยุกต์เป็นการรำเปิดการแสดงที่มีการแสดงต่าง ๆ รวมอยู่ อาทิ ระบำคล้องช้าง ลิเกป่า รำโทน เพื่อไม่ให้ทุกคนลืมศิลปวัฒนธรรมที่สวยงามอ่อนช้อย และคณะศักดิ์ทองเสียงทิพย์ชมรมของมหาลัยราชภัฏกำแพงเพชรยังมีการอนุรักษ์โดยนำการแสดงมาโชว์ในงานมหรสพและงานประจำปีที่มุ่งเน้นทางวัฒนธรรม | จากการสัมภาษณ์นางนิชรา พรมประไพ (การสัมภาษณ์, 24 ตุลาคม 2565) พบว่า นางนิชรา พรมประไพ เป็นวิทยากรท้องถิ่นสอนนักเรียนมีพื้นเพเป็นคนนครชุมตั้งแต่เกิดได้เห็นงานวิจัยการรำแม่ศรีทำให้ความสนใจและไม่อยากให้การรำแม่ศรีของชาวนครชุมหายไปนางนิชรา พรมประไพ จึงนำการรำแม่ศรีมาสอนเด็กที่โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม และยังพาเด็กๆไปร่วมโชว์ในงานต่างๆของจังหวัดหรือชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้กับเด็กๆ ปัจจุบันที่การรำแม่ศรีไม่เป็นที่นิยมนางนิชรา พรประไพจึงนำการรำแม่ศรีมาประยุกต์เป็นการรำเปิดการแสดงที่มีการแสดงต่าง ๆ รวมอยู่ อาทิ ระบำคล้องช้าง ลิเกป่า รำโทน เพื่อไม่ให้ทุกคนลืมศิลปวัฒนธรรมที่สวยงามอ่อนช้อย และคณะศักดิ์ทองเสียงทิพย์ชมรมของมหาลัยราชภัฏกำแพงเพชรยังมีการอนุรักษ์โดยนำการแสดงมาโชว์ในงานมหรสพและงานประจำปีที่มุ่งเน้นทางวัฒนธรรม | ||
+ | =='''ขั้นตอน/ วิธี /กระบวนการ'''== | ||
+ | การรำแม่ศรีฉบับปัจจุบันการเข้าทรงแม่ศรีที่บ้านปากคลองแตกต่างจากการเข้าทรงแม่ศรีหรือการรำแม่ศรี ที่อื่นๆครูมาลัยชู พินิจ เขียนไว้ในนวนิยายทุ่งมหาราชเรื่องเล่าในบ้านปากคลองว่า สาวงามที่ชาวบ้านคัดเลือกให้เป็นแม่ศรีในวันสงกรานต์เสียงเพลงร้องจากรอบวง วนไปหลายหลายรอบเสียงเย็นจับใจเมื่อกะลาหมุนแสดงว่าแม่ศรีเข้าแล้วเมื่อกะลาหยุดหมุนแม่ศรีจะลุกขึ้นรำโดยไม่รู้ตัวรำไปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยตามเสียงเพลง จะรำจนเหนื่อยและสนุกสนานทั้งวงเมื่อเพื่อนสนิทเห็นว่านานเกินไปจะเข้าไปจับไหล่แล้วร้องว่า กระตู้วู้ข้างหูแม่สีจะออกคนเข้าส่งจะไม่ทราบเลยว่าตัวเองทำอะไรลงบ้างการเข้าทรงแม่สีเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของชาวปากคลองในการคัดเลือกสาวงามและการเลือกคู่ครองในวันสงกรานต์ปัจจุบันยังมีการสืบทอดอยู่บ้างแต่เป็นการเล่าเรื่องเสียแล้วมิใช่เป็นการค่าส่งเหมือนสมัยก่อน (กาญจนา จันทร์สิงห์, 2563) | ||
+ | จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า การเข้าทรงแม่ศรีที่บ้านปากคลองนั้นต่างจากการเข้าเข้าทรงแม่ศรีที่อื่นๆที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยแต่จะเหมือนกันตรงที่ใช้สาวงามในหมู่บ้านมารำหรือหญิงสาวที่สวยที่สุดในหมู่บ้าน | ||
+ | วิธีเล่น เมื่อจุดธูปเชิญผีแล้ว ก็ผูกผ้าปิดตาผู้อาสาเชิญผีเข้า ต่อมาจึงร้องเพลงเชิญผี เชิญผีชนิดใด ก็ร้องเพลงของผีชนิดนั้นๆ เนื้อความของเพลงที่ร้อง จะร้องกันมาแต่โบราณ ร้องซ้ำๆ กัน หลายๆ ครั้ง จนผู้อาสาให้ผีเข้าเริ่มโงนเงนแสดงว่า ผีมาแล้ว ผู้ร่วมเล่นจะร้องเพลงเชิญชวนให้ ร่ายรำกระโดดโลดเต้น และวิ่งไปมา หรือไล่ จับกันไปตามอิริยาบถของลักษณะผีเมื่อเล่นเป็น ที่พอใจแล้วประสงค์จะให้ผีออก ก็ร้องตะโกนที่หู หรือผลักให้ล้มกระโดดข้ามตัวผู้อาสาเชิญไปมา 3 เที่ยว ผู้อาสาเชิญผีเข้าก็จะรู้สึกตัวเป็นปกติ (กาญจนา จันทร์สิงห์, 2563) | ||
+ | จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า วิธีเล่นจุดธูปเชิญผีแล้ว ก็ผูกผ้าปิดตาผู้อาสาเชิญผีเข้าแล้วร้องเพลงเชิญผีวนซ้ำๆ จนผีเข้าร่างแล้วก็ร้องรำจนเหนื่อย จึงร้องตะโกนให้ผีออกจากร่าง | ||
+ | =='''ท่าการแสดงจำเพาะ'''== | ||
+ | ในการประดิษฐ์ท่ารำ ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำต้องมีความสามารถในการตีความหมายของบทร้อง บทประพันธ์ต่างๆ เพื่อให้สามารถประดิษฐ์ท่ารำได้สัมพันธ์กับบทร้อง ขั้นตอนที่ใช้ประดิษฐ์เริ่มจาก | ||
+ | 1. ศึกษาบทที่แสดง โดยการอ่านบทละคร พิจารณาเรื่องราวและบทบาทของตัวละคร ความรู้สึก อารมณ์ แล้วนำมาประดิษฐ์เป็นท่ารำ | ||
+ | 2. การเลือกใช้ท่ารำสอดคล้องกับความหมาย เป็นการเลือกใช้ท่ารำในแม่บทมาประดิษฐ์เป้นท่ารำ เพื่อสื่อความหมายตามบทร้องให้เป็นแบบแผนทางนาฏศิลป์ ในการเลือกใช้ท่ารำ มีรูปแบบดังนี้ | ||
+ | 2.1 ท่ารำตามแม่บท เป็นการนำท่ารำในแม่บทมาประดิษฐ์ท่ารำเพื่อสื่อความหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง อุดมสมบูรณ์ ท่าเฉิดฉิน สื่อความหมายถึงความงามเช่น ท่าพนมมือ บ่งบอกถึงการเข้าทรงของแม่ศรี ท่าจีบคว่ำ จีบหงาย บ่งบอกถึงการแสดงทางร่ายกายและความสวยงามท่ารำแล้วหมุนเป็นวงกลม บ่งบอกถึงการลอยละล่อง ตามเนื้อเพลงข้างต้น ท่าชี้นิ้วบ่งบอกทิศทาง ผู้สืบค้นคือ แม่เฟี้ยมกิตติขจร แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุมอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร (กาญจนา จันทร์สิงห์, 2561) | ||
+ | จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า การเลือกใช้ท่ารำสอดคล้องกับความหมายเป็นการเลือกใช้ท่ารำในแม่บทมาประดิษฐ์เป็นท่ารำ เพื่อสื่อความหมายตามบทร้องให้เป็นแบบแผนทางนาฏศิลป์ | ||
+ | [[ไฟล์:9-1.jpg|200px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 1''' แม่เฟี้ยม กิตติขจร ผู้คิดค้นรำแม่ศรี </p> | ||
+ | =='''เพลงที่ใช้ในการแสดง'''== | ||
+ | ในสมัยนั้น มีวงดนตรี 3 ประเภท เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา คือ วงปี่พาทย์ วงมโหรี และวงเครื่องสาย แต่มีเครื่องดนตรีของชาติต่างๆ เข้ามาในประเทศไทยหลายชนิด ดังปรากฏในหมายกำหนดการของพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นว่า “ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิณพาทย์ไทย พิณพาทย์รามัญ มโหรีไทย ฝรั่ง มโหรีญวน เขมร ผลัดเปลี่ยนกันสมโภช 2 เดือนกับ 12 วัน” ในงานสมโภชพระแก้วมรกต เป็นต้น | ||
+ | เนื้อร้อง/ทำนอง | ||
+ | แม่ศรีเอย แม่ศรีสาวหงส์ เชิญเจ้ามาลง แม่นางสร้อยทอง ชวนพี่เชิญน้อง ชวนแม่ทองศรีเอย (หญิงสาว นั่งรายล้อมร้องเพลงปรบมือเป็นจังหวะ แม่ศรีนั่งพนมมือถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน เริ่มสั่นเมื่อวิญญาณเข้าทรง) แม่ศรีเอย แม่ศรีสาวสะ ยกมือไหว้พระ เอ๋ยว่าจะมีคนชม ขนคิ้วเจ้าก็ต่อ คอเจ้าก็กลม ชักผ้าปิดนม ชมแม่ศรีเอย (แม่ศรีวางกรวยลงแล้วลุกขึ้นรำตามเนื้อเพลง ยกมือไหว้ ชี้ไปที่คิ้ว คอ จับสไบปิดนม) แม่ศรีเอย แม่ศรีเอวกลม ห่มผ้าสีทอง เจ้าลอยละล่องจะเข้าในห้องไหนเอย (แม่ศรีใช้มือทั้งสองแตะที่เอว แล้วหมุนตัวตามเนื้อเพลง) เจ้าพวงมาลัยควรหรือจะไปจากห้อง เจ้าลอยละล่องจะเข้าในห้องไหนเอย เจ้าลอยละล่องจะเข้าในห้องใครเอย (ร้องซ้ำตั้งแต่ท่อนแม่ศรีเอยแม่ศรีสาวสะ) (แม่ศรีทำท่าถือพวงมาลัยแล้วหมุนตัวตามเนื้อเพลง) (กาญจนา จันทร์สิงห์, 2563) | ||
+ | จากข้อมูลข้าวต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า เนื่องจากในสมัยนี้เป็นช่วงระยะเวลาอันสั้นเพียง 15 ปี และเป็นสมัยแห่งการก่อร่างสร้างเมืองและการป้องกันประเทศเสียโดยมากวงดนตรีไทยในสมัยนี้จึงไม่ปรากฏหลักฐานไว้ว่า ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงขึ้น สันนิษฐานว่า ยังคงเป็นลักษณะและรูปแบบของ ดนตรีไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง คนในสมัยนั้นจึงเลือกเครื่องดนตรีที่ เล่นง่ายและเข้าถึงง่ายอย่าง ฉิ่ง ฉาบและกลองโทน | ||
+ | |||
+ | =='''การแต่งกายผู้แสดง/เครื่องประดับ'''== | ||
+ | แม่ศรีนุ่งโจงกระเบน ห่มสไบ ผู้ร้อง แต่งกายพื้นบ้าน เช่น นุ่งโจงกระเบนหรือผ้าซิ่น ใส่เสื้อสวยงามแบบไทยแต่ละยุค | ||
+ | แม่ศรีจะเลือกจากหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงาม 1 คน (เฉพาะผู้หญิงที่เป็นผู้รำแม่ศรี) นุ่งโจงกระเบน ห่มสไบโดยผู้เป็นแม่ศรีต้องใส่เสื้อผ้ามีแดง และมีผ้าปิดตาตอนเริ่มเชิญแม่ศรีเข้าทรง (บางที่จะมีการใช้ผ้าปิดตา) และคนที่นั่งล้อมเป็นวงกลมจำนวนกี่คนก็ได้รำสวยที่สุดในหมู่บ้าน ผู้รำแม่ศรีจะถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน นั่งอยู่กลางวง ผู้เล่นคนอื่นจะร้องเพลงเชิญแม่ศรีร้องซ้ำไปมาจนแม่ศรีเข้าร่างทรงจะวางดอกไม้และเริ่มลุกรำ (นิชรา พรมประไพ, การสัมภาษณ์, 24 ตุลาคม 2565) | ||
+ | [[ไฟล์:9-2.jpg|300px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 2''' ภาพตัวอย่างของการแต่งกายรำแม่ศรี <br> (Aepowerae , 2564) </p> | ||
+ | [[ไฟล์:9-3.jpg|300px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 3''' ภาพตัวอย่างของการแต่งกายรำแม่ศรี <br> (Aepowerae , 2564) </p> | ||
+ | เครื่องประดับการแต่งกายของแม่ศรี | ||
+ | 1. กำไลข้อมือ 2. ที่รัดแขน 3. สังวาล 4. ปั้นเหน่งหรือเข็มขัด 5. กำไลข้อเท้า 6. ต่างหู 7. สร้อยคอทับทรวง (Vanus Culture,2021) | ||
+ | จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า การแต่งของแม่ศรีมักจะใส่เสื้อผ้าสีแดงและมีผ้าปิดตา ใส่กำไลข้อมือข้อเท้า ที่รัดแขน สังวาล ปั้นเหน่งหรือเข็มขัด ต่างหู สร้อยคอทับทรวง และจะถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน | ||
+ | |||
+ | =='''บทสรุป'''== | ||
+ | จากการศึกษาเรื่องรำแม่ศรี วัตถุประสงค์ที่ 1) ประวัติและความเป็นมา เมื่ออดีตเวียงจันทร์มีความเชื่อเรื่องเสาหลักเมืองโดยให้มนุษย์ลงไปฝั่งกับเสาเป็นผีบรรพบุรุษปกป้องบ้านเมือง ต่อมาชาวเวียงจันทน์เข้ามาประเทศไทยสมัยกรุงธนบุรีจากการก่อกบฏของเจ้าอนุวงศ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ต้อนคนเวียงจันทน์มาให้มากที่สุดและตั้งถิ่นฐานกระจายแต่ละภาคโดยภาคอีสานประเพณีการเล่นหายสาบสูญไปครึ่งศตวรรษกลับคืนมาได้ด้วยความสามัคคีของคนในหมู่บ้านส่วนภาคกลางและภาคเหนือมักจะเล่นเพื่อความสนุกสนานและทำนายพืชผลทางการเกษตร ภาคใต้นิยมในวันสงกรานต์ทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม มีความเชื่อในการขจัดสิ่งชั่วร้ายให้ปีใหม่ไทยมีแต่สิ่งดีสิ่งที่เป็นมงคลปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง ส่วนชาวปากคลองจะคัดเลือกสาวงามที่ชาวบ้านให้เป็นแม่ศรีในวันสงกรานต์รอบวงร่วมร้องเชิญแม่ศรีลงมารำ นิชรา พรมประไพ (การสัมภาษณ์, 24 ตุลาคม 2565) ปัจจุบันรำแม่ศรีไม่เป็นที่นิยมจึงประยุกต์เป็นการรำเปิดการแสดงในงานมหรสพต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม วัตถุประสงค์ที่ 2) ขั้นตอน/ วิธี /กระบวนการ การเข้าทรงแม่ศรีบ้านปากคลองต่างจากที่อื่นแต่จะเหมือนกันตรงใช้สาวงามที่สุดในหมู่บ้านมารำ จากนั้นจุดธูปเชิญผี ผูกผ้าปิดตาผู้อาสา เชิญผีเข้าแล้วร้องเพลงเชิญผี จนผีเข้าร่างแล้วก็ร้องรำจนเหนื่อย จึงตะโกนข้างหูให้ผีออกจากร่าง วัตถุประสงค์ที่ 3) ท่าการแสดงจำเพาะ เลือกใช้ท่ารำสอดคล้องกับความหมายเลือกใช้ท่ารำในแม่บทมาประดิษฐ์เป็นท่ารำ เพื่อสื่อความหมายตามบทร้องให้เป็นแบบแผนทางนาฏศิลป์ วัตถุประสงค์ที่ 4) เพลงที่ใช้ในการแสดงไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง สันนิษฐานว่ายังคงเป็นลักษณะและรูปแบบของดนตรีไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นเครื่องดนตรีที่เล่นง่ายและเข้าถึงง่ายอย่าง ฉิ่ง ฉาบและกลองโทน วัตถุประสงค์ที่ 5) การแต่งกายผู้แสดง/เครื่องประดับ การแต่งของแม่ศรีมักจะใส่เสื้อผ้าสีแดงและมีผ้าปิดตา กำไลข้อมือข้อเท้า ที่รัดแขน สังวาล ปั้นเหน่งหรือเข็มขัด ต่างหู สร้อยคอทับทรวง และถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน | ||
+ | =='''บรรณานุกรม'''== | ||
+ | กาญจนา จันทร์สิงห์. (13 กุมภาพันธ์ 2561). ''รำแม่ศรี.'' ฐานข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร-ตาก. https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=121&code_db=610004&code_type=01 | ||
+ | กาญจนา จันทร์สิงห์. (17 เมษายน 2563). จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง.ฐานข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร-ตาก. | ||
+ | https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1413&code_db=610001&code_type=01&fbclid=IwAR3bsxjEYRQBZ03B2P2Awb79ZFu1YGJY3CojnAo7vRObkDzkBZR1lBWZVL0 | ||
+ | บ้านเมือง. (8 เมษายน 2562). “แม่ศรี-ผีพุ่งไต้” ประเพณีเก่าแก่ของชาวหัวหินที่หาดูได้ช่วงสงกรานต์. ''บ้านเมือง.'' https://www.banmuang.co.th/news/region/147389 | ||
+ | เบีย. (23 สิงหาคม 2562). ''เทวีกายสิทธิ์ (2513).'' ไทยบันเทิง. https://thaibunterng.fandom.com/th/wiki/ทุ่งมหาราช_(2513) | ||
+ | พิษณุโลกฮอตนิวส์. (18 เมษายน 2559). ''ชาวบ้านชมภู อ.เนินมะปราง สืบสานการละเล่นผีนางด้ง.'' https://www.phitsanulokhotnews.com/2016/04/18/84379 | ||
+ | เศกสรร แสงจินดาวงศ์เมือง. (25 สิงหาคม 2550). ''การเล่นผีนางด้ง.'' Gotoknow. https://www.gotoknow.org/posts/122072 | ||
+ | Aepowerae. (7 มิถุนายน 2564). ''รำแม่ศรี'' [Video]. Youtube. https://www.youtube.com/watch?v=BvTtdrDp5h4 | ||
+ | Author. (4 เมษายน 2554). ''ประเพณีเล่นเข้าผี:เข้าผีแม่ศรีเรือน.'' https://www.silpathai.net/ประเพณีเล่นเข้าผีเข้าผ/ | ||
+ | Vanus Couture. (20 กุมภาพันธ์ 2565). ''เติมลุคบ่าวสาวให้ดูแพง งามอย่างมีเอกลักษณ์แบบไทยด้วยเครื่องประดับชุดไทยโบราณ.'' https://www.vanuscouture.com/post/jewelry-for-thai-traditional-dress |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:07, 4 กรกฎาคม 2566
เนื้อหา
บทนำ[แก้ไข]
รำแม่ศรี เป็นชื่อที่ใช้เรียกการรำ ที่ได้นำการละเล่นการเข้าทรงในสมัยโบราณมาประยุกต์ให้เข้ากับศิลปะการรำของภาคกลางของชาวบ้านปากคลองสวนหมากหรือในปัจจุบันคือนครชุม โดยเป็นการเข้าทรงแม่ศรีหลักเมือง ตำนานกล่าวกันว่าที่เวียงจันทร์มีสตรีนามว่าสีได้ตั้งครรภ์ท้องแก่ได้ยอมสละชีวิตตัวเองลงไปฝังอยู่กับเสาหลักเมืองเพื่อเป็นผีบรรพบุรุษคอยปกป้องคุ้มครองลูกหลาน คนสมัยก่อนจึงมีความเชื่อเรื่องการเข้าทรงเพื่อให้แม่ศรีหลักเมืองอยู่คุ้มครองลูกหลาน จนความเชื่อเรื่องการเข้าทรงถูกแพร่กระจายไปตามการเวลาและเข้ามาสู่ประเทศไทยและได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการละเล่นจนมาเป็นการรำแม่ศรี โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของรำแม่ศรีจังหวัดกำแพงเพชร บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติของรำแม่ศรี 2) อุปกรณ์/ขั้นตอน/วิธการรำแม่ศรี 3) ท่าการแสดงจำเพาะของรำแม่ศรี 4) เพลงที่ใช้ในการแสดงรำแม่ศรี และ 5) จำนวนผู้แสดง การแต่งกาย เครื่องประดับรำแม่ศรี
คำสำคัญ: รำแม่ศรี, ครูมาลัย ชูพินิจ, เรื่องเล่าชาวปากคลอง, ทุ่งมหาราช “เรียมเอง”, นครเวียงจันทร์
ประวัติและความเป็นมา[แก้ไข]
ในอดีตประมาณพุทธศักราช 2107 เวียงจันทร์มีความเชื่อเกี่ยวกับบรรพบุรุษเสาหลักเมืองโดยการให้มนุษย์ลงไปฝั่งในเสาเพื่อเป็นผีบรรพบุรุษคอยปกป้องลูกหลานหรือบ้านเมือง จึงมีสตรีนามว่า ”สาวสี” เป็นหญิงตั้งครรภ์ท้องแก่สละชีวิตตนเองเพื่อฝังร่างพร้อมกับเสาหลักเมืองเพื่อเป็นผีบรรพบุรุษ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2369 ชาวเวียงจันทน์เข้ามาอาศัยในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2310–2325 ได้มีการโยกย้ายตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเหตุครั้งนี้เป็นเพราะเนื่องจากการก่อกบฏของเจ้าอนุวงศ์พ.ศ. 2369-2371 เมื่อมีการต่อสู้สิ้นสุดลงและกรุงเทพเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้ตอนผู้คนจากเวียงจันทน์กลับมาให้มากที่สุด ชาวลาวที่ย้ายถิ่นเข้ามาทั้งที่ถูกกวาดต้อนและอพยพ ถูกส่งไปยังเมืองต่าง ๆ ในเขตหัวเมืองชั้นในทิศตะวันตก หรือเรียกว่า ชาวบ้านปากคลองโดยอยู่รวมกลุ่มกับชาวลาวที่มาอยู่ก่อน ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพ ไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแห การละเล่นรำแม่ศรีมีถิ่นกำเนิดมาจากลาวหรือในสมัยก่อนเรียกชาวเวียงจันทร์ตามชื่อเมือง ไม่มีข้อมูลปรากฏว่าใครเป็นผู้ริเริ่ม ซึ่งได้รับอิทธิพลการใช้ชื่อเรียกจากเขมรผสมผสานกัน หลังจากชาวลาวได้อพยพและบางส่วนถูกต้อนมาจากเวียงจันทร์ ได้นำวัฒนธรรมการละเล่นตามความเชื่อติดตัวมาตั้งรกรากที่หัวเมืองชั้นในและได้กระจายวัฒนธรรมการละเล่นไปตามพื้นที่ต่างๆ และชุมชนปากคลองก็ได้สืบทอดการละเล่นต่อมา การเล่นเข้าผีนิยมเล่นในเทศกาลตรุษ สงกรานต์ของทุกภาค แต่จะแพร่หลายมาก ในภาคกลาง ภาคเหนือ เรียกว่า ฟ้อนผี ซึ่งจะมีผีหลายชนิด ภาคใต้ เรียกว่า การเล่นเชื้อ อุปกรณ์การเล่นขึ้นอยู่กับการเลือกเล่นเข้าผีชนิดใด เช่น ผีสุ่ม ก็ใช้สุ่ม ผีกะลา ก็ใช้กะลา มีเครื่องประกอบ การเล่น เช่น ธูป เทียน สำหรับจุดเชิญ และ ผ้าผูกตา เป็นต้น ส่วนที่สำคัญคือ คนรับอาสา ให้ผีเข้า มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ หญิงและชาย มัก เล่นในเวลาเย็นหรือย่ำค่ำ ผีที่นิยมเล่นคือ ผีคน ได้แก่ เล่นแม่ศรี ผีเจ๊ก ผีนางกวัก ผีสัตว์ ได้แก่ ผีลิงลม ผีควาย ผีช้าง ผีหงส์ ผีมดแดง ผีอึ่งอ่าง ผีปลา ฯลฯ ผีที่เป็นสิ่งของเครื่องใช้ ได้แก่ ผีกระด้ง ผีสุ่ม ผีกะลา ผีจวัก จึงทำให้นำไปเผยแพร่ให้กับผู้คนในเมืองต่าง ๆ ชาวลาวที่ถูกส่งไปซึ่งแต่ละเมืองก็จะแตกต่างกันเช่น ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือเป็นต้น โดยแต่ละภาคนั้นจะมีการละเล่นที่คล้ายกันแต่ก็ต่างกัน อาจจะต่างกันตรงที่วัสดุหรืออุปกรณ์ ภูมิภาคหรือการกินหรือการเป็นอยู่ของประชากร ดังนี้ ภาคอีสาน (ผีนางด้ง) ภาคกลาง (เข้าผีแม่ศรีเรือน) ภาคใต้ (แม่ศรี-ผีพุ่งไต้) ภาคเหนือ (การละเล่นผีนางด้ง) (กาญจนา จันทร์สิงห์, 2563) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า เมื่อในอดีตเวียงจันทร์มีความเชื่อเกี่ยวกับบรรพบุรุษเสาหลักเมืองโดยการให้มนุษย์ลงไปฝั่งในเสาเพื่อเป็นผีบรรพบุรุษคอยปกป้องลูกหลานบ้านเมือง ต่อมาชาวเวียงจันทน์เข้ามาอาศัยในประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี ได้มีการย้ายตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะเนื่องจากการก่อกบฏของเจ้าอนุวงศ์ เมื่อมีการต่อสู้สิ้นสุดกรุงเทพเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ให้ต้อนผู้คนจากเวียงจันทน์มาให้มากที่สุดและตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นครชุมในปัจจุบัน ภาคอีสาน ผีนางด้ง ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมมาช้านานถึงการนำอุดมการแห่งความรักความสามัคคีความอบอุ่นความเข้าใจและการอยู่ร่วมกันในกลุ่มชนอย่างผาสุกมาใช้ได้อย่างเหมาะสมแนบเนียนในชีวิตประจำวันทำให้สังคมไทยอยู่อย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในชีวิตความเป็นอยู่ที่สมฐานะเรียบง่ายและไม่เน้นกฎเกณฑ์ที่ตายตัวยืดหยุ่นรักสงบมีความสุขในการทำกิจกรรมร่วมกัน การเข้าทรงนางด้งหรือผีนางด้ง เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สำคัญของคนไทยวิชัยเรื่องไร้สาระกิจกรรมทุกกิจกรรมล้วนแฝงไว้ด้วยความลึกซึ้งของสังคมและวัฒนธรรมในเกือบทุกภาคที่มีอาชีพทำไร่ทำนาแต่ไม่มีหมู่บ้านใดดำรงความเป็นไทยและภูมิปัญญาไทยไว้ได้ที่หมู่บ้านทุ่งตาพุกตำบลอ่างทอง อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ประชาชนในหมู่บ้านและไร้หรือฟื้นประเพณีการเล่นที่หายสาบสูญไปนำครึ่งศตวรรษกลับคืนมาด้วยความสามัคคีของคนในหมู่บ้านได้อย่างน่าชื่นชมเครื่องมือประกอบการแสดงกันเค้าส่งรวมเป็นเครื่องมือทำเกษตรอย่างเช่นกระด้งสำหรับฝัดข้าว สากสำหรับนำข้าวผ้าขาวม้าเพลงที่มีเนื้อร้องน่าสนใจในภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างลึกซึ้งและกลมกลืนน่าฟังอุปกรณ์ที่สำคัญของการเข้าส่งคือกะด้งของและสากตำข้าวของแม่ม่ายมีข้อพิเศษคือต้องเอาสิ่งของมาโดยไม่บอกให้เจ้าของทราบคือขโมยนั่นเอง การเข้าทรงหญิงจะอยู่ตรงกลางมีผู้ชายนั่งอยู่ตรงหน้าในระหว่างสากทั้งสอง นำกระด้งหุ้มด้วยผ้าเขาม้าเมื่อไหว้ครูและเชิญวิญญาณมาเข้าทรงท่ามกลางเสียงเพลงที่เยือกเย็นและแฝงด้วยความเชื่อมั่นในความเชื่อเรื่องทรงเจ้า เข้าผีของพวกเขาเมื่อวิญญาณมาเข้าแล้วนางด้งจะสั่นไปทั้งร่างกาย ผีที่เข้าทรงจะส่งที่เรียกกันว่าผีนางด้งจะเริ่มลุกขึ้นร่ายลำอย่างสนุกสนาน ไม่ลืมความเหน็ดเหนื่อยหากพี่นางด้งจะนำกระด้งไปกวักใครผู้นั้นต้องออกมารำซึ่งเป็นภูมิปัญญาแห่งการมีส่วนร่วม ชาวบ้านจะร้องเพลงตีกลองให้จังหวะอย่างสนุกสนาน ในที่สุดก็จะรำกันทั้งหมู่บ้านซึ่งแสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความสามัคคีในหมู่คณะเมื่อรำไปได้สักพักชาวบ้านที่รักสนุกอยากจะหยอกผู้เข้าทรงนางด้ง ก็จะลักสากตำข้าวไปซ่อนนางก็จะโมโหและไล่นำกระด้งไปฟาดผู้นั้น ผู้นั้นจะต้องนำมาคืนรึหาสากพบก็จะนำความสนุกสนานครื้นเครงมาสู่หมู่บ้านนั้นอย่างกลมกลืนและแนบเนียนสนุกสนานกันได้ ครู่นึงก็จะมีการทำนายทักเรื่องราวต่างๆในหมู่บ้านในรวมทั่วไปเพื่อช่วยสร้างความสามัคคีความอบอุ่นใจโดยมีชาวบ้านร่วมกิจกรรมการเค้าส่งถามเรื่องที่ตนเองสงสัยถามเรื่องที่ทำความครึกครื้นให้ชาวบ้านในการประกอบอาชีพและดำรงชีวิตเมื่อเห็นว่านางด้งสนุกสนานช่วงระยะเวลาหนึ่งที่ไม่น่าเบื่อก็เชิญนางด้งออก ผู้เข้าทรงจะไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น การเข้าทรงนางด้งจึงเป็นภูมิปัญญาในภาคอีสานภาคเหนือภาคกลางที่ประกอบอาชีพทำไร่ทำนาที่นิยมเล่นในวันสงกรานต์นั่งเอง (เศกสรร แสงจินดาวงศ์เมือง, 2550) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า การเข้าทรงแม่ศรีของภาคอีสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สั่งสมมาช้านานฟื้นประเพณีการเล่นที่หายสาบสูญไปนำครึ่งศตวรรษกลับคืนมาด้วยความสามัคคีของคนในหมู่บ้านได้อย่างน่าชื่นชมคือเครื่องมือประกอบการแสดงกัน ภาคกลาง เข้าผีแม่ศรีเรือนของชาวจังหวัดปทุมธานี เข้าผีแม่สีหรือเข้าผีแม่ศรีเรือนเป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวจังหวัดปทุมธานีมานานแล้ว ปัจจุบันประเพณีการละเล่นพื้นบ้านของชาวปทุมธานีแต่โบราณมีหลายอย่างด้วยกันเช่น การเข้าผีแม่สี เข้าผีอึ่งอ่างเข้าผีสาก เข้าผีลิงลม เข้าผีสุ่ม เล่นระบำ เล่นช่วงรำ การเล่นดังกล่าวนี้ส่วนมากจะเล่นในเวลาตอนเย็นหรือกลางคืนในเทศกาลนักขัตฤกษ์ ตรุษ สงกรานต์ เพราะในระหว่างเดือนเมษายนชาวนาจะหมดจากฤดูกาลทำนาแล้วเป็นเวลาพักผ่อนหาความสุขสนานไม่ว่าเด็กหนุ่มสาวเฒ่าแก่จะมารวมกันเป็นการสามัคคีและสนุกด้วยเพราะแต่ก่อนอาชีพอื่นๆไม่ค่อยมีนอกจากทำอาชีพทำนาอย่างเดียวการเล่นเข้าผีแม่ศรีไม่กำหนดจำนวนผู้เล่นผู้หญิงผู้ชายเล่นรวมกันได้แต่ไม่ควรเล่นน้อยกว่า 5 คน ถ้าหญิงมากกว่ายิ่งสนุกกว่าเล่นให้ผู้หญิงคนหนึ่ง นั่งตรงกลางเอาผ้าผูกตาไว้ วิธีผูกให้ปิดหูด้วยอย่าให้มองเห็นส่วนหูก็ให้ได้ยินแต่น้อย นั่งประนมมือมีธูปสามดอกนอกนั้นยืนล้อมวงแล้วเดินวนไปทางซ้ายรอบตัวผู้นั่งในวง ปรบมือพร้อมกันร้องเพลงแม่ศรี การปรบมือต้องให้เข้าจังหวะกับทำนองด้วย เดินวนร้องเพลงจนกว่าผีจะเข้าแม่ศรี ถ้าผีเข้าแม่ศรีมือจะสั่นแล้วล้มลงตอนนี้เราจะถามแม่ศรี ว่ามาจากไหน มาทำไม หรือถามอะไรก็ได้แล้ว โดยจะให้รำหรือร้องเพลงอะไรก็ได้เป็นการสนุกครึกครื้นถ้าจะเลิกเล่นจะให้ผีแม่สีออกก็จะเก็บผ้าผูกตาออกแล้วเป่าหูแม่ศรีก็จะล้มลงออกทันที การเล่นแม่นางด้งนั้น มีมาแต่สมัยโบราณ คนรุ่นเก่าได้เล่าต่อๆกันว่านิยมเล่นในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือกันว่าเป็นวันปีใหม่ของไทย โดยจะเล่นกันในตอนกลางคืน ที่วัดหรือที่บ้านก็ได้ การเล่นแม่นางด้งนี้จะนิยมเล่นกันทั่วไปในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเฉพาะ อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ตลอดทั้งอำเภอใกล้เคียง ลักษณะเครื่องแต่งกายในการเล่นแม่นางด้ง ผู้จับกระด้งส่วนมากจะเป็นผู้สูงอายุ จะแต่งกายตามแบบชาวบ้าน ไม่มีแบบแผนที่แน่นอน บางครั้งก็แต่งกายยุคปัจจุบัน หรือในบางโอกาสจะสวมเสื้อแขนสามส่วน นุ่งผ้าถุงยาว หรือไม่ก็นุ่งโจงกระเบน วิธีการเล่น เริ่มทำการแสดง จะมีพิธียกครูเสียก่อน มีผู้จับกระด้ง 2 คน โดยจับกระด้งคว่ำลง และจะมีผู้กล่าวนำเชิญแม่นางด้งเข้าสิงสู่กระด้ง เมื่อเริ่มเข้า กระด้งที่อยู่ในมือของผู้จับกระด้งก็จะสั่นแรงขึ้นเรื่อย ๆ สักครู่เมื่อกระด้งหยุด ถ้าต้องการถามเรื่องอะไร หรือทำนายทายทักอะไร ก็จะถามแม่นางด้ง เช่น ปีนี้ปลูกข้าวจะได้ผลดีหรือไม่เป็นต้น หรือไม่ชายหนุ่มก็ถามเกี่ยวกับเรื่องของความรัก เช่น เขารักใคร หรือใครแอบชอบเขา กระด้งก็จะสั้นและไปหาผู้หญิงคนนั้น (Author, 2554) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า การเข้าทรงแม่ศรีของภาคกลางมักจะเล่นกันในวันสงกรานต์ที่วัดหรือที่บ้านในเวลากลางคืนจะมาร้องเล่นเต้นร่วมกันเป็นการสามัคคีสนุกสนานปรบมือเข้าจังหวะกับทำนองพร้อมกันร้องเพลงแม่ศรีอย่างครื้นเครงหรือทำนายทายทักอะไรเช่น ปีนี้ปลูกข้าวจะได้ผลดีหรือไม่ เป็นต้น ภาคใต้แม่ศรี-ผีพุ่งไต้ ประเพณีเก่าแก่ชาวหัวหิน ทำบุญตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม วันตรุษสงกรานต์ เราก็มาช่วยกัน พวกเราชุมชนเป็นคนหัวหิน อย่าให้ใครหมิ่นหัวหินของเรา หัวหินเป็นถิ่นสุดสวย พวกเราต้องช่วยกันพัฒนา” โดยคนหัวแถวถือไต้เป็นคนเพลิงแล้ววิ่งไปตามถนนสายต่างๆในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน ช่วงเทศกาลสงกรานต์สร้างความสนใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ผีพุ่งไต้” เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่เก่าแก่มานานตั้งแต่เด็กวัยรุ่นจำความได้ จากความเชื่อในการขจัดสิ่งชั่วร้ายเพื่อให้ปีใหม่ไทยที่จะเข้ามามีแต่สิ่งดีสิ่งที่เป็นมงคลให้มีความสุขปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง เมื่อตรุษสงกรานต์มาถึง ช่วงเช้าชาวบ้านจะหอบหิ้วลูกหลานเพื่อนำอาหาร ขนม ไปทำบุญที่วัด เวลาบ่ายจะทำการรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่ พลบค่ำชาวบ้านจะออกมารวมตัวกันตามชายหาดหัวหินรวมทั้งการละเล่น “ผีพุ่งไต้” มีการตั้งความหวังขบวนเป็นแถวยาว 30 - 40 คน ผู้เล่นจะมีทั้งชาย-หญิงแต่งกายแบบชาวบ้านพื้นเมือง คนเป็นหัวหน้าอยู่หัวแถวถือไต้ที่จุดสว่างไสว คนที่สอง คนที่สาม ที่สี่...จนกระทั่งคนสุดท้ายปลายแถวถือไต้หนึ่งอัน ทุกคนจะจับมือกันแน่นแบบมัดข้าวต้ม เพื่อให้แถวไม่ขาดง่าย หัวหน้าผู้ถือไต้เป็นผู้ร้องเพลงนำ ซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านมีหลายท่อนหลายตอน เมื่อหัวหน้าร้องนำ ลูกแถวก็จะร้องรับตาม หัวหน้าจะถือไต้ออกวิ่งนำลูกแถวก็จะวิ่งตามกันเป็นพรวนเป็นแถวยาว บางครั้งในช่วงกลางแถว ลูกแถวสองคนจะชูขึ้นให้สูง เพื่อให้หัวหน้าลอดแล้วลูกแถวคนอื่นๆก็จะลอดตามกันไปจนหมดแถว ส่วนประเพณีเล่น“แม่ศรี” นางอรุณ คงดี อดีตครูโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน, ประธานชมรมคนรักในหลวง, ประธานชมรมวัยสดใสให้ผู้สูงวัย อ.หัวหิน เปิดเผยว่าประเพณีดังกล่าวมีมานานกว่า 100 ปีแล้ว สมัยก่อนคนหัวหินส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพชาวประมงจะรวมตัวกันง่าย แต่สมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปโอกาสที่จะพบกันน้อยลงจึงถือเอาวันสงกรานต์นี้เป็นวันรวมตัวกัน เพื่อที่จะได้ร่วมรำลึกถึงประเพณีการละเล่นพื้นบ้านเก่าแก่ของชาวหัวหิน เช่น “แม่ศรี” และ ผีอึ่งอ่าง รำโทน พร้อมร่วมรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ในชุมชน ถือเป็นพิธีกรรมให้แม่ศรีหรือผีดั้งเดิม เข้ามาสิงร่างบุคคลเพื่อร้องเล่นเต้นรำตามเพลงด้วยกัน แต่สมัยนี้จะเป็นการจำลองผีเข้า เนื่องด้วยอายุแต่ละคนก็มากขึ้นแต่ความสนุกสนานก็ยังเหมือนเดิม เพื่อที่จะอนุรักษ์สืบทอดประเพณีเก่าๆของชาวหัวหินที่หาดูได้ยากไว้ให้คนรุ่นลูกรุ่นหลานได้ดู และเกิดสำนึกรักประเพณีบ้านเกิดของตนเองและในช่วงค่ำวันที่ 12 เมษายนนี้ นักท่องเที่ยวจะได้ชมการละเล่นเก่าแก่ ผีพุ่งไต้ และ แม่ศรี ประเพณีเก่าแก่ ของชาวหัวหินในช่วงตรุษสงกรานต์ เพื่อสร้างความสามัคคีและสืบสานวัฒนธรรมประเพณี ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จักและรักษาไว้ให้คงอยู่คู่เมืองหัวหินถิ่นมนต์ขลังตลอดไป (บ้านเมือง, 2562) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า การเข้าทรงแม่ศรีของภาคใต้นิยมกันในวันตรุษสงกรานต์ ทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม ทำบุญที่วัดเวลาบ่ายจะทำการรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่ พลบค่ำชาวบ้านจะออกมารวมตัวกันตามชายหาด โดยมีความเชื่อในการขจัดสิ่งชั่วร้ายเพื่อให้ปีใหม่ไทยที่จะเข้ามามีแต่สิ่งดีสิ่งที่เป็นมงคลให้มีความสุขปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง ภาคเหนือ การละเล่นผีนางด้ง ชาวบ้านชมภู อ.เนินมะปราง ช่วงค่ำของวันที่ 18 เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่บ้านชมพู ม.3 ต.ชมภู อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก ชาวบ้านกว่า 100 คน ได้ออกมาร่วมการละเล่นพื้นบ้านที่เรียกว่า “นางด้ง” การละเล่นแต่ครั้งสมัยโบราณ ซึ่งผู้สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัย ปู่-ย่า ตา-ยาย จนกลายเป็นประเพณีที่ต้องจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อสืบทอดไม่ให้เลือนหายไป จากการสอบถาม คุณลุงแวะ สนใจ อายุ 68 ปี ผู้สูงอายุคนเก่าคนแก่ของหมู่บ้านเล่าให้ฟังว่า การละเล่นนางด้ง เป็นการละเล่นที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เล่นกันตั้งแต่เด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ นางด้งจะเล่นกันในเวลากลางคืนยกเว้นวันพระ และจะเล่นกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งวันสงกรานต์ของชาวบ้านชมพูจะเล่นกันทั้งหมด 7 วัน นางด้งจะเล่นใน 3 วันสุดท้ายของวันสงกรานต์คือวันที่ 16-18 เมษายน ซึ่งในวันส่งท้ายวันสงกรานต์ก็จะมีพิธีรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่และสรงน้ำพระจะทำสืบต่อกันมาทุกปี การละเล่นนางด้งจะเล่นในเวลากลางคืนที่ลานกลางบ้านซึ่งเป็นศูนย์กลางหรือบริเวณที่มีพื้นที่กว้างขวางเหมาะที่จะเล่นด้วยคนจำนวนมากๆ การละเล่นนางด้ง จะเล่นสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันและจะเล่นกันทุกปี เป็นการเล่นที่ทุกเพศทุกวัยชอบได้รับความสนุกสนานถึงจะเจ็บตัวกันเป็นแถวๆ แต่ก็ไม่มีใครว่าอะไรกัน นางด้งจะมีคนเข้าทรงครั้งละ 2 คน เป็นผู้หญิง เมื่อเข้าทรงได้แล้วจะถือกระด้งเป็นอาวุธคอยเฝ้าสาก จากการสอบถามคนเข้าทรงหลังจากออกจากทรงแล้วคนเข้าทรงเล่าว่าจะชาที่ช่วงแขนเหมือนมีอะไรบังคับซึ้งตัวเองก็ไม่รู้เหมือนกัน และจะรู้สึกหวงสากมากที่สุด เพราะสากที่วางอยู่คู่กันจะเห็นเป็นทองคำ เมื่อมีใครเข้ามาจะเอาสากก็จะไล่ตี ส่วนคนที่ไม่ได้เข้าทรงก็คือคนดูไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงจะเข้าไปแย่งสาก เมื่อมีคนเข้ามาแย่งสากก็จะถูกนางด้งไล่ตี บางคนหลบไม่ดีถูกตีหัวแตกก็มี บางคนก็แขน ขา หน้าถลอกเป็นแผลก็มี แต่ก็ไม่มีใครถือโทษโกรธอะไรเพราะเป็นการละเล่นมีแต่เสียงหัวเราะ เสียงฮา อยากมีความสุขสนุกสนาน เวลานางด้งจะออกจากการทรง นั้นก็จะโยนหรือวางกระด้งที่ถือหงายขึ้นถ้ากระด้งคว่ำจะต้องหงายใหม่เพราะไม่อย่างนั้น ผีสาง เทวดา ไม่ยอมออก พอนางด้งออกจากร่างทรงก็จะเริ่มทำพิธีบวงสรวงอัญเชิญเข้าทรงอีก ก็จะมีกลุ่มคนคอยเคาะไม้ไผ่เป็นจังหวะและก็จะร้องเพลงของนางด้งไปด้วย อีกกลุ่มก็จะไปยืนมุงดูการทรงล้อมวงและก็ร้องเพลงนางด้งไปด้วย จะมีคนคนเฒ่าผู้สูงอายุเป็นคนคอยเซ่นบวงสรวงเจ้าลงมาประทับเข้าทรงนางด้ง คืนหนึ่งก็จะเล่นกันประมาณ 2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับคนเข้าทรงว่ามีเยอะหรือน้อย และขึ้นอยู่กับคนเล่นและคนดูว่าเล่นกันสุภาพหรือไม่ ถ้าเล่นกันไม่ดีไม่สุภาพก็จะเลิกเล่นกันทันที คุณลุงแวะฯ เล่าให้ฟังต่ออีกว่า ชาวบ้านชมพูส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม วิถีชีวิตต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ หากปีใดฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลเกษตรกรก็จะได้รับความเดือดร้อนลำบาก จึงจำเป็นต้องพึ่งพาอ้อนวอนร้องขอต่อเทพยดาสิ่งที่ตนเคารพ เชื่อถือ เรียกว่าทำพิธีขอฝน หากปีใดฝนแล้ง ชาวบ้านจะมาปรึกษากันว่าควรประกอบพิธีขอฝนด้วยวิธีใด เช่น การแห่นางแมว การเล่นนางด้งการเล่นนางข้องการเล่นนางควายหรือการเล่นนางสุ่ม เป็นต้น ขั้นตอนและวิธีการแห่นางด้งนั้นมีรูปแบบลักษณะเป็นการเสี่ยงทายด้วย “ผีนางด้ง” ที่จะมาเข้าทรงกับผู้หญิงซึ่งเป็นร่างทรง โดยมีอุปกรณ์การเล่น คือ กระด้งฝัดข้าว 2 ใบ สากไม้ตำข้าว 2 อัน และอุปกรณ์ในการเชิญผีนางด้ง ได้แก่ หมากพลู ดอกไม้ ธูปเทียน น้ำ แป้งหอม ข้าวสุก พริก เกลือ ส่วนวิธีการเล่นเริ่มด้วยการนำสาก 2 อัน วางกลับกันไว้ตรงกลางวงสมมุติให้เป็นเจ้าบ่าวของนางด้ง มีคนทรง 2 คน ซึ่งเป็นคนพิเศษที่เคยถ่ายทอดการเป็นคนทรงเจ้า แล้วจากนั้นก็ยืนจับกระด้งไว้คนละใบ มีชาวบ้านหญิงชาย ยืนล้อมวงคนทรง แล้วมีคนทรงซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน ซึ่งเคยทำพิธีนี้มาก่อนแล้ว เป็นผู้มาทำพิธีเชิญและนำการร้องเพลงเชิญ (นำเชิด) ส่วนชาวบ้านที่ยืนล้อมวงจะช่วยกันร้อง เพื่อเชิญให้ผีนางด้งมาเข้าสิงที่กระด้ง ซึ่งคนทรงจะจับเอาไว้ เมื่อผีนางด้งมาเข้าสิงที่ร่างคนทรงก็จะจับกระด้งสั่นและพากระด้งร่อนไปเรื่อย ๆ ดังกล่าว (พิษณุโลกฮอตนิวส์, 2559) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า การเข้าทรงแม่ศรีของภาคเหนือเป็นการละเล่นสมัยโบราณ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยปู่-ย่า ตา-ยาย จนกลายเป็นประเพณีที่ต้องจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เล่นกันในเวลากลางคืนยกเว้นวันพระ และจะเล่นกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งในวันส่งท้ายวันสงกรานต์ก็จะมีพิธีรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่และสรงน้ำพระ การละเล่นนางด้งจะเหมาะที่จะเล่นด้วยคนจำนวนมาก ๆ การเข้าทรงแม่ศรีปากคลอง กำแพงเพชร วันที่ 24 ตุลาคม 2565 การเข้าทรงแม่ศรีที่บ้านปากคลอง แตกต่างจากการเข้าทรงแม่ศรี หรือการรำแม่ศรีที่อื่นๆ ครูมาลัย ชูพินิจ เขียนไว้ในนวนิยายทุ่งมหาราชและมีเรื่องเล่าในบ้านปากคลองว่า สาวงามที่ชาวบ้านคัดเลือก ให้เป็นแม่ศรีในวันสงกรานต์จะนั่งเท้าทั้งสองเหยียบอยู่บนกะลาตาเดียวที่หงายไว้ มือทั้งคู่แตะอยู่ที่พื้นดิน เสียงเพลง ร้องจากผู้เล่นร่วมรอบวงว่า แม่ศรีเอย แม่ศรีสาวหงส์เชิญเจ้ามาลงแม่นางสร้อยทอง เชิญพี่เชิญน้อง เชิญแม่ทองศรีเอย วนไปหลายๆรอบ เสียงเย็นจับใจ เมื่อกะลาหมุนแสดงว่าแม่ศรีเข้าแล้ว เมื่อกะลาหยุดหมุนแม่ศรีจะลุกขึ้นรำโดยไม่รู้ตัว รำไปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ตามเสียงเพลงที่แว่วข้าไปในโสตประสาท แม่ศรีเอย แม่ศรีสาวสะ ยกมือไหว้พระว่าจะมีตนชม คิ้วเจ้าก็ต่อคอเจ้าก็กลม ชักผ้าปิดนมชมแม่ศรีเอย (แม่ศรีรำแบบไม่รู้ตัวจนผ้าสไบหลุดออกมาเห็น นม แม่ศรีได้ยินเสียงแว่วมา จึงชักผ้ามาปิดนมเสีย) แม่ศรีเอย แม่ศรีเอวกลม ห่อผ้าสีตอง (ทอง) เจ้าลอยละล่อง เข้าในห้องใครเอย เจ้าลอยละล่องเข้าในห้องไหนเอย เจ้าพวงมาลัยควรหรือจะไปจากห้อง เข้าลอยละล่อง เข้าในห้องไหนเอย แม่ศรีจะรำจนเหนื่อย และสนุกสนานทั้งวงแม่ศรี เพื่อนสนิทเห็นว่านานเกินไปจะเข้าไปจับไหล่ แล้วร้องว่ากระตู้วู้ข้างหู แม่ศรีจะออก คนเข้าทรงจะไม่ทราบเลยว่าตัวเองทำอะไรลงไปบ้างการเข้าทรงแม่ศรีเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของชาวปากคลอง ในการคัดเลือกสาวงามและการเลือกคู่ครอง ในวันสงกรานต์ปัจจุบันยังมีการสืบทอดอยู่บ้าง แต่เป็นการละเล่นเสียแล้ว มิใช่เป็นการเข้าทรงเหมือนสมัยก่อน นับว่าบ้านปากคลองยังสามารถรักษาภูมิปัญญาการรำแม่ศรีไว้ได้ ตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป (กาญจนา จันทร์สิงห์, 2563) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า การเข้าทรงแม่ศรีของชาวปากคลองว่า คัดเลือกสาวงามที่ชาวบ้านให้เป็นแม่ศรีในวันสงกรานต์จะนั่งเท้าทั้งสองเหยียบอยู่บนกะลาตาเดียวที่หงายไว้มือทั้งคู่แตะอยู่ที่พื้นดิน เสียงเพลงร้องจากผู้เล่นร่วมรอบวงและร้องเชิญแม่ศรีลงมา แม่ศรีจะรำจนเหนื่อย และสนุกสนาน ภาพยนตร์ชีวิตต่อสู้ยิ่งใหญ่ประจำปี 2513 จากวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ในชีวิตของ ‘เรียมเอง’ คณะอัชชาวดี โดย จีราภา ปัญจศีล เสนอเป็นละครวิทยุฟังเพลงในระบบ 35 ม.ม. จากการขับร้องของ สมบัติ เมทะนี, ชรินทร์ นันทนาคร, สวลี ผกาพันธุ์, ฉลอง สิมะเสถียร, รอง เค้ามูลคดี, ประสานศรี สิงหานนท์ ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากบทประพันธ์ของเรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ) เคยดัดแปลงเป็นละครวิทยุของคณะอัชชาวดี โดย จีราภา ปัญจศีล เพลงประกอบในภาพยนตร์เรื่องนี้ประพันธ์โดย ชาลี อินทรวิจิตร-อ.กวี สัตโกวิท และขับร้องโดย สมบัติ เมทะนี, ชรินทร์ นันทนาคร, สวลี ผกาพันธุ์, ฉลอง สิมะเสถียร, รอง เค้ามูลคดี, ประสานศรี สิงหานนท์ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เพิ่มสีสันด้วยการใส่ฉากเพลง 35 มม. ประกอบเรื่องเอาไว้ ซึ่งเป็นธรรมเนียมนิยมของหนังไทยหลายเรื่องในยุคก่อนที่จะกลายเป็นยุคฟิล์ม 35 มม. อย่างเต็มตัว โดยเวลาฉายในโรงภาพยนตร์ ตัวหนังซึ่งเป็นฟิล์ม 16 มม. จะฉายด้วยเครื่องฉาย 16 มม. โดยมีนักพากย์คอยพากย์เสียงสดๆ แต่เมื่อถึงฉากเพลงซึ่งมีเสียงเพลงในฟิล์ม จะสลับไปฉายด้วยเครื่องฉาย 35 มม. บางครั้งหนัง 16 มม. ที่มีฉากเพลง 35 มม. แบบนี้มักเรียกล้อเล่นกันในวงการว่า หนัง 51 มม. (16+35) ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกของ มาลาริน บุนนาค เป็นบุตรของ ธิดา บุนนาค (เบีย, 2562) จากการสัมภาษณ์นางนิชรา พรมประไพ (การสัมภาษณ์, 24 ตุลาคม 2565) พบว่า นางนิชรา พรมประไพ เป็นวิทยากรท้องถิ่นสอนนักเรียนมีพื้นเพเป็นคนนครชุมตั้งแต่เกิดได้เห็นงานวิจัยการรำแม่ศรีทำให้ความสนใจและไม่อยากให้การรำแม่ศรีของชาวนครชุมหายไปนางนิชรา พรมประไพ จึงนำการรำแม่ศรีมาสอนเด็กที่โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม และยังพาเด็กๆไปร่วมโชว์ในงานต่างๆของจังหวัดหรือชุมชนเพื่อสร้างรายได้ให้กับเด็กๆ ปัจจุบันที่การรำแม่ศรีไม่เป็นที่นิยมนางนิชรา พรประไพจึงนำการรำแม่ศรีมาประยุกต์เป็นการรำเปิดการแสดงที่มีการแสดงต่าง ๆ รวมอยู่ อาทิ ระบำคล้องช้าง ลิเกป่า รำโทน เพื่อไม่ให้ทุกคนลืมศิลปวัฒนธรรมที่สวยงามอ่อนช้อย และคณะศักดิ์ทองเสียงทิพย์ชมรมของมหาลัยราชภัฏกำแพงเพชรยังมีการอนุรักษ์โดยนำการแสดงมาโชว์ในงานมหรสพและงานประจำปีที่มุ่งเน้นทางวัฒนธรรม
ขั้นตอน/ วิธี /กระบวนการ[แก้ไข]
การรำแม่ศรีฉบับปัจจุบันการเข้าทรงแม่ศรีที่บ้านปากคลองแตกต่างจากการเข้าทรงแม่ศรีหรือการรำแม่ศรี ที่อื่นๆครูมาลัยชู พินิจ เขียนไว้ในนวนิยายทุ่งมหาราชเรื่องเล่าในบ้านปากคลองว่า สาวงามที่ชาวบ้านคัดเลือกให้เป็นแม่ศรีในวันสงกรานต์เสียงเพลงร้องจากรอบวง วนไปหลายหลายรอบเสียงเย็นจับใจเมื่อกะลาหมุนแสดงว่าแม่ศรีเข้าแล้วเมื่อกะลาหยุดหมุนแม่ศรีจะลุกขึ้นรำโดยไม่รู้ตัวรำไปอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยตามเสียงเพลง จะรำจนเหนื่อยและสนุกสนานทั้งวงเมื่อเพื่อนสนิทเห็นว่านานเกินไปจะเข้าไปจับไหล่แล้วร้องว่า กระตู้วู้ข้างหูแม่สีจะออกคนเข้าส่งจะไม่ทราบเลยว่าตัวเองทำอะไรลงบ้างการเข้าทรงแม่สีเป็นภูมิปัญญาที่สำคัญของชาวปากคลองในการคัดเลือกสาวงามและการเลือกคู่ครองในวันสงกรานต์ปัจจุบันยังมีการสืบทอดอยู่บ้างแต่เป็นการเล่าเรื่องเสียแล้วมิใช่เป็นการค่าส่งเหมือนสมัยก่อน (กาญจนา จันทร์สิงห์, 2563) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า การเข้าทรงแม่ศรีที่บ้านปากคลองนั้นต่างจากการเข้าเข้าทรงแม่ศรีที่อื่นๆที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยแต่จะเหมือนกันตรงที่ใช้สาวงามในหมู่บ้านมารำหรือหญิงสาวที่สวยที่สุดในหมู่บ้าน วิธีเล่น เมื่อจุดธูปเชิญผีแล้ว ก็ผูกผ้าปิดตาผู้อาสาเชิญผีเข้า ต่อมาจึงร้องเพลงเชิญผี เชิญผีชนิดใด ก็ร้องเพลงของผีชนิดนั้นๆ เนื้อความของเพลงที่ร้อง จะร้องกันมาแต่โบราณ ร้องซ้ำๆ กัน หลายๆ ครั้ง จนผู้อาสาให้ผีเข้าเริ่มโงนเงนแสดงว่า ผีมาแล้ว ผู้ร่วมเล่นจะร้องเพลงเชิญชวนให้ ร่ายรำกระโดดโลดเต้น และวิ่งไปมา หรือไล่ จับกันไปตามอิริยาบถของลักษณะผีเมื่อเล่นเป็น ที่พอใจแล้วประสงค์จะให้ผีออก ก็ร้องตะโกนที่หู หรือผลักให้ล้มกระโดดข้ามตัวผู้อาสาเชิญไปมา 3 เที่ยว ผู้อาสาเชิญผีเข้าก็จะรู้สึกตัวเป็นปกติ (กาญจนา จันทร์สิงห์, 2563) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า วิธีเล่นจุดธูปเชิญผีแล้ว ก็ผูกผ้าปิดตาผู้อาสาเชิญผีเข้าแล้วร้องเพลงเชิญผีวนซ้ำๆ จนผีเข้าร่างแล้วก็ร้องรำจนเหนื่อย จึงร้องตะโกนให้ผีออกจากร่าง
ท่าการแสดงจำเพาะ[แก้ไข]
ในการประดิษฐ์ท่ารำ ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำต้องมีความสามารถในการตีความหมายของบทร้อง บทประพันธ์ต่างๆ เพื่อให้สามารถประดิษฐ์ท่ารำได้สัมพันธ์กับบทร้อง ขั้นตอนที่ใช้ประดิษฐ์เริ่มจาก 1. ศึกษาบทที่แสดง โดยการอ่านบทละคร พิจารณาเรื่องราวและบทบาทของตัวละคร ความรู้สึก อารมณ์ แล้วนำมาประดิษฐ์เป็นท่ารำ 2. การเลือกใช้ท่ารำสอดคล้องกับความหมาย เป็นการเลือกใช้ท่ารำในแม่บทมาประดิษฐ์เป้นท่ารำ เพื่อสื่อความหมายตามบทร้องให้เป็นแบบแผนทางนาฏศิลป์ ในการเลือกใช้ท่ารำ มีรูปแบบดังนี้ 2.1 ท่ารำตามแม่บท เป็นการนำท่ารำในแม่บทมาประดิษฐ์ท่ารำเพื่อสื่อความหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง อุดมสมบูรณ์ ท่าเฉิดฉิน สื่อความหมายถึงความงามเช่น ท่าพนมมือ บ่งบอกถึงการเข้าทรงของแม่ศรี ท่าจีบคว่ำ จีบหงาย บ่งบอกถึงการแสดงทางร่ายกายและความสวยงามท่ารำแล้วหมุนเป็นวงกลม บ่งบอกถึงการลอยละล่อง ตามเนื้อเพลงข้างต้น ท่าชี้นิ้วบ่งบอกทิศทาง ผู้สืบค้นคือ แม่เฟี้ยมกิตติขจร แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุมอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร (กาญจนา จันทร์สิงห์, 2561) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า การเลือกใช้ท่ารำสอดคล้องกับความหมายเป็นการเลือกใช้ท่ารำในแม่บทมาประดิษฐ์เป็นท่ารำ เพื่อสื่อความหมายตามบทร้องให้เป็นแบบแผนทางนาฏศิลป์
ภาพที่ 1 แม่เฟี้ยม กิตติขจร ผู้คิดค้นรำแม่ศรี
เพลงที่ใช้ในการแสดง[แก้ไข]
ในสมัยนั้น มีวงดนตรี 3 ประเภท เช่นเดียวกับสมัยอยุธยา คือ วงปี่พาทย์ วงมโหรี และวงเครื่องสาย แต่มีเครื่องดนตรีของชาติต่างๆ เข้ามาในประเทศไทยหลายชนิด ดังปรากฏในหมายกำหนดการของพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นว่า “ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิณพาทย์ไทย พิณพาทย์รามัญ มโหรีไทย ฝรั่ง มโหรีญวน เขมร ผลัดเปลี่ยนกันสมโภช 2 เดือนกับ 12 วัน” ในงานสมโภชพระแก้วมรกต เป็นต้น เนื้อร้อง/ทำนอง แม่ศรีเอย แม่ศรีสาวหงส์ เชิญเจ้ามาลง แม่นางสร้อยทอง ชวนพี่เชิญน้อง ชวนแม่ทองศรีเอย (หญิงสาว นั่งรายล้อมร้องเพลงปรบมือเป็นจังหวะ แม่ศรีนั่งพนมมือถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน เริ่มสั่นเมื่อวิญญาณเข้าทรง) แม่ศรีเอย แม่ศรีสาวสะ ยกมือไหว้พระ เอ๋ยว่าจะมีคนชม ขนคิ้วเจ้าก็ต่อ คอเจ้าก็กลม ชักผ้าปิดนม ชมแม่ศรีเอย (แม่ศรีวางกรวยลงแล้วลุกขึ้นรำตามเนื้อเพลง ยกมือไหว้ ชี้ไปที่คิ้ว คอ จับสไบปิดนม) แม่ศรีเอย แม่ศรีเอวกลม ห่มผ้าสีทอง เจ้าลอยละล่องจะเข้าในห้องไหนเอย (แม่ศรีใช้มือทั้งสองแตะที่เอว แล้วหมุนตัวตามเนื้อเพลง) เจ้าพวงมาลัยควรหรือจะไปจากห้อง เจ้าลอยละล่องจะเข้าในห้องไหนเอย เจ้าลอยละล่องจะเข้าในห้องใครเอย (ร้องซ้ำตั้งแต่ท่อนแม่ศรีเอยแม่ศรีสาวสะ) (แม่ศรีทำท่าถือพวงมาลัยแล้วหมุนตัวตามเนื้อเพลง) (กาญจนา จันทร์สิงห์, 2563) จากข้อมูลข้าวต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า เนื่องจากในสมัยนี้เป็นช่วงระยะเวลาอันสั้นเพียง 15 ปี และเป็นสมัยแห่งการก่อร่างสร้างเมืองและการป้องกันประเทศเสียโดยมากวงดนตรีไทยในสมัยนี้จึงไม่ปรากฏหลักฐานไว้ว่า ได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงขึ้น สันนิษฐานว่า ยังคงเป็นลักษณะและรูปแบบของ ดนตรีไทย ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั่นเอง คนในสมัยนั้นจึงเลือกเครื่องดนตรีที่ เล่นง่ายและเข้าถึงง่ายอย่าง ฉิ่ง ฉาบและกลองโทน
การแต่งกายผู้แสดง/เครื่องประดับ[แก้ไข]
แม่ศรีนุ่งโจงกระเบน ห่มสไบ ผู้ร้อง แต่งกายพื้นบ้าน เช่น นุ่งโจงกระเบนหรือผ้าซิ่น ใส่เสื้อสวยงามแบบไทยแต่ละยุค แม่ศรีจะเลือกจากหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงาม 1 คน (เฉพาะผู้หญิงที่เป็นผู้รำแม่ศรี) นุ่งโจงกระเบน ห่มสไบโดยผู้เป็นแม่ศรีต้องใส่เสื้อผ้ามีแดง และมีผ้าปิดตาตอนเริ่มเชิญแม่ศรีเข้าทรง (บางที่จะมีการใช้ผ้าปิดตา) และคนที่นั่งล้อมเป็นวงกลมจำนวนกี่คนก็ได้รำสวยที่สุดในหมู่บ้าน ผู้รำแม่ศรีจะถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน นั่งอยู่กลางวง ผู้เล่นคนอื่นจะร้องเพลงเชิญแม่ศรีร้องซ้ำไปมาจนแม่ศรีเข้าร่างทรงจะวางดอกไม้และเริ่มลุกรำ (นิชรา พรมประไพ, การสัมภาษณ์, 24 ตุลาคม 2565)
ภาพที่ 2 ภาพตัวอย่างของการแต่งกายรำแม่ศรี
(Aepowerae , 2564)
ภาพที่ 3 ภาพตัวอย่างของการแต่งกายรำแม่ศรี
(Aepowerae , 2564)
เครื่องประดับการแต่งกายของแม่ศรี 1. กำไลข้อมือ 2. ที่รัดแขน 3. สังวาล 4. ปั้นเหน่งหรือเข็มขัด 5. กำไลข้อเท้า 6. ต่างหู 7. สร้อยคอทับทรวง (Vanus Culture,2021) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า การแต่งของแม่ศรีมักจะใส่เสื้อผ้าสีแดงและมีผ้าปิดตา ใส่กำไลข้อมือข้อเท้า ที่รัดแขน สังวาล ปั้นเหน่งหรือเข็มขัด ต่างหู สร้อยคอทับทรวง และจะถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน
บทสรุป[แก้ไข]
จากการศึกษาเรื่องรำแม่ศรี วัตถุประสงค์ที่ 1) ประวัติและความเป็นมา เมื่ออดีตเวียงจันทร์มีความเชื่อเรื่องเสาหลักเมืองโดยให้มนุษย์ลงไปฝั่งกับเสาเป็นผีบรรพบุรุษปกป้องบ้านเมือง ต่อมาชาวเวียงจันทน์เข้ามาประเทศไทยสมัยกรุงธนบุรีจากการก่อกบฏของเจ้าอนุวงศ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ต้อนคนเวียงจันทน์มาให้มากที่สุดและตั้งถิ่นฐานกระจายแต่ละภาคโดยภาคอีสานประเพณีการเล่นหายสาบสูญไปครึ่งศตวรรษกลับคืนมาได้ด้วยความสามัคคีของคนในหมู่บ้านส่วนภาคกลางและภาคเหนือมักจะเล่นเพื่อความสนุกสนานและทำนายพืชผลทางการเกษตร ภาคใต้นิยมในวันสงกรานต์ทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม มีความเชื่อในการขจัดสิ่งชั่วร้ายให้ปีใหม่ไทยมีแต่สิ่งดีสิ่งที่เป็นมงคลปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวง ส่วนชาวปากคลองจะคัดเลือกสาวงามที่ชาวบ้านให้เป็นแม่ศรีในวันสงกรานต์รอบวงร่วมร้องเชิญแม่ศรีลงมารำ นิชรา พรมประไพ (การสัมภาษณ์, 24 ตุลาคม 2565) ปัจจุบันรำแม่ศรีไม่เป็นที่นิยมจึงประยุกต์เป็นการรำเปิดการแสดงในงานมหรสพต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรม วัตถุประสงค์ที่ 2) ขั้นตอน/ วิธี /กระบวนการ การเข้าทรงแม่ศรีบ้านปากคลองต่างจากที่อื่นแต่จะเหมือนกันตรงใช้สาวงามที่สุดในหมู่บ้านมารำ จากนั้นจุดธูปเชิญผี ผูกผ้าปิดตาผู้อาสา เชิญผีเข้าแล้วร้องเพลงเชิญผี จนผีเข้าร่างแล้วก็ร้องรำจนเหนื่อย จึงตะโกนข้างหูให้ผีออกจากร่าง วัตถุประสงค์ที่ 3) ท่าการแสดงจำเพาะ เลือกใช้ท่ารำสอดคล้องกับความหมายเลือกใช้ท่ารำในแม่บทมาประดิษฐ์เป็นท่ารำ เพื่อสื่อความหมายตามบทร้องให้เป็นแบบแผนทางนาฏศิลป์ วัตถุประสงค์ที่ 4) เพลงที่ใช้ในการแสดงไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง สันนิษฐานว่ายังคงเป็นลักษณะและรูปแบบของดนตรีไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นเครื่องดนตรีที่เล่นง่ายและเข้าถึงง่ายอย่าง ฉิ่ง ฉาบและกลองโทน วัตถุประสงค์ที่ 5) การแต่งกายผู้แสดง/เครื่องประดับ การแต่งของแม่ศรีมักจะใส่เสื้อผ้าสีแดงและมีผ้าปิดตา กำไลข้อมือข้อเท้า ที่รัดแขน สังวาล ปั้นเหน่งหรือเข็มขัด ต่างหู สร้อยคอทับทรวง และถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน
บรรณานุกรม[แก้ไข]
กาญจนา จันทร์สิงห์. (13 กุมภาพันธ์ 2561). รำแม่ศรี. ฐานข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร-ตาก. https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=121&code_db=610004&code_type=01 กาญจนา จันทร์สิงห์. (17 เมษายน 2563). จากชาวนครเวียงจันทน์มาเป็นประชาชนชาวปากคลอง.ฐานข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร-ตาก. https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1413&code_db=610001&code_type=01&fbclid=IwAR3bsxjEYRQBZ03B2P2Awb79ZFu1YGJY3CojnAo7vRObkDzkBZR1lBWZVL0 บ้านเมือง. (8 เมษายน 2562). “แม่ศรี-ผีพุ่งไต้” ประเพณีเก่าแก่ของชาวหัวหินที่หาดูได้ช่วงสงกรานต์. บ้านเมือง. https://www.banmuang.co.th/news/region/147389 เบีย. (23 สิงหาคม 2562). เทวีกายสิทธิ์ (2513). ไทยบันเทิง. https://thaibunterng.fandom.com/th/wiki/ทุ่งมหาราช_(2513) พิษณุโลกฮอตนิวส์. (18 เมษายน 2559). ชาวบ้านชมภู อ.เนินมะปราง สืบสานการละเล่นผีนางด้ง. https://www.phitsanulokhotnews.com/2016/04/18/84379 เศกสรร แสงจินดาวงศ์เมือง. (25 สิงหาคม 2550). การเล่นผีนางด้ง. Gotoknow. https://www.gotoknow.org/posts/122072 Aepowerae. (7 มิถุนายน 2564). รำแม่ศรี [Video]. Youtube. https://www.youtube.com/watch?v=BvTtdrDp5h4 Author. (4 เมษายน 2554). ประเพณีเล่นเข้าผี:เข้าผีแม่ศรีเรือน. https://www.silpathai.net/ประเพณีเล่นเข้าผีเข้าผ/ Vanus Couture. (20 กุมภาพันธ์ 2565). เติมลุคบ่าวสาวให้ดูแพง งามอย่างมีเอกลักษณ์แบบไทยด้วยเครื่องประดับชุดไทยโบราณ. https://www.vanuscouture.com/post/jewelry-for-thai-traditional-dress