ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านนครไตรตรึงษ์"
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 146: | แถว 146: | ||
'''2) รำคล้องช้าง''' เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านวังพระธาตุ วิธีรำฝ่ายชายจะนาผ้าไปคล้องคอฝ่ายหญิงออกมารำกลางวงเป็นคู่ ๆ เมื่อจบเพลงฝ่ายหญิงจะเอาผ้านั้นไปคล้องผู้ชายคนอื่นออกมาสลับกันไปเรื่อย ๆ เมื่อฝ่ายชายคล้องจะร้องว่า “คล้องเถิดหนาพ่อคล้อง” ถ้าเป็นฝ่ายหญิงคล้องจะร้องว่า “คล้องเถิดหนาแม่คล้อง” เนื้อร้องแสดงถึงวัฒนธรรมการคล้องช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานในสมัยก่อน เนื้อร้องมี 2 ช่วง คือ ร้องเกริ่นโดยนาเนื้อเพลงกล่อมเด็ก “เพลงคล้องช้าง” มาใส่จังหวะและทำนองเดียวกันใช้ร้องช่วงเกริ่นเพื่อให้รำเดินหาคู่คล้อง เมื่อขึ้น “คล้องเถิดหนา...” ผู้เล่นก็จะคล้องคู่ออกมารำ (ฉัตรชัย อินทรประพันธ์ และยุชิตา กันหามิ่ง, 2561 ออนไลน์)<br> | '''2) รำคล้องช้าง''' เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านวังพระธาตุ วิธีรำฝ่ายชายจะนาผ้าไปคล้องคอฝ่ายหญิงออกมารำกลางวงเป็นคู่ ๆ เมื่อจบเพลงฝ่ายหญิงจะเอาผ้านั้นไปคล้องผู้ชายคนอื่นออกมาสลับกันไปเรื่อย ๆ เมื่อฝ่ายชายคล้องจะร้องว่า “คล้องเถิดหนาพ่อคล้อง” ถ้าเป็นฝ่ายหญิงคล้องจะร้องว่า “คล้องเถิดหนาแม่คล้อง” เนื้อร้องแสดงถึงวัฒนธรรมการคล้องช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานในสมัยก่อน เนื้อร้องมี 2 ช่วง คือ ร้องเกริ่นโดยนาเนื้อเพลงกล่อมเด็ก “เพลงคล้องช้าง” มาใส่จังหวะและทำนองเดียวกันใช้ร้องช่วงเกริ่นเพื่อให้รำเดินหาคู่คล้อง เมื่อขึ้น “คล้องเถิดหนา...” ผู้เล่นก็จะคล้องคู่ออกมารำ (ฉัตรชัย อินทรประพันธ์ และยุชิตา กันหามิ่ง, 2561 ออนไลน์)<br> | ||
<p align = "center"> '''ร้องเกริ่น''' </p> | <p align = "center"> '''ร้องเกริ่น''' </p> | ||
− | <p align = "center"> วันเอ๋ยวันนี้ ตัวพี่จะไปคล้องช้าง | + | <p align = "center"> วันเอ๋ยวันนี้ ตัวพี่จะไปคล้องช้าง ข้ามห้วยบึงบาง ข้ามเขาพนมทอง </p> |
− | + | <p align = "center"> คล้องช้างมาได้ เก็บเอาไว้ในจาลอง เกี่ยวหญ้าเอามากอง ช้างน้อยหรือก็ไม่กิน </p> | |
− | <p align = "center"> คล้องช้างมาได้ เก็บเอาไว้ในจาลอง | + | <p align = "center"> ยกงวงฟาดงา น้าตาไหลริน ช้างน้อยไม่กิน เพราะคิดถึงถิ่นมารดา </p> |
− | |||
− | <p align = "center"> ยกงวงฟาดงา น้าตาไหลริน | ||
− | |||
<p align = "center"> ร้องประกอบการรำเป็นคู่ </p> | <p align = "center"> ร้องประกอบการรำเป็นคู่ </p> | ||
<p align = "center"> คล้องเสียเถิดแม่ (พ่อ) คล้อง อย่าจดอย่าจ้อง คล้องเอาตัวงามเอย คล้องช้างมาได้แล้วเหวย คล้องช้างมาได้แล้ววา มัดไว้ที่ต้นยอ ช้างเถื่อนเข้ามาเกย เลยเอาช้างต่อ ต้นยอเล็กนัก ระวังจะหักโผงเอย </p> | <p align = "center"> คล้องเสียเถิดแม่ (พ่อ) คล้อง อย่าจดอย่าจ้อง คล้องเอาตัวงามเอย คล้องช้างมาได้แล้วเหวย คล้องช้างมาได้แล้ววา มัดไว้ที่ต้นยอ ช้างเถื่อนเข้ามาเกย เลยเอาช้างต่อ ต้นยอเล็กนัก ระวังจะหักโผงเอย </p> | ||
'''3) รำวงพื้นบ้าน''' รำวงพื้นบ้าน บ้านวังพระธาตุ ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร เป็นการรำวงพื้นบ้านของไทยที่วิวัฒนาการมาจากเพลงพื้นบ้านของไทย ไม่มีท่ารำที่ชัดเจนตายตัวหรือแน่นอน ชาวบ้านจะประดิษฐ์ท่ารำกันเอง เป็นภูมิปัญญาเฉพาะถิ่น เพลงรำวงเริ่มฟื้นฟูในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงปีพุทธศักราช 2485- 2500 ได้ดำเนินการสร้างลัทธิชาตินิยมขึ้นในชนชาติไทย โดยนำรำวงพื้นบ้านภูมิปัญญาดั้งเดิมมาใส่เนื้อร้อง ให้คนไทยมีคุณสมบัติชาตินิยมขึ้น เนื้อเพลงจะบอกความเป็นคนไทยและปลุกใจให้รักชาติ ให้เข้าใจในชาติไทย และจงรักภักดีต่อชาติไทย และสอนให้หญิงไทยรักนวลสงวนตัว ให้ชายไทย มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามประจำใจ (สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร, 2544 ออนไลน์) | '''3) รำวงพื้นบ้าน''' รำวงพื้นบ้าน บ้านวังพระธาตุ ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร เป็นการรำวงพื้นบ้านของไทยที่วิวัฒนาการมาจากเพลงพื้นบ้านของไทย ไม่มีท่ารำที่ชัดเจนตายตัวหรือแน่นอน ชาวบ้านจะประดิษฐ์ท่ารำกันเอง เป็นภูมิปัญญาเฉพาะถิ่น เพลงรำวงเริ่มฟื้นฟูในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงปีพุทธศักราช 2485- 2500 ได้ดำเนินการสร้างลัทธิชาตินิยมขึ้นในชนชาติไทย โดยนำรำวงพื้นบ้านภูมิปัญญาดั้งเดิมมาใส่เนื้อร้อง ให้คนไทยมีคุณสมบัติชาตินิยมขึ้น เนื้อเพลงจะบอกความเป็นคนไทยและปลุกใจให้รักชาติ ให้เข้าใจในชาติไทย และจงรักภักดีต่อชาติไทย และสอนให้หญิงไทยรักนวลสงวนตัว ให้ชายไทย มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามประจำใจ (สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร, 2544 ออนไลน์) | ||
− | เพลงรำวงพื้นบ้านของชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลนครไตรตรึงษ์ มีดังต่อไปนี้ (สันติ อภัยราช, 2557 ออนไลน์) | + | เพลงรำวงพื้นบ้านของชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลนครไตรตรึงษ์ มีดังต่อไปนี้ (สันติ อภัยราช, 2557 ออนไลน์) เพลงเคารพธง เป็นเพลงปลุกใจให้ประชาชน รักชาติ และกล่าวถึงนายควง อภัยวงศ์ มารั้งตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี แทน จอมพล ป.พิบูลสงคราม |
− | เพลงเคารพธง เป็นเพลงปลุกใจให้ประชาชน รักชาติ และกล่าวถึงนายควง อภัยวงศ์ มารั้งตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี แทน จอมพล ป.พิบูลสงคราม |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:51, 7 มกราคม 2564
เนื้อหา
บทนำ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านของนครไตรตรึงษ์ จังหวัดกำแพงเพชรมีนครโบราณซุกซ่อนอยู่นั่นคือนครไตรตรึงษ์ โบราณสถานซึ่งมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานนับพันปีและมีเรื่องราวเล่าขานว่าเป็นที่มาของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยา ความสำคัญและความพิเศษของนครไตรตรึงษ์ยังไม่ได้หมดเพียงเท่านี้ นครไตรตรึงษ์ยังมีการแสดงพื้นบ้านที่มีการสืบทอดกันมานับร้อยปี อาทิ ระบำ ก.ไก่ รำคล้องช้าง ระบำพื้นบ้าน และการแสดงพื้นบ้านประเภทอื่นๆ ที่โดดเด่นและสวยงามที่ยังดำรงอยู่ได้ด้วยการอนุรักษ์และสืบทอดไปยังรุ่นลูกรุ่นหลานโดยพ่อเพลง แม่เพลง ที่เป็นศิลปินพื้นบ้านเป็นสำคัญ
คำสำคัญ : วัฒนธรรม, การแสดงพื้นบ้าน, นครไตรตรึงษ์
วัฒนธรรมพื้นบ้าน (พื้นเมือง) และภูมิปัญญาท้องถิ่น
วัฒนธรรมพื้นบ้านหรือวัฒนธรรมพื้นเมือง หมายถึง วัฒนธรรมของประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งประชาชน หรือชาวบ้านกำหนดหรือสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของสังคมพื้นบ้านซึ่งเป็นสังคมย่อยในสังคมไทย มีการแบ่งวัฒนธรรมย่อยออกเป็นกลุ่มตามลักษณะที่ตั้ง ได้แก่ วัฒนธรรมล้านนา วัฒนธรรมอีสาน วัฒนธรรมอีสานใต้ วัฒนธรรมภาคกลางตอนบน วัฒนธรรมภาคกลาง วัฒนธรรมภาคใต้ตอนบน และวัฒนธรรมภาคใต้ตอนล่าง วัฒนธรรมพื้นบ้านไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้อย่างชัดเจน เนื่องจากวัฒนธรรมพื้นบ้านเป็นวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นเอง เกิดจากการจัดระเบียบ กฎเกณฑ์ในการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความสุขและเพื่อความเป็นระเบียบในสังคมพื้นบ้าน โดย Boonyaratanaphun T. (อ้างถึงใน Jirachai, 2001, ออนไลน์) ได้กล่าวถึงวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมพื้นบ้านมี 3 แบบด้วยกัน คือ 1) แบบมุขปาฐะ เน้นถึงการถ่ายทอดด้วยวาจาเป็นส่วนใหญ่ และรับรู้ได้ด้วยโสตสัมผัส เช่น เพลงพื้นบ้าน ภาษาสำนวนโวหาร ภาษิต ปริศนาคำทาย นิทาน ฯลฯ 2) แบบอมุขปาฐะ เน้นถึงการถ่ายทอดด้วยกิริยาท่าทาง รูปลักษณ์ และรับรู้ด้วยสัมผัสอื่นๆ นอกเหนือจากโสตสัมผัส เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม เป็นต้น 3) แบบผสม หมายถึง การถ่ายทอดให้เป็นทั้งแบบแบบมุขปาฐะและแบบอมุขปาฐะ เช่น ระบำชาวบ้าน ละครชาวบ้าน กีฬาพื้นบ้าน ประเพณีพื้นบ้าน ฯลฯ เมื่อวัฒนธรรมมีความสำคัญและประโยชน์ต่อคนในสังคม ดังนั้นจึงควรจะมีการฟื้นฟูและส่งเสริมวัฒนธรรมพื้นบ้าน ด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ 1) สถาบันการศึกษาควรมีบทบาทสำคัญในการสืบทอดวัฒนธรรมพื้นบ้านด้วยการสร้าง การผลิตซ้ำโดยสร้างความสัมพันธ์กันระหว่างผู้เฒ่าและผู้ใหญ่ ผู้เฒ่าเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนให้ปัญญาชนฟัง ปัญญาชนซักถาม กรองข้อมูลแล้วถ่ายทอดคืนกลับสู่คนในชุมชน เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมข้าม รุ่นอายุมีการปรับหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยสอดแทรกวัฒนธรรมพื้นบ้านเข้าไปในเนื้อหาหรือ กิจกรรมการสอน 2) การสนับสนุนจากองค์กรทางสังคม นั่นคือวัฒนธรรมของชุมชนจะดำรงอยู่ได้และทำให้ชุมชน เข้มแข็งนั้นอาจมีการรวมกลุ่มเป็นองค์กรชุมชน เช่น สหกรณ์ เป็นต้น อีกทั้งหน่วยงานต่างๆ ให้การสนับสนุน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมพื้นบ้าน 3) ปรับวัฒนธรรมพื้นบ้านกับวัฒนธรรมต่างชาติให้สอดคล้องกัน เป็นการผนวกเอาความก้าวหน้า ของวัฒนธรรมอื่นๆ เข้ากับวัฒนธรรมพื้นบ้านของไทย ค้นหาว่าเทคโนโลยีแบบไหนที่เหมาะสมกับชุมชน และอยู่ในรูปแบบที่ชาวบ้านยอมรับได้ ควบคุมได้ 4) การค้นคว้าถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของวัฒนธรรมพื้นบ้าน เพื่อสร้างความเข้าใจและ สามารถอธิบายความสัมพันธ์หรือการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น และนำไปใช้พัฒนาประเทศต่อไป
ความหมายของการแสดงพื้นบ้าน
การแสดงพื้นบ้าน เป็นการแสดงที่แสดงออกถึงการสืบทอดทางศิลปะและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นที่สืบทอดกันต่อ ๆ มาอย่างช้านาน ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน การแสดงจะออกมาในรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ สิ่งแวดล้อม อาชีพ และความจำเป็นทางเศรษฐกิจ ตลอดจนอุปนิสัยของประชาชนในท้องถิ่น จึงทำให้การแสดงพื้นเมือง มีลีลาท่าทางที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน คือ เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง และพักผ่อนหย่อนใจ (พรทิพา บุญรักษา, 2559, ออนไลน์) การแสดงพื้นบ้าน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่า ที่บรรพบุรุษไทยได้สั่งสม สร้างสรรค์ และสืบทอดไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เพื่อให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียนรู้และรักในคุณค่าในศิลปะไทยในแขนงนี้ เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย และพร้อมที่จะช่วยสืบทอด จรรโลง และธำรงไว้เป็นสมบัติของชาติสืบไป การแสดงพื้นบ้าน เป็นการแสดงเพื่อก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ สังคม วัฒนธรรม แต่ละท้องถิ่น ดังนั้นการแบ่งประเภทของการแสดงพื้นเมืองของไทย โดยทั่วไปจะแบ่งตามส่วนภูมิภาค ดังนี้ 1) การแสดงพื้นบ้านของภาคเหนือ จากสภาพภูมิประเทศที่อุดมไปด้วยป่า มีทรัพยากรมากมาย มีอากาศหนาวเย็น ประชากรมีอุปนิสัยเยือกเย็น นุ่มนวล งดงาม รวมทั้งกิริยา การพูดจา มีสำเนียงน่าฟัง จึงมีอิทธิพลทำให้เพลงดนตรีและการแสดง มีท่วงทำนองช้า เนิบนาบ นุ่มนวล ตามไปด้วย การแสดงของภาคเหนือ เรียกว่า ฟ้อน เช่น ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนสาวไหม เป็นต้น 2) การแสดงพื้นบ้านของภาคกลาง โดยธรรมชาติภูมิประเทศเป็นที่ราบ เหมาะสำหรับอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน และเป็นศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรม การแสดงจึงออกมาในรูปแบบของขนบธรรมเนียมประเพณี และการประกอบอาชีพ เช่น เต้นกำรำเคียว เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงฉ่อย เพลงอีแซว ลิเก ลำตัด กลองยาวเถิดเทิง เป็นต้น 3) การแสดงพื้นบ้านของอีสาน ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของภาคอีสานเป็นที่ราบสูง มีแหล่งน้ำจากแม่น้ำโขง แบ่งตามลักษณะของสภาพความเป็นอยู่ ภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่างกัน ประชาชนมีความเชื่อในทางไสยศาสตร์มีพิธีกรรมบูชาภูติ ผี และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การแสดงจึงเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และสะท้อนให้เห็นถึงการประกอบอาชีพและความเป็นอยู่ได้เป็นอย่างดี การแสดงของภาคอีสานเรียกว่า เซิ้ง เป็นการแสดงที่ค่อนข้างเร็ว กระฉับกระเฉง สนุกสนาน เช่น เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งโปงลาง เซิ้งกระหยัง เซิ้งสวิง เซิ้งดึงครกดึงสาก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี ฟ้อนที่เป็นการแสดงคล้ายกับภาคเหนือ เช่น ฟ้อนภูไท (ผู้ไท) เป็นต้น 4) การแสดงพื้นบ้านของใต้ โดยทั่วไปภาคใต้มีอาณาเขตติดกับทะเล และประเทศมาเลเซีย ประชากร จึงมีชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณีบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน ประชากรมีอุปนิสัยรักพวกพ้อง รักถิ่น ที่อยู่อาศัย และศิลปวัฒนธรรมของตนเอง จึงมีความพยายามที่จะช่วยกันอนุรักษ์ไว้จนสืบมาจนถึงทุกวันนี้ การแสดงของภาคใต้มีลีลาท่ารำคล้ายกับการเคลื่อนไหวของร่างกายมากกว่าการฟ้อนรำ ซึ่งจะออกมาในลักษณะกระตุ้นอารมณ์ให้มีชีวิตชีวาและสนุกสนาน เช่น โนรา หนังตะลุง รองเง็ง ตารีกีปัส เป็นต้น กล่าวได้ว่าการแสดงพื้นบ้านในแต่ละภาคจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันในเรื่องของมูลเหตุแห่งการแสดง ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้ 1) แสดงเพื่อเซ่นสรวงหรือบูชาเทพเจ้า เป็นการแสดงเพื่อแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือ เซ่นบวงสรวงดวงวิญญาณที่ล่วงลับ 2) แสดงเพื่อความสนุกสนานในเทศกาลต่างๆ เป็นการรำเพื่อการรื่นเริง ของกลุ่มชนตามหมู่บ้าน ในโอกาสต่างๆ หรือเพื่อเกี้ยวพาราสีกันระหว่าง ชาย – หญิง 3) แสดงเพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นการรำเพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่างๆ หรือใช้ในโอกาสต้อนรับแขกผู้มาเยือน 4) แสดงเพื่อสื่อถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอันเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ และวัฒนธรรมประเพณี เพื่อสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จัก
ประเภทของการแสดงพื้นบ้าน
1) การแสดงในเชิงร้องและขับลำ การร้องและขับลำ เป็นการใช้ภาษาเชิงปฏิภาณไหวพริบอย่างฉับไว แม้บางส่วนบางตอนจะใช้บทที่ท่องไว้แล้วก็ตาม แต่อาจนำเอามาปรุงถ้อยคำใหม่ได้ นับเป็นการแสดงที่เน้นเฉพาะการขับร้อง อาศัยถ้อยคำ ทำนอง และสำเนียงตลอดจนภาษาถิ่น ได้แก่ ภาคกลาง เช่น ลำตัด เพลงฉ่อย เพลงอีแซว เพลงพวงมาลัย เพลงเรือ เพลงเหย่อย เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงสงฟาง เพลงชักกระดาน เพลงสงคำลำพวน และเพลงพานฟาง เป็นต้น ภาคเหนือ เช่น ซออู้สาว เป็นต้น ภาคอีสาน เช่น กลอนลำ การสู่ขวัญ การพูดผญา เป็นต้น และภาคใต้ เช่น เพลงบอก เป็นต้น 2) การแสดงในเชิงเรื่องราว การแสดงใน เชิงเรื่องราวรวมทั้งการแสดงขับร้องขับลำที่ขยายออกไปเป็นเรื่องราว จนถึงการแสดงแบบละคร ซึ่งมีการแสดง เช่น ฟ้อนรำ ออกท่าทาง และจัดตัวแสดงอย่างละคร มีดนตรีประกอบบ้าง ลักษณะการแสดงอาจจะใช้เรื่องราวจากนิทาน นิยายหรือวรรณกรรมตอนใดตอนหนึ่ง ได้แก่ ภาคกลาง เช่น การแหล่ออกตัว เสภารำ สวดคฤหัสถ์ ลิเก ละครชาตรี เป็นต้น ภาคเหนือ เช่น การแสดงเรื่องน้อยไจยา เป็นต้น ภาคอีสาน เช่น หมอลำกลอน หมอลำหมู่ เป็นต้น และ ภาคใต้ เช่น โนรา ลิเกป่า เป็นต้น 3) การแสดงในเชิงขบวนแห่ การแสดงในเชิงจัดขบวน มีขึ้นเพื่อแสดงความครึกครื้นสนุกสนานในการเดินทางเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง จัดเป็นขบวนแห่ซึ่งมีการร้องรำทำเพลงและฟ้อนรำเข้าขบวนไปด้วยกัน เป็นการแสดงที่มีอยู่ทุกภาค เช่น ภาคกลาง เช่น การรำกลองยาว แตรวง กระตั้วแทงเสือ เป็นต้น ภาคเหนือ เช่น ขบวนฟ้อน กลองสะบัดไชย เป็นต้น ภาคอีสาน เช่น การเซิ้งเข้าขบวนบั้งไฟ ขบวนปราสาทผึ้ง ขบวนแห่เทียนเข้าพรรษา เป็นต้น และ ภาคใต้ เช่น แห่หมรับ การส่งตายาย เป็นต้น
คุณค่าของการแสดงพื้นบ้าน
การแสดงพื้นบ้านของไทย เป็นสิ่งที่แสดงถึงความมีอารยธรรมและความเจริญงอกงามของคนในชาติ ซึ่งสามารถจำแนกคุณค่าของการแสดงพื้นบ้านเป็นด้านต่างๆ ดังนี้ 1) คุณค่าด้านความบันเทิง ความเจริญเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของการแสดงทุกประเภท เพราะการแสดงพื้นบ้านทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินทั้งจากลีลาท่าทางของผู้แสดง ความวิจิตรงดงามของเครื่องแต่งกาย ความงามสวยงามของฉาก 2) คุณค่าด้านศิลปวัฒนธรรม การแสดงพื้นบ้านเป็นศูนย์รวมของงามศิลป์หลากหลายสาขา เช่น ดุริยางคศิลป์ นาฏศิลป์ วรรณศิลป์ มัณฑนศิลป์ วิจิตรศิลป์ และขนบธรรมเนียมประเพณีอันงดงามของท้องถิ่น 3) คุณค่าด้านจริยธรรม เนื้อเรื่องของการแสดงส่วนใหญ่จะสะท้อน คติธรรมค่านิยมทางพุทธศาสนา การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เสริมสร้างคุณธรรม และจริยธรรม 4) คุณค่าด้านความคิด การแสดง และการละเล่นพื้นบ้านหลายประเภท เป็นการแสดงความสามารถด้านคิดสร้างสรรค์ สร้างจินตนาการ สอดแทรกคติสอนใจ และแนวคิดที่เป็นประโยชน์ 5) คุณค่าด้านการศึกษา การแสดงพื้นบ้านของภาคต่างๆ ก่อให้ประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ สังคม ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม และความเชื่อของผู้คนในแต่ละท้องถิ่น
องค์ประกอบของการแสดงพื้นบ้าน
นาฏศิลป์ หมายถึง การร้องรำทำเพลง ดังนั้นองค์ประกอบของนาฏศิลป์รวมถึงการแสดงพื้นบ้านก็จะประกอบไปด้วยการร้อง การบรรเลงดนตรี และการฟ้อนรำ ทั้งนี้เพราะการแสดงออกทางนาฏศิลป์ไทยจะต้องอาศัยบทร้องทำนองเพลงประกอบการแสดง เพราะฉะนั้นก่อนที่จะมาเป็นนาฏศิลป์ไทยได้จะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญๆ ดังต่อไปนี้ (Mathematics6, 2560 ออนไลน์) 1) การฟ้อนรำหรือลีลาท่ารำ การฟ้อนรำหรือลีลาท่ารำเป็นท่าทางของการเยื้องกรายฟ้อนรำที่สวยงาม โดยมีมนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำเหล่านั้นได้ถูกต้องตามแบบแผน รวมทั้งบทบาทและลักษณะของตัวละคร ประเภทของการแสดง และการสื่อความหมายที่ชัดเจน 2) จังหวะ จังหวะเป็นส่วนย่อยของบทเพลงที่ดำเนินไปเป็นระยะและสม่ำเสมอ การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทย จำเป็นต้องใช้จังหวะเป็นพื้นฐานในการฝึกหัด เพราะจังหวะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน หากผู้เรียนมีทักษะทางการฟังจังหวะแล้วก็สามารถรำได้สวยงาม แต่ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจจังหวะ ก็จะทำให้รำไม่ถูกจังหวะหรือเรียกว่า "บอดจังหวะ" ทำให้การรำก็จะไม่สวยงามและถูกต้อง 3) เนื้อร้องและทำนองเพลง เนื้อร้องและทำนองเพลงการแสดงลีลาท่ารำแต่ละครั้งจะต้องสอดคล้องตามเนื้อร้องและทำนองเพลง ทั้งนี้เพื่อบอกความหมายของท่ารำ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในการแสดงได้ตามเนื้อเรื่อง ตลอดจนสามารถสื่อความหมายให้กับผู้ชมเข้าใจตรงกันได้ เช่น การแสดงอารมณ์รัก ผู้รำจะประสานมือทาบไว้ที่หน้าอก ใบหน้ายิ้มละไม สายตามองไปยังตัวละครที่รำคู่กัน เป็นต้น 4) การแต่งกาย การแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์สามารถบ่งบอกถึงยศ ฐานะ และบรรดาศักดิ์ของผู้แสดงละครนั้นๆ โดยเฉพาะการแสดงโขน การแต่งกายจะเปรียบเสมือนแทนสีกายของตัวละคร เช่น เมื่อแสดงเป็น หนุมานจะต้องแต่งกายด้วยชุดสีขาว มีลายปักเป็นลายทักษิณาวัตร สวมหัวขนลิงสีขาวปากอ้า เป็นต้น 5) การแต่งหน้า การแต่งหน้าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ผู้แสดงสวยงาม และอำพรางข้อบกพร่องของใบหน้าของผู้แสดงได้ นอกจากนี้ก็ยังสามารถใช้วิธีการแต่งหน้าเพื่อบอกวัย บอกลักษณะเฉพาะของตัวละครได้ เช่น แต่งหน้าคนหนุ่มให้เป็นคนแก่แต่งหน้าให้ผู้แสดงเป็นตัวตลก เป็นต้น 6) เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบการแสดง การแสดงนาฏศิลป์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการแสดง ดังนั้นผู้แสดงจะต้องรำให้สอดคล้องตามเนื้อร้องและทำนองเพลงในขณะเดียวกัน ดนตรีก็เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการช่วยเสริมให้การแสดงสมบูรณ์ และสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในการแสดงให้สมจริงยิ่งขึ้นด้วย 7) อุปกรณ์การแสดงละคร การแสดงนาฏศิลป์ไทยบางชุดต้องมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงละครด้วย เช่น ระบำพัด ระบำนกเขา ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนร่ม เป็นต้น อุปกรณ์แต่ละชนิดที่ใช้ประกอบการแสดงจะต้องสมบูรณ์ สวยงามและสวมใส่ได้พอดี หากเป็นอุปกรณ์ที่ต้องใช้ประกอบการแสดง เช่น ร่ม ผู้แสดงจะต้องมีทักษะในการใช้อุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่ววางอยู่ในระดับที่ถูกต้องสวยงาม
การอนุรักษ์การแสดงพื้นบ้าน
การอนุรักษ์การแสดงพื้นบ้านไทยให้ดำรงอยู่สืบไปจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากคนไทยทุกคน ซึ่งมีหลายวิธีการด้วยกัน ดังนี้ 1) การรวบรวมข้อมูลการแสดงพื้นบ้านต่างๆ ทั้ง จากคนในท้องถิ่น และเอกสารที่ได้มีการบันทึกไว้ เพื่อนำมาศึกษา วิจัยให้เข้าใจถึงแก่นแท้ เอกลักษณ์ และคุณประโยชน์ของการแสดงนั้นๆ ซึ่งจะช่วยให้คนรุ่นใหม่เกิดการยอมรับ และนำไปปรับใช้กับชีวิตยุคปัจจุบันได้ 2) ส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของการแสดงพื้นบ้านไทย โดยเฉพาะการแสดงในท้องถิ่น ให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงเอกลักษณ์ของการแสดงพื้นบ้าน 3) การรณรงค์เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบในการอนุรักษ์การแสดงพื้นบ้านให้กับคนไทยทุกคน เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการแสดงพื้นบ้านว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน รวมทั้งภาคเอกชนต้องร่วมกันในการส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานการบริการความรู้ วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางการแสดงพื้นบ้านให้กับชุมชน 4) สร้างศูนย์กลางในเผยแพร่ประชา สัมพันธ์ผลงานทางด้านวัฒนธรรม ด้วยระบบเครือข่ายสารสนเทศ เช่นเว็บไซต์ เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตได้ง่าย อย่างไรก็ดีสื่อมวลชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม และสนับสนุนงานด้านการแสดงพื้นบ้านมากยิ่งขึ้นด้วย
การแสดงพื้นบ้านใน ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร
ศิลปินพื้นบ้านสาขาการแสดงในจังหวัดกำแพงเพชรมีอยู่หลายหมู่บ้านหลายตำบลซึ่งล้วนแต่มีความสามารถเชี่ยวชาญในศิลปะการแสดงของกลุ่มชนแต่ละกลุ่มอย่างสุดยอด ศิลปินพื้นบ้านต่างๆ เคยมีการนำเสนอการแสดงไปอย่างหลากหลายตั้งแต่เวทีลานวัฒนธรรมหมู่บ้านจนถึงหน้าพระที่นั่ง ล้วนเป็นเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของศิลปินพื้นบ้านอย่างที่ไม่สามารถบรรยายได้ (สันติ อภัยราช, 2557, ออนไลน์) ศิลปินพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงในจังหวัดกำแพงเพชร มีดังนี้ 1) หมู่ที่ 3 ปากคลองใต้ อันมีศิลปินกว่า 30 ชีวิตที่โลดแล่นบนงานวัฒนธรรมมาหลายชั่วอายุคนรุ่นต่อรุ่นที่สามารถสืบสานวัฒนธรรมการแสดงได้อย่างโดดเด่นและงดงาม มีแม่วันเพ็ญ บุญญาสิทธิ์ เป็นประธานกลุ่ม ทุกท่านให้ความร่วมมืออย่างวิเศษสุดในการแสดงทุกครั้ง ทุกท่านมีฐานะดี ปัจจัยที่ได้รับเป็นเพียงกำลังใจที่ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนในการทำงานอย่างเต็มใจ บ้านหมู่ที่ 3 ปากคลองใต้ มีการแสดงพื้นบ้านที่น่าสนใจและยกย่องสืบมาจำนวน 4 ชุด คือ รำแม่ศรี ที่สืบสานวัฒนธรรมมาแต่สมัยอยุธยาเป็นราชธานี งดงามและยิ่งใหญ่แฝงเร้นภูมิปัญญาไว้อย่างมากที่สุด รำพวงมาลัย เป็นการแสดงทางวัฒนธรรมที่งดงาม บทร้อง ท่ารำล้วนงดงาม ถ่ายทอดจากชีวิตจริงในอดีตอย่างจริงจัง ระบำคล้องช้าง เป็นแสดงพื้นบ้านที่แสดงออกถึงอาชีพการทำไม้ของชาวนครชุมนำมาดัดแปลงเป็นการแสดงได้อย่างร่วมสมัย รำโทนเป็นการแสดงพื้นบ้านที่เกิดใหม่ที่สุด ดัดแปลงมาจากรำวงพื้นบ้าน รุ่งเรืองในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เนื้อเพลงบอกถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านได้อย่างลึกซึ้ง 2) หมู่ที่ 4 ปากคลองกลาง เป็นหมู่บ้านเก่าแก่คู่กับหมู่ที่ 3 ปากคลองใต้ ได้ร่วมจรรโลงการแสดงพื้นบ้านไว้สองชนิด คือระบำร้องแก้ และลิเกป่า ซึ่งอนุรักษ์ไว้ได้อย่างดีที่สุดภายใต้การนำของ แม่สุวรรณ สังข์สุวรรณ ประธานกลุ่มศิลปินพื้นบ้านหมู่ที่ 4 การแสดงประกอบด้วย ระบำร้องแก้ เป็นการแสดงร้องแก้กันระหว่างชายหญิง เนื้อหาเกี้ยวพาราสีกันโดยใช้วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นมาร้องโต้ตอบกันอย่างไพเราะ กินใจและได้ความรู้อย่างท่วมท้น ลิเกป่าเป็นการแสดงพื้นบ้านที่ยุคสมัยลิเกรุ่งเรือง หนุ่มสาวนำลิเกมาร้องโต้ตอบกันโดยเล่นกันในป่า ในกลางทุ่งบนหลังควายจึงเรียกกันว่าลิเกป่า ไพเราะและเสียดแทงอารมณ์ความรู้สึกอย่างมาก 3) ศิลปินพื้นบ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มิได้มีการย้ายเข้าออกหลายร้อยปี ทำให้มีการแสดงที่เป็นแบบโบราณซ่อนอยู่เป็นจำนวนมากที่มีชื่อเสียง ผู้นำในการแสดงคือ แม่เสนอ สิทธิ และอาจารย์สุขศรี สิทธิ ที่รวบรวมศิลปินเข้าไว้อย่างเป็นปึกแผ่นมั่นคง มีหลากหลายประเภทได้แก่ ระบำก.ไก่ เป็นการแสดงที่แสดงถึงอัจฉริยภาพของของภาษา ตั้งแต่ก.ไก่ ถึง ฮ นกฮูก เป็นการสอนภาษาไทยอักขระที่ชาญฉลาดเท่าที่เคยพบมา เนื้อหาของเพลงสนุกสนาน กินใจ ไพเราะน่าฟังยิ่งนัก รำคล้องช้าง เป็นการแสดงที่ไพเราะอ่อนโยน ลักษณะคล้ายเพลงกล่อมเด็กแตกต่างจากระบำคล้องช้างเมืองนครชุม รำวงพื้นบ้าน เนื้อหาของเพลงบอกถึงประวัติศาสตร์และความเป็นมาของบ้านเมืองในแต่ละยุคสมัยอย่างเด่นชัดที่สุด 4) ศิลปินพื้นบ้านเขาทอง ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ชาวเขาทองอพยพมาจากตำบลเขาทอง อำเภอพยุหคีรี จังหวัดนครสวรรค์ แต่ยังรักษาวัฒนธรรมการแสดงไว้ได้อย่างดีที่สุดภายใต้การนำของ นางนาม เผือกคล้าย และนายชด เผือกคล้าย สองสามีภรรยาผู้มุ่งมั่นในการสืบสานวัฒนธรรมการแสดง มีการแสดงหลายชุด อาทิ รำโทนเขาทอง มีเพลงไพเราะจำนวนมาก การรำชี้บท คือ แสดงท่ารำตามเนื้อหานั้นๆ ถือว่าเป็นสุดยอดของการแสดงรำโทนเลยทีเดียว เต้นกำรำเคียวมีเนื้อเพลงและมีลีลาที่แตกต่าง ไพเราะน่าฟัง ท่ารำสวยงาม เหมาะสำหรับการสืบทอดวัฒนธรรม 5) ศิลปินพื้นบ้านชาววังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้การนำของ กำนันฟุ้ง ปานสุด กำนันตำบลวังแขม การแสดงที่สุดยอดที่สุด คือ การเล่นเพลงฉ่อย นับว่าดัดแปลงแต่งเติมเนื้อร้องได้อย่างงดงามไพเราะและทรงคุณค่ามากที่สุด ในบทความเรื่องนี้จะนำเสนอแต่การแสดงพื้นบ้านในตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรเท่านั้นนั่นคือ ศิลปินพื้นบ้านวังพระธาตุ เนื่องจากเป็นพื้นที่ๆ มีประวัติศาสตร์ด้านการแสดงพื้นบ้านมาอย่างยาวนานและมีการแสดงที่เป็นแบบโบราณซ่อนอยู่เป็นจำนวนมาก
ศิลปินพื้นบ้านวังพระธาตุ
ศิลปินพื้นบ้านวังพระธาตุมีการแสดงพื้นบ้านที่เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียง ได้แก่ 1) ระบำก.ไก่ 2) รำคล้องช้าง และ 3) รำวงพื้นบ้าน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) ระบำก.ไก่ บ้านวังพระธาตุ เป็นชุมชนโบราณที่มีประชาชนตั้งถิ่นฐานสืบต่อกันมาหลายร้อยปี ทำให้สามารถสั่งสมวัฒนธรรมอย่างหลากหลายและร่วมกันจรรโลงและฟื้นฟูวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้านสู่วิถีชีวิตของคนวังพระธาตุให้มีความสุขได้อย่างวิเศษสุด ระบำก.ไก่ เป็นการแสดงชุดใหญ่ที่สืบทอดกันมานับร้อยปี บุคคลที่ควรกล่าวถึงคือ แม่เสนอ สิทธิ เป็นผู้สืบทอดงานวัฒนธรรมสำคัญนี้สู่ประชาชนบ้านวังพระธาตุ และน่าภูมิใจที่ อาจารย์สุขศรี สิทธิ ลูกสาวของคุณแม่เสนอได้ร่วมถ่ายทอดเจตนารมณ์ทางวัฒนธรรมของคุณแม่ไว้ทั้งสิ้น เพลงพื้นบ้านระบำ ก.ไก่จึงไม่สูญจากบ้านวังพระธาตุอย่างแน่นอน ระบำก.ไก่ ดัดแปลงมาจากเพลงกลางบ้านที่เดิมมีเนื้อหาบทร้องเป็นการโต้ตอบเกี้ยวพาราสีระหว่างชาย หญิง เป็นการด้นสดๆ เมื่อมีการเรียนการสอนในโรงเรียน คงมีผู้รู้แต่งบท ระบำก.ไก่ ให้นักเรียนเรียนได้อย่างไพเราะและกลมกลืนอย่างที่สุด ระบำก.ไก่ แสดงให้เห็นถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมของบ้านวังพระธาตุ อย่างเด่นชัดมีบทไหว้ครู ที่ตรงตามแบบฉบับของการแสดงพื้นบ้านว่าก่อนเล่นระบำก.ไก่ นั้น ต้องไหว้ครูก่อน เพราะจะต้องมีครูฝึกสอนจึงจะมาเล่นได้ ขอไหว้พระครูสูงสุด คือองค์พระพุทธ พระธรรม อีกทั้งพระสงฆ์ชี้นำทางสดใส ทั้งครูร้อง ครูรำ ที่ท่านดังมากล่าว ลูกขอกราบไหว้วอน ซึ่งพระคุณทั้งหลาย ลูกจะร้องจะรำขออย่าให้ขัดข้อง ขอให้พระคุณทั้งผองจงช่วยอวยชัย แล้วนำตัวอักษรทั้ง 44 ตัวมาร้อยเรียงได้อย่างไพเราะ โต้ตอบกันจนครบตัวอักษร เป็นภูมิปัญญาไทยภูมิปัญญาวังพระธาตุอย่างน่าสนใจเป็นที่สุด ฝ่ายชายร้อง : แม่ ก.ไก่งามเกิน พี่ร้องเกริ่นทำไมไม่กลับ แม่การะเกด ซ่อนกาบ ช่างส่งกลิ่น หอมไกล ฝ่ายหญิงร้อง : พ่อ ก.ไก่งามเกิน เห็นจะไม่ได้เกลี้ยกล่อม อย่าทำหน้าเก้ออกกรอมไปเลยนะพ่อหนุ่มบ้านไกล ฝ่ายชายร้อง : แม่ อ.อ่างเอออวย เหมือนน้ำเอ่อปากอ่าว ถ้าน้องจะเอาก็เอา อย่าทำเป็นคนขี้อาย ฝ่ายหญิงร้อง : พ่อ อ.อ่าง โอ้อวด พี่อย่างมาทำออดอ้อน น้องไม่ใช่คนใจอ่อน หรอกนะคนหน้าไม่อาย ทุกตอนจะมีคำสร้อยว่า เอ่อระเหยลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป ตอนจบมีบทจบและบทลาจากที่ไพเราะและท้าทายผู้ชมเป็นอย่างมาก จบแล้วระบำ ก.ไก่ เป็นอย่างไรท่านผู้ชม ถ้าท่านเห็นเหมาะสม ช่วยกันอนุรักษ์เพลงไทย ครบตัวอักษร 44 พวกผมขอหนีจากท่านผู้ชม ทั้งหลายขอให้โชคดีมีชัย ระบำ ก.ไก่ มีคุณค่าทางวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย และทรงคุณค่าอย่างที่สุด ได้แก่ 1) คุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ แสดงการใช้ถ้อยคำ สัมผัสทั้งสระและสัมผัสอักษร ที่มีชั้นเชิงแพรวพราว แสดงถึงปฏิภาณและไหวพริบของผู้แสดง ในการร้องโต้ตอบกัน ใช้โวหารอุปมาอุปไมยโต้ตอบกัน ตรงไปตรงมาเห็นภาพพจน์อย่างชัดเจน 2) คุณค่าทางสังคม สะท้อนให้เห็นสภาพสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ แนวคิด และความเชื่อ อาหารการกิน สภาพภูมิศาสตร์ การติดต่อคมนาคม แนวคิดในการเลือกหาคู่ครอง ความรัก ตลอดจนการถ่ายเทวัฒนธรรมใหม่ เขามาในบทร้อง 3) คุณค่าทางจิตใจ ต่อประชนชาววังพระธาตุ ที่ได้มีโอกาสสนุกสนาน รื่นเริง ร่วมพบปะพูดคุยระหว่าง หนุ่มสาว โดยไม่ผิดประเพณี และศีลธรรม เพราะเป็นงานรื่นเริง เช่นงานสงกรานต์ ซึ่ง ในหนึ่งปีมีครั้งเดียวให้หนุ่มสาวได้มีโอกาสพบปะกัน สมควรที่จะได้ยกย่องพ่อเพลง แม่เพลง และสืบทอดการแสดงดังกล่าวไปสู่ลูกหลาน เมื่อมี โอกาสที่จะสนับสนุน ให้ศิลปินพื้นบ้านมาแสดงออกในงานประเพณีต่างๆ ของชาวกำแพงเพชร แม้จะไม่ทันสมัยหรือมิใช่กระแสนิยม ควรให้โอกาสการแสดงพื้นบ้านของกำแพงเพชรได้อยู่คู่กำแพงเพชรตลอดไป วิธีการเล่นของเพลงระบำ ก. ไก่ (สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร, 2544 ออนไลน์) 1) ผู้เล่นประกอบด้วย ฝ่ายชายและฝ่ายหญิง จำนวนเท่าๆ กัน แบ่งเป็นพ่อเพลงแม่เพลงและลูกคู่ 2) การแต่งกายชุดไทยพื้นบ้าน คือ นุ่งโจงกระเบนทั้งชายและหญิง ฝ่ายชายใส่เสื้อคอกลม มีผ้าขาวม้าคาดเอว ฝ่ายหญิงใส่เสื้อแขนกระบอก หรือเสื้อผ้าลูกไม้ไม่มีผ้าคาดเอว 3) วิธีการเล่น เริ่มต้นด้วยบทไหวัครูร้องสลับกันระหว่างชายหญิง ลูกคู่รับด้วยคำสร้อยที่ว่า “เอ้อระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป” จนถึง ฮ.นกฮูก จึงจบด้วยบทส่งท้าย ระหว่างการร้องนั้นใช้จังหวะปรบมือกำกับ เช่นเดียวกับเพลงฉ่อย และขณะร้องพ่อเพลงกับแม่เพลงจะใช้ท่ารำสอดสร้อยมาลาประกอบการร้องโดยตลอด 4) โอกาสในการเล่น จะเล่นในงานรื่นเริงต่างๆ ของท้องถิ่น ได้แก่ วันตรุษ และวันสงกรานต์ บทร้องของเพลงระบำ ก. ไก่
บทไหว้ครู
(สร้อย) เอ้อระเหยลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
ก่อนเล่นระบำ ก. ไก่ นั้น จะต้องไหว้ครูก่อน เพราะจะต้องมีครูฝึกสอนจึงจะมาเล่นได้
(สร้อย) ขอไว้ขอพระครูสูงสุด คือ องค์พระพุทธ พระธรรม อีกทั้งสองชี้นำ ทางสดใส ทั้งครูรำ ที่ท่าน ดังมาก่อน ลูกขอกราบไหว้วาน ซึ่งพระคุณทั้งหลาย ลูกจะร้องจะรำ ขออย่าให้ขัดข้อง ขอให้พระคุณทั้งผอง จงช่วยอวยชัย
บทเกริ่น
เรื่องระบำ ก. ไก่ นั้นเป็นของเก่ามาช่วยกันขัดเกลา ให้มันเกิดกลับกลาย (สร้อย) เดี๋ยวนี้ระบำ ก.ไก่ มันไม่มีเหมือนแต่ก่อน เพราะจะเป็นเพียงบทกลอน เป็นเพลงฉ่อยกลายๆ เพราะมันเป็นของเก่า ๆ เราจึงเอามาเกริ่นให้รุ่งเรืองจำเริญ ช่วยอนุรักษ์กันเข้าไว้
บทร้อง
(สร้อย) เอ้อระเหยลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
(ชาย) แม่ ก. ไก่งามเกิน พี่ร้องเกริ่นทำไมไม่กลับ แม่การะเกดซ่อนอาบช่างส่งกลิ่นหอมไกล (สร้อย)
(หญิง) พ่อ ก. ไก่งามเกิน เห็นจะไม่ได้เกลี้ยกล่อม อย่าทำหน้าเก้ออกกรอบ ไปเลยพ่อหนุ่มบ้านไกล
(ชาย) แม่ ข. ไข่งามขำ น้องอย่งทำขัดข้อง จงหาคู่ไว้ประคอง เสียเมื่อยามเจ็บไข้
(หญิง) พ่อ ข. ไข่งามขำ เห็นจะไม่ได้คลึงเคล้า พอเห็นกกขาขาวๆ ประเดี๋ยวจะนอนเป็นไข้
(ชาย) แม่ ฃ. ขวดขวยเขิน ขอให้พี่กกขา ถ้าได้เป็นเขยอยู่คา แล้วพี่ไม่คิดซื้อขาย
(หญิง) พ่อ ฃ. ขวดขวยเขิน ถ้ารักน้องให้มาขอ จะเฝ้ากอดเคลียคลอ แม่แก้มขาวกลัวจะข่าย
(ชาย) แม่ ค. ควายน่าขี่ให้เอาตัวพี่ไปเป็นเจ้าของ มันไม่ได้กอดประคอง ละพ่อหน้าขนเป็นควาย
(หญิง) พ่อ ค. ควายน่าขี่ไม่เอาตัวพี่เป็นเจ้าของ จะขี่ควายลงคลอง ค่อยๆ คลึง ค่อยๆ ไหล
(ชาย) แม่ ฆ. ระฆังดังเคร่ง หรือจะไม่ได้ประคอง แม่นมคัดเหมือนปุ่มฆ้อง หรือรักคาอยู่กับใคร
(หญิง) พ่อ ฆ. ระฆังดังเคร่ง เห็นจะไม่ได้ประคอง พี่อย่ามาพูดคล่องๆ คงจะไม่ได้คลึงไคล
(ชาย) แม่ ง. งูรูปงาม เสียแรงพี่ตามมาง้อ อย่าทำแสนงอนหน้างอ แล้วแม่เงาเดือนหงาย
(หญิง) พ่อ ง. งูรูปงาม พี่อย่าตามมาง้อ น้องไม่หลงงมหน้างอ ยอมรับผู้ชายง่ายๆ
(ชาย) แม่ จ. จานค้ำจุน บุญมาประจวบกันจัง ถ้าได้ประจำเรือจ้าง ด้วยกันแจวนั้นพี่เข้าใจ
(หญิง) พ่อ จ. จานงามจริง อย่ามารักน้อง เลยจะจ๋า อย่ามาพูดจ้อเจรจา เพราะน้องมันจนเอ๋ยใจ
(ชาย) แม่ ฉ. ฉิ่งงามโฉม มัจทำให้ชอบตาฉัน พี่อยากจะชิดกระชั้น กับแม่ช่อจันทร์ฉาย
(หญิง) พ่อ ฉ. ฉิ่งของฉัน พอเป็นน้ำเชื่อมกระฉ่อน พอได้ชิมเพียงหนึ่งช้อน ก็ลืมแม่ช่อจันทร์ฉาย
(ชาย) แม่ ช. ช้างเชยชม พี่ขอเชิญชวนเผ้าชี้ มาคั่วช่องเอี่ยวชี หวังชิ่งเชิงเอาชัย
(หญิง) พ่อ ช. ช้างเชยชวน อย่ามาแอบชมร้อยชั่ง อย่ามาผูกมารักผูกชัง ให้เป็นเช่นเลยหนอชาย
(ชาย) แม่ ซ. โซ่เดินเซ่อ อย่างถ้าได้เธอเข้ามาซ้อน จะปักซุ้มเอาไปซ่อน อยู่ในซุ้มเชิงไทร
(หญิง) พ่อ ซ. โซ่เดินเซ่อ อย่าทำกระเซอเสียดสี อย่ามาทำเซ้าซี้ เดี๋ยวจะโดนสันตีนซ้าย
(ชาย) แม่ ฌ. กระเฌอเชยชม ขอให้พี่ชิมสักชาม พี่ไม่กระโซกให้ซ้ำ ดอกนะแม่ชื่นใจชาย
(หญิง) พ่อ ฌ. กระเฌอต้นไม้ มันไม่ได้เชยชม แล้วจะไม่ได้ลองชิมหรอกนะพี่หนุ่มลอยชาย
(ชาย) แม่ ญ. หญิงเดินย่างให้คู่ไว้เขย่า เสียเมื่อตัวยังเยาว์ ประเดี๋ยวจะแก่คราวยาย
(หญิง) พ่อ ญ. หญิงเดินย่างอย่างขึ้นต่อขย่ม จะให้ ญ.หญิงเขานิยมเชียวหรือพ่อลำไย
(ชาย) แม่ ฎ. ชฎาเดินดง ถ้าได้น้องเอามาดู จะพาเดินดงดูไม่ทิ้งน้องให้เดียวดาย
(หญิง) พ่อ ฎ. ชฎาเดินดง พี่ได้ดมดอกมาดาม มาเห็นดอกดินดำดำแล้วพี่จะทิ้งดูดาย
(ชาย) แม่ ฏ. ปฏักตัวตัน ที่หลงตนนั่นตอง พี่อยากจะแตะต้องกับแม่นมแต่งเป็นไต
(หญิง) พ่อ ฏ. ปฏักตัวตัน ให้หันหลังไปตรอง มันไม่ได้แตะได้ต้องจะพาตัวมลาย
(ชาย) แม่ ฐ. ฐานถี่ถ้วน อีแม่สวนกระถิน นานไปจะมีมลทินสมควรถ่ายก็ถ่าย
(หญิง) พ่อ ฐ. ฐานถี่ถ้วน อย่ามาถามถึงดอกกระถิน น้องกลัวจะมีมลทิน ไม่ต้องมาคิดถามไถ่
(ชาย) แม่ ฑ. มณโฑนั่งแท่น พี่อยากจะทับแทนที่ ถ้าไม่ได้ทับสักทีจะสู้กระทิกกระทาย
(หญิง) พ่อ ฑ. มณโฑนั่งแน่น มันไม่ได้แทนทับที่ แต่พอได้ทับเข้าไปสักที เดี๋ยวพี่ก็ท้อพระทัย
(ชาย) แม่ ฒ. ผู้เฒ่าเดินเกรอ พี่รักเธอเต็มที่ จนทนกระทิกให้ถี่ๆ น้องอย่าเพิ่งท้อพระทัย
(หญิง) พ่อ ฒ. เอ๋ย พ่อ ฒ.ผู้เฒ่า แม้กายของเรายังเป็นทุกข์ ความรักยังทายไม่ถูก น้องกลัวไม่สมฤทัย
(ชาย) แม่ ณ. เณรหน้านวล พี่อยากได้น้องมานอนน้าว แม่นมเหมือนหน่วยมะนาว พี่อยากสนิทเนื้อใน
(หญิง) พ่อ ณ. เณรตัวน้อย มันไม่ใช้วาสนา มันไม่ได้รจนา เสียแล้วพ่อแก้วเจียระไน
(ชาย) แม่ ด. เด็ก สวยเด็ด สงสารได้โด่ไถเดี่ยว ที่ได้ดั้นด้นมาเที่ยงคนเดียวเอ๋ยดมดาย
(หญิง) พ่อ ด. เด็ก คนดี น้องมันมีปมด้อย พอเด็ดดมเข้าสักหน่อย แล้วพี่ก็ทิ้งให้เดียวเอ๋ยดาย
(ชาย) แม่ ต. เอ๋ย ต.เต่า แลดูสองเต้าน้องเต่ง เหมือนทองขึ้นตาเต็งพี่หลงลืมตาย
(หญิง) พ่อ ต. เต่าตีนต่ำ พี่อย่ามาทำอวดโต ประเดี๋ยวจะโดนมีดโต้ถ้าไม่รักตัวกลัวตาย
(ชาย) แม่ ถ. เอ๋ย ถ.ถุง เปรียบเหมือนนาทุ่งสองแคว ไอ้ทุ่งนาทั้งสองแถวนั้นน้องจะไม่ให้ใครไถ
(หญิง) พ่อ ถ. เอ๋ย ถ.ถุง น้องมีนาทุ่งสองแถว แต่ทุ่งนาทั้งสองแถวนั้นน้องจะไม่ให้ใครไถ
(ชาย) แม่ ธ. ธงสีทอง พี่เที่ยวท่องมาหลายเที่ยว เมื่อมีหนทางพี่ก็ต้องเทียวมาหาแม่แสงอุทัย
(หญิง) พ่อ ธ. ธงชาติไทย น้องกลัวรักไม่ซื่อตรง ให้พี่ไปยกเสาธงเอาไว้สำหรับเสี่ยงทาย
(ชาย) แม่ น. หนูเนื้อนิ่ม พี่อยากเจอหน้านวลน้อง แม่ดอกโสนในหนองพี่อยากแนบเนื้อนางใน
(หญิง) พ่อ น. หนูหน้านวล มันไม่ได้น้องไปนอนน้าว จะต้องไปนอนหนาว ก็เพราะไม่ได้นางใน
(ชาย) แม่ บ. ใบไม้ใบบาง อย่าทำเป็นใบ้บ้าบ่น ให้หาคู่เทินบนเสียเถิดแม่บัวบังใบ
(หญิง) พ่อ บ. ใบบัวบาง อย่าทำเป็นใบ้บ้าบ่น อย่าทำเหมือนคนเป็นบ้า อย่ามาหลงรักบุษบาเลยนะพ่อบ่อทองใบ
(ชาย) แม่ ป. ปลานมปั้น โดนใครปั้นมาบ้างหรือไม่ แม่ ป.ปืนยิ่งเป้าจงว่าความเป็นไป
(หญิง) พ่อ ป. ปลางามป้อ มันไม่ได้แม่ปอสุกปลั่ง ให้กลับไปทำนาปรัง ไปเถอะไปพี่ไป
(ชาย) แม่ ผ. ผึ้งโผผิน พี่มาประสบพบผ่าน จะพาตัวน้องผายผัน เข้าไปในพุ่มป่าไม้
(หญิง) พ่อ ผ. ผึ้งบินผ่าน น้องไม่เอาทำผัว อย่ามาหลงพันพัว มันไม่ได้ตอดอกไผ่
(ชาย) แม่ ฝ. ฝาหน้าฝน ถึงอยู่คนละฟาก พี่จะเอารักมาฝากกับแม่แก้มเป็นไฝ
(หญิง) พ่อ ฝ.ฝาหน้าฝน อย่ามาพ่นเป็นฝอย น้องนี้ไม่ใช่ใฝ่ฝัน ถึงแม้จะฆ่าจะฟัน ก็ไม่ได้แก้มเป็นไฝ
(ชาย) แม่ พ.พานงามพร้อม เสียงช่างเพราะเหมือนพิณ พี่อุตส่าห์โผผินมาหาแม่ผ่องอำไพ
ฯลฯ
2) รำคล้องช้าง เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านวังพระธาตุ วิธีรำฝ่ายชายจะนาผ้าไปคล้องคอฝ่ายหญิงออกมารำกลางวงเป็นคู่ ๆ เมื่อจบเพลงฝ่ายหญิงจะเอาผ้านั้นไปคล้องผู้ชายคนอื่นออกมาสลับกันไปเรื่อย ๆ เมื่อฝ่ายชายคล้องจะร้องว่า “คล้องเถิดหนาพ่อคล้อง” ถ้าเป็นฝ่ายหญิงคล้องจะร้องว่า “คล้องเถิดหนาแม่คล้อง” เนื้อร้องแสดงถึงวัฒนธรรมการคล้องช้างป่ามาฝึกเพื่อใช้งานในสมัยก่อน เนื้อร้องมี 2 ช่วง คือ ร้องเกริ่นโดยนาเนื้อเพลงกล่อมเด็ก “เพลงคล้องช้าง” มาใส่จังหวะและทำนองเดียวกันใช้ร้องช่วงเกริ่นเพื่อให้รำเดินหาคู่คล้อง เมื่อขึ้น “คล้องเถิดหนา...” ผู้เล่นก็จะคล้องคู่ออกมารำ (ฉัตรชัย อินทรประพันธ์ และยุชิตา กันหามิ่ง, 2561 ออนไลน์)
ร้องเกริ่น
วันเอ๋ยวันนี้ ตัวพี่จะไปคล้องช้าง ข้ามห้วยบึงบาง ข้ามเขาพนมทอง
คล้องช้างมาได้ เก็บเอาไว้ในจาลอง เกี่ยวหญ้าเอามากอง ช้างน้อยหรือก็ไม่กิน
ยกงวงฟาดงา น้าตาไหลริน ช้างน้อยไม่กิน เพราะคิดถึงถิ่นมารดา
ร้องประกอบการรำเป็นคู่
คล้องเสียเถิดแม่ (พ่อ) คล้อง อย่าจดอย่าจ้อง คล้องเอาตัวงามเอย คล้องช้างมาได้แล้วเหวย คล้องช้างมาได้แล้ววา มัดไว้ที่ต้นยอ ช้างเถื่อนเข้ามาเกย เลยเอาช้างต่อ ต้นยอเล็กนัก ระวังจะหักโผงเอย
3) รำวงพื้นบ้าน รำวงพื้นบ้าน บ้านวังพระธาตุ ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร เป็นการรำวงพื้นบ้านของไทยที่วิวัฒนาการมาจากเพลงพื้นบ้านของไทย ไม่มีท่ารำที่ชัดเจนตายตัวหรือแน่นอน ชาวบ้านจะประดิษฐ์ท่ารำกันเอง เป็นภูมิปัญญาเฉพาะถิ่น เพลงรำวงเริ่มฟื้นฟูในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ในช่วงปีพุทธศักราช 2485- 2500 ได้ดำเนินการสร้างลัทธิชาตินิยมขึ้นในชนชาติไทย โดยนำรำวงพื้นบ้านภูมิปัญญาดั้งเดิมมาใส่เนื้อร้อง ให้คนไทยมีคุณสมบัติชาตินิยมขึ้น เนื้อเพลงจะบอกความเป็นคนไทยและปลุกใจให้รักชาติ ให้เข้าใจในชาติไทย และจงรักภักดีต่อชาติไทย และสอนให้หญิงไทยรักนวลสงวนตัว ให้ชายไทย มีศีลธรรมและวัฒนธรรมอันดีงามประจำใจ (สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร, 2544 ออนไลน์) เพลงรำวงพื้นบ้านของชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลนครไตรตรึงษ์ มีดังต่อไปนี้ (สันติ อภัยราช, 2557 ออนไลน์) เพลงเคารพธง เป็นเพลงปลุกใจให้ประชาชน รักชาติ และกล่าวถึงนายควง อภัยวงศ์ มารั้งตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี แทน จอมพล ป.พิบูลสงคราม