ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อุทยานแห่งชาติแม่วงก์"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(สร้างหน้าด้วย "== บทนำ == '''อุทยานแห่งชาติ''' (national park) คือ อุทยานที่ใช้เพื่...")
 
(พืชพันธุ์และสัตว์ป่า)
แถว 26: แถว 26:
 
           3. ป่าดิบแล้งผสมป่าเบญจพรรณชื้นประมาณ 9.24%
 
           3. ป่าดิบแล้งผสมป่าเบญจพรรณชื้นประมาณ 9.24%
 
           4. ป่าเบญจพรรณ ประมาณ 59.05 % ป่าเบญจพรรณหรือป่าผมผลัดใบมีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ต้นไม้ทั้งหมดมีการผลัดใบในฤดูแล้ง ดินมักเป็นดินร่วนทราย พบได้ในภาคเหนือ ภาตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางที่ระดับความสูง 50 – 800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีปริมาณน้ำฝน 1,200 – 1,300 มม./ปี
 
           4. ป่าเบญจพรรณ ประมาณ 59.05 % ป่าเบญจพรรณหรือป่าผมผลัดใบมีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ต้นไม้ทั้งหมดมีการผลัดใบในฤดูแล้ง ดินมักเป็นดินร่วนทราย พบได้ในภาคเหนือ ภาตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางที่ระดับความสูง 50 – 800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีปริมาณน้ำฝน 1,200 – 1,300 มม./ปี
           5. ป่าเต็งรัง ประมาณ 6.77 % ป่าเต็งรังเป็นป่าผลัดใบที่มีไม้วงศ์ยางบางชนิดเป็นไม้เด่น ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง และยางกราด โดยทั่วไปความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าเต่งรังจะน้อยกว่าป่าเบญจพรรณ เพราะดินตื้นกักเก็บน้ำได้น้อย มีหินบนผิวดินมาก ก่อให้เกิดความแห้งแล้ง ป่าเต็งรังเป็นสังคมพืชเด่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบเกิดขึ้นที่ระดับความสูงประมาณ 50-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีช่วงแห้งแล้งจัดเกิน 4 เดือนต่อปี ประกอบกับปริมาณน้ำฝนตกน้อยคือ 900-1,200 มิลลิเมตรต่อปีเท่านั้น ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กำหนดการคงอยู่ของป่าเต็งรังคือ ไฟป่า ซึ่งมักเกิดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม เนื่องจากไฟเป็นตัวจัดการโครงสร้างป่าและคัดเลือกพันธุ์ไม้ ต้นฤดูแล้งใบไม้ในป่าเต็งรังจะพร้อมใจกันผลัดใบเป็นสีแดง เหลือง ส้ม อย่างสวยงาม แล้วจะสลัดใบทิ้งจนหมด กลายเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีเมื่อไฟป่าเกิดขึ้น หลักจากไฟผ่านไปพื้นป่าจะโล่งเตียน แต่เมื่อได้รับน้ำฝน ป่าเต็งรังก็จะกลับเขียวสดขึ้นอีกครั้งด้วยหญ้าระบัด ดึงดูดสัตว์กินพืชหลายชนิดเข้ามาสู่ป่าเต็งรัง อาทิ วัวแดง กวางป่า เก้ง กระทิง กระต่ายป่า ความร้อนจากไฟยังช่วยไล่แมลงบนพื้นดินหรือใต้เปลือกไม้ให้เผยตัวออกมา กลายเป็นอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของเหล่านกกินแมลงนานาชนิดอีกด้วย ปัจจุบัน ป่าเต็งรังในประเทศไทยมีความเสื่อมโทรมลงมาก เพราะการตัดไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจออกไปใช้งาน                   สัตว์เลี้ยงพวกวัวควายเข้าไปหากินในป่าเหยียบย่ำทำลายพันธุ์ไม้ต่างๆรวมทั้งผลกระทบจากไฟป่าที่เกิดขึ้นมักรุนแรงเกินกว่าป่าจะฟื้นตัวได้ทัน
+
           5. ป่าเต็งรัง ประมาณ 6.77 % ป่าเต็งรังเป็นป่าผลัดใบที่มีไม้วงศ์ยางบางชนิดเป็นไม้เด่น ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง และยางกราด โดยทั่วไปความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าเต่งรังจะน้อยกว่าป่าเบญจพรรณ เพราะดินตื้นกักเก็บน้ำได้น้อย มีหินบนผิวดินมาก ก่อให้เกิดความแห้งแล้ง ป่าเต็งรังเป็นสังคมพืชเด่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบเกิดขึ้นที่ระดับความสูงประมาณ 50-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีช่วงแห้งแล้งจัดเกิน 4 เดือนต่อปี ประกอบกับปริมาณน้ำฝนตกน้อยคือ 900-1,200 มิลลิเมตรต่อปีเท่านั้น ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กำหนดการคงอยู่ของป่าเต็งรังคือ ไฟป่า ซึ่งมักเกิดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม เนื่องจากไฟเป็นตัวจัดการโครงสร้างป่าและคัดเลือกพันธุ์ไม้ ต้นฤดูแล้งใบไม้ในป่าเต็งรังจะพร้อมใจกันผลัดใบเป็นสีแดง เหลือง ส้ม อย่างสวยงาม แล้วจะสลัดใบทิ้งจนหมด กลายเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีเมื่อไฟป่าเกิดขึ้น หลักจากไฟผ่านไปพื้นป่าจะโล่งเตียน แต่เมื่อได้รับน้ำฝน ป่าเต็งรังก็จะกลับเขียวสดขึ้นอีกครั้งด้วยหญ้าระบัด ดึงดูดสัตว์กินพืชหลายชนิดเข้ามาสู่ป่าเต็งรัง อาทิ วัวแดง กวางป่า เก้ง กระทิง กระต่ายป่า ความร้อนจากไฟยังช่วยไล่แมลงบนพื้นดินหรือใต้เปลือกไม้ให้เผยตัวออกมา กลายเป็นอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของเหล่านกกินแมลงนานาชนิดอีกด้วย ปัจจุบัน ป่าเต็งรังในประเทศไทยมีความเสื่อมโทรมลงมาก เพราะการตัดไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจออกไปใช้งาน สัตว์เลี้ยงพวกวัวควายเข้าไปหากินในป่าเหยียบย่ำทำลายพันธุ์ไม้ต่างๆรวมทั้งผลกระทบจากไฟป่าที่เกิดขึ้นมักรุนแรงเกินกว่าป่าจะฟื้นตัวได้ทัน
 
           6. ทุ่งหญ้าหรือไร่ร้าง ประมาณ 2.21 %พบกระจัดกระจายไปตามป่าประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ เกิดจากการทำลายป่าของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่เคยอยู่อาศัยในพื้นที่ สังคมพืชที่ขึ้นทดแทนในพื้นที่ได้แก่ หญ้าคา หญ้านิ้วหนู เลา สาบเสือ พง แขมหลวง มะเดื่อ ไมยราบเครือ ไมยราบต้น ลำพูป่า หว้า ติ้วแดง งิ้วป่า มะเดื่อหอม เป็นต้น (อุทยานแห่งชาติ, 2562, ออนไลน์)
 
           6. ทุ่งหญ้าหรือไร่ร้าง ประมาณ 2.21 %พบกระจัดกระจายไปตามป่าประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ เกิดจากการทำลายป่าของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่เคยอยู่อาศัยในพื้นที่ สังคมพืชที่ขึ้นทดแทนในพื้นที่ได้แก่ หญ้าคา หญ้านิ้วหนู เลา สาบเสือ พง แขมหลวง มะเดื่อ ไมยราบเครือ ไมยราบต้น ลำพูป่า หว้า ติ้วแดง งิ้วป่า มะเดื่อหอม เป็นต้น (อุทยานแห่งชาติ, 2562, ออนไลน์)
 +
 
== ทรัพยากรสัตว์ป่า สามารถจำแนกได้ดังนี้ ==
 
== ทรัพยากรสัตว์ป่า สามารถจำแนกได้ดังนี้ ==
 
           1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 57 ชนิด 26 วงศ์
 
           1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 57 ชนิด 26 วงศ์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:11, 8 มกราคม 2564

บทนำ

         อุทยานแห่งชาติ (national park) คือ อุทยานที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการสงวนรักษา มักเป็นแหล่งสงวนที่ดินทางธรรมชาติ ที่ดินกึ่งธรรมชาติ หรือที่ดินที่สร้างขึ้น ตามประกาศหรืออยู่ในความครอบครองของรัฐเอกราช แม้ประเทศแต่ละแห่งจะนิยามอุทยานแห่งชาติของตนไว้ต่างกัน แต่มีแนวคิดร่วมกัน คือ การสงวนรักษา "ธรรมชาติแบบป่า" ไว้เพื่อคนรุ่นหลัง และเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิของชาติ ส่วนในระดับสากลนั้น องค์การระหว่างประเทศชื่อ "สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ" หรือ "ไอยูซีเอ็น" (International Union for Conservation of Nature: IUCN) และหน่วยงานในสังกัด คือ คณะกรรมการโลกว่าด้วยพื้นที่คุ้มครอง (World Commission on Protected Areas) เป็นผู้นิยามอุทยานแห่งชาติ และพื้นที่คุ้มครอง ประเภทหมวด 2 ซึ่งจัดว่าเป็นพื้นที่อันกว้างใหญ่ไพศาลมีทรัพยากรธรรมชาติสวยงามเป็นที่น่าอัศจรรย์เหมาะสำหรับการพักผ่อน มีคุณค่าทางการศึกษาหาความรู้ เช่น เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพืช-สัตว์หายาก หรือมีสิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษทางด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรม
         อุทยานแห่งชาติที่ได้มาตรฐาน นอกจากจะมีคุณสมบัติดังกล่าวแล้วจะต้องมีขนาดพื้นที่อย่างน้อย 10 ตารางกิโลเมตร บริหารงานโดยรัฐบาลกลางที่มิใช่รัฐหรือระดับจังหวัด มีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างเพียงพอที่จะสามารถป้องกันการบุกรุกได้อย่างเด็ดขาด ข้อสำคัญคือ จะต้องอนุญาตให้ไปท่องเที่ยวได้และจะต้องรักษาธรรมชาติให้คงสภาพดั้งเดิมอย่างมากที่สุด
         อุทยานแห่งชาติ และวนอุทยาน เป็นคำที่มีความหมายไม่เหมือนกัน ทั้งนี้มักมีความเข้าใจสับสนอยู่เสมอ โดยคำว่า "วนอุทยาน" (Forest Park) จะหมายถึง พื้นที่ขนาดเล็ก จัดตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์สำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ โดยจะทำการปรับปรุงตกแต่งสถานที่เหล่านี้ให้เหมาะสม มีความสวยงามและโดดเด่นในระดับท้องถิ่น  จุดเด่นอาจจะได้แก่ น้ำตก หุบเหว หน้าผา ถ้ำ หรือหาดทราย เป็นต้น

ความเป็นมาของการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ

         หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลง อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรในประเทศไทยมีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความต้องการในการดำรงชีวิต เพื่อความอยู่รอดเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ เป็นเหตุให้มีการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า เพื่อเปลี่ยนสภาพเป็นไร่น่าและเพื่อการเพาะปลูกประกอบกับความเจริญเติบโตทางด้านวัตถุและเทคโนโลยีก็ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้มีการทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เช่น การตัดไม้ ทำลายป่า และการล่าสัตว์อย่างไม่มีขอบเขตจำกัด
         ในที่สุดรัฐบาลจึงตระหนักเห็นถึงความสำคัญของการสงวนและคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติ   โดยเฉพาะป่าไม้และสัตว์ป่า จึงมีการดำเนินการจัดตั้งสวนรุกขชาติ วนอุทยาน และอุทยานแห่งชาติขึ้น โดยเมื่อปี พ.ศ.2468 ได้มีการจัดตั้งป่าภูกระดึงขึ้นเป็นวนอุทยานแห่งแรก
         จนกระทั่งปี พ.ศ.2502 ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น ได้เดินทางไปตรวจราชการทางภาคเหนือ และให้ความสนใจในเรื่องการคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าไม้ จึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ
         ต่อมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณากำหนด โครงการที่จะจัดพื้นที่ป่าให้เป็นอุทยานแห่งชาติจำนวน 14 แห่ง เสนอเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติไว้ได้ ดังนี้
         1. ขอการจัดสรรที่ดินในบริเวณป่ารวม 14 แห่ง เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
         2. ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศเขตหวงห้ามในบริเวณป่า รวม 4 แห่ง เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ คือ ป่าเทือกเขาสลอบ ป่าเขาใหญ่ ป่าทุ่งแสลงหลวง ป่าดอย-อินทนนท์
         3. ขอกำหนดป่าที่จัดตั้ง เป็นอุทยานแห่งชาติตามข้อ 1 ให้เป็นป่าสงวนตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง และสงวนสัตว์ป่าเว้นแต่ป่าภูกระดึง จังหวัดเลย ซึ่งได้กำหนดให้เป็นป่าสงวนไว้แล้ว
         วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2502  คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีประกาศพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ และในพระราชบัญญัติฉบับนี้ ยังได้กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ การขยายหรือเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติ รวมตลอดถึงการคุ้มครองและการดูแลรักษาอุทยานแห่งชาติ
         และเมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.2532 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 เพื่อระวังไม่ให้มีการนำไม้ออกจากป่าและเร่งรัดฟื้นฟูสภาพป่าไม้ พร้อมทั้งให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในอันที่จะยับยั้งในการที่จะนำไม้ออกจากป่า รวมทั้งการสั่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัมปทาน และการสิ้นสุดสัมปทาน ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เป็นเหตุให้มีการดำเนินการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติจากป่าสงวนแห่งชาติ (สำนักอุทยานแห่งชาติ, 2562, ออนไลน์)
ภาพที่ 1 แสดงป้ายหน้าทางเข้าอุทยาน.jpg

ภาพที่ 1 แสดงป้ายหน้าทางเข้าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์

         อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ และอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ตามเทือกเขาสูงชันก่อกำเนิดเป็นน้ำตกที่สวยงาม 4-5 แห่ง ทั้งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแม่วงก์อันเป็นต้นน้ำของแม่น้ำสะแกกรัง นอกจากนี้ยังมีแก่งหินทำให้เกิดน้ำตกเล็กๆ ตามแก่งหินนี้ ตลอดจนมีหน้าผาที่สวยงามตามธรรมชาติ อุทยาน  มีเนื้อที่ประมาณ 558,750 ไร่ หรือ 894 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในเขตพื้นที่อุทยานด้วย

ประวัติความเป็นมาอุทยานแห่งชาติแม่วงก์

         นายสวัสดิ์ คำประกอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมีหนังสือถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์) ขอให้จัดพื้นที่ป่าแม่วงก์-แม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีสภาพธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง สภาพป่าอุดมสมบูรณ์และเป็นป่าต้นน้ำลำธาร กำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จากการสำรวจหาข้อมูล ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกแม่กระสาหรือน้ำตกแม่กีซึ่งสูงประมาณ 200 เมตร และหน้าผาต่างๆ สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2528 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าว เป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 55 ของประเทศ
         สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนเรียงรายกันอยู่ตามเทือกเขาถนนธงชัยลดหลั่นลงมาจนถึงพื้นราบ ประมาณ 40-50 ลูก ยอดที่สูงที่สุดคือ “ยอดเขาโมโกจู” สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,964 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ ส่วนพื้นที่ราบมีไม่มาก ส่วนใหญ่อยู่บริเวณริมแม่น้ำ โดยลำน้ำแม่วงก์ หรือแม่เรวา เป็นแม่น้ำหรือลำน้ำสายหลักของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลายมีระบบนิเวศพิเศษ มีลักษณะเป็นลำธารที่ราบมีเกาะแก่งต่าง ๆ มากมายเป็นที่ตั้งของป่าละเมาะอันเป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่สำคัญและหายากใกล้สูญพันธุ์ ขณะที่ป่าริมน้ำเป็นถิ่นที่อยู่ของเสือโคร่งพันธุ์อินโดจีน แก่งลานนกยูง เป็นที่อยู่และจับคู่ผสมพันธุ์ของนกยูงพันธุ์ไทยที่เหลือเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย รวมถึงนากใหญ่ขนเรียบ ขณะที่ในลำน้ำพบปลาน้ำจืดอีกกว่า 60 ชนิด เช่น ปลาตะพากส้ม ปลาเลียหินสภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์
         ในช่วงฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน - เดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่เหมาะแก่การไปท่องเที่ยวมากที่สุด เพราะอากาศค่อนข้างหนาวเย็น อันเนื่องมาจากลิ่มความกดอากาศสูงมาจากประเทศจีนแผ่ลงมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศไทยตอนบนและปกคลุมทั่วประเทศ ลมที่พัดสู่ประเทศไทยในฤดูนี้คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิตำสุดในเดือนมกราคม ประมาณ 8.9 องศาเซลเซียส ส่วนช่วงฤดูร้อนเริ่มต้นจากเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุดในเดือนเมษายนประมาณ 38.1 องศาเซลเซียส อากาศค่อนข้างร้อนจัดและมีฝนตกน้อย ทำให้สังคมพืชป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณผลัดใบ สำหรับฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน - เดือนตุลาคม มีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,100 มิลลิเมตรต่อปี (อุทยานแห่งชาติ, 2562)

พืชพันธุ์และสัตว์ป่า

         อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ 558,750 ไร่ หรือ (894 ตร.กม.) สามารถจำแนกลักษณะพืชพรรณและสัตว์ป่า ลักษณะพืชพรรณอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ประกอบด้วย
         1. ป่าดิบเขา ประมาณ 0.88 % ขึ้นปกคลุมบนยอดเขาสูที่มีสภาพอากาศค่อนข้างหนาวเย็นตลอดปี ที่ระดับความสูงมากกว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พบได้ในทุกภาคของประเทศไทยในบริเวณที่เป็นยอดเขาสูง พันธุ์ไม้เด่น ได้แก่ ไม้วงก่อ Fagaceae และ Gymnosperm ได้แก่ พวกขุนไม้ สนสามพันปี ไม้ชั้นรอง ได้แก่ เป้ง สะเดา ขมิ้นต้น ป่าดิบเขาในประเทศไทย อาจแบ่งย่อยได้เป็น 2 สังคมย่อย คือ ป่าดงดิบเขาระดับต่ำ พบที่ระดับความสูง 1,000 – 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางและป่าดิบเขาระดับสูงพบที่ระดับความสูง 2,000 เมตร
         2. ป่าดิบแล้ง ประมาณ 21.85 % ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) มีอยู่ทั่วไปตามภาคต่าง ๆ ของประเทศ ตามที่ราบเรียบหรือตามหุบเขา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร และมีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000-1,500 ม.ม. พันธุ์ไม้ที่สำคัญ เช่น ยางแดง มะค่าโมง เป็นต้น พื้นที่ป่าชั้นล่างจะไม่หนาแน่นและค่อนข้างโล่งเตียนโครงสร้างของป่าดงดิบแล้งจะมีเรือนยอดไม้ปกคลุมต่อเนื่องกันตลอด มีพันธุ์ไม้หลายชนิด เช่น ยางแดง กระบาก ตะเคียนหิน เคี่ยมคะนอง ขึ้นผสมกับไม้ผลัดใบ เช่น ตะแบก สมพง มะค่าโมง พยุง สภาพพื้นล่างปกคลุมไปด้วยไม้พุ่ม กล้วยไม้ และเถาวัลย์เลื้อยพันไปมา ป่าชนิดนี้เหมาะสมเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่าหลายประเภท อาทิ ลิง ชะนีมงกุฎ กระทิง วัวแดง เนื้อทราย และ ไก่ฟ้าพญาลอ เป็นต้น เนื่องจากมีพืชอาหารมากอีกทั้งป่ายังไม่ชื้นจัดจนเกินไป นับเป็นป่าที่มีคุณค่าต่อประชาชนท้องถิ่นเพราะสามารถใช้เป็นแหล่งอาหารและเก็บหาของป่าที่สำคัญ นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งพืชสมุนไพร เช่น เร่ว กระวาน และว่านต่างๆ ป่าดงดิบแล้งเป็นสังคมป่าไม่ผลัดใบที่มีพืชผลัดใบขึ้นผสมอยู่ค่อนข้างมาก ทำให้ต้นไม้ส่วนหนึ่งพากันผลัดใบในฤดูแล้ง ปัจจัยหลักที่กำหนดการคงอยู่ของป่าชนิดนี้คือ ต้องมีช่วงแห้งแล้งชัดเจนอย่างน้อย 3-4 เดือน ดินลึกกักเก็บน้ำได้ดีพอสมควร เพื่อเอื้ออำนวยให้พรรณไม้บางชนิดคงใบอยู่ได้ตลอดฤดูแล้ง ปกติจะพบป่าดงดิบแล้งที่ระดับความสูงประมาณ 100-800 เมตร
         3. ป่าดิบแล้งผสมป่าเบญจพรรณชื้นประมาณ 9.24%
         4. ป่าเบญจพรรณ ประมาณ 59.05 % ป่าเบญจพรรณหรือป่าผมผลัดใบมีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ต้นไม้ทั้งหมดมีการผลัดใบในฤดูแล้ง ดินมักเป็นดินร่วนทราย พบได้ในภาคเหนือ ภาตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางที่ระดับความสูง 50 – 800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีปริมาณน้ำฝน 1,200 – 1,300 มม./ปี
         5. ป่าเต็งรัง ประมาณ 6.77 % ป่าเต็งรังเป็นป่าผลัดใบที่มีไม้วงศ์ยางบางชนิดเป็นไม้เด่น ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง และยางกราด โดยทั่วไปความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าเต่งรังจะน้อยกว่าป่าเบญจพรรณ เพราะดินตื้นกักเก็บน้ำได้น้อย มีหินบนผิวดินมาก ก่อให้เกิดความแห้งแล้ง ป่าเต็งรังเป็นสังคมพืชเด่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบเกิดขึ้นที่ระดับความสูงประมาณ 50-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีช่วงแห้งแล้งจัดเกิน 4 เดือนต่อปี ประกอบกับปริมาณน้ำฝนตกน้อยคือ 900-1,200 มิลลิเมตรต่อปีเท่านั้น ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กำหนดการคงอยู่ของป่าเต็งรังคือ ไฟป่า ซึ่งมักเกิดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม เนื่องจากไฟเป็นตัวจัดการโครงสร้างป่าและคัดเลือกพันธุ์ไม้ ต้นฤดูแล้งใบไม้ในป่าเต็งรังจะพร้อมใจกันผลัดใบเป็นสีแดง เหลือง ส้ม อย่างสวยงาม แล้วจะสลัดใบทิ้งจนหมด กลายเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีเมื่อไฟป่าเกิดขึ้น หลักจากไฟผ่านไปพื้นป่าจะโล่งเตียน แต่เมื่อได้รับน้ำฝน ป่าเต็งรังก็จะกลับเขียวสดขึ้นอีกครั้งด้วยหญ้าระบัด ดึงดูดสัตว์กินพืชหลายชนิดเข้ามาสู่ป่าเต็งรัง อาทิ วัวแดง กวางป่า เก้ง กระทิง กระต่ายป่า ความร้อนจากไฟยังช่วยไล่แมลงบนพื้นดินหรือใต้เปลือกไม้ให้เผยตัวออกมา กลายเป็นอาหารอันอุดมสมบูรณ์ของเหล่านกกินแมลงนานาชนิดอีกด้วย ปัจจุบัน ป่าเต็งรังในประเทศไทยมีความเสื่อมโทรมลงมาก เพราะการตัดไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจออกไปใช้งาน สัตว์เลี้ยงพวกวัวควายเข้าไปหากินในป่าเหยียบย่ำทำลายพันธุ์ไม้ต่างๆรวมทั้งผลกระทบจากไฟป่าที่เกิดขึ้นมักรุนแรงเกินกว่าป่าจะฟื้นตัวได้ทัน
         6. ทุ่งหญ้าหรือไร่ร้าง ประมาณ 2.21 %พบกระจัดกระจายไปตามป่าประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ เกิดจากการทำลายป่าของชาวเขาเผ่าต่างๆ ที่เคยอยู่อาศัยในพื้นที่ สังคมพืชที่ขึ้นทดแทนในพื้นที่ได้แก่ หญ้าคา หญ้านิ้วหนู เลา สาบเสือ พง แขมหลวง มะเดื่อ ไมยราบเครือ ไมยราบต้น ลำพูป่า หว้า ติ้วแดง งิ้วป่า มะเดื่อหอม เป็นต้น (อุทยานแห่งชาติ, 2562, ออนไลน์)

ทรัพยากรสัตว์ป่า สามารถจำแนกได้ดังนี้

         1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จำนวน 57 ชนิด 26 วงศ์
         2. สัตว์จำพวกนก จำนวน 305 ชนิด 53 วงศ์
         3. สัตว์เลื้อยคลาน จำนวน 22 ชนิด 11 วงศ์
         4. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก จำนวน 7 ชนิด 4 วงศ์
         5. ปลา จำพวกปลาน้ำจืด จำนวน 68 ชนิด 14 วงศ์

หน่วยงานในพื้นที่

         1. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.1 (ด่านตรวจ กม.57)
         2. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.2 (ปางข้าวสาร)
         3. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.3 (เขาเขียว)
         4. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.4 (แม่เรวา)
         5. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.5 (ปางสัก)
         6. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.6 (ซับตามิ่ง)
         7. หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ มว.7 (คลองเสือข้าม)
         8. หน่วยจัดการต้นน้ำขุนน้ำเย็น

จุดชมวิวในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์จังหวัดกำแพงเพชร

1. เขาโมโกจู

         2. ช่องเย็น
         3. เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ (เหมาะสำหรับนักดูนก)
         4. จุดชมวิวภูสวรรค์ (1,429 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล)
         5. จุดชมวิวกิ่วกระทิง
         6. ขุนน้ำเย็น
         7. แก่งนกยูง
         8. แก่งผานางคอย