ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูล เรื่อง ความเชื่อเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของชีวิตชาวม้ง อำเภอคลองขลุง"
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย "=='''ข้อมูลทั่วไป'''== ==='''ชื่อเรียก'''=== ความเชื่อการเกิดกา...") |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 5: | แถว 5: | ||
อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร | อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร | ||
=='''ข้อมูลจำเพาะ'''== | =='''ข้อมูลจำเพาะ'''== | ||
+ | ==='''ประวัติความเป็นมาคำบอกเล่าตำนาน'''=== | ||
+ | ชาวม้งเชื่อว่าโลกและธรรมชาติทั้งหลายถูกสร้างขึ้นโดยเทพเจ้าหรือ “เซ้า” ท่านได้สร้างโลกขึ้นสองโลก คือ โลกแห่งมนุษย์กับโลกแห่งผีซึ่งทั้งสองโลกต่างก็มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ต่อกันอย่างไม่อาจตัดขาดแยกอิสระจากกันได้ โลกตามทัศนะของม้ง ไม่ได้หมายถึงเพียงแผ่นดินที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เท่านั้น แต่หมายถึงระบบจักรวาลทั้งหมด และหมายถึงโลกแห่งผีด้วย ซึ่งโลกแห่งผีดำรงอยู่ในมิติที่ทับซ้อนกับโลกมนุษย์และมีกฎเกณฑ์เช่นเดียวกันกับโลกมนุษย์ชาวม้งเชื่อว่า มนุษย์สามารถสื่อสารกับโลกแห่งผีได้ด้วยการเข้าทรง โดยมีตัวแทนซึ่งจะนำข้อความ (สาร) จากผีมาสู่มนุษย์และนำความต้องการของมนุษย์ไปให้ผีทราบโดยต้องมีการเซ่นไหว้ด้วยหมูหรือไก่เป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ผีพอใจและช่วยให้มนุษย์สมหวังในสิ่งที่ต้องการปรารถนาได้ชาวม้งได้แบ่งโลกออกเป็นสองโลกซึ่งโลกทั้งสองมีความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันโดยโลกหนึ่งคือ โลกมนุษย์ ส่วนอีกโลกหนึ่งคือโลกแห่งผี แนวคิดเรื่องผีหรือวิญญาณนี้ฝังรากหยั่งลึกอยู่ในวิถีวัฒนธรรมของชาวม้งมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล เป็นความเชื่อที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งยังอยู่ในเขตประเทศจีน ต่อเมื่ออพยพโยกย้ายหนีภัยสงครามและแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่ที่อุดมสมบูรณ์จนเข้ามาอยู่ในเขตประเทศไทยชาวม้งก็ยังคงนำเอาแนวคิดความเชื่อเรื่องการไหว้ผีบรรพบุรุษมาด้วย เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจและปัดเป่าภยันอันตรายไม่ให้เกิดมีแก่ลูกหลาน แนวคิดเรื่องผีจึงติดแน่นอยู่ในวิถีชีวิตของชุมชนชาวม้งโดยทั่วไปประเพณีพิธีกรรมต่างๆ ของชาวม้งล้วนมีที่มาหรือเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อในเรื่องผีทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผีบรรพบุรุษ ซึ่งถือเป็นผีที่คอยปกป้องคุม้ครองลูกหลานที่เป็นสมาชิกในครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุขและมีความเจริญก้าวหน้า สมาชิกในครอบครัวที่ตายไปต้องกลายเป็นผีบรรพบุรุษทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นผีเหล่านี้จึงมีความผูกพันอยู่กับครอบครัวชาวม้งเชื่อว่า ในธรรมชาติ ภูเขาป่าไม้ ลำห้วย ลำธาร ที่ราบ ที่ดอน และผืนแผ่นดินทั้งหมดล้วนมีผีสิงสถิตอยู่ซึ่งชาวม้งเรียกผีเหล่านี้ว่า ผีป่า หรือ ด๊าคู ผีเหล่านี้หากเราไม่ระวังตัวเผลอไปลบหลู่ดูหมิ่น เขาก็จะทำร้ายเราให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ผีป่าที่ม้งให้ความสำคัญคือ เจ้าที่ หรือ ด๊าเหย่ เจ้าที่จะคอยคุ้มครองปกป้องดูแลคนในครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุขและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ | ||
+ | ชาวม้งยังมีการบูชาผีบรรพบุรุษ เสถียร พันธรังสี ให้ทัศนะว่า การบูชาบรรพบุรุษเป็นลำดับแห่งศรัทธาในลัทธิศาสนาที่ยิ่งใหญ่อันหนึ่งตำนานของมนุษย์ มนุษย์แต่โบราณเชื่อว่ามนุษย์ตายแล้วไม่สูญ มนุษย์มีดวงวิญญาณเหลืออยู่ ดวงวิญญาณนั้นจะ ออกไปแล้วท่องเที่ยวอยู่คอยดูแลความสุขความทุกข์องลูกหลานอยู่ลางคราวมนุษย์เชื่อกันต่อไปว่า เมื่อถึงเวลาที่กำหนด ดวงวิญญาณนั้นจะกลับคืนสู่ร่างเดิมกับไปเกิดใหม่ 20 ดังเช่น ชาวจีนเชื่อว่าบรรพบุรุษตายไปแล้ววิญญาณของบรรพบุรุษจะคอยดูแล ญาติในโลกน้อยอยู่สมอ สามารถให้คุณและโทษได้จำเป็นต้องเอาใจใส่เป็นประจำ ด้วยเหตุนี้ชาวจีน จึงถือสุสานประจำสกุลของตนเองเป็นที่สำคัญ จำเป็นต้องดูแลให้ดีเพื่อเป็นที่เซ่นสรวงและบนบาน วิญญาณบรรพบุรุษของตนเอง หรือชาวล้านนามีความเชื่อว่า บรรพบุรุษ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย เมื่อตาย ไปจะคอยเป็นผีปู่ ยายที่คอยปกปักรักษาหรือคุ้มครองลูกหลานในสายตระกูลให้อยู่ร่วมกันอย่าง ผาสุกและปลอดภัย ภายใต้ความเชื่อและจารีตที่ถือปฏิบัติแบบเดียวกันรอบครัวชาวล้านนาในแต่ ละตระกูลจะมีหอผีปู่ย่า อยุ่ด้านเบื้องทิศหัวนอนหรือทิศตะวันออกของบ้าน ในส่วนของชาวม้งมี แนวความคิดเรื่องการบูชาผีบรรพบุรุษ หรือจ้อเก๋ใจดาคัว เช่นเดียวกัน โดยถือว่า เป็นหน้าที่ของทุก คนที่จะต้องเซ่นไหว้บูชาผีบรรพบุรุษ และชาวม้งทุกคนที่เกิดมา เมื่อตายไปก็จะถูกกำหนดให้เป็นผีบรรพบุรุษ |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 15:34, 19 กันยายน 2566
ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]
ชื่อเรียก[แก้ไข]
ความเชื่อการเกิดการตายของชนเผ่าม้ง
ที่ตั้ง[แก้ไข]
อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]
ประวัติความเป็นมาคำบอกเล่าตำนาน[แก้ไข]
ชาวม้งเชื่อว่าโลกและธรรมชาติทั้งหลายถูกสร้างขึ้นโดยเทพเจ้าหรือ “เซ้า” ท่านได้สร้างโลกขึ้นสองโลก คือ โลกแห่งมนุษย์กับโลกแห่งผีซึ่งทั้งสองโลกต่างก็มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ต่อกันอย่างไม่อาจตัดขาดแยกอิสระจากกันได้ โลกตามทัศนะของม้ง ไม่ได้หมายถึงเพียงแผ่นดินที่สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เท่านั้น แต่หมายถึงระบบจักรวาลทั้งหมด และหมายถึงโลกแห่งผีด้วย ซึ่งโลกแห่งผีดำรงอยู่ในมิติที่ทับซ้อนกับโลกมนุษย์และมีกฎเกณฑ์เช่นเดียวกันกับโลกมนุษย์ชาวม้งเชื่อว่า มนุษย์สามารถสื่อสารกับโลกแห่งผีได้ด้วยการเข้าทรง โดยมีตัวแทนซึ่งจะนำข้อความ (สาร) จากผีมาสู่มนุษย์และนำความต้องการของมนุษย์ไปให้ผีทราบโดยต้องมีการเซ่นไหว้ด้วยหมูหรือไก่เป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ผีพอใจและช่วยให้มนุษย์สมหวังในสิ่งที่ต้องการปรารถนาได้ชาวม้งได้แบ่งโลกออกเป็นสองโลกซึ่งโลกทั้งสองมีความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันโดยโลกหนึ่งคือ โลกมนุษย์ ส่วนอีกโลกหนึ่งคือโลกแห่งผี แนวคิดเรื่องผีหรือวิญญาณนี้ฝังรากหยั่งลึกอยู่ในวิถีวัฒนธรรมของชาวม้งมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาล เป็นความเชื่อที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งยังอยู่ในเขตประเทศจีน ต่อเมื่ออพยพโยกย้ายหนีภัยสงครามและแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่ที่อุดมสมบูรณ์จนเข้ามาอยู่ในเขตประเทศไทยชาวม้งก็ยังคงนำเอาแนวคิดความเชื่อเรื่องการไหว้ผีบรรพบุรุษมาด้วย เพื่อเป็นที่พึ่งทางใจและปัดเป่าภยันอันตรายไม่ให้เกิดมีแก่ลูกหลาน แนวคิดเรื่องผีจึงติดแน่นอยู่ในวิถีชีวิตของชุมชนชาวม้งโดยทั่วไปประเพณีพิธีกรรมต่างๆ ของชาวม้งล้วนมีที่มาหรือเกี่ยวเนื่องกับความเชื่อในเรื่องผีทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผีบรรพบุรุษ ซึ่งถือเป็นผีที่คอยปกป้องคุม้ครองลูกหลานที่เป็นสมาชิกในครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุขและมีความเจริญก้าวหน้า สมาชิกในครอบครัวที่ตายไปต้องกลายเป็นผีบรรพบุรุษทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นผีเหล่านี้จึงมีความผูกพันอยู่กับครอบครัวชาวม้งเชื่อว่า ในธรรมชาติ ภูเขาป่าไม้ ลำห้วย ลำธาร ที่ราบ ที่ดอน และผืนแผ่นดินทั้งหมดล้วนมีผีสิงสถิตอยู่ซึ่งชาวม้งเรียกผีเหล่านี้ว่า ผีป่า หรือ ด๊าคู ผีเหล่านี้หากเราไม่ระวังตัวเผลอไปลบหลู่ดูหมิ่น เขาก็จะทำร้ายเราให้เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ผีป่าที่ม้งให้ความสำคัญคือ เจ้าที่ หรือ ด๊าเหย่ เจ้าที่จะคอยคุ้มครองปกป้องดูแลคนในครอบครัวให้อยู่เย็นเป็นสุขและปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ชาวม้งยังมีการบูชาผีบรรพบุรุษ เสถียร พันธรังสี ให้ทัศนะว่า การบูชาบรรพบุรุษเป็นลำดับแห่งศรัทธาในลัทธิศาสนาที่ยิ่งใหญ่อันหนึ่งตำนานของมนุษย์ มนุษย์แต่โบราณเชื่อว่ามนุษย์ตายแล้วไม่สูญ มนุษย์มีดวงวิญญาณเหลืออยู่ ดวงวิญญาณนั้นจะ ออกไปแล้วท่องเที่ยวอยู่คอยดูแลความสุขความทุกข์องลูกหลานอยู่ลางคราวมนุษย์เชื่อกันต่อไปว่า เมื่อถึงเวลาที่กำหนด ดวงวิญญาณนั้นจะกลับคืนสู่ร่างเดิมกับไปเกิดใหม่ 20 ดังเช่น ชาวจีนเชื่อว่าบรรพบุรุษตายไปแล้ววิญญาณของบรรพบุรุษจะคอยดูแล ญาติในโลกน้อยอยู่สมอ สามารถให้คุณและโทษได้จำเป็นต้องเอาใจใส่เป็นประจำ ด้วยเหตุนี้ชาวจีน จึงถือสุสานประจำสกุลของตนเองเป็นที่สำคัญ จำเป็นต้องดูแลให้ดีเพื่อเป็นที่เซ่นสรวงและบนบาน วิญญาณบรรพบุรุษของตนเอง หรือชาวล้านนามีความเชื่อว่า บรรพบุรุษ เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย เมื่อตาย ไปจะคอยเป็นผีปู่ ยายที่คอยปกปักรักษาหรือคุ้มครองลูกหลานในสายตระกูลให้อยู่ร่วมกันอย่าง ผาสุกและปลอดภัย ภายใต้ความเชื่อและจารีตที่ถือปฏิบัติแบบเดียวกันรอบครัวชาวล้านนาในแต่ ละตระกูลจะมีหอผีปู่ย่า อยุ่ด้านเบื้องทิศหัวนอนหรือทิศตะวันออกของบ้าน ในส่วนของชาวม้งมี แนวความคิดเรื่องการบูชาผีบรรพบุรุษ หรือจ้อเก๋ใจดาคัว เช่นเดียวกัน โดยถือว่า เป็นหน้าที่ของทุก คนที่จะต้องเซ่นไหว้บูชาผีบรรพบุรุษ และชาวม้งทุกคนที่เกิดมา เมื่อตายไปก็จะถูกกำหนดให้เป็นผีบรรพบุรุษ