ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทอยสะบ้า"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(สร้างหน้าด้วย "=='''ข้อมูลทั่วไป'''== ==='''ชื่อการละเล่น'''=== ทอยสะบ้า ==='''ชื่...")
 
(แหล่งอ้างอิง)
 
แถว 35: แถว 35:
 
=='''ข้อมูลการสำรวจ'''==
 
=='''ข้อมูลการสำรวจ'''==
 
==='''แหล่งอ้างอิง'''===
 
==='''แหล่งอ้างอิง'''===
          พิพิธภัณฑ์เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย. (22 พฤศจิกายน 2564). ''สะบ้า (Saba).'' https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02ZTs9VUCJnkCiJzqfbdibojZK5onZT6RMfPhnfgvTA8T1gfkhosWgVz55yPRkneS8l&id=109206644570885&locale=cy_GB
+
พิพิธภัณฑ์เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย. (22 พฤศจิกายน 2564). ''สะบ้า (Saba).'' https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02ZTs9VUCJnkCiJzqfbdibojZK5onZT6RMfPhnfgvTA8T1gfkhosWgVz55yPRkneS8l&id=109206644570885&locale=cy_GB
          ยุวดี ศรีห้วยยอด. (18 มิถุนายน 2564). ''การเล่นสะบ้า.'' คลังข้อมูลชุมชน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). https://communityarchive.sac.or.th/blog/119
+
ยุวดี ศรีห้วยยอด. (18 มิถุนายน 2564). ''การเล่นสะบ้า.'' คลังข้อมูลชุมชน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). https://communityarchive.sac.or.th/blog/119
          องค์ บรรจุน. (2565). ''สะบ้า  :  เกมกีฬาของมอญ เขมร และอื่น ๆ.'' ศิลปะวัฒนธรรม SILPA-MAG.COM. https://www.silpa-mag.com/culture/article_10854
+
องค์ บรรจุน. (2565). ''สะบ้า  :  เกมกีฬาของมอญ เขมร และอื่น ๆ.'' ศิลปะวัฒนธรรม SILPA-MAG.COM. https://www.silpa-mag.com/culture/article_10854
          Kainui. (12 ตุลาคม 2555). ''การละเล่นทอยสะบ้า บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก.'' ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. http://www.m-culture.in.th/album/164096/การละเล่นทอยสะบ้า_บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก
+
Kainui. (12 ตุลาคม 2555). ''การละเล่นทอยสะบ้า บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก.'' ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. http://www.m-culture.in.th/album/164096/การละเล่นทอยสะบ้า_บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก
          Sanook. (ม.ป.ป.). ''สะบ้า.'' https://www.sanook.com/dictionary/dict/dict-th-en-sedthabut/search/สะบ้า/
+
Sanook. (ม.ป.ป.). ''สะบ้า.'' https://www.sanook.com/dictionary/dict/dict-th-en-sedthabut/search/สะบ้า/
 +
 
 
==='''วันเดือนปีที่สำรวจ'''===
 
==='''วันเดือนปีที่สำรวจ'''===
 
           21 ธันวาคม 2566
 
           21 ธันวาคม 2566

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 09:48, 4 เมษายน 2567

ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]

ชื่อการละเล่น[แก้ไข]

         ทอยสะบ้า

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         -

ประเภทการละเล่น[แก้ไข]

         สะบ้าหนุ่มสาว (สะบ้าบ่อน) เป็นการละเล่นที่เน้นความสนุกสนานและสะบ้าช้าง (สะบ้าทอย) ที่เน้นการแข่งขันรู้แพ้รู้ชนะ ส่วนสะบ้ารำเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของชาวมอญบางไส้ไก่เขตธนบุรี กรุงเทพฯ เท่านั้น ซึ่งจะเน้นการรำาโดยมีดนตรีประกอบระหว่างการเล่นสะบ้าสะบ้าบ่อน (สะบ้าหนุ่มสาว) มักจะใช้ลานดินใต้ถุนบ้านเป็นสนามสมัยก่อนบ้านคนมอญมักเป็นบ้าน 2 ชั้นใต้ถุนโปร่งแต่ละหมู่บ้านจะมีการเล่นสะบ้ากันเกือบทุกหลังคาเรือนบ้านที่มีหญิงสาวมักจะมีบ่อนสะบ้าไว้ต้อนรับชายหนุ่มต่างหมู่บ้านหนุ่มสาวหมู่บ้านเดียวกันจะไม่เล่นด้วยกันเด็ดขาด แต่ปัจจุบันจะมีการเล่นเฉพาะบ้านที่มีความพร้อมและได้รับเลือกไว้และส่วนใหญ่จะคล้ายกับการแสดงท่านองการสาธิตมิได้เป็นการละเล่นซึ่งชายหนุ่มหญิงสาวรอคอยมาทั้งปีเพื่อโอกาสในการพบปะและสานสัมพันธ์ต่อกัน (พิพิธภัณฑ์เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย, 2564)

โอกาสที่ใช้การละเล่น[แก้ไข]

         เทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ 

ผู้คิดค้น[แก้ไข]

         -

สถานที่จัดกิจกรรม[แก้ไข]

         บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ข้อมูลการละเล่น[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา[แก้ไข]

         ความเป็นมาของการละเล่นทอยสะบ้า เป็นการละเล่นของชาวปกาเกอะญอโดยมักเล่นกันในช่วงสงกรานต์ การเล่นสะบ้าแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ สะบ้าทอย และสะบ้าบ่อน แต่เดิมนั้นในตำบลเจ็ดริ้วนั้น มักเล่นสะบ้าบ่อนเป็นส่วนใหญ่ โดยชาวบ้านจะนัดและตกลงกันว่า การเล่นสะบ้าจะเล่นที่บ้านของผู้ใดจะให้ผู้นั้นเป็นเจ้าของบ่อน ส่วนชาวบ้านคนอื่น ๆ จะช่วยกันออกเงินคนละ 5 บาทบ้าง 10 บาทหรือตามกำลังเพื่อเป็นเงินกองกลางให้กับเจ้าของบ่อนเป็นค่าตกแต่งบ่อน เช่น การประดับธงราวบ้าง ลูกมะหวดแขวน ประดับบ้าง ตลอดจนเป็นค่าข้าวต้มเลี้ยงคนที่มาเล่นสะบ้า แต่เดิมการเล่นสะบ้า นิยมเล่น ในหมู่หนุ่ม สาว เพื่อทำความรู้จักกันหลังจากเสร็จงาน ในตอนกลางวัน ครั้นถึงเวลาค่ำ จะมีการนัดเล่นบริเวณลานบ้านที่บ้านของคนที่เป็นเจ้าของบ่อน (ยุวดี ศรีห้วยยอด, 2564) รูปแบบการละเล่นทอยสะบ้า แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละกี่คนก็ได้ เท่าจำนวนลูกสะบ้าที่ตั้งไว้ด้านหน้าของผู้เล่นแต่ละฝ่าย ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายยืนห่างกันประมาณ 3 เมตร กติกา คือ ผู้เล่นต้องทอย หรือโยนลูกสะบ้าในมือของตน ให้ไปตีลูกสะบ้าที่ตั้งไว้ด้านหน้าฝ่ายตรงข้ามให้ล้มระเนระนาดไป ฝ่ายไหนทำให้ลูกสะบ้าของฝ่ายตรงข้ามล้มได้หมดก่อน ถือเป็นฝ่ายชนะ สิ่งที่ได้จากการละเล่นทอยสะบ้า คือ ผู้เล่นได้ฝึกความแม่ยำ มีสมาธิ มีความตั้งใจที่จะทอยสะบ้า ที่มีลักษณะ บางลูกกลม บางลูกรี หรือเบี้ยว ทำให้ไม่เที่ยง ควบคุมทิศทางได้ยาก เกิดการผิดพลาดได้ง่าย ส่วนผู้ชมก็สนุกสนาน มีการแสดงความรู้สึกดีใจ เสียใจ แต่ที่สำคัญการละเล่นทอยสะบ้าเป็นวัฒนธรรมที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวปะกากะญอมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ ดังนั้น จึงเป็นที่น่าภาคภูมิใจที่เด็กรุ่นใหม่ของบ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ยังมีโอกาสได้สัมผัสความสนุกสนานของการละเล่นชนิดนี้ (Kainui, 2555)

อุปกรณ์ประกอบ[แก้ไข]

         1. ลูกสะบ้า
         2. ไม้กระดาน

วิธีการเล่น[แก้ไข]

         การละเล่นทอยสะบ้า แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละกี่คนก็ได้ เท่าจำนวนลูกสะบ้าที่ตั้งไว้ด้านหน้าของผู้เล่นแต่ละฝ่าย ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายยืนห่างกันประมาณ 3 เมตร กติกา คือ ผู้เล่นต้องทอย หรือโยนลูกสะบ้าในมือของตน ให้ไปตีลูกสะบ้าที่ตั้งไว้ด้านหน้าฝ่ายตรงข้ามให้ล้มระเนระนาดไป ฝ่ายไหนทำให้ลูกสะบ้าของฝ่ายตรงข้ามล้มได้หมดก่อน ถือเป็นฝ่ายชนะ (Kainui, 2555)

กฎกติกา/มารยาท[แก้ไข]

         แบ่งผู้เล่นหรือผู้แข่งขันออกเป็น 2 ฝ่าย แต่ละฝ่ายมีลูกสะบ้าคนละ 20 ลูกเท่ากัน ตั้งเป็นลูกเป้า (ดีบ) บนพื้นสนามฝ่ายตรงข้าม 10 ลูก ลูกยิง (โกย) ในมือของผู้ยิง 10 ลูก ผลัดกันดีดลูกยิงของตนให้โดนลูกเป้าของอีกฝ่าย ใครดีดถูกลูกเป้าฝ่ายตรงข้ามล้มหมดก่อนจะเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ๆ (องค์ บรรจุน, 2565)

ระยะเวลา[แก้ไข]

         เล่นตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน เป็นต้นไป มีกำหนด 3 วัน 7 วัน หรือ 15 วัน

ข้อมูลผู้เล่น[แก้ไข]

เพศผู้เล่น[แก้ไข]

         เพศหญิงและเพศชาย

จำนวนผู้เล่น[แก้ไข]

         ไม่กำหนดจำนวนผู้เล่น

ลักษณะผู้เล่น[แก้ไข]

          -

การแต่งกายของผู้เล่น[แก้ไข]

         เสื้อพื้นเมืองทั่วไป 

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]

พิพิธภัณฑ์เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย. (22 พฤศจิกายน 2564). สะบ้า (Saba). https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02ZTs9VUCJnkCiJzqfbdibojZK5onZT6RMfPhnfgvTA8T1gfkhosWgVz55yPRkneS8l&id=109206644570885&locale=cy_GB
ยุวดี ศรีห้วยยอด. (18 มิถุนายน 2564). การเล่นสะบ้า. คลังข้อมูลชุมชน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). https://communityarchive.sac.or.th/blog/119
องค์ บรรจุน. (2565). สะบ้า  :  เกมกีฬาของมอญ เขมร และอื่น ๆ. ศิลปะวัฒนธรรม SILPA-MAG.COM. https://www.silpa-mag.com/culture/article_10854
Kainui. (12 ตุลาคม 2555). การละเล่นทอยสะบ้า บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. http://www.m-culture.in.th/album/164096/การละเล่นทอยสะบ้า_บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก
Sanook. (ม.ป.ป.). สะบ้า. https://www.sanook.com/dictionary/dict/dict-th-en-sedthabut/search/สะบ้า/

วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]

         21 ธันวาคม 2566

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         -

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         พรลดา พิมพ์แปลก
         ชฎาพร ฉัตรธรรม
         ณัฏฐ์ธิดา เทศวัง
         พันธ์นภา ทองเนตร
         วินิจสา รักษ์พงษ์
         น้องทราย ใจดี

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

         ลูกสะบ้า เป็นชื่อไม้เถาชนิด Entada rheedii Spreng. ในวงศ์ Mimonaceae ฝักขอบขนานแบน มีเมล็ดกลมแบนแข็ง เรียกว่า ลูกสะบ้า ใช้ขัดสมุดไทย ทำยาได้ และเป็นชื่อการเล่นอย่างหนึ่งตามประเพณีของชาวมอญ ใช้ลูกสะบ้า หรือของที่มีลักษณะกลม ๆ ล้อ หรือทอยให้ล้ม (Sanook, ม.ป.ป.)