ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง จังหวัดกำแพงเพชร"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(Admin ย้ายหน้า [[ภูมิปัญญาอาหารและขนมไทยพื้นบ้านประจําถิ่น ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพ...)
 
(ไม่แสดง 7 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 1: แถว 1:
== บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง จังหวัดกำแพงเพชร ==
+
== บทนำ ==
 +
          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ กรณีศึกษา บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นแหล่งธรรมชาติตามโครงการแนวทางการจัดการแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ปี 2547 สถานที่ตั้งอยู่บ้านลานหิน ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ลักษณะทั่วไป เป็นน้ำพุร้อน ผุดขึ้นมาจากใต้ดิน จำนวน 6 จุด มีความร้อน ประมาณ 40 – 65 องศาเซลเซียส สามารถใช้อาบ แช่ตัวได้ และที่สำคัญดื่มได้อย่างปลอดภัย  แร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำแร่ประกอบด้วย แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟลูออไรด์ โซเดียม ไบคาร์บอ เนต ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คลอไรด์ ซัลเฟต และไนเตรตปัจจุบันองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร
 +
'''คำสำคัญ :''' ทรัพยากรธรรมชาติ, บ่อน้ำพุร้อน, ท่องเที่ยวกำแพงเพชร
 +
== ความนำ ==
 +
          บ่อน้ำพุร้อนพระร่วงเดิมทีเป็นทุ่งนาที่มีน้ำร้อนผุดขึ้นมา เป็นแหล่งที่ชาวบ้านนำน้ำไปใช้ในการอุปโภคและบริโภค ต่อมาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรได้พัฒนาบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในปี พ.ศ.2541 ตามตำนานบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง แต่เดิมบริเวณบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้ มีลักษณะเป็นลุ่มน้ำขัง มีป่าโปร่งล้อมรอบสลับด้วยเนินเตี้ยๆ พื้นดินบางแห่งมีหินโผล่ขึ้นเป็นกลุ่มน้อยใหญ่สลับกันตำนานเล่าว่า ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จประพาสป่าล่าสัตว์มาถึงบริเวณบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้ วันหนึ่งพระองค์ทรงเห็นไก่ป่าตัวหนึ่งมีลักษณะสวยงามและมีเสียงขันไพเราะมาก จึงทรงให้นายพรานที่ตามเสด็จ ต่อไก่ป่าตัวนั้นและได้ไก่ป่าสมพระราชประสงค์ โดยมีไก่ป่าตัวอื่นๆ ติดไปด้วยเป็นจำนวนมาก ในวันนั้นพระองค์และนายพรานล่าสัตว์อื่นไม่ได้เลย จึงทรงให้ทหารนำไก่ป่าตัวอื่นๆไปปรุงอาหารสำหรับเสวย แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นป่า ไม่มีบ้านเรือนราษฎร จึงไม่มีไฟใช้ทำอาหาร พระองค์จึงทรงสาปน้ำที่อยู่ในบึงบริเวณใกล้ๆ ให้เป็นน้ำร้อน บึงดังกล่าวจึงเรียกว่า“บึงพระร่วงสาป” ต่อมาภายหลังเรียกสั้นลงว่า “บึงสาป” (องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร, 2558) ความสำคัญของน้ำพุร้อนพระร่วง คือ เรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ของน้ำในสถานที่แห่งนี้ เนื่องจากในวโรกาสรัฐพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์เพื่อทูลเกล้าฯ ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 5 รอบเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2530 ได้มีการนำน้ำจากบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงไปเข้าร่วมพิธีดังกล่าวร่วมกับ น้ำศักดิ์สิทธิ์จากจังหวัดต่างๆ ทั้ง 76 จังหวัด ณ พระวิหารหลวงวัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร ถือเป็นการยืนยันความสำคัญของบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ชาวบ้านโจษขานกันว่าน้ำในบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เช่น โรคปวดเมื่อยตามร่างกาย โรคผิวหนังได้  จึงมีประชาชนในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงพากันไปอาบ ดื่ม กิน และบางรายนำน้ำกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคลประโยชน์ของการอาบน้ำแร่ ด้วยอุณหภูมิของน้ำแร่ร้อนอยู่ที่ 45 – 60 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิของความร้อนดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการรักษาทางการแพทย์ ที่เรียกว่า “ธาราบำบัด” (สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร, 2558) ซึ่งเป็นน้ำที่มีอุณหภูมิสูงในระดับที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตมีผลต่อการผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ เป็นผลให้รู้สึกสบายตัวยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายรู้สึกสบายความตึงเครียดน้อยลง ย่อมมีผลต่อสภาพจิตใจ ถือเป็นการลดความเครียดได้อีกวิธีหนึ่ง ด้วยความที่บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง เป็นแหล่งที่มีภูมิทัศน์สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ ทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร
 +
 
 +
== แหล่งท่องเที่ยวและการให้บริการของบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ==
 +
          เมื่อมาถึงบริเวณลานจอดรถบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงจะพบบริการนวดแผนไทยไว้บริการนักท่องเที่ยว โดยมีบริการ นวดตัว นวดฝ่าเท้า นวดคลายเครียด นวดออยล์ นวดประคบ นวดอโรม่า และอบสมุไพร ดังภาพที่ 1
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 1 ร้านบริการนวดแผนไทย.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 1 ร้านบริการนวดแผนไทยบริเวณลานจอดรถบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง''' </p>
 +
          เมื่อเดินเข้าไปตามทางเดินของบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง จุดแรกที่พบ คือ ร้านถ่ายภาพที่ระลึกไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวที่ต้องการรูปของตนเอง ซึ่งค่าบริการอยู่ที่ 100 บาท ดังภาพที่ 2
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 2 ร้านถ่ายภาพที่ระลึก.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 2 ร้านถ่ายภาพที่ระลึก''' </p>
 +
          เมื่อเดินเข้าไปตามเส้นทางจะมีที่ศักการะศาลพระร่วงไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้ขอพรตามใจปรารถนา ดังภาพที่ 3
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 3 ศาลพระร่วง.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 3 ภาพศาลพระร่วง''' </p>
 +
          เมื่อนักท่องเที่ยวขอพรพระร่วงแล้วนักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการแช่เท้าหรือแช่ตัว หรือเดินชมบรรยายที่สวยงามของบ่อน้ำพุร้อนได้ตามอัธยาศัย ซึ่งถ้านักท่องเที่ยวต้องการแช่ตัว สามารถเลือกได้ว่า จะแช่ตัวแบบส่วนตัวหรือแบบกลุ่มแยกตามชายหญิง โดยอัตราค่าบริการแบบส่วนตัว 80 บาทต่อหนึ่งท่าน และอัตราค่าบริการแบบกลุ่มแยกตามชายหญิงอยู่ที่ 30 บาทต่อหนึ่งท่าน ซึ่งการแช่ตัวต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
 +
          1. อาบน้ำชำระล้างร่างกายด้วยสบู่หรือครีมอาบน้ำด้วยน้ำเย็นให้สบาย
 +
          2. ลงแช่น้ำแร่ร้อนทั้งตัวประมาณ 8-10 นาที ไม่ควรแช่น้ำร้อนนานมากจะทำให้ร่างกานอ่อนเพลีย เลือดไม่หมุนเวียน ความคิดเฉื่อนเนือย ร่างกายไม่กระปรี้กระเปร่าและอารมณ์ซึมเศร้า
 +
          3. ขึ้นจากน้ำแร่ร้อน อาบน้ำเย็นที่ฝักบัวหรือในถัง ประมาณ 1-2 นาทีให้ตัวเย็น
 +
          4. ลงแช่น้ำแร่ร้อนอีกประมาณ 8-10 นาที
 +
          5. ขึ้นจากน้ำแร่ร้อน อาน้ำเย็นอีก 1-2 นาที ทำเช่นนี้ 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายให้จบลงด้วยการอาบน้ำเย็น การแช่น้ำแบบส่วนตัวหรือแบบกลุ่มแยกตามชายหญิงตามภาพที่ 4 และภาพที่ 5
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 4 การแช่น้ำแบบส่วนตัว.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 4 การแช่น้ำแบบส่วนตัว''' </p>
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 5 การแช่น้ำแบบกลุ่มแยกตามชายหญิง.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 5 การแช่น้ำแบบกลุ่มแยกตามชายหญิง''' </p>
 +
          สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการแช่เท้าที่บ่อน้ำพุร้อนพระร่วงสามารถใช้บริการได้ฟรี (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) ซึ่งที่นี่มีจุดให้บริการ 2 จุดซึ่งไม่ห่างกันมากนักดังภาพที่ 6 และภาพที่ 7
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 6 การบริการแช่เท้าจุดที่ 1.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 6 การบริการแช่เท้าจุดที่ 1''' </p>
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 7 การบริการแช่เท้าจุดที่ 2.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 7 การบริการแช่เท้าจุดที่ 2''' </p>
 +
          นอกจากการแช่ตัวและแช่เท้า บ่อน้ำพุร้อนพระร่วงแห่งนี้ยังมีบริการบ้านพักรับรองไว้บริการนักท่องเที่ยวสำหรับที่ต้องการค้างคืน
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 8 ภาพบ้านพักรับรอง.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 8 ภาพบ้านพักรับรอง''' </p>
 +
          นอกจากนี้นักท่องเที่ยวสามารถพักผ่อนหย่อนใจด้วยการปั่นจักรยานน้ำชมบรรยากาศภายในบ่อน้ำพุร้อน อัตราค่าบริการชั่วโมงละ 20 บาทซึ่งมีข้อควรปฏิบัติในการใช้จักยานน้ำ ดังนี้
 +
          1. ซื้อตั๋วทุกครั้งก่อนใช้บริการ
 +
          2. สวมเสื้อชูชีพทุกครั้ง เมื่อใช้บริการจักรยานน้ำ
 +
          3. ไม่ควรนั่งจักรยานน้ำเกินลำละ 2 คน
 +
          4. เด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ ไม่ควรลงเล่นตามลำพัง
 +
          5. ไม่ควรเล่นหยอกล้อกันขณะใช้จักรยานน้ำ
 +
          6. ไม่ควรดื่มสุราหรือของมึนเมาก่อนหรือระหว่างการใช้บริการจักรยานน้ำ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
 +
          7. ไม่ควรทิ้งเศษอาหาร ขยะลงในน้ำ และจักรยานน้ำ
 +
          8. ระวังไม่ให้จักรยานน้ำชนกันหรือกระแทกขอบสระ
 +
          บรรยากาศการปั่นจักรยานน้ำบริเวณบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ดังภาพที่ 9
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 9 จักรยานน้ำ.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 9 จักรยานน้ำของบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง''' </p>
 +
== การเดินทางไปบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ==
 +
          บ่อน้ำพุร้อนพระร่วงสามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง ดังนี้
 +
          เส้นทางที่ 1 ถนนสายกำแพงเพชร-สุโขทัย ห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชร ระยะทาง 18 กิโลเมตร และแยกซ้ายมือไปอีก 7 กิโลเมตรรวมระยะทาง 25 กิโลเมตร
 +
          เส้นทางที่ 2 ถนนสายหนองปลิง-ท่าไม้แดง โดยทางแยกเข้าบ่อน้ำพุร้อนห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชร ระยะทางประมาน 21 กิโลเมตร และแยกขวามือไปอีก 5 กิโลเมตร รวมระยะทาง 26 กิโลเมตร
 +
          อย่างไรก็ตามสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 086-4033537 , 055-718280 ต่อ 130
 +
== บทสรุป ==
 +
          กลุ่มทรัพยากรธรรมชาติ : บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวขององค์กร เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว หรือสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงการบริการด้านอื่นๆ อย่างครบวงจร ให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว อาทิเช่น ห้องอาบน้ำแร่ส่วนตัว ห้องอาบน้ำแร่รวม ห้องอาบน้ำแร่แยกชาย-หญิง บ่อแช่เท้า จักรยานน้ำ บ้านพัก และลานกางเต้นท์
 +
          ด้วยความใสสะอาด และอุณหภูมิที่ร้อนกำลังดีของน้ำพุร้อน ทำให้เป็นที่เที่ยวแสนผ่อนคลายได้ในทุกฤดูกาล และการได้แช่ตัวอยู่ในน้ำแร่ธรรมชาติถือได้ว่าดีกว่าการแช่ตัวอยู่ในน้ำอุ่นที่บ้าน จึงทำให้บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของคนในกำแพงเพชร

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:06, 22 ธันวาคม 2563

บทนำ[แก้ไข]

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ กรณีศึกษา บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นแหล่งธรรมชาติตามโครงการแนวทางการจัดการแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ปี 2547 สถานที่ตั้งอยู่บ้านลานหิน ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ลักษณะทั่วไป เป็นน้ำพุร้อน ผุดขึ้นมาจากใต้ดิน จำนวน 6 จุด มีความร้อน ประมาณ 40 – 65 องศาเซลเซียส สามารถใช้อาบ แช่ตัวได้ และที่สำคัญดื่มได้อย่างปลอดภัย  แร่ธาตุที่มีอยู่ในน้ำแร่ประกอบด้วย แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟลูออไรด์ โซเดียม ไบคาร์บอ เนต ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คลอไรด์ ซัลเฟต และไนเตรตปัจจุบันองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรได้พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร

คำสำคัญ : ทรัพยากรธรรมชาติ, บ่อน้ำพุร้อน, ท่องเที่ยวกำแพงเพชร

ความนำ[แก้ไข]

         บ่อน้ำพุร้อนพระร่วงเดิมทีเป็นทุ่งนาที่มีน้ำร้อนผุดขึ้นมา เป็นแหล่งที่ชาวบ้านนำน้ำไปใช้ในการอุปโภคและบริโภค ต่อมาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชรได้พัฒนาบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวในปี พ.ศ.2541 ตามตำนานบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง แต่เดิมบริเวณบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้ มีลักษณะเป็นลุ่มน้ำขัง มีป่าโปร่งล้อมรอบสลับด้วยเนินเตี้ยๆ พื้นดินบางแห่งมีหินโผล่ขึ้นเป็นกลุ่มน้อยใหญ่สลับกันตำนานเล่าว่า ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี สมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จประพาสป่าล่าสัตว์มาถึงบริเวณบ่อน้ำพุร้อนแห่งนี้ วันหนึ่งพระองค์ทรงเห็นไก่ป่าตัวหนึ่งมีลักษณะสวยงามและมีเสียงขันไพเราะมาก จึงทรงให้นายพรานที่ตามเสด็จ ต่อไก่ป่าตัวนั้นและได้ไก่ป่าสมพระราชประสงค์ โดยมีไก่ป่าตัวอื่นๆ ติดไปด้วยเป็นจำนวนมาก ในวันนั้นพระองค์และนายพรานล่าสัตว์อื่นไม่ได้เลย จึงทรงให้ทหารนำไก่ป่าตัวอื่นๆไปปรุงอาหารสำหรับเสวย แต่เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นป่า ไม่มีบ้านเรือนราษฎร จึงไม่มีไฟใช้ทำอาหาร พระองค์จึงทรงสาปน้ำที่อยู่ในบึงบริเวณใกล้ๆ ให้เป็นน้ำร้อน บึงดังกล่าวจึงเรียกว่า“บึงพระร่วงสาป” ต่อมาภายหลังเรียกสั้นลงว่า “บึงสาป” (องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร, 2558) ความสำคัญของน้ำพุร้อนพระร่วง คือ เรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ของน้ำในสถานที่แห่งนี้ เนื่องจากในวโรกาสรัฐพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์เพื่อทูลเกล้าฯ ในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 5 รอบเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2530 ได้มีการนำน้ำจากบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงไปเข้าร่วมพิธีดังกล่าวร่วมกับ น้ำศักดิ์สิทธิ์จากจังหวัดต่างๆ ทั้ง 76 จังหวัด ณ พระวิหารหลวงวัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร ถือเป็นการยืนยันความสำคัญของบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ชาวบ้านโจษขานกันว่าน้ำในบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เช่น โรคปวดเมื่อยตามร่างกาย โรคผิวหนังได้  จึงมีประชาชนในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงพากันไปอาบ ดื่ม กิน และบางรายนำน้ำกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคลประโยชน์ของการอาบน้ำแร่ ด้วยอุณหภูมิของน้ำแร่ร้อนอยู่ที่ 45 – 60 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิของความร้อนดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการรักษาทางการแพทย์ ที่เรียกว่า “ธาราบำบัด” (สำนักงานจังหวัดกำแพงเพชร, 2558) ซึ่งเป็นน้ำที่มีอุณหภูมิสูงในระดับที่เหมาะสมจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตมีผลต่อการผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ เป็นผลให้รู้สึกสบายตัวยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายรู้สึกสบายความตึงเครียดน้อยลง ย่อมมีผลต่อสภาพจิตใจ ถือเป็นการลดความเครียดได้อีกวิธีหนึ่ง ด้วยความที่บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง เป็นแหล่งที่มีภูมิทัศน์สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ ทำให้สถานที่แห่งนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร

แหล่งท่องเที่ยวและการให้บริการของบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง[แก้ไข]

         เมื่อมาถึงบริเวณลานจอดรถบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงจะพบบริการนวดแผนไทยไว้บริการนักท่องเที่ยว โดยมีบริการ นวดตัว นวดฝ่าเท้า นวดคลายเครียด นวดออยล์ นวดประคบ นวดอโรม่า และอบสมุไพร ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 ร้านบริการนวดแผนไทย.jpg

ภาพที่ 1 ร้านบริการนวดแผนไทยบริเวณลานจอดรถบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง

         เมื่อเดินเข้าไปตามทางเดินของบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง จุดแรกที่พบ คือ ร้านถ่ายภาพที่ระลึกไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวที่ต้องการรูปของตนเอง ซึ่งค่าบริการอยู่ที่ 100 บาท ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 ร้านถ่ายภาพที่ระลึก.jpg

ภาพที่ 2 ร้านถ่ายภาพที่ระลึก

         เมื่อเดินเข้าไปตามเส้นทางจะมีที่ศักการะศาลพระร่วงไว้สำหรับให้นักท่องเที่ยวได้ขอพรตามใจปรารถนา ดังภาพที่ 3
ภาพที่ 3 ศาลพระร่วง.jpg

ภาพที่ 3 ภาพศาลพระร่วง

         เมื่อนักท่องเที่ยวขอพรพระร่วงแล้วนักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการแช่เท้าหรือแช่ตัว หรือเดินชมบรรยายที่สวยงามของบ่อน้ำพุร้อนได้ตามอัธยาศัย ซึ่งถ้านักท่องเที่ยวต้องการแช่ตัว สามารถเลือกได้ว่า จะแช่ตัวแบบส่วนตัวหรือแบบกลุ่มแยกตามชายหญิง โดยอัตราค่าบริการแบบส่วนตัว 80 บาทต่อหนึ่งท่าน และอัตราค่าบริการแบบกลุ่มแยกตามชายหญิงอยู่ที่ 30 บาทต่อหนึ่งท่าน ซึ่งการแช่ตัวต้องปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
         1. อาบน้ำชำระล้างร่างกายด้วยสบู่หรือครีมอาบน้ำด้วยน้ำเย็นให้สบาย
         2. ลงแช่น้ำแร่ร้อนทั้งตัวประมาณ 8-10 นาที ไม่ควรแช่น้ำร้อนนานมากจะทำให้ร่างกานอ่อนเพลีย เลือดไม่หมุนเวียน ความคิดเฉื่อนเนือย ร่างกายไม่กระปรี้กระเปร่าและอารมณ์ซึมเศร้า
         3. ขึ้นจากน้ำแร่ร้อน อาบน้ำเย็นที่ฝักบัวหรือในถัง ประมาณ 1-2 นาทีให้ตัวเย็น
         4. ลงแช่น้ำแร่ร้อนอีกประมาณ 8-10 นาที
         5. ขึ้นจากน้ำแร่ร้อน อาน้ำเย็นอีก 1-2 นาที ทำเช่นนี้ 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายให้จบลงด้วยการอาบน้ำเย็น การแช่น้ำแบบส่วนตัวหรือแบบกลุ่มแยกตามชายหญิงตามภาพที่ 4 และภาพที่ 5
ภาพที่ 4 การแช่น้ำแบบส่วนตัว.jpg

ภาพที่ 4 การแช่น้ำแบบส่วนตัว

ภาพที่ 5 การแช่น้ำแบบกลุ่มแยกตามชายหญิง.jpg

ภาพที่ 5 การแช่น้ำแบบกลุ่มแยกตามชายหญิง

         สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการแช่เท้าที่บ่อน้ำพุร้อนพระร่วงสามารถใช้บริการได้ฟรี (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) ซึ่งที่นี่มีจุดให้บริการ 2 จุดซึ่งไม่ห่างกันมากนักดังภาพที่ 6 และภาพที่ 7
ภาพที่ 6 การบริการแช่เท้าจุดที่ 1.jpg

ภาพที่ 6 การบริการแช่เท้าจุดที่ 1

ภาพที่ 7 การบริการแช่เท้าจุดที่ 2.jpg

ภาพที่ 7 การบริการแช่เท้าจุดที่ 2

         นอกจากการแช่ตัวและแช่เท้า บ่อน้ำพุร้อนพระร่วงแห่งนี้ยังมีบริการบ้านพักรับรองไว้บริการนักท่องเที่ยวสำหรับที่ต้องการค้างคืน
ภาพที่ 8 ภาพบ้านพักรับรอง.jpg

ภาพที่ 8 ภาพบ้านพักรับรอง

         นอกจากนี้นักท่องเที่ยวสามารถพักผ่อนหย่อนใจด้วยการปั่นจักรยานน้ำชมบรรยากาศภายในบ่อน้ำพุร้อน อัตราค่าบริการชั่วโมงละ 20 บาทซึ่งมีข้อควรปฏิบัติในการใช้จักยานน้ำ ดังนี้
         1. ซื้อตั๋วทุกครั้งก่อนใช้บริการ 
         2. สวมเสื้อชูชีพทุกครั้ง เมื่อใช้บริการจักรยานน้ำ
         3. ไม่ควรนั่งจักรยานน้ำเกินลำละ 2 คน
         4. เด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ ไม่ควรลงเล่นตามลำพัง
         5. ไม่ควรเล่นหยอกล้อกันขณะใช้จักรยานน้ำ
         6. ไม่ควรดื่มสุราหรือของมึนเมาก่อนหรือระหว่างการใช้บริการจักรยานน้ำ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
         7. ไม่ควรทิ้งเศษอาหาร ขยะลงในน้ำ และจักรยานน้ำ
         8. ระวังไม่ให้จักรยานน้ำชนกันหรือกระแทกขอบสระ
         บรรยากาศการปั่นจักรยานน้ำบริเวณบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ดังภาพที่ 9
ภาพที่ 9 จักรยานน้ำ.jpg

ภาพที่ 9 จักรยานน้ำของบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง

การเดินทางไปบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง[แก้ไข]

         บ่อน้ำพุร้อนพระร่วงสามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง ดังนี้ 
         เส้นทางที่ 1 ถนนสายกำแพงเพชร-สุโขทัย ห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชร ระยะทาง 18 กิโลเมตร และแยกซ้ายมือไปอีก 7 กิโลเมตรรวมระยะทาง 25 กิโลเมตร
         เส้นทางที่ 2 ถนนสายหนองปลิง-ท่าไม้แดง โดยทางแยกเข้าบ่อน้ำพุร้อนห่างจากตัวเมืองกำแพงเพชร ระยะทางประมาน 21 กิโลเมตร และแยกขวามือไปอีก 5 กิโลเมตร รวมระยะทาง 26 กิโลเมตร 
         อย่างไรก็ตามสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 086-4033537 , 055-718280 ต่อ 130

บทสรุป[แก้ไข]

         กลุ่มทรัพยากรธรรมชาติ : บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงภูมิทัศน์บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวขององค์กร เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว หรือสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงการบริการด้านอื่นๆ อย่างครบวงจร ให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว อาทิเช่น ห้องอาบน้ำแร่ส่วนตัว ห้องอาบน้ำแร่รวม ห้องอาบน้ำแร่แยกชาย-หญิง บ่อแช่เท้า จักรยานน้ำ บ้านพัก และลานกางเต้นท์
         ด้วยความใสสะอาด และอุณหภูมิที่ร้อนกำลังดีของน้ำพุร้อน ทำให้เป็นที่เที่ยวแสนผ่อนคลายได้ในทุกฤดูกาล และการได้แช่ตัวอยู่ในน้ำแร่ธรรมชาติถือได้ว่าดีกว่าการแช่ตัวอยู่ในน้ำอุ่นที่บ้าน จึงทำให้บ่อน้ำพุร้อนพระร่วง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของคนในกำแพงเพชร