ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แหล่งท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร"
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (→โบราณสถาน และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (→โบราณสถาน และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร) |
||
(ไม่แสดง 2 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 29: | แถว 29: | ||
'''1. โบราณสถานภายในกำแพงเมือง''' สำรวจพบแล้วมีทั้งสิ้น 20 แห่ง โบราณสถานที่สำคัญๆ ได้แก่ | '''1. โบราณสถานภายในกำแพงเมือง''' สำรวจพบแล้วมีทั้งสิ้น 20 แห่ง โบราณสถานที่สำคัญๆ ได้แก่ | ||
1.1 วัดพระแก้ว เป็นพระอารามหลวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่กลางเมืองเช่นเดียวกับวัดมหาธาตุ กรุงสุโขทัย และวัดพระศรีสรรเพชญ กรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาสไม่มีพระภิกษุจำพรรษา สิ่งก่อสร้างภายในวัดเรียงเป็นแนวยาวตามแกนตะวันออก-ตะวันตกขนานกับกำแพงเมืองด้านทิศใต้ กำแพงวัดเป็นศิลาแลงกลมทั้งท่อนสูงประมาณเมตรเศษแผนผังของวัด เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานไปกับกำแพงเพชร กำแพงวัดขาดเป็นตอน ๆ สิ่งก่อ สร้างภายในใช้ศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่ ตอนหน้าสุดของวัดเป็นฐานไพทีใหญ่ บนฐานยังมีโกลนศิลาแลงพระพุทธรูปประธาน ตรงกลางของวัดมีพระเจดีย์กลมแบบลังกาองค์ใหญ่เป็นประธาน ฐานสี่เหลี่ยม ที่ฐานทำเป็นซุ้มคูหาโดย รอบมี สิงห์ยืนอยู่ในคูหา วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นสามองค์ และตอนท้ายสุดเป็นเจดีย์ทรงระฆังประดับช้างปูนปั้นที่ฐานโดยรอบเอกสารตำนานโบราณกล่าวถึงพระแก้วมรกตและพระพุทธสิหิงค์ ได้เคยประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรซึ่งน่าจะประดิษฐานที่วักพระแก้วแห่งนี้ วัดพระแก้วนี้หลังจากขุดแต่งแล้วปรากฏว่า พบฐานเจดีย์แบบต่าง ๆ กัน รวม 35 ฐาน วิหารใหญ่และเล็ก 8 วิหาร ฐานโบสถ์ 3 แห่ง ซึ่งแสดงว่าเป็นวัดใหญ่ และสำคัญมากมาก่อน ปัจจุบันงานนบพระเล่นเพลง และงานวันสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรก็จัด ให้มีขึ้นในบริเวณวัดพระแก้วแห่งนี้ ดังภาพที่ 2 | 1.1 วัดพระแก้ว เป็นพระอารามหลวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่กลางเมืองเช่นเดียวกับวัดมหาธาตุ กรุงสุโขทัย และวัดพระศรีสรรเพชญ กรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาสไม่มีพระภิกษุจำพรรษา สิ่งก่อสร้างภายในวัดเรียงเป็นแนวยาวตามแกนตะวันออก-ตะวันตกขนานกับกำแพงเมืองด้านทิศใต้ กำแพงวัดเป็นศิลาแลงกลมทั้งท่อนสูงประมาณเมตรเศษแผนผังของวัด เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานไปกับกำแพงเพชร กำแพงวัดขาดเป็นตอน ๆ สิ่งก่อ สร้างภายในใช้ศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่ ตอนหน้าสุดของวัดเป็นฐานไพทีใหญ่ บนฐานยังมีโกลนศิลาแลงพระพุทธรูปประธาน ตรงกลางของวัดมีพระเจดีย์กลมแบบลังกาองค์ใหญ่เป็นประธาน ฐานสี่เหลี่ยม ที่ฐานทำเป็นซุ้มคูหาโดย รอบมี สิงห์ยืนอยู่ในคูหา วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นสามองค์ และตอนท้ายสุดเป็นเจดีย์ทรงระฆังประดับช้างปูนปั้นที่ฐานโดยรอบเอกสารตำนานโบราณกล่าวถึงพระแก้วมรกตและพระพุทธสิหิงค์ ได้เคยประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรซึ่งน่าจะประดิษฐานที่วักพระแก้วแห่งนี้ วัดพระแก้วนี้หลังจากขุดแต่งแล้วปรากฏว่า พบฐานเจดีย์แบบต่าง ๆ กัน รวม 35 ฐาน วิหารใหญ่และเล็ก 8 วิหาร ฐานโบสถ์ 3 แห่ง ซึ่งแสดงว่าเป็นวัดใหญ่ และสำคัญมากมาก่อน ปัจจุบันงานนบพระเล่นเพลง และงานวันสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรก็จัด ให้มีขึ้นในบริเวณวัดพระแก้วแห่งนี้ ดังภาพที่ 2 | ||
− | [[ไฟล์:ภาพที่ 2 วัดพระแก้ว.jpg| | + | [[ไฟล์:ภาพที่ 2 วัดพระแก้ว.jpg|700px|thumb|center]] |
<p align = "center"> '''ภาพที่ 2 วัดพระแก้ว''' </p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 2 วัดพระแก้ว''' </p> | ||
1.2 วัดพระธาตุ เป็นวัดใหญ่รองจากวัดพระแก้วตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัดพระแก้ว เจดีย์ประธานภายในวัดเป็นแบบเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังสูงใหญ่ก่อด้วยอิฐ องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยมที่ซ้อนลดหลั่นกันหลายชั้น องค์ระฆังค่อนข้างเล็กอันเป็นรูปแบบเฉพาะของเมืองกำแพงเพชร | 1.2 วัดพระธาตุ เป็นวัดใหญ่รองจากวัดพระแก้วตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัดพระแก้ว เจดีย์ประธานภายในวัดเป็นแบบเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังสูงใหญ่ก่อด้วยอิฐ องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยมที่ซ้อนลดหลั่นกันหลายชั้น องค์ระฆังค่อนข้างเล็กอันเป็นรูปแบบเฉพาะของเมืองกำแพงเพชร | ||
ด้านหน้าเจดีย์ประธานเป็นฐานวิหารศิลาแลงและมีเจดีย์รายอยู่บริเวณมุมด้านหน้าข้างวิหารข้างละองค์ ดังภาพที่ 3 | ด้านหน้าเจดีย์ประธานเป็นฐานวิหารศิลาแลงและมีเจดีย์รายอยู่บริเวณมุมด้านหน้าข้างวิหารข้างละองค์ ดังภาพที่ 3 | ||
− | [[ไฟล์:ภาพที่ 3 วัดพระธาตุ.jpg| | + | [[ไฟล์:ภาพที่ 3 วัดพระธาตุ.jpg|500px|thumb|center]] |
<p align = "center"> '''ภาพที่ 3 วัดพระธาตุ''' </p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 3 วัดพระธาตุ''' </p> | ||
1.3 ศาลพระอิศวร เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูเพียงแห่งเดียวในเมืองกำแพงเพชร เหลือเฉพาะฐานของอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง เดิมประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรสำริดซึ่งมีจารึกที่ฐานว่า เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช ได้สร้างเทวรูปองค์นี้ เมื่อ พ.ศ. 2053 ตรงกับสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 กรุงศรีอยุธยา จารึกยังได้กล่าวถึงการซ่อมแซมถนน คลองส่งน้ำ และการซ่อมแซมพระธาตุทั้งในเมืองและนอกเมืองดังภาพที่ 4 | 1.3 ศาลพระอิศวร เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูเพียงแห่งเดียวในเมืองกำแพงเพชร เหลือเฉพาะฐานของอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง เดิมประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรสำริดซึ่งมีจารึกที่ฐานว่า เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช ได้สร้างเทวรูปองค์นี้ เมื่อ พ.ศ. 2053 ตรงกับสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 กรุงศรีอยุธยา จารึกยังได้กล่าวถึงการซ่อมแซมถนน คลองส่งน้ำ และการซ่อมแซมพระธาตุทั้งในเมืองและนอกเมืองดังภาพที่ 4 | ||
− | [[ไฟล์:ภาพที่ 4 ศาลศาลพระอิศวร.jpg| | + | [[ไฟล์:ภาพที่ 4 ศาลศาลพระอิศวร.jpg|500px|thumb|center]] |
<p align = "center"> '''ภาพที่ 4 ศาลพระอิศวร''' </p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 4 ศาลพระอิศวร''' </p> | ||
'''2. โบราณสถานนอกกำแพงเมือง''' โดยทั่วไปเรียกกันว่า “เขตอรัญญิก” ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม สำรวจพบโบราณสถานแล้ว 37 แห่ง โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ | '''2. โบราณสถานนอกกำแพงเมือง''' โดยทั่วไปเรียกกันว่า “เขตอรัญญิก” ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม สำรวจพบโบราณสถานแล้ว 37 แห่ง โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ | ||
แถว 44: | แถว 44: | ||
<p align = "center"> '''ภาพที่ 5 วัดป่ามืดนอก''' </p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 5 วัดป่ามืดนอก''' </p> | ||
2.2 วัดพระนอน เป็นวัดขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัดใช้ศิลาแลงแทบทั้งสิ้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) แผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออกกำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลง หน้าวัดมีบ่อน้ำ ห้องน้ำและศาลาพักภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนคือ เขตพุทธวาส และเขตสังฆวาสมีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลงสิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธวาสประกอบด้วยพระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูป เขตสังฆวาสตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของเขตพุทธวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฏิ (ห้องส้อม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกำแพงเพชร วัดพระนอนแห่งนี้มีแท่งศิลาแลงขนาดใหญ่จำนวน 8 ต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นแท่งศิลาแลงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ดังภาพที่ 6 | 2.2 วัดพระนอน เป็นวัดขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัดใช้ศิลาแลงแทบทั้งสิ้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) แผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออกกำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลง หน้าวัดมีบ่อน้ำ ห้องน้ำและศาลาพักภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนคือ เขตพุทธวาส และเขตสังฆวาสมีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลงสิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธวาสประกอบด้วยพระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูป เขตสังฆวาสตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของเขตพุทธวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฏิ (ห้องส้อม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกำแพงเพชร วัดพระนอนแห่งนี้มีแท่งศิลาแลงขนาดใหญ่จำนวน 8 ต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นแท่งศิลาแลงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ดังภาพที่ 6 | ||
− | [[ไฟล์:ภาพที่ 6 วัดพระนอน.jpg| | + | [[ไฟล์:ภาพที่ 6 วัดพระนอน.jpg|500px|thumb|center]] |
<p align = "center"> '''ภาพที่ 6 วัดพระนอน''' </p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 6 วัดพระนอน''' </p> | ||
2.3 วัดพระสี่อิริยาบถ วัดพระสี่อิริยาบถ หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่าวัดพระยืน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) วัดนี้มีบ่อน้ำและที่อาบน้ำอยู่หน้าวัดเช่นเดียวกับวัดพระนอน กำแพงวัด เป็นศิลาแลงปักตั้งล้อม 4 ด้าน สิ่งก่อสร้างสำคัญอยู่ในเขตพุทธวาสประกอบด้วยวิหารที่ทำฐานย่อมุมทั้งด้านหน้า – ด้านหลัง ตั้งอยู่บนฐานรองรับขนาดใหญ่ที่เรียกว่าฐานไพทีชานด้านหน้าฐานไพทีมีท่านวางปติมากรรมซึ่งน่าจะเป็นรูปสิงห์ และทวารบาลบนฐานชุกชีภายในวิหารประดิษฐานพระพุธรูปนั่งขนาดใหญ่ด้านหลังวิหารมีบันไดลงติดต่อกับมณฑปพระสี่อิริยาบถทำหน้าที่เป็นเจดีย์ประธานของวัด โดยรอบมณฑปกำแพงแก้วเตี้ย ๆ เหลือแต่ฐาน มีประตูเข้าด้านข้าง 2 ข้าง และด้านหลังมณฑปกว้าง 29 เมตร ลักษณะมณฑปแบบจตุรมุข กึ่งกลางทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยมรับส่วนยอดหลังคา จากนั้นทำเป็นมุมยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน ผนังแต่ละด้านของแท่งสี่เหลี่ยมก่อให้เว้าเข้าไป และประดิษฐานพระพุทธรูปแตกต่างกันออกไปในแต่ละด้าน คือ เดิน นั่ง ยืน นอน ปัจจุบันเหลือพระยืนขนาดใหญ่ทางด้านทิศใต้ พระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธศิลปแบบสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร ซึ่งหาดูได้ยากคือ พระนลาฏกว้าง พระหนุเสี้ยม ดังภาพที่ 7 | 2.3 วัดพระสี่อิริยาบถ วัดพระสี่อิริยาบถ หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่าวัดพระยืน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) วัดนี้มีบ่อน้ำและที่อาบน้ำอยู่หน้าวัดเช่นเดียวกับวัดพระนอน กำแพงวัด เป็นศิลาแลงปักตั้งล้อม 4 ด้าน สิ่งก่อสร้างสำคัญอยู่ในเขตพุทธวาสประกอบด้วยวิหารที่ทำฐานย่อมุมทั้งด้านหน้า – ด้านหลัง ตั้งอยู่บนฐานรองรับขนาดใหญ่ที่เรียกว่าฐานไพทีชานด้านหน้าฐานไพทีมีท่านวางปติมากรรมซึ่งน่าจะเป็นรูปสิงห์ และทวารบาลบนฐานชุกชีภายในวิหารประดิษฐานพระพุธรูปนั่งขนาดใหญ่ด้านหลังวิหารมีบันไดลงติดต่อกับมณฑปพระสี่อิริยาบถทำหน้าที่เป็นเจดีย์ประธานของวัด โดยรอบมณฑปกำแพงแก้วเตี้ย ๆ เหลือแต่ฐาน มีประตูเข้าด้านข้าง 2 ข้าง และด้านหลังมณฑปกว้าง 29 เมตร ลักษณะมณฑปแบบจตุรมุข กึ่งกลางทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยมรับส่วนยอดหลังคา จากนั้นทำเป็นมุมยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน ผนังแต่ละด้านของแท่งสี่เหลี่ยมก่อให้เว้าเข้าไป และประดิษฐานพระพุทธรูปแตกต่างกันออกไปในแต่ละด้าน คือ เดิน นั่ง ยืน นอน ปัจจุบันเหลือพระยืนขนาดใหญ่ทางด้านทิศใต้ พระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธศิลปแบบสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร ซึ่งหาดูได้ยากคือ พระนลาฏกว้าง พระหนุเสี้ยม ดังภาพที่ 7 | ||
− | [[ไฟล์:ภาพที่ 7 วัดพระสี่อิริยาบถ.jpg| | + | [[ไฟล์:ภาพที่ 7 วัดพระสี่อิริยาบถ.jpg|500px|thumb|center]] |
<p align = "center"> '''ภาพที่ 7 วัดพระสี่อิริยาบถ''' </p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 7 วัดพระสี่อิริยาบถ''' </p> | ||
2.4 วัดช้างรอบ โบรานสถานแห่งนี้อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) ตั้งอยู่บนยอดเนินสูงสุดของเขตอรัญญิก สิ่งสำคัญของวัดแห่งนี้คือ เจดีย์ประธานทรงระฆังกลมขนาดใหญ่ ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกสูงยาวด้านละ 31 เมตร ประดับด้วยช้างปูนปั้นทรงเครื่องโผล่ออกมาเพียงครึ่งตัวจำนวน 68 เชือก ตัวช้างทำลายปูนปั้นที่แผงคอ โคนขา และข้อขา ระหว่างช้างแต่ละเชือกตกแต่งลายปูนปั้นนูนสูงระหว่างช้างแต่ละเชือกมีภาพปั้นรูปลายพรรณพฤกษาในพระพุทธศาสนา เช่น ต้นโพธิ์ และต้นสาละ เป็นต้น มีบันไดขึ้นลงสี่ด้าน เชิงบันได แต่ละดานมีสิงห์ และทวารบาลปูนปั้นประดับอยู่ ที่มุมฐานด้านบน หรือลานประทักษิณ มีสถูปเล็กๆอยู่ทั้ง 4 มุมองค์เจดีย์ด้านบนเป็นทรงกลมตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยมซึ่งพบหลักฐานว่ามีการประดับลายปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติ และประดับรูปเทวดา นางฟ้า กินนร กินรี และหงส์ ด้านหน้าเจดีย์ประธานมีฐานวิหารขนาดใหญ่ ด้านหน้าวิหารมีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่ที่ขุดขึ้นมาใช้ก่อสร้าง โบราณสถานแห่งนี้ มีอุโบสถขนาดเล็กตั้งอยู่ที่มุมตะวันออกเฉลียงเหนือ ดังภาพที่ 8 | 2.4 วัดช้างรอบ โบรานสถานแห่งนี้อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) ตั้งอยู่บนยอดเนินสูงสุดของเขตอรัญญิก สิ่งสำคัญของวัดแห่งนี้คือ เจดีย์ประธานทรงระฆังกลมขนาดใหญ่ ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกสูงยาวด้านละ 31 เมตร ประดับด้วยช้างปูนปั้นทรงเครื่องโผล่ออกมาเพียงครึ่งตัวจำนวน 68 เชือก ตัวช้างทำลายปูนปั้นที่แผงคอ โคนขา และข้อขา ระหว่างช้างแต่ละเชือกตกแต่งลายปูนปั้นนูนสูงระหว่างช้างแต่ละเชือกมีภาพปั้นรูปลายพรรณพฤกษาในพระพุทธศาสนา เช่น ต้นโพธิ์ และต้นสาละ เป็นต้น มีบันไดขึ้นลงสี่ด้าน เชิงบันได แต่ละดานมีสิงห์ และทวารบาลปูนปั้นประดับอยู่ ที่มุมฐานด้านบน หรือลานประทักษิณ มีสถูปเล็กๆอยู่ทั้ง 4 มุมองค์เจดีย์ด้านบนเป็นทรงกลมตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยมซึ่งพบหลักฐานว่ามีการประดับลายปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติ และประดับรูปเทวดา นางฟ้า กินนร กินรี และหงส์ ด้านหน้าเจดีย์ประธานมีฐานวิหารขนาดใหญ่ ด้านหน้าวิหารมีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่ที่ขุดขึ้นมาใช้ก่อสร้าง โบราณสถานแห่งนี้ มีอุโบสถขนาดเล็กตั้งอยู่ที่มุมตะวันออกเฉลียงเหนือ ดังภาพที่ 8 | ||
− | [[ไฟล์:ภาพที่ 8 วัดช้างรอบ.jpg| | + | [[ไฟล์:ภาพที่ 8 วัดช้างรอบ.jpg|500px|thumb|center]] |
<p align = "center"> '''ภาพที่ 8 วัดช้างรอบ''' </p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 8 วัดช้างรอบ''' </p> | ||
2.5 วัดอาวาสใหญ่ เป็นวัดที่ก่อสร้างใหญ่โต มีเจดีย์และวิหารมาก อยู่ริมถนนไปอำเภอพรานกระต่าย ห่างจากประตูโคมไฟไปทางเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร กำแพงวัด เป็นศิลาแลง กลางวัดมีฐานพระเจดีย์แปดเหลี่ยมใหญ่กว้างด้านละ 16 เมตร ด้านหน้าวัดอาวาสใหญ่ ริมถนนมีบ่อสี่เหลี่ยมใหญ่ ขุดลงไปในพื้นศิลาแลง กว้าง 9 เมตร ยาว 17 เมตร ลึก 7-8 เมตร เรียกว่า "บ่อสามแสน" และตรงด้านหน้าเจดีย์ประธานด้านทิศเหนือ มีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีฐานวิหารทั้งใหญ่และเล็กรวม 10 วิหาร ฐานเจดีย์รวม 9 ฐาน ดังภาพที่ 9 และ 10 | 2.5 วัดอาวาสใหญ่ เป็นวัดที่ก่อสร้างใหญ่โต มีเจดีย์และวิหารมาก อยู่ริมถนนไปอำเภอพรานกระต่าย ห่างจากประตูโคมไฟไปทางเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร กำแพงวัด เป็นศิลาแลง กลางวัดมีฐานพระเจดีย์แปดเหลี่ยมใหญ่กว้างด้านละ 16 เมตร ด้านหน้าวัดอาวาสใหญ่ ริมถนนมีบ่อสี่เหลี่ยมใหญ่ ขุดลงไปในพื้นศิลาแลง กว้าง 9 เมตร ยาว 17 เมตร ลึก 7-8 เมตร เรียกว่า "บ่อสามแสน" และตรงด้านหน้าเจดีย์ประธานด้านทิศเหนือ มีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีฐานวิหารทั้งใหญ่และเล็กรวม 10 วิหาร ฐานเจดีย์รวม 9 ฐาน ดังภาพที่ 9 และ 10 | ||
แถว 58: | แถว 58: | ||
<p align = "center"> '''ภาพที่ 10 บ่อสามแสน''' </p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 10 บ่อสามแสน''' </p> | ||
2.6 วัดสิงห์ โบรานสถานแห่งนี้อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงก่อด้วยศิลาแลงแท่งสี่เหลี่ยมปักเรียงติดกัน หน้าวัดมีศาลาก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัดประกอบด้วยพระอุโบสถซึ่งเดิมน่าจะเป็นวิหารแต่ถูกดัดแปลงให้กลายเป็นอุโบสถภายหลังตั้งอยู่บนฐานไพทีขนาดใหญ่อีกชั้นหนึ่ง ชานชาลาด้านหน้าฐานไพที มีรูปสิงห์ปูนปั้นแกนสิลาแลง และทวารบาลประดับอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ประธานมีซุ้มพระทั้งสี่ทิศ ส่วนเขตสังฆวาสหรือเขตที่พักสงฆ์อยู่ด้านทิศใต้ของเขตพุทธวาส ปรากฏฐานศาลา ฐานกุฏิ บ่อน้ำ ดังภาพที่ 11 | 2.6 วัดสิงห์ โบรานสถานแห่งนี้อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงก่อด้วยศิลาแลงแท่งสี่เหลี่ยมปักเรียงติดกัน หน้าวัดมีศาลาก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัดประกอบด้วยพระอุโบสถซึ่งเดิมน่าจะเป็นวิหารแต่ถูกดัดแปลงให้กลายเป็นอุโบสถภายหลังตั้งอยู่บนฐานไพทีขนาดใหญ่อีกชั้นหนึ่ง ชานชาลาด้านหน้าฐานไพที มีรูปสิงห์ปูนปั้นแกนสิลาแลง และทวารบาลประดับอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ประธานมีซุ้มพระทั้งสี่ทิศ ส่วนเขตสังฆวาสหรือเขตที่พักสงฆ์อยู่ด้านทิศใต้ของเขตพุทธวาส ปรากฏฐานศาลา ฐานกุฏิ บ่อน้ำ ดังภาพที่ 11 | ||
− | [[ไฟล์:ภาพที่ 11 วัดสิงห์.jpg|thumb| | + | [[ไฟล์:ภาพที่ 11 วัดสิงห์.jpg|thumb|500px|center]] |
<p align = "center"> '''ภาพที่ 11 วัดสิงห์''' </p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 11 วัดสิงห์''' </p> | ||
2.7 วัดฆ้องชัย โบรานสถานแห่งนี้อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) วัดฆ้องชัยมีกำแพงก่อด้วยศิลาแลงเพียงสองด้าน คือด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ ซึ่งเหลือเพียงบางส่วนสิ่งก่อสร้างของวัดประกกอบด้วย วิหารขนาด 9 ห้องที่ตั้งอยู่บนฐานสูง จากฐานวิหารอื่นๆในเขต อรัญญิก ชานด้านหน้าของฐานวิหารสันนิฐานว่าประดับด้วยมกรสังคโลกซึ่งพบชิ้นส่วนจำนวนมากจากการขุดแต่ง เจดีย์ประธานตั้งหลังวิหารลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังกลมบนฐานแปดเหลี่ยมซ้อนกันหลายชั้นลักษณะคล้ายเจดีย์ประธารวัดพระธาตุส่วนเขตสังฆวาสหรือเขตที่พักสงฆ์ ประกอบด้วย กุฏิ ศาลา บ่อน้ำ ที่อาบน้ำ และเว็จกุฏิ ดังภาพที่ 12 | 2.7 วัดฆ้องชัย โบรานสถานแห่งนี้อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) วัดฆ้องชัยมีกำแพงก่อด้วยศิลาแลงเพียงสองด้าน คือด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ ซึ่งเหลือเพียงบางส่วนสิ่งก่อสร้างของวัดประกกอบด้วย วิหารขนาด 9 ห้องที่ตั้งอยู่บนฐานสูง จากฐานวิหารอื่นๆในเขต อรัญญิก ชานด้านหน้าของฐานวิหารสันนิฐานว่าประดับด้วยมกรสังคโลกซึ่งพบชิ้นส่วนจำนวนมากจากการขุดแต่ง เจดีย์ประธานตั้งหลังวิหารลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังกลมบนฐานแปดเหลี่ยมซ้อนกันหลายชั้นลักษณะคล้ายเจดีย์ประธารวัดพระธาตุส่วนเขตสังฆวาสหรือเขตที่พักสงฆ์ ประกอบด้วย กุฏิ ศาลา บ่อน้ำ ที่อาบน้ำ และเว็จกุฏิ ดังภาพที่ 12 |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 11:33, 1 มีนาคม 2564
เนื้อหา
บทนำ[แก้ไข]
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง มีพื้นที่ประมาณ 3.4 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 เขต คือ เขตภายในกำแพงเมือง พื้นที่ 503 ไร่ และเขตนอกกำแพงเมืองหรือที่เรียกกันว่าเขตอรัญญิก พื้นที่ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม โบราณสถานทั้ง 2 กลุ่ม ตั้งอยู่ในพื้นที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ประมาณ 358 กิโลเมตร กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประมาณ 2,114 ไร่ (กองโบราณคดี, ม.ป.ป.) กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525 – 2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า พัฒนาโบราณสถาน และบริเวณเพื่อให้เป็นแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติ กรมศิลปากรได้ดำเนินการเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พุทธศักราช 2524 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเป็นองค์ประธาน โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ยังเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ทั้งในด้านการใช้วัสดุศิลาแลงเป็นวัสดุก่อสร้าง รูปแบบทางศิลปกรรมเป็นของแท้ดั้งเดิมที่แสดงถึงฝีมือและความเชื่อของบรรพชนในอดีต ตลอดจนโบราณสถานรวมกลุ่มหนาแน่นในบริเวณป่าธรรมชาติ ซึ่งยังคงบรรยากาศพุทธสถานเขตอรัญวาสีดังเช่นในอดีต (องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร, ม.ป.ป.) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534 "อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร" ได้รับการประกาศเป็น “มรดกโลก” ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ภายใต้ชื่อว่า "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) โบราณสถานของเมืองกำแพงเพชร เกือบทั้งหมดเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์ โดยมีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท พุทธศาสนาในสมัยนั้นมีพระสงฆ์สองฝ่ายคือ ฝ่ายคามวาสีหรือวัดที่อยู่ในเมือง และอรัญวาสีหรือฝ่ายที่อยู่นอกเมือง
คำสำคัญ : ท่องเที่ยว, เมืองมรดกโลก, อุทยานประวัติศาสตร์, กำแพงเพชร
ประวัติความเป็นมาจังหวัดกำแพงเพชรเมืองมรดกโลก[แก้ไข]
จังหวัดกำแพงเพชร เป็นที่ตั้งของเมืองเก่าที่ปรากฏหลักฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ไทยไม่น้อยกว่า 700 ปี เคยเป็นเมืองเก่าที่นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง เช่น เมืองชากังราว นครชุม ไตรตรึงษ์ เทพนคร และเมืองคณฑี นอกจากนี้ เมืองกำแพงเพชรยังเป็นเมืองที่สองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ครองเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาวชิรปราการ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ได้เปลี่ยนเมืองกำแพงเพชรเป็นจังหวัดกำแพงเพชร (ไกด์พงษ์, 2554) ตามประวัติศาสตร์ กล่าวว่า กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เดิมเรียกชื่อว่า "เมืองชากังราว" และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไตรตรึงษ์ เทพนคร ฯลฯ การที่กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านรับศึกสงครามในอดีตอยู่เสมอ จึงเป็นเมืองยุทธศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น กำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการ วัดโบราณ มีหลักฐานให้สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ว่าเมืองหนึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตก มีพระมหาธาตุอยู่ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเมืองเดิมที่เรียกชื่อว่า “ชากังราว” พระเจ้าเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.1890 ต่อมามีการสร้างอีกเมืองหนึ่งทางฝั่งตะวันตกเช่นกัน เมืองนี้ปรากฏชื่อในจารึกของพระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นว่า เมืองนครชุม เป็นเมืองที่มีวัดวาอารามใหญ่โตหลายวัด เป็นฝีมือสร้างครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีอยู่หลายวัด ต่อมาเกิดเกาะขึ้นตรงกลางหน้าเมืองนครชุม สายน้ำเปลี่ยนทางเดินไปทางทิศตะวันตก ทำให้เมืองนครชุมเป็นเมืองดอน จึงได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ทางฝั่งตะวันออกตรงข้ามกัน เมืองที่สร้างใหม่นี้มีป้อมกำแพงมั่นคงแข็งแรงไว้ต่อสู้ข้าศึก มีลำน้ำทั้งเก่าและใหม่เป็นคูเมือง คงเห็นว่าเป็นเขื่อนขันธ์ที่มั่นคงจึงให้ชื่อว่า เมืองกำแพงเพชร ครั้นเมื่ออำนาจของกรุงสุโขทัยเริ่มเสื่อมลง พระเจ้าอู่ทองสามารถตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองเอกทางใต้ได้ และ พอถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1(พลั่ว) รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์สามารถยกทัพมาตีกรุงสุโขทัยได้ จากสงครามนี้ทำให้เขตปกครองของสุโขทัยถูกแบ่งออกเป็น 2 อาณาเขตคือ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) ระแหง (ตาก) และพระบาง (นครสวรรค์) เมืองทางฝั่งแม่น้ำปิงถูกแบ่งเป็นเขตหนึ่ง และเมืองสุโขทัย สองแคว สวรรคโลก พิจิตร เมืองทางฝั่งแม่น้ำยมและน่านอีกเขตหนึ่ง ทั้งสองเขตมีเมืองราชธานีปกครองเมืองเล็กในย่านของตน สำหรับทางแม่น้ำปิงนั้นได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุม ยกเป็นราชธานีปกครองเมืองทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ โดยโปรดฯ ให้พระยายุธิษฐิระ ราชบุตรบุญธรรมเป็นผู้ครองเมือง ส่วนทางด้านลุ่มแม่น้ำยมและน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี มีพระเจ้าไสยลือไท หรือพระมหาธรรมราชาที่ 3 เป็นผู้ครองเมือง และในสมัยที่ยังมีการทำสงครามกับพม่านั้น กำแพงเพชรมีบทบาทในการทำสงครามหลายครั้ง เป็นที่ตั้งในการการทำสงครามต่อสู้กับพม่า ทั้งตั้งรับ ที่พักพล ที่เตรียมเสบียงอาหาร บางครั้งพม่ามีกำลังมากก็ต้องอพยพผู้คนลงมาอยู่ที่อยุธยา เคยถูกพม่ายึดเป็นที่มั่นหลายครั้ง และถูกทำลายเสียหายอยู่เสมอ เป็นเมืองที่พระเจ้าตากสินดำรงพระยศครั้งสุดท้ายก่อนจะเสด็จขึ้นเสวยราชย์ ณ กรุงธนบุรี เป็นพระยาวชิรปราการผู้สำเร็จราชการเมือง เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงและเป็นบริเวณที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชรปัจจุบันลักษณะเมืองมีรูปแบบคล้ายกับสี่เหลี่ยมคางหมูวางยาวขนานไปกับแม่น้ำ ความยาวของกำแพงเมืองด้านเหนือประมาณ 2,400 เมตร ด้านใต้ประมาณ 2,160 เมตร ความกว้างด้านตะวันออกประมาณ 540 เมตร และความกว้างด้านตะวันตกประมาณ 220 เมตร กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลงทำเป็นชั้นเชิงเทิน ตอนบนสุด ก่อเป็นรูปใบเสมา มีประตูเมืองโดยรอบรวม 10 ประตู กำแพงเมืองยังมีป้อมปราการที่มั่นคงแข็งแรงทั้งที่บริเวณมุมเมืองทั้ง 4 มุมและในแนวกำแพงเมือง รวมทั้งยังมีป้อมรูปสี่เหลี่ยมตั้งอยู่ด้านหน้าประตูเมืองด้วย ถัดจากกำแพงเมืองศิลาแลงเป็นคูเมืองกว้างประมาณ 30 เมตร จากการที่เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิง จึงพบหลักฐานเกี่ยวกับการทดน้ำจากแม่น้ำปิง เพื่อนำน้ำเข้าสู่คูเมืองบริเวณมุมหัวเมือง และเมื่อน้ำล้นคูเมืองเกินความจำเป็นแล้วก็จะระบายออกที่ด้านมุมท้ายเมืองลงสู่ลำคลองธรรมชาติ (องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร, ม.ป.ป.) ภายในเมืองและนอกเมืองกำแพงเพชรมีซากโบราณสถานใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก เกือบทั้งหมดเป็นศาสนสถานเนื่องในพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์ กลางเมืองมีวัดพระแก้ว วัดพระธาตุเป็นศูนย์กลาง เป็นลักษณะวัดหลวงที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาส ไม่มีพระภิกษุจำพรรษา ทางด้านทิศเหนือของวัดพระแก้วเป็นบริเวณที่เรียกว่าสระมน (เชื่อกันว่าเป็นบริเวณวังโบราณ) และเทวสถานศาลพระอิศวร ซึ่งสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณนอกเมืองทางด้านทิศเหนือ มีกลุ่มวัดโบราณขนาดใหญ่น้อยประมาณ 40 แห่ง สร้างอยู่บนเนินเขาลูกรังขนาดย่อม จัดเป็นเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร โบราณสถานสำคัญ ได้แก่ วัดพระนอน วัดป่ามืด วัดพระสี่อิริยาบถ วัดฆ้องชัย วัดนาคเจ็ดเศียร วัดสิงห์ วัดกำแพงงาม วัดเตาหม้อ วัดช้างรอบ และวัดอาวาสใหญ่ กลุ่มโบราณสถานเขตอรัญญิกนับเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของเมืองกำแพงเพชร ด้วยโบราณสถานสร้างรวมกลุ่มหนาแน่นในบริเวณพื้นที่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน โบราณสถานมีขนาดใหญ่โตอลังการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง และมีความงดงามทางศิลปกรรมของสกุลช่างเมืองกำแพงเพชร บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงหรือฝั่งตรงข้ามกับเมืองกำแพงเพชร เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณอีกเมืองหนึ่งที่เรียกว่าเมืองนครชุม ลักษณะตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ตรงปากคลองสวนหมาก กำแพงเมืองเป็นลักษณะคันดินสามชั้น ซึ่งในปัจจุบันถูกทำลายไปมากทั้งการกัดเซาะของแม่น้ำปิง และการขยายตัวของชุมชนปัจจุบัน กลุ่มโบราณสถานสำคัญชองเมืองนครชุมตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศใต้ ห่างจากแนวกำแพงเมืองประมาณ 500 เมตร เป็นกลุ่มวัดเขตอรัญญิกของเมืองนครชุม วัดสำคัญได้แก่ วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ และวัดหนองลังกา นอกจากหลักฐานทางโบราณคดีแล้ว ยังปรากฏเรื่องราวในตำนาน และพงศาวดารหลายฉบับที่กล่าวถึงชุมชนในแถบลุ่มแม่น้ำปิง เช่น ตำนานสิงหนวัติกุมารได้กล่าวถึงพระเจ้าชัยศิริได้หนีข้าศึกจากเมืองเหนือมาตั้งเมืองใหม่ชื่อเมืองกำแพงเพชร ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 (โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์ จำกัด, ม.ป.ป.) จากหลักฐานทางโบราณคดี ตลอดจนเรื่องราวในตำนานทำให้ทราบว่าได้มีชุมชนเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำปิง ในเขตจังหวัดกำแพงเพชรก่อนสมัยสุโขทัย แต่การพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนเมืองกำแพงเพชร ขนาดใหญ่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลายหลักรวมไปถึงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและประติมากรรมจำนวนมาก ทำให้ทราบว่าเมืองกำแพงเพชรและเมืองนครชุมสถานปนาขึ้นในช่วงสมัยสุโขทัย ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 หรือภายหลังรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง ในระยะแรกเมืองนครชุม คงจะมีบทบาทและความสำคัญมากกว่าเมืองกำแพงเพชร ดังหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาลิไท ได้เสด็จสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุกลางเมืองนครชุม พร้อมปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งได้มาจากลังกาทวีป เมื่อพ.ศ. 1900 ต่อมาได้ย้ายศูนย์กลางเมืองมาอยู่ทางฝั่งเมืองกำแพงเพชร ซึ่งอาจจะเนื่องด้วยสาเหตุทางการเมืองกับกรุงศรีอยุธยาที่ขยายอำนาจทางการเมืองขึ้นมาทางเหนือ เมืองนครชุมตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมในทางยุทธศาสตร์ หรืออาจจะเนื่องจากการประสบปัญหาแม่น้ำปิงกัดเซาะตลิ่ง ตลอดจนเกิดอุทกภัยน้ำหลากจากภูเขาทางทิศตะวันตก น้ำไหลท่วมคลองสวนหมากและตัวเมืองที่เป็นที่ลุ่มต่ำอยู่เสมอ เมืองกำแพงเพชรทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงคงจะมีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลางการเมืองการปกครองในแถบลุ่มแม่น้ำปิง ในขณะเดียวกันด้านการศาสนาและศิลปกรรมได้เจริญรุ่งเรืองควบคู่ไปกับอำนาจการเมืองการปกครอง เรื่องราวที่กล่าวไว้ในตำนานที่เกี่ยวข้องกับพระแก้วมรกตและพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองทั้งสององค์มาชั่วระยะหนึ่งสมัยอยุธยา เมืองกำแพงเพชรได้เป็นหัวเมืองหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาในกลุ่มหัวเมืองเหนือ และยังคงมีบทบาทสำคัญในฐานะเมืองหน้าด่านที่ต้องคอยรับศึกจากกองทัพพม่ามาโดยตลอด เมืองกำแพงเพชรคงจะลดบทบาทและร้างไปในที่สุด เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่าครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2310 จากประวัติศาสตร์ความเป็นมาและเมืองที่ตั้งของเมืองกำแพงเพชรที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างแคว้นสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา และในขณะเดียวกันก็สามารถติดต่อกับบ้านเมืองเขตล้านนาที่อยู่ทางเหนือได้อย่างสะดวก ดังหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่เมืองกำแพงเพชรจึงแสดงลักษณะที่เกี่ยวกับดินแดนทั้งสามแห่ง แต่ก็แฝงไว้ด้วยศิลปะของท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของสกุลช่างเมืองกำแพงเพชรเอาไว้ด้วย
ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง[แก้ไข]
โบราณสถานของจังหวัดกำแพงเพชรสร้างโดยใช้ศิลาแลงทั้งหมด ศิลาแลง หรือ แม่รัง เป็นวัสดุในธรรมชาติอย่างหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับหิน สีแดง ส้ม หรือน้ำตาลเข้ม มีรูพรุนทั่วไป นับเป็นวัสดุที่มีความสำคัญในการก่อสร้างในอดีต เนื่องจากมีความอ่อนนุ่มและมีความแข็งพอสมควร ศิลาแลงเป็นวัสดุที่ผ่านกระบวนการผุพังมาเป็นระยะเวลายาวนาน มีลักษณะเป็นรูพรุนทั่วไป มีสีสนิมเหล็ก หรือสีอิฐ ส่วนประกอบสำคัญทางเคมีของศิลาแลง คือ ออกไซด์ของเหล็ก หรืออะลูมิเนียม โดยอาจมีแร่ควอตซ์และเคโอลิไนต์ปนอยู่ด้วย ส่วนธาตุที่เป็นด่างและซิลิเกตนั้นมีอยู่น้อยมาก หากมีสารประกอบเหล็กอยู่มากพอ ก็อาจนำไปใช้เป็นวัตถุดิบถลุงเอาเหล็กได้ หรือหากมีสารประกอบอะลูมิเนียมมากพอ ก็อาจนำไปถลุงเอาโลหะอะลูมิเนียมได้เช่นกัน ศิลาแลงเกิดขึ้นได้ในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้น ฝนตกมาก แต่แล้งนานด้วย ในฤดูฝนน้ำใต้ดินมีระดับสูง ทำให้ท่วมตอนบนของชั้นดิน (ซึ่งต่อไปกลายเป็นศิลาแลง) ระหว่างนั้น น้ำฝนจะละลายเอาสารประกอบอะลูมิเนียมออกไซด์เอาไว้ เมื่อถึงหน้าแล้ง น้ำใต้ดินลดระดับต่ำลง ก็พาเอาสารประกอบอะลูมิเนียมลงไปสู่ที่ต่ำ เวลานานเข้า วัสดุบริเวณด้านบนจึงมีสารประกอบเหล็กออกไซด์มากขึ้น และมักรวมกันเป็นกลุ่มจึงเกิดเป็นโพรงว่าง เป็นทางให้น้ำใต้ดินซึมขึ้นลงได้ง่ายขึ้น และชะล้างสารประกอบอะลูมิเนียมออกไซด์ออกไปเร็วด้วย ทำให้ศิลาแลงมีลักษณะเด่น คือ มีรูพรุนทั่วไป และเนื้อเป็นสารประกอบเหล็กออกไซด์มากกว่าอะลูมิเนียมออกไซด์ ในประเทศไทยพบศิลาแลง 2 แบบ คือ (พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2544) 1. แบบที่เชื่อมยึดตัวแน่น เป็นแผ่นต่อเนื่องเป็นพืด เรียกว่า "ศิลาแลง" หรือ "แม่รัง" นิยมตัดเป็นแท่งคล้ายอิฐ นำไปสร้างสิ่งก่อสร้าง กำแพง ปูทางเดิน และ 2. แบบที่เกาะตัวกันหลวมๆ ลักษณะร่วน เรียกว่า "ลูกรัง" นิยมใช้อัดพื้นถนน เพราะเมื่อมีการบดอัด และได้รับความชื้นจากน้ำแล้ว จะจับตัวแน่นดีกว่าดิน หรือทรายธรรมดา การนำศิลาแลงมาใช้นั้น เป็นกระบวนการที่ไม่ยุ่งยากนัก เมื่อเปิดหน้าดินลงไปถึงตัวศิลาแลง จะพบเนื้อดินที่ไม่แข็งนัก ใช้ขวานหรือเหล็กสกัด หรือชะแลง เซาะร่องงัดออกมาเป็นแท่งสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ได้ แต่เมื่อยกขึ้นมาแล้วต้องรีบตัดแต่งให้เข้ารูปตามต้องการโดยเร็ว เพราะหากทิ้งไว้เป็นเวลานาน มันจะแข็งตัวกว่าเดิมมาก เมื่อแต่งรูปเสร็จแล้ว วางทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน ก็จะแข็งมาก สามารถนำไปก่อสร้างได้เหมือนอิฐ ศิลาแลงนี้สามารถพบได้ในโบราณสถานสมัยสุโขทัยเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็พบได้ในโบราณสถานแห่งอื่นๆ เช่น เชียงแสน เชียงใหม่ กำแพงเพชร เป็นต้น ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 ศิลาแลงและบ่อศิลาแลง
โบราณสถาน และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร[แก้ไข]
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เนื่องจากพุทธศาสนาในสมัยนั้นมีพระสงฆ์ สองฝ่าย คือ ฝ่ายคามวาสีหรือวัดที่อยู่ในเมือง และอรัญวาสีหรือฝ่ายที่อยู่นอกเมือง บางแหล่งข้อมูลก็แบ่งเมืองโบราณออกตามนากำแพงเมือง เนื่องจากกำแพงเมืองกำแพงเพชรเดิม คงมีลักษณะเป็นคันดินและคูเมือง 3 ชั้นต่อมาได้พัฒนากำแพงเมืองขึ้นไปเป็นกำแพงศิลาแลง มีการสร้างเชิงเทิน ใบเสมา และป้อมประตูรอบ ส่วนที่เป็นกำแพงด้านในยังคงปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่ข้างบริเวณด้านทิศเหนือเชื่อกันว่ากำแพงศิลาแลงสร้างในช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1911 – 2031) โดยแบ่งเขตโบราณสถานออกเป็น 1. โบราณสถานภายในกำแพงเมือง สำรวจพบแล้วมีทั้งสิ้น 20 แห่ง โบราณสถานที่สำคัญๆ ได้แก่ 1.1 วัดพระแก้ว เป็นพระอารามหลวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตั้งอยู่กลางเมืองเช่นเดียวกับวัดมหาธาตุ กรุงสุโขทัย และวัดพระศรีสรรเพชญ กรุงศรีอยุธยา เป็นวัดที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาสไม่มีพระภิกษุจำพรรษา สิ่งก่อสร้างภายในวัดเรียงเป็นแนวยาวตามแกนตะวันออก-ตะวันตกขนานกับกำแพงเมืองด้านทิศใต้ กำแพงวัดเป็นศิลาแลงกลมทั้งท่อนสูงประมาณเมตรเศษแผนผังของวัด เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานไปกับกำแพงเพชร กำแพงวัดขาดเป็นตอน ๆ สิ่งก่อ สร้างภายในใช้ศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่ ตอนหน้าสุดของวัดเป็นฐานไพทีใหญ่ บนฐานยังมีโกลนศิลาแลงพระพุทธรูปประธาน ตรงกลางของวัดมีพระเจดีย์กลมแบบลังกาองค์ใหญ่เป็นประธาน ฐานสี่เหลี่ยม ที่ฐานทำเป็นซุ้มคูหาโดย รอบมี สิงห์ยืนอยู่ในคูหา วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นสามองค์ และตอนท้ายสุดเป็นเจดีย์ทรงระฆังประดับช้างปูนปั้นที่ฐานโดยรอบเอกสารตำนานโบราณกล่าวถึงพระแก้วมรกตและพระพุทธสิหิงค์ ได้เคยประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรซึ่งน่าจะประดิษฐานที่วักพระแก้วแห่งนี้ วัดพระแก้วนี้หลังจากขุดแต่งแล้วปรากฏว่า พบฐานเจดีย์แบบต่าง ๆ กัน รวม 35 ฐาน วิหารใหญ่และเล็ก 8 วิหาร ฐานโบสถ์ 3 แห่ง ซึ่งแสดงว่าเป็นวัดใหญ่ และสำคัญมากมาก่อน ปัจจุบันงานนบพระเล่นเพลง และงานวันสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรก็จัด ให้มีขึ้นในบริเวณวัดพระแก้วแห่งนี้ ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 วัดพระแก้ว
1.2 วัดพระธาตุ เป็นวัดใหญ่รองจากวัดพระแก้วตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัดพระแก้ว เจดีย์ประธานภายในวัดเป็นแบบเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังสูงใหญ่ก่อด้วยอิฐ องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยมที่ซ้อนลดหลั่นกันหลายชั้น องค์ระฆังค่อนข้างเล็กอันเป็นรูปแบบเฉพาะของเมืองกำแพงเพชร ด้านหน้าเจดีย์ประธานเป็นฐานวิหารศิลาแลงและมีเจดีย์รายอยู่บริเวณมุมด้านหน้าข้างวิหารข้างละองค์ ดังภาพที่ 3
ภาพที่ 3 วัดพระธาตุ
1.3 ศาลพระอิศวร เป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดูเพียงแห่งเดียวในเมืองกำแพงเพชร เหลือเฉพาะฐานของอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง เดิมประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรสำริดซึ่งมีจารึกที่ฐานว่า เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช ได้สร้างเทวรูปองค์นี้ เมื่อ พ.ศ. 2053 ตรงกับสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 กรุงศรีอยุธยา จารึกยังได้กล่าวถึงการซ่อมแซมถนน คลองส่งน้ำ และการซ่อมแซมพระธาตุทั้งในเมืองและนอกเมืองดังภาพที่ 4
ภาพที่ 4 ศาลพระอิศวร
2. โบราณสถานนอกกำแพงเมือง โดยทั่วไปเรียกกันว่า “เขตอรัญญิก” ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม สำรวจพบโบราณสถานแล้ว 37 แห่ง โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ 2.1 วัดป่ามืดนอก อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) แผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญคืออุโบสถก่อด้วยศิลาแลง พระประฐานบนฐานชุกชีภายในอุโบสถเป็นโกลนศิลาแลงเดิมปูนปั้นฉาบผิวด้านนอกแสดง รายละเอียดต่างๆขององค์พระพุธรูป เทคนิคการสร้างพระพุทธรูปแบบนี้พบทั่วไปในเมืองกำแพงเพชร ด้านหลังวิหารเป็นเจดีย์ประธานทรงระฆังบนฐานแปดเหลี่ยม ดังภาพที่ 5
ภาพที่ 5 วัดป่ามืดนอก
2.2 วัดพระนอน เป็นวัดขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัดใช้ศิลาแลงแทบทั้งสิ้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) แผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออกกำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลง หน้าวัดมีบ่อน้ำ ห้องน้ำและศาลาพักภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนคือ เขตพุทธวาส และเขตสังฆวาสมีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลงสิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธวาสประกอบด้วยพระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูป เขตสังฆวาสตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของเขตพุทธวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฏิ (ห้องส้อม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกำแพงเพชร วัดพระนอนแห่งนี้มีแท่งศิลาแลงขนาดใหญ่จำนวน 8 ต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นแท่งศิลาแลงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ดังภาพที่ 6
ภาพที่ 6 วัดพระนอน
2.3 วัดพระสี่อิริยาบถ วัดพระสี่อิริยาบถ หรือที่เรียกกันเป็นสามัญว่าวัดพระยืน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) วัดนี้มีบ่อน้ำและที่อาบน้ำอยู่หน้าวัดเช่นเดียวกับวัดพระนอน กำแพงวัด เป็นศิลาแลงปักตั้งล้อม 4 ด้าน สิ่งก่อสร้างสำคัญอยู่ในเขตพุทธวาสประกอบด้วยวิหารที่ทำฐานย่อมุมทั้งด้านหน้า – ด้านหลัง ตั้งอยู่บนฐานรองรับขนาดใหญ่ที่เรียกว่าฐานไพทีชานด้านหน้าฐานไพทีมีท่านวางปติมากรรมซึ่งน่าจะเป็นรูปสิงห์ และทวารบาลบนฐานชุกชีภายในวิหารประดิษฐานพระพุธรูปนั่งขนาดใหญ่ด้านหลังวิหารมีบันไดลงติดต่อกับมณฑปพระสี่อิริยาบถทำหน้าที่เป็นเจดีย์ประธานของวัด โดยรอบมณฑปกำแพงแก้วเตี้ย ๆ เหลือแต่ฐาน มีประตูเข้าด้านข้าง 2 ข้าง และด้านหลังมณฑปกว้าง 29 เมตร ลักษณะมณฑปแบบจตุรมุข กึ่งกลางทำเป็นแท่งสี่เหลี่ยมรับส่วนยอดหลังคา จากนั้นทำเป็นมุมยื่นออกมาทั้ง 4 ด้าน ผนังแต่ละด้านของแท่งสี่เหลี่ยมก่อให้เว้าเข้าไป และประดิษฐานพระพุทธรูปแตกต่างกันออกไปในแต่ละด้าน คือ เดิน นั่ง ยืน นอน ปัจจุบันเหลือพระยืนขนาดใหญ่ทางด้านทิศใต้ พระพักตร์เป็นลักษณะพระพุทธศิลปแบบสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร ซึ่งหาดูได้ยากคือ พระนลาฏกว้าง พระหนุเสี้ยม ดังภาพที่ 7
ภาพที่ 7 วัดพระสี่อิริยาบถ
2.4 วัดช้างรอบ โบรานสถานแห่งนี้อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) ตั้งอยู่บนยอดเนินสูงสุดของเขตอรัญญิก สิ่งสำคัญของวัดแห่งนี้คือ เจดีย์ประธานทรงระฆังกลมขนาดใหญ่ ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกสูงยาวด้านละ 31 เมตร ประดับด้วยช้างปูนปั้นทรงเครื่องโผล่ออกมาเพียงครึ่งตัวจำนวน 68 เชือก ตัวช้างทำลายปูนปั้นที่แผงคอ โคนขา และข้อขา ระหว่างช้างแต่ละเชือกตกแต่งลายปูนปั้นนูนสูงระหว่างช้างแต่ละเชือกมีภาพปั้นรูปลายพรรณพฤกษาในพระพุทธศาสนา เช่น ต้นโพธิ์ และต้นสาละ เป็นต้น มีบันไดขึ้นลงสี่ด้าน เชิงบันได แต่ละดานมีสิงห์ และทวารบาลปูนปั้นประดับอยู่ ที่มุมฐานด้านบน หรือลานประทักษิณ มีสถูปเล็กๆอยู่ทั้ง 4 มุมองค์เจดีย์ด้านบนเป็นทรงกลมตั้งอยู่บนฐานแปดเหลี่ยมซึ่งพบหลักฐานว่ามีการประดับลายปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติ และประดับรูปเทวดา นางฟ้า กินนร กินรี และหงส์ ด้านหน้าเจดีย์ประธานมีฐานวิหารขนาดใหญ่ ด้านหน้าวิหารมีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่ที่ขุดขึ้นมาใช้ก่อสร้าง โบราณสถานแห่งนี้ มีอุโบสถขนาดเล็กตั้งอยู่ที่มุมตะวันออกเฉลียงเหนือ ดังภาพที่ 8
ภาพที่ 8 วัดช้างรอบ
2.5 วัดอาวาสใหญ่ เป็นวัดที่ก่อสร้างใหญ่โต มีเจดีย์และวิหารมาก อยู่ริมถนนไปอำเภอพรานกระต่าย ห่างจากประตูโคมไฟไปทางเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร กำแพงวัด เป็นศิลาแลง กลางวัดมีฐานพระเจดีย์แปดเหลี่ยมใหญ่กว้างด้านละ 16 เมตร ด้านหน้าวัดอาวาสใหญ่ ริมถนนมีบ่อสี่เหลี่ยมใหญ่ ขุดลงไปในพื้นศิลาแลง กว้าง 9 เมตร ยาว 17 เมตร ลึก 7-8 เมตร เรียกว่า "บ่อสามแสน" และตรงด้านหน้าเจดีย์ประธานด้านทิศเหนือ มีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีฐานวิหารทั้งใหญ่และเล็กรวม 10 วิหาร ฐานเจดีย์รวม 9 ฐาน ดังภาพที่ 9 และ 10
ภาพที่ 9 วัดอาวาสใหญ่
ภาพที่ 10 บ่อสามแสน
2.6 วัดสิงห์ โบรานสถานแห่งนี้อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงก่อด้วยศิลาแลงแท่งสี่เหลี่ยมปักเรียงติดกัน หน้าวัดมีศาลาก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญภายในวัดประกอบด้วยพระอุโบสถซึ่งเดิมน่าจะเป็นวิหารแต่ถูกดัดแปลงให้กลายเป็นอุโบสถภายหลังตั้งอยู่บนฐานไพทีขนาดใหญ่อีกชั้นหนึ่ง ชานชาลาด้านหน้าฐานไพที มีรูปสิงห์ปูนปั้นแกนสิลาแลง และทวารบาลประดับอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ประธานมีซุ้มพระทั้งสี่ทิศ ส่วนเขตสังฆวาสหรือเขตที่พักสงฆ์อยู่ด้านทิศใต้ของเขตพุทธวาส ปรากฏฐานศาลา ฐานกุฏิ บ่อน้ำ ดังภาพที่ 11
ภาพที่ 11 วัดสิงห์
2.7 วัดฆ้องชัย โบรานสถานแห่งนี้อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 (พ.ศ. 1901-2100) วัดฆ้องชัยมีกำแพงก่อด้วยศิลาแลงเพียงสองด้าน คือด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ ซึ่งเหลือเพียงบางส่วนสิ่งก่อสร้างของวัดประกกอบด้วย วิหารขนาด 9 ห้องที่ตั้งอยู่บนฐานสูง จากฐานวิหารอื่นๆในเขต อรัญญิก ชานด้านหน้าของฐานวิหารสันนิฐานว่าประดับด้วยมกรสังคโลกซึ่งพบชิ้นส่วนจำนวนมากจากการขุดแต่ง เจดีย์ประธานตั้งหลังวิหารลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังกลมบนฐานแปดเหลี่ยมซ้อนกันหลายชั้นลักษณะคล้ายเจดีย์ประธารวัดพระธาตุส่วนเขตสังฆวาสหรือเขตที่พักสงฆ์ ประกอบด้วย กุฏิ ศาลา บ่อน้ำ ที่อาบน้ำ และเว็จกุฏิ ดังภาพที่ 12
ภาพที่ 12 วัดฆ้องชัย
นอกจากนี้ยังมีสถานที่สำคัญๆภายในอุทนยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรนอกเหนือไปจากโบราณสถาน ได้แก่ ต้นไม้ทรงปลูก โดยเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พุทธศักราช 2524 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอย่างเป็นทางการ ทรงพระกรุณาปลูกต้นชิงชังไว้บริเวณทางเข้า ด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยในปัจจุบันต้นชิงชันที่ทรงปลูกไว้มีขนาดใหญ่แผ่กิ่งก้านให้ความร่มรื่น ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถแวะไปถ่ายภาพเป็นที่ระลึกได้
ภาพที่ 13 ต้นไม้พระเทพทรงปลูก
บทสรุป[แก้ไข]
จังหวัดกำแพงเพชร เป็นที่ตั้งของเมืองเก่าที่ปรากฏหลักฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ไทยไม่น้อยกว่า 700 ปี เคยเป็นเมืองเก่าที่นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดีเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง เช่น เมืองชากังราว นครชุม ไตรตรึงษ์ เทพนคร และเมืองคณฑี นอกจากนี้เมืองกำแพงเพชรยังเป็นเมืองที่สองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ครองเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาวชิรปราการ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ได้เปลี่ยนเมืองกำแพงเพชรเป็นจังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากกำแพงเพชรมีบ่อศิลาแลงขนาดใหญ่และเป็นที่ขึ้นชื่อของจังหวัด จึงนิยมนำมาเป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างโบราณสถานของคนในสมัยก่อนกลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์ และการศึกษาของชนรุ่นหลังสืบไป