ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบำชากังราว"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(สรุปผลการสร้างสรรค์ผลงาน)
 
(ไม่แสดง 17 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 24: แถว 24:
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 1 การออกแบบเครื่องแต่งกายระบำชากังราว''' </p>
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 1 การออกแบบเครื่องแต่งกายระบำชากังราว''' </p>
 
           และเครื่องแต่งกายระบำชากังราว ออกแบบเครื่องแต่งกายโดยอาจารย์รุ่งธรรม  ธรรมปิยานันท์ อาจารย์ผู้สอนประจำวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ดังภาพที่ 2
 
           และเครื่องแต่งกายระบำชากังราว ออกแบบเครื่องแต่งกายโดยอาจารย์รุ่งธรรม  ธรรมปิยานันท์ อาจารย์ผู้สอนประจำวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ดังภาพที่ 2
[[ไฟล์:ภาพที่ 2 เครื่องแต่งกายระบำชากังราว.jpg|500px|thumb|center]]
+
[[ไฟล์:ภาพที่ 2 เครื่องแต่งกายระบำชากังราว.jpg|550px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 2 เครื่องแต่งกายระบำชากังราว''' </p>
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 2 เครื่องแต่งกายระบำชากังราว''' </p>
 
               2.2 การออกแบบท่ารำ ได้นำภาษาท่าทางของนาฏศิลป์ไทยมาใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำและได้แนวคิดการนำท่าทางจากพุทธลีลาที่เป็นลักษณะเด่น เช่น ท่าปางลีลา ปางประทานพร ปางเปิดโลก นำมาคิดประดิษฐ์เป็นนาฏลีลาท่ารำที่สวยงาม ดังภาพที่ 3 โดยชุดการแสดงระบำชากังราวมีท่ารำประกอบ ดังนี้
 
               2.2 การออกแบบท่ารำ ได้นำภาษาท่าทางของนาฏศิลป์ไทยมาใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำและได้แนวคิดการนำท่าทางจากพุทธลีลาที่เป็นลักษณะเด่น เช่น ท่าปางลีลา ปางประทานพร ปางเปิดโลก นำมาคิดประดิษฐ์เป็นนาฏลีลาท่ารำที่สวยงาม ดังภาพที่ 3 โดยชุดการแสดงระบำชากังราวมีท่ารำประกอบ ดังนี้
 +
[[ไฟล์:ท่ารำ.jpg|500px|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''และท่ารำที่นำมาจากแม่ท่าในเพลงแม่บท  ประกอบด้วย''' </p>
 +
[[ไฟล์:ท่ารำ2.jpg|500px|thumb|center]]
 +
[[ไฟล์:ท่าพรมสี่หน้า.jpg|500px|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 3 การออกแบบท่ารำ''' </p>
 +
              2.3 เพลงประกอบและวงดนตรี การบรรจุเพลงโดย ดร.ศิริชัยชาญ ฟักจำรูญ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในขณะนั้น ตำแหน่งก่อนเกษียณอายุราชการ คือ อธิบดีกรมศิลปากร
 +
<p align = "left"> '''เพลงระบำชากังราว''' </p>
 +
'''ท่อน 1'''
 +
{| class="wikitable"
 +
|-
 +
| ---- || ---ซฺ || ---ลฺ || -ทฺ-ด || -รดท || -ด-- || รดลด || -ร-ม-
 +
|-
 +
| ---- || ---- || -ร-ม || -ฟ-ซ || -ลซฟ || -ซ-- || ลซลรํ || -ดํ-ล
 +
|-
 +
| --ดํดํ || รํดํลดํ || --ลล || ดํลซล || --ซซ || ลซมซ || --มม || ซมรม
 +
|-
 +
| ---ซ || ---ดํ || -ท-ล || -ซ-ม || --ซฺลฺ || ดรมซ || มรดร || มซ-ด
 +
|}
 +
'''ท่อน 2'''
 +
{| class="wikitable"
 +
|-
 +
| ซซซซ || (ซซซซ) || ดดดด || (ดดดด) || ดํดํดํดํ || (ดํดํดํดํ) || ทลซล || ทดํรํมํ
 +
|-
 +
| ---ดํ || ---ล || ---ซ || ---ม || ---ร || ---ม || ลซมซ || ลซดํล
 +
|-
 +
| --ดํดํ || รํดํลดํ || --ลล || ดํลซล || --ซซ || ลซมซ || --มม || ซมรม
 +
|-
 +
| ---ซ || ---ดํ || -ท-ล || -ซ-ม || --ซฺลฺ || ดรมซ || มรดร || มซ-ด
 +
|}
 +
'''ชั้นเดียว/ท่อน 1'''
 +
{| class="wikitable"
 +
|-
 +
| -ดดด || -ซฺ-ด || รดซฺด || -ร-ม || --รม || ฟซฟซ || ลซลรํ || -ดํ-ล
 +
|-
 +
| --ดํดํ || รํดํลดํ || --ลล || ดํลซล || --ซซ || ลซมซ || --มม || ซมรม
 +
|}
 +
'''ท่อน 2'''
 +
{| class="wikitable"
 +
|-
 +
| -ดดด || -ซ-ดํ || รํดํซด || -รํ-มํ || --ดํล || ซมซม || --รม || ซลซล
 +
|-
 +
| --มํรํ || ดํลํดํลํ || --ดํล || ซมซม || --ซฺลฺ || ดรมซ || มรดร || มซ-ด
 +
|}
 +
<p align = "left"> วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงชุด “ระบำชากังราว” ใช้วงปี่พาทย์ </p>
 +
              2.4 การแปรแถว การแปรรูปแบบแถวในการแสดงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในการแสดงระบำทุกชุดการแสดง ระบำชากังราวมีรูปแบบการแปรแถว โดยรวม 24 รูปแบบ อาทิ แถววีคว่ำ แถวตอน แถวตั้งซุ้ม แถวครึ่งวงกลม แถววงกลม แถวเฉียง ฯลฯ
 +
          '''3. การดำเนินการวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย'''
 +
          การดำเนินการวิพากษ์โดยผู้เชี่ยวชาญ ในวันที่  22 กันยายน พ.ศ. 2552  เพื่อเป็นการจัดรูปแบบการแสดงให้เกิดมาตรฐานนาฏศิลป์และเป็นที่ยอมรับในทางวิชาการ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์มาวิพากษ์ ดังภาพที่ 4 ประกอบด้วย
 +
              1. รศ.ฉันทนา เอี่ยมสกุล    จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
 +
              2. รศ.นิสา  เมสานนท์      จากมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
 +
              3. รศ.อมรา  กล่ำเจริญ      ข้าราชการบำนาญ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
 +
== ภาพการวิพากษ์ชุดการแสดง “ระบำชากังราว” ==
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 4 ภาพการวิพากษ์ชุดการแสดง ระบำชากังราว.jpg|500px|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 4 ภาพการวิพากษ์ชุดการแสดง “ระบำชากังราว”''' </p>
 +
          '''4. การดำเนินการเผยแพร่ชุดการแสดง “ระบำชากังราว” และจัดทำสื่อเผยแพร่ เช่น วีดีทัศน์ และรูปเล่มเอกสาร'''
 +
<p align = "left"> การเผยแพร่ชุดการแสดง “ระบำชากังราว” </p>
 +
''ระดับประเทศ''
 +
          - เผยแพร่โดยเป็นตัวแทนกาชาดจังหวัดภาคเหนือ รำหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ณ จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2537
 +
          - เผยแพร่การแสดงในจังหวัดกำแพงเพชรในโอกาสงานเทศกาลต่าง ๆ
 +
          - เผยแพร่การแสดงในต่างจังหวัดตามโอกาสงานต่าง ๆ
 +
          - การแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวของจังหวัดและในโอกาสงานประเพณีต่าง ๆ
 +
          - เผยแพร่ในการแสดงงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา
 +
          - เผยแพร่การแสดงในสื่อโทรทัศน์ท้องถิ่นและระดับประเทศ
 +
''ระดับต่างประเทศ''
 +
          - ปี พ.ศ. 2557  เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศอินโดนีเซีย
 +
          - ปี พ.ศ. 2556  เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศเวียดนาม
 +
          - ปี พ.ศ. 2554 เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศไต้หวัน และสาธารณรัฐประชาชนจีน
 +
          - ปี พ.ศ. 2553 เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศสวีเดน ประเทศตุรกี และประเทศสหรัฐอเมริกา
 +
          - ปี พ.ศ. 2550 เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศตุรกี
 +
          - ปี พ.ศ. 2548-2549 เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
 +
          - ปี พ.ศ. 2547 เผยแพร่วัฒนธรรม ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์
 +
          - ปี พ.ศ. 2546 เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศสวีเดน และประเทศเดนมาร์ก
 +
          - ปี พ.ศ. 2545 เผยแพร่งานวัฒนธรรม ททท. ณ ประเทศกรีซ
 +
== ผลของการสร้างสรรค์ ==
 +
          เป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยยึดหลักรูปแบบโครงสร้างของระบำ คือ มีจำนวนคนรำมากกว่า 2 คนขึ้นไป มีการแปรแถวที่สวยงาม มีท่ารำ เพลง ดนตรี เครื่องแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดกำแพงเพชร
 +
== ข้อเสนอแนะ ==
 +
          ในการนำการแสดงชุดนี้ไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ สามารถปรับ เพิ่มจำนวนคนได้ตามความเหมาะสมของสถานที่ในการแสดง และควรแต่งกายให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ และควรมีการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ขึ้น เป็นการเพิ่มและพัฒนารูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ให้มีความหลากหลายและยังเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ของนาฏศิลปินอย่างต่อเนื่อง

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 13:30, 28 ธันวาคม 2563

บทนำ[แก้ไข]

         ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดง  ในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่าง ๆ เช่นงานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร การแสดงเพื่อเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมระดับจังหวัด ระดับชาติ และระดับนานาชาติในการจัดการแสดงเพื่อให้บุคคลทั่วไปได้ชมการแสดงและมีการประเมินความพึ่งพอใจ รวมทั้งเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ เพื่อมาประเมินผลความถูกต้อง ความเหมาะสม ความสมบูรณ์ของรูปแบบการแสดงระบำ รวมถึงความถูกต้อง ด้านเนื้อหา ท่ารำ เพลง การแต่งกาย การแปรแถวและองค์ประกอบ ๆ ในการสร้างชุดการแสดง ระบำชากังราว ได้ถ่ายทอดความรู้และวิธีการแสดงให้กับคณะครูในเขตพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรและได้นำชุดการแสดงระบำชากังราวเป็นส่วนหนึ่งของหลังสูตรท้องถิ่น เมื่อปี พ.ศ. 2554 โดยมอบหมายให้คณะครูนำการแสดงระบำชากังราวไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนในโรงเรียนนอกจากนี้ยังได้ถ่ายทอดระบำชากังราวให้กับเยาวชนในจังหวัดกำแพงเพชรอย่างต่อเนื่อง ระบำชากังราวได้จัดทำบันทึกวีดีทัศน์ท่ารำ และวิธีการสอนถ่ายทอดท่ารำ จัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อสามารถนำไปใช้เป็นคู่มือในการฝึกปฏิบัติและเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจต่อไป

จุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงาน[แก้ไข]

         1. เพื่อให้เกิดการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะจังหวัดกำแพงเพชร
         2. เพื่อใช้การแสดงระบำชากังราวการแสดงในโอกาสต่าง ๆ

การดำเนินการสร้างสรรค์ผลงาน[แก้ไข]

         1. การศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมาของการแสดง
         2. การศึกษารูปแบบการแสดง “ระบำชากังราว” 
             2.1 การออกแบบเครื่องแต่งกาย 
             2.2 ออกแบบท่ารำ 
             2.3 เพลงประกอบและวงดนตรี 
             2.4 ออกแบบรูปแบบแถว
         3. การดำเนินการวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย
         4. การดำเนินการเผยแพร่ชุดการแสดง “ระบำชากังราว” และจัดทำสื่อเผยแพร่ เช่น วีดีทัศน์ และรูปเล่มเอกสาร

สรุปผลการสร้างสรรค์ผลงาน[แก้ไข]

         1. ผลของการศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมาของการแสดง
         สืบเนื่องจากในปี พ.ศ. 2529-2531 สถาบันได้รับเชิญจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้ไปเผยแพร่วัฒนธรรม ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีข้อกำหนดให้แต่ละจังหวัดนำชุดการแสดงที่เน้นความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัด  การแสดงที่สื่อความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรในขณะนั้นมีการแสดงพื้นบ้าน เช่น รำโทน ระบำ ก. ไก่ รำคล้องช้าง ได้นำไปแสดง ปรากฏว่าได้รับความพึงพอใจของผู้ชมระดับหนึ่ง 
         ดังนั้น ภาควิชานาฏศิลป์จึงได้ริเริ่มคิดประดิษฐ์ระบำชุดใหม่ขึ้น เน้นความเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชร ในปี พ.ศ. 2535 โดยศึกษาข้อมูลการคิดประดิษฐ์ท่ารำ การตั้งชื่อชุดการแสดงการสร้างเครื่องแต่งกาย เพลงประกอบการแสดง จึงได้มาซึ่ง “ระบำชากังราว”
         การพัฒนาชุดการแสดง “ระบำชากังราว” โดยระบำชากังราวได้พัฒนามาเป็นระยะ เช่น ด้านท่ารำได้ปรับเปลี่ยนท่ารำบางท่าให้ง่ายขึ้นเหมาะสมกับประสบการณ์ของผู้รำ เพราะบางครั้งนักแสดงไม่ใช่นักศึกษาโปรแกรมนาฏศิลป์และการละครโดยตรง ด้านเครื่องแต่งกาย ปรับ- เปลี่ยนสีให้งดงามยิ่งขึ้นส่วนเครื่องประดับได้ศึกษาเพิ่มเติมและพัฒนาให้นักแสดงสวมเครื่องประดับให้งดงามยิ่งขึ้น
         ชื่อชุดการแสดง ตั้งชื่อชุดการแสดงตามประวัติศาสตร์ของกำแพงเพชร เดิมชื่อว่าเมืองชากังราว และเปลี่ยนเรียกชื่อเป็นกำแพงเพชร ภายหลังเพราะฉะนั้นการตั้งชื่อชุดการแสดง จึงมีความจำเป็นในการที่จะบ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของชุดการแสดงได้อย่างชัดเจน
         2. การศึกษารูปแบบการแสดง “ระบำชากังราว” 
             2.1 การออกแบบเครื่องแต่งกาย แรงบันดาลใจในการประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย ได้มาจากรูปเทวสตรีในพิพิธภัณฑ์สถานจังหวัดกำแพงเพชร ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 การออกแบบเครื่องแต่งกายระบำชากังราว.jpg

ภาพที่ 1 การออกแบบเครื่องแต่งกายระบำชากังราว

         และเครื่องแต่งกายระบำชากังราว ออกแบบเครื่องแต่งกายโดยอาจารย์รุ่งธรรม  ธรรมปิยานันท์ อาจารย์ผู้สอนประจำวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 เครื่องแต่งกายระบำชากังราว.jpg

ภาพที่ 2 เครื่องแต่งกายระบำชากังราว

             2.2 การออกแบบท่ารำ ได้นำภาษาท่าทางของนาฏศิลป์ไทยมาใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำและได้แนวคิดการนำท่าทางจากพุทธลีลาที่เป็นลักษณะเด่น เช่น ท่าปางลีลา ปางประทานพร ปางเปิดโลก นำมาคิดประดิษฐ์เป็นนาฏลีลาท่ารำที่สวยงาม ดังภาพที่ 3 โดยชุดการแสดงระบำชากังราวมีท่ารำประกอบ ดังนี้
ท่ารำ.jpg

และท่ารำที่นำมาจากแม่ท่าในเพลงแม่บท ประกอบด้วย

ท่ารำ2.jpg
ท่าพรมสี่หน้า.jpg

ภาพที่ 3 การออกแบบท่ารำ

             2.3 เพลงประกอบและวงดนตรี การบรรจุเพลงโดย ดร.ศิริชัยชาญ ฟักจำรูญ อดีตผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลป์ ในขณะนั้น ตำแหน่งก่อนเกษียณอายุราชการ คือ อธิบดีกรมศิลปากร

เพลงระบำชากังราว

ท่อน 1

---- ---ซฺ ---ลฺ -ทฺ-ด -รดท -ด-- รดลด -ร-ม-
---- ---- -ร-ม -ฟ-ซ -ลซฟ -ซ-- ลซลรํ -ดํ-ล
--ดํดํ รํดํลดํ --ลล ดํลซล --ซซ ลซมซ --มม ซมรม
---ซ ---ดํ -ท-ล -ซ-ม --ซฺลฺ ดรมซ มรดร มซ-ด

ท่อน 2

ซซซซ (ซซซซ) ดดดด (ดดดด) ดํดํดํดํ (ดํดํดํดํ) ทลซล ทดํรํมํ
---ดํ ---ล ---ซ ---ม ---ร ---ม ลซมซ ลซดํล
--ดํดํ รํดํลดํ --ลล ดํลซล --ซซ ลซมซ --มม ซมรม
---ซ ---ดํ -ท-ล -ซ-ม --ซฺลฺ ดรมซ มรดร มซ-ด

ชั้นเดียว/ท่อน 1

-ดดด -ซฺ-ด รดซฺด -ร-ม --รม ฟซฟซ ลซลรํ -ดํ-ล
--ดํดํ รํดํลดํ --ลล ดํลซล --ซซ ลซมซ --มม ซมรม

ท่อน 2

-ดดด -ซ-ดํ รํดํซด -รํ-มํ --ดํล ซมซม --รม ซลซล
--มํรํ ดํลํดํลํ --ดํล ซมซม --ซฺลฺ ดรมซ มรดร มซ-ด

วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงชุด “ระบำชากังราว” ใช้วงปี่พาทย์

             2.4 การแปรแถว การแปรรูปแบบแถวในการแสดงนับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในการแสดงระบำทุกชุดการแสดง ระบำชากังราวมีรูปแบบการแปรแถว โดยรวม 24 รูปแบบ อาทิ แถววีคว่ำ แถวตอน แถวตั้งซุ้ม แถวครึ่งวงกลม แถววงกลม แถวเฉียง ฯลฯ
         3. การดำเนินการวิพากษ์จากผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงนาฏศิลป์และดนตรีไทย
         การดำเนินการวิพากษ์โดยผู้เชี่ยวชาญ ในวันที่  22 กันยายน พ.ศ. 2552  เพื่อเป็นการจัดรูปแบบการแสดงให้เกิดมาตรฐานนาฏศิลป์และเป็นที่ยอมรับในทางวิชาการ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์มาวิพากษ์ ดังภาพที่ 4 ประกอบด้วย
             1. รศ.ฉันทนา เอี่ยมสกุล    จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
             2. รศ.นิสา  เมสานนท์       จากมหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
             3. รศ.อมรา  กล่ำเจริญ      ข้าราชการบำนาญ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

ภาพการวิพากษ์ชุดการแสดง “ระบำชากังราว”[แก้ไข]

ภาพที่ 4 ภาพการวิพากษ์ชุดการแสดง ระบำชากังราว.jpg

ภาพที่ 4 ภาพการวิพากษ์ชุดการแสดง “ระบำชากังราว”

         4. การดำเนินการเผยแพร่ชุดการแสดง “ระบำชากังราว” และจัดทำสื่อเผยแพร่ เช่น วีดีทัศน์ และรูปเล่มเอกสาร

การเผยแพร่ชุดการแสดง “ระบำชากังราว”

ระดับประเทศ

         - เผยแพร่โดยเป็นตัวแทนกาชาดจังหวัดภาคเหนือ รำหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ณ จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2537
         - เผยแพร่การแสดงในจังหวัดกำแพงเพชรในโอกาสงานเทศกาลต่าง ๆ 
         - เผยแพร่การแสดงในต่างจังหวัดตามโอกาสงานต่าง ๆ 
         - การแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยวของจังหวัดและในโอกาสงานประเพณีต่าง ๆ 
         - เผยแพร่ในการแสดงงานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษา
         - เผยแพร่การแสดงในสื่อโทรทัศน์ท้องถิ่นและระดับประเทศ

ระดับต่างประเทศ

         - ปี พ.ศ. 2557  	เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศอินโดนีเซีย
         - ปี พ.ศ. 2556  	เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศเวียดนาม
         - ปี พ.ศ. 2554	เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศไต้หวัน และสาธารณรัฐประชาชนจีน
         - ปี พ.ศ. 2553	เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศสวีเดน ประเทศตุรกี และประเทศสหรัฐอเมริกา 
         - ปี พ.ศ. 2550	เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศตุรกี 
         - ปี พ.ศ. 2548-2549 	เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา 
         - ปี พ.ศ. 2547	เผยแพร่วัฒนธรรม ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติ ประเทศสิงคโปร์ 
         - ปี พ.ศ. 2546	เผยแพร่วัฒนธรรม ณ ประเทศสวีเดน และประเทศเดนมาร์ก 
         - ปี พ.ศ. 2545 	เผยแพร่งานวัฒนธรรม ททท. ณ ประเทศกรีซ

ผลของการสร้างสรรค์[แก้ไข]

         เป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่โดยยึดหลักรูปแบบโครงสร้างของระบำ คือ มีจำนวนคนรำมากกว่า 2 คนขึ้นไป มีการแปรแถวที่สวยงาม มีท่ารำ เพลง ดนตรี เครื่องแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดกำแพงเพชร

ข้อเสนอแนะ[แก้ไข]

         ในการนำการแสดงชุดนี้ไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ สามารถปรับ เพิ่มจำนวนคนได้ตามความเหมาะสมของสถานที่ในการแสดง และควรแต่งกายให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ และควรมีการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ขึ้น เป็นการเพิ่มและพัฒนารูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ให้มีความหลากหลายและยังเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ของนาฏศิลปินอย่างต่อเนื่อง