ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศูนย์รวมสายพันธุ์กล้วย ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ"
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (/* รายชื่อกล้วย ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหา...) |
(→บทนำ) |
||
(ไม่แสดง 6 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้ 4 คน) | |||
แถว 1: | แถว 1: | ||
== บทนำ == | == บทนำ == | ||
− | คนไทยรู้จักกล้วยกันมากับการควบคู่กับการก่อตั้งประเทศไทย | + | คนไทยรู้จักกล้วยกันมากับการควบคู่กับการก่อตั้งประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วย จึงมีกล้วยป่า กล้วยพันธุ์ปลูกอยู่ทั่วไป และเนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่าย ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งผล ต้น ใบ และดอก ในสมัยโบราณจึงมีการปลูกเพื่อไว้ใช้สอยภายในบ้าน ปัจจุบันกล้วยที่ปลูกมีมากมายหลายชนิด มีทั้งพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกอยู่ดั้งเดิม และพันธุ์ปลูกที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ จากการบันทึกประวัติศาสตร์ในเรื่องของกล้วยพอจะกล่าวเป็นสมัยๆ ได้ดังนี้ |
สมัยสุโขทัย นักประวัติศาสตร์ไทยเริ่มถือเอาสมัยอาณาจักรสุโขทัย นับตั้งแต่ พ.ศ. 1781 เป็นยุคสมัยแรกของคนไทย เพราะในสมัยนั้นได้เริ่มมีอักษรไทยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงเริ่มมีการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น และได้มีจดหมายเหตุกล่าวถึงกล้วยว่าเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ปลูกในสมัยสุโขทัย กล้วยที่รู้จักกันในสมัยสุโขทัย คือ กล้วยตานี ซึ่งเป็นกล้วยป่าชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย จีน และพม่า และปัจจุบันสุโขทัยยังเป็นจังหวัดที่มีการปลูกกล้วยตานี และมีการปลูกกล้วยตานีเป็นการค้าโดยมีการตัดใบขายทุกวัน ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่า กล้วยตานีน่าจะนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยตอนต้นหรือช่วงการอพยพของคนไทยมาตั้งถิ่นฐานที่สุโขทัย | สมัยสุโขทัย นักประวัติศาสตร์ไทยเริ่มถือเอาสมัยอาณาจักรสุโขทัย นับตั้งแต่ พ.ศ. 1781 เป็นยุคสมัยแรกของคนไทย เพราะในสมัยนั้นได้เริ่มมีอักษรไทยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงเริ่มมีการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น และได้มีจดหมายเหตุกล่าวถึงกล้วยว่าเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ปลูกในสมัยสุโขทัย กล้วยที่รู้จักกันในสมัยสุโขทัย คือ กล้วยตานี ซึ่งเป็นกล้วยป่าชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย จีน และพม่า และปัจจุบันสุโขทัยยังเป็นจังหวัดที่มีการปลูกกล้วยตานี และมีการปลูกกล้วยตานีเป็นการค้าโดยมีการตัดใบขายทุกวัน ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่า กล้วยตานีน่าจะนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยตอนต้นหรือช่วงการอพยพของคนไทยมาตั้งถิ่นฐานที่สุโขทัย | ||
สมัยอยุธยา กรุงศรีอยุธยาได้กลายมาเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับฝรั่งเศส ดัตช์ และอังกฤษ ในสมัยนั้น พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศสทรงส่งคณะราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นมาถวายพระนารายณ์มหาราช ณ กรุงศรีอยุธยา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและเผยแพร่คริสต์ศาสนา รวมทั้งทำสัญญาสิทธิทางการค้า ประมาณปี พ.ศ.2230 เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Monsieur de laloubere) นักบวชนิกายซูอิตซึ่งเป็นนักการทูตและนักเขียนที่มีชื่อเสียงได้บันทึกสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเห็นและนำไปเขียนเป็นหนังสือเกี่ยวกับเมืองไทยสมัยอยุธยาในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสในกรุงปารีส เมื่อ พ.ศ.2336 เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแลร์ ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับกล้วยว่าได้เห็นมีการปลูกกล้วยงวงช้าง ซึ่งก็คือ กล้วยร้อยหวีในปัจจุบัน และงาช้าง ซึ่งเป็นกล้วยประเภทกล้วยกล้าย นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่ากันมาว่า มีการค้าขายกล้วยตีบอีกด้วย แสดงให้เห็นว่า ได้มีการปลูกกล้วยทั้งเพื่อความสวยงาม เพื่อบริโภคและเป็นการค้ากันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา | สมัยอยุธยา กรุงศรีอยุธยาได้กลายมาเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับฝรั่งเศส ดัตช์ และอังกฤษ ในสมัยนั้น พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศสทรงส่งคณะราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นมาถวายพระนารายณ์มหาราช ณ กรุงศรีอยุธยา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและเผยแพร่คริสต์ศาสนา รวมทั้งทำสัญญาสิทธิทางการค้า ประมาณปี พ.ศ.2230 เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Monsieur de laloubere) นักบวชนิกายซูอิตซึ่งเป็นนักการทูตและนักเขียนที่มีชื่อเสียงได้บันทึกสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเห็นและนำไปเขียนเป็นหนังสือเกี่ยวกับเมืองไทยสมัยอยุธยาในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสในกรุงปารีส เมื่อ พ.ศ.2336 เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแลร์ ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับกล้วยว่าได้เห็นมีการปลูกกล้วยงวงช้าง ซึ่งก็คือ กล้วยร้อยหวีในปัจจุบัน และงาช้าง ซึ่งเป็นกล้วยประเภทกล้วยกล้าย นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่ากันมาว่า มีการค้าขายกล้วยตีบอีกด้วย แสดงให้เห็นว่า ได้มีการปลูกกล้วยทั้งเพื่อความสวยงาม เพื่อบริโภคและเป็นการค้ากันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา | ||
แถว 7: | แถว 7: | ||
กล้วยเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่เป็นอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ เส้นใยสิ่งทอ สมุนไพร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ กล้วยจึงเป็นพืชมหัศจรรย์ ก็ว่าได้มีหลักฐานว่าประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก นับเฉพาะกล้วยกินได้ไม่รวมกล้วยป่าก็มีมากกว่า 50 ชนิด ที่รู้จักแพร่หลายก็มี กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยหักมุก กล้วยนาค กล้วยเล็บมือนาง ส่วนกล้วยชนิดอื่น ๆ ก็อาจเป็นที่รู้จักกันเพียงในท้องถิ่นเท่านั้น เช่น กล้วยนางพญา กล้วยหิน กล้วยสา กล้วยไล ทางภาคใต้ กล้วยนมสาว กล้วยหอมกะเหรี่ยง ทางภาคตะวันตก กล้วยหอมทองสั้น กล้วยนวล ทางภาคอีสาน หรือกล้วยน้ำนม กล้วยหอมจันทร์ ทางภาคเหนือ เป็นต้น บางชนิดก็เหลือเพียง ชื่อ เช่นกล้วยกรัน กล้วยกรามคชสาร กล้วยนางเงย และที่กำลังใกล้จะสูญพันธุ์ก็มีอีกไม่น้อย จึงเป็นที่น่าวิตกในอนาคตคนไทยอาจจะต้องไปศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของกล้วยเมืองไทยจากต่างประเทศก็เป็นได้แต่มีน้อยคนที่จะรู้จักกล้วยอย่างแท้จริง หากอยากรู้จักกล้วยให้มากขึ้นก็ต้องเดินทางมาที่จังหวัดกำแพงเพชร หรือเรียกว่า เมืองกล้วยไข่ เพราะว่าจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าปลูกกล้วยไข่ได้รสชาติดีที่สุดในประเทศและด้วยชื่อเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด | กล้วยเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่เป็นอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ เส้นใยสิ่งทอ สมุนไพร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ กล้วยจึงเป็นพืชมหัศจรรย์ ก็ว่าได้มีหลักฐานว่าประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก นับเฉพาะกล้วยกินได้ไม่รวมกล้วยป่าก็มีมากกว่า 50 ชนิด ที่รู้จักแพร่หลายก็มี กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยหักมุก กล้วยนาค กล้วยเล็บมือนาง ส่วนกล้วยชนิดอื่น ๆ ก็อาจเป็นที่รู้จักกันเพียงในท้องถิ่นเท่านั้น เช่น กล้วยนางพญา กล้วยหิน กล้วยสา กล้วยไล ทางภาคใต้ กล้วยนมสาว กล้วยหอมกะเหรี่ยง ทางภาคตะวันตก กล้วยหอมทองสั้น กล้วยนวล ทางภาคอีสาน หรือกล้วยน้ำนม กล้วยหอมจันทร์ ทางภาคเหนือ เป็นต้น บางชนิดก็เหลือเพียง ชื่อ เช่นกล้วยกรัน กล้วยกรามคชสาร กล้วยนางเงย และที่กำลังใกล้จะสูญพันธุ์ก็มีอีกไม่น้อย จึงเป็นที่น่าวิตกในอนาคตคนไทยอาจจะต้องไปศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของกล้วยเมืองไทยจากต่างประเทศก็เป็นได้แต่มีน้อยคนที่จะรู้จักกล้วยอย่างแท้จริง หากอยากรู้จักกล้วยให้มากขึ้นก็ต้องเดินทางมาที่จังหวัดกำแพงเพชร หรือเรียกว่า เมืองกล้วยไข่ เพราะว่าจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าปลูกกล้วยไข่ได้รสชาติดีที่สุดในประเทศและด้วยชื่อเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด | ||
'''คำสำคัญ :''' ศูนย์รวมสายพันธ์กล้วย, กล้วยพิพิธภัณฑสถานกำแพงเพชร, กล้วยเรือนไทย กำแพงเพชร | '''คำสำคัญ :''' ศูนย์รวมสายพันธ์กล้วย, กล้วยพิพิธภัณฑสถานกำแพงเพชร, กล้วยเรือนไทย กำแพงเพชร | ||
− | == | + | |
+ | == การรวบรวมสายพันธุ์กล้วย == | ||
การจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ ปัจจุบันเรียกชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มีลักษณะเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ พระองค์ได้พระราชทานหน่อกล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร โดยมีแนวพระราชดำริที่จะอนุรักษ์สายพันธุ์กล้วย ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีคุณประโยชน์มากมายนี้ไว้ และภายหลังก็ได้มีการนำหน่อกล้วยทั้งสองหน่อนั้นมาปลูกไว้ในพื้นที่ด้านหลังอาคารพิพิธภัณฑ์ ดังภาพที่ 1 | การจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ ปัจจุบันเรียกชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มีลักษณะเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ พระองค์ได้พระราชทานหน่อกล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร โดยมีแนวพระราชดำริที่จะอนุรักษ์สายพันธุ์กล้วย ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีคุณประโยชน์มากมายนี้ไว้ และภายหลังก็ได้มีการนำหน่อกล้วยทั้งสองหน่อนั้นมาปลูกไว้ในพื้นที่ด้านหลังอาคารพิพิธภัณฑ์ ดังภาพที่ 1 | ||
[[ไฟล์:ภาพที่ 1 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.jpg|thumb|center]] | [[ไฟล์:ภาพที่ 1 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.jpg|thumb|center]] | ||
แถว 50: | แถว 51: | ||
[[ไฟล์:ภาพที่ 4 กล้วยพม่าแหกคุก.jpg|500px|thumb|center]] | [[ไฟล์:ภาพที่ 4 กล้วยพม่าแหกคุก.jpg|500px|thumb|center]] | ||
<p align = "center"> '''ภาพที่ 4 กล้วยพม่าแหกคุก''' </p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 4 กล้วยพม่าแหกคุก''' </p> | ||
− | === 4. กล้วยนมสาว | + | === 4. กล้วยนมสาว (ชื่อพ้องทองกำปั้น นมสาวหาดใหญ่ ) === |
− | + | แหล่งที่พบกล้วยนมสาว (มียีโนมเป็น ABB) พบปลูกไม่มากนักในจังหวัดทางภาคใต้และพรมแดนไทยพม่า เช่น สงขลา กระบี่ เพชรบุรี ราชบุรี เป็นต้น โดยเฉพาะที่อำเภอสวนผึ้งที่จังหวัดราชบุรีมีสายพันธ์ที่ให้ผลผลิตและรูปร่างผลใหญ่กว่ากล้วยนมสาวจากแหล่งอื่นเป็นกล้วยขนาดกลาง | |
− | ลำต้น เส้นผ่าศูนย์กลาง 18 - 22 เซนติเมตร ส่วนสูง 2.20 – 3.00 เมตร กาบด้านนอกสีเขียว | + | ลำต้น เส้นผ่าศูนย์กลาง 18 - 22 เซนติเมตร ส่วนสูง 2.20 – 3.00 เมตร กาบด้านนอกสีเขียว เจือน้ำตาลตอนล่างมีประน้ำตาลเข้ม ตอนบนขึ้นไปมีสีเขียวนวลมาก กาบด้านในสีเขียวเจือชมพูหน่อเกิดชิด ลำต้นจำนวน 8 – 12 หน่อ |
ใบ ทางใบยาวแผ่นใบกว้างลู่ลงเล็กน้อยใบค่อนข้างบางสีเขียวสด ร่องใบกว้าง ขอบก้านสีชมพูแดง ก้านใบสีเขียวนวลโคนก้านใบมีประน้ำตาล | ใบ ทางใบยาวแผ่นใบกว้างลู่ลงเล็กน้อยใบค่อนข้างบางสีเขียวสด ร่องใบกว้าง ขอบก้านสีชมพูแดง ก้านใบสีเขียวนวลโคนก้านใบมีประน้ำตาล | ||
− | ปลี รูปทรงกระบอกปลายแหลมชี้ลงดิน กาบด้านนอกสีแดงเจือเขียว กาบด้านในสีซีด เมื่อบานกาบปลีเปิดม้วนขึ้นเห็นผลกล้วยสีเขียวอ่อน กาบปลีจะค้างอยู่บนหวีกล้วย 2 – 3 วัน จึงจะแห้งหลุดไป | + | ปลี รูปทรงกระบอกปลายแหลมชี้ลงดิน กาบด้านนอกสีแดงเจือเขียว กาบด้านในสีซีด เมื่อบานกาบปลีเปิดม้วนขึ้นเห็นผลกล้วยสีเขียวอ่อน กาบปลีจะค้างอยู่บนหวีกล้วย 2 – 3 วัน จึงจะแห้งหลุดไป หลังติดผลหวีสุดท้ายแล้ว ปลีจะมีรูปร่างป้อมขึ้น |
ผล ใน 1 เครือจะมี 6 – 7 หวี ๆ ละ 12 – 14 ผล ส่วนที่อำเภอสวนผึ้งพบว่า 1 เครือ จะมีถึง 16 หวี ผลมีลักษณะอ้วนป้อม ปลายผลงอน วัดส่วนกว้างที่สุด จะได้ประมาณ 4.0 – 4.2 เซนติเมตร ยาว 10.0 – 10.5 เซนติเมตร ผลดิบสีเขียวสดเป็นมัน เปลือกหนาผลสีเหลืองจัดเนื้อสีครีมอมส้มค่อนข้างแข็ง รสหวานกลิ่นหอมเฉพาะตัวคล้ายกล้ายหอมผสมกล้วยไข่ | ผล ใน 1 เครือจะมี 6 – 7 หวี ๆ ละ 12 – 14 ผล ส่วนที่อำเภอสวนผึ้งพบว่า 1 เครือ จะมีถึง 16 หวี ผลมีลักษณะอ้วนป้อม ปลายผลงอน วัดส่วนกว้างที่สุด จะได้ประมาณ 4.0 – 4.2 เซนติเมตร ยาว 10.0 – 10.5 เซนติเมตร ผลดิบสีเขียวสดเป็นมัน เปลือกหนาผลสีเหลืองจัดเนื้อสีครีมอมส้มค่อนข้างแข็ง รสหวานกลิ่นหอมเฉพาะตัวคล้ายกล้ายหอมผสมกล้วยไข่ | ||
− | + | อายุ ตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกปลีประมาณ 8 เดือน และหลังจากออกปลีถึงผลแก่จัด 90 วัน | |
การใช้ประโยชน์ รับประทานผลสุก ดังภาพที่ 5 | การใช้ประโยชน์ รับประทานผลสุก ดังภาพที่ 5 | ||
[[ไฟล์:ภาพที่ 5 กล้วยนมสาว.jpg|500px|thumb|center]] | [[ไฟล์:ภาพที่ 5 กล้วยนมสาว.jpg|500px|thumb|center]] | ||
<p align = "center"> '''ภาพที่ 5 กล้วยนมสาว''' </p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 5 กล้วยนมสาว''' </p> | ||
+ | |||
=== 5. กล้วยซาบ้า === | === 5. กล้วยซาบ้า === | ||
แหล่งที่พบกล้วยซาบ้า (มียีโนมเป็น ABB) เป็นกล้วยพื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ ต้นที่ชมรมรักษ์กล้วยรวบรวมพันธุ์นี้ไว้ คุณมงคล ลีราภิรมณ์ ได้คัดเลือกและนำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์ ราว 25 ปีมาแล้ว เป็นกล้วยที่มี | แหล่งที่พบกล้วยซาบ้า (มียีโนมเป็น ABB) เป็นกล้วยพื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ ต้นที่ชมรมรักษ์กล้วยรวบรวมพันธุ์นี้ไว้ คุณมงคล ลีราภิรมณ์ ได้คัดเลือกและนำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์ ราว 25 ปีมาแล้ว เป็นกล้วยที่มี | ||
แถว 116: | แถว 118: | ||
| 6. กล้วยน้ำว้าทองมาเอง || 7. กล้วยน้ำว้าดำ || 8. กล้วยน้ำว้าปากช่อง50 || 9. กล้วยน้ำว้าเงิน || 10. กล้วยน้ำว้ายักษ์ (กาญจนบุรี) | | 6. กล้วยน้ำว้าทองมาเอง || 7. กล้วยน้ำว้าดำ || 8. กล้วยน้ำว้าปากช่อง50 || 9. กล้วยน้ำว้าเงิน || 10. กล้วยน้ำว้ายักษ์ (กาญจนบุรี) | ||
|} | |} | ||
+ | |||
=== 2. กลุ่มกล้วยหักมุก === | === 2. กลุ่มกล้วยหักมุก === | ||
{| class="wikitable" | {| class="wikitable" | ||
แถว 141: | แถว 144: | ||
| 13. กล้วยหอมเขียวต้นสูง || 14. กล้วยหอมลามัท || 15. กล้วยเงาะ || 16. กล้วยหอมไต้หวัน || 17. กล้วยหอมทองปอก || 18. กล้วยหอมน้ำผึ้ง | | 13. กล้วยหอมเขียวต้นสูง || 14. กล้วยหอมลามัท || 15. กล้วยเงาะ || 16. กล้วยหอมไต้หวัน || 17. กล้วยหอมทองปอก || 18. กล้วยหอมน้ำผึ้ง | ||
|- | |- | ||
− | | 19. กล้วยมัน | | + | | 19. กล้วยมัน |} |
− | + | ||
=== 5. กลุ่มกล้วยไข่ === | === 5. กลุ่มกล้วยไข่ === | ||
{| class="wikitable" | {| class="wikitable" | ||
แถว 189: | แถว 192: | ||
|- | |- | ||
| 25. กล้วยนิ้วพญาสาระวิน || 26. กล้วยมาแนงก์ || 27. กล้วยไข่ทองร่วง || 28. กล้วยน้ำโว้ || 29. กล้วยน้ำนมราชสีห์ || 30. ลูกใส้ดำ || 31. กล้วยแปซิฟิกแพลนเทน | | 25. กล้วยนิ้วพญาสาระวิน || 26. กล้วยมาแนงก์ || 27. กล้วยไข่ทองร่วง || 28. กล้วยน้ำโว้ || 29. กล้วยน้ำนมราชสีห์ || 30. ลูกใส้ดำ || 31. กล้วยแปซิฟิกแพลนเทน | ||
− | |} | + | |}กล้วยนิลมณี |
+ | |||
=== 10. กลุ่มกล้วยหอมผลสั้น === | === 10. กลุ่มกล้วยหอมผลสั้น === | ||
{| class="wikitable" | {| class="wikitable" |
รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 14:47, 19 กรกฎาคม 2565
เนื้อหา
- 1 บทนำ
- 2 การรวบรวมสายพันธุ์กล้วย
- 3 สาเหตุสำคัญที่น่าจะทำให้กล้วยไทยหลายชนิดสูญพันธุ์
- 4 แปดสายพันธ์กล้วยที่น่าสนใจ ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
- 4.1 1. กล้วยไข่กำแพงเพชร (มียีโนมเป็น AA)
- 4.2 2. กล้วยนมหมี Musa (ABB) ‘Nom Mi’
- 4.3 3. กล้วยพม่าแหกคุก Musa (ABB) ‘Phama Haek Kuk’
- 4.4 4. กล้วยนมสาว (ชื่อพ้องทองกำปั้น นมสาวหาดใหญ่ )
- 4.5 5. กล้วยซาบ้า
- 4.6 6. กล้วยมาฮอย กล้วยหอม 2 เครือ (ไทย)
- 4.7 7. กล้วยปิซังแอมเปียง หอมชวา
- 4.8 8. กล้วยเล็บช้างกุด Musa (BBB) ‘Lep Chang Kut’
- 5 รายชื่อกล้วย ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (สำรวจปี 2559)
- 5.1 1. กลุ่มกล้วยน้ำว้า
- 5.2 2. กลุ่มกล้วยหักมุก
- 5.3 3. กลุ่มกล้วยนาก
- 5.4 4. กลุ่มกล้วยหอม
- 5.5 5. กลุ่มกล้วยไข่
- 5.6 6. กลุ่มกล้วยเปรี้ยว
- 5.7 7. กลุ่มกล้วยเปลือกหนา
- 5.8 8. กลุ่มกล้วยน้ำ
- 5.9 9. กลุ่มกล้วยพิเศษ
- 5.10 10. กลุ่มกล้วยหอมผลสั้น
- 5.11 11. กลุ่มกล้วยหอมพิเศษ
- 5.12 12. กลุ่มกล้วยตานี
- 5.13 13. กลุ่มกล้วยประดับและกล้วยป่า
- 6 บทสรุป
บทนำ[แก้ไข]
คนไทยรู้จักกล้วยกันมากับการควบคู่กับการก่อตั้งประเทศไทย เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่อยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วย จึงมีกล้วยป่า กล้วยพันธุ์ปลูกอยู่ทั่วไป และเนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่าย ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งผล ต้น ใบ และดอก ในสมัยโบราณจึงมีการปลูกเพื่อไว้ใช้สอยภายในบ้าน ปัจจุบันกล้วยที่ปลูกมีมากมายหลายชนิด มีทั้งพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกอยู่ดั้งเดิม และพันธุ์ปลูกที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ จากการบันทึกประวัติศาสตร์ในเรื่องของกล้วยพอจะกล่าวเป็นสมัยๆ ได้ดังนี้ สมัยสุโขทัย นักประวัติศาสตร์ไทยเริ่มถือเอาสมัยอาณาจักรสุโขทัย นับตั้งแต่ พ.ศ. 1781 เป็นยุคสมัยแรกของคนไทย เพราะในสมัยนั้นได้เริ่มมีอักษรไทยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงเริ่มมีการบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ขึ้น และได้มีจดหมายเหตุกล่าวถึงกล้วยว่าเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ปลูกในสมัยสุโขทัย กล้วยที่รู้จักกันในสมัยสุโขทัย คือ กล้วยตานี ซึ่งเป็นกล้วยป่าชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย จีน และพม่า และปัจจุบันสุโขทัยยังเป็นจังหวัดที่มีการปลูกกล้วยตานี และมีการปลูกกล้วยตานีเป็นการค้าโดยมีการตัดใบขายทุกวัน ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่า กล้วยตานีน่าจะนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยตอนต้นหรือช่วงการอพยพของคนไทยมาตั้งถิ่นฐานที่สุโขทัย สมัยอยุธยา กรุงศรีอยุธยาได้กลายมาเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับฝรั่งเศส ดัตช์ และอังกฤษ ในสมัยนั้น พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งประเทศฝรั่งเศสทรงส่งคณะราชทูตอัญเชิญพระราชสาส์นมาถวายพระนารายณ์มหาราช ณ กรุงศรีอยุธยา เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีและเผยแพร่คริสต์ศาสนา รวมทั้งทำสัญญาสิทธิทางการค้า ประมาณปี พ.ศ.2230 เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Monsieur de laloubere) นักบวชนิกายซูอิตซึ่งเป็นนักการทูตและนักเขียนที่มีชื่อเสียงได้บันทึกสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเห็นและนำไปเขียนเป็นหนังสือเกี่ยวกับเมืองไทยสมัยอยุธยาในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศสในกรุงปารีส เมื่อ พ.ศ.2336 เมอร์ซิเออร์ เดอลาลูแลร์ ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับกล้วยว่าได้เห็นมีการปลูกกล้วยงวงช้าง ซึ่งก็คือ กล้วยร้อยหวีในปัจจุบัน และงาช้าง ซึ่งเป็นกล้วยประเภทกล้วยกล้าย นอกจากนี้ยังมีตำนานเล่ากันมาว่า มีการค้าขายกล้วยตีบอีกด้วย แสดงให้เห็นว่า ได้มีการปลูกกล้วยทั้งเพื่อความสวยงาม เพื่อบริโภคและเป็นการค้ากันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ซึ่งเป็นปรมาจารย์ทางด้านภาษาไทยได้เขียนหนังสือพรรณพฤกษากับสัตวาภิธาน เมื่อ พ.ศ. 2427 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 โดยกล่าวพรรณนาถึงกล้วยชนิดต่างๆ ในสมัยนั้นด้วยกาพย์ฉบัง 16 พรรณนาถึงกล้วยชนิดต่างๆที่ปลูกในสมัยนั้นประมาณ 37 ชนิด แสดงให้เห็นถึงความนิยมชมชอบและมีการปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลายในยุคนั้น ประกอบกับในช่วงดังกล่าวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาทประเทศต่างๆ หลายประเทศจึงได้มีการนำกล้วยบางชนิดเข้ามาปลูกในรัชสมัยของพระองค์ ทำให้กล้วยในสมัยนั้นมีมากชนิด อนึ่งในบริเวณวังสระปทุม ซึ่งเดิมเป็นที่สวนของ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าโปรดให้มีการปลูกพืชผักและไม้ผลหลายชนิด รวมทั้งกล้วย โดยทรงนำผลผลิตต่างๆ ที่ได้มาทำสำหรับตั้งโต๊ะเสวยพระราชทานไปยังวังเจ้านายต่างๆ ส่วนที่เหลือ เช่น ใบตอง เชือกกล้วย กล้วยสุก ได้นำออกจำหน่ายเพื่อนำรายได้สำหรับเลี้ยงดูข้าราชบริพารและทะนุบำรุงวังสระปทุม กล้วย อาจเป็นผลไม้พื้นๆ ราคาถูก หากินได้ง่ายในสายตาของหลายๆ คน เรากินกล้วยกันมาตั้งแต่เด็กจนโต กินจนชินในรสชาติ จนคุ้นเคยกับผลไม้ที่ชื่อว่ากล้วย กล้วยในประเทศไทยปัจจุบันถือว่ามี บทบาททางเศรษฐกิจมาก และนับว่าเป็นสินค้าส่งออกติดอันดับอีกประเภทหนึ่งที่สามารถโกยเม็ดเงบินเข้าประเทศได้ไม่น้อย เช่น การส่งออกกล้วยไข่ไปขายยังประเทศจีน และไต้หวัน การส่งออกกล้วยหอมไปยังประเทศญี่ปุ่น หรือกล้วยน้ำว่าสามารถรับปทานผลสด หรือนำไปแปรรูปได้หลากหลาย จนเป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ กล้วยเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่เป็นอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ เส้นใยสิ่งทอ สมุนไพร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ กล้วยจึงเป็นพืชมหัศจรรย์ ก็ว่าได้มีหลักฐานว่าประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก นับเฉพาะกล้วยกินได้ไม่รวมกล้วยป่าก็มีมากกว่า 50 ชนิด ที่รู้จักแพร่หลายก็มี กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยหักมุก กล้วยนาค กล้วยเล็บมือนาง ส่วนกล้วยชนิดอื่น ๆ ก็อาจเป็นที่รู้จักกันเพียงในท้องถิ่นเท่านั้น เช่น กล้วยนางพญา กล้วยหิน กล้วยสา กล้วยไล ทางภาคใต้ กล้วยนมสาว กล้วยหอมกะเหรี่ยง ทางภาคตะวันตก กล้วยหอมทองสั้น กล้วยนวล ทางภาคอีสาน หรือกล้วยน้ำนม กล้วยหอมจันทร์ ทางภาคเหนือ เป็นต้น บางชนิดก็เหลือเพียง ชื่อ เช่นกล้วยกรัน กล้วยกรามคชสาร กล้วยนางเงย และที่กำลังใกล้จะสูญพันธุ์ก็มีอีกไม่น้อย จึงเป็นที่น่าวิตกในอนาคตคนไทยอาจจะต้องไปศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของกล้วยเมืองไทยจากต่างประเทศก็เป็นได้แต่มีน้อยคนที่จะรู้จักกล้วยอย่างแท้จริง หากอยากรู้จักกล้วยให้มากขึ้นก็ต้องเดินทางมาที่จังหวัดกำแพงเพชร หรือเรียกว่า เมืองกล้วยไข่ เพราะว่าจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าปลูกกล้วยไข่ได้รสชาติดีที่สุดในประเทศและด้วยชื่อเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด
คำสำคัญ : ศูนย์รวมสายพันธ์กล้วย, กล้วยพิพิธภัณฑสถานกำแพงเพชร, กล้วยเรือนไทย กำแพงเพชร
การรวบรวมสายพันธุ์กล้วย[แก้ไข]
การจัดสร้างพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ ปัจจุบันเรียกชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มีลักษณะเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ พระองค์ได้พระราชทานหน่อกล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร โดยมีแนวพระราชดำริที่จะอนุรักษ์สายพันธุ์กล้วย ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีคุณประโยชน์มากมายนี้ไว้ และภายหลังก็ได้มีการนำหน่อกล้วยทั้งสองหน่อนั้นมาปลูกไว้ในพื้นที่ด้านหลังอาคารพิพิธภัณฑ์ ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีได้พระราชทานหน่อกล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า
จากต้นกล้วยสองต้น วันนี้พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ (พิพิธภัณฑ์ฯ เรือนไทย) มีพันธุ์กล้วยกว่า 160 สายพันธุ์ สืบเนื่องจากมีโครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยของไทยเกิดขึ้น และได้เริ่มต้นโครงการอย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2544 โดยพระโสภณคณาภรณ์ (สมจิตต์ อภิจิตฺโต) ซึ่งโครงการดังกล่าวมีเป้าหมายในการรวบรวมสายพันธุ์กล้วยไว้ 200 กว่าสายพันธุ์ และได้ปลูกเปรียบเทียบศึกษาจนเหลือประมาณ 160 กว่าสายพันธุ์ นอกจากนั้นได้ดำเนินการเพาะและขยายพันธุ์เพื่อเผยแพร่ให้แก่ผู้สนใจทั่วไป อันเป็นการช่วยอนุรักษ์พันธุ์กล้วยของไทยให้คงอยู่และแพร่หลายต่อไป ทั้งนี้ได้รับความช่วยเหลือ และประสานงานจากหน่วยงานราชการ และเอกชนหลายแห่ง พร้อมทั้งได้ผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญด้วยกล้วยมาร่วมดำเนินการอีกหลายท่าน โดยรวมกันเป็นเครือข่าย ได้แก่ อาจารย์สมถรรถชัย ฉัตราคม ชมรมรักษ์กล้วย ศาสราจารย์เบ็ญจมาศ ศิลาย้อย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกล้วยแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดร.วีระชัย ณ นคร ผู้อำนวยการสวนพฤกษศาสตร์ฯ จ.เชียงใหม่ อาจารย์กัลยาณี สุวิทวัส จากสถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจากมหาวิทยาลัยมหิดล คณะพืชสวนฯ ศูนย์เพาะพันธุ์พืช จ.พิษณุโลก
สาเหตุสำคัญที่น่าจะทำให้กล้วยไทยหลายชนิดสูญพันธุ์[แก้ไข]
1. กล้วยบางชนิดรสชาติไม่อร่อย เช่น เปรี้ยว จืด เนื้อเละ ฯลฯ ไม่เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เมื่อปลูกแล้วขายไม่ได้ก็เปลี่ยนไปปลูกกล้วยที่ตลาดต้องการแทน เข้าทำนองกล้วยดีไล่กล้วยเลว 2. จากการพัฒนาของชุมจนทำให้พื้นที่ปลูกเปลี่ยนสภาพไป เช่น สวนกลายเป็นโรงงานอุตสาหกรรม หมู่บ้านจัดสรร หรือแม้กระทั้งน้ำเสีย และมลภาวะก็มีส่วนเร่งให้แหล่งปลูกกล้วยหลายแห่งอยู่ในภาวะอันตราย 3. ภัยธรรมชาติ ถึงแม้ว่ากล้วยจะมีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศเป็นอย่างดี แต่บางครั้งการเกิดภัยธรรมชาติติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น น้ำท่วมใหญ่ ก็ทำให้กล้วยหลายชนิดสูญพันธุ์ได้ 4. มีเหลืออยู่น้อยต้น การขยายพันธุ์ช้า ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูง ตัวอย่างเช่น กล้วยพม่าแหกคุกของจังหวัดอ่างทอง หรือกล้วยงาช้างแถบจังหวัดนนทบุรี เป็นต้น 5. เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิดในการเรียนชื่อ เพราะบางชนิดไม่มีการจัดทำข้อมูลแสดงลักษณะของต้น ใบ ผล และชื่อพ้องเอาไว้จึงอาจมีผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เรียกชื่อใหม่ตามความเข้าใจของต้น (ในกรณีนี้ถือว่าพันธุ์กล้วยสูญแต่ชื่อ)
แปดสายพันธ์กล้วยที่น่าสนใจ ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร[แก้ไข]
1. กล้วยไข่กำแพงเพชร (มียีโนมเป็น AA)[แก้ไข]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa (AA group) “klual khal” (ดร.เบญจมาศ ศิลาย้อย,2534) กล้วยไข่ที่ปลูกในจังหวัดกำแพงเพชร เป็นกล้วยไข่ในสายพันธุ์ acuminate Cutivars สกุล Musa หมู่ Eumusa กลุ่ม AA มีโครโมโซม 2 ชุด ลักษณะทั่วไปของกล้วยไข่สายพันธุ์กำแพงเพชร ลักษณะกาบใบเป็นสีน้ำตาล หรือช็อกโกแลต ร่องก้านใบเปิด และขอบก้านใบขยายออกใบมีสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล ก้านเครือมีขนขนาดเล็ก รสชาติหวาน แหล่งที่พบกล้วยไข่โดยทั่วไปแต่มีหลักฐานเชื่อได้ว่าเดิมมีการนำพันธุ์กล้วยไข่มาจากเขตกรุงเทพฯ ขึ้นไปปลูกที่ตำบลตะเคียนเลื่อน จังหวัดนครสวรรค์ ราว 100 ปี มาแล้ว ต่อจากนั้นจึงได้กระจายพันธุ์ขึ้นไปปลูกเป็นจำนวนมากที่จังหวัดกำแพงเพชร ในเวลาต่อมา ลำต้น ขนาดกลางส่วนสูงประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 18 - 22 ซม. กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอมเหลืองมีปื้นสีน้ำตาลอ่อนทั่วไป กาบด้านในสีเขียวอ่อน ลำต้นค่อนข้างบอบบางหักล้มง่าย ให้หน่อรอบต้นจำนวนมากเพื่อไม่ให้เป็นการแย่งอาหารต้นแม่ทำให้ผลผลิตลดลง จึงต้องใช้วิธีนำมีดคมๆ ปาดหน่อทิ้งตลอดเวลาจนกว่าใกล้จะเก็บเกี่ยวผลจึงปล่อยให้หน่อเจริญเติบโตตามปกติ ใบ ทางใบยาวประมาณ 2.00 เมตร ค่อนข้างตั้งแผ่นใบแคบสีเขียวอมเหลืองก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้างขอบก้านใบสีน้ำตาลอ่อน โดยใบมีประสีน้ำตาลอ่อนกระจายทั่วไป ปลี ชี้ลงดิน รูปทรงกระบอกปลายแหลมค่อนข้างผอม กาลปลีด้านนอกสีม่วงแดงปลายค่อนข้างมน กาบด้านในสีแดงซีดเมื่อบานเปิดม้วนขึ้นเห็นผลกล้วยสีเขียวอ่อน กาบปลีจะค้างอยู่บนหวีกล้วย 1 – 2 วัน จึงจะหลุดไป ผล ใน 1 เครือ มี 6 – 7 หวี ๆ ละ 12 – 14 ผล ผลค่อนข้างกลมหัวท้ายมน ก้านผลสั้นเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ ขนาดผลกว้าง 3.0 ซม. ยาว 8 – 10 ซม. ผลดิบสีเขียวสดเปลือกบาง ผลสุกสีเหลืองสวยเนื้อสีครีมอมส้มรสหวานกลิ่นหอม ถ้างอมจะมีกระสีน้ำตาลเล็ก ๆ ที่ผิวด้านนอก อายุ ตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกปลี 9 – 10 เดือน และอายุตั้งแต่ออกปลีถึงผลสุกประมาณ 80 วัน การใช้ประโยชน์ ผลดิบฝานทอดน้ำมันเป็นกล้วยฉาบ ทอดกรอบ ผลสุก เชื่อม บวชชี ข้าวเม่าทอด หรือรับประทานผลสุกกับกระยาสารท ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 กล้วยไข่
2. กล้วยนมหมี Musa (ABB) ‘Nom Mi’[แก้ไข]
แหล่งที่พบกล้วยนมหมี (มียีโนมเป็น ABB) เป็นกล้วยพื้นเมืองของจังหวัดตรัง ต่อมาได้มีเกษตรกรได้นำพันธุ์ไปปลูกพร้อมทำสวนยางในจังหวัดระยอง เดิมเข้าใจว่าเป็นพันธุ์เดียวกับพม่าแหกคุกเพราะเป็นกล้วยที่มีผลขนาดใหญ่เหมือนกัน แต่ภายหลังนายสมรรถชัย ฉัตราคม อดีตประธานชมรมรักษ์กล้วย ได้ตรวจสอบพบว่าเป็นคนละพันธุ์กัน จึงได้นำมาขยายพันธุ์โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจนแพร่หลายทั่วไป เป็นกล้วยที่มีขนาดใหญ่ ลำต้นเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 – 35 เซนติเมตร ส่วนสูงประมาณ 3.50 – 4.50 เมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวสดมีนวลเล็กน้อย กาบด้านในสีเขียวอ่อนหน่อเกิดห่างลำต้นแม่จำนวน 6 – 8 หน่อ โดยจะเป็นหน่อใบแคบสูงขึ้นมาอย่างน้อย 80 เซนติเมตร จึงจะเปลี่ยนเป็นหน่อใบกว้าง ใบ แผ่นใบกว้างทางใบยาวประมาณ 3.50 เมตร สีเขียวสดเป็นมัน ร่องใบชิดก้านใบเขียวอ่อนเปราะหักง่าย ปลี รูปทรงกระบอกปลายแหลมขนาดใหญ่ กาบปลีด้านนอกสีแดงอมม่วงด้านในสีแดงสด เมื่อบานเปิดม้วนขึ้นเห็นผลกล้วยสีเขียวอ่อนกาบปลีจะค้างอยู่บนหวีกล้วย 2 – 3 วัน จึงจะหลุดไป ผล ใน 1 เครือจะมี 6 – 8 หวี ๆ ละ14 – 16 ผล ขนาดกว้าง 7 ซม. ยาว 20 เซนติเมตร ผลอ่อนขนาดใหญ่สีเขียวอ่อนรูปเหลี่ยมยาวเกือบเท่ากันทั้งหัวและท้าย ผลแก่สีเขียวเป็นมันปลายผลทู่เมื่อสุกสีเหลืองสดเปลือกหนา เนื้อสีขาวค่อนข้างเหนียว กลิ่นหอมคล้ายกล้วยน้ำว้า อายุ ตั้งแต่ปลุกด้วยหน่อถึงออกปลีประมาณ 10 เดือน และหลังจากออกปลีถึงผลแก่ประมาณ 100 วัน การใช้ประโยชน์ ผลดิบแก่จัดฝานทอดน้ำมันรสชาติใกล้เคียงมันฝรั่ง ผงสุกเชื่อมน้ำตาลทรายจะได้กล้วยเชื่อมสีขาวใสเป็นเงาและเหนียวนุ่มกว่ากล้วยน้ำว้า ดังภาพที่ 3
ภาพที่ 3 กล้วยนมหมี
3. กล้วยพม่าแหกคุก Musa (ABB) ‘Phama Haek Kuk’[แก้ไข]
แหล่งที่พบกล้วยพม่าแหกคุก (มียีโนมเป็น ABB) เดิมมีการปลูกปะปนกันไปกับกล้วยน้ำว้าบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในจังหวัดอ่างทอง ภายหลังเกษตรกรไม่นิยมจึงเลิกปลูก นายสมรรถชัย ฉัตราคม อดีตประธานชมรมรักษ์กล้วยพบว่าเหลืออยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์ที่อำเภอป่าโมก เมื่อปี พ.ศ. 2534 จึงได้นำพันธุ์ไปปลูกอนุรักษ์เอาไว้ นิยมขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อเพราะไม่กลายพันธุ์เหมือนวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นกล้วยที่มีขนาดใหญ่ ลำต้น เส้นผ่าศูนย์กลาง 30 – 35 เซนติเมตร ส่วนสูงประมาณ 3.50 – 5.50 เมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวสดบริเวณโคนต้นมีคล้ำมีปื้นสีน้ำตาลเข้ม หน่อเกิดห่างจากลำต้นแม่มีขนาดใหญ่จำนวน 5 – 8 หน่อ ใบ แผ่นใบกว้างทางใบยาวประมาณ 3.50 เมตร สีเขียวเข้มเป็นมัน ร่องใบชิดก้านใบสีเขียวสดแข็งแรง ปลี รูปทรงกระบอกปลายแหลมขนาดใหญ่ กาบปลีด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดงสดเมื่อบานเปิดม้วนขึ้นเห็นผลกล้วยสีเขียวเข้ม กาบปลีจะค้างอยู่บนหวีกล้วย 2 – 3 วัน จึงจะแห้งหลุดไป ผล ใน 1 เครือจะมี 11 – 16 หวี ๆ ละ 14 -20 ผล ขนาดผลกว้าง 5.5 เซนติเมตร ยาว 18 เซนติเมตร ลักษณะเป็นเหลี่ยมค่อนข้างยาว ผลดิบสีเขียวจัดเป็นมัน ผลสุกสีเหลืองส้มเปลือกหนา เมื่อผลเริ่มสุกใหม่ใน 1 หวี จะมีทั้งสีเขียวของผลดิบและเหลืองของผลสุกตัดกันอย่างน่าดู เนื้อผลสีขาวค่อนข้างเหนียวงอมจัด เนื้อเละรสหวานหอม อายุ ตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกปลีประมาณ 15 เดือน อายุตั้งแต่ออกปลีถึงผลแก่จัด 130 วัน การใช้ประโยชน์ คล้ายกล้วยน้ำว้าเช่น รับประทานผลสุก ผลดิบกล้วยฉาบ กล้วยทอด บวชชี หากนำมาเชื่อมจะได้กล้วยสีขาวสวยเป็นเงา ดังภาพที่ 4
ภาพที่ 4 กล้วยพม่าแหกคุก
4. กล้วยนมสาว (ชื่อพ้องทองกำปั้น นมสาวหาดใหญ่ )[แก้ไข]
แหล่งที่พบกล้วยนมสาว (มียีโนมเป็น ABB) พบปลูกไม่มากนักในจังหวัดทางภาคใต้และพรมแดนไทยพม่า เช่น สงขลา กระบี่ เพชรบุรี ราชบุรี เป็นต้น โดยเฉพาะที่อำเภอสวนผึ้งที่จังหวัดราชบุรีมีสายพันธ์ที่ให้ผลผลิตและรูปร่างผลใหญ่กว่ากล้วยนมสาวจากแหล่งอื่นเป็นกล้วยขนาดกลาง ลำต้น เส้นผ่าศูนย์กลาง 18 - 22 เซนติเมตร ส่วนสูง 2.20 – 3.00 เมตร กาบด้านนอกสีเขียว เจือน้ำตาลตอนล่างมีประน้ำตาลเข้ม ตอนบนขึ้นไปมีสีเขียวนวลมาก กาบด้านในสีเขียวเจือชมพูหน่อเกิดชิด ลำต้นจำนวน 8 – 12 หน่อ ใบ ทางใบยาวแผ่นใบกว้างลู่ลงเล็กน้อยใบค่อนข้างบางสีเขียวสด ร่องใบกว้าง ขอบก้านสีชมพูแดง ก้านใบสีเขียวนวลโคนก้านใบมีประน้ำตาล ปลี รูปทรงกระบอกปลายแหลมชี้ลงดิน กาบด้านนอกสีแดงเจือเขียว กาบด้านในสีซีด เมื่อบานกาบปลีเปิดม้วนขึ้นเห็นผลกล้วยสีเขียวอ่อน กาบปลีจะค้างอยู่บนหวีกล้วย 2 – 3 วัน จึงจะแห้งหลุดไป หลังติดผลหวีสุดท้ายแล้ว ปลีจะมีรูปร่างป้อมขึ้น ผล ใน 1 เครือจะมี 6 – 7 หวี ๆ ละ 12 – 14 ผล ส่วนที่อำเภอสวนผึ้งพบว่า 1 เครือ จะมีถึง 16 หวี ผลมีลักษณะอ้วนป้อม ปลายผลงอน วัดส่วนกว้างที่สุด จะได้ประมาณ 4.0 – 4.2 เซนติเมตร ยาว 10.0 – 10.5 เซนติเมตร ผลดิบสีเขียวสดเป็นมัน เปลือกหนาผลสีเหลืองจัดเนื้อสีครีมอมส้มค่อนข้างแข็ง รสหวานกลิ่นหอมเฉพาะตัวคล้ายกล้ายหอมผสมกล้วยไข่ อายุ ตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกปลีประมาณ 8 เดือน และหลังจากออกปลีถึงผลแก่จัด 90 วัน การใช้ประโยชน์ รับประทานผลสุก ดังภาพที่ 5
ภาพที่ 5 กล้วยนมสาว
5. กล้วยซาบ้า[แก้ไข]
แหล่งที่พบกล้วยซาบ้า (มียีโนมเป็น ABB) เป็นกล้วยพื้นเมืองของประเทศฟิลิปปินส์ ต้นที่ชมรมรักษ์กล้วยรวบรวมพันธุ์นี้ไว้ คุณมงคล ลีราภิรมณ์ ได้คัดเลือกและนำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์ ราว 25 ปีมาแล้ว เป็นกล้วยที่มี ลำต้น ขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 38 - 45 เซนติเมตร สูงประมาณ 5.50 - 6.00 เมตร กาบด้านนอกสีเขียวสดเป็นมันเงา กาบด้านในสีเขียวอ่อน หน่อมีขนาดใหญ่ เกิดห่างต้นประมาณ 4 - 6 หน่อ ใบ มีขนาดใหญ่แข็งแรง แผ่นใบกว้างสีเขียวทึบ หนากว่ากล้วยน้ำว้า ก้านใบสีเขียวนวล ร่องใบชิด มีปื้นสีน้ำตาลอ่อนโคนใบเล็กน้อย ปลี มีขนาดอ้วนใหญ่ประมาณ 60 เซนติเมตร กาบปลีด้านนอกสีแดงคล้ำปลายปี แหลมไม่มากนัก มีรอยเว้าที่ปลายกาบ กาบปลีด้านในสีแดงสด เมื่อบานเปิดม้วนขึ้นเช่นเดียวกับกล้วยน้ำว้าของไทยเห็นผลกล้วยสีเขียวสด ในช่วงที่ให้ผลตั้งแต่หวีที่ 1 - 4 ช่องระหว่างหวีเป็นระเบียบ แต่หลังจากนั้นจะเบียดกันแน่นชิด โดยจะติดผลราว 8 - 14 หวี ต่อจากนั้นปลีจะมีขนาดเล็กลง แต่คงรูปร่างป้อมสั้นคล้ายหัวใจเอาไว้ ผล ใน 1 เครือจะมี 8 - 14 หวี ๆ ละ 17 – 19 ผล ผลดิบรูปร่างเหลี่ยมปลายผลทู่สีเขียวนวล ผลแก่ยังมีเหลี่ยมไปจนกระทั่งสุก ขนาดผลกว้าง 5.0 - 5.6 เซนติเมตร ยาว 13 – 15 เซนติเมตร เปลือกหนาสีเหลืองไพล เนื้อสีครีม ไส้เหลืองค่อนข้างเหนียว กลิ่นหอมรสหวาน อายุ ตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกปลีประมาณ 14 เดือน และอายุตั้งแต่ออกปลีถึงผลแก่จัด 150 วัน
การใช้ประโยชน์ เหมือนกล้วยน้ำว้าของไทย เช่น ปลีนำมาประกอบอาหาร ผลดิบแก่จัดฝานทอดน้ำมันเป็นกล้วยทอดกรอบ หรือหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเสียบไม้สลับเนื้อและสับปะรดย่างเป็นบาร์บีคิว ผลสุกทำกล้วยบวชชีได้น้ำสีขาวเพราะไม่มียาง ส่วนเนื้อกล้วยจะมีสีขาวเหลืองน่ารับประทาน ใบใช้ห่อของได้เหมือนกล้วยตานี ดังภาพที่ 6
ภาพที่ 6 กล้วยซาบ้า
6. กล้วยมาฮอย กล้วยหอม 2 เครือ (ไทย)[แก้ไข]
แหล่งที่พบกล้วยมาฮอย (มียีโนมเป็น AAA) ประเทศอินโดนีเซีย ในราวปี 2538 อาจารย์สุรัตน์ วัณโน ได้นำต้นพันธุ์เข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทางชมรมรักษ์กล้วยไม้ได้นำไปปลูกในแปลงรวบรวมพันธุ์จังหวัดกำแพงเพชร ลำต้น เป็นกล้วยที่มีลำต้นเตี้ยโดยมีส่วนสูงประมาณ 1.50-1.80 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 18 - 22 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีน้ำตาลอมแดงกาบด้านในสีแดงเจือชมพู (จัดอยู่ในกลุ่มของกล้วยหอมเขียว) ใบ ทางใบยาประมาณ 120 เซนติเมตร แผ่นใบกว้างหนาสีเขียวทึบ ก้านใบสีเขียว ร่องใบเปิดมีขอบสีน้ำตาลแดง ข้อสังเกต ถ้าการเรียงซ้อนของใบเวียนไปรอบต้นเหมือนกล้วยทั่วไปมักจะให้ผลเป็นกล้วยเครือเดียว แต่ถ้าหน่อมีลักษณะค่อนข้างแบนการเรียงซ้อนของใบคล้ายกล้วยพัก แนวโน้มจะได้กล้วยที่มี 2 เครือ หรือมากกว่า ปลี รูปทรงกระบอกปลายแหลม กาบด้านนอกสีแดงเจือเขียว เมื่อบานเปิดม้วนขึ้นสำหรับกล้วยมาฮอยจะมีลักษณะการออกเครือหลายแบบ เช่น 1. มี 1 ปลี เหมือนกล้วยปกติ และเจริญเติบโตต่อไปเป็นเครือ 2. มีปลีพุ่งออกมาจากยอดพร้อมกัน 2 ปลี และเจริญเติบโตต่อมาเป็น 2 เครือ 3. มี 1 ปลี เมื่อพ้นออกมาจากยอดแล้วงวงกล้วยจะแบนและแยกเป็น 2 ปลี และเจริญเติบโตต่อมาเป็น 2 เครือ 4. มี 1 ปลี แต่เมื่อติดผลตามปกติได้ 4-5 หวี ส่วนปลายจะแยกเป็น 2 ปลี และพัฒนาติดผลไปคนละเครือ 5. มี 1 ปลี ให้ผลเหมือนกล้วยหอมปกติจนมดถึงหวีตีนเต่าต่อจากนั้นปลีจะแยกออกเป็น 2 ปลี และเจริญเติบโตต่อไปโดยไม่ออกติดผล 6. มีการโผล่ของปลีออกมาจากส่วนยอดจำนวนมากอาจถึง 4-5 ปลี และสามารถพัฒนาเป็นเครือกล้วยได้ทั้งหมด ผล ใน 1 เครือ จะมีประมาณ 7 - 9 หวี ๆ ละ 14 - 16 ผล ขนาดผลกว้าง 3.8 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 16-16.5 เซนติเมตร ผลเหยียดตรงปลายผลมีจุกเล็กน้อย ผลดิบสีเขียวสด ผลแก่สีเหลืองอ่อนเปลือกหนา ถ้าบ่มในอุณหภูมิต่ำหรืออากาศหนาวเย็นเกิน 5 วัน จะได้กล้วยที่มีผิวสีเหลืองคล้ายกล้วยหอมทอง ผลสุกเนื้อสีครีม รสหวานจัด อายุ ตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกปลีประมาณ 8 เดือน ละตั้งแต่ออกปลีถึงผลสุกประมาณ 95 วัน การใช้ประโยชน์ ปลูกเพื่อดูความแปลกประหลาด และรับประทานผลสด ดังภาพที่ 7
ภาพที่ 7 กล้วยมาฮอย กล้วยหอม 2 เครือ (ไทย)
7. กล้วยปิซังแอมเปียง หอมชวา[แก้ไข]
แหล่งที่พบกล้วยปิซังแอมเปียง (มียีโนมเป็น AA) ประเทศอินโดนีเซียในชื่อ Pisang Ampaing โดยประมาณปีพ.ศ. 2529 พลอากาศตรีฉัตรชัย ชุตินันท์ แห่งกองทัพอากาศได้นำต้นพันธุ์มาจาก แถบชวาใต้ ของประเทศอินโดนีเซีย มาปลูกที่บ้านแถบดอนเมือง และเผยแพร่ให้ชมรมรักษ์กล้วย ปลูกทดสอบเมื่อปี พ.ศ.2543 พบว่าเป็นกล้วยที่มีผิวสวยกลิ่นหอมและเนื้อแน่น จึงได้นำไปปลูกในแปลงรวบรวมพันธุ์จังหวัดกำแพงเพชร ลำต้น มีความสูงปานกลางประมาณ 2.10 - 2.30 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น ประมาณ 18 - 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวเจือน้ำตาลมีประสีน้ำตาลอ่อน กาบด้านในสีชมพูเจือเขียว หน่อเกิดชิดลำต้นแม่จำนวน 6-10 หน่อ ใบ ยาวปานกลาง แผ่นใบกว้างสีเขียวสด ก้านใบสีเขียวอ่อน ร่องใบกว้างมีปีกสีแดง โคนก้านใบสีชมพู การเรียงตัวของก้านใบเกือบจะออกในแนวซ้าย-ขวา เหมือนรูปพัดกลายๆ (ใบช่วงบนและล่างเกือบจะอยู่ทับซ้อนกันมีเวียนเพียงเล็กน้อย) ปลี รูปทรงกระบอกปลายแหลม กาบด้านนอกสีแดง กาบด้านในสีซีด เมื่อบานเปิดม้วนขึ้นเห็นผลกล้วยสีเขียวอ่อนลักษณะของเครือจะชี้ห่างจากลำต้นเกือบขนานกับพื้นดิน คล้ายกล้วยน้ำไท หลังติดหวีสุดท้ายแล้วจึงจะค่อยโน้มลงดินและปลีจะมีรูปร่างป้อมขึ้น ผล ใน 1 เครือจะมี 4 - 7 หวี หวีละ 11 - 13 ผล ขนาดผลกว้าง 2.8-3.0 เซนติเมตร ยาว 15 - 16 เซนติเมตร มีเหลี่ยมเล็กน้อยผลค่อนข้างตรงปลายผลมีจุกไม่ชัดเจน ผลดิบสีเขียวอ่อน ผลแก่สีเขียวสด ผลสุกสีเหลืองจำปา เนื้อในสีส้มค่อนข้างกรอบ รสหวานจัดกลิ่นหอม อายุ ตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกปลีประมาณ 10 เดือน และอายุตั้งแต่ออกปลีถึงผลสุกประมาณ 98 วัน การใช้ประโยชน์ รับประทานผลสุก รสชาติคล้ายกล้วยไข่แต่เนื้อแน่นกว่า
ภาพที่ 8 กล้วยปิซังแอมเปียง หอมชวา
8. กล้วยเล็บช้างกุด Musa (BBB) ‘Lep Chang Kut’[แก้ไข]
แหล่งที่พบกล้วยเล็บช้างกุด (มียีโนมเป็น BBB) ส่วนใหญ่จะพบทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป โดยที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งเรียกว่ากล้วยโกะ เกษตรกรบอกเล่าให้ฟังว่า ทหารญี่ปุ่นนำมาสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ชาวบ้ายนิยมนำย่างกินกับกาแฟร้อนตอนเช้าๆ และแหล่งที่พบอีกแห่งหนึ่งคือ ที่อำเภอนาแห้ง จังหวัดเลย ชาวบ้านเรียกว่า ตีบกุ บอกเล่าในทำนองเดียวกันว่าทหารญี่ปุ่นนำเข้ามานานแล้ว แต่อย่างไรก็ตามกล้วยเล็บช้างกุดนี้ น่าจะมีกำเนิดมาจากการผสมกันเองของกล้วยตานีและได้กล้วยลูกผสมที่ไม่มีเมล็ดขึ้นมา ลำต้น เป็นกล้วยที่มี ลำต้น ค่อนข้างสูงโดยมีส่วนสูงประมาณ 3.80 – 4.00 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 25 - 28 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอมเหลือง บริเวณโคนมีปื้นสีม่วงและนวลจับ กาบด้านในสีเขียวอ่อน หน่อเกิดห่างลำต้นแม่ จำนวน 4 – 6 หน่อ หน่ออ่อนสีเขียวเจือม่วงมีลักษณะโคนค่อนข้างแบนคล้ายกล้วยเทพรสมาก ใบ ทางใบยาวประมาณ 3 เมตร แผ่นใบกว้างไม่มากนักสีเขียวเข้มท้องใบมีนวล ก้านใบสีเขียวอมเหลืองร่องใบชิดมีขอบสีม่วงดำ ปลี ก้านงวงค่อนข้างสั้นชี้ออกห่างลำต้น ปลีรูปทรงกระบอกปลายทู่ กาบปลีสีแดงอมม่วงบานเปิดขึ้นเล็กน้อยพอมองเห็นลูกกล้วยขนาดใหญ่ปลายผลทู่สีเขียวหม่น กาบปลีจะแห้งค้างอยู่บนหวีกล้วย ผล ใน 1 เครือมี 6 – 7 หวี ๆ ละ 14 – 16 ผล รูปร่างป้อมสั้นเบียดกันแน่นในแต่ละหวี ผลมีขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร ยาวเฉพาะผล 8 เซนติเมตร และก้านผลอีก 2 เซนติเมตร เมื่อดิบสีเขียวหม่น ผลสุกสีเหลืองเข้มเปลือกหนา เนื้อสีครีมค่อนข้างเหนียว รสหวานจัด อายุ ตั้งแต่ปลูกด้วยหน่อถึงออกปลี 10 เดือน และอายุตั้งแต่ออกปลีถึงผลสุก 140 วัน การใช้ประโยชน์ ผลห่ามปิ้ง ย่าง ต้ม บวชชี ได้เนื้อเหนียวแน่นอร่อยน่ารับประทาน ผลสุก รับประทานสด ข้าวต้มมัด ขนมกล้วย
ภาพที่ 9 กล้วยเล็บช้างกุด
รายชื่อกล้วย ณ พิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (สำรวจปี 2559)[แก้ไข]
จากการสำรวจปี 2559 ของพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร พบว่า มีสายพันธุ์กล้วยอยู่ 13 กลุ่มดังนี้ 1.กลุ่มกล้วยน้ำว้า 2.กลุ่มกล้วยหักมุก 3.กลุ่มกล้วยนาก 4.กลุ่มกล้วยหอม 5.กลุ่มกล้วยไข่ 6.กลุ่มกล้วยเปรี้ยว 7.กลุ่มกล้วย เปลือกหนา 8.กลุ่มกล้วยน้ำ 9.กลุ่มกล้วยพิเศษ 10.กลุ่มกล้วยหอมผลสั้น 11.กลุ่มกล้วยหอมพิเศษ 12.กลุ่มกล้วยตานี 13.กลุ่มกล้วยประดับและกล้วยป่า
1. กลุ่มกล้วยน้ำว้า[แก้ไข]
1. กล้วยน้ำว้าค่อม | 2. กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง | 3. กล้วยน้ำว้าดง | 4. กล้วยน้ำว้ายักษ์ | 5. กล้วยน้ำว้านวลจันทร์ |
6. กล้วยน้ำว้าทองมาเอง | 7. กล้วยน้ำว้าดำ | 8. กล้วยน้ำว้าปากช่อง50 | 9. กล้วยน้ำว้าเงิน | 10. กล้วยน้ำว้ายักษ์ (กาญจนบุรี) |
2. กลุ่มกล้วยหักมุก[แก้ไข]
1. กล้วยหักมุกสวน | 2. กล้วยหักมุกส้ม | 3. กล้วยหักมุกเขียว | |
4. กล้วยหักมุกทอง | 5. กล้วยหักมุกพม่า | 6. กล้วยหักมุกนวล | 7. กล้วยราชาปุริ, หักมุกแขก |
3. กลุ่มกล้วยนาก[แก้ไข]
1. กล้วยนากไทย | 2. กล้วยนากค่อม | 3. กล้วยนากยักษ์ทองผาภูมิ |
4. กล้วยครั่ง | 5. กล้วยกุ้งเขียว | 6. กล้วยสายน้ำผึ้ง |
7. กล้วยกุ้งเขียวค่อม | 8. กล้วยตาโหลน | 9. กล้วยทองเสา |
4. กลุ่มกล้วยหอม[แก้ไข]
1. กล้วยหอมซุปเปอร์แคระ | 2. กล้วยหอมทูม๊อค | 3. กล้วยหอมอัฟริกา | 4. กล้วยหอมเสียนเจียนเชียว | 5. กล้วยมาฮวย | 6. กล้วยหอมแกรนเนนด์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7. กล้วยหอมไฮเกท | 8. กล้วยหอมเขียวค่อม | 9. กล้วยหอมทองอยุธยา | 10. กล้วยหอมทองกาบดำ | 11. กล้วยหอมกระเหรี่ยง | 12. กล้วยหอมปิซังอัมบน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
13. กล้วยหอมเขียวต้นสูง | 14. กล้วยหอมลามัท | 15. กล้วยเงาะ | 16. กล้วยหอมไต้หวัน | 17. กล้วยหอมทองปอก | 18. กล้วยหอมน้ำผึ้ง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
}
5. กลุ่มกล้วยไข่[แก้ไข]
6. กลุ่มกล้วยเปรี้ยว[แก้ไข]
7. กลุ่มกล้วยเปลือกหนา[แก้ไข]
8. กลุ่มกล้วยน้ำ[แก้ไข]
9. กลุ่มกล้วยพิเศษ[แก้ไข]
10. กลุ่มกล้วยหอมผลสั้น[แก้ไข]
11. กลุ่มกล้วยหอมพิเศษ[แก้ไข]
12. กลุ่มกล้วยตานี[แก้ไข]
13. กลุ่มกล้วยประดับและกล้วยป่า[แก้ไข]
บทสรุป[แก้ไข]กล้วยเป็นพืชอาหารที่มีความสำคัญสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่เป็นอาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ เส้นใยสิ่งทอ สมุนไพร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่มีน้อยคนที่จะรู้จักกล้วยอย่างแท้จริง หากอยากรู้จักกล้วยให้มากขึ้นก็ต้องเดินทางมาที่จังหวัดกำแพงเพชร หรือเรียกว่า เมืองกล้วยไข่ เพราะว่าจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นชื่อว่าปลูกกล้วยไข่ได้รสชาติดีที่สุดในประเทศและด้วยชื่อเสียงอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ซึ่งพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชร เฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้สายพันธุ์กล้วยที่คุณค่าทางวัฒนธรรมต่อชาวกำแพงเพชร ซึ่งคนที่สนใจเรื่องกล้วยรวมไปถึงคนที่ชอบกินกล้วยไม่ควรพลาด |