ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(Admin ย้ายหน้า [[ภูมิปัญญาอาหารและขนมไทยพื้นบ้านประจําถิ่น ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพ...)
แถว 1: แถว 1:
 
== ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร ==
 
== ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร ==
 +
=== บทนำ ===
 +
          การค้นพบโบราณวัตถุที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งที่เป็นหินและโลหะในเขตพื้นที่เมืองกำแพงเพชร หรือจังหวัดกำแพงเพชร โดยเฉพาะพื้นที่ 2 ฝั่งของแม่น้ำปิง แสดงถึงการมีชุมชนโบราณมาแต่ครั้งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี ที่สำคัญดินแดนแถบนี้ยังมีภูมิหลังมาแต่ครั้งประวัติศาสตร์ร่วมสมัยกับอาณาจักรสุโขทัย อยุธยา และเชียงแสนล้านนา จึงเป็นผลทำให้จังหวัดกำแพงเพชรมีความหลากหลายทางศิลปะและวัฒนธรรม อย่างไรก็ดี เมืองกำแพงเพชรในฐานะที่เป็นเมืองบริวารของอาณาจักรสุโขทัยจึงได้รับการรับรองจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปีพ.ศ. 2534 นับแต่นั้นมา
 +
          ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร เป็นเทวสถานโบราณในศาสนาฮินดู โดยมีปรากฏเพียงแห่งเดียวในเมืองกำแพงเพชร ประมาณอายุความเก่าแก่ที่อยู่คู่เมืองกำแพงเพชรมากว่า 500 ปี  ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของศาลเยาวชนจังหวัดกำแพงเพชร มีความสูงจากตำแหน่งระดับน้ำทะเลปานกลาง 82 เมตร จัดอยู่ในกลุ่มภายในกำแพงเมืองโบราณ จากทั้ง 4 กลุ่มโบราณสถานเมืองกำแพงเพชร ซึ่งได้มีการจัดแบ่งขึ้นตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 84 ตอนที่ 51 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511  ได้แก่
 +
          กลุ่มที่ 1 กลุ่มภายในกำแพงเมือง มีโบราณสถาน 14 แห่ง เนื้อที่ 503 ไร่
 +
          กลุ่มที่ 2 บริเวณอรัญญิกโบราณสถานทางด้านทิศเหนือนอกกำแพงเมือง มีโบราณสถาน 40 แห่ง  เนื้อที่ 1,611 ไร่
 +
          กลุ่มที่ 3 บริเวณนอกเมืองด้านทิศตะวันออกมีโบราณสถาน 15 แห่ง เนื้อที่ 16 ไร่ 3 งาน
 +
          กลุ่มที่ 4 บริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง(เมืองนครชุม) มีโบราณสถาน 12 แห่ง เนื้อที่ 30 ไร่ 4 งาน
 +
          เอกสารนำชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้กล่าวถึงศาลพระอิศวรในปัจจุบันว่า ศาลพระอิศวรแห่งนี้ ได้รับการบูรณะพัฒนาฟื้นฟูปรับปรุงขุดแต่งพร้อมกลุ่มโบราณาสถานเมืองกำแพงเพชร โดยได้เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในสมัยของรัฐบาลจอมพลถนอม  กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นการพัฒนาไปพร้อม ๆ กับเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย ในส่วนของเมืองกำแพงเพชรได้ดำเนินการฟื้นฟูขึ้นจำนวนทั้งสิ้น 18 แห่ง ได้แก่ ศาลพระอิศวร วัดพระธาตุ วัดพระแก้ว พระราชวัง(สระมน) ป้อมเพชร ป้อมเจ้าจันทร์ ป้อมเจ้าอินทร์ ป้อมมุมเมือง ป้อมวัดช้าง ป้อมทุ่งเศรษฐี วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ วัดช้างรอบ วัดอาวาสใหญ่ วัดกะโลทัย วัดซุ้มกอ วัดช้าง และวัดอาวาสน้อย การพัฒนานี้ได้ดำเนินการต่อเนื่องเรื่อยมาโดยตลอดจนถึง ปี พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรได้บรรจุงานบูรณะปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2526) โดยใช้ชื่อโครงการว่า “โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร” และต่อเนื่องมาจนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2535) กระทั่งเสร็จสิ้นและกรมศิลปากรได้ดำเนินการเปิดอุทยานประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2534 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี (สถาพร เที่ยงธรรม, 2557 หน้า 169-170)
 +
'''คำสำคัญ :''' ศาลพระอิศวร, เมืองกำแพงเพชร
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 1 ศาลพระอิศวร.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 1 ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร''' </p>
 +
=== การกำเนิดศิลปะและวัฒนธรรมในเมืองกำแพงเพชร ===
 +
          เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญในหลายยุคหลายสมัย เพราะเนื่องจากมีการค้นพบหลักฐานการมีอยู่ของชุมชนมนุษย์ นับแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมาจนถึงยุคทวารวดี กระทั่งถึงยุคประวัติศาสตร์ร่วมสมัยกับอาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา และเชียงแสนล้านนา โดยเมืองกำแพงเพชรในอดีตนั้น ถือว่าเป็นเมืองบริวารของอาณาจักรสุโขทัยก่อนที่จะขึ้นตรงกับอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาในภายหลัง ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองเช่นนี้ จึงย่อมทำเกิดการถ่ายเทรูปแบบของวัฒนธรรมและระบบความเชื่อเข้าหากัน ตัวอย่างเช่น วัดเจดีย์กลางทุ่งที่มีลักษณะแบบเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูม อันเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยแท้ โดยเมื่อเมืองกำแพงเพชรเป็นบริวารสำคัญถือเป็นเมืองหน้าด่านกันชน จึงได้สร้างเจดีย์ที่มีลักษณะเฉพาะตามรูปแบบศิลปะของแคว้นสุโทขัยอันเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรก็เพื่อหวังแสดงถึงขอบเขตอำนาจ ต่อมาเมื่อเมืองกำแพงเพชรเป็นส่วนหนึ่งในอำนาจปกครองของแคว้นอยุธยาในสมัยอยุธยายุคต้น จึงได้มีการสร้างพระนั่งพระนอนตาม พุทธลักษณะของศิลปะอยุธยายุคต้น (แบบอู่ทอง) ขึ้นที่วัดพระแก้วอันเป็นวัดสำคัญในเขตพระราชวังโบราณก็ด้วยเหตุผลเดียวกันนั่นเอง แม้ว่าจะเป็นการบูรณปฏิสังขรณ์ก็ตาม แต่ก็เป็นการยึดถือตามผู้นำในยุคนั้น ๆ เนื่องจากถือว่าผู้นำ คือผู้ที่มีอำนาจสูงสุด                      ในการปกครองดูแลและควบคุมทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งผู้คนและบ้านเมือง อำนาจนี้ถือว่าเป็นอำนาจที่ศักดิ์สิทธิ์ตามระบบความเชื่อที่สั่งสมมา หลักฐานที่เป็นสิ่งยืนยันสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนพบได้อยู่โดยทั่วไปอันเป็นซากโบราณสถานและวัตถุ มีทั้งที่เป็นขนาดเล็ก กลาง ถึงใหญ่โตกินพื้นที่กว้างขวาง โดยมีปรากฏอยู่ทั้งในเมือง นอกเมือง มีทั้งที่เสื่อมสภาพตามกาลเวลาและมีทั้งที่ได้รับการพัฒนาฟื้นฟูให้กลับมาคงสภาพที่ใกล้เคียงดังเดิม บางแห่งก็ยังคงมีการใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อที่ส่งต่อ ๆ กันมาด้วยเช่นกัน
 +
          อย่างไรก็ตาม ระบบความเชื่อ ย่อมรวมถึงศาสนา และความเชื่อในลัทธิต่าง ๆ ศาสนาในความหมายกว้างๆ คือการบวงสรวงบูชาหรือการสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างมนุษย์กับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ซึ่งมนุษย์เชื่อว่าสามารถควบคุมหรือมีอิทธิพลเหนือวิถีทางของธรรมชาติและวิถีชีวิตของมนุษย์ ศาสนาตามทัศนะทางมานุษยวิทยาจึงบ่งบอกนัยถึงการขยายความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ออกไปสู่  ความสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีอำนาจเหนือมนุษย์และธรรมชาติ ดังนั้นศาสนาและความเชื่อทางศาสนาจึงเป็นสิ่งสากลที่เราพบเห็นได้ในทุกสังคมตลอดมาทุกยุคทุกสมัย (ยศ สันตสมบัติ, 2537 หน้า 214)
 +
          ในสมัยโบราณ มนุษย์ดำเนินชีวิตท่ามกลางปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าใจได้ ไม่ว่าจะเป็นความมืด ความสว่าง ความร้อน ความหนาว พายุฝน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ภาวะเกิด แก่ เจ็บ ตาย สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้มนุษย์เกิดความกลัวและเชื่อว่าต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจลี้ลับอยู่เหนือปรากฏการณ์ เหล่านี้ ซึ่งสามารถที่จะบันดาลคุณและโทษแก่มนุษย์ได้ มนุษย์จึงพยายามหาวิธีการอ้อนวอนเอาใจหรือ ต่อรองกับ อำนาจลึกลับด้วยการบูชา บนบานหรือเซ่นไหว้  จนกระทั่งมีพัฒนาการรูปแบบความเชื่อด้วย หวังให้ได้ใกล้ชิดอำนาจเหล่านี้ ด้วยการสร้างรูปเคารพโดยจำลองเอาลักษณะทางกายภาพของมนุษย์เป็นต้นแบบด้วยการลดทอนเพิ่มเติมรายละเอียดเข้าไปให้แลดูทั้งมีความเมตตา ความเข้มแข็ง และความงดงามเปี่ยมไปด้วยพลังอำนาจอันเป็นไปแบบอุดมติ  ศาสนาพราหมณ์ถือว่าเป็นศาสนาที่มีบทบาทในดินแดนของไทยจากเหนือจรดใต้ ซึ่งได้เข้ามาปะปนอยู่ในคติความเชื่อและวัฒนธรรมไทยหลายรูปแบบโดยมีมาก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนาในเมืองไทย
 +
          พระครูวามเทพมุนี (ชวิน รังสีพราหมณกุล) ได้ให้สัมภาษณ์วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 ไว้ว่า มีเทพเจ้าหลายองค์ในศาสนาพราหมณ์ที่กลายมาเป็นที่เคารพนับถือของชาวไทย เช่น พระพรหมที่คนไทยนิยมไปกราบไหว้บนบาน พระอิศวร พระพิฆเนศวร เทพแห่งศิลปะ หรือพระอินทร์ ซึ่งปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากคุณลักษณะเฉพาะของเทพแต่ละองค์ ตามตำนานเทวกำเนิดแล้ว  ก็จะพบว่าอุปนิสัยของเทพเหล่านี้ สะท้อนถึงภาวะหมุนเวียนของโลก โดยเริ่มจากพระอิศวรซึ่งมักให้พรคนที่บำเพ็ญตบะแก่กล้า ผู้ได้รับพรก็มักลืมตัวใช้อิทธิฤทธิ์ ก่อความวุ่นวาย ความทุกข์ร้อนแก่สังคม จนพระนารายณ์ต้องลงมาปราบด้วยวิธีล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ ต่อจากนั้นพระพรหมก็จะสร้างโลกขึ้นใหม่หมุนเวียนไปเช่นนี้
 +
          ประจักษ์ สายแสง ได้กล่าวถึงเมืองกำแพงเพชร ในรายงานการสัมมนา เรื่อง กำแพงเพชรอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ไว้ว่า “คนกำแพงเพชรดั้งเดิมนั้น มีความเชื่อที่หลากหลายทั้งทางพุทธ ฮินดู และผี ไม่ต่างไปจากผู้คนในภูมิภาคอื่น ๆ เช่น คนในภาคอีสานจะเชื่อในเรื่องปู่สังกะสา ย่าสังกะสี ปู่อึ้ม ย่าเผิ้ง ปู่เยอ ย่าเยอ ผีปู่ตา ผีแถน ส่วนผู้คนทางล้านนาจะมีความเชื่อเกี่ยวกับ ผีปู่แสะ ย่าแสะ ขณะเดียวกันคนกำแพงเพชรดั้งเดิม จะมีพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น รดน้ำพระอีศวรในวันสงกรานต์ การผูกข้อมือลูกหลาน ผูกเครื่องใช้ หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยง เพื่อการให้พรในวันพระยาวัน ก็ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน” (วิทยาลัยครูกำแพงเพชร, 2533 หน้า 271)
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 2 ศาลพระอิศวร.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 2 ภาพพระอิศวรพระพิฆเนศ และศิวลึงค์ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีของศาล''' </p>
 +
=== ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร ===
 +
          ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร ตั้งอยู่ในตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ ละติจูด 16°29’24’N ลองจิจูด 99°31’48’E มีหน่วยงานที่ดูแลรักษา ได้แก่ กรมศิลปากรและหน่วยงานยูเนสโก มีสถานะการขึ้นทะเบียน ดังนี้
 +
          1. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478
 +
          2. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม 2480
 +
          3. ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511
 +
          4. ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (UNESCO) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534
 +
          (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), ม.ป.ป.)
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 3 ศาลพระอิศวร.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 3 ศาลพระอิศวรในปัจจุบัน''' </p>
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 4 ศาลพระอิศวร.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 4 ศาลพระอิศวรในปัจจุบัน''' </p>
 +
          ศาลพระอิศวรเป็นโบราณสถานที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นศาลหรือเทวาลัยในศาสนาฮินดู ตั้งอยู่ใน เขตกำแพงเมืองโบราณกำแพงเพชรและอยู่ด้านทิศตะวันออกของเขตพระราชวังโบราณ อันเป็นพื้นที่ส่วนทางทิศใต้ตอนกลางของเมือง ปัจจุบันอยู่ในเขตตัวอำเภอเมืองกำแพงเพชรและเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ตัวศาลในปัจจุบันได้ถูกบูรณะปรับแต่งให้ใกล้เคียงกับแบบสัณฐานเดิมมากที่สุด ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง ยกพื้นสูง 1.5 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เครื่องบน สันนิษฐานว่า เครื่องบนน่าจะเป็นไม้เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่มากมาย
 +
          พิทยา คำเด่นงาม ได้ร่วมกับกรมศิลปากรทำการศึกษาเมื่อ ปีพ.ศ. 2509 เพื่อบูรณะปรับแต่งด้วยการทำผังจากการขุดแต่งพบว่าศาลพระอีศวรเป็นอาคารผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ฐานชุกชีด้านบนเป็นแท่นตั้งเทวรูป จากหลักฐานพบว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรพระนารายณ์และพระอุมา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา ตลอดจนทำการบูรณะและเสริมความมั่นคงศาลพระอิศวรและปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานว่ามีการใช้พื้นที่ศาลพระอิศวรช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 - 23 สมัยอยุธยาตอนกลางถึงตอนปลาย (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), ม.ป.ป.)
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 5 จารึกฐานพระอิศวร.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 5 จารึกฐานพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร''' </p>
 +
<p align = "center"> (ที่มา : พราหมณ์ ชาคริต, ม.ป.ป.) </p>
 +
          การพบข้อความจารึกที่บริเวณฐานเทวรูปพระอีศวรเมืองกำแพงเพชร ส่งผลให้เทวรูปนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สุโขทัย อยุธยา เนื่องจากจารึกดังกล่าวเป็นการบันทึกเรื่องราวการสร้างและเหตุการณ์ต่าง ๆ ขณะช่วงเวลานั้น มีทั้งสิ้น 3 บรรทัด โดยเฉพาะในบรรทัดที่ 1 ซึ่งระบุตรงกับปีพุทธศักราช 2053 ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ต่อมาจารึกทั้ง 3 บรรทัดนี้ ได้ถูกแปลโดย ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) นักวิชาการชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เดินทางมารับราชการในตำแหน่งบรรณารักษ์ใหญ่ประจำหอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อพ.ศ. 2461 ต่อมาเปลี่ยนเป็นหอสมุดแห่งชาติ ทำให้ทราบถึงกรณียกิจที่เจ้าเมืองขณะนั้นที่ได้ดูทุกข์สุขของผู้คนในเมืองของตนอย่างไร ซึ่งได้ความว่า “ศักราช 1432 มะเมียนักษัตร อาทิตยพารเดือน 6 ขึ้น 14 ค่ำ ได้หัสฤกษ์เพลารุ่งแล้ว 2 นาฬิกา จึงเจ้าพรญาศรีธรรมาโศกราชประดิษฐานพระอีศวรเป็นเจ้านี้ไว้ให้ครองสัตว์สี่ตีนสองตีนในเมืองกำแพงเพชรแลช่วยเลิกศาสนาพุทธศาสตร์แลไสยศาสตร์แลพระเทพกรรมมิให้หม่นหมองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว แลซ่อมแปลงพระมหาธาตุแลวัดบริพารในเมือง นอกเมืองและที่แดนเหย้าเรือน ถนนทลาอันเป็นตรธานไปเถิงบางพาน ขุดแม่ไตรบางพร้อ อนึ่งย่อมขายวัวไปแก่ละว้าอันจะขาย ดุจก่อนนั้น ก็ห้ามมิให้ขาย อนึ่งเมื่อทำนาไซร้ย่อมข้าวพืช ข้าวในนานั้นปลูกเอง มิได้เอาข้าวในยุ้งไปหว่านไปดำทั้งหลาย อนึ่งท่อปู่พญาร่วงทำเอาน้ำไปเถิงบางพานนั้น ก็ถมหายสิ้นและเขาย่อมทำนาทางฟ้าแลหาท่อนั้นพบ กระทำท่อเอาน้ำเข้าไปเลี้ยงนา ให้เป็นนาเหมือนนาฝาย มิได้เป็นทางฟ้า อันทำทั้งนี้ถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จบพิตรพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์”
 +
          ศักราชที่ปรากฏข้างต้นเป็นมหาศักราช ตรงกับพุทธศักราช 2053 จารึกนี้ให้ข้อมูลประวัติศาสตร์ดังนี้ เมืองกำแพงเพชรสมัยนั้นมีผู้ปกครองเมืองนามว่า พรญาศรีธรรมาโศกราช และเป็นผู้บัญชาให้สร้างปฏิมากรรมพระอีศวรองค์นี้ขึ้น เพื่อให้เป็นเทพคุ้มครองประชาชนและสิ่งมีชีวิตทั้งปวงในเมืองกำแพงเพชร ทั้งกล่าวถึงการฟื้นฟูลัทธิศาสนาที่ประชาชนเชื่อถือในเมืองกำแพงเพชรในเวลานั้น อันได้แก่ พระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่นับถือเทพเจ้าและไสยศาตร์ซึ่งหมายถึงมนตรยานหรือลัทธิตันตระและการฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างเนื่องในศาสนา กล่าวถึง การฟื้นฟูระบบชลประทานจากที่เคยมีการวางรากฐานไว้แล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย เพื่อสามารถทำนาปลูกข้าวได้ดีกว่าเดิม โดยไม่ต้องทำนาโดยอาศัยเพียงน้ำฝนตามฤดูกาลเท่านั้น และเมื่อฟื้นฟูระบบชลประทานแล้วย่อมต้องใช้วัวในการไถนา จึงประกาศไม่ให้ขายวัวให้กับพวกละว้าซึ่งน่าจะหมายถึงพวกลัวะ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ตามหุบเขาในเขตจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่นอกจากนั้นยังกล่าวถึงการสร้างพระอีศวรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลให้กับพระเจ้าอยู่หัว 2 พระองค์ ซึ่งน่าจะหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินที่ปกครองกรุงศรีอยุธยาในเวลานั้นองค์หนึ่ง อีกองค์หนึ่งอาจเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ล่วงลับไปแล้วก่อนหน้า  องค์ปัจจุบัน หากสันนิษฐานเช่นนี้ ก็น่าจะหมายถึง สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ครองราชย์ พุทธศักราช 2034 ถึง 2072) และ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (ครองราชย์ พุทธศักราช 2031 ถึง 2035 ) ตามลำดับ อนึ่งอาจวิเคราะห์ว่า องค์ที่ 2 อาจหมายถึง ผู้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือซึ่งรวมถึงเมืองกำแพงเพชรด้วย หรือเมืองลูกหลวงของกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีเมืองหลักอยู่ที่เมืองพิษณุโลกในสมัยนั้น คือ สมเด็จพระอาทิตยเจ้า ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ 2 และโปรดฯให้ไปครองเมืองพิษณุโลกซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงที่เคยเป็นราชธานีของกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (มนต์นัทธ์, 2560)
 +
          ต่อมาจารึกนี้ได้ขึ้นทะเบียนบัญชีโบราณวัตถุ ดังนี้  (1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กพ. 2” (2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 13 จารึกบนฐานพระอิศวรจังหวัดกำแพงเพชร” ส่วนการเรียกพระนาม “อีศวระ” ปัจจุบันคนไทยได้เขียนผิดเพี้ยนไปเป็น “อิศวร” ซึ่งไม่ถูกต้อง การค้นพบจารึกวัดป่ามะม่วง พ.ศ.1904 อันเป็นหลักฐานในสมัยสุโขทัย ทำให้ทราบว่าคนสุโขทัยสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เรียกพระศิวะว่า พระอิศวรและพระมเหศวร (จาก) พระสทาศีพ (มาจาก พระสทาศิวะ)
 +
          ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชรแต่เดิมนั้น พบว่าได้มีการประดิษฐานปฏิมากรรมเทวรูปสัมฤทธิ์ที่สำคัญ จำนวน 3 องค์ ได้แก่ เทวรูปพระอิศวรเทวรูปพระนารายณ์ และเทวรูปพระแม่อุมาเทวี ทั้งนี้ปฏิมากรรมเทวรูปสัมฤทธิ์พระอิศวรเมืองกำแพงเพชร มีประวัติการค้นพบการสูญหายและการได้กลับคืนมาในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จนกระทั่งได้นำกลับคืนมาสู่เมืองกำแพงเพชร เรื่องราวเหล่านี้ได้เริ่มต้นขึ้นโดยเมื่อครั้งนายแม็คคาธี นายช่างสำรวจทำแผนที่ฯ มาสำรวจทำแผนที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2425 ได้มีบันทึกการพบเห็นเทวรูปสัมฤทธิ์พระอิศวร  ณ ศาลพระอิศวรว่า “ตั้งอยู่ในกลางเมืองห่างบ้านพระยากำแพงเพชรเดินสักสิบมินิตเท่านั้น เทวรูปนี้ว่าเป็นที่คนนับถือว่าศักดิสิทธิ เป็นที่บูชาเส้นสรวงกันอยู่
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 6 ภาพเทวรูป.gif|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 6 ภาพเทวรูปและเทวสตรีที่ศาลพระอีศวรเมืองกำแพงเพชร ก่อนถูกเคลื่อนย้ายและบูรณะ''' </p>
 +
<p align = "center"> (ที่มา : สุขใจดอทคอม, 2556) </p>
 +
          อีก 2 ปีต่อมา นายรัสต์มัน (J.E. Rastmann) พ่อค้าชาวเยอรมันและเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจการของพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาแห่งเบอร์ลิน ได้ทำการค้าขายขึ้นล่องระหว่างกรุงเทพฯ กับหัวเมืองภาคเหนือ พระยาสุจริตรักษา ผู้สำเร็จราชการเมืองตาก ได้มีรายงานบันทึกกล่าวถึงพฤติกรรมของนายรัสต์มันว่า “มาครั้งใดก็ได้เที่ยวเก็บเอาพระพุทธรูปหล่อไปครั้งละร้อยสองร้อยองค์ทุกครั้งไป ถ้าเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ มิสเตอรอศแมนให้ลูกจ้างตัดเอาแต่พระเศียรไป” เมื่อนายรัสต์มันมาพบเห็นเทวรูปที่ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชรเห็นว่าเป็นที่เคารพบูชาของคนในเมืองนี้ จึงอุบายแจ้งไปยังกงสุลเยอรมันประจำกรุงเทพฯ ว่า “เป็นของที่ถูกทอดทิ้งอยู่กลางป่าแล้วถ้าตนนำไปก็จะเป็นการล้างผลาญศาสนาพราหมณ์ อันจะทำให้ศาสนาของพระพุทธเจ้าเจริญขึ้น ขอให้กงศุลฯ ขอพระราชทานพระราชานุญาติจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ” ระหว่างที่รอโปรดเกล้าฯ ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอยู่นั้นปรากฏว่านายรัสต์แมนได้ลักลอบตัดพระเศียรและพระกรของเทวรูปทั้ง 3 ที่ประดิษฐานอยู่ ณ ศาลนี้ส่งลงมายังกรุงเทพฯ ทว่ากงสุลเยอรมันไม่เห็นชอบด้วยจึงอายัดไว้ เรื่องราวดังกล่าวได้ปรากฏในพระราชหัตถเลขาซึ่งทรงมีไปยังสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ตอนหนึ่งว่า “มาบัดนี้กงศุลเยอรมันมีหนังสือขึ้นมาถึงเทวัญ ว่าอ้ายราสแมนไปขโมยเอาหัวกับแขนเทวรูปนั้น  ลงมาแล้ว แต่กงศุลพูดจาดี ไม่เห็นชอบในการที่ราสแมนทำให้ยึดเอาของที่ราสแมนเอานั้นไว้ที่ศาลกงศุล ขอให้เทวัญฤาใครลงไปดู”
 +
          ราวเดือนเมษายน พ.ศ. 2427 ระหว่างที่กรมหมื่นพิชิตปรีชากรเสด็จฯขึ้นไปเชียงใหม่ผ่านเมืองกำแพงเพชร ได้มีหนังสือกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ความตอนว่า “อนึ่งข้าพระพุทธเจ้าออกมาถึงเมืองกำแพงเพชรครั้งนี้ ได้เห็นเทวรูปพระอิศวรที่มิสเตอร์ราษแมนเอาพระเศียรไปนั้นเห็นเป็นของประหลาดงดงามมาก หล่อด้วยทองเหลืองเนื้อหนาและลวดลายวิจิตบันจงมาก พุทธเจ้าได้สั่งให้พญากำแพงเพชรนำเทวรูปทองสำฤทธที่มิสเตอราษมันเอาพระเศียรไปรูปหนึ่งกับศิลาจาฤกอักษรแผ่นหนึ่งเป็นของสำหรับกับพระมหาธาตุเมืองกำแพงเพชร แต่องค์พระมหาธาตุนั้นล้มทำลายเสียเมื่อครั้งแผ่นดินไหว มีผู้ยกเอาแผ่นศิลานี้มาทิ้งไว้ที่สเดจหน้าเมืองกำแพงเพชร ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าเป็นของโบราณ
 +
          ประหลาดควรอยู่ ณ กรุงเทพฯ จึงส่งลงมาทูลเกล้าถวาย ควรมิควรสุดแล้วแต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ขอเดชะ”  เมื่อส่วนองค์ของเทวรูปส่งลงมายังกรุงเทพฯ จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ อธิบดีกรมช่างสิบหมู่ผู้ทรงเป็นช่างหลวงนำพระเศียรและพระหัตถ์ติดเข้ากับองค์เทวรูปพระอิศวรดังเดิม ครั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จประพาสต้น ณ เมืองกำแพงเพชรระหว่างวันที่ 18-27 สิงหาคม พุทธศักราช 2449 ทรงเสด็จพระราชดำเนินมา ณ ศาลพระอีศวรเมืองกำแพงเพชรแห่งนี้ ทรงตรัสว่า “ที่นี่ ซึ่งคนเยอรมันได้มาลักรูปพระอิศวร (ที่อยู่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์) เดี๋ยวนี้ไปตามกลับมาได้ยังคงเหลือ...บัดนี้ แต่พระอุมาและพระนารายณ์ซึ่งเอาศีรษะไปเสียแล้ว” (มนต์นัทธ์, 2560)
 +
          เทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีในปัจจุบัน  ณ ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร ได้จำลองขึ้นในสมัยที่นายเชาวน์วัศ สุดลาภา (พ.ศ. 2525-2527) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนเทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์องค์จริง ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร รูปแบบของเทวรูปพระอิศวรเมืองกำแพงเพชรนี้ เป็นงานศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นที่รับอิทธิพลมาจากศิลปะเขมรแบบบายน มีอายุ  ทางโบราณคดีอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22 พระอิศวรองค์นี้ถือว่าเป็นรูปเคารพในศาสนาฮินดูที่คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชรมาอย่างยาวนาน ทั้งยังเป็นเทวรูปสัมฤทธิ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นโบราณศิลปวัตถุชั้นยอดเยี่ยมชิ้นหนึ่งของชาติและมีเพียงชิ้นเดียวในประเทศไทย
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 7 ภาพเทวรูปพระอิศวร.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 7 ภาพเทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์องค์จริง''' </p>
 +
<p align = "center"> (ที่มา : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร, 2561) </p>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:50, 22 ธันวาคม 2563

ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร

บทนำ

         การค้นพบโบราณวัตถุที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งที่เป็นหินและโลหะในเขตพื้นที่เมืองกำแพงเพชร หรือจังหวัดกำแพงเพชร โดยเฉพาะพื้นที่ 2 ฝั่งของแม่น้ำปิง แสดงถึงการมีชุมชนโบราณมาแต่ครั้งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี ที่สำคัญดินแดนแถบนี้ยังมีภูมิหลังมาแต่ครั้งประวัติศาสตร์ร่วมสมัยกับอาณาจักรสุโขทัย อยุธยา และเชียงแสนล้านนา จึงเป็นผลทำให้จังหวัดกำแพงเพชรมีความหลากหลายทางศิลปะและวัฒนธรรม อย่างไรก็ดี เมืองกำแพงเพชรในฐานะที่เป็นเมืองบริวารของอาณาจักรสุโขทัยจึงได้รับการรับรองจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปีพ.ศ. 2534 นับแต่นั้นมา
         ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร เป็นเทวสถานโบราณในศาสนาฮินดู โดยมีปรากฏเพียงแห่งเดียวในเมืองกำแพงเพชร ประมาณอายุความเก่าแก่ที่อยู่คู่เมืองกำแพงเพชรมากว่า 500 ปี  ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของศาลเยาวชนจังหวัดกำแพงเพชร มีความสูงจากตำแหน่งระดับน้ำทะเลปานกลาง 82 เมตร จัดอยู่ในกลุ่มภายในกำแพงเมืองโบราณ จากทั้ง 4 กลุ่มโบราณสถานเมืองกำแพงเพชร ซึ่งได้มีการจัดแบ่งขึ้นตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 84 ตอนที่ 51 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511  ได้แก่ 
         กลุ่มที่ 1 กลุ่มภายในกำแพงเมือง มีโบราณสถาน 14 แห่ง เนื้อที่ 503 ไร่ 
         กลุ่มที่ 2 บริเวณอรัญญิกโบราณสถานทางด้านทิศเหนือนอกกำแพงเมือง มีโบราณสถาน 40 แห่ง   เนื้อที่ 1,611 ไร่
         กลุ่มที่ 3 บริเวณนอกเมืองด้านทิศตะวันออกมีโบราณสถาน 15 แห่ง เนื้อที่ 16 ไร่ 3 งาน
         กลุ่มที่ 4 บริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง(เมืองนครชุม) มีโบราณสถาน 12 แห่ง เนื้อที่ 30 ไร่ 4 งาน 
         เอกสารนำชมอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ได้กล่าวถึงศาลพระอิศวรในปัจจุบันว่า ศาลพระอิศวรแห่งนี้ ได้รับการบูรณะพัฒนาฟื้นฟูปรับปรุงขุดแต่งพร้อมกลุ่มโบราณาสถานเมืองกำแพงเพชร โดยได้เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในสมัยของรัฐบาลจอมพลถนอม  กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นการพัฒนาไปพร้อม ๆ กับเมืองสุโขทัยและศรีสัชนาลัย ในส่วนของเมืองกำแพงเพชรได้ดำเนินการฟื้นฟูขึ้นจำนวนทั้งสิ้น 18 แห่ง ได้แก่ ศาลพระอิศวร วัดพระธาตุ วัดพระแก้ว พระราชวัง(สระมน) ป้อมเพชร ป้อมเจ้าจันทร์ ป้อมเจ้าอินทร์ ป้อมมุมเมือง ป้อมวัดช้าง ป้อมทุ่งเศรษฐี วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ วัดช้างรอบ วัดอาวาสใหญ่ วัดกะโลทัย วัดซุ้มกอ วัดช้าง และวัดอาวาสน้อย การพัฒนานี้ได้ดำเนินการต่อเนื่องเรื่อยมาโดยตลอดจนถึง ปี พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรได้บรรจุงานบูรณะปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2526) โดยใช้ชื่อโครงการว่า “โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร” และต่อเนื่องมาจนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2535) กระทั่งเสร็จสิ้นและกรมศิลปากรได้ดำเนินการเปิดอุทยานประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน 2534 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในพิธี (สถาพร เที่ยงธรรม, 2557 หน้า 169-170)

คำสำคัญ : ศาลพระอิศวร, เมืองกำแพงเพชร

ภาพที่ 1 ศาลพระอิศวร.jpg

ภาพที่ 1 ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร

การกำเนิดศิลปะและวัฒนธรรมในเมืองกำแพงเพชร

         เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญในหลายยุคหลายสมัย เพราะเนื่องจากมีการค้นพบหลักฐานการมีอยู่ของชุมชนมนุษย์ นับแต่ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นต้นมาจนถึงยุคทวารวดี กระทั่งถึงยุคประวัติศาสตร์ร่วมสมัยกับอาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา และเชียงแสนล้านนา โดยเมืองกำแพงเพชรในอดีตนั้น ถือว่าเป็นเมืองบริวารของอาณาจักรสุโขทัยก่อนที่จะขึ้นตรงกับอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาในภายหลัง ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองเช่นนี้ จึงย่อมทำเกิดการถ่ายเทรูปแบบของวัฒนธรรมและระบบความเชื่อเข้าหากัน ตัวอย่างเช่น วัดเจดีย์กลางทุ่งที่มีลักษณะแบบเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์หรือทรงดอกบัวตูม อันเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยแท้ โดยเมื่อเมืองกำแพงเพชรเป็นบริวารสำคัญถือเป็นเมืองหน้าด่านกันชน จึงได้สร้างเจดีย์ที่มีลักษณะเฉพาะตามรูปแบบศิลปะของแคว้นสุโทขัยอันเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรก็เพื่อหวังแสดงถึงขอบเขตอำนาจ ต่อมาเมื่อเมืองกำแพงเพชรเป็นส่วนหนึ่งในอำนาจปกครองของแคว้นอยุธยาในสมัยอยุธยายุคต้น จึงได้มีการสร้างพระนั่งพระนอนตาม พุทธลักษณะของศิลปะอยุธยายุคต้น (แบบอู่ทอง) ขึ้นที่วัดพระแก้วอันเป็นวัดสำคัญในเขตพระราชวังโบราณก็ด้วยเหตุผลเดียวกันนั่นเอง แม้ว่าจะเป็นการบูรณปฏิสังขรณ์ก็ตาม แต่ก็เป็นการยึดถือตามผู้นำในยุคนั้น ๆ เนื่องจากถือว่าผู้นำ คือผู้ที่มีอำนาจสูงสุด                       ในการปกครองดูแลและควบคุมทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งผู้คนและบ้านเมือง อำนาจนี้ถือว่าเป็นอำนาจที่ศักดิ์สิทธิ์ตามระบบความเชื่อที่สั่งสมมา หลักฐานที่เป็นสิ่งยืนยันสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ล้วนพบได้อยู่โดยทั่วไปอันเป็นซากโบราณสถานและวัตถุ มีทั้งที่เป็นขนาดเล็ก กลาง ถึงใหญ่โตกินพื้นที่กว้างขวาง โดยมีปรากฏอยู่ทั้งในเมือง นอกเมือง มีทั้งที่เสื่อมสภาพตามกาลเวลาและมีทั้งที่ได้รับการพัฒนาฟื้นฟูให้กลับมาคงสภาพที่ใกล้เคียงดังเดิม บางแห่งก็ยังคงมีการใช้เพื่อประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อที่ส่งต่อ ๆ กันมาด้วยเช่นกัน
         อย่างไรก็ตาม ระบบความเชื่อ ย่อมรวมถึงศาสนา และความเชื่อในลัทธิต่าง ๆ ศาสนาในความหมายกว้างๆ คือการบวงสรวงบูชาหรือการสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างมนุษย์กับอำนาจศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ซึ่งมนุษย์เชื่อว่าสามารถควบคุมหรือมีอิทธิพลเหนือวิถีทางของธรรมชาติและวิถีชีวิตของมนุษย์ ศาสนาตามทัศนะทางมานุษยวิทยาจึงบ่งบอกนัยถึงการขยายความสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์ออกไปสู่  ความสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีอำนาจเหนือมนุษย์และธรรมชาติ ดังนั้นศาสนาและความเชื่อทางศาสนาจึงเป็นสิ่งสากลที่เราพบเห็นได้ในทุกสังคมตลอดมาทุกยุคทุกสมัย (ยศ สันตสมบัติ, 2537 หน้า 214)
         ในสมัยโบราณ มนุษย์ดำเนินชีวิตท่ามกลางปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าใจได้ ไม่ว่าจะเป็นความมืด ความสว่าง ความร้อน ความหนาว พายุฝน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ภาวะเกิด แก่ เจ็บ ตาย สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้มนุษย์เกิดความกลัวและเชื่อว่าต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอำนาจลี้ลับอยู่เหนือปรากฏการณ์ เหล่านี้ ซึ่งสามารถที่จะบันดาลคุณและโทษแก่มนุษย์ได้ มนุษย์จึงพยายามหาวิธีการอ้อนวอนเอาใจหรือ ต่อรองกับ อำนาจลึกลับด้วยการบูชา บนบานหรือเซ่นไหว้  จนกระทั่งมีพัฒนาการรูปแบบความเชื่อด้วย หวังให้ได้ใกล้ชิดอำนาจเหล่านี้ ด้วยการสร้างรูปเคารพโดยจำลองเอาลักษณะทางกายภาพของมนุษย์เป็นต้นแบบด้วยการลดทอนเพิ่มเติมรายละเอียดเข้าไปให้แลดูทั้งมีความเมตตา ความเข้มแข็ง และความงดงามเปี่ยมไปด้วยพลังอำนาจอันเป็นไปแบบอุดมติ  ศาสนาพราหมณ์ถือว่าเป็นศาสนาที่มีบทบาทในดินแดนของไทยจากเหนือจรดใต้ ซึ่งได้เข้ามาปะปนอยู่ในคติความเชื่อและวัฒนธรรมไทยหลายรูปแบบโดยมีมาก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนาในเมืองไทย 
         พระครูวามเทพมุนี (ชวิน รังสีพราหมณกุล) ได้ให้สัมภาษณ์วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 ไว้ว่า มีเทพเจ้าหลายองค์ในศาสนาพราหมณ์ที่กลายมาเป็นที่เคารพนับถือของชาวไทย เช่น พระพรหมที่คนไทยนิยมไปกราบไหว้บนบาน พระอิศวร พระพิฆเนศวร เทพแห่งศิลปะ หรือพระอินทร์ ซึ่งปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากคุณลักษณะเฉพาะของเทพแต่ละองค์ ตามตำนานเทวกำเนิดแล้ว  ก็จะพบว่าอุปนิสัยของเทพเหล่านี้ สะท้อนถึงภาวะหมุนเวียนของโลก โดยเริ่มจากพระอิศวรซึ่งมักให้พรคนที่บำเพ็ญตบะแก่กล้า ผู้ได้รับพรก็มักลืมตัวใช้อิทธิฤทธิ์ ก่อความวุ่นวาย ความทุกข์ร้อนแก่สังคม จนพระนารายณ์ต้องลงมาปราบด้วยวิธีล้างโลกด้วยไฟประลัยกัลป์ ต่อจากนั้นพระพรหมก็จะสร้างโลกขึ้นใหม่หมุนเวียนไปเช่นนี้
         ประจักษ์ สายแสง ได้กล่าวถึงเมืองกำแพงเพชร ในรายงานการสัมมนา เรื่อง กำแพงเพชรอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ไว้ว่า “คนกำแพงเพชรดั้งเดิมนั้น มีความเชื่อที่หลากหลายทั้งทางพุทธ ฮินดู และผี ไม่ต่างไปจากผู้คนในภูมิภาคอื่น ๆ เช่น คนในภาคอีสานจะเชื่อในเรื่องปู่สังกะสา ย่าสังกะสี ปู่อึ้ม ย่าเผิ้ง ปู่เยอ ย่าเยอ ผีปู่ตา ผีแถน ส่วนผู้คนทางล้านนาจะมีความเชื่อเกี่ยวกับ ผีปู่แสะ ย่าแสะ ขณะเดียวกันคนกำแพงเพชรดั้งเดิม จะมีพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น รดน้ำพระอีศวรในวันสงกรานต์ การผูกข้อมือลูกหลาน ผูกเครื่องใช้ หรือแม้แต่สัตว์เลี้ยง เพื่อการให้พรในวันพระยาวัน ก็ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน” (วิทยาลัยครูกำแพงเพชร, 2533 หน้า 271)
ภาพที่ 2 ศาลพระอิศวร.jpg

ภาพที่ 2 ภาพพระอิศวรพระพิฆเนศ และศิวลึงค์ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีของศาล

ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร

         ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร ตั้งอยู่ในตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ ละติจูด 16°29’24’N ลองจิจูด 99°31’48’E มีหน่วยงานที่ดูแลรักษา ได้แก่	กรมศิลปากรและหน่วยงานยูเนสโก มีสถานะการขึ้นทะเบียน ดังนี้
         1. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478
         2. ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม 2480
         3. ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511
         4. ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (UNESCO) เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534
         (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), ม.ป.ป.)
ภาพที่ 3 ศาลพระอิศวร.jpg

ภาพที่ 3 ศาลพระอิศวรในปัจจุบัน

ภาพที่ 4 ศาลพระอิศวร.jpg

ภาพที่ 4 ศาลพระอิศวรในปัจจุบัน

         ศาลพระอิศวรเป็นโบราณสถานที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน เป็นศาลหรือเทวาลัยในศาสนาฮินดู ตั้งอยู่ใน เขตกำแพงเมืองโบราณกำแพงเพชรและอยู่ด้านทิศตะวันออกของเขตพระราชวังโบราณ อันเป็นพื้นที่ส่วนทางทิศใต้ตอนกลางของเมือง ปัจจุบันอยู่ในเขตตัวอำเภอเมืองกำแพงเพชรและเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ตัวศาลในปัจจุบันได้ถูกบูรณะปรับแต่งให้ใกล้เคียงกับแบบสัณฐานเดิมมากที่สุด ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง ยกพื้นสูง 1.5 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เครื่องบน สันนิษฐานว่า เครื่องบนน่าจะเป็นไม้เนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่มากมาย 
         พิทยา คำเด่นงาม ได้ร่วมกับกรมศิลปากรทำการศึกษาเมื่อ ปีพ.ศ. 2509 เพื่อบูรณะปรับแต่งด้วยการทำผังจากการขุดแต่งพบว่าศาลพระอีศวรเป็นอาคารผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าก่อด้วยศิลาแลง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ฐานชุกชีด้านบนเป็นแท่นตั้งเทวรูป จากหลักฐานพบว่าเคยเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรพระนารายณ์และพระอุมา สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา ตลอดจนทำการบูรณะและเสริมความมั่นคงศาลพระอิศวรและปรับปรุงภูมิทัศน์โดยรอบ จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานว่ามีการใช้พื้นที่ศาลพระอิศวรช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 - 23 สมัยอยุธยาตอนกลางถึงตอนปลาย (ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), ม.ป.ป.)
ภาพที่ 5 จารึกฐานพระอิศวร.jpg

ภาพที่ 5 จารึกฐานพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร

(ที่มา : พราหมณ์ ชาคริต, ม.ป.ป.)

         การพบข้อความจารึกที่บริเวณฐานเทวรูปพระอีศวรเมืองกำแพงเพชร ส่งผลให้เทวรูปนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อการศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์กำแพงเพชร สุโขทัย อยุธยา เนื่องจากจารึกดังกล่าวเป็นการบันทึกเรื่องราวการสร้างและเหตุการณ์ต่าง ๆ ขณะช่วงเวลานั้น มีทั้งสิ้น 3 บรรทัด โดยเฉพาะในบรรทัดที่ 1 ซึ่งระบุตรงกับปีพุทธศักราช 2053 ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ ต่อมาจารึกทั้ง 3 บรรทัดนี้ ได้ถูกแปลโดย ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ (George Coedes) นักวิชาการชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เดินทางมารับราชการในตำแหน่งบรรณารักษ์ใหญ่ประจำหอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อพ.ศ. 2461 ต่อมาเปลี่ยนเป็นหอสมุดแห่งชาติ ทำให้ทราบถึงกรณียกิจที่เจ้าเมืองขณะนั้นที่ได้ดูทุกข์สุขของผู้คนในเมืองของตนอย่างไร ซึ่งได้ความว่า “ศักราช 1432 มะเมียนักษัตร อาทิตยพารเดือน 6 ขึ้น 14 ค่ำ ได้หัสฤกษ์เพลารุ่งแล้ว 2 นาฬิกา จึงเจ้าพรญาศรีธรรมาโศกราชประดิษฐานพระอีศวรเป็นเจ้านี้ไว้ให้ครองสัตว์สี่ตีนสองตีนในเมืองกำแพงเพชรแลช่วยเลิกศาสนาพุทธศาสตร์แลไสยศาสตร์แลพระเทพกรรมมิให้หม่นหมองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว แลซ่อมแปลงพระมหาธาตุแลวัดบริพารในเมือง นอกเมืองและที่แดนเหย้าเรือน ถนนทลาอันเป็นตรธานไปเถิงบางพาน ขุดแม่ไตรบางพร้อ อนึ่งย่อมขายวัวไปแก่ละว้าอันจะขาย ดุจก่อนนั้น ก็ห้ามมิให้ขาย อนึ่งเมื่อทำนาไซร้ย่อมข้าวพืช ข้าวในนานั้นปลูกเอง มิได้เอาข้าวในยุ้งไปหว่านไปดำทั้งหลาย อนึ่งท่อปู่พญาร่วงทำเอาน้ำไปเถิงบางพานนั้น ก็ถมหายสิ้นและเขาย่อมทำนาทางฟ้าแลหาท่อนั้นพบ กระทำท่อเอาน้ำเข้าไปเลี้ยงนา ให้เป็นนาเหมือนนาฝาย มิได้เป็นทางฟ้า อันทำทั้งนี้ถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จบพิตรพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์” 
         ศักราชที่ปรากฏข้างต้นเป็นมหาศักราช ตรงกับพุทธศักราช 2053 จารึกนี้ให้ข้อมูลประวัติศาสตร์ดังนี้ เมืองกำแพงเพชรสมัยนั้นมีผู้ปกครองเมืองนามว่า พรญาศรีธรรมาโศกราช และเป็นผู้บัญชาให้สร้างปฏิมากรรมพระอีศวรองค์นี้ขึ้น เพื่อให้เป็นเทพคุ้มครองประชาชนและสิ่งมีชีวิตทั้งปวงในเมืองกำแพงเพชร ทั้งกล่าวถึงการฟื้นฟูลัทธิศาสนาที่ประชาชนเชื่อถือในเมืองกำแพงเพชรในเวลานั้น อันได้แก่ พระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่นับถือเทพเจ้าและไสยศาตร์ซึ่งหมายถึงมนตรยานหรือลัทธิตันตระและการฟื้นฟูสิ่งก่อสร้างเนื่องในศาสนา กล่าวถึง การฟื้นฟูระบบชลประทานจากที่เคยมีการวางรากฐานไว้แล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย เพื่อสามารถทำนาปลูกข้าวได้ดีกว่าเดิม โดยไม่ต้องทำนาโดยอาศัยเพียงน้ำฝนตามฤดูกาลเท่านั้น และเมื่อฟื้นฟูระบบชลประทานแล้วย่อมต้องใช้วัวในการไถนา จึงประกาศไม่ให้ขายวัวให้กับพวกละว้าซึ่งน่าจะหมายถึงพวกลัวะ ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ตามหุบเขาในเขตจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่นอกจากนั้นยังกล่าวถึงการสร้างพระอีศวรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลให้กับพระเจ้าอยู่หัว 2 พระองค์ ซึ่งน่าจะหมายถึงพระเจ้าแผ่นดินที่ปกครองกรุงศรีอยุธยาในเวลานั้นองค์หนึ่ง อีกองค์หนึ่งอาจเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ล่วงลับไปแล้วก่อนหน้า   องค์ปัจจุบัน หากสันนิษฐานเช่นนี้ ก็น่าจะหมายถึง สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (ครองราชย์ พุทธศักราช 2034 ถึง 2072) และ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (ครองราชย์ พุทธศักราช 2031 ถึง 2035 ) ตามลำดับ อนึ่งอาจวิเคราะห์ว่า องค์ที่ 2 อาจหมายถึง ผู้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือซึ่งรวมถึงเมืองกำแพงเพชรด้วย หรือเมืองลูกหลวงของกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีเมืองหลักอยู่ที่เมืองพิษณุโลกในสมัยนั้น คือ สมเด็จพระอาทิตยเจ้า ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์โตในสมเด็จ พระรามาธิบดีที่ 2 และโปรดฯให้ไปครองเมืองพิษณุโลกซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงที่เคยเป็นราชธานีของกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (มนต์นัทธ์, 2560)
         ต่อมาจารึกนี้ได้ขึ้นทะเบียนบัญชีโบราณวัตถุ ดังนี้  (1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “กพ. 2” (2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 13 จารึกบนฐานพระอิศวรจังหวัดกำแพงเพชร” ส่วนการเรียกพระนาม “อีศวระ” ปัจจุบันคนไทยได้เขียนผิดเพี้ยนไปเป็น “อิศวร” ซึ่งไม่ถูกต้อง การค้นพบจารึกวัดป่ามะม่วง พ.ศ.1904 อันเป็นหลักฐานในสมัยสุโขทัย ทำให้ทราบว่าคนสุโขทัยสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เรียกพระศิวะว่า พระอิศวรและพระมเหศวร (จาก) พระสทาศีพ (มาจาก พระสทาศิวะ) 
         ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชรแต่เดิมนั้น พบว่าได้มีการประดิษฐานปฏิมากรรมเทวรูปสัมฤทธิ์ที่สำคัญ จำนวน 3 องค์ ได้แก่ เทวรูปพระอิศวรเทวรูปพระนารายณ์ และเทวรูปพระแม่อุมาเทวี ทั้งนี้ปฏิมากรรมเทวรูปสัมฤทธิ์พระอิศวรเมืองกำแพงเพชร มีประวัติการค้นพบการสูญหายและการได้กลับคืนมาในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จนกระทั่งได้นำกลับคืนมาสู่เมืองกำแพงเพชร เรื่องราวเหล่านี้ได้เริ่มต้นขึ้นโดยเมื่อครั้งนายแม็คคาธี นายช่างสำรวจทำแผนที่ฯ มาสำรวจทำแผนที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2425 ได้มีบันทึกการพบเห็นเทวรูปสัมฤทธิ์พระอิศวร  ณ ศาลพระอิศวรว่า “ตั้งอยู่ในกลางเมืองห่างบ้านพระยากำแพงเพชรเดินสักสิบมินิตเท่านั้น เทวรูปนี้ว่าเป็นที่คนนับถือว่าศักดิสิทธิ เป็นที่บูชาเส้นสรวงกันอยู่
ภาพที่ 6 ภาพเทวรูป.gif

ภาพที่ 6 ภาพเทวรูปและเทวสตรีที่ศาลพระอีศวรเมืองกำแพงเพชร ก่อนถูกเคลื่อนย้ายและบูรณะ

(ที่มา : สุขใจดอทคอม, 2556)

         อีก 2 ปีต่อมา นายรัสต์มัน (J.E. Rastmann) พ่อค้าชาวเยอรมันและเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจการของพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาแห่งเบอร์ลิน ได้ทำการค้าขายขึ้นล่องระหว่างกรุงเทพฯ กับหัวเมืองภาคเหนือ พระยาสุจริตรักษา ผู้สำเร็จราชการเมืองตาก ได้มีรายงานบันทึกกล่าวถึงพฤติกรรมของนายรัสต์มันว่า “มาครั้งใดก็ได้เที่ยวเก็บเอาพระพุทธรูปหล่อไปครั้งละร้อยสองร้อยองค์ทุกครั้งไป ถ้าเป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ มิสเตอรอศแมนให้ลูกจ้างตัดเอาแต่พระเศียรไป” เมื่อนายรัสต์มันมาพบเห็นเทวรูปที่ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชรเห็นว่าเป็นที่เคารพบูชาของคนในเมืองนี้ จึงอุบายแจ้งไปยังกงสุลเยอรมันประจำกรุงเทพฯ ว่า “เป็นของที่ถูกทอดทิ้งอยู่กลางป่าแล้วถ้าตนนำไปก็จะเป็นการล้างผลาญศาสนาพราหมณ์ อันจะทำให้ศาสนาของพระพุทธเจ้าเจริญขึ้น ขอให้กงศุลฯ ขอพระราชทานพระราชานุญาติจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ” ระหว่างที่รอโปรดเกล้าฯ ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงอยู่นั้นปรากฏว่านายรัสต์แมนได้ลักลอบตัดพระเศียรและพระกรของเทวรูปทั้ง 3 ที่ประดิษฐานอยู่ ณ ศาลนี้ส่งลงมายังกรุงเทพฯ ทว่ากงสุลเยอรมันไม่เห็นชอบด้วยจึงอายัดไว้ เรื่องราวดังกล่าวได้ปรากฏในพระราชหัตถเลขาซึ่งทรงมีไปยังสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ตอนหนึ่งว่า “มาบัดนี้กงศุลเยอรมันมีหนังสือขึ้นมาถึงเทวัญ ว่าอ้ายราสแมนไปขโมยเอาหัวกับแขนเทวรูปนั้น  ลงมาแล้ว แต่กงศุลพูดจาดี ไม่เห็นชอบในการที่ราสแมนทำให้ยึดเอาของที่ราสแมนเอานั้นไว้ที่ศาลกงศุล ขอให้เทวัญฤาใครลงไปดู” 
         ราวเดือนเมษายน พ.ศ. 2427 ระหว่างที่กรมหมื่นพิชิตปรีชากรเสด็จฯขึ้นไปเชียงใหม่ผ่านเมืองกำแพงเพชร ได้มีหนังสือกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ความตอนว่า “อนึ่งข้าพระพุทธเจ้าออกมาถึงเมืองกำแพงเพชรครั้งนี้ ได้เห็นเทวรูปพระอิศวรที่มิสเตอร์ราษแมนเอาพระเศียรไปนั้นเห็นเป็นของประหลาดงดงามมาก หล่อด้วยทองเหลืองเนื้อหนาและลวดลายวิจิตบันจงมาก พุทธเจ้าได้สั่งให้พญากำแพงเพชรนำเทวรูปทองสำฤทธที่มิสเตอราษมันเอาพระเศียรไปรูปหนึ่งกับศิลาจาฤกอักษรแผ่นหนึ่งเป็นของสำหรับกับพระมหาธาตุเมืองกำแพงเพชร แต่องค์พระมหาธาตุนั้นล้มทำลายเสียเมื่อครั้งแผ่นดินไหว มีผู้ยกเอาแผ่นศิลานี้มาทิ้งไว้ที่สเดจหน้าเมืองกำแพงเพชร ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าเป็นของโบราณ
         ประหลาดควรอยู่ ณ กรุงเทพฯ จึงส่งลงมาทูลเกล้าถวาย ควรมิควรสุดแล้วแต่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ขอเดชะ”  เมื่อส่วนองค์ของเทวรูปส่งลงมายังกรุงเทพฯ จึงได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ อธิบดีกรมช่างสิบหมู่ผู้ทรงเป็นช่างหลวงนำพระเศียรและพระหัตถ์ติดเข้ากับองค์เทวรูปพระอิศวรดังเดิม ครั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จประพาสต้น ณ เมืองกำแพงเพชรระหว่างวันที่ 18-27 สิงหาคม พุทธศักราช 2449 ทรงเสด็จพระราชดำเนินมา ณ ศาลพระอีศวรเมืองกำแพงเพชรแห่งนี้ ทรงตรัสว่า “ที่นี่ ซึ่งคนเยอรมันได้มาลักรูปพระอิศวร (ที่อยู่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์) เดี๋ยวนี้ไปตามกลับมาได้ยังคงเหลือ...บัดนี้ แต่พระอุมาและพระนารายณ์ซึ่งเอาศีรษะไปเสียแล้ว” (มนต์นัทธ์, 2560)
         เทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์ที่ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีในปัจจุบัน  ณ ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร ได้จำลองขึ้นในสมัยที่นายเชาวน์วัศ สุดลาภา (พ.ศ. 2525-2527) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ส่วนเทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์องค์จริง ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร รูปแบบของเทวรูปพระอิศวรเมืองกำแพงเพชรนี้ เป็นงานศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นที่รับอิทธิพลมาจากศิลปะเขมรแบบบายน มีอายุ  ทางโบราณคดีอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-22 พระอิศวรองค์นี้ถือว่าเป็นรูปเคารพในศาสนาฮินดูที่คู่บ้านคู่เมืองกำแพงเพชรมาอย่างยาวนาน ทั้งยังเป็นเทวรูปสัมฤทธิ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นโบราณศิลปวัตถุชั้นยอดเยี่ยมชิ้นหนึ่งของชาติและมีเพียงชิ้นเดียวในประเทศไทย
ภาพที่ 7 ภาพเทวรูปพระอิศวร.jpg

ภาพที่ 7 ภาพเทวรูปพระอิศวรสัมฤทธิ์องค์จริง

(ที่มา : สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร, 2561)