ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหาอภิชาติ นักพัฒนาประเพณีชาวอีสานล้านช้าง แห่งลุ่มแม่น้ำปิง"
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย "=='''บทนำ'''== พระมหาอภิชาต กิตฺติวรญฺญู เจ้าอาวาสวัดทุ่...") |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 10: | แถว 10: | ||
พ.ศ.2545 พุทธศาสตร์บัณฑิต (พธ.บ) สาขา รัฐศาสตร์ (เกียรตินิยม) | พ.ศ.2545 พุทธศาสตร์บัณฑิต (พธ.บ) สาขา รัฐศาสตร์ (เกียรตินิยม) | ||
จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย | จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย | ||
− | + | พ.ศ.2546 ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู (ปวค.) จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย | |
พ.ศ.2549 ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขา พัฒนาสังคม จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก (พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู, การสัมภาษณ์, 23 สิงหาคม 2564) | พ.ศ.2549 ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขา พัฒนาสังคม จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก (พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู, การสัมภาษณ์, 23 สิงหาคม 2564) | ||
สรุปได้ว่า พระมหาอภิชาติ มีชื่อเดิมว่าอภิชาติ ลาพันนา เกิดวันที่ 7 มกราคม 2564 บ้านท่ามะเดื่อ ตำบลท่ากระเสริม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นคนชอบในพระพุทธศาสนา เริ่มบวชเณรและได้เป็นมหาตั้งแต่อายุ 14 ปี พออายุ 17 ปี ได้ไปเรียนที่จังหวัดแพร่ พออายุครบ 21 ปี ในวันที่ 1 เมษายน 2543 ได้อุปสมบทเป็นพระ โดยพระมหาอภิชาติ จบปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย สาขารัฐศาสตร์ และระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพครู พ.ศ.2547 เรียนปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยนเรศวร และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งสนุ่น ในปี 2548 เนื่องจากเจ้าอาวาสรูปเดิมมรณภาพ ทำให้พระมหาอภิชาตเป็นพระที่มีอายุน้อยที่สุดในการเป็นเจ้าอาวาส ดังภาพที่ 1 | สรุปได้ว่า พระมหาอภิชาติ มีชื่อเดิมว่าอภิชาติ ลาพันนา เกิดวันที่ 7 มกราคม 2564 บ้านท่ามะเดื่อ ตำบลท่ากระเสริม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นคนชอบในพระพุทธศาสนา เริ่มบวชเณรและได้เป็นมหาตั้งแต่อายุ 14 ปี พออายุ 17 ปี ได้ไปเรียนที่จังหวัดแพร่ พออายุครบ 21 ปี ในวันที่ 1 เมษายน 2543 ได้อุปสมบทเป็นพระ โดยพระมหาอภิชาติ จบปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย สาขารัฐศาสตร์ และระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพครู พ.ศ.2547 เรียนปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยนเรศวร และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งสนุ่น ในปี 2548 เนื่องจากเจ้าอาวาสรูปเดิมมรณภาพ ทำให้พระมหาอภิชาตเป็นพระที่มีอายุน้อยที่สุดในการเป็นเจ้าอาวาส ดังภาพที่ 1 | ||
แถว 24: | แถว 24: | ||
[[ไฟล์:ภาพที่ 3 พระธาตุข้าวเปลือก2.jpg|400px|thumb|center]] | [[ไฟล์:ภาพที่ 3 พระธาตุข้าวเปลือก2.jpg|400px|thumb|center]] | ||
<p align = "center"> '''ภาพที่ 3''' พระธาตุข้าวเปลือก (วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม, 2564)</p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 3''' พระธาตุข้าวเปลือก (วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม, 2564)</p> | ||
+ | สร้างนาบุญ วัดมีที่นาเก่าอยู่แล้วที่ทำนา แต่ให้ชาวบ้านเช่า เมื่อพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สวรรคต จึงมีการสวดอภิธรรมทุกคืน ๆ และได้เงินจากที่ชาวบ้านร่วมกันถวายได้มาประมาณ 1 แสนกว่าบาท จึงนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนานาของวัดเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นโคกหนองนาโมเดล พอได้ออกสื่อที่นาจึงดังกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นจุดเช็คอิน และเป็นแลนมาร์ค ที่บึงสามัคคีเป็นเมืองไม่มีป่าเขาหรือน้ำตกอะไรอย่างเรามีแต่ทุ่งนา ที่เป็นทุ่งนาที่ทำได้ทั้งปี ถ้าเป็นจังหวัดอื่นจะมีข้าวแค่ฤดูเดียวเท่านั้นที่จะได้เห็น ถ้าไปหน้าแล้งจะไม่มีข้าวให้คนดูแล้วก็จะเป็นสะพานธรรมดาแต่นาบุญจะมีข้าวให้ดูทั้งปีเพราะที่นี้ทำนาได้ปีละ 3 ครั้ง เพราะฉะนั้นการทำบุญ เอาจุดด้อยมาเป็นจุดเด่น ที่อื่นไม่มีแบบเราเพราะเราอุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำตลอด ทั้ง 3 ฤดูกาลตลอดทั้งปี ก็เลยกลายเป็นที่ท่องเที่ยวที่เช็คอินที่สวยงามขึ้นมา (พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู, การสัมภาษณ์, 23 สิงหาคม 2564) | ||
+ | ผู้เขียนสรุปได้ว่า วัดมีพื้นที่นาและอยากทำโคกหนองนาโมเดล และเป็นช่วงที่พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สวรรคต จึงมีการสวดอภิธรรมทุกคืน ๆ และได้เงินจากที่ชาวบ้านร่วมกันถวายได้มาประมาณ 1 แสนกว่าบาท ก็เลยเอาเงินส่วนนี้ไปพัฒนา และกลายเป็นข่าวจึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของวัดทุ่งสนุ่น ดังภาพที่ 4-5 | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 4 นาบุญ.jpg|400px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 4''' นาบุญ (นาบุญวัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม, 2561) </p> | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 5 นาบุญ2.jpg|400px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 5''' นาบุญ (นาบุญวัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม, 2563) </p> | ||
+ | โครงการต้นกล้าศาสน์ศิลป์ พระอาจารย์ได้ตั้งมา ในปีพ.ศ.2560 โดยขอความร่วมมือจากนักเรียนโรงเรียนระหานส่งครูหรือนักเรียนมาสอนเด็กก็เลยพัฒนามาเรื่อย ๆ จนมาในปี พ.ศ.2561-2562 ประมาณ 3 ปีที่แล้วก็เลยไปคุยกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรกับ ผศ.ดร.พธูรำไพ ประภัสสร ก็เลยไปประชุมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏราชภัฏกำแพงเพชรและสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ว่ามีเด็กที่เรียนพิเศษที่วัดอยู่แล้ว อยากให้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏราชภัฏกำแพงเพชรได้มาสอนพื้นฐาน ผศ.ดร.พธูรำไพ ประภัสสร ก็ได้พาอาจารย์อนุลักษณ์ อาสาสู้ ได้สอนพื้นฐานได้หนึ่งเทอมทุกวันอาทิตย์ เด็กก็ได้เรียนภาษาจีน จะมีน้อง ๆ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชรมาสอนและก็จะได้เรียนโปงลางดนตรีพื้นบ้าน กลองยาวพอปูพื้นฐานได้แล้ว ในปีถัดมาไม่มีงบประมาณมา ชาวบ้านเลยหางบประมาณมาสอนกลองยาวโปงลางของจังหวัดกาฬสินธุ์มาสอน จึงกลายเป็นวงโปงลางเยาวชน อายุไม่เกิน 15 ปี มีวงเดียวในจังหวัดกำแพงเพชร ตอนนี้มีโรคโควิดยังคิดอะไรไม่ออก ที่ตั้งเป้าหมายไว้คือ ทางวัดทำตลาดวัฒนธรรมหรือถนนคนเดินวัดทุ่งสนุ่น (แต่ติดที่มีโรคโควิดเปิดไม่ได้) ทำแบบมีบูธสินค้ามาออกงานของดีแต่ละอำเภอหรือของแต่ละหมู่บ้าน วันศุกร์-เสาร์ โดยที่วัดทุ่งสนุ่นมีจุดขายบริเวณวัดและก็มีจุดตรงถนนตอนกลางคืนจะมีคนมากราบพระ มีของกินเทศกาลและจะมีการแสดงวัฒนธรรมประเพณีให้กับนักท่องเที่ยวที่มางาน (พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู, การสัมภาษณ์, 23 สิงหาคม 2564) | ||
+ | ผู้เขียนสรุปได้ว่า โครงการต้นกล้าศาสน์ศิลป์ การนำเด็กและเยาวชนจากโรงเรียนระหานมาเรียนที่วัด ที่มีทั้งการเรียนธรรมและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ทางจัดขึ้นให้เด็กได้เรียนรู้ธรรมประเพณีต่าง ๆ เช่น การเรียนคนตรีเกี่ยวกับโปงราง จนกลายเป็นวงโปงรางในจังหวัดกำแพงเพชรที่มีอายุน้อยที่สุด ดังภาพที่ 6 | ||
+ | [[ไฟล์:ภาพที่ 6 เด็กโครงการต้นกล้าศาสน์ศิลป์2.jpg|400px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 6''' เด็กโครงการต้นกล้าศาสน์ศิลป์ (วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม, 2563) </p> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:42, 12 เมษายน 2565
เนื้อหา
บทนำ
พระมหาอภิชาต กิตฺติวรญฺญู เจ้าอาวาสวัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม เป็นนักพัฒนาในเรื่องของประเพณีวัฒนธรรมของชาวอีสานล้านช้าง ที่รื้อฟื้นประเพณีเก่าแก่ที่หายไปกลับมาบูรณะใหม่ให้กับเยาวชนรุ่นหลังที่กำลังหลงลืมประเพณีวัฒนธรรมของตนเองได้รู้จักสืบทอดต่อไป และเป็นผู้ที่ริเริ่มโครงการต่างๆให้กับวัดทุ่งสนุ่นรัตนารามจนเป็นที่รู้จักในนามวัดทุ่งสนุ่น วัดของคนมีบุญ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาของพระมหาอภิชาติ 2) ผลงานที่สร้างชื่อเสียงของพระมหาอภิชาติ 3) ผลงานเกียรติคุณของพระมหาอภิชาติและ 4) แนวทางการปฏิบัติของพระมหาอภิชาติ
คำสำคัญ: พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู, พระมหาอภิชาติ, วัดทุ่งสนุ่น, วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม, บุญผะเหวดวัดทุ่งสนุ่น
ประวัติความเป็นมาของพระมหาอภิชาติ
พระมหาอภิชาตมีชื่อเดิม คือ อภิชาติ นามสกุล ลาดพันนา ท่านเกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ.2523 ที่บ้านท่ามะเดื่อ ต.ท่ากระเสริม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ในวัยเด็กเป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก คือ ปรารถนาจะบวชมาโดยตลอด มีความพิเศษกว่าเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน คือ สนใจพระพุทธศาสนามาก ชอบวาดรูปพระพุทธเจ้า ชอบปั้นพระพุทธรูปดินเหนียวเมื่อเวลาไปเลี้ยงควายตามท้องนาบ้าง สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น แปลได้ตั้งแต่อายุ 9 ขวบ เมื่อจบชั้น ป.6 แล้ว เลยบวชสามเณรภาคฤดูร้อน ณ วัดอุทุมพร บ้านท่ามะเดื่อ ภายหลังเมื่อทราบผลสอบว่า ท่านสอบติดโรงเรียนมัธยมประจำจังหวัด โยมแม่จึงจะให้ลาสิกขา แต่ท่านก็ยัง ไม่ยอมลาสิกขา ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ที่จะบวชเรียน โยมพ่อก็เลยพาไปฝากเรียนที่ วัดตาลเรียง บ้านผือ ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น บวชเณรได้ 2 ปี ก็สอบเป็น “มหา” ได้ตั้งแต่อายุ 14 ปี เมื่ออายุได้ 17 ปี จึงย้ายสำนักเรียนไปศึกษาต่อที่ จ.แพร่ ในสังกัดวัดทุ่งกวาว เป็นระยะเวลา 4 ปี เมื่อมีอายุครบ 21 ปี จึงกลับมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ จ.ขอนแก่น บ้านเกิดของท่าน อุปสมบทเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2543 ขณะมีอายุได้ 21 ปี ณ วัดบ้านหนองกุง อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น มีพระราชปริยัติโสภณ (ถนอม ชินวํโส ป.ธ.6) รองเจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น (ในขณะนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ ปัจจุบันท่านเลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระเทพวิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่น ภายหลังจากอุปสมบทแล้วก็กลับไปศึกษาต่อที่ จ.แพร่ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย สาขารัฐศาสตร์ (การเมืองการปกครอง) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพครู จากสถาบันเดียวกัน เมื่อ พ.ศ.2547 ท่านเดินทางมาศึกษาต่อในระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ญาติโยมที่เป็นเครือญาติของท่าน ที่อพยพมาอยู่บ้านทุ่งสนุ่น กำแพงเพชร เมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ได้ทราบข่าวว่าท่านมีความลำบากในการเดินทางไปกลับระหว่าง แพร่-พิษณุโลก ประกอบกับเจ้าอาวาสวัดทุ่งสนุ่นรัตนารามขณะนั้น อาพาธด้วยโรคประจำตัว ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสได้เต็มที่ จึงพร้อมใจกันไปนิมนต์ท่านมาพักจำพรรษาที่วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม พร้อมกับเรียน ปริญญาโท ที่ ม.นเรศวรไปด้วย หลังจากมาอยู่ที่นี่ได้ 2 เดือนกว่าเจ้าอาวาสรูปเดิมซึ่งป่วยมานานแล้ว ก็ถึงแก่มรณภาพ ท่านเลยได้เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม ตั้งแต่กลางพรรษาปี 2547 และในปี 2548 จึงดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม และนับว่าเป็นสถิติเจ้าอาวาสที่อายุน้อยที่สุด (26 ปี) ของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ประวัติการศึกษา
พ.ศ.2545 เปรียญธรรม7 ประโยค พ.ศ.2545 พุทธศาสตร์บัณฑิต (พธ.บ) สาขา รัฐศาสตร์ (เกียรตินิยม) จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พ.ศ.2546 ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู (ปวค.) จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย พ.ศ.2549 ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขา พัฒนาสังคม จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก (พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู, การสัมภาษณ์, 23 สิงหาคม 2564) สรุปได้ว่า พระมหาอภิชาติ มีชื่อเดิมว่าอภิชาติ ลาพันนา เกิดวันที่ 7 มกราคม 2564 บ้านท่ามะเดื่อ ตำบลท่ากระเสริม อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นคนชอบในพระพุทธศาสนา เริ่มบวชเณรและได้เป็นมหาตั้งแต่อายุ 14 ปี พออายุ 17 ปี ได้ไปเรียนที่จังหวัดแพร่ พออายุครบ 21 ปี ในวันที่ 1 เมษายน 2543 ได้อุปสมบทเป็นพระ โดยพระมหาอภิชาติ จบปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย สาขารัฐศาสตร์ และระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพครู พ.ศ.2547 เรียนปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยนเรศวร และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งสนุ่น ในปี 2548 เนื่องจากเจ้าอาวาสรูปเดิมมรณภาพ ทำให้พระมหาอภิชาตเป็นพระที่มีอายุน้อยที่สุดในการเป็นเจ้าอาวาส ดังภาพที่ 1
ภาพที่ 1 พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู (วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม, 2563)
ผลงานที่สร้างชื่อเสียงของพระมหาอภิชาติ
ผลงานที่เป็นที่รู้จักจากคนภายนอกคือฟื้นฟูประเพณีบุญผะเหวดจากการจัดรายการวิทยุ จุดเริ่มต้นบุญผะเหวดวัดทุ่งสนุ่น ในตอนแรกวัดมีบุญเดือน 3 ของวัดมานานแล้วแต่ถูกยกเลิกไปไม่ให้ทำ พอปี พ.ศ.2552 ได้ตั้งสถานีวิทยุ ได้จัดรายการพูดเป็นภาษาอีสาน เพราะชาวบ้านแถวนั้นเป็นคนลาว แล้วมีคนโทรศัพท์เข้ามา ว่าตำหนิ ทำไมต้องพูดอีสานทำไมต้องพูดลาวด้วย วัดทุ่งสนุ่นอยู่กำแพงเพชรทำไมต้องพูดภาษาอีสานด้วย พูดภาษาภาคกลางสิครับ และได้เกิดกระแสสังคมขึ้นมาว่า เขาไม่ฟังก็เรื่องของเขาไม่ต้องสนใจให้จัดรายการภาษาอีสานแบบเดิมดีแล้ว ทางวัดจึงได้ตามหาเบอร์คนที่โทรเข้ามาว่าเด็กคนนี้เป็นใครจึงโทรไป แต่เป็นแม่ที่รับสายของเด็กคนนั้น แม่ได้พูดภาษาลาวกับพระอาจารย์ จึงเป็นจุดเปลี่ยนที่ว่า ลูกหลานบ้านทุ่งสนุ่นลืมวัฒนธรรมหมดแล้ว ก็เลยจุดประกายจะปล่อยปะละเลยให้ประเพณีวัฒนธรรมอีสานหายไปไม่ได้พวกชนเผ่าที่อยู่ที่นี้ต้องมีตัวตน พระอาจารย์ต้องสืบหาประเพณีงานบุญที่วัดเคยดำเนินการมาก่อน จึงได้เจอประเพณีเดือน 3 พระอาจารย์ได้ลื้อบุญทั้ง 12 เดือน ที่บ้านทุ่งสนุ่นเคยทำ ทั้ง 12 เดือน เดือน 1 ทำอะไรบ้าง เดือนยี่ทำอะไรบ้าง เดือน 3-4 มีนาคม เขามีบุญประจำปีของเขาตรงกับ บุญผะเหวด พอดีก็เลยลื้อขึ้นมาให้หมดทั้ง 12 เดือน และได้จัดเป็นงานบุญผะเหวดวัดทุ่งสนุ่นขึ้นมา และวัดทุ่งสนุ่นจะจัดขบวนบุญผะเหวดจะไม่มีตายตัวว่าในขบวนนั้นจะมีอะไรบ้าง จะปรับเปลี่ยนไปทุกปี ว่าปีนี้มีเหตุสำคัญอะไรเกิดขึ้น แล้วจะปรับขบวนไปตามปีนั้น ๆ จะแตกต่างกับบุญผะเหวดในจังหวัดร้อยเอ็ด บุญผะเหวดที่ร้อยเอ็ดจะเป็นขบวนตามเรื่อง แต่บุญผะเหวดกำแพงเพชรวัดทุ่งสนุ่นจะเป็นไปตาม แต่ละปีที่สำคัญ อย่างปีนี้เกี่ยวกับโควิด จะต้องเปลี่ยนรูปขบวนแห่ทั้งหมดให้เป็นปัจจุบันไปด้วย แต่ว่าจะมีกี่ขบวน อย่างปกติจะมีประมาณ 12-13 ขบวน แต่ถ้าเป็นช่วงนี้ก็ขบวนจะน้อยลง” (พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู, การสัมภาษณ์, 23 สิงหาคม 2564) ผู้เขียนสรุปได้ว่า เดิมทีวัดทุ่งสนุ่นรัตนารามมีประเพณีที่ทำมาแต่โบราณแต่ถูกยกเลิกไป จนกระทั่งพระมหาอภิชาติได้มาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดทุ่งสนุ่นรัตนารามและได้เริ่มทำสถานีวิทยุ จากการจัดรายการนั้นทำให้ได้รู้ว่าเยาวชนได้หลงลืมประเพณีของตนเองไป จึงได้ฟื้นฟูประเพณีที่เลิกทำไปแล้วนั้นกลับมาทำใหม่ อาทิประเพณีบุญผะเหวด ทำให้พระมหาอิชาติจึงเป็นผู้ที่ริเริ่มประเผณีบุญผะเหวดของวัดทุ่งสนุ่นกลับมาอีกครั้ง ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 2 งานบุญผะเหวดวัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม (วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม, 2563)
สร้างพระธาตุข้าวเปลือกในวัดทุ่งสนุ่นจะมีพระธาตุที่ทำจากข้าวเปลือกเกิดจากชาวบ้านที่นำข้าวเปลือกมาถวายในทุกปีเป็นการทำบุญชื่อว่าคูณลานเป็นบุญที่ชาวบ้านจะเอาข้าวเปลือกมาถวายวัดโดยเอาข้าวเปลือกมากอง ๆ เหมือนเราก่อเจดีย์ทราย ของเลยเรียกว่าข้าวทรายหรือเจดีข้าวเปลือก ช่วง กุมภาพันธ์-มีนาคม แต่ตามประเพณีก็จะจัดในเดือน 2 ต้น ๆ กลาง ๆ กุมภาพันธ์ เอาข้าวเปลือกมากองเหมือนที่เขาเอาข้าวไปขายตามโรงสีตามลานข้าวต่าง ๆ พระอาจารย์เลยเอามาแปลงกองข้าวเปลือกธรรมดามาแปลงดูว่า ถ้าจริง ๆ เราจะทำอย่างไรให้มันเป็นเจดีย์จริง ๆ เลยก็เลยออกแบบคิดค้นวิธีการทำจนกลายเป็นข้าวเปลือกธรรมดาจนกลายมาเป็นรูปสามเหลี่ยมกลายเป็นเจดีย์หรือพระธาตุข้าวเปลือกแท้ ๆ จริงขึ้นมาอย่างที่เห็นในสื่อ (พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู, การสัมภาษณ์, 23 สิงหาคม 2564) ผู้เขียนสรุปได้ว่า จากที่ชาวบ้านได้นำข้าวมาถวายวัดในบุญคูณลานนำมากองกันไว้พระมหาอภิชาติ ซึ่งเกิดความคิดที่จะนำข้าวมาทำพระธาตุข้าวเปลือกให้สวยงาม ดังภาพที่ 3
ภาพที่ 3 พระธาตุข้าวเปลือก (วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม, 2564)
สร้างนาบุญ วัดมีที่นาเก่าอยู่แล้วที่ทำนา แต่ให้ชาวบ้านเช่า เมื่อพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สวรรคต จึงมีการสวดอภิธรรมทุกคืน ๆ และได้เงินจากที่ชาวบ้านร่วมกันถวายได้มาประมาณ 1 แสนกว่าบาท จึงนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนานาของวัดเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นโคกหนองนาโมเดล พอได้ออกสื่อที่นาจึงดังกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นจุดเช็คอิน และเป็นแลนมาร์ค ที่บึงสามัคคีเป็นเมืองไม่มีป่าเขาหรือน้ำตกอะไรอย่างเรามีแต่ทุ่งนา ที่เป็นทุ่งนาที่ทำได้ทั้งปี ถ้าเป็นจังหวัดอื่นจะมีข้าวแค่ฤดูเดียวเท่านั้นที่จะได้เห็น ถ้าไปหน้าแล้งจะไม่มีข้าวให้คนดูแล้วก็จะเป็นสะพานธรรมดาแต่นาบุญจะมีข้าวให้ดูทั้งปีเพราะที่นี้ทำนาได้ปีละ 3 ครั้ง เพราะฉะนั้นการทำบุญ เอาจุดด้อยมาเป็นจุดเด่น ที่อื่นไม่มีแบบเราเพราะเราอุดมสมบูรณ์ด้วยน้ำตลอด ทั้ง 3 ฤดูกาลตลอดทั้งปี ก็เลยกลายเป็นที่ท่องเที่ยวที่เช็คอินที่สวยงามขึ้นมา (พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู, การสัมภาษณ์, 23 สิงหาคม 2564) ผู้เขียนสรุปได้ว่า วัดมีพื้นที่นาและอยากทำโคกหนองนาโมเดล และเป็นช่วงที่พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สวรรคต จึงมีการสวดอภิธรรมทุกคืน ๆ และได้เงินจากที่ชาวบ้านร่วมกันถวายได้มาประมาณ 1 แสนกว่าบาท ก็เลยเอาเงินส่วนนี้ไปพัฒนา และกลายเป็นข่าวจึงกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของวัดทุ่งสนุ่น ดังภาพที่ 4-5
ภาพที่ 4 นาบุญ (นาบุญวัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม, 2561)
ภาพที่ 5 นาบุญ (นาบุญวัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม, 2563)
โครงการต้นกล้าศาสน์ศิลป์ พระอาจารย์ได้ตั้งมา ในปีพ.ศ.2560 โดยขอความร่วมมือจากนักเรียนโรงเรียนระหานส่งครูหรือนักเรียนมาสอนเด็กก็เลยพัฒนามาเรื่อย ๆ จนมาในปี พ.ศ.2561-2562 ประมาณ 3 ปีที่แล้วก็เลยไปคุยกับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรกับ ผศ.ดร.พธูรำไพ ประภัสสร ก็เลยไปประชุมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏราชภัฏกำแพงเพชรและสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ว่ามีเด็กที่เรียนพิเศษที่วัดอยู่แล้ว อยากให้ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏราชภัฏกำแพงเพชรได้มาสอนพื้นฐาน ผศ.ดร.พธูรำไพ ประภัสสร ก็ได้พาอาจารย์อนุลักษณ์ อาสาสู้ ได้สอนพื้นฐานได้หนึ่งเทอมทุกวันอาทิตย์ เด็กก็ได้เรียนภาษาจีน จะมีน้อง ๆ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชรมาสอนและก็จะได้เรียนโปงลางดนตรีพื้นบ้าน กลองยาวพอปูพื้นฐานได้แล้ว ในปีถัดมาไม่มีงบประมาณมา ชาวบ้านเลยหางบประมาณมาสอนกลองยาวโปงลางของจังหวัดกาฬสินธุ์มาสอน จึงกลายเป็นวงโปงลางเยาวชน อายุไม่เกิน 15 ปี มีวงเดียวในจังหวัดกำแพงเพชร ตอนนี้มีโรคโควิดยังคิดอะไรไม่ออก ที่ตั้งเป้าหมายไว้คือ ทางวัดทำตลาดวัฒนธรรมหรือถนนคนเดินวัดทุ่งสนุ่น (แต่ติดที่มีโรคโควิดเปิดไม่ได้) ทำแบบมีบูธสินค้ามาออกงานของดีแต่ละอำเภอหรือของแต่ละหมู่บ้าน วันศุกร์-เสาร์ โดยที่วัดทุ่งสนุ่นมีจุดขายบริเวณวัดและก็มีจุดตรงถนนตอนกลางคืนจะมีคนมากราบพระ มีของกินเทศกาลและจะมีการแสดงวัฒนธรรมประเพณีให้กับนักท่องเที่ยวที่มางาน (พระมหาอภิชาติ กิตฺติวรญฺญู, การสัมภาษณ์, 23 สิงหาคม 2564) ผู้เขียนสรุปได้ว่า โครงการต้นกล้าศาสน์ศิลป์ การนำเด็กและเยาวชนจากโรงเรียนระหานมาเรียนที่วัด ที่มีทั้งการเรียนธรรมและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ทางจัดขึ้นให้เด็กได้เรียนรู้ธรรมประเพณีต่าง ๆ เช่น การเรียนคนตรีเกี่ยวกับโปงราง จนกลายเป็นวงโปงรางในจังหวัดกำแพงเพชรที่มีอายุน้อยที่สุด ดังภาพที่ 6
ภาพที่ 6 เด็กโครงการต้นกล้าศาสน์ศิลป์ (วัดทุ่งสนุ่นรัตนาราม, 2563)