ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แกงมัสมั่นกล้วยไข่ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
แถว 41: แถว 41:
 
           9. หอมเผา 300 กรัม
 
           9. หอมเผา 300 กรัม
 
           10. ถั่วลิสงคั่ว 50 กรัม
 
           10. ถั่วลิสงคั่ว 50 กรัม
[[ไฟล์:1-7.jpg|400px|thumb|center]]
+
[[ไฟล์:1-7.jpg|450px|thumb|center]]
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 5''' ภาพวัตถุดิบ ของ “แกงมัสมั่นกล้วยไข่” <br> (Kafill, 2566)</p>
 
<p align = "center"> '''ภาพที่ 5''' ภาพวัตถุดิบ ของ “แกงมัสมั่นกล้วยไข่” <br> (Kafill, 2566)</p>
 
=='''วิธีการทำ “แกงมัสมั่นกล้วยไข่”'''==
 
=='''วิธีการทำ “แกงมัสมั่นกล้วยไข่”'''==
 
           1. ตั้งกระทะให้ร้อน แล้วใส่หัวกะทิ จนกว่าหัวกะทิจะแตกมัน
 
           1. ตั้งกระทะให้ร้อน แล้วใส่หัวกะทิ จนกว่าหัวกะทิจะแตกมัน
 +
[[ไฟล์:1-8.jpg|600px|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> (นานาสาระครูรุ่งธรรม ศูนย์บริรักษ์ไทย วท.กำแพงเพชร, 2566)</p>
 +
          2. พอเริ่มหัวกะทิแตกมันแล้วใส่พริกแกงมัสมั่นลงไป
 +
[[ไฟล์:1-9.jpg|350px|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> (นานาสาระครูรุ่งธรรม ศูนย์บริรักษ์ไทย วท.กำแพงเพชร, 2566)</p>
 +
          3. ผัดตัวพริกแกงให้มีกลิ่นหอม แล้วใส่วัตถุดิบเนื้อสัตว์ ที่ชอบลงไปผัดให้มีกลิ่นหอม
 +
[[ไฟล์:1-10.jpg|350px|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> (นานาสาระครูรุ่งธรรม ศูนย์บริรักษ์ไทย วท.กำแพงเพชร, 2566)</p>
 +
          4. ผัดวัตถุดิบเนื้อสัตว์ให้พอสุก พร้อมใส่หางกะทิลงไปให้ท่วมเนื้อสัตว์ รอจนน้ำแกงเดือด
 +
[[ไฟล์:1-11.jpg|350px|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> (นานาสาระครูรุ่งธรรม ศูนย์บริรักษ์ไทย วท.กำแพงเพชร, 2566)</p>
 +
          5. รอจนเนื้อสัตว์สุกและน้ำเดือด ให้ใส่กล้วยไข่ และหอมแดงเผา ลงไปรอจนน้ำเดือด
 +
[[ไฟล์:1-12.jpg|350px|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> (นานาสาระครูรุ่งธรรม ศูนย์บริรักษ์ไทย วท.กำแพงเพชร, 2566)</p>
 +
          6. ปรุงรสรสชาติที่ต้องการ ใส่น้ำตาลมะพร้าว, น้ำมะขามเปียก และ เกลือ ให้ได้รสชาติที่ต้องการ
 +
[[ไฟล์:1-13.jpg|600px|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> (นานาสาระครูรุ่งธรรม ศูนย์บริรักษ์ไทย วท.กำแพงเพชร, 2566)</p>
 +
          7. รอจนเสร็จอีกรอบ เป็นอันเสร็จสิ้น เตรียมเสิร์ฟได้
 +
[[ไฟล์:1-14.jpg|350px|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> (ไทยรัฐออนไลน์, 2566)</p>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:43, 23 กรกฎาคม 2567

บทนำ

         “แกงมัสมั่น” เป็นอาหารเป็นประเภทเครื่องแกงที่ประวัติอยู่คู่กับประเทศไทยมาอย่างช้านานเกิดจากการแลกเปลี่ยนหรือการเข้ามามีอิทธิพลของอาหารและวัฒนธรรมการกินของต่างชาติกับคนไทย นอกจากนี้ “แกงมัสมั่น” ยังเป็นอาหารที่ติดอันดับ 1 ที่อร่อยที่สุดของโลก ซึ่งทางจังหวัดกำแพงเพชร ได้นำ “แกงมัสมั่น” มาผนวกกับ “กล้วยไข่” ที่เป็นของมีชื่อเสียงของจังหวัดกำแพงเพชรเพื่อทำเป็น “แกงมัสมั่นกล้วยไข่” ที่จะเพิ่มคุณค่าทางด้านอาหาร และเพิ่มความหลากหลายของการปรุงอาหาร สร้างเสริมและต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของดีของเด่นจังหวัดกำแพงเพชร บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาของแกงมัสมั่น 2) ประเภทของแกงมัสมั่นในประเทศไทย 3) ประวัติความเป็นมาของแกงมัสมั่นกล้วยไข่จังหวัดกำแพงเพชร 4) ขั้นตอนและวิธีการทำของแกงมัสมั่นกล้วยไข่

คำสำคัญ: แกงมัสมั่น, กล้วยไข่, จังหวัดกำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของแกงมัสมั่น

         แกงมัสมั่นตำรับดั้งเดิมนั้นเป็นของชาวอินเดีย เป็นเจ้าแห่งเครื่องเทศ นิยมใช้วัตถุดิบประเภทเนื้อในการปรุง และใส่เครื่องเทศอย่างเต็มที่ แกงมัสมั่นของชาวอินเดียจึงมีรสชาติที่เผ็ดร้อน หวาน เค็ม และมัน แต่เมื่อชาวอินเดียย้ายไปตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเมืองต่าง ๆ ก็ไม่ลืมที่จะนำแกงมัสมั่นเข้าไปยังประเทศนั้น ๆ ด้วย แต่ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนสูตรให้ถูกกับรสชาติของประเทศนั้น ๆ เช่น การเปลี่ยนเนื้อสัตว์ และการเพิ่ม-ลดเครื่องเทศ แต่ว่าแกงมัสมั่นในประเทศไทยนั้นมีมาตั้งแต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นำเข้ามาโดยแขกเปอร์เซีย หรือชาวอิหร่านจะสันนิษฐานว่าคำว่า “มัสมั่น” มาจากภาษาเปอร์เซียคำว่า “มุสลิมมาน” ซึ่งหมายถึง ชาวมุสลิม จึงถือได้ว่าเมนูมัสมั่นนี้เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางอาหารระหว่างไทยกับเปอร์เซีย และเข้ามาอยู่ในทำเนียบอาหารไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 2 หรือประมาณ 230 กว่าปีมาแล้ว แต่จะเห็นได้ว่า ในบทประพันธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ว่า “มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา” ซึ่งเป็นหลักฐานได้ว่า แกงมัสมั่นได้เข้ามามีอิทธิพลในไทยมาก่อนที่จะเข้าทำเนียบอาหารในรัชกาลที่ 2 แล้วเสียอีก ซึ่งแกงมัสมั่นตำรับชาวไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากอาหารมลายู จะกล่าวได้ว่า แกงมัสมั่นเดิมที่เป็นอาหารของขาวอินเดียซึ้งเป็นอาหารที่ส่วนใหญ่เครื่องเทศและเป็นส่วนประกอบหลักของเครื่องแกงมัสมั่น ต่อมาไทยเราได้รับอิทธิพลมาจากชาวแขกเปอร์เซียที่ตอนนั้นไทยได้มีการค้าขายกับต่างประเทศทำให้ไทยได้รับอิทธิพลการกินเครื่องเทศด้วยทำให้ไทยเรารู้จากการทำแกงมัสมั่นมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน (ครัวโบราณ บ้านน้ำพริก, 2559)
         จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า แกงมัสมั่นได้เข้ามาที่ไทยและเกิดการแพร่กระจายไปทั่วจึงทำให้เกิดการชอบรสชาติของแกงและเครื่องเทศนั่นมีความจัดเต็มทำให้เกิดความอร่อยถูกปากกับคนไทยแกงมัสมั่นนั่นจึงเป็นที่นิยมและเป็นแกงที่ขึ้นชื่อทำมีความโด่งดั่งของแกงมัสมั่นที่เด่นทางด้านเครื่องเทศหรือจัดเต็มในเรื่องของเครื่องเทศที่จะนำมาทำแกงมัสมั่น
         “แกงมัสมั่น” เนื่องด้วยหน้าตาของแกงที่มีสีแดงส้มรสชาติเข้มข้น ทั้งหวาน เค็ม เผ็ด คงเป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าจะเป็นราดข้าวแกงข้างถนนหรือร้านระดับดาวมิชลินก็สามารถพบกับเมนูนี้ได้พร้อมกับรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งถ้าหากยังจำกันได้ว่า ในช่วงปี 2017 แกงมัสมั่นก็ได้สร้างชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยเว็บไซต์ CNN ได้มีการประกาศรายชื่อ 50 อันดับ เมนูอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก ซึ่งรายชื่อทั้งหมดมาจากการสำรวจอารหารของ CNN ทั้งหมด ทั้งนี้ “แกงมัสมั่น” ของไทยก็ถูกจัดอันดับว่าเป็นอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก (The world's 50 best foods) (MEEKAO, 2564)
         จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่า แกงมัสมั่นเป็นเมนูที่ทุกคนคุ้นเคยสามารถหากินได้ทุกที่ไม่จำเป็นต้องกินร้านที่มีความโด่งดังทางด้านชื่อเสียงเพราะตามร้านทั่วไปก็มีเมนูแกงมัสมั่นเหมือนกันเพราะว่าแกงมัสมั่นจะมีเอกลักษณ์ทางด้านของรสชาติที่มีความเข้มข้นในเรื่องของเครื่องเทศอยู่แล้วจึงเกิดความอร่อยและแกงมัสมั่นนั้นมีหลากหลายประเภทขึ้นอยู่กับคนที่ทำแกงนั่นว่าจะแกงแบบไหนและแต่ละภาคจะมีการแกงที่แตกต่างกันออกไปแต่รสชาติอาจจะยังคล้ายครึงกันอยู่อาจจะต่างทางด้านของสีน้ำแกง

ประเภทของแกงมัสมั่นในประเทศไทย

         แกงมัสมั่นแบบชาวมุสลิมทางภาคใต้ คือ ใช้ผงเครื่องแกงที่ตำเตรียมไว้ (ตำผสมลูกผักชี ยี่หร่า พริกป่นอินเดีย และพริกไทยป่น) แล้วค่อยนำไปผัดกับน้ำมันที่เจียวหัวหอม
1-1.jpg

ภาพที่ 1 แกงมัสมั่นแบบชาวมุสลิมทางภาคใต้
(สำนักพิมพ์แสงแดด, 2563)

         แกงมัสมั่นแบบมลายู-ชวา คือ ใส่กานพลูกับอบเชย และหอมแดงลงไปผัดกับน้ำมันจนหอม เติมพริกป่นอินเดีย ลูกผักชีป่น ยี่หร่าป่น และพริกไทยป่นลงไปผัดให้เข้ากัน นอกจากนั้นยังใส่มะพร้าวคั่ว ผงขมิ้น ดอกไม้จีน และหน่อไม้จีนอีกด้วย
1-2.jpg

ภาพที่ 2 แกงมัสมั่นแบบมลายู-ชวา
(Kapook, ม.ป.ป.)

         แกงมัสมั่นของชาวไทยภาคกลาง คือ ใช้น้ำพริกแกงมัสมั่นที่เตรียม เอาไว้ลงไปผัด (โดยผ่านการลดเครื่องแกง และเครื่องเทศลงแล้ว) ปรุงรสชาติให้มี 3 รสหลัก คือ เปรี้ยว เค็ม หวาน ซึ่งเป็นรสหลักของคนไทย ถ้าเป็นชาวไทยมุสลิมจะเรียกแกงชนิดนี้ว่า ซาละหมั่น จะออกรสเค็ม และมัน (ครัวโบราณ บ้านน้ำพริก, 2559)
1-3.jpg

ภาพที่ 3 แกงมัสมั่นของชาวไทยภาคกลาง
(ครัวโบราณ บ้านน้ำพริก, 2559)

         ดังนั้น จะกล่าวได้ว่า แกงมัสมั่นของชาวมุสลิมและชาวมาลายูจะมีการแกงที่คล้าย ๆ กัน โดยใช้เครื่องเทศเป็นหลักและเครื่องเทศที่ใช้นั้นก็เป็นเครื่องเทศตัวเดียวกันแต่จะต่างกันที่รสชาติ แต่ของไทยโดยตรงนั่นจะเห็นได้ชัดเลยว่าใช้พริกแกงเป็นหลักในการทำแกงมัสมั่นและจะมีรสชาติที่เปรี้ยว เค็ม หวาน เป็นหลัก วัฒนธรรมการกินแกงของไทย
         วัฒนธรรมอาหารไทย เขียนถึงความเป็นมาของแกงไทยไว้ในหลายทัศนะ บ้างว่าแกงไทยนั้นเป็นของไทยแท้ ๆ ที่บรรพบุรุษของเราคิดสร้างสรรค์ขึ้น แต่ทัศนะที่ได้รับการยอมรับเป็นส่วนใหญ่ชี้ว่าแกงไทยได้อิทธิพลมาจากแกงของอินเดีย แต่ความเห็นเช่นนี้ก็เป็นดั่งกำปั้นทุบดิน เพราะอินเดียเป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ ซึ่งรู้กันอยู่แล้วว่ามีอิทธิพลต่อการพัฒนาประเพณีและวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ทั้งนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องรับจากอินเดียโดยตรงเสมอไป หากดูหลักฐานทางประวัติศาสตร์ก็ไม่พบว่าอินเดียมีความสัมพันธ์กับไทยโดยตรงแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมโดยรวม หรือวัฒนธรรมเฉพาะด้านอย่างวัฒนธรรมอาหาร หากวิเคราะห์ลงไปให้ลึกซึ้ง ความเป็นมาของแกงไทยอาจไม่สามารถสรุปลงไปอย่างง่าย ๆ ว่ามาจากอินเดีย หากใครเคยกินแกงอินเดียจะรู้ว่าแกงอินเดียและแกงไทยนั้นมีเสน่ห์แตกต่างกันอย่างชัดเจน แกงอินเดียโดดเด่นที่กลิ่นหอมหนัก ๆ ของการผสมเครื่องเทศอย่างกลมกลืน เช่น พริกแห้ง กระวาน กานพลู ลูกผักชี ใบมัสตาร์ด อบเชย ขมิ้น ลูกจันทน์ เป็นต้น ความข้นมันในแกงอินเดียนั้นได้มาจากน้ำมันหรือโยเกิร์ต แถมชาวอินเดียยังนิยมกินแกงกับโรตีหรือนานมากกว่าข้าว ในขณะที่แกงไทยมีเอกลักษณ์ที่กลิ่นสมุนไพรสด มีกลิ่นหอมเบา ๆ น้ำแกงมีทั้งน้ำใสและน้ำข้นหวานมันจากกะทิ ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของเครื่องแกงเป็นสมุนไพรและเครื่องปรุงสด อย่างตะไคร้ ข่า หอมแดง กะปิ กระเทียม ทำให้พริกแกงบ้านเรามีลักษณะเปียก แกงมีกลิ่นรสที่แตกต่างออกไป และที่สำคัญเรานิยมกินแกงกับข้าวไม่ใช่โรตี (ศศิกานต์ เพิ่มสุขทวี, ม.ป.ป.)
         จากบทความข้างต้น จะเห็นได้ว่าแต่ก่อนอาหารไทยที่ขึ้นชื่อว่าแกงได้มีอิทธิพลมาจากชาวอินเดียเพราะอาหารของชาวอินเดียนั่นจะมีความเข้มข้นหนักไปด้วยเครื่องเทศที่หลากหลายแต่เมื่อคนไทยได้ทำแกงหรืออาหารแล้วคนไทยจะใช้เป็นพวกพริกแกงมากกว่าพวกเครื่องเทศจึงทำให้รสชาติของอาหารนั่นแตกต่างกันออกไปหรือคนละรสชาติ จึงหาความแตกต่างได้ดังนี้
         ความแตกต่างพริกแกงแดง กับ พริกมัสมั่น ในบรรดาอาหารไทย แกงไทยถือได้ว่าจัดเป็นอาหารประเภทที่ทำค่อนข้างยากด้วยเนื่องขั้นตอนการทำและวิธีการปรุงอย่างละเมียดละไม รวมทั้งองค์ประกอบและวัตถุดิบหลายอย่างที่ล้วนแล้วมีผลลัพธ์ทำให้เกิดความอร่อย โดยเฉพาะแกงไทยที่ต้องใช้ ‘พริกแกง’ เพราะพริกแกงส่งผลต่อกลิ่น รสชาติ และสีสันของแกง รู้หรือไม่ว่าพริกแกงช้อนหนึ่งประกอบด้วยวัตถุดิบเป็นสิบชนิด โดยโขลกรวมกัน รสชาติแกงไทยจึงซับซ้อนหาตัวจับได้ยาก ตำรับตำราอาหารไทยยังมีพริกแกงหลายชนิด แต่ละพริกแกงมีวัตถุดิบคล้ายกัน ต่างกันตรงเพิ่มหรือรอวัตถุดิบอื่นๆ แตกยอดกลายเป็นพริกแกงอีกชนิด ส่วนผสมยืนพื้นของพริกแกงทุกชนิดที่ต้องมีคือ หอมแดง กระเทียม กะปิ และเกลือ ประกอบกับสมุนไพรให้กลิ่น เช่น ข่า ตะไคร้ ผิวมะกรูด รากผักชี กระชาย ขมิ้น ซึ่งแล้วแต่ชนิดของพริกแกงว่าใช้สมุนไพรตัวไหนบ้าง ตัวชูโรงที่สำคัญของพริกแกงจะเป็นสิ่งใดไปไม่ได้นอกจาก ‘พริก’ จะพริกสดหรือ พริกแห้ง พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้าเขียวหรือแดง ใช้ได้ทั้งหมด เพราะเป็นตัวบ่งชี้ระดับความเผ็ดร้อนและทำให้สีสันของพริกแกงออกมา ต่างจากเครื่องแกงมัสมั่นที่จะประกอบไปด้วยเครื่องเทศ  อบเชย ลูกผักชี ยี่หร่า ลูกจันทร์ ลูกกระวาน ดอกจันทร์ ฯลฯ ก็สำคัญ ช่วยเพิ่มกลิ่นหอมของน้ำแกงและดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ (ศศิกานต์ เพิ่มสุขทวี, ม.ป.ป.)
         จะเห็นได้ว่า ความแตกต่างระหว่างเครื่องแกงหรือพริกแกงแดงของไทยเดิมและเครื่องแกงหรือพริกแกงมัสมั่นโดยทั่วไปจะแตกต่างกันขึ้นอยู่ที่เครื่องเทศหรือวัตถุดิบของเครื่องแกงมาเป็นส่วนผสมเพิ่ม ดังนั้นจังหวัดกำแพงเพชรจึงนำแกงมัสมั่นมาดัดแปลงหรือแปรรูปแบบใหม่ โดยจากเดิมแกงมัสมั่นทั่วไปแล้วจะใช้มันเทศหรือมันฝรั่งในการแกงมัสมั่นและมีผู้คิดค้นในจังหวัดกำแพงเพชรนั่นได้เปลี่ยนจากมันเทศหรือมันฝรั่งมาเป็นกล้วยไข่แทน

ประวัติความเป็นมาของแกงมัสมั่นกล้วยไข่จังหวัดกำแพงเพชร

         กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ของกระทรวงวัฒนธรรม ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ความเป็นไทย “รสชาติ....ที่หายไป” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ของอาหารไทย อาหารท้องถิ่น ที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนไทย รวมถึงการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับอาหารไทย และอาหารท้องถิ่น ต่อยอดสมุนไพรไทย สรรพคุณทางเลือกและส่งต่อเป็นภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดรุ่นสู่รุ่น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมศักยภาพของเครือข่ายวัฒนธรรมในการบริหารจัดการงานวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งกรมส่งเสริมวัฒนธรรมได้พิจารณาคัดเลือกกิจกรรม 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น โดยจังหวัดกำแพงเพชรได้รับการคัดเลือก “แกงมัสมั่นกล้วยไข่” เป็นอาหารประจำถิ่น เป็นอาหารคิดค้นต่อยอดจากวัสดุวัตถุดิบท้องถิ่นขึ้นใหม่ (ไทยรัฐออนไลน์, 2566)
         เนื่องจากจังหวัดกำแพงเพชรที่มีความโด่ดเด่นของกล้วยไข่ ที่เป็นเอกลักษณ์จึงทำให้มีผู้คิดค้นได้นำกล้วยไข่ไปทำเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของแกงมัสมั่น เพราะการที่ได้นำกล้วยไข่มาทำแกงมัสมั่นกล้วยไข่ก็จะทำให้เห็นคุณค่าทางโภชนาการด้านอาหารและสรรพคุณของกล้วยไข่ได้อย่างมากมาย จะเห็นได้ว่า ประโยชน์ของกล้วยไข่ที่ถึงแม้จะมีผลขนาดเล็ก แต่มีสรรพคุณซ่อนอยู่อย่างมากมาย ทั้งนี้ ยังมีคุณค่าทางโภชนาการของกล้วยไข่สูง มาพร้อมสรรพคุณทางยา สามารถทานได้ทั้งผลสด ๆ หรือจะนำไปทำเมนูกล้วยไข่ (Nnanthisin, 2566)
         ทั้งนี้ “กล้วยไข่” ยังเป็นผลไม้ที่รสชาติที่อร่อยหอมหวานแล้ว ยังมีประโยชน์ที่งด้านสุขภาพที่มีวิตามินต่าง ๆ อีกมากมาย จึงเป็นสิ่งที่จะนำมาพัฒนาและต่อยอดทางด้านอาหารให้มีคุณค่ามากขึ้น จึงทำไห้สอดคล้องกับ “แกงมัสมั่นกล้วยไข่” ของทางจังหวัดกำแพงเพชรที่กำลังจะพัฒนาสู่อาหารท้องถิ่นอย่างดีงามโดยคุณค่าทางโภชนาการด้านอาหารของแกงมัสมั่น เพราะในแกงนี้มีไขมันค่อนข้างสูง จึงทำให้มีพลังงานสูง มีโปรตีนจากเนื้อไก่ ใยอาหารและสรรพคุณทางยาจากเครื่องแกง ได้แก่ อบเชย ช่วยแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน หัวหอมแขกช่วยบรรเทาอาการหวัด น้ำมะขามเปียกมีวิตามินซี และเป็นยาระบายอ่อน ๆ ยี่หร่า กานพลู ช่วยขับลม ขับเสมหะ ส่วนขิงช่วยลดไขมันในเลือดได้ จึงเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้านอาหารสูง ซึ่งมีอยู่ในแกงมัสมั่นทั่วไป
         จากการสอบถามข้อมูลจาก นางสาวทองสา ชัยนานน หนึ่งในผู้คิดค้นสูตรและผู้ทำเมนูแกงมัสมั่นกล้วยไข่ได้บอกว่าในการที่นำกล้วยไข่มาเป็นส่วนผสมของแกงมัสมั่นกล้วยไข่เกิดจากโครงการที่กล่าวไปข้างต้นเพราะว่าการที่นำกล้วยไข่มาเป็นส่วนผสมใหม่ในการทำเมนูมัสมั่นเพราะว่าจะต้องการสื่อถึงอาหารท้องถิ่นหรืออาหารที่เป็นเอกลักณ์ของจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งทางผู้ดูแลทางโครงการได้หยิบยกกล้วยไข่ที่เป็นผลไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร ได้มานำมาปรับบปรุงและหาวิธีในการมาเป็นส่วนประกอบของแกงมัสมั่นกล้วยไข่เพื่อเป็นการต่อยอดว่ากล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั่นไม่ใช่แค่นำไปเป็นอาหารหวาน เช่น กล้วยตากหรือกล้วยฉาบ กระยาสารทกล้วยไข่ กล้วยไข่สุกธรรมดา แต่ยังสามารถนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารคราวได้อีกด้วย ซึ่งทางผู้ดูแลโครงการเรงเห็นว่าถ้านำแกงมัสมั่นมาเปลี่ยนจากมันฝรั่งหรือมันเทศที่ส่วนประกอบเดิมของแกงมัสมั่นได้เปลี่ยนมาเป็นกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั่น ถือได้เป็นการต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกล้วยไข่ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น
1-4.jpg

ภาพที่ 4 แกงมัสมั่นกล้วยไข่
(ไทยรัฐออนไลน์, 2566)

         โดยความแตกต่างของ “แกงมัสมั่น”ทั่วไปและ“แกงมัสมั่นกล้วยไข่” จากการให้สัมภาษณ์ของ ทองสา ชัยนานน (การสัมภาษณ์, 9 ตุลาคม 2566) หนึ่งในผู้คิดค้นสูตรและผู้ทำเมนูแกงมัสมั่นกล้วยไข่ได้บอกไว้ว่า ความแตกต่างของแกงมัสมั่นกล้วยไข่และแกงมัสมั่นทั่วไปนั้น คือ โดยทั่วไปแล้วแกงมัสมั่นนั้นจะต้องใส่มันฝรั่ง หรือมันเทศ เป็นองค์ประกอบของแกงมัสมั่น แต่การที่เปลี่ยนมาเป็น “กล้วยไข่เพื่อให้ได้มีความเหนียวหนึบของเนื้อกล้วยที่อยู่ในแกงมัสมั่นแทนมันฝรั่งหรือมันเทศ เพราะการที่เราเอากล้วยไข่มาแทนมันฝรั่งนั่นเพื่อไม่ให้น้ำแกงจากเดิมที่เป็นการละลายของตัวมันฝรั่งหรือตัวมันเทศให้มีรสชาติที่ข้นขึ้นอาจทำให้รสชาติของแกงมัสมั่นนั้นแตกต่างหรือเพี้ยนไปจากเดิมซึ่งต่างจากการที่กล้วยไข่จะไม่มีการเละ เพราะกล้วยไข่มีเนื้อสัมผัสที่หนึบและเหนียวกว่ามันฝรั่งหรือมันเทศที่ใช้ในส่วนประกอบการทำแกงมัสมั่นทั่วไปจะอธิอบายจากขั้นตอนวิธีการทำต่อไปนี้

วัตถุดิบ “แกงมัสมั่นกล้วยไข่”

         1. สะโพกไก่ 1,000 กรัม
         2. พริกแกงมัสมั่น 150 กรัม
         3. กล้วยไข่ต้มสุก 600 กรัม
         4. น้ำกะทิ 1200 กรัม (แยกทั้งหัวกะทิและหางกะทิ)
         5. น้ำมะขามเปียก 4 ช้อนโต๊ะ
         6. เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ
         7. ลูกกระวาน 10 กรัม
         8. น้ำตาลปี๊บ 5 ช้อนโต๊ะ
         9. หอมเผา 300 กรัม
         10. ถั่วลิสงคั่ว 50 กรัม
1-7.jpg

ภาพที่ 5 ภาพวัตถุดิบ ของ “แกงมัสมั่นกล้วยไข่”
(Kafill, 2566)

วิธีการทำ “แกงมัสมั่นกล้วยไข่”

         1. ตั้งกระทะให้ร้อน แล้วใส่หัวกะทิ จนกว่าหัวกะทิจะแตกมัน
1-8.jpg

(นานาสาระครูรุ่งธรรม ศูนย์บริรักษ์ไทย วท.กำแพงเพชร, 2566)

         2. พอเริ่มหัวกะทิแตกมันแล้วใส่พริกแกงมัสมั่นลงไป
1-9.jpg

(นานาสาระครูรุ่งธรรม ศูนย์บริรักษ์ไทย วท.กำแพงเพชร, 2566)

         3. ผัดตัวพริกแกงให้มีกลิ่นหอม แล้วใส่วัตถุดิบเนื้อสัตว์ ที่ชอบลงไปผัดให้มีกลิ่นหอม
1-10.jpg

(นานาสาระครูรุ่งธรรม ศูนย์บริรักษ์ไทย วท.กำแพงเพชร, 2566)

         4. ผัดวัตถุดิบเนื้อสัตว์ให้พอสุก พร้อมใส่หางกะทิลงไปให้ท่วมเนื้อสัตว์ รอจนน้ำแกงเดือด
1-11.jpg

(นานาสาระครูรุ่งธรรม ศูนย์บริรักษ์ไทย วท.กำแพงเพชร, 2566)

         5. รอจนเนื้อสัตว์สุกและน้ำเดือด ให้ใส่กล้วยไข่ และหอมแดงเผา ลงไปรอจนน้ำเดือด
1-12.jpg

(นานาสาระครูรุ่งธรรม ศูนย์บริรักษ์ไทย วท.กำแพงเพชร, 2566)

         6. ปรุงรสรสชาติที่ต้องการ ใส่น้ำตาลมะพร้าว, น้ำมะขามเปียก และ เกลือ ให้ได้รสชาติที่ต้องการ
1-13.jpg

(นานาสาระครูรุ่งธรรม ศูนย์บริรักษ์ไทย วท.กำแพงเพชร, 2566)

         7. รอจนเสร็จอีกรอบ เป็นอันเสร็จสิ้น เตรียมเสิร์ฟได้
1-14.jpg

(ไทยรัฐออนไลน์, 2566)