ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยทรงดำบ้านวังน้ำ ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(Admin ย้ายหน้า พูดคุย:ลาวคั่ง อำเภอทรายทองวัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร ไปยัง [[ไทยทรงดำบ้านวังน้ำ...)
แถว 6: แถว 6:
 
               4. ตำบลแม่ลาด 9. ตำบลวังบัว
 
               4. ตำบลแม่ลาด 9. ตำบลวังบัว
 
               5. ตำบลวังยาง 10. ตำบลคลองสมบูรณ์
 
               5. ตำบลวังยาง 10. ตำบลคลองสมบูรณ์
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 1 แผนที่อำเภอคลองขลุง.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 1 แผนที่อำเภอคลองขลุงและการแบ่งเขตการปกคลองย่อย 10 ตำบล''' </p>
 +
<p align = "center"> ที่มา : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคลองขลุง, 2562, ออนไลน์ </p>
 +
          ตำบลวังยาง เป็นเขตการปกครองย่อยจากทั้งหมด 10 ตำบลของอำเภอคลองขลุง โดยประกอบไปด้วย 10 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านท่าตะคร้อ, หมู่บ้านน้อย, หมู่บ้านคลองยาง, หมู่บ้านเกาะพร้าว, หมู่บ้านวังยาง, หมู่บ้านวังตะล่อม, หมู่บ้านหนองโสน, หมู่บ้านวังน้ำ, หมู่บ้านนิคม, หมู่บ้านแม่น้ำกงจีน (จังหวัดกำแพงเพชร, 2562, ออนไลน์)
 +
          บ้านวังน้ำ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในส่วนปกครองย่อยของตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง โดยในอดีตมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่าบริบูรณ์เป็นอย่างดี ด้วยมีลำคลองไหลผ่านกลางหมู่บ้าน มีถนนหนทางที่เดินทางสัญจรไปมาได้อย่างสะดวก ลักษณะเช่นนี้จึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในตั้งชุมชนและประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะเกษตรกรรม จากการที่มีปัจจัยเกื้อหนุนต่อการประกอบอาชีพทำให้มีผู้คนหลากหลายเข้ามาจับจองพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยและประกอบอาชีพตามความรู้ตามความถนัด ชาวไทยทรงดำบ้านวังน้ำเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่ได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนในหมู่บ้านแห่งนี้โดยมาจากหลายจังหวัดด้วยกัน พร้อมทั้งยังได้นำพาวัฒนธรรมดั้งเดิมแต่ครั้งบรรพกาล ที่บรรพบุรุษได้มีการกระทำสืบต่อเนื่องกันมา สานต่อลงในหมู่บ้านแห่งนี้อย่างเคร่งครัด ตามความเชื่อดั้งเดิมอีกด้วย อย่างไรก็ดีวัฒนธรรมของชาวไทยทรงดำบ้านวังน้ำยังเป็นวัฒนธรรมชุมชนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นทางวัฒนธรรมระดับจังหวัด นอกจากนี้ วัฒนธรรมชุมชนดังกล่าวยังมีประวัติความเป็นมาของการเข้าสู่แผ่นดินไทยนับแต่ครั้งสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กระทั่งกระจายตัวกันอยู่ทั่วประเทศไทย จากจังหวัดเพชรบุรีลงไปถึงภาคใต้ที่สุราษฎร์ธานี และเรื่อยขึ้นมาจนถึงภาคเหนือจวบจนหลายภาคของประเทศไทย
 +
'''คำสำคัญ :''' ไทยทรงดำ, บ้านวังน้ำ,  วัฒนธรรมชุมชน
 +
== ความเป็นมาของบ้านวังน้ำ  ==
 +
          บ้านวังน้ำหรือหมู่บ้านวังน้ำ ได้ตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2492 ตั้งอยู่หมู่ 4 ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่ทั้งหมด 6,047 ไร่ โดยพื้นที่ของหมู่บ้านได้เชื่อมต่อกับพื้นที่ส่วนปกครองย่อยต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือติดกับหมู่ 2 บ้านวังตะล่อม ทิศใต้ติดกับหมู่ 3 บ้านหนองโสน ทิศตะวันออกติดกับ หมู่ 4 บ้านบึงลาดเขต ต.วังแขม ทิศตะวันตกติดกับหมู่ 7 บ้านนิคมใหม่ ระยะทางจากหมู่บ้านวังน้ำถึงตัวจังหวัดกำแพงเพชร 60 กิโลเมตร ระยะทางจากหมู่บ้านวังน้ำถึงอำเภอคลองขลุง 9 กิโลเมตร บ้านวังน้ำมีลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองวังน้ำไหลผ่านกลางหมู่บ้านยาวตลอดหัว จรดท้ายหมู่บ้าน บ้านวังน้ำ มี 3 ฤดูกาล ฤดูร้อนอากาศจะร้อนและแห้งแล้ง เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ของทุกปีบ้านวังน้ำ มีครัวเรือนทั้งหมด 198 ครัวเรือน  มีประชากรทั้งหมด 946 คน แบ่งออกเป็นประชากร เพศชาย 463 คน คิดเป็นร้อยละ 48.94 และเป็นประชากร เพศหญิง 483 คิดเป็นร้อยล่ะ 51.06
 +
          ลักษณะทางสังคมของคนในหมู่บ้านวังน้ำ คนในหมู่บ้านมักปลูกสร้างบ้านเรือนติดต่อระหว่างญาติพี่น้องอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน มีการไปมาหาสู่กันระหว่างญาติพี่น้องอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดความรักสามัคคีกันระหว่างเครือญาติ ครอบครัวมีความอบอุ่น ประชากรของหมู่บ้านส่วนใหญ่มีสุขภาพแข็งแรงดี ประชาชนของหมู่บ้านใช้ภาษาท้องถิ่น (ภาษาไทยทรงดำ หรือภาษาโซ่ง) ชาวไทยทรงดำในบ้านวังน้ำส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  มีวัด มีโรงเรียน ชาวบ้านจะนิยมเข้าวัดทำบุญทุกวันพระ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวบ้านวังน้ำจะมีประเพณี “ไทยทรงดำ” ซึ่งชาวบ้านจะถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เนื่องจากประชาชนในหมู่บ้านเป็น “ไทยทรงดำ” เน้นพิธีการไว้ผีบรรพบุรุษ ไหว้ผีเรือนตามความเชื่อ จะทำให้อยู่ดีมีสุข เจริญก้าวหน้าทางด้านการงาน และอาชีพ (ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี, 2561, น.1)
 +
          เหตุผลที่เรียกว่าบ้านวังน้ำเพราะเนื่องจากในอดีตหมู่บ้านแห่งนี้ มีลำคลองสำคัญ คือ “คลองเลียบตะลุง” ไหลผ่านกลางหมู่บ้านและมีน้ำไหลผ่านอยู่ตลอด ครั้นเมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำก็จะไหล่บ่าท่วมอยู่ทั้งสองฟากฝั่งรวมทั้งพื้นที่ทั่วไป เนื่องจากมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ทำให้การสัญจรไปมาไม่สะดวก นายแอ  แซ่รอ ผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้นและชาวบ้านจึงได้ร่วมใจกันตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ขึ้นมาว่า “บ้านวังน้ำ” อันเป็นผลมาจากการมีน้ำหลากมาอยู่เป็นประจำ นั่นเอง ปัจจุบันหมู่บ้านวังน้ำได้รับพัฒนาถนนหนทางจนไม่เหลือพื้นที่ที่เป็นวังน้ำให้เห็นแล้ว ประชากรในหมู่บ้านแห่งนี้ส่วนใหญ่เป็นการอพยพมาจากจังหวัดนครสวรรค์ สุพรรณบุรี และชัยนาท โดยมาตั้งอยู่ 2 ฝั่งคลองจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ ภาษาที่ใช้สื่อสาร คือ ภาษาโซ่ง และนับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพทำนา ผู้ใหญ่บ้าน/กำนันตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คือ นายแอ  แซ่รอ, นายสมบูรณ์  โอรักษ์, นายพรม  หะนาท, นายลวน  สิงห์รอ และนายอำนวย อินทนู มีวัดประจำหมู่บ้านที่เป็นศูนย์รวมจิตใจคือ “วัดวังน้ำสามัคคี” ตลอดจนใช้เป็นสถานที่เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และจัดกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนบ้านวังน้ำ เป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ของหมู่บ้าน คือ วิถีวัฒนธรรมไทยทรงดำ เน้นพิธีการไหว้ผีบรรพบุรุษ พิธีเสนเรือน ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้อยู่ดีมีสุข เจริญก้าวหน้า เช่นเดียวกันกับการไหว้บรรพบุรุษของคนจีนนั่นเอง ตลอดจนประเพณีทางพุทธศาสนา และ เทศกาลต่าง ๆ ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ ได้แก่ การใช้น้ำมันรักษาเรื่องกระดูก (ไทยทรงดำ  บ้านวังน้ำ  ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง กำแพงเพชร, 2562, ออนไลน์)
 +
== ความเป็นมาของไทยทรงดำในประเทศไทย  ==
 +
          ไทยทรงดำหรือไทดำ เดิมทีเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลไท ที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไท คือเมืองเดียนเบียนฟู (Dien Bien Phu) หรือ เดี่ยนเบียนฝู (Điện Biên Phủ) (ชื่อเดิม : แถง) เป็นเมืองหนึ่ง ในจังหวัดเดี่ยนเบียน ปัจจุบันไทดำที่เวียดนามอาศัยอยู่หนาแน่นในจังหวัดซอนลาและไลโจว (เมืองแถง) หรือเดียนเบียนฟู (ตำแหน่งในวงกลม) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเวียนนามมีเขตติดต่อกับลาวในปัจจุบัน ห่างจากกรุงฮานอยประมาณ 200 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทดำและมีชาวไทขาวซึ่งมีภาษาอยู่ในตระกูลไท-กะได เช่นเดียวกับไทยสยาม นิยมสร้างบ้านตามบริเวณริมน้ำ ประกอบอาชีพทำนาทำไร่ เมืองแห่งนี้เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงเนื่องจากเป็นที่รบยุทธการที่เดียนเบียนฟูระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินห์ เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1954 (เดียนเบียนฟู, 2562, ออนไลน์)
 +
          เมืองเบียนเดียนฟูตั้งอยู่ในแถบแม่น้ำดำและแม่น้ำแดง ไทยโซ่งมีชื่อเดิมเรียกกันว่า ไทดำหรือผู้ไทดำ (Black Tai) เพราะนิยมใส่เสื้อดำล้วน ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มคนไทยที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น ไทขาวหรือผู้ไทขาว (White Tai) นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวและไทแดง หรือผู้ไทแดง (Red Tai) ชอบใช้สีแดงขลิบและตกแต่งชายเสื้อสีดำเป็นต้น คนไทยภาคกลางมักจะเรียกกันว่า ลาวทรง ดำ และเหตุที่เรียกเช่นนี้เพราะเข้าใจว่าเป็นพวกเดียวกันกับลาว
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 2 แผนที่ประเทศเวียดนาม.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 2 แผนที่ประเทศเวียดนาม''' </p>
 +
<p align = "center"> ที่มา : unseenvietnam, 2562, ออนไลน์ </p>
 +
          และอพยพมาพร้อมกับลาวกลุ่มอื่น ๆ ต่อมาชื่อเดิมได้หดหายลง คำว่า “ดำ” หายไป นิยมเรียกกันในปัจจุบันว่า “ลาวทรง” หรือ “ลาวโซ่ง” จนบางครั้งไม่รู้ว่าลาวโซ่งนี้ คือพวก ไทดำนั่นเอง (ไทยทรงดำเพชรบุรี, 2562, ออนไลน์)
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 3 ชาวไทดำในเวียดนาม เมืองเดียนเบียนฟู.jpg|500px|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 3 ชาวไทดำในเวียดนาม เมืองเดียนเบียนฟู''' </p>
 +
<p align = "center"> ที่มา : unseenvietnam, 2562, ออนไลน์ </p>
 +
          ไทยทรงดำเป็นกลุ่มชาติพันธุ์และเป็นชนชาติไทยสาขาหนึ่ง เรียกว่า พวกผู้ไท ซึ่งแบ่งออกตามลักษณะ สีของเครื่องแต่งกาย เช่น ผู้ไทขาว, ผู้ไทแดง และผู้ไทดำ เป็นต้น  ผู้ไทดำนิยมแต่งกายด้วยสีดำจึงเรียกว่า ไทย ทรงดำ หรือ เรียกได้หลายชื่อ เช่น โซ่ง, ซ่ง, ไทยโซ่ง, ไทยซ่ง, ลาวโซ่ง, ลาวซ่ง, ลาวทรงดำ และ ลาวพุงดำ ส่วน คำว่า “โซ่ง” มีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า “ซ่วง” ซึ่งแปลว่า กางเกง เพราะเนื่องจากชาวไทยทรงดำนิยมนุ่งกางเกงทั้งชายและหญิง คนไทยและลาวพวนจึงเรียกว่า “ลาวซ่วง” ซึ่งหมายถึงลาวนุ่งกางเกง ต่อมาเพี้ยนเป็น ลาวโซ่ง เหตุที่เรียกไทยทรงดำว่า “ลาวโซ่ง” เพราะคำว่า “ลาว” เป็นคำที่คนไทยทั่วไปใช้เรียกคนที่อพยพมาจากถิ่นอื่น แต่ชาวไทยทรงดำถือตนเองว่าเป็นชนชาติไทย จึงเป็นที่มาและการตั้งถิ่นฐาน
 +
          การเข้ามาสู่ประเทศไทยของชาวไทยทรงดำ เกิดขึ้นจากสงครามสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) กระทั่งเข้าสู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) เรื่อยมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ไทยทรงดำถูกกวาดต้อนกวาดครัวมาอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นอันมาก ในระยะแรกนั้นชาวไทยทรงดำได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย (สมัยพระเจ้าตากสินและรัชกาลที่ 1) ต่อมาในระยะที่สอง (สมัยรัชกาลที่ 3) โปรดฯ ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม ลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ จึงมาตั้งถิ่นฐานที่ท่าแร้ง เมื่อปี พ.ศ. 2378 - 2381 ก่อนชาวไทยมุสลิมท่าแร้งซึ่งถูกกวาดครัวเข้ามาภายหลังโซ่ง ไทยมุสลิมหรือที่เรียกว่า แขกท่าแร้ง มาสู่เพชรบุรีในลักษณะถูกกวาดครัวเข้ามาอยู่ ณ เมืองเพชรบุรีในราวปี พ.ศ. 2328 เนื่องด้วยเหตุผลทางสงครามเช่นกัน อย่างไรก็ดี สงครามครั้งนั้นพวกลาวพวนหรือไทยพวน พวกลาวเวียง    หรือไทยเวียง ซึ่งเป็นชนชาติไทยด้วยสาขาหนึ่ง ก็ได้ถูกกวาดครัวมาด้วยเช่นกัน เพชรบุรีจึงประกอบด้วย ชนกลุ่มน้อยที่เรียกว่า “สามลาว” อันได้แก่ ลาวโซ่ง ลาวพวน และ ลาวเวียง ปัจจุบันชาวไทยทรงดำได้ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายกันอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศไทย เช่น สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เลย เป็นต้น ธรรมชาติของไทยทรงดำหรือลาวโซ่ง ชอบภูมิศาสตร์การอยู่อาศัยในลักษณะที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ชอบลักษณะภูมิประเทศ ป่าเขาเสมือนถิ่นดั้งเดิมของตน ลาวโซ่งกลุ่มนี้ไม่ชอบภูมิประเทศที่ท่าแร้ง เพราะมีลักษณะเป็นที่โล่งเกินไป จึงได้รวมกันอพยพย้ายถิ่นฐานบ้านเรือนไปเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่เคลื่อนย้ายมา ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่สะพานยี่หน ทุ่งเฟื้อ วังตะโก บ้านสามเรือน เวียงคอย เขาย้อย ตามลำดับ ลาวโซ่งนิยม ปลูกบ้านที่มีลักษณะเป็นแบบเฉพาะของตนเองคือแบบหลังคาไม่มีจั่ว หลังคายกอกไก่สูง มุงด้วยตับต้นกกไม่ใช้ตับจาก รูปหลังคาลาดคุ่มเป็นรูปคล้ายกระโจมคลุมลงมาต่ำเตี้ยจรดฝาดูไกล ๆ จะดูเหมือนไม่มีฝาบ้านเพราะเนื่องจากหลังคาคลุมมิดจนมองไม่เห็น บ้านโซ่งจะไม่มีหน้าต่างเนื่องจากโซ่งมาจากเวียดนามและลาว อยู่ตามเทือกเขามีอากาศหนาวเย็นจึงไม่นิยมมีหน้าต่างให้ลมโกรก พื้นบ้านมักปูด้วยฟากไม้ไผ่รองพื้นด้วยหนังสัตว์ นิยมทำใต้ถุนบ้านยกสูงเพื่อใช้ใต้ถุนบ้านเป็นที่เลี้ยงสัตว์
 +
=== โซ่งกับการก่อสร้างพระนครคีรี ===
 +
          พระนครคีรีเขาวัง หรือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เป็นสถานที่เที่ยวที่สำคัญของเพชรบุรีซึ่งถือได้ว่า เป็นสัญลักษณ์ของเมืองเพชรบุรี เพราะเมื่อเข้าสู่เมืองเพชรบุรี สิ่งที่จะได้เห็นโดดเด่นเห็นมาแต่ไกล คือ เขาวัง ซึ่งมีเจดีย์และอาคารสีขาวสะอาดเขาวังเป็นโบราณสถาน เก่าแก่คู่เมืองเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง 92 เมตร เดิมเรียกว่า เขาสมนหรือเขาคีรี การก่อสร้างพระราชวังบนเขาในระยะนั้นถือเป็นเรื่องยากลำบาก เนื่องจากเครื่องจักรกลเครื่องทุนแรงยังไม่มี การแผ้วถางปรับสภาพยอดเขาทั้งสามยอดให้รานราบมีทางขึ้นลงเชื่อมต่อกัน การลำเลียงอุปกรณ์เพื่อการก่อสร้างจำเป็นต้องใช้แรงงานขั้นพื้นฐานจำนวนมาก ครั้งนั้นพระเจ้ายาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งพระสมุหกลาโหม ในฐานะแม่กองงานใหญ่ในการก่อสร้างพระราชวังบนเขา มีทั้งอำนาจทางทหารกำลังไพร่พลในการควบคุมดูแลโซ่งที่ได้กวาดครัวมาไว้ที่เพชรบุรี อย่างไรก็ดี ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2378-พ.ศ. 2381) โซ่งอพยพได้ออกจากท่าแร้งไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เชิงเขากิ่ว สะพานยี่หน เวียงคอย วังตะโก ซึ่งอยู่ใกล้กับเขาสมน จึงถูกกำหนดเกณฑ์มาเพื่อใช้เป็นแรงงานสำหรับก่อสร้างพระราชวังในครั้งนี้ นับเนื่องแต่ พ.ศ. 2401-พ.ศ. 2405 เป็นต้นมา
 +
          ทุกเช้าจรดเย็นแรงงานโซ่งมักนิยมนุ่งกางเกง (ซ่วง) สีดำ สวมเสื้อก้อมย้อมสีครามดำ เดินออกจากหมู่บ้านสะพานยี่หนมุ่งตรงไปยังเขาสมน นับวัน นับเดือน นับปี ด้วยความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีต่อหน้าที่ จวบจนกระทั่งเมื่อพระราชวังบนเขาพระนครคีรีสำเร็จได้เป็นที่แปรพระราชฐาน ทรงงาน รับรองพระราชอาคันตุกะต่างประเทศ และเป็นที่พักผ่อนส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุตรหลานเจ้าเมืองและคหบดีที่มีชื่อ มารับราชการเป็นมหาดเล็กและโปรดเกล้าฯ ให้คัดเลือกโซ่งมาเป็นเด็กชาด้วย เนื่องจากทรงเห็นความดีความชอบจากการที่โซ่งมาเป็นแรงงานก่อสร้าง ช่วงก่อสร้างพระราชวังพระนครคีรีก็ทำด้วยความอดทน (ไทยทรงดำเพชรบุรี, 2562, ออนไลน์)
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 4 พระนครคีรีเขาวังจังหวัดเพชรบุรี.jpg|500px|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 4 พระนครคีรีเขาวังจังหวัดเพชรบุรี''' </p>
 +
<p align = "center"> ที่มา : ไปด้วยกัน.คอม, 2562, ออนไลน์ </p>
 +
== ที่อยู่อาศัย/ความเป็นอยู่ ==
 +
          เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมชุมชนแต่ละแห่งก็คือตัวสถาปัตยกรรมอันเป็นที่อยู่อาศัยของแต่ละชาติพันธุ์ เป็นสิ่งแสดงออกทางภูมิปัญญาซึ่งนอกเหนือไปจากความงามแล้ว การทำให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ก็เป็นสิ่งสำคัญ เฮือนไทดำหรือบ้านเรือนไทยทรงดำ แบบดั้งเดิมมักนิยมปลูกบ้านที่มีลักษณะเป็นแบบเฉพาะของตนเอง คือแบบหลังคาไม่มีจั่ว หลังคายกอกไก่สูงมุงด้วยตับต้นกกไม่ใช้ตับจาก รูปหลังคาลาดคุ่มเป็นรูปคล้ายกระโจม คลุมลงมาต่ำเตี้ยจรดฝา ดูไกล ๆ จะดูเหมือนไม่มีฝาบ้าน เพราะเนื่องจากหลังคาคลุมมิดจนมองไม่เห็น บ้านโซ่งจะไม่มีหน้าต่าง เนื่องจากโซ่งมาจากเวียดนามและลาว อยู่ตามเทือกเขา มีอากาศหนาวเย็นจึงไม่นิยมมีหน้าต่างให้ลมโกรก พื้นบ้านมักปูด้วยฟากไม้ไผ่ รองพื้นด้วยหนังสัตว์ นิยมทำใต้ถุนบ้านยกสูงเพื่อใช้ใต้ถุนบ้านเป็นที่เลี้ยงสัตว์ แต่บางพื้นที่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม คือ มีหลังคาทรงโค้งรูปกระดองเต่า มุงหญ้าคายาวคลุมลงมาเกือบถึงพื้นดินแทนฝาเรือน นอกจากนี้การยกใต้ถุนสูงก็เพื่อประโยชน์ในการเก็บสิ่งของเครื่องใช้ ไว้เป็นที่ประกอบการงาน เช่น ทอผ้า ตำข้าว มักมีแคร่ไว้นั่งนอนและเป็นที่รับแขกในเวลากลางวัน เสาเรือนทำด้วยไม้ทั้งต้น มีง่ามไว้สำหรับวางคาน จุดเด่นของบ้านเรือนของไทยทรงดำนอกเหนือจากหลังคาแล้ว คือยอดจั่วประดับด้วยไม้แกะสลักเป็นกิ่งคล้ายเขาควายไขว้กัน เรียกว่า  “ขอกุด”

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:38, 30 ธันวาคม 2563

บทนำ

         อำเภอคลองขลุง เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองกำแพงเพชร มีระยะทางห่างจากตัวอำเภอเมือง 42 กิโลเมตร มีพื้นที่ 783.332 ตร.กม. มีจำนวนประชากรที่ได้สำรวจเมื่อ พ.ศ. 2561 จำนวน 71,358 คน อำเภอคลองขลุงได้แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล 101 หมู่บ้าน ได้แก่
             1. ตำบลคลองขลุง			6. ตำบลวังแขม 		
             2. ตำบลท่ามะเขือ			7. ตำบลหัวถนน 		
             3. ตำบลท่าพุทรา			8. ตำบลวังไทร  
             4. ตำบลแม่ลาด			9. ตำบลวังบัว 				
             5. ตำบลวังยาง			10. ตำบลคลองสมบูรณ์
ภาพที่ 1 แผนที่อำเภอคลองขลุง.jpg

ภาพที่ 1 แผนที่อำเภอคลองขลุงและการแบ่งเขตการปกคลองย่อย 10 ตำบล

ที่มา : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอคลองขลุง, 2562, ออนไลน์

         ตำบลวังยาง เป็นเขตการปกครองย่อยจากทั้งหมด 10 ตำบลของอำเภอคลองขลุง โดยประกอบไปด้วย 10 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านท่าตะคร้อ, หมู่บ้านน้อย, หมู่บ้านคลองยาง, หมู่บ้านเกาะพร้าว, หมู่บ้านวังยาง, หมู่บ้านวังตะล่อม, หมู่บ้านหนองโสน, หมู่บ้านวังน้ำ, หมู่บ้านนิคม, หมู่บ้านแม่น้ำกงจีน (จังหวัดกำแพงเพชร, 2562, ออนไลน์)
         บ้านวังน้ำ เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในส่วนปกครองย่อยของตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง โดยในอดีตมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่าบริบูรณ์เป็นอย่างดี ด้วยมีลำคลองไหลผ่านกลางหมู่บ้าน มีถนนหนทางที่เดินทางสัญจรไปมาได้อย่างสะดวก ลักษณะเช่นนี้จึงมีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในตั้งชุมชนและประกอบอาชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะเกษตรกรรม จากการที่มีปัจจัยเกื้อหนุนต่อการประกอบอาชีพทำให้มีผู้คนหลากหลายเข้ามาจับจองพื้นที่เพื่ออยู่อาศัยและประกอบอาชีพตามความรู้ตามความถนัด ชาวไทยทรงดำบ้านวังน้ำเป็นกลุ่มชนหนึ่งที่ได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนในหมู่บ้านแห่งนี้โดยมาจากหลายจังหวัดด้วยกัน พร้อมทั้งยังได้นำพาวัฒนธรรมดั้งเดิมแต่ครั้งบรรพกาล ที่บรรพบุรุษได้มีการกระทำสืบต่อเนื่องกันมา สานต่อลงในหมู่บ้านแห่งนี้อย่างเคร่งครัด ตามความเชื่อดั้งเดิมอีกด้วย อย่างไรก็ดีวัฒนธรรมของชาวไทยทรงดำบ้านวังน้ำยังเป็นวัฒนธรรมชุมชนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นทางวัฒนธรรมระดับจังหวัด นอกจากนี้ วัฒนธรรมชุมชนดังกล่าวยังมีประวัติความเป็นมาของการเข้าสู่แผ่นดินไทยนับแต่ครั้งสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กระทั่งกระจายตัวกันอยู่ทั่วประเทศไทย จากจังหวัดเพชรบุรีลงไปถึงภาคใต้ที่สุราษฎร์ธานี และเรื่อยขึ้นมาจนถึงภาคเหนือจวบจนหลายภาคของประเทศไทย

คำสำคัญ : ไทยทรงดำ, บ้านวังน้ำ, วัฒนธรรมชุมชน

ความเป็นมาของบ้านวังน้ำ

         บ้านวังน้ำหรือหมู่บ้านวังน้ำ ได้ตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2492 ตั้งอยู่หมู่ 4 ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่ทั้งหมด 6,047 ไร่ โดยพื้นที่ของหมู่บ้านได้เชื่อมต่อกับพื้นที่ส่วนปกครองย่อยต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือติดกับหมู่ 2 บ้านวังตะล่อม ทิศใต้ติดกับหมู่ 3 บ้านหนองโสน ทิศตะวันออกติดกับ หมู่ 4 บ้านบึงลาดเขต ต.วังแขม ทิศตะวันตกติดกับหมู่ 7 บ้านนิคมใหม่ ระยะทางจากหมู่บ้านวังน้ำถึงตัวจังหวัดกำแพงเพชร 60 กิโลเมตร ระยะทางจากหมู่บ้านวังน้ำถึงอำเภอคลองขลุง 9 กิโลเมตร บ้านวังน้ำมีลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นเป็นที่ราบลุ่ม มีคลองวังน้ำไหลผ่านกลางหมู่บ้านยาวตลอดหัว จรดท้ายหมู่บ้าน บ้านวังน้ำ มี 3 ฤดูกาล ฤดูร้อนอากาศจะร้อนและแห้งแล้ง เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม – ตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ของทุกปีบ้านวังน้ำ มีครัวเรือนทั้งหมด 198 ครัวเรือน  มีประชากรทั้งหมด 946 คน แบ่งออกเป็นประชากร เพศชาย 463 คน คิดเป็นร้อยละ 48.94 และเป็นประชากร เพศหญิง 483 คิดเป็นร้อยล่ะ 51.06 
         ลักษณะทางสังคมของคนในหมู่บ้านวังน้ำ คนในหมู่บ้านมักปลูกสร้างบ้านเรือนติดต่อระหว่างญาติพี่น้องอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน มีการไปมาหาสู่กันระหว่างญาติพี่น้องอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดความรักสามัคคีกันระหว่างเครือญาติ ครอบครัวมีความอบอุ่น ประชากรของหมู่บ้านส่วนใหญ่มีสุขภาพแข็งแรงดี ประชาชนของหมู่บ้านใช้ภาษาท้องถิ่น (ภาษาไทยทรงดำ หรือภาษาโซ่ง) ชาวไทยทรงดำในบ้านวังน้ำส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  มีวัด มีโรงเรียน ชาวบ้านจะนิยมเข้าวัดทำบุญทุกวันพระ และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวบ้านวังน้ำจะมีประเพณี “ไทยทรงดำ” ซึ่งชาวบ้านจะถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เนื่องจากประชาชนในหมู่บ้านเป็น “ไทยทรงดำ” เน้นพิธีการไว้ผีบรรพบุรุษ ไหว้ผีเรือนตามความเชื่อ จะทำให้อยู่ดีมีสุข เจริญก้าวหน้าทางด้านการงาน และอาชีพ (ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี, 2561, น.1)
         เหตุผลที่เรียกว่าบ้านวังน้ำเพราะเนื่องจากในอดีตหมู่บ้านแห่งนี้ มีลำคลองสำคัญ คือ “คลองเลียบตะลุง” ไหลผ่านกลางหมู่บ้านและมีน้ำไหลผ่านอยู่ตลอด ครั้นเมื่อถึงฤดูน้ำหลากน้ำก็จะไหล่บ่าท่วมอยู่ทั้งสองฟากฝั่งรวมทั้งพื้นที่ทั่วไป เนื่องจากมีสภาพภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ทำให้การสัญจรไปมาไม่สะดวก นายแอ  แซ่รอ ผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้นและชาวบ้านจึงได้ร่วมใจกันตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ขึ้นมาว่า “บ้านวังน้ำ” อันเป็นผลมาจากการมีน้ำหลากมาอยู่เป็นประจำ นั่นเอง ปัจจุบันหมู่บ้านวังน้ำได้รับพัฒนาถนนหนทางจนไม่เหลือพื้นที่ที่เป็นวังน้ำให้เห็นแล้ว ประชากรในหมู่บ้านแห่งนี้ส่วนใหญ่เป็นการอพยพมาจากจังหวัดนครสวรรค์ สุพรรณบุรี และชัยนาท โดยมาตั้งอยู่ 2 ฝั่งคลองจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ ภาษาที่ใช้สื่อสาร คือ ภาษาโซ่ง และนับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพทำนา ผู้ใหญ่บ้าน/กำนันตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน คือ นายแอ  แซ่รอ, นายสมบูรณ์  โอรักษ์, นายพรม  หะนาท, นายลวน  สิงห์รอ และนายอำนวย อินทนู มีวัดประจำหมู่บ้านที่เป็นศูนย์รวมจิตใจคือ “วัดวังน้ำสามัคคี” ตลอดจนใช้เป็นสถานที่เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และจัดกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนบ้านวังน้ำ เป็นโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ของหมู่บ้าน คือ วิถีวัฒนธรรมไทยทรงดำ เน้นพิธีการไหว้ผีบรรพบุรุษ พิธีเสนเรือน ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้อยู่ดีมีสุข เจริญก้าวหน้า เช่นเดียวกันกับการไหว้บรรพบุรุษของคนจีนนั่นเอง ตลอดจนประเพณีทางพุทธศาสนา และ เทศกาลต่าง ๆ ส่วนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าสนใจ ได้แก่ การใช้น้ำมันรักษาเรื่องกระดูก (ไทยทรงดำ  บ้านวังน้ำ  ตำบลวังยาง อำเภอคลองขลุง กำแพงเพชร, 2562, ออนไลน์)

ความเป็นมาของไทยทรงดำในประเทศไทย

         ไทยทรงดำหรือไทดำ เดิมทีเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลไท ที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแคว้นสิบสองจุไท คือเมืองเดียนเบียนฟู (Dien Bien Phu) หรือ เดี่ยนเบียนฝู (Điện Biên Phủ) (ชื่อเดิม : แถง) เป็นเมืองหนึ่ง ในจังหวัดเดี่ยนเบียน ปัจจุบันไทดำที่เวียดนามอาศัยอยู่หนาแน่นในจังหวัดซอนลาและไลโจว (เมืองแถง) หรือเดียนเบียนฟู (ตำแหน่งในวงกลม) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเวียนนามมีเขตติดต่อกับลาวในปัจจุบัน ห่างจากกรุงฮานอยประมาณ 200 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทดำและมีชาวไทขาวซึ่งมีภาษาอยู่ในตระกูลไท-กะได เช่นเดียวกับไทยสยาม นิยมสร้างบ้านตามบริเวณริมน้ำ ประกอบอาชีพทำนาทำไร่ เมืองแห่งนี้เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงเนื่องจากเป็นที่รบยุทธการที่เดียนเบียนฟูระหว่างฝรั่งเศสกับเวียดมินห์ เมื่อเดือนมีนาคม ค.ศ. 1954 (เดียนเบียนฟู, 2562, ออนไลน์) 
         เมืองเบียนเดียนฟูตั้งอยู่ในแถบแม่น้ำดำและแม่น้ำแดง ไทยโซ่งมีชื่อเดิมเรียกกันว่า ไทดำหรือผู้ไทดำ (Black Tai) เพราะนิยมใส่เสื้อดำล้วน ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มคนไทยที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น ไทขาวหรือผู้ไทขาว (White Tai) นิยมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวและไทแดง หรือผู้ไทแดง (Red Tai) ชอบใช้สีแดงขลิบและตกแต่งชายเสื้อสีดำเป็นต้น คนไทยภาคกลางมักจะเรียกกันว่า ลาวทรง ดำ และเหตุที่เรียกเช่นนี้เพราะเข้าใจว่าเป็นพวกเดียวกันกับลาว
ภาพที่ 2 แผนที่ประเทศเวียดนาม.jpg

ภาพที่ 2 แผนที่ประเทศเวียดนาม

ที่มา : unseenvietnam, 2562, ออนไลน์

         และอพยพมาพร้อมกับลาวกลุ่มอื่น ๆ ต่อมาชื่อเดิมได้หดหายลง คำว่า “ดำ” หายไป นิยมเรียกกันในปัจจุบันว่า “ลาวทรง” หรือ “ลาวโซ่ง” จนบางครั้งไม่รู้ว่าลาวโซ่งนี้ คือพวก ไทดำนั่นเอง (ไทยทรงดำเพชรบุรี, 2562, ออนไลน์)
ภาพที่ 3 ชาวไทดำในเวียดนาม เมืองเดียนเบียนฟู.jpg

ภาพที่ 3 ชาวไทดำในเวียดนาม เมืองเดียนเบียนฟู

ที่มา : unseenvietnam, 2562, ออนไลน์

         ไทยทรงดำเป็นกลุ่มชาติพันธุ์และเป็นชนชาติไทยสาขาหนึ่ง เรียกว่า พวกผู้ไท ซึ่งแบ่งออกตามลักษณะ สีของเครื่องแต่งกาย เช่น ผู้ไทขาว, ผู้ไทแดง และผู้ไทดำ เป็นต้น  ผู้ไทดำนิยมแต่งกายด้วยสีดำจึงเรียกว่า ไทย ทรงดำ หรือ เรียกได้หลายชื่อ เช่น โซ่ง, ซ่ง, ไทยโซ่ง, ไทยซ่ง, ลาวโซ่ง, ลาวซ่ง, ลาวทรงดำ และ ลาวพุงดำ ส่วน คำว่า “โซ่ง” มีข้อสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า “ซ่วง” ซึ่งแปลว่า กางเกง เพราะเนื่องจากชาวไทยทรงดำนิยมนุ่งกางเกงทั้งชายและหญิง คนไทยและลาวพวนจึงเรียกว่า “ลาวซ่วง” ซึ่งหมายถึงลาวนุ่งกางเกง ต่อมาเพี้ยนเป็น ลาวโซ่ง เหตุที่เรียกไทยทรงดำว่า “ลาวโซ่ง” เพราะคำว่า “ลาว” เป็นคำที่คนไทยทั่วไปใช้เรียกคนที่อพยพมาจากถิ่นอื่น แต่ชาวไทยทรงดำถือตนเองว่าเป็นชนชาติไทย จึงเป็นที่มาและการตั้งถิ่นฐาน 
         การเข้ามาสู่ประเทศไทยของชาวไทยทรงดำ เกิดขึ้นจากสงครามสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) กระทั่งเข้าสู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) เรื่อยมาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ไทยทรงดำถูกกวาดต้อนกวาดครัวมาอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นอันมาก ในระยะแรกนั้นชาวไทยทรงดำได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย (สมัยพระเจ้าตากสินและรัชกาลที่ 1) ต่อมาในระยะที่สอง (สมัยรัชกาลที่ 3) โปรดฯ ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลท่าแร้ง อำเภอบ้านแหลม ลาวโซ่งหรือไทยทรงดำ จึงมาตั้งถิ่นฐานที่ท่าแร้ง เมื่อปี พ.ศ. 2378 - 2381 ก่อนชาวไทยมุสลิมท่าแร้งซึ่งถูกกวาดครัวเข้ามาภายหลังโซ่ง ไทยมุสลิมหรือที่เรียกว่า แขกท่าแร้ง มาสู่เพชรบุรีในลักษณะถูกกวาดครัวเข้ามาอยู่ ณ เมืองเพชรบุรีในราวปี พ.ศ. 2328 เนื่องด้วยเหตุผลทางสงครามเช่นกัน อย่างไรก็ดี สงครามครั้งนั้นพวกลาวพวนหรือไทยพวน พวกลาวเวียง     หรือไทยเวียง ซึ่งเป็นชนชาติไทยด้วยสาขาหนึ่ง ก็ได้ถูกกวาดครัวมาด้วยเช่นกัน เพชรบุรีจึงประกอบด้วย ชนกลุ่มน้อยที่เรียกว่า “สามลาว” อันได้แก่ ลาวโซ่ง ลาวพวน และ ลาวเวียง ปัจจุบันชาวไทยทรงดำได้ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายกันอยู่ในพื้นที่หลายจังหวัดทั่วทุกภาคของประเทศไทย เช่น สุราษฎร์ธานี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก เลย เป็นต้น ธรรมชาติของไทยทรงดำหรือลาวโซ่ง ชอบภูมิศาสตร์การอยู่อาศัยในลักษณะที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง ชอบลักษณะภูมิประเทศ ป่าเขาเสมือนถิ่นดั้งเดิมของตน ลาวโซ่งกลุ่มนี้ไม่ชอบภูมิประเทศที่ท่าแร้ง เพราะมีลักษณะเป็นที่โล่งเกินไป จึงได้รวมกันอพยพย้ายถิ่นฐานบ้านเรือนไปเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่เคลื่อนย้ายมา ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่สะพานยี่หน ทุ่งเฟื้อ วังตะโก บ้านสามเรือน เวียงคอย เขาย้อย ตามลำดับ ลาวโซ่งนิยม ปลูกบ้านที่มีลักษณะเป็นแบบเฉพาะของตนเองคือแบบหลังคาไม่มีจั่ว หลังคายกอกไก่สูง มุงด้วยตับต้นกกไม่ใช้ตับจาก รูปหลังคาลาดคุ่มเป็นรูปคล้ายกระโจมคลุมลงมาต่ำเตี้ยจรดฝาดูไกล ๆ จะดูเหมือนไม่มีฝาบ้านเพราะเนื่องจากหลังคาคลุมมิดจนมองไม่เห็น บ้านโซ่งจะไม่มีหน้าต่างเนื่องจากโซ่งมาจากเวียดนามและลาว อยู่ตามเทือกเขามีอากาศหนาวเย็นจึงไม่นิยมมีหน้าต่างให้ลมโกรก พื้นบ้านมักปูด้วยฟากไม้ไผ่รองพื้นด้วยหนังสัตว์ นิยมทำใต้ถุนบ้านยกสูงเพื่อใช้ใต้ถุนบ้านเป็นที่เลี้ยงสัตว์

โซ่งกับการก่อสร้างพระนครคีรี

         พระนครคีรีเขาวัง หรือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เป็นสถานที่เที่ยวที่สำคัญของเพชรบุรีซึ่งถือได้ว่า เป็นสัญลักษณ์ของเมืองเพชรบุรี เพราะเมื่อเข้าสู่เมืองเพชรบุรี สิ่งที่จะได้เห็นโดดเด่นเห็นมาแต่ไกล คือ เขาวัง ซึ่งมีเจดีย์และอาคารสีขาวสะอาดเขาวังเป็นโบราณสถาน เก่าแก่คู่เมืองเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง 92 เมตร เดิมเรียกว่า เขาสมนหรือเขาคีรี การก่อสร้างพระราชวังบนเขาในระยะนั้นถือเป็นเรื่องยากลำบาก เนื่องจากเครื่องจักรกลเครื่องทุนแรงยังไม่มี การแผ้วถางปรับสภาพยอดเขาทั้งสามยอดให้รานราบมีทางขึ้นลงเชื่อมต่อกัน การลำเลียงอุปกรณ์เพื่อการก่อสร้างจำเป็นต้องใช้แรงงานขั้นพื้นฐานจำนวนมาก ครั้งนั้นพระเจ้ายาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งพระสมุหกลาโหม ในฐานะแม่กองงานใหญ่ในการก่อสร้างพระราชวังบนเขา มีทั้งอำนาจทางทหารกำลังไพร่พลในการควบคุมดูแลโซ่งที่ได้กวาดครัวมาไว้ที่เพชรบุรี อย่างไรก็ดี ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2378-พ.ศ. 2381) โซ่งอพยพได้ออกจากท่าแร้งไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เชิงเขากิ่ว สะพานยี่หน เวียงคอย วังตะโก ซึ่งอยู่ใกล้กับเขาสมน จึงถูกกำหนดเกณฑ์มาเพื่อใช้เป็นแรงงานสำหรับก่อสร้างพระราชวังในครั้งนี้ นับเนื่องแต่ พ.ศ. 2401-พ.ศ. 2405 เป็นต้นมา 
         ทุกเช้าจรดเย็นแรงงานโซ่งมักนิยมนุ่งกางเกง (ซ่วง) สีดำ สวมเสื้อก้อมย้อมสีครามดำ เดินออกจากหมู่บ้านสะพานยี่หนมุ่งตรงไปยังเขาสมน นับวัน นับเดือน นับปี ด้วยความซื่อสัตย์ และจงรักภักดีต่อหน้าที่ จวบจนกระทั่งเมื่อพระราชวังบนเขาพระนครคีรีสำเร็จได้เป็นที่แปรพระราชฐาน ทรงงาน รับรองพระราชอาคันตุกะต่างประเทศ และเป็นที่พักผ่อนส่วนพระองค์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุตรหลานเจ้าเมืองและคหบดีที่มีชื่อ มารับราชการเป็นมหาดเล็กและโปรดเกล้าฯ ให้คัดเลือกโซ่งมาเป็นเด็กชาด้วย เนื่องจากทรงเห็นความดีความชอบจากการที่โซ่งมาเป็นแรงงานก่อสร้าง ช่วงก่อสร้างพระราชวังพระนครคีรีก็ทำด้วยความอดทน (ไทยทรงดำเพชรบุรี, 2562, ออนไลน์)
ภาพที่ 4 พระนครคีรีเขาวังจังหวัดเพชรบุรี.jpg

ภาพที่ 4 พระนครคีรีเขาวังจังหวัดเพชรบุรี

ที่มา : ไปด้วยกัน.คอม, 2562, ออนไลน์

ที่อยู่อาศัย/ความเป็นอยู่

         เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมชุมชนแต่ละแห่งก็คือตัวสถาปัตยกรรมอันเป็นที่อยู่อาศัยของแต่ละชาติพันธุ์ เป็นสิ่งแสดงออกทางภูมิปัญญาซึ่งนอกเหนือไปจากความงามแล้ว การทำให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ก็เป็นสิ่งสำคัญ เฮือนไทดำหรือบ้านเรือนไทยทรงดำ แบบดั้งเดิมมักนิยมปลูกบ้านที่มีลักษณะเป็นแบบเฉพาะของตนเอง คือแบบหลังคาไม่มีจั่ว หลังคายกอกไก่สูงมุงด้วยตับต้นกกไม่ใช้ตับจาก รูปหลังคาลาดคุ่มเป็นรูปคล้ายกระโจม คลุมลงมาต่ำเตี้ยจรดฝา ดูไกล ๆ จะดูเหมือนไม่มีฝาบ้าน เพราะเนื่องจากหลังคาคลุมมิดจนมองไม่เห็น บ้านโซ่งจะไม่มีหน้าต่าง เนื่องจากโซ่งมาจากเวียดนามและลาว อยู่ตามเทือกเขา มีอากาศหนาวเย็นจึงไม่นิยมมีหน้าต่างให้ลมโกรก พื้นบ้านมักปูด้วยฟากไม้ไผ่ รองพื้นด้วยหนังสัตว์ นิยมทำใต้ถุนบ้านยกสูงเพื่อใช้ใต้ถุนบ้านเป็นที่เลี้ยงสัตว์ แต่บางพื้นที่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม คือ มีหลังคาทรงโค้งรูปกระดองเต่า มุงหญ้าคายาวคลุมลงมาเกือบถึงพื้นดินแทนฝาเรือน นอกจากนี้การยกใต้ถุนสูงก็เพื่อประโยชน์ในการเก็บสิ่งของเครื่องใช้ ไว้เป็นที่ประกอบการงาน เช่น ทอผ้า ตำข้าว มักมีแคร่ไว้นั่งนอนและเป็นที่รับแขกในเวลากลางวัน เสาเรือนทำด้วยไม้ทั้งต้น มีง่ามไว้สำหรับวางคาน จุดเด่นของบ้านเรือนของไทยทรงดำนอกเหนือจากหลังคาแล้ว คือยอดจั่วประดับด้วยไม้แกะสลักเป็นกิ่งคล้ายเขาควายไขว้กัน เรียกว่า  “ขอกุด”