ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร"
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 91: | แถว 91: | ||
<p align = "center"> '''เกริ่น''' </p> | <p align = "center"> '''เกริ่น''' </p> | ||
<p align = "center"> '''ร้อง''' </p> | <p align = "center"> '''ร้อง''' </p> | ||
− | + | กำแพงเพชรรวมชาติพันธุ์ชนหลายเผ่า อยู่นานเนาวัฒนธรรมที่หลากหลาย | |
− | + | ชนหลายกลุ่มลุ่มแม่ปิงมิเสื่อมคลาย สื่อความหมายต่างสายน้ำเนิ่นนานมา | |
+ | '''1. เผ่าม้ง''' แคนม้งเกริ่น | ||
+ | ชาวเผ่าม้งนุ่งห่มสีดำขลับ งามประดับลูกปัดเหรียญทรงคุณค่า | ||
+ | กระทบเสียงเมื่อเคลื่อนไหวมีราคา บ่งบอกค่าฐานะทางสังคม |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:06, 12 มกราคม 2564
เนื้อหา
บทนำ
จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่ชัดเจนมีแม่น้ำ ภูเขา อุทยานประวัติที่สวยงามน่าสนใจ มีกลุ่มชนที่หลากหลายจึงเป็นเมืองที่น่าสนใจ น่าท่องเที่ยวอีกเมืองหนึ่งจังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองเก่าที่นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง เช่น เมืองชากังราว นครชุม ไตรตรึงษ์ เทพนคร และเมืองคณฑี นอกจากนี้เมืองกำแพงเพชรยังเป็นเมืองที่สองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ครองเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น " พระยาวชิรปราการ" ต่อมาในปี พ.ศ.2459 ได้เปลี่ยนเมืองกำแพงเพชรเป็นจังหวัดกำแพงเพชรตามประวัติศาสตร์ กล่าวว่า กำแพงเพชร เป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เดิมเรียกชื่อว่า " เมืองชากังราว" และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไตรตรึงษ์ เทพนคร ฯลฯ การที่กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านรับศึกสงครามในอดีตอยู่เสมอ จึงเป็นเมืองยุทธศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงให้เห็น ว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น กำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการ วัดโบราณ มีหลักฐาน ให้สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง คือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม โดยเมืองนครชุมสร้างขึ้นก่อน ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง พระเจ้าเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ. ศ. 1800 ต่อมาสมัยพระเจ้าลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงคือ “เมืองชากังราว” สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงบันทึกเรื่อง กำแพงเมืองไว้ว่า " เป็นกำแพงเมืองที่เก่าแก่ มั่นคง ยังมีความสมบูรณ์มาก และเชื่อว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทยปัจจุบันจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง เพราะมีโบราณสถานเก่าแก่ซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลงหลายแห่งรวมอยู่ใน "อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร" ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534 ด้วยความงดงามและอุดมไปด้วยทรัพยากรทางวัฒนธรรมมากมาก คณะทำงานจึงจึงมีแนวคิดที่นำวัฒนธรรมของกลุ่มชนที่ปรากฏในจังหวัดกำแพงเพชรนำเอกลักษณ์เด่นเฉพาะด้านเครื่องแต่งกายนำมาเสนอรูปแบบในด้านการแต่งกายในรูแบบการแสดงนาฏศิลป์ ในการจัดขบวนการสร้างงานนาฏศิลป์สร้างสรรค์ชุดนี้ได้นำและคัดเลือก ชนเผ่าม้ง เผ่าเย้า เผ่ามูเซอ เผ่าลีซอ เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าล๊วะ และกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ไทยยวน และลาวครั่ง ซึ่งทุกชาติพันธุ์ได้เข้ามาพำนักในจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเวลา ยาวนานได้นำศิลปะและวัฒนธรรมติดตามเข้ามาและได้ปฏิบัติสืบทอด ทั้งวิถีวัฒนธรรมความเป็นอยู่ พิธีกรรม อาหาร และที่งดงามคือเครื่องแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้คณะดำเนินการจัดการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์จึงได้สร้างสรรค์การแสดงชุดนี้ขึ้นเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ ได้ทั้งด้านการศึกษา ด้านการแสดส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองกำแพงเพชรได้อย่างมีคุณค่ะต่อไป
คำสำคัญ : ระบำชาติพันธุ์, กำแพงเพชร
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจคือ เรื่องการแสดงและต้อนรับ ซึ่งต้องเน้นให้เห็นชัดเจนว่าเป็นการแสดงเฉพาะถิ่นที่ไม่ซ้ำกับการแสดงที่อื่น มาท่องเที่ยวกำแพงเพชรจึงมีโอกาสที่จะได้ชมการแสดงชุดนี้เท่านั้น ด้วยความเหตุนี้คณะทำงานจึงได้ประดิษฐ์สร้างสรรค์การแสดงชุดระบำชาติพันธุ์ด้วยเหตุผลคือ เพื่อสร้างระบำชุดใหม่ใช้แสดงต้อนรับนักท่องเที่ยว เป็นการสร้างการแสดงสร้างสรรค์ให้เกิดความเหมาะสมและสามารถเป็นสื่ออัตลักษณ์ความเป็นกำแพงเพชร และเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรม โดยการแสดงในชุดการแสดงเป็นบทบาทหนึ่งที่สำนักศิลปะและวัฒนธรรมให้การสนับสนุนสร้างสรรค์และให้เกิดมาตรฐานสามารถนำไปใช้ในการแสดงได้อย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายสร้างชุดการแสดง 1 ชุด ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชรเป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต แตกต่างด้วยเครื่องแต่งกายแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนของชนเผ่าที่มีความงดงามในการสร้างสรรค์ชุดการแสดงจึงได้มีแนวคิดการนำวัฒนธรรมด้านการแต่งกายมานำเสนอในด้านการแสดงนาฏศิลป์เพื่อเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญาของชาติพันธุ์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 2. เพื่อศึกษาค้นคว้าการสร้างประดิษฐ์และสร้างสรรค์การแสดง 1 ชุด ให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น 3. เพื่อใช้ในการแสดงในโอกาสต่าง ๆ ได้ อย่างเหมาะสม
ขั้นตอน/กระบวนการ
1. รวบรวมข้อมูลจากเอกาสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. ศึกษาข้อมูลลงพื้นที่เก็บรวมรวมข้อมูลจาก สถานที่จริง - วิเคราะห์ข้อมูล แต่งเนื้อร้อง ทำนองเพลง - ประดิษฐ์ท่ารำ - ออกแบบเครื่องแต่งกายประกอบการแสดง - ฝึกซ้อมการแสดง - จัดการแสดงและประเมินผล
ประเภทการแสดง “ระบำ” เป็นการแสดงชุดสร้างสรรค์
โอกาสที่ใช้ในการแสดง - การแสดงต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร - ใช้ในโอกาสเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม - ใช้ในการแสดงในงานประเพณีของจังหวัดกำแพงเพชร - ใช้แสดงเพื่อการเรียนการสอน ผู้คิดค้น - ท่ารำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธิ์หรรษา - ประพันธ์เพลง นายอนุลักษณ์ อาสาสู้ - เครื่องแต่งกาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธ์หรรษา สถานที่ริเริ่ม/สถานที่แสดง - มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร - งานมหกรรมวัฒนธรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ - เวทีกลางงานประเพณีจังหวัดกำแพงเพชร
ข้อมูลการแสดง
ข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ ที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร เผ่าม้ง อำเภอคลองลาน อำเภอปางศิลาทอง เผ่าเย้า อำเภอคลองลาน อำเภอปางศิลาทอง เผ่ากะเหรี่ยง อำเภอคลองลาน อำเภอโกสัมพี เผ่ามูเซอ อำเภอคลองลาน อำเภอขาณุวรลักษบุรี เผ่าลัวะ อำเภอคลองลาน เผ่าลีซอ อำเภอคลองลาน ไทยวน อำเภอคลองลาน อำเภอเมือง ไทยทรงดำ อำเภอลานกระบือ อำเภอเมือง อำเภอคลองขลุง ลาวครั่ง อำเภอขาณุวรลักษบุรี
ภาพที่ 1 เผ่ากระเหรี่ยง และ เผ่าเย้า
ภาพที่ 2 เผ่าลีซอ และ เผ่ามูเซอ
ภาพที่ 3 เผ่าม้ง และ เผ่าลั๊วะ
ภาพที่ 4 ไทยทรงดำ และ ไทยยวน
ภาพที่ 5 ลาวครั่ง
ภาพที่ 6 รวมภาพกลุ่มชาติพันธุ์
การกำหนดจำนวนนักแสดง
- จำนวน 9 คน หรือ 18 คน - ลักษณะผู้แสดง ใช้ผู้หญิงแสดงล้วนเพื่อเป็นการแสดงที่มุ่งเน้นการแสดงเอกลักษณ์
การแต่งกาย
แต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์ของสุภาพสตรี การแต่งกายผู้แสดง/เครื่องประดับ
ภาพที่ 7 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 8 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 9 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 10 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 11 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 12 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 13 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 14 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 15 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 16 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 17 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ข้อมูลเพลง/ดนตรี
แนวคิดในการแต่งเพลงระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร เพลงระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชรประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือส่วนแรกส่วนนำหรือเกริ่นหัวเพลงและส่วนสองเพลงแต่ละกลุ่มชนเผ่าชาติพันธุ์ และส่วนสุดท้ายคือส่วนสรุปเป็นเพลงเร็วและจบท้ายด้วยเพลงรัวเฉพาะผู้ประพันธ์ได้อาศัยเค้าโครงจากระบำรวมเผ่าชาวเขาเดิม อาศัยสำนวนสำเนียงเพลงสั้นๆมาแต่งเป็นเพลงประกอบการแสดงระบำชาติพันธุ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2561-2562 ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงการแต่งกายที่สวยงามของแต่ละของแต่ละชาติพันธุ์ ซึ่งมีอัตลักษณ์ของกลุ่มชนที่โดดเด่นในกำแพงเพชร เนื้อเพลงในตอนท้ายปรับปรุงมาจากเพลงร้องพื้นบ้านกำแพงเพชรและต่อด้วยเพลงเร็ว และเพลงรัว ซึ่งแต่งขึ้นเฉพาะ ใช้วงดนตรีพื้นเมืองเหนือยืนพื้นบรรเลงเฉพาะสอดแทรกด้วยเครื่องดนตรี ประเภทแคน กลอง เกราะ บรรเลงคั่น เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่เฉพาะเพื่อใช้ในการแสดงชุดระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร ชื่อเพลง “ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร”
เนื้อเพลง
เกริ่น
ร้อง
กำแพงเพชรรวมชาติพันธุ์ชนหลายเผ่า อยู่นานเนาวัฒนธรรมที่หลากหลาย ชนหลายกลุ่มลุ่มแม่ปิงมิเสื่อมคลาย สื่อความหมายต่างสายน้ำเนิ่นนานมา 1. เผ่าม้ง แคนม้งเกริ่น ชาวเผ่าม้งนุ่งห่มสีดำขลับ งามประดับลูกปัดเหรียญทรงคุณค่า กระทบเสียงเมื่อเคลื่อนไหวมีราคา บ่งบอกค่าฐานะทางสังคม