ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร"
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (→เนื้อเพลง) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (→เนื้อเพลง) |
||
แถว 113: | แถว 113: | ||
'''7. ไทยยวน''' แคนแปด | '''7. ไทยยวน''' แคนแปด | ||
ไทยยวนแต่งกายคล้ายลานนา ซิ่นทอหัวผ้าลวดลายงามสม | ไทยยวนแต่งกายคล้ายลานนา ซิ่นทอหัวผ้าลวดลายงามสม | ||
− | สวมเสื้อแขนกระบอกสไบห่ม | + | สวมเสื้อแขนกระบอกสไบห่ม เกล้ามวยผมประดับดอกไม้มากมี |
'''8. ไทยทรงดำ''' แคนแปด ไหซอง | '''8. ไทยทรงดำ''' แคนแปด ไหซอง | ||
ไทยทรงดำจดจำมั่นหมาย พวกเราทั้งหลายสวมใส่”เสื้อฮี” | ไทยทรงดำจดจำมั่นหมาย พวกเราทั้งหลายสวมใส่”เสื้อฮี” | ||
สีดำเป็นอัตลักษณ์ยึดมั่นในประเพณี งานสำคัญของเรานี้สวมใส่เสื้อฮีพร้อมเพรียงกัน | สีดำเป็นอัตลักษณ์ยึดมั่นในประเพณี งานสำคัญของเรานี้สวมใส่เสื้อฮีพร้อมเพรียงกัน | ||
'''9. ลาวครั่ง (คั่ง)''' แคนแปด ไหซอง | '''9. ลาวครั่ง (คั่ง)''' แคนแปด ไหซอง | ||
− | ชาวครั่งพวกเราเผ่านี้หนอ | + | ชาวครั่งพวกเราเผ่านี้หนอ นุ่งห่มผ้าทอด้วยผ้าไหมงามดี |
งามเด่นนุ่งห่มมากมี ผืนดินแดนนี้มีสุขยืนนาน | งามเด่นนุ่งห่มมากมี ผืนดินแดนนี้มีสุขยืนนาน | ||
− | + | (สรุปซึงเกริ่น) | |
ทุกชาติพันธุ์ล้วนพี่น้องเป็นผองเผ่า อยู่นานเนากำแพงเพชรสมัครสมาน | ทุกชาติพันธุ์ล้วนพี่น้องเป็นผองเผ่า อยู่นานเนากำแพงเพชรสมัครสมาน | ||
บนผืนดินชากังราวมาเนิ่นนาน สุขสำราญสามัคคีพีน้องไทย | บนผืนดินชากังราวมาเนิ่นนาน สุขสำราญสามัคคีพีน้องไทย |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:15, 12 มกราคม 2564
เนื้อหา
บทนำ
จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่ชัดเจนมีแม่น้ำ ภูเขา อุทยานประวัติที่สวยงามน่าสนใจ มีกลุ่มชนที่หลากหลายจึงเป็นเมืองที่น่าสนใจ น่าท่องเที่ยวอีกเมืองหนึ่งจังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองเก่าที่นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง เช่น เมืองชากังราว นครชุม ไตรตรึงษ์ เทพนคร และเมืองคณฑี นอกจากนี้เมืองกำแพงเพชรยังเป็นเมืองที่สองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ครองเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น " พระยาวชิรปราการ" ต่อมาในปี พ.ศ.2459 ได้เปลี่ยนเมืองกำแพงเพชรเป็นจังหวัดกำแพงเพชรตามประวัติศาสตร์ กล่าวว่า กำแพงเพชร เป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เดิมเรียกชื่อว่า " เมืองชากังราว" และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไตรตรึงษ์ เทพนคร ฯลฯ การที่กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านรับศึกสงครามในอดีตอยู่เสมอ จึงเป็นเมืองยุทธศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงให้เห็น ว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น กำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการ วัดโบราณ มีหลักฐาน ให้สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง คือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม โดยเมืองนครชุมสร้างขึ้นก่อน ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง พระเจ้าเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ. ศ. 1800 ต่อมาสมัยพระเจ้าลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงคือ “เมืองชากังราว” สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงบันทึกเรื่อง กำแพงเมืองไว้ว่า " เป็นกำแพงเมืองที่เก่าแก่ มั่นคง ยังมีความสมบูรณ์มาก และเชื่อว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทยปัจจุบันจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง เพราะมีโบราณสถานเก่าแก่ซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลงหลายแห่งรวมอยู่ใน "อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร" ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534 ด้วยความงดงามและอุดมไปด้วยทรัพยากรทางวัฒนธรรมมากมาก คณะทำงานจึงจึงมีแนวคิดที่นำวัฒนธรรมของกลุ่มชนที่ปรากฏในจังหวัดกำแพงเพชรนำเอกลักษณ์เด่นเฉพาะด้านเครื่องแต่งกายนำมาเสนอรูปแบบในด้านการแต่งกายในรูแบบการแสดงนาฏศิลป์ ในการจัดขบวนการสร้างงานนาฏศิลป์สร้างสรรค์ชุดนี้ได้นำและคัดเลือก ชนเผ่าม้ง เผ่าเย้า เผ่ามูเซอ เผ่าลีซอ เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าล๊วะ และกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ไทยยวน และลาวครั่ง ซึ่งทุกชาติพันธุ์ได้เข้ามาพำนักในจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเวลา ยาวนานได้นำศิลปะและวัฒนธรรมติดตามเข้ามาและได้ปฏิบัติสืบทอด ทั้งวิถีวัฒนธรรมความเป็นอยู่ พิธีกรรม อาหาร และที่งดงามคือเครื่องแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้คณะดำเนินการจัดการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์จึงได้สร้างสรรค์การแสดงชุดนี้ขึ้นเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ ได้ทั้งด้านการศึกษา ด้านการแสดส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองกำแพงเพชรได้อย่างมีคุณค่ะต่อไป
คำสำคัญ : ระบำชาติพันธุ์, กำแพงเพชร
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจคือ เรื่องการแสดงและต้อนรับ ซึ่งต้องเน้นให้เห็นชัดเจนว่าเป็นการแสดงเฉพาะถิ่นที่ไม่ซ้ำกับการแสดงที่อื่น มาท่องเที่ยวกำแพงเพชรจึงมีโอกาสที่จะได้ชมการแสดงชุดนี้เท่านั้น ด้วยความเหตุนี้คณะทำงานจึงได้ประดิษฐ์สร้างสรรค์การแสดงชุดระบำชาติพันธุ์ด้วยเหตุผลคือ เพื่อสร้างระบำชุดใหม่ใช้แสดงต้อนรับนักท่องเที่ยว เป็นการสร้างการแสดงสร้างสรรค์ให้เกิดความเหมาะสมและสามารถเป็นสื่ออัตลักษณ์ความเป็นกำแพงเพชร และเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรม โดยการแสดงในชุดการแสดงเป็นบทบาทหนึ่งที่สำนักศิลปะและวัฒนธรรมให้การสนับสนุนสร้างสรรค์และให้เกิดมาตรฐานสามารถนำไปใช้ในการแสดงได้อย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายสร้างชุดการแสดง 1 ชุด ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชรเป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต แตกต่างด้วยเครื่องแต่งกายแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนของชนเผ่าที่มีความงดงามในการสร้างสรรค์ชุดการแสดงจึงได้มีแนวคิดการนำวัฒนธรรมด้านการแต่งกายมานำเสนอในด้านการแสดงนาฏศิลป์เพื่อเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญาของชาติพันธุ์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 2. เพื่อศึกษาค้นคว้าการสร้างประดิษฐ์และสร้างสรรค์การแสดง 1 ชุด ให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น 3. เพื่อใช้ในการแสดงในโอกาสต่าง ๆ ได้ อย่างเหมาะสม
ขั้นตอน/กระบวนการ
1. รวบรวมข้อมูลจากเอกาสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. ศึกษาข้อมูลลงพื้นที่เก็บรวมรวมข้อมูลจาก สถานที่จริง - วิเคราะห์ข้อมูล แต่งเนื้อร้อง ทำนองเพลง - ประดิษฐ์ท่ารำ - ออกแบบเครื่องแต่งกายประกอบการแสดง - ฝึกซ้อมการแสดง - จัดการแสดงและประเมินผล
ประเภทการแสดง “ระบำ” เป็นการแสดงชุดสร้างสรรค์
โอกาสที่ใช้ในการแสดง - การแสดงต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร - ใช้ในโอกาสเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม - ใช้ในการแสดงในงานประเพณีของจังหวัดกำแพงเพชร - ใช้แสดงเพื่อการเรียนการสอน ผู้คิดค้น - ท่ารำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธิ์หรรษา - ประพันธ์เพลง นายอนุลักษณ์ อาสาสู้ - เครื่องแต่งกาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธ์หรรษา สถานที่ริเริ่ม/สถานที่แสดง - มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร - งานมหกรรมวัฒนธรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ - เวทีกลางงานประเพณีจังหวัดกำแพงเพชร
ข้อมูลการแสดง
ข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ ที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร เผ่าม้ง อำเภอคลองลาน อำเภอปางศิลาทอง เผ่าเย้า อำเภอคลองลาน อำเภอปางศิลาทอง เผ่ากะเหรี่ยง อำเภอคลองลาน อำเภอโกสัมพี เผ่ามูเซอ อำเภอคลองลาน อำเภอขาณุวรลักษบุรี เผ่าลัวะ อำเภอคลองลาน เผ่าลีซอ อำเภอคลองลาน ไทยวน อำเภอคลองลาน อำเภอเมือง ไทยทรงดำ อำเภอลานกระบือ อำเภอเมือง อำเภอคลองขลุง ลาวครั่ง อำเภอขาณุวรลักษบุรี
ภาพที่ 1 เผ่ากระเหรี่ยง และ เผ่าเย้า
ภาพที่ 2 เผ่าลีซอ และ เผ่ามูเซอ
ภาพที่ 3 เผ่าม้ง และ เผ่าลั๊วะ
ภาพที่ 4 ไทยทรงดำ และ ไทยยวน
ภาพที่ 5 ลาวครั่ง
ภาพที่ 6 รวมภาพกลุ่มชาติพันธุ์
การกำหนดจำนวนนักแสดง
- จำนวน 9 คน หรือ 18 คน - ลักษณะผู้แสดง ใช้ผู้หญิงแสดงล้วนเพื่อเป็นการแสดงที่มุ่งเน้นการแสดงเอกลักษณ์
การแต่งกาย
แต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์ของสุภาพสตรี การแต่งกายผู้แสดง/เครื่องประดับ
ภาพที่ 7 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 8 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 9 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 10 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 11 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 12 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 13 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 14 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 15 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 16 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ภาพที่ 17 การแต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์
ข้อมูลเพลง/ดนตรี
แนวคิดในการแต่งเพลงระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร เพลงระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชรประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือส่วนแรกส่วนนำหรือเกริ่นหัวเพลงและส่วนสองเพลงแต่ละกลุ่มชนเผ่าชาติพันธุ์ และส่วนสุดท้ายคือส่วนสรุปเป็นเพลงเร็วและจบท้ายด้วยเพลงรัวเฉพาะผู้ประพันธ์ได้อาศัยเค้าโครงจากระบำรวมเผ่าชาวเขาเดิม อาศัยสำนวนสำเนียงเพลงสั้นๆมาแต่งเป็นเพลงประกอบการแสดงระบำชาติพันธุ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2561-2562 ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงการแต่งกายที่สวยงามของแต่ละของแต่ละชาติพันธุ์ ซึ่งมีอัตลักษณ์ของกลุ่มชนที่โดดเด่นในกำแพงเพชร เนื้อเพลงในตอนท้ายปรับปรุงมาจากเพลงร้องพื้นบ้านกำแพงเพชรและต่อด้วยเพลงเร็ว และเพลงรัว ซึ่งแต่งขึ้นเฉพาะ ใช้วงดนตรีพื้นเมืองเหนือยืนพื้นบรรเลงเฉพาะสอดแทรกด้วยเครื่องดนตรี ประเภทแคน กลอง เกราะ บรรเลงคั่น เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่เฉพาะเพื่อใช้ในการแสดงชุดระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร ชื่อเพลง “ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร”
เนื้อเพลง
เกริ่น ร้อง กำแพงเพชรรวมชาติพันธุ์ชนหลายเผ่า อยู่นานเนาวัฒนธรรมที่หลากหลาย ชนหลายกลุ่มลุ่มแม่ปิงมิเสื่อมคลาย สื่อความหมายต่างสายน้ำเนิ่นนานมา 1. เผ่าม้ง แคนม้งเกริ่น ชาวเผ่าม้งนุ่งห่มสีดำขลับ งามประดับลูกปัดเหรียญทรงคุณค่า กระทบเสียงเมื่อเคลื่อนไหวมีราคา บ่งบอกค่าฐานะทางสังคม 2. เผ่าเย้า กลอง และ เกราะ ชาวเผ่าเย้านุ่งกางเกงสีดำหมด พู่สวยสดสีแดงดูงามสม ปักลวดลายหน้าผ้าให้กลืนกลม แลนุ่งห่มคล้ายคนจีนดูเข้าที 3. เผ่ากะเหรี่ยง พิณเตะนาเกริ่น เผ่ากะเหรี่ยงนุ่งห่มด้วยสีขาว เมื่อถึงคราวแต่งงานต้องเปลี่ยนสี นุ่งสีดำหรือแดงความหมายมี เสื้อผ้านี้ทรงกระสอบตัดง่ายดาย 4. เผ่ามูเซอ กลองเกริ่น เผ่ามูเซอนุ่งดำคู่ควรค่า ตัดสีฟ้าเสริมเด่นเป็นลวดลาย เครื่องเงินมีประดับไว้รอบกาย งามทั้งหลายอัตลักษณ์กลุ่มชน 5. เผ่าลั๊ว เกราะ เผ่าลั๊วสวมเสื้อขาว ผ้าพันตัวยาวงามทุกแห่งหน สวมทับเสื้อขลิบแดงปน ประดับทั่วตนลูกปัดหินและกำไล 6. เผาลีซอ กลอง เผ่าลีซอสวมเสื้อตัวยาว งามอะคร้าวผ้าคาดเอวสีสดใส เสื้อคอกลมทับผ่าขวาเอาไว้ ประดับได้ด้วยเครื่องเงินกระดุมกลม 7. ไทยยวน แคนแปด ไทยยวนแต่งกายคล้ายลานนา ซิ่นทอหัวผ้าลวดลายงามสม สวมเสื้อแขนกระบอกสไบห่ม เกล้ามวยผมประดับดอกไม้มากมี 8. ไทยทรงดำ แคนแปด ไหซอง ไทยทรงดำจดจำมั่นหมาย พวกเราทั้งหลายสวมใส่”เสื้อฮี” สีดำเป็นอัตลักษณ์ยึดมั่นในประเพณี งานสำคัญของเรานี้สวมใส่เสื้อฮีพร้อมเพรียงกัน 9. ลาวครั่ง (คั่ง) แคนแปด ไหซอง ชาวครั่งพวกเราเผ่านี้หนอ นุ่งห่มผ้าทอด้วยผ้าไหมงามดี งามเด่นนุ่งห่มมากมี ผืนดินแดนนี้มีสุขยืนนาน (สรุปซึงเกริ่น) ทุกชาติพันธุ์ล้วนพี่น้องเป็นผองเผ่า อยู่นานเนากำแพงเพชรสมัครสมาน บนผืนดินชากังราวมาเนิ่นนาน สุขสำราญสามัคคีพีน้องไทย