ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูล เรื่อง แทงหยวก อำเภอพรานกระต่าย"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
แถว 58: แถว 58:
 
  <p align = "center"> '''ภาพที่ 9 กล้วยตานีที่นำมาลอกกาบก่อนการแทงหยวก''' </p>
 
  <p align = "center"> '''ภาพที่ 9 กล้วยตานีที่นำมาลอกกาบก่อนการแทงหยวก''' </p>
 
           '''กระดาษสี''' ใช้สำหรับรองรับลวดลายต้นกล้วยให้ปรากฏชัดเจนและตัดเพื่อตกแต่งให้มีสีสันสวยงามมากขึ้น กระดาษสีจะต้องมีทักษะในการตัดให้ชำนาญจะออกมางดงาม
 
           '''กระดาษสี''' ใช้สำหรับรองรับลวดลายต้นกล้วยให้ปรากฏชัดเจนและตัดเพื่อตกแต่งให้มีสีสันสวยงามมากขึ้น กระดาษสีจะต้องมีทักษะในการตัดให้ชำนาญจะออกมางดงาม
[[ไฟล์:10 กระดาษสีที่ตัดแล้ว.jpg|500px|thumb|center]]
+
[[ไฟล์:10 กระดาษสีที่ตัดแล้ว.jpg|500px|thumb|center]]
<p align = "center"> '''ภาพที่ 10 กระดาษสีที่ตัดแล้ว จะนำไปตกแต่งประดับประดางานแทงหยวก''' </p>
+
<p align = "center"> '''ภาพที่ 10 กระดาษสีที่ตัดแล้ว จะนำไปตกแต่งประดับประดางานแทงหยวก''' </p>
 
+
[[ไฟล์:11 ผลงานของลูกศิษย์.jpg|500px|thumb|center]]
ภาพที่ 16 ผลงานของลูกศิษย์ ที่ใช้กระดาษสีรองซ้อนให้สวยงาม
+
<p align = "center"> '''ภาพที่ 11 ผลงานของลูกศิษย์ ที่ใช้กระดาษสีรองซ้อนให้สวยงาม''' </p>
ขั้นตอนในการแทงหยวกและประกอบเข้าส่วนเป็นลายชุดนั้น มี ๓  ขั้นตอน ดังนี้
+
          ขั้นตอนในการแทงหยวกและประกอบเข้าส่วนเป็นลายชุดนั้น มี 3 ขั้นตอน ดังนี้
.ขั้นเตรียมหยวกกล้วย   
+
              1. ขั้นเตรียมหยวกกล้วย   
.ขั้นแทงลวดลายลงบนหยวก   
+
              2. ขั้นแทงลวดลายลงบนหยวก   
.ขั้นประกอบเป็นลายชุด ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้น
+
              3. ขั้นประกอบเป็นลายชุด ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้น
 
+
==='''ความชำนาญ/ความสนใจ'''===
+
          • ชำนาญงานไม้   
ภาพที่ 17 การแทงลวดลายลงบนหยวก
+
          • ค้าขายหีบศพ/ดอกไม้จันทน์   
 
+
          • เขียนป้ายในงานต่างๆ   
+
          • งานตัดกระดาษ เช่น พวงมะโหด  ตกแต่งงานพิธีกรรม   
ภาพที่ 18 การประกอบเป็นลายชุด
+
          • เจ้าพิธีในงานต่างๆ
 
+
==='''ผลงานสำคัญ/ที่สร้างชื่อเสียง'''===
๒.๒ ความชำนาญ/ความสนใจ
+
          การแทงหยวกเป็นศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดมาเนิ่นนาน ดังนั้นจึงมีลักษณะงานแทงหยวกแบบทั่วไป แต่อาจารย์นูญได้ริเริ่มสร้างสรรค์ดัดแปลงให้ดูสร้างสรรค์ขึ้น โดยงานแรกที่ทำแตกต่างไปจากเดิม คืองานทำบุญ 7 วันของมารดา นางมาลัย  ยายอด ซึ่งได้จัดทำเป็นแท่นหลายชั้นเพื่อใช้วางภาพถ่ายและสิ่งของอื่น ซึ่งอาจารย์นูญมีความภาคภูมิใจในงานนี้มากที่สุด   
• ชำนาญงานไม้   
+
          แต่ผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำมา เนื่องจากงานแทงหยวกเป็นงานที่ใช้วัสดุธรรมชาติจึงเป็นต้องทำสด ใช้วันต่อวัน งานที่ใหญ่ก็ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์มากขึ้น จำนวนช่างมากขึ้น อีกทั้งต้องทำงานแข่งขันกับเวลาเพราะต้นกล้วยอาจเหี่ยวทำให้ไม่สวยงามเท่าที่ควร งานชิ้นนั้น คือ งานศพของลุงเขียว  นิลรัตน์ ญาติผู้ใหญ่ที่อาจารย์นูญเคารพรัก  อีกทั้งเป็นเพื่อนสนิทของพ่อคำ ยายอด บิดาของอาจารย์นูญอีกด้วย ซึ่งทั้งคู่เป็นผู้ที่มีจิตใจรักในศิลปวัฒนธรรม มีคุณธรรมและศิลธรรม มีจิตใจช่วยงานวัดในเขตอำเภอพรานกระต่ายอยู่เสมอ  กล่าวได้ว่า “ลุงเขียวเป็นคนบอกบุญเพราะวาจาดี  ส่วนพ่อคำเป็นคนลงมือทำเพราะมีฝีมือทางงานช่าง” ก็ว่าได้ และลุงเขียวก็เป็นบุคคลเก่าแก่ เป็นที่รักของชาวพรานกระต่าย มีผู้คนรู้จักมากมาย  งานศพจึงต้องจัดให้สมเกรียติจึงทำให้ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำมา อีกหนึ่งผลงานที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันคืองานศพของนายหวัด  ตันเจริญ เป็นบุคคลเก่าแก่ของอำเภอพรานกระต่ายมีบุตรรับราชการในอำเภอพรานกระต่ายหลายคนและเป็นครอบครัวที่มีฐานะดีจึงจัดงานอย่างสมเกียรติผู้วายชน เมื่อครั้งที่ยังมีลูกศิษย์ช่วยงาน ได้รับเชิญให้ไปช่วยงานแทงหยวกประกวดขบวนรถประดับจากกล้วยไข่และพืชผลทางการเกษตรของแต่ละอำเภอที่จะต้องส่งเข้าประกวดเป็นเวลาหลายปีซึ่งเป็นอีกงานหนึ่งที่อาจารย์นูญภูมิใจที่ได้ช่วยเหลืองานของบ้านเกิด
• ค้าขายหีบศพ/ดอกไม้จันทน์   
+
==='''ผลงาน/เกียรติคุณ/รางวัลอื่น ๆ'''===
• เขียนป้ายในงานต่างๆ   
+
          พ่อคำ ยายอด เคยได้รับโล่บุคคลด้านศิลปวัฒนธรรม จากผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร แต่ภาพถ่ายและโล่ได้หายไป ซึ่งรางวัลนี้จะมอบให้แก่อาจารย์นูญแต่ตนเองเห็นว่าพ่อคำเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่ตนเองและผู้อื่นเป็นจำนวนมากอละตนเองก็ยังเด็กจึงเห็นควรให้รางวัลนี้แก่พ่อคำมากกว่า
• งานตัดกระดาษ เช่น พวงมะโหด  ตกแต่งงานพิธีกรรม   
+
==='''แนวทางการปฏิบัติ/การดำเนินชีวิต'''===
• เจ้าพิธีในงานต่างๆ
+
          “ทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย” ความหมายคือ อย่าแซงหน้าใจเพราะรู้หน้าไม่รู้ใจ เขาจะเล่นงานเราเมื่อไรก็ไม่รู้ ตอนบวชนั้นอาจารย์นูญได้รับความชื่นชอบด้วยลีลาการเทศที่เข้าถึงใจจึงได้รับการนิมนต์ให้ไปเทศบ่อยครั้ง แต่ท่านขอให้หมุนเวียนให้ท่านอื่นด้วยเรียงไปตามลำดับ พระท่านอื่นก็มีความสามารถในการเทศน์เช่นกัน
 
+
          “อย่าโกงกิน ซื้อกินไม่หมด คิดกินไม่นาน” ความหมายคือ การมีความซื่อสัตย์จะทำให้คนเชื่อใจ ไม่มีวันอดตาย แต่หากเป็นคนที่มีนิสัยคดโกง แม้จะมีคนให้ผลประโยชน์แต่เมื่อไปโกงแล้วเค้าจับได้ก็จะไม่คบค้าสมาคมด้วย ในที่สุดก็จะทุกข์ยาก
๒.๓ ผลงานสำคัญ/ที่สร้างชื่อเสียง
+
          ศิลปวัฒนธรรมไทยนั้น “บรรพบรุษทำมาไม่ใช่แค่ปีสองปี คนรุ่นใหม่เผาทิ้งหมด  ต้องรักษาไว้  (เสียใจ)”  ถ้าไม่มีใครสนใจก็จะสูญหาย คนรุ่นหลังเป็นรั่วของชาติหากไม่สืบทอดก็จะหมดไป  
การแทงหยวกเป็นศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดมาเนิ่นนาน ดังนั้นจึงมีลักษณะงานแทงหยวกแบบทั่วไป แต่อาจารย์นูญได้ริเริ่มสร้างสรรค์ดัดแปลงให้ดูสร้างสรรค์ขึ้น โดยงานแรกที่ทำแตกต่างไปจากเดิม คืองานทำบุญ วันของมารดา นางมาลัย  ยายอด ซึ่งได้จัดทำเป็นแท่นหลายชั้นเพื่อใช้วางภาพถ่ายและสิ่งของอื่น ซึ่งอาจารย์นูญมีความภาคภูมิใจในงานนี้มากที่สุด   
+
          อาจารย์นูญ กล่าวทิ้งท้ายว่า “มาฝึกกันเสียตอนนี้ ไปปลุกในเมรุให้มาสอนกันไม่ได้นะ”
แต่ผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำมา เนื่องจากงานแทงหยวกเป็นงานที่ใช้วัสดุธรรมชาติจึงเป็นต้องทำสด ใช้วันต่อวัน งานที่ใหญ่ก็ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์มากขึ้น จำนวนช่างมากขึ้น อีกทั้งต้องทำงานแข่งขันกับเวลาเพราะต้นกล้วยอาจเหี่ยวทำให้ไม่สวยงามเท่าที่ควร งานชิ้นนั้น คือ งานศพของลุงเขียว  นิลรัตน์ ญาติผู้ใหญ่ที่อาจารย์นูญเคารพรัก  อีกทั้งเป็นเพื่อนสนิทของพ่อคำ ยายอด บิดาของอาจารย์นูญอีกด้วย ซึ่งทั้งคู่เป็นผู้ที่มีจิตใจรักในศิลปวัฒนธรรม มีคุณธรรมและศิลธรรม มีจิตใจช่วยงานวัดในเขตอำเภอพรานกระต่ายอยู่เสมอ  กล่าวได้ว่า “ลุงเขียวเป็นคนบอกบุญเพราะวาจาดี  ส่วนพ่อคำเป็นคนลงมือทำเพราะมีฝีมือทางงานช่าง”ก็ว่าได้ และลุงเขียวก็เป็นบุคคลเก่าแก่ เป็นที่รักของชาวพรานกระต่าย มีผู้คนรู้จักมากมาย  งานศพจึงต้องจัดให้สมเกรียติจึงทำให้ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำมา อีกหนึ่งผลงานที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันคืองานศพของนายหวัด  ตันเจริญ เป็นบุคคลเก่าแก่ของอำเภอพรานกระต่ายมีบุตรรับราชการในอำเภอพรานกระต่ายหลายคนและเป็นครอบครัวที่มีฐานะดีจึงจัดงานอย่างสมเกรียติผู้วายชน เมื่อครั้งที่ยังมีลูกศิษย์ช่วยงาน ได้รับเชิญให้ไปช่วยงานแทงหยวกประกวดขบวนรถประดับจากกล้วยไข่และพืชผลทางการเกษตรของแต่ละอำเภอที่จะต้องส่งเข้าประกวดเป็นเวลาหลายปีซึ่งเป็นอีกงานหนึ่งที่อาจารย์นูญภูมิใจที่ได้ช่วยเหลืองานของบ้านเกิด
+
=='''ข้อมูลการสำรวจ'''==
 
+
==='''วัน เดือน ปี ที่สำรวจ'''===
+
          5 กุมภาพันธ์ 2561 และ 6 พฤษภาคม 2561
ภาพที่ 19 ผลงานการแทงหยวกประดับงานศพ นายเขียว  นิลรัตน์
+
==='''วันที่ปรับปรุงข้อมูล'''===
 
+
          -
+
==='''ผู้สำรวจข้อมูล'''===
ภาพที่ 20 ผลงานการแทงหยวกประดับงานศพนายหวัด ตันเจริญ
+
          นางสาวธัญรดี  บุญปัน
 
+
==='''คำสำคัญ (tag)'''===  
+
          แทงหยวก, กล้วย, พรานกระต่าย, จังหวัดกำแพงเพชร, ช่างสิบหมู่
ภาพที่ 21 งานทำบุญ ๗ วันของมารดา  นางมาลัย ยายอด
 
 
 
๒.๔ ผลงาน/เกียรติคุณ/รางวัลอื่นๆ
 
พ่อคำ ยายอด เคยได้รับโล่บุคคลด้านศิลปวัฒนธรรม จากผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร แต่ภาพถ่ายและโล่ได้หายไป ซึ่งรางวัลนี้จะมอบให้แก่อาจารย์นูญแต่ตนเองเห็นว่าพ่อคำเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่ตนเองและผู้อื่นเป็นจำนวนมากอละตนเองก็ยังเด็กจึงเห็นควรให้รางวัลนี้แก่พ่อคำมากกว่า
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
๒.๕ แนวทางการปฏิบัติ/การดำเนินชีวิต
 
 
 
 
ภาพที่ 22 นายธรรมนูญ ยายอดใช้ชีวิตอย่าพอเพียงและเรียบง่าย
 
 
 
“ทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย” ความหมายคือ อย่าแซงหน้าใจเพราะรู้หน้าไม่รู้ใจ เค้าจะเล่นงานเราเมื่อไรก็ไม่รู้  ตอนบวชนั้นอาจารย์นูญได้รับความชื่นชอบด้วยลีลาการเทศที่เข้าถึงใจจึงได้รับการนิมนต์ให้ไปเทศบ่อยครั้ง แต่ท่านขอให้หมุนเวียนให้ท่านอื่นด้วยเรียงไปตามลำดับ พระท่านอื่นก็มีความสามารถในการเทศน์เช่นกัน
 
 
 
“อย่าโกงกิน ซื่อกินไม่หมด คิดกินไม่นาน” ความหมายคือ การมีความซื่อสัตย์จะทำให้คนเชื่อใจ ไม่มีวันอดตาย แต่หากเป็นคนที่มีนิสัยคดโกง แม้จะมีคนให้ผลประโยชน์แต่เมื่อไปโกงแล้วเค้าจับได้ก็จะไม่คบค้าสมาคมด้วย ในที่สุดก็จะทุกข์ยาก
 
 
 
ศิลปวัฒนธรรมไทยนั้น “บรรพบรุษทำมาไม่ใช่แค่ปีสองปี คนรุ่นใหม่เผาทิ้งหมด  ต้องรักษาไว้  (เสียใจ)”  ถ้าไม่มีใครสนใจก็จะสูญหาย คนรุ่นหลังเป็นรั่วของชาติหากไม่สืบทอดก็จะหมดไป  
 
อาจารย์นูญ กล่าวทิ้งท้ายว่า “มาฝึกกันเสียตอนนี้ ไปปลุกในเมรุให้มาสอนกันไม่ได้นะ”
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
๓.  ข้อมูลการสำรวจ
 
๓.๑ แหล่งอ้างอิง
 
 
 
ธรรมนูญ ยายอด. (2561, 5 พฤษภาคม). บ้านพรานกระต่าย หมู่ที่ 2 ตำบลถ้ำกระต่ายทอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกาแพงเพชร. สัมภาษณ์.
 
พชรพร พนมวัน ณ อยุธยา. (2561). “บุพเพสันนิวาส” ก้าวข้ามกระแสสู่เศรษฐกิจบนโครงสร้างอุตสาหกรรมมรดกทางวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:  https://thaipublica.org/2018/04/econoarchaeology6. [2561, พฤษภาคม 1].
 
วีระ ขำด้วง. (2551). การศึกษาแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปหัตถกรรมการแทงหยวก เพื่อสร้างรายได้ในครัวเรือนของชุมชนในภาคกลาง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
 
 
 
 
 
๓.๒ วัน เดือน ปี ที่สำรวจ
 
กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ และ พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
๓.๓ วันปรับปรุงข้อมูล
 
-
 
๓.๔ ผู้สำรวจข้อมูล
 
นางสาวธัญรดี  บุญปัน
 
๓.๕ คำสำคัญ (tag)   
 
แทงหยวก , กล้วย , พรานกระต่าย , จังหวัดกำแพงเพชร , ช่างสิบหมู่
 

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:06, 20 กุมภาพันธ์ 2564

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อบุคคล

         นายธรรมนูญ ยายอด

ตำแหน่ง

         เคยดำรงตำแหน่งผู้นำชุมชน เทศบาลตำบลพรานกระต่าย

วัน/เดือน/ปีเกิด

         28 พฤศจิกายน 2498 อายุ 63 ปี

ภูมิลำเนา

         เป็นชาวอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร โดยกำเนิด

อาชีพ

         อาชีพหลัก  :  ค้าขาย (หีบศพ ดอกไม้จันทน์ เขียนป้ายในงานต่าง ๆ งานไม้ งานตัดกระดาษ พวงมะโหด ตกแต่งงานพิธีกรรม เจ้าพิธีในงานต่าง ๆ) 
         อาชีพเสริม  :  เกษตรกรรม (ไร่อ้อย)  

ที่อยู่

         บ้านเลขที่ 13 หมู่ 5 ตำบลถ้ำกระต่ายทอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
1 ป้ายร้านของนายธรรมนูญ.jpg

ภาพที่ 1 ป้ายร้านของนายธรรมนูญ ยายอด

ข้อมูลเชิดชูเกียรติ

ชีวประวัติ/ความเป็นมา

         นายธรรมนูญ  ยายอด (ชาวบ้านทั่วไปเรียก อาจารย์นูญ) เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 ปัจจุบันอายุ 63 ปี บิดาชื่อ นายคำ  ยายอด มารดาชื่อนางมาลัย  ยายอด ทั้งบิดา-มารดาเป็นชาวพรานกระต่ายโดยกำเนิด ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วทั้งคู่ มีพี่น้องร่วมบิดาทั้งหมด 3 คน ซึ่งบิดาได้แต่งงานใหม่กับคุณแม่มาลัย  ยายอด ซึ่งเป็นมารดาของอาจารย์นูญเนื่องจากภรรยาคนแรกได้เสียชีวิต และมีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา จำนวน 6 คน ซึ่งอาจารย์นูญเป็นบุตรคนที่ 2 พี่น้องส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายและทำเกษตรกรรม มีเพียง 11 คนที่เป็นพนักงานรัฐวิสากิจ (การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอคีรีมาส จังหวัดสุโขทัย)
         วัยเด็ก : เป็นคนที่ชื่นชอบงานที่พ่อคำ ยายอด ทำอยู่เล็งเห็นว่าเป็นงานที่รักษาวัฒนธรรมไทยและเป็นการช่วยเหลือทำนุบำรุงศาสนาอีกทั้งช่วยงานบุคลอื่น จึงช่วยงานพ่อดำมาตลอด เมื่อครั้งศึกษาจบประถมศึกษา 5 ตนเองหยุดการเรียนและได้ออกมาทำการเกษตรกรรม ในระหว่างนั้นเองได้ฝึกฝนการแทงหยวกหลังจากที่ตนเสร็จภารกิจจากงานการเกษตร ตกค่ำก็ใช้เวลาที่เหลือฝึกฝนการแทงหยวกโดยเริ่มจากการฝึกแทงลายพื้นฐาน คือ ลายฟันปลา ลายฟันสาม และลายฟันห้า ต่อมาในปี พ.ศ.2519 ตนเองได้เริ่มทำอย่างจริงจัง
2 การแทงหยวกลายฟันปลา.jpg

ภาพที่ 2 การแทงหยวกลายฟันปลา และ ฟันห้า

3 การแทงหยวกต่างๆพร้อมประกอบชิ้นงาน.jpg

ภาพที่ 3 การแทงหยวกต่าง ๆ พร้อมประกอบชิ้นงาน

         ในปี พ.ศ.2520 จนถึง พ.ศ.2531 (11 พรรษา) ได้อุปสมบท  ณ วัดไตรภูมิ ตำบลพรานกระต่าย อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร และได้เข้าศึกษาจนสำเร็จระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 และนักธรรมชั้นเอก ซึ่งเป็นระดับการศึกษาทางพุทธศาสนาในประเทศไทย แผนกธรรม เป็นชั้นสูงสุดของการศึกษาระดับพื้นฐานของพระสงฆ์ สามเณรในประเทศไทย ซึ่งความสามารถในการแทงหยวกได้รับอิทธิพลมาจากบิดา คือ นายคำ  ยายอด ซึ่งคุณพ่อคำได้ร่ำเรียนวิชาการแทงหยวกเมื่อครั้งอุปสมบท  ณ วัดเสด็จ อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งในบรรดาพี่น้องของตนเองไม่มีใครสืบทอดงานจากพ่อคำเลย อาจารย์นูญด้วยความรักที่มีให้พ่อคำตั้งใจที่จะสืบทอดงานของพ่อคำไม่ได้คิดทำเพื่อคนอื่นตั้งใจทำให้พ่อ อุทิศกำลังกายและใจ ความรู้และความสามารถเพื่อประโยชน์ต่อสังคม และในปี พ.ศ.2535 นายธรรมนูญ  ยายอด สมรสกับ นางจิราภรณ์ ยายอด มีบุตร 1 คน คือ นายปรัชญา  ยายอด ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
         บรรดาลูกศิษย์ของอาจารย์นูญ มีหลายท่าน แต่ปัจจุบันได้เสียชีวิตไปหลายคน และบางคนก็อยู่ต่างอำเภอกัน  คือ  
         นายจรัญ  บุญกลอน (เสียชีวิต เมษายน พ.ศ.2561) อาจารย์นูญกล่าวว่า ศิษย์เอกที่เก่งที่สุด เก่งกว่าตนเองเสียอีก เพราะนายจรัญเป็นความที่มีความคิดสร้างสรรค์มักชอบคิดค้นลายใหม่ ๆ อยู่เสมอและทำออกมาได้สวยสดงดงามเสียยิ่งกว่าอาจารย์
         นายวินัย  ชูพันธ์  (เสียชีวิต) เป็นศิษย์ที่มีทั้งความรู้และความสามารถหลากหลายด้าน  นอกจากการแทงหยวกแล้ว ยังประกอบอาชีพเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอพรานกระต่าย
4 นายวินัย.jpg

ภาพที่ 4 นายวินัย ชูพันธ์ (คนกลาง)

         นายลือ  (ทิดลือ อาจารย์นูญจำชื่อ-สกุล จริงไม่ได้และเสียชีวิต)  
         อาจารย์เผื่อน (เจ้าอาวาสวัดไตรภูมิ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร และเสียชีวิต) 
5 การทำการแทงหยวกกับลูกศิษย์.jpg

ภาพที่ 5 การทำการแทงหยวกกับลูกศิษย์

         การแทงหยวก เป็นศิลปะที่สืบทอดจากบรรพบุรุษมาหลายร้อยปี ซึ่งเป็นการทำให้สถานที่หรือประดับประดาในแหล่งต่าง ๆ เราสามารถใช้การแทงหยวกได้หลากหลายประเพณีหลากหลายพิธีกรรม ไม่ว่าจะเป็น งานบวช งานแต่งงาน งานกฐิน-ผ้าป่า ประดับรถแห่ งานศพ เมรุเผาศพ ฯลฯ ไม่ว่างานมงคลหรืองานอวมงคลก็สามารถใช้การแทงหยวกประดับได้ทั้งสิ้น ซึ่งมีเครื่องมือ-อุปกรณ์ และวิธีการแทงหยวก ดังนี้
         1. กระบวนการแทงหยวกนั้น ต้องเริ่มจากการไหว้ครู เพื่อรำลึกถึงครูอาจารย์ ประกอบด้วย
             • ธูป 3 ดอก
             • เทียนขี้ผึ้ง 1 เล่ม 
             • ดอกไม้ 3 สี 
             • สุรา 1 ขวด 
             • ผ้าขาวม้า 1 ผืน 
             • เงินค่าครู 142 บาท ในส่วนของค่าแรงนั้นไม่ได้เรียกร้องแล้วแต่จะให้
6 มีดประจำตัวช่างแทงหยวก.jpg

ภาพที่ 6 มีดประจำตัวช่างแทงหยวก ในพิธีการไหว้ครูก่อนเริ่มการแทงหยวก

         2. อุปกรณ์ในการแทงหยวกประกอบด้วย 
            • มีดสำหรับแทงหยวก  
            • ตอก
            • ต้นกล้วยตานี
            • กระดาษสี
         มีดสำหรับแทงหยวก เป็นเครื่องมือหลัก ช่างแต่ละคนจะมีมีดแทงหยวกเป็นของส่วนตัว ซึ่งอาจารย์นูญมีมีดแทงหยวกของตนเอง 2 ชุดและยังเก็บมีดของพ่อคำ  ยายอด เก็บไว้ระลึกถึงและใช้ในการไหว้ครูทุกครั้งที่ทำการแทงหยวก
         ตอก เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับประกอบเข้าเป็นส่วนต่าง ๆ ซึ่งตอกที่ใช้จะมีหลายขนาด เนื่องจากการประกอบเข้าแต่ละส่วนของหยวกเข้าหลายรูปแบบ
7 ตอกใช้สำหรับประกอบเข้าเป็นส่วนต่างๆ.jpg

ภาพที่ 7 ตอกใช้สำหรับประกอบเข้าเป็นส่วนต่างๆ ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างตามการใช้งาน

8 การประกอบคุมหยวกโดยการใช้ตอก.jpg

ภาพที่ 8 การประกอบคุมหยวกโดยการใช้ตอก

         ต้นกล้วยตานี ที่ต้องกล้วยตานีเพราะไม่แตกง่าย ปัจจุบันต้นกล้วยตานีหายากและมีขนาดไม่เหมาะสมสำหรับใช้งานแต่ก็ยังพอหาได้ หาไม่มากล้วยตานีแล้วสามารถใช้ต้นกล้วยน้ำว้าแทน โดยไม่ว่าจะเป็นกล้วยตานีหรือกล้วยน้ำว้าหลักการคือ ต้องเป็นต้นกล้วยสาว ต้นกล้วยที่ยังไม่มีเครือ หรือยังไม่ออกหวีกล้วย ต้นกล้วยจะอ่อนแทงลวดลายได้ง่ายและงดงาม 
9 กล้วยตานีที่นำมาลอกกาบก่อนการแทงหยวก.jpg

ภาพที่ 9 กล้วยตานีที่นำมาลอกกาบก่อนการแทงหยวก

         กระดาษสี ใช้สำหรับรองรับลวดลายต้นกล้วยให้ปรากฏชัดเจนและตัดเพื่อตกแต่งให้มีสีสันสวยงามมากขึ้น กระดาษสีจะต้องมีทักษะในการตัดให้ชำนาญจะออกมางดงาม
10 กระดาษสีที่ตัดแล้ว.jpg

ภาพที่ 10 กระดาษสีที่ตัดแล้ว จะนำไปตกแต่งประดับประดางานแทงหยวก

11 ผลงานของลูกศิษย์.jpg

ภาพที่ 11 ผลงานของลูกศิษย์ ที่ใช้กระดาษสีรองซ้อนให้สวยงาม

         ขั้นตอนในการแทงหยวกและประกอบเข้าส่วนเป็นลายชุดนั้น มี 3 ขั้นตอน ดังนี้
             1. ขั้นเตรียมหยวกกล้วย  
             2. ขั้นแทงลวดลายลงบนหยวก  
             3. ขั้นประกอบเป็นลายชุด ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้น

ความชำนาญ/ความสนใจ

         • ชำนาญงานไม้  
         • ค้าขายหีบศพ/ดอกไม้จันทน์  
         • เขียนป้ายในงานต่างๆ  
         • งานตัดกระดาษ เช่น พวงมะโหด  ตกแต่งงานพิธีกรรม  
         • เจ้าพิธีในงานต่างๆ

ผลงานสำคัญ/ที่สร้างชื่อเสียง

         การแทงหยวกเป็นศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดมาเนิ่นนาน ดังนั้นจึงมีลักษณะงานแทงหยวกแบบทั่วไป แต่อาจารย์นูญได้ริเริ่มสร้างสรรค์ดัดแปลงให้ดูสร้างสรรค์ขึ้น โดยงานแรกที่ทำแตกต่างไปจากเดิม คืองานทำบุญ 7 วันของมารดา นางมาลัย  ยายอด ซึ่งได้จัดทำเป็นแท่นหลายชั้นเพื่อใช้วางภาพถ่ายและสิ่งของอื่น ซึ่งอาจารย์นูญมีความภาคภูมิใจในงานนี้มากที่สุด  
         แต่ผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำมา เนื่องจากงานแทงหยวกเป็นงานที่ใช้วัสดุธรรมชาติจึงเป็นต้องทำสด ใช้วันต่อวัน งานที่ใหญ่ก็ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์มากขึ้น จำนวนช่างมากขึ้น อีกทั้งต้องทำงานแข่งขันกับเวลาเพราะต้นกล้วยอาจเหี่ยวทำให้ไม่สวยงามเท่าที่ควร งานชิ้นนั้น คือ งานศพของลุงเขียว  นิลรัตน์ ญาติผู้ใหญ่ที่อาจารย์นูญเคารพรัก  อีกทั้งเป็นเพื่อนสนิทของพ่อคำ ยายอด บิดาของอาจารย์นูญอีกด้วย ซึ่งทั้งคู่เป็นผู้ที่มีจิตใจรักในศิลปวัฒนธรรม มีคุณธรรมและศิลธรรม มีจิตใจช่วยงานวัดในเขตอำเภอพรานกระต่ายอยู่เสมอ  กล่าวได้ว่า “ลุงเขียวเป็นคนบอกบุญเพราะวาจาดี  ส่วนพ่อคำเป็นคนลงมือทำเพราะมีฝีมือทางงานช่าง” ก็ว่าได้ และลุงเขียวก็เป็นบุคคลเก่าแก่ เป็นที่รักของชาวพรานกระต่าย มีผู้คนรู้จักมากมาย  งานศพจึงต้องจัดให้สมเกรียติจึงทำให้ผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำมา อีกหนึ่งผลงานที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันคืองานศพของนายหวัด  ตันเจริญ เป็นบุคคลเก่าแก่ของอำเภอพรานกระต่ายมีบุตรรับราชการในอำเภอพรานกระต่ายหลายคนและเป็นครอบครัวที่มีฐานะดีจึงจัดงานอย่างสมเกียรติผู้วายชน เมื่อครั้งที่ยังมีลูกศิษย์ช่วยงาน ได้รับเชิญให้ไปช่วยงานแทงหยวกประกวดขบวนรถประดับจากกล้วยไข่และพืชผลทางการเกษตรของแต่ละอำเภอที่จะต้องส่งเข้าประกวดเป็นเวลาหลายปีซึ่งเป็นอีกงานหนึ่งที่อาจารย์นูญภูมิใจที่ได้ช่วยเหลืองานของบ้านเกิด

ผลงาน/เกียรติคุณ/รางวัลอื่น ๆ

         พ่อคำ ยายอด เคยได้รับโล่บุคคลด้านศิลปวัฒนธรรม จากผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร แต่ภาพถ่ายและโล่ได้หายไป ซึ่งรางวัลนี้จะมอบให้แก่อาจารย์นูญแต่ตนเองเห็นว่าพ่อคำเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่ตนเองและผู้อื่นเป็นจำนวนมากอละตนเองก็ยังเด็กจึงเห็นควรให้รางวัลนี้แก่พ่อคำมากกว่า

แนวทางการปฏิบัติ/การดำเนินชีวิต

         “ทำดีแต่อย่าเด่นจะเป็นภัย” ความหมายคือ อย่าแซงหน้าใจเพราะรู้หน้าไม่รู้ใจ เขาจะเล่นงานเราเมื่อไรก็ไม่รู้ ตอนบวชนั้นอาจารย์นูญได้รับความชื่นชอบด้วยลีลาการเทศที่เข้าถึงใจจึงได้รับการนิมนต์ให้ไปเทศบ่อยครั้ง แต่ท่านขอให้หมุนเวียนให้ท่านอื่นด้วยเรียงไปตามลำดับ พระท่านอื่นก็มีความสามารถในการเทศน์เช่นกัน
         “อย่าโกงกิน ซื้อกินไม่หมด คิดกินไม่นาน” ความหมายคือ การมีความซื่อสัตย์จะทำให้คนเชื่อใจ ไม่มีวันอดตาย แต่หากเป็นคนที่มีนิสัยคดโกง แม้จะมีคนให้ผลประโยชน์แต่เมื่อไปโกงแล้วเค้าจับได้ก็จะไม่คบค้าสมาคมด้วย ในที่สุดก็จะทุกข์ยาก
         ศิลปวัฒนธรรมไทยนั้น “บรรพบรุษทำมาไม่ใช่แค่ปีสองปี คนรุ่นใหม่เผาทิ้งหมด  ต้องรักษาไว้  (เสียใจ)”  ถ้าไม่มีใครสนใจก็จะสูญหาย คนรุ่นหลังเป็นรั่วของชาติหากไม่สืบทอดก็จะหมดไป 
         อาจารย์นูญ กล่าวทิ้งท้ายว่า “มาฝึกกันเสียตอนนี้ ไปปลุกในเมรุให้มาสอนกันไม่ได้นะ”

ข้อมูลการสำรวจ

วัน เดือน ปี ที่สำรวจ

         5 กุมภาพันธ์ 2561 และ 6 พฤษภาคม 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

         -

ผู้สำรวจข้อมูล

         นางสาวธัญรดี  บุญปัน

คำสำคัญ (tag)

         แทงหยวก, กล้วย, พรานกระต่าย, จังหวัดกำแพงเพชร, ช่างสิบหมู่