ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฐานข้อมูล เรื่อง โบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับพะโป้ ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร"
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 20: | แถว 20: | ||
<p align = "center"> '''ภาพที่ 1''' บ้านพะโป้ในปัจจุบัน <br> (เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร, 2558)</p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 1''' บ้านพะโป้ในปัจจุบัน <br> (เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร, 2558)</p> | ||
จากหนังสือเมืองโบราณกล่าวไว้ว่า “พะโป้” เป็นพ่อค้าไม้ และ เป็นคหบดีใหญ่ชาวกระเหรี่ยง ผู้ปฏิสังขรณ์เจดีย์โบราณพระบรมธาตุนครชุม ต่อจากแซงพอ หรือพญาตะก่าผู้เป็นพี่ชาย ที่เคยรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คราวเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ 2 และ มีภาพตัวบ้านในอัลบั้มภาพทรงถ่าย อันเป็นคราวพระพุทธเจ้าหลวง (ฆรณี แสงรุจิ และศรันย์ ทองปาน, 2536) แสดงให้เห็นว่า พะโป้เจ้าของบ้าน มีชื่อเต็มๆ คือ พะโป้พะเลวาซวยล่า สะมะเย เป็นพ่อค้าไม้ผู้มั่งคั่งชาวกะเหรี่ยงอยู่ในบังคับของอังกฤษ เดินทางจากพม่าเข้ามาทำไม้ในเขตพื้นที่ป่าคลองสวนหมาก ซึ่งมีบ้านเรือนอยู่ริมคลองสวนหมากใกล้กับบ้านห้าง พะโป้ และ พญาตะก่า (พี่ชาย) ได้ร่วมกัน บูรณะองค์พระเจดีย์ และ ยกยอดฉัตรวัดพระบรมธาตุเจดียาราม | จากหนังสือเมืองโบราณกล่าวไว้ว่า “พะโป้” เป็นพ่อค้าไม้ และ เป็นคหบดีใหญ่ชาวกระเหรี่ยง ผู้ปฏิสังขรณ์เจดีย์โบราณพระบรมธาตุนครชุม ต่อจากแซงพอ หรือพญาตะก่าผู้เป็นพี่ชาย ที่เคยรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คราวเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ 2 และ มีภาพตัวบ้านในอัลบั้มภาพทรงถ่าย อันเป็นคราวพระพุทธเจ้าหลวง (ฆรณี แสงรุจิ และศรันย์ ทองปาน, 2536) แสดงให้เห็นว่า พะโป้เจ้าของบ้าน มีชื่อเต็มๆ คือ พะโป้พะเลวาซวยล่า สะมะเย เป็นพ่อค้าไม้ผู้มั่งคั่งชาวกะเหรี่ยงอยู่ในบังคับของอังกฤษ เดินทางจากพม่าเข้ามาทำไม้ในเขตพื้นที่ป่าคลองสวนหมาก ซึ่งมีบ้านเรือนอยู่ริมคลองสวนหมากใกล้กับบ้านห้าง พะโป้ และ พญาตะก่า (พี่ชาย) ได้ร่วมกัน บูรณะองค์พระเจดีย์ และ ยกยอดฉัตรวัดพระบรมธาตุเจดียาราม | ||
− | [[ไฟล์:4-2.jpg| | + | [[ไฟล์:4-2.jpg|300px|thumb|center]] |
<p align = "center"> '''ภาพที่ 2''' พะโป้และแม่ทองย้อย ภรรยา <br> (ฆรณี แสงรุจิ และศรันย์ ทองปาน, 2536)</p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 2''' พะโป้และแม่ทองย้อย ภรรยา <br> (ฆรณี แสงรุจิ และศรันย์ ทองปาน, 2536)</p> | ||
ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ก็เคยเสด็จประพาสต้นที่บ้านคหบดีคนนี้ด้วยเมื่อปี 2449 มีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า “เลยไปคลองสวนหมาก (บริเวณนครชุม) ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใสเพราะเป็นลำห้วย ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้ ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ” ป่าไม้คลองสวนหมากเป็นป่าไม้สักที่สำคัญของกำแพงเพชร ที่พะโป้ได้รับช่วงต่อจากเจ้าเมืองกำแพงเพชร พะโป้ได้สร้างคฤหาสน์ขึ้นริมฝั่งคลองสวนหมาก เป็นสถาปัตยกรรมไทยผสมผสานตะวันตก สร้างด้วยไม้สักสองชั้นประดับด้วยลายฉลุสวยงาม ว่ากันว่าเป็นออฟฟิศของบริษัท ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดสว่างอารมณ์ เพื่อทำการค้าไม้ส่งไปยังกรุงเทพฯ โดยชักลากไม้ผ่านลำคลองสวนหมากซึ่งไหลจากเทือกเขาตะนาวศรี ทางทิศตะวันตก เข้าแม่น้ำปิง เพื่อส่งไปพระนคร (Teenee.com, 2559) แสดงให้เห็นว่าเมื่อปีพุทธศักราช 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสต้น ณ ตำบลนครชุม พระองค์มาอยู่ที่ปากคลองสวนหมากทั้งวัน บ้านปากคลองสวนหมากเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ในเมืองกำแพงเพชร ชาวบ้านคลองสวนหมากยังเล่าขานกัน และ ประทับใจจนมาถึงปัจจุบัน พระองค์ทรงพระราชหัตถเลขาถึงการเสด็จประพาสต้นในครั้งนี้ บรรยายถึงเส้นทางการเดินทางมายังชุมชนบ้านคลองสวนหมาก | ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ก็เคยเสด็จประพาสต้นที่บ้านคหบดีคนนี้ด้วยเมื่อปี 2449 มีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า “เลยไปคลองสวนหมาก (บริเวณนครชุม) ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใสเพราะเป็นลำห้วย ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้ ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ” ป่าไม้คลองสวนหมากเป็นป่าไม้สักที่สำคัญของกำแพงเพชร ที่พะโป้ได้รับช่วงต่อจากเจ้าเมืองกำแพงเพชร พะโป้ได้สร้างคฤหาสน์ขึ้นริมฝั่งคลองสวนหมาก เป็นสถาปัตยกรรมไทยผสมผสานตะวันตก สร้างด้วยไม้สักสองชั้นประดับด้วยลายฉลุสวยงาม ว่ากันว่าเป็นออฟฟิศของบริษัท ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดสว่างอารมณ์ เพื่อทำการค้าไม้ส่งไปยังกรุงเทพฯ โดยชักลากไม้ผ่านลำคลองสวนหมากซึ่งไหลจากเทือกเขาตะนาวศรี ทางทิศตะวันตก เข้าแม่น้ำปิง เพื่อส่งไปพระนคร (Teenee.com, 2559) แสดงให้เห็นว่าเมื่อปีพุทธศักราช 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสต้น ณ ตำบลนครชุม พระองค์มาอยู่ที่ปากคลองสวนหมากทั้งวัน บ้านปากคลองสวนหมากเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ในเมืองกำแพงเพชร ชาวบ้านคลองสวนหมากยังเล่าขานกัน และ ประทับใจจนมาถึงปัจจุบัน พระองค์ทรงพระราชหัตถเลขาถึงการเสด็จประพาสต้นในครั้งนี้ บรรยายถึงเส้นทางการเดินทางมายังชุมชนบ้านคลองสวนหมาก | ||
แถว 26: | แถว 26: | ||
<p align = "center"> '''ภาพที่ 3''' พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก <br> (วันวานและข่าวสาร, 2559)</p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 3''' พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก <br> (วันวานและข่าวสาร, 2559)</p> | ||
“พะโป้” หนึ่งในตัวละครของนวนิยายชื่อดังที่ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์หลายเวอร์ชั่น ชั่วฟ้าดินสลาย เรื่องราวของคหบดีชื่อ พะโป้ นายห้างค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงที่มาทำธุรกิจในเมืองกำแพงเพชร ได้พบรักกับ ยุพดี หญิงสาวสวย และตกลงใจพาเธอมาอยู่ด้วยกันที่กำแพงเพชร พะโป้มีหลานชื่อ ส่างหมอง เป็นหนุ่มรูปงาม ต่อมา ยุพดี กับ ส่างหมอง เริ่มรักกัน และมีความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง จนพะโป้จับได้ และใส่โซ่ตรวนทั้งสองใช้ชีวิตด้วยกันเกิดเป็นโศกนาฏกรรมขึ้น ก่อนหน้านี้หลายคนอาจคิดว่า ชั่วฟ้าดินสลาย อาจเป็นนวนิยาย ที่มาลัย ชูพินิจ แต่งขึ้น โดยไร้ข้อเท็จจริง ทว่าพะโป้กลับมีตัวตนในประวัติศาสตร์ เป็นคหบดีชาวกะเหรี่ยงที่เข้ามาทำการค้าไม้ที่นครชุม จังหวัดกำแพงเพชร (Teenee.com, 2559) แสดงให้เห็นว่าชื่อของพะโป้ ได้ไปปรากฏอยู่ในนวนิยายของ ครูมาลัย ชูพินิจ ในเรื่องชั่วฟ้าดินสลาย นวนิยายโศกนาฏกรรมแห่งความรัก เรื่องราวของคหบดีชาวกะเหรี่ยงที่ได้มาทำการค้าไม้ และ ได้พบรักกับนางยุพดี ทั้งสองได้ตกลงปลงใจมาอยู่ด้วยที่จังหวัดกำแพงเพชร แต่นางยุพดีก็ได้ลักลอบคบชู้กับหลานชายของพะโป้ เมื่อพะโป้จับได้จึงจับทั้งสองใส่โซ่ตรวนให้อยู่ด้วยกันตราบชั่วฟ้าดินสลายเป็นที่มาของชื่อนวนิยาย “ชั่วฟ้าดินสลาย” ของครูมาลัย ชูพินิจ ดังภาพที่ 4 - 5 | “พะโป้” หนึ่งในตัวละครของนวนิยายชื่อดังที่ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์หลายเวอร์ชั่น ชั่วฟ้าดินสลาย เรื่องราวของคหบดีชื่อ พะโป้ นายห้างค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงที่มาทำธุรกิจในเมืองกำแพงเพชร ได้พบรักกับ ยุพดี หญิงสาวสวย และตกลงใจพาเธอมาอยู่ด้วยกันที่กำแพงเพชร พะโป้มีหลานชื่อ ส่างหมอง เป็นหนุ่มรูปงาม ต่อมา ยุพดี กับ ส่างหมอง เริ่มรักกัน และมีความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง จนพะโป้จับได้ และใส่โซ่ตรวนทั้งสองใช้ชีวิตด้วยกันเกิดเป็นโศกนาฏกรรมขึ้น ก่อนหน้านี้หลายคนอาจคิดว่า ชั่วฟ้าดินสลาย อาจเป็นนวนิยาย ที่มาลัย ชูพินิจ แต่งขึ้น โดยไร้ข้อเท็จจริง ทว่าพะโป้กลับมีตัวตนในประวัติศาสตร์ เป็นคหบดีชาวกะเหรี่ยงที่เข้ามาทำการค้าไม้ที่นครชุม จังหวัดกำแพงเพชร (Teenee.com, 2559) แสดงให้เห็นว่าชื่อของพะโป้ ได้ไปปรากฏอยู่ในนวนิยายของ ครูมาลัย ชูพินิจ ในเรื่องชั่วฟ้าดินสลาย นวนิยายโศกนาฏกรรมแห่งความรัก เรื่องราวของคหบดีชาวกะเหรี่ยงที่ได้มาทำการค้าไม้ และ ได้พบรักกับนางยุพดี ทั้งสองได้ตกลงปลงใจมาอยู่ด้วยที่จังหวัดกำแพงเพชร แต่นางยุพดีก็ได้ลักลอบคบชู้กับหลานชายของพะโป้ เมื่อพะโป้จับได้จึงจับทั้งสองใส่โซ่ตรวนให้อยู่ด้วยกันตราบชั่วฟ้าดินสลายเป็นที่มาของชื่อนวนิยาย “ชั่วฟ้าดินสลาย” ของครูมาลัย ชูพินิจ ดังภาพที่ 4 - 5 | ||
− | [[ไฟล์:4-4.jpg| | + | [[ไฟล์:4-4.jpg|300px|thumb|center]] |
<p align = "center"> '''ภาพที่ 4''' ปกภาพยนตร์ “ชั่วฟ้าดินสลาย” สร้างครั้งที่ 4 <br> (หอภาพยนตร์, ม.ป.ป.)</p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 4''' ปกภาพยนตร์ “ชั่วฟ้าดินสลาย” สร้างครั้งที่ 4 <br> (หอภาพยนตร์, ม.ป.ป.)</p> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:07, 19 เมษายน 2567
เนื้อหา
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อเรียกแหล่งโบราณสถาน
บ้านพะโป้
ชื่อเรียกอื่น ๆ
บ้านห้าง ร.5
ที่ตั้ง (ที่อยู่)
บ้านเลขที่ 124 หมู่ 6 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 62130
ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์
16.4838832, 99.4916676, บ้านโบราณสมัยรัชกาลที่ 5 (เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร, 2558)
สภาพธรณีวิทยา
ลักษณะทางธรณีวิทยาของพื้นที่ในจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วยหินหลายชนิด ได้แก่ หินตะกอนหินแปร หินอัคนี และ ตะกอนร่วน พื้นที่ส่วนใหญ่บริเวณตอนกลางซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองโบราณ และ พื้นที่ทางด้านตะวันออกของจังหวัดเป็นตะกอนร่วนที่สะสมตัวโดยทางน้ำ ตะกอนเชิงเขา ตะกอนที่เกิดจากการพุผังอยู่กับที่ (กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2555)
หน่วยงานที่ดูแลรักษา
เอกชน (อยู่ในการดูแลรักษาของทายาทที่สืบทอดภายในตระกูล)
สถานการณ์ขึ้นทะเบียน
ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เนื่องจากอยู่ในความดูแลของเอกชน (ทายาทที่สืบทอดภายในตระกูล)
ข้อมูลทางโบราณคดี
ประวัติความเป็นมา/คำบอกเล่า/ตำนาน
บ้านพะโป้ หรือ บ้านห้าง ร.5 ตั้งอยู่ที่ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ใกล้วัดสว่างอารมณ์ เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง รูปแบบไทยผสมตะวันตก ประดับด้วยไม้ฉลุลายอย่างประณีต เป็นบ้านของพะโป้ คหบดีชาวพม่า ซึ่งมีอาชีพค้าไม้ที่บริเวณปากคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยได้ซื้อบ้านมาจากพระยาราม ครั้งหนึ่งสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสต้น เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. 2449 ได้เสด็จเยือนบ้านพะโป้ จนเป็นที่มาของชื่อ บ้านห้าง ร.5 ตามประวัติกล่าวว่า มองสุภอ หรือ พระยาตะก่า พี่ชายพะโป้ ได้เข้ามาขอรับเช่าทำการค้าไม้ จากพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ในราวปลายรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2418 และ ได้ถึงแก่กรรม ต่อมา ปี พ.ศ. 2429 พะโป้ได้เริ่มทำการค้าไม้ โดยตั้งบ้านเรือนที่บริเวณปากคลองสวนหมาก ซึ่งเป็นทำเลในการชักลากลำเลียงซุงไม้จากป่าส่งลงไปยังเมืองนครสวรรค์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าไม้ ที่ใหญ่ที่สุดของภาคเหนือตอนล่าง (ชินแสงทริปดอทคอม, ม.ป.ป.) แสดงให้เห็นว่าบ้านพะโป้ ตั้งอยู่ที่ตำบลนครชุม ชุมชนคลองสวนหมาก อยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดสว่างอารมณ์ (ด้านหลังวัด) ในอดีตบ้านพะโป้เป็นศูนย์รวมของชาวบ้านคลองสวนหมาก มีลักษณะเป็นบ้านไม้สองชั้นหลังใหญ่ มีนอกชาน มีแพยื่นออกไปบริเวณริมคลองสำหรับให้บ่าวไพร่ใช้ล้างจาน มีลานกว้างบริเวณหน้าบ้านสำหรับการพักไม้รอส่งไปยังเมืองนครสวรรค์ มีรั้วไม้อยู่ติดกับริมคลองสวนหมากเนื่องจากเป็นทำเลที่เหมาะกับการค้าขายไม้ บ้านพะโป้ในอดีตนับว่าเป็นบ้านที่แสดงให้เห็นถึงฐานะทางการเงินชัดเจน เนื่องจากสมัยนั้นไม่ค่อยมีบ้านลักษณะเช่นเดียวกับบ้านพะโป้มากนัก โดยบ้านพะโป้มีอีกชื่อหนึ่งคือ “บ้านห้าง ร.5” เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาเยือน ณ เรือนไม้แห่งนี้ ชาวบ้านจึงได้เรียกต่อ ๆ กันมาว่า บ้านห้าง ร.5 บางคำบอกเล่าก็กล่าวว่า รัชกาลที่ 5 เสด็จขึ้นไปบนบ้านพะโป้ บ้างก็ว่าท่านไม่ได้เสด็จขึ้นไปด้านบนบ้านเพียงแต่เสด็จประพาสผ่านไปเฉย ๆ ไม่มีใครรู้ได้ว่าความจริงในตอนนั้นเป็นอย่างไร
ภาพที่ 1 บ้านพะโป้ในปัจจุบัน
(เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร, 2558)
จากหนังสือเมืองโบราณกล่าวไว้ว่า “พะโป้” เป็นพ่อค้าไม้ และ เป็นคหบดีใหญ่ชาวกระเหรี่ยง ผู้ปฏิสังขรณ์เจดีย์โบราณพระบรมธาตุนครชุม ต่อจากแซงพอ หรือพญาตะก่าผู้เป็นพี่ชาย ที่เคยรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คราวเสด็จประพาสต้น ครั้งที่ 2 และ มีภาพตัวบ้านในอัลบั้มภาพทรงถ่าย อันเป็นคราวพระพุทธเจ้าหลวง (ฆรณี แสงรุจิ และศรันย์ ทองปาน, 2536) แสดงให้เห็นว่า พะโป้เจ้าของบ้าน มีชื่อเต็มๆ คือ พะโป้พะเลวาซวยล่า สะมะเย เป็นพ่อค้าไม้ผู้มั่งคั่งชาวกะเหรี่ยงอยู่ในบังคับของอังกฤษ เดินทางจากพม่าเข้ามาทำไม้ในเขตพื้นที่ป่าคลองสวนหมาก ซึ่งมีบ้านเรือนอยู่ริมคลองสวนหมากใกล้กับบ้านห้าง พะโป้ และ พญาตะก่า (พี่ชาย) ได้ร่วมกัน บูรณะองค์พระเจดีย์ และ ยกยอดฉัตรวัดพระบรมธาตุเจดียาราม
ภาพที่ 2 พะโป้และแม่ทองย้อย ภรรยา
(ฆรณี แสงรุจิ และศรันย์ ทองปาน, 2536)
ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ก็เคยเสด็จประพาสต้นที่บ้านคหบดีคนนี้ด้วยเมื่อปี 2449 มีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า “เลยไปคลองสวนหมาก (บริเวณนครชุม) ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใสเพราะเป็นลำห้วย ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้ ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ” ป่าไม้คลองสวนหมากเป็นป่าไม้สักที่สำคัญของกำแพงเพชร ที่พะโป้ได้รับช่วงต่อจากเจ้าเมืองกำแพงเพชร พะโป้ได้สร้างคฤหาสน์ขึ้นริมฝั่งคลองสวนหมาก เป็นสถาปัตยกรรมไทยผสมผสานตะวันตก สร้างด้วยไม้สักสองชั้นประดับด้วยลายฉลุสวยงาม ว่ากันว่าเป็นออฟฟิศของบริษัท ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดสว่างอารมณ์ เพื่อทำการค้าไม้ส่งไปยังกรุงเทพฯ โดยชักลากไม้ผ่านลำคลองสวนหมากซึ่งไหลจากเทือกเขาตะนาวศรี ทางทิศตะวันตก เข้าแม่น้ำปิง เพื่อส่งไปพระนคร (Teenee.com, 2559) แสดงให้เห็นว่าเมื่อปีพุทธศักราช 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสต้น ณ ตำบลนครชุม พระองค์มาอยู่ที่ปากคลองสวนหมากทั้งวัน บ้านปากคลองสวนหมากเป็นสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ในเมืองกำแพงเพชร ชาวบ้านคลองสวนหมากยังเล่าขานกัน และ ประทับใจจนมาถึงปัจจุบัน พระองค์ทรงพระราชหัตถเลขาถึงการเสด็จประพาสต้นในครั้งนี้ บรรยายถึงเส้นทางการเดินทางมายังชุมชนบ้านคลองสวนหมาก
ภาพที่ 3 พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นบ้านปากคลองสวนหมาก
(วันวานและข่าวสาร, 2559)
“พะโป้” หนึ่งในตัวละครของนวนิยายชื่อดังที่ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์หลายเวอร์ชั่น ชั่วฟ้าดินสลาย เรื่องราวของคหบดีชื่อ พะโป้ นายห้างค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงที่มาทำธุรกิจในเมืองกำแพงเพชร ได้พบรักกับ ยุพดี หญิงสาวสวย และตกลงใจพาเธอมาอยู่ด้วยกันที่กำแพงเพชร พะโป้มีหลานชื่อ ส่างหมอง เป็นหนุ่มรูปงาม ต่อมา ยุพดี กับ ส่างหมอง เริ่มรักกัน และมีความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง จนพะโป้จับได้ และใส่โซ่ตรวนทั้งสองใช้ชีวิตด้วยกันเกิดเป็นโศกนาฏกรรมขึ้น ก่อนหน้านี้หลายคนอาจคิดว่า ชั่วฟ้าดินสลาย อาจเป็นนวนิยาย ที่มาลัย ชูพินิจ แต่งขึ้น โดยไร้ข้อเท็จจริง ทว่าพะโป้กลับมีตัวตนในประวัติศาสตร์ เป็นคหบดีชาวกะเหรี่ยงที่เข้ามาทำการค้าไม้ที่นครชุม จังหวัดกำแพงเพชร (Teenee.com, 2559) แสดงให้เห็นว่าชื่อของพะโป้ ได้ไปปรากฏอยู่ในนวนิยายของ ครูมาลัย ชูพินิจ ในเรื่องชั่วฟ้าดินสลาย นวนิยายโศกนาฏกรรมแห่งความรัก เรื่องราวของคหบดีชาวกะเหรี่ยงที่ได้มาทำการค้าไม้ และ ได้พบรักกับนางยุพดี ทั้งสองได้ตกลงปลงใจมาอยู่ด้วยที่จังหวัดกำแพงเพชร แต่นางยุพดีก็ได้ลักลอบคบชู้กับหลานชายของพะโป้ เมื่อพะโป้จับได้จึงจับทั้งสองใส่โซ่ตรวนให้อยู่ด้วยกันตราบชั่วฟ้าดินสลายเป็นที่มาของชื่อนวนิยาย “ชั่วฟ้าดินสลาย” ของครูมาลัย ชูพินิจ ดังภาพที่ 4 - 5
ภาพที่ 4 ปกภาพยนตร์ “ชั่วฟ้าดินสลาย” สร้างครั้งที่ 4
(หอภาพยนตร์, ม.ป.ป.)