ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เพลงพวงมาลัยจังหวัดกำแพงเพชร"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(สร้างหน้าด้วย "=='''บทนำ'''== เพลงพวงมาลัย เป็นเพลงเก่าแก่เพลงหนึ่งเป็...")
 
(บทนำ)
แถว 1: แถว 1:
 
=='''บทนำ'''==
 
=='''บทนำ'''==
           เพลงพวงมาลัย เป็นเพลงเก่าแก่เพลงหนึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เพราะเคยเป็นเพลงที่นิยมเล่นในภาคกลาง หลายท้องถิ่นมักนำไปประกอบการละเล่นพื้นบ้าน หรือใช้ปรับเป็นเพลงในการเล่นกีฬาพื้นบ้านหลายชนิด และบางพื้นที่ใช้เป็นเพลงร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกันในกลุ่มหนุ่มสาว เพลงพวงมาลัย ไม่มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนว่า มีกำเนิดเมื่อใด แต่รู้กันว่าเป็นเพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ทุกเวลา มักเล่นในงานเทศกาล เช่น สงกรานต์ งานลอยกระทง งานขึ้นบ้านใหม่ งานนบพระเล่นเพลง เป็นต้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์             เพื่อการศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาของเพลงพวงมาลัย 2) โอกาสที่ใช้ในการแสดง 3) อุปกรณ์ประกอบ         4) ขั้นตอนวิธีการเล่น 5) ข้อมูลผู้แสดง 6) การแต่งกาย/เครื่องประดับ 7) ข้อมูลเพลง/ดนตรี
+
           เพลงพวงมาลัย เป็นเพลงเก่าแก่เพลงหนึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เพราะเคยเป็นเพลงที่นิยมเล่นในภาคกลาง หลายท้องถิ่นมักนำไปประกอบการละเล่นพื้นบ้าน หรือใช้ปรับเป็นเพลงในการเล่นกีฬาพื้นบ้านหลายชนิด และบางพื้นที่ใช้เป็นเพลงร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกันในกลุ่มหนุ่มสาว เพลงพวงมาลัย ไม่มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนว่า มีกำเนิดเมื่อใด แต่รู้กันว่าเป็นเพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ทุกเวลา มักเล่นในงานเทศกาล เช่น สงกรานต์ งานลอยกระทง งานขึ้นบ้านใหม่ งานนบพระเล่นเพลง เป็นต้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาของเพลงพวงมาลัย 2) โอกาสที่ใช้ในการแสดง 3) อุปกรณ์ประกอบ 4) ขั้นตอนวิธีการเล่น 5) ข้อมูลผู้แสดง 6) การแต่งกาย/เครื่องประดับ 7) ข้อมูลเพลง/ดนตรี
 
'''คำสำคัญ:''' เพลงพวงมาลัย, ความเป็นมาของเพลงพวงมาลัย, เพลงพวงมาลัยจังหวัดกำแพงเพชร
 
'''คำสำคัญ:''' เพลงพวงมาลัย, ความเป็นมาของเพลงพวงมาลัย, เพลงพวงมาลัยจังหวัดกำแพงเพชร
ประวัติความเป็นมาของเพลงพวงมาลัย
+
=='''ประวัติความเป็นมาของเพลงพวงมาลัย'''==
เพลงพวงมาลัยเริ่มเล่นมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ปรากฏแต่หลักฐานจากคำบอกเล่า  ต่อ ๆ กันมาว่า ได้รับการสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายาย ดังที่หลายท่านที่สืบค้นเรื่องเพลงพวงมาลัย      ได้กล่าวไว้เช่น เอนก นาวิกมูล ได้สัมภาษณ์แม่เพลงพ่อเพลงชาวสุพรรณบุรี ถึงการละเล่นในงานวัดป่าเลไลยก์เมื่อ 50 ปีก่อนว่า นอกจากเพลงฉ่อยเพลงอีแซวที่เล่นกันแล้ว ก็มีเพลงพวงมาลัยและเพลงระบำบ้านไร่ ซึ่งเพลงทั้งสองชนิดนี้ดูจะเกยิ่งกว่าเพลงฉ่อย เพลงอีแซว และเป็นเพลงที่เล่นกันแพร่หลายมาก ในบริเวณภาคกลางมักร้องเล่นยามตรุษสงกรานต์เป็นต้น แต่ไม่ค่อยมีใครนำมาร้องเป็นอาชีพ (เอนก นาวิกมูล, 2527, หน้า 330)   
+
          เพลงพวงมาลัยเริ่มเล่นมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ปรากฏแต่หลักฐานจากคำบอกเล่า  ต่อ ๆ กันมาว่า ได้รับการสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายาย ดังที่หลายท่านที่สืบค้นเรื่องเพลงพวงมาลัย      ได้กล่าวไว้เช่น เอนก นาวิกมูล ได้สัมภาษณ์แม่เพลงพ่อเพลงชาวสุพรรณบุรี ถึงการละเล่นในงานวัดป่าเลไลยก์เมื่อ 50 ปีก่อนว่า นอกจากเพลงฉ่อยเพลงอีแซวที่เล่นกันแล้ว ก็มีเพลงพวงมาลัยและเพลงระบำบ้านไร่ ซึ่งเพลงทั้งสองชนิดนี้ดูจะเกยิ่งกว่าเพลงฉ่อย เพลงอีแซว และเป็นเพลงที่เล่นกันแพร่หลายมาก ในบริเวณภาคกลางมักร้องเล่นยามตรุษสงกรานต์เป็นต้น แต่ไม่ค่อยมีใครนำมาร้องเป็นอาชีพ (เอนก นาวิกมูล, 2527, หน้า 330)   
 
           ผู้เขียนได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ ลำไย เทพสุวรรณ (การสัมภาษณ์, 14 ตุลาคม 2564) พบว่า เพลงพวงมาลัยมีความเหมือนกันตรงที่ไม่ทราบถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน และต่างกันตรงที่กำแพงเพชรไม่ใช่ต้นกำเนิดของเพลงพวงมาลัย แต่มีประวัติอยู่ในกำแพงเพชรมานานมากกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งเป็นการนำมาจากครูพักลักจำ  และสืบทอดมาจากพ่อเพลงแม่เพลงในพื้นที่ภาคกลาง
 
           ผู้เขียนได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ ลำไย เทพสุวรรณ (การสัมภาษณ์, 14 ตุลาคม 2564) พบว่า เพลงพวงมาลัยมีความเหมือนกันตรงที่ไม่ทราบถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน และต่างกันตรงที่กำแพงเพชรไม่ใช่ต้นกำเนิดของเพลงพวงมาลัย แต่มีประวัติอยู่ในกำแพงเพชรมานานมากกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งเป็นการนำมาจากครูพักลักจำ  และสืบทอดมาจากพ่อเพลงแม่เพลงในพื้นที่ภาคกลาง
 
           นอกจากนี้เพลงพวงมาลัย คำนวณตามอายุ ของพ่อเพลง แม่เพลง ตามหลักแบบเพลงพื้นบ้านโบราณจากการศึกษาของ เอนก นาวิกมูล เรื่อง เพลงนอกศตวรรษ ได้คำนวณตามอายุของ แม่เพลง พ่อเพลงผู้ให้ข้อมูล ได้อนุมานอายุของเพลงชนิดนี้ว่าน่าจะเป็นเพลงเก่าที่มีอายุนับร้อยปีซึ่งก็ตรงกับที่บันทึกไว้ในหนังสือ "วัฒนธรรมไทย" ที่กล่าวถึงประวัติของเพลงพวงมาลัยว่า "เป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งที่มีมาแต่โบราณตามทางสืบค้นได้ความว่ามีการเล่นกันมากกว่า 100 ปี" และสุกัญญา สุจฉายา ได้กล่าวไว้ในประวัติของเพลงอีแซวว่า “เพลงอีแซวมีกำเนิดในสมัยเดียวกับเพลงเหย่ยของกาญจนบุรีคือราว ๆ 60 ปี โดยมีเพลงพวงมาลัยเป็นต้นแบบของเพลงทั้งสอง เพลงพวงมาลัยจึงน่าจะมีอายุร่วมร้อยปีหรือมากกว่านั้น และจากการที่ผู้วิจัยได้สืบสาวถึงประวัติความเป็นมาของเพลงพวงมาลัย ในพื้นที่ที่เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามพบว่า ส่วนใหญ่ต้นตระกูล  รุ่นปู่ย่าตายายของพ่อเพลงแม่เพลงจะเล่นเพลงเป็น และได้รับการสืบทอดต่อ ๆ กันมาถึงรุ่นพ่อเพลงแม่เพลงซึ่งมีอายุตั้งแต่ 50-80 ปีบางท่านจดจำมาจาก พ่อเพลง แม่เพลง ในหมู่บ้านหรือหมู่บ้านใกล้เคียง มาฝึกร้องเล่นจนมีความชำนาญการสืบทอดต่อ ๆ กันมานี้จึงเป็นการยืนยัน "ความเก่า" ของเพลงพวงมาลัยได้เป็นอย่างดี ซึ่งประวัติของเพลงพวงมาลัยนี้ได้ถูกบันทึกไว้ในเนื้อร้องของเพลงพวงมาลัยหลายสำนวนดังนี้  
 
           นอกจากนี้เพลงพวงมาลัย คำนวณตามอายุ ของพ่อเพลง แม่เพลง ตามหลักแบบเพลงพื้นบ้านโบราณจากการศึกษาของ เอนก นาวิกมูล เรื่อง เพลงนอกศตวรรษ ได้คำนวณตามอายุของ แม่เพลง พ่อเพลงผู้ให้ข้อมูล ได้อนุมานอายุของเพลงชนิดนี้ว่าน่าจะเป็นเพลงเก่าที่มีอายุนับร้อยปีซึ่งก็ตรงกับที่บันทึกไว้ในหนังสือ "วัฒนธรรมไทย" ที่กล่าวถึงประวัติของเพลงพวงมาลัยว่า "เป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งที่มีมาแต่โบราณตามทางสืบค้นได้ความว่ามีการเล่นกันมากกว่า 100 ปี" และสุกัญญา สุจฉายา ได้กล่าวไว้ในประวัติของเพลงอีแซวว่า “เพลงอีแซวมีกำเนิดในสมัยเดียวกับเพลงเหย่ยของกาญจนบุรีคือราว ๆ 60 ปี โดยมีเพลงพวงมาลัยเป็นต้นแบบของเพลงทั้งสอง เพลงพวงมาลัยจึงน่าจะมีอายุร่วมร้อยปีหรือมากกว่านั้น และจากการที่ผู้วิจัยได้สืบสาวถึงประวัติความเป็นมาของเพลงพวงมาลัย ในพื้นที่ที่เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามพบว่า ส่วนใหญ่ต้นตระกูล  รุ่นปู่ย่าตายายของพ่อเพลงแม่เพลงจะเล่นเพลงเป็น และได้รับการสืบทอดต่อ ๆ กันมาถึงรุ่นพ่อเพลงแม่เพลงซึ่งมีอายุตั้งแต่ 50-80 ปีบางท่านจดจำมาจาก พ่อเพลง แม่เพลง ในหมู่บ้านหรือหมู่บ้านใกล้เคียง มาฝึกร้องเล่นจนมีความชำนาญการสืบทอดต่อ ๆ กันมานี้จึงเป็นการยืนยัน "ความเก่า" ของเพลงพวงมาลัยได้เป็นอย่างดี ซึ่งประวัติของเพลงพวงมาลัยนี้ได้ถูกบันทึกไว้ในเนื้อร้องของเพลงพวงมาลัยหลายสำนวนดังนี้  
แถว 28: แถว 28:
  
 
           จากเนื้อร้องของเพลงพวงมาลัยที่ยกมาเป็นตัวอย่างนั้น จะเห็นได้ว่าการเล่นเพลงชนิดนี้ได้รับการสืบทอดมาแต่โบราณ และเป็นเพลงที่นิยมเล่นกันในช่วงเทศกาลตรุษสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยแต่โบราณ มีเทศกาลเฉลิมฉลองดังปรากฏอยู่ในพระราชกำหนดกฎมณเฑียรบาลครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นโบราณมงคลราชพิธี ซึ่งพระมหากษัตริย์ได้ทรงกระทำเป็นพิธีการประจำพระนคร ทำเพื่อจะให้เป็นสิริมงคลแก่พระนคร และพระเจ้าแผ่นดินพระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการตลอดจนประชาราษฎรทั้งปวงและได้รับการสืบทอดมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์เพิ่งมาเปลี่ยนใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่เมื่อสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนประเพณีสงกรานต์ยังคงไว้ตามเดิม และได้รับการสืบทอดจนมาถึงปัจจุบัน โดยประชาชนส่วนใหญ่ยังถือว่าตรุษสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอยู่ ชาวบ้านยังถือว่าเป็น “งานหลวง” ซึ่ง “เขาก็เล่นกัน แต่พวงมาลัย” ดังที่กล่าวไว้ในเพลงซึ่งถ้านับจากประเพณีตรุษสงกรานต์ที่ได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเพลงพวงมาลัยเกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือ กรุงรัตนโกสินทร์ เพลงชนิดนี้ก็เป็นเพลงที่เก่าแก่เพลงหนึ่ง แต่แปลกที่ไม่มีการกล่าวถึงหรือมีการบันทึกถึงเพลงชนิดนี้เลยในวรรณคดีลายลักษณ์อักษร ทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา และ กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือ ในหนังสือเพลงพื้นเมือง (วิบูลย์ ศรีคำจันทร์, 2537, หน้า 19)
 
           จากเนื้อร้องของเพลงพวงมาลัยที่ยกมาเป็นตัวอย่างนั้น จะเห็นได้ว่าการเล่นเพลงชนิดนี้ได้รับการสืบทอดมาแต่โบราณ และเป็นเพลงที่นิยมเล่นกันในช่วงเทศกาลตรุษสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยแต่โบราณ มีเทศกาลเฉลิมฉลองดังปรากฏอยู่ในพระราชกำหนดกฎมณเฑียรบาลครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นโบราณมงคลราชพิธี ซึ่งพระมหากษัตริย์ได้ทรงกระทำเป็นพิธีการประจำพระนคร ทำเพื่อจะให้เป็นสิริมงคลแก่พระนคร และพระเจ้าแผ่นดินพระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการตลอดจนประชาราษฎรทั้งปวงและได้รับการสืบทอดมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์เพิ่งมาเปลี่ยนใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่เมื่อสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนประเพณีสงกรานต์ยังคงไว้ตามเดิม และได้รับการสืบทอดจนมาถึงปัจจุบัน โดยประชาชนส่วนใหญ่ยังถือว่าตรุษสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอยู่ ชาวบ้านยังถือว่าเป็น “งานหลวง” ซึ่ง “เขาก็เล่นกัน แต่พวงมาลัย” ดังที่กล่าวไว้ในเพลงซึ่งถ้านับจากประเพณีตรุษสงกรานต์ที่ได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเพลงพวงมาลัยเกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือ กรุงรัตนโกสินทร์ เพลงชนิดนี้ก็เป็นเพลงที่เก่าแก่เพลงหนึ่ง แต่แปลกที่ไม่มีการกล่าวถึงหรือมีการบันทึกถึงเพลงชนิดนี้เลยในวรรณคดีลายลักษณ์อักษร ทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา และ กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือ ในหนังสือเพลงพื้นเมือง (วิบูลย์ ศรีคำจันทร์, 2537, หน้า 19)
           จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า เพลงพวงมาลัยมีการเล่นกันมากกว่า 100 ปี ซึ่งมักสืบทอดกันมาจากต้นตระกูลที่เคยมีปู่ย่าตายายเป็นพ่อเพลง แม่เพลงมาก่อน จนมาถึงรุ่นพ่อเพลงแม่เพลงที่มีอายุตั้งแต่            50-80 ปี บางคนจำมาจาก พ่อเพลง แม่เพลง ในหมู่บ้านหรือหมู่บ้านใกล้เคียง และนำมาฝึกร้องเล่นจนมีความชำนาญการสืบทอดต่อ ๆ กันมา โดยคาดว่าถูกบันทึกไว้ในเนื้อร้องของเพลงพวงมาลัย  
+
           จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า เพลงพวงมาลัยมีการเล่นกันมากกว่า 100 ปี ซึ่งมักสืบทอดกันมาจากต้นตระกูลที่เคยมีปู่ย่าตายายเป็นพ่อเพลง แม่เพลงมาก่อน จนมาถึงรุ่นพ่อเพลงแม่เพลงที่มีอายุตั้งแต่            50-80 ปี บางคนจำมาจาก พ่อเพลง แม่เพลง ในหมู่บ้านหรือหมู่บ้านใกล้เคียง และนำมาฝึกร้องเล่นจนมีความชำนาญการสืบทอดต่อ ๆ กันมา โดยคาดว่าถูกบันทึกไว้ในเนื้อร้องของเพลงพวงมาลัย
 +
 
 
=='''โอกาสที่ใช้ในการแสดง'''==
 
=='''โอกาสที่ใช้ในการแสดง'''==
 
           จากการสำรวจข้อมูลการสัมภาษณ์ เพลงพวงมาลัยเป็นเพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ทุกเวลา มักเล่นในงานเทศกาล หรืองานประเพณีต่าง ๆ ได้แก่ สงกรานต์ งานขึ้นบ้านใหม่ งานลอยกระทง งานนบพระเล่นเพลง งานแต่ง งานทอดผ้าป่า ทำบุญร้อยวัน ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว และแก้บน  
 
           จากการสำรวจข้อมูลการสัมภาษณ์ เพลงพวงมาลัยเป็นเพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ทุกเวลา มักเล่นในงานเทศกาล หรืองานประเพณีต่าง ๆ ได้แก่ สงกรานต์ งานขึ้นบ้านใหม่ งานลอยกระทง งานนบพระเล่นเพลง งานแต่ง งานทอดผ้าป่า ทำบุญร้อยวัน ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว และแก้บน  

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:04, 3 กุมภาพันธ์ 2565

บทนำ

         เพลงพวงมาลัย เป็นเพลงเก่าแก่เพลงหนึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป เพราะเคยเป็นเพลงที่นิยมเล่นในภาคกลาง หลายท้องถิ่นมักนำไปประกอบการละเล่นพื้นบ้าน หรือใช้ปรับเป็นเพลงในการเล่นกีฬาพื้นบ้านหลายชนิด และบางพื้นที่ใช้เป็นเพลงร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกันในกลุ่มหนุ่มสาว เพลงพวงมาลัย ไม่มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนว่า มีกำเนิดเมื่อใด แต่รู้กันว่าเป็นเพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ทุกเวลา มักเล่นในงานเทศกาล เช่น สงกรานต์ งานลอยกระทง งานขึ้นบ้านใหม่ งานนบพระเล่นเพลง เป็นต้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาของเพลงพวงมาลัย 2) โอกาสที่ใช้ในการแสดง 3) อุปกรณ์ประกอบ 4) ขั้นตอนวิธีการเล่น 5) ข้อมูลผู้แสดง 6) การแต่งกาย/เครื่องประดับ 7) ข้อมูลเพลง/ดนตรี

คำสำคัญ: เพลงพวงมาลัย, ความเป็นมาของเพลงพวงมาลัย, เพลงพวงมาลัยจังหวัดกำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของเพลงพวงมาลัย

         เพลงพวงมาลัยเริ่มเล่นมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ปรากฏแต่หลักฐานจากคำบอกเล่า  ต่อ ๆ กันมาว่า ได้รับการสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งปู่ย่าตายาย ดังที่หลายท่านที่สืบค้นเรื่องเพลงพวงมาลัย       ได้กล่าวไว้เช่น เอนก นาวิกมูล ได้สัมภาษณ์แม่เพลงพ่อเพลงชาวสุพรรณบุรี ถึงการละเล่นในงานวัดป่าเลไลยก์เมื่อ 50 ปีก่อนว่า นอกจากเพลงฉ่อยเพลงอีแซวที่เล่นกันแล้ว ก็มีเพลงพวงมาลัยและเพลงระบำบ้านไร่ ซึ่งเพลงทั้งสองชนิดนี้ดูจะเกยิ่งกว่าเพลงฉ่อย เพลงอีแซว และเป็นเพลงที่เล่นกันแพร่หลายมาก ในบริเวณภาคกลางมักร้องเล่นยามตรุษสงกรานต์เป็นต้น แต่ไม่ค่อยมีใครนำมาร้องเป็นอาชีพ (เอนก นาวิกมูล, 2527, หน้า 330)   
         ผู้เขียนได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ ลำไย เทพสุวรรณ (การสัมภาษณ์, 14 ตุลาคม 2564) พบว่า เพลงพวงมาลัยมีความเหมือนกันตรงที่ไม่ทราบถึงแหล่งที่มาอย่างชัดเจน และต่างกันตรงที่กำแพงเพชรไม่ใช่ต้นกำเนิดของเพลงพวงมาลัย แต่มีประวัติอยู่ในกำแพงเพชรมานานมากกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งเป็นการนำมาจากครูพักลักจำ   และสืบทอดมาจากพ่อเพลงแม่เพลงในพื้นที่ภาคกลาง
         นอกจากนี้เพลงพวงมาลัย คำนวณตามอายุ ของพ่อเพลง แม่เพลง ตามหลักแบบเพลงพื้นบ้านโบราณจากการศึกษาของ เอนก นาวิกมูล เรื่อง เพลงนอกศตวรรษ ได้คำนวณตามอายุของ แม่เพลง พ่อเพลงผู้ให้ข้อมูล ได้อนุมานอายุของเพลงชนิดนี้ว่าน่าจะเป็นเพลงเก่าที่มีอายุนับร้อยปีซึ่งก็ตรงกับที่บันทึกไว้ในหนังสือ "วัฒนธรรมไทย" ที่กล่าวถึงประวัติของเพลงพวงมาลัยว่า "เป็นการละเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่งที่มีมาแต่โบราณตามทางสืบค้นได้ความว่ามีการเล่นกันมากกว่า 100 ปี" และสุกัญญา สุจฉายา ได้กล่าวไว้ในประวัติของเพลงอีแซวว่า “เพลงอีแซวมีกำเนิดในสมัยเดียวกับเพลงเหย่ยของกาญจนบุรีคือราว ๆ 60 ปี โดยมีเพลงพวงมาลัยเป็นต้นแบบของเพลงทั้งสอง เพลงพวงมาลัยจึงน่าจะมีอายุร่วมร้อยปีหรือมากกว่านั้น และจากการที่ผู้วิจัยได้สืบสาวถึงประวัติความเป็นมาของเพลงพวงมาลัย ในพื้นที่ที่เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามพบว่า ส่วนใหญ่ต้นตระกูล  รุ่นปู่ย่าตายายของพ่อเพลงแม่เพลงจะเล่นเพลงเป็น และได้รับการสืบทอดต่อ ๆ กันมาถึงรุ่นพ่อเพลงแม่เพลงซึ่งมีอายุตั้งแต่ 50-80 ปีบางท่านจดจำมาจาก พ่อเพลง แม่เพลง ในหมู่บ้านหรือหมู่บ้านใกล้เคียง มาฝึกร้องเล่นจนมีความชำนาญการสืบทอดต่อ ๆ กันมานี้จึงเป็นการยืนยัน "ความเก่า" ของเพลงพวงมาลัยได้เป็นอย่างดี ซึ่งประวัติของเพลงพวงมาลัยนี้ได้ถูกบันทึกไว้ในเนื้อร้องของเพลงพวงมาลัยหลายสำนวนดังนี้ 

เอ่อระเหยลอยมา

ลอยมาก็ลอยไป (ลูกคู่รับ 1 ครั้ง)

มันกรุดมันกรานต์มันเป็นงานของหลวง

ก็เล่นกัน แต่พวงมาลัยมา

แต่ปู่ย่าตายาย

มีกันมาหลายปีเอย (ลูกคู่รับ 2 ครั้ง)

(เพลงพวงมาลัยสำนวนที่ 5/1 ทวี พรหมชนะ อ้างถึงใน วิบูลย์ ศรีคำจันทร์, 2537)

เรื่องราวทั้งหลายแม่สมัยโบราณ มันก็มีมานานแล้วพี่น้องไทย
ยามกรุดสงกรานต์ แต่เป็นงานปี แต่พอสิ้นเดือนสี่เรียกว่ามีใหม่
ยามกรุดสงกรานต์มันเป็นงานหลวง เขาก็เล่นกัน แต่พวงมาลัย ..

(เพลงพวงมาลัยสำนวนที่ 3/78 ขวัญเมือง สังข์ทอง อ้างถึงใน วิบูลย์ ศรีคำจันทร์, 2537)

         จากเนื้อร้องของเพลงพวงมาลัยที่ยกมาเป็นตัวอย่างนั้น จะเห็นได้ว่าการเล่นเพลงชนิดนี้ได้รับการสืบทอดมาแต่โบราณ และเป็นเพลงที่นิยมเล่นกันในช่วงเทศกาลตรุษสงกรานต์ ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยแต่โบราณ มีเทศกาลเฉลิมฉลองดังปรากฏอยู่ในพระราชกำหนดกฎมณเฑียรบาลครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นโบราณมงคลราชพิธี ซึ่งพระมหากษัตริย์ได้ทรงกระทำเป็นพิธีการประจำพระนคร ทำเพื่อจะให้เป็นสิริมงคลแก่พระนคร และพระเจ้าแผ่นดินพระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการตลอดจนประชาราษฎรทั้งปวงและได้รับการสืบทอดมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์เพิ่งมาเปลี่ยนใช้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่เมื่อสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนประเพณีสงกรานต์ยังคงไว้ตามเดิม และได้รับการสืบทอดจนมาถึงปัจจุบัน โดยประชาชนส่วนใหญ่ยังถือว่าตรุษสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอยู่ ชาวบ้านยังถือว่าเป็น “งานหลวง” ซึ่ง “เขาก็เล่นกัน แต่พวงมาลัย” ดังที่กล่าวไว้ในเพลงซึ่งถ้านับจากประเพณีตรุษสงกรานต์ที่ได้รับการสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเพลงพวงมาลัยเกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือ กรุงรัตนโกสินทร์ เพลงชนิดนี้ก็เป็นเพลงที่เก่าแก่เพลงหนึ่ง แต่แปลกที่ไม่มีการกล่าวถึงหรือมีการบันทึกถึงเพลงชนิดนี้เลยในวรรณคดีลายลักษณ์อักษร ทั้งในสมัยกรุงศรีอยุธยา และ กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรือ ในหนังสือเพลงพื้นเมือง (วิบูลย์ ศรีคำจันทร์, 2537, หน้า 19)
         จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า เพลงพวงมาลัยมีการเล่นกันมากกว่า 100 ปี ซึ่งมักสืบทอดกันมาจากต้นตระกูลที่เคยมีปู่ย่าตายายเป็นพ่อเพลง แม่เพลงมาก่อน จนมาถึงรุ่นพ่อเพลงแม่เพลงที่มีอายุตั้งแต่            50-80 ปี บางคนจำมาจาก พ่อเพลง แม่เพลง ในหมู่บ้านหรือหมู่บ้านใกล้เคียง และนำมาฝึกร้องเล่นจนมีความชำนาญการสืบทอดต่อ ๆ กันมา โดยคาดว่าถูกบันทึกไว้ในเนื้อร้องของเพลงพวงมาลัย

โอกาสที่ใช้ในการแสดง

         จากการสำรวจข้อมูลการสัมภาษณ์ เพลงพวงมาลัยเป็นเพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส ทุกเวลา มักเล่นในงานเทศกาล หรืองานประเพณีต่าง ๆ ได้แก่ สงกรานต์ งานขึ้นบ้านใหม่ งานลอยกระทง งานนบพระเล่นเพลง งานแต่ง งานทอดผ้าป่า ทำบุญร้อยวัน ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว และแก้บน 
         สถานที่ริเริ่ม จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าเพลงพวงมาลัยที่ใช้ ร้องโต้ตอบ มีแพร่กระจายอยู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตะวันตกในเขตภาคกลางด้านตะวันตก และตอนล่าง พบในจังหวัดอ่างทอง สุพรรณบุรี กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี และ เพชรบุรี จากถิ่นที่ปรากฏของเพลงพวงมาลัยนี้เมื่อสำรวจดูพบว่าเป็นชุมชนไทยดั้งเดิม ที่มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี อยู่ในระหว่าง พ.ศ.1600-2000 ซึ่งโบราณคดีและผู้เชี่ยวชาญทางศิลปะไทยสันนิษฐานจากหลักฐานทางศิลปะด้านต่าง ๆ ที่พบในบริเวณ นี้ที่เรียกว่า "ศิลปะอู่ทอง" ยืนยันได้ว่าชุมชนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและบริเวณตั้งแต่สุโขทัยลงมาจนถึงเพชรบุรีมีศิลปะ สกุลช่างอู่ทองปรากฏอยู่ทั่วไป สกุลช่างอู่ทองนี้มีอายุเก่าแก่กว่า ศิลปะอยุธยา  เกิดขึ้นก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี อันเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่ามีชุมชนบริเวณนี้เป็นชุมชนไทยดั้งเดิม
ภาพที่ 1 การแสดงเพลงพวงมาลัย.jpg

ภาพที่ 1 การแสดงเพลงพวงมาลัย (suwanna48, 2551)

อุปกรณ์ประกอบ

         จากการสัมภาษณ์ พบว่า อุปกรณ์ในการเล่นเพลงพวงมาลัยไม่มี ยกเว้นมีการมีการไหว้ครูจะมีอยู่      2 องค์ประกอบ คือ
         1. การไหว้ครูต้องใช้พาน ประกอบด้วยธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกไม้ 3 สี บุหรี่ 1 ซอง เหล้าขาว 1 ขวด และเงินค่ายกครู 12 บาท 
         2. ในงานประเพณีทั่วไปจะร้องยกครูด้วยปากเปล่า ในลักษณะบอกเล่าหรือระลึกถึงพระคุณ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือให้มาช่วยคุ้มครอง ดังภาพที่ 2
ภาพที่ 1 การไหว้ครู.jpg

ภาพที่ 2 การไหว้ครู (วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี, 2559)

ขั้นตอน/วิธี/กระบวนการ