ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แหล่งท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
(Admin ย้ายหน้า พูดคุย:ศาลพระอิศวรเมืองกำแพงเพชร ไปยัง [[แหล่งท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก อุทยานป...)
แถว 5: แถว 5:
 
           เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534 "อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร" ได้รับการประกาศเป็น “มรดกโลก” ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ภายใต้ชื่อว่า "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) โบราณสถานของเมืองกำแพงเพชร เกือบทั้งหมดเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์ โดยมีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท พุทธศาสนาในสมัยนั้นมีพระสงฆ์สองฝ่ายคือ ฝ่ายคามวาสีหรือวัดที่อยู่ในเมือง และอรัญวาสีหรือฝ่ายที่อยู่นอกเมือง
 
           เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534 "อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร" ได้รับการประกาศเป็น “มรดกโลก” ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ภายใต้ชื่อว่า "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) โบราณสถานของเมืองกำแพงเพชร เกือบทั้งหมดเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์ โดยมีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท พุทธศาสนาในสมัยนั้นมีพระสงฆ์สองฝ่ายคือ ฝ่ายคามวาสีหรือวัดที่อยู่ในเมือง และอรัญวาสีหรือฝ่ายที่อยู่นอกเมือง
 
'''คำสำคัญ :''' ท่องเที่ยว, เมืองมรดกโลก, อุทยานประวัติศาสตร์, กำแพงเพชร
 
'''คำสำคัญ :''' ท่องเที่ยว, เมืองมรดกโลก, อุทยานประวัติศาสตร์, กำแพงเพชร
 +
== ประวัติความเป็นมาจังหวัดกำแพงเพชรเมืองมรดกโลก ==
 +
          จังหวัดกำแพงเพชร เป็นที่ตั้งของเมืองเก่าที่ปรากฏหลักฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ไทยไม่น้อยกว่า 700 ปี เคยเป็นเมืองเก่าที่นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง เช่น เมืองชากังราว นครชุม ไตรตรึงษ์ เทพนคร และเมืองคณฑี นอกจากนี้ เมืองกำแพงเพชรยังเป็นเมืองที่สองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ครองเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาวชิรปราการ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ได้เปลี่ยนเมืองกำแพงเพชรเป็นจังหวัดกำแพงเพชร (ไกด์พงษ์, 2554) ตามประวัติศาสตร์ กล่าวว่า กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เดิมเรียกชื่อว่า "เมืองชากังราว" และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไตรตรึงษ์ เทพนคร ฯลฯ การที่กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านรับศึกสงครามในอดีตอยู่เสมอ จึงเป็นเมืองยุทธศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น กำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการ วัดโบราณ มีหลักฐานให้สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ว่าเมืองหนึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตก มีพระมหาธาตุอยู่ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเมืองเดิมที่เรียกชื่อว่า “ชากังราว” พระเจ้าเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.1890 ต่อมามีการสร้างอีกเมืองหนึ่งทางฝั่งตะวันตกเช่นกัน เมืองนี้ปรากฏชื่อในจารึกของพระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นว่า เมืองนครชุม เป็นเมืองที่มีวัดวาอารามใหญ่โตหลายวัด เป็นฝีมือสร้างครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีอยู่หลายวัด ต่อมาเกิดเกาะขึ้นตรงกลางหน้าเมืองนครชุม สายน้ำเปลี่ยนทางเดินไปทางทิศตะวันตก ทำให้เมืองนครชุมเป็นเมืองดอน จึงได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ทางฝั่งตะวันออกตรงข้ามกัน เมืองที่สร้างใหม่นี้มีป้อมกำแพงมั่นคงแข็งแรงไว้ต่อสู้ข้าศึก มีลำน้ำทั้งเก่าและใหม่เป็นคูเมือง คงเห็นว่าเป็นเขื่อนขันธ์ที่มั่นคงจึงให้ชื่อว่า เมืองกำแพงเพชร
 +
          ครั้นเมื่ออำนาจของกรุงสุโขทัยเริ่มเสื่อมลง พระเจ้าอู่ทองสามารถตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองเอกทางใต้ได้ และ พอถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1(พลั่ว) รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์สามารถยกทัพมาตีกรุงสุโขทัยได้ จากสงครามนี้ทำให้เขตปกครองของสุโขทัยถูกแบ่งออกเป็น 2 อาณาเขตคือ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) ระแหง (ตาก) และพระบาง (นครสวรรค์) เมืองทางฝั่งแม่น้ำปิงถูกแบ่งเป็นเขตหนึ่ง และเมืองสุโขทัย สองแคว สวรรคโลก พิจิตร เมืองทางฝั่งแม่น้ำยมและน่านอีกเขตหนึ่ง ทั้งสองเขตมีเมืองราชธานีปกครองเมืองเล็กในย่านของตน สำหรับทางแม่น้ำปิงนั้นได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุม ยกเป็นราชธานีปกครองเมืองทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ โดยโปรดฯ ให้พระยายุธิษฐิระ ราชบุตรบุญธรรมเป็นผู้ครองเมือง ส่วนทางด้านลุ่มแม่น้ำยมและน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี มีพระเจ้าไสยลือไท หรือพระมหาธรรมราชาที่ 3 เป็นผู้ครองเมือง และในสมัยที่ยังมีการทำสงครามกับพม่านั้น กำแพงเพชรมีบทบาทในการทำสงครามหลายครั้ง เป็นที่ตั้งในการการทำสงครามต่อสู้กับพม่า ทั้งตั้งรับ ที่พักพล ที่เตรียมเสบียงอาหาร บางครั้งพม่ามีกำลังมากก็ต้องอพยพผู้คนลงมาอยู่ที่อยุธยา เคยถูกพม่ายึดเป็นที่มั่นหลายครั้ง และถูกทำลายเสียหายอยู่เสมอ เป็นเมืองที่พระเจ้าตากสินดำรงพระยศครั้งสุดท้ายก่อนจะเสด็จขึ้นเสวยราชย์ ณ กรุงธนบุรี เป็นพระยาวชิรปราการผู้สำเร็จราชการเมือง
 +
          เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงและเป็นบริเวณที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชรปัจจุบันลักษณะเมืองมีรูปแบบคล้ายกับสี่เหลี่ยมคางหมูวางยาวขนานไปกับแม่น้ำ ความยาวของกำแพงเมืองด้านเหนือประมาณ 2,400 เมตร ด้านใต้ประมาณ 2,160 เมตร ความกว้างด้านตะวันออกประมาณ 540 เมตร และความกว้างด้านตะวันตกประมาณ 220 เมตร กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลงทำเป็นชั้นเชิงเทิน ตอนบนสุด ก่อเป็นรูปใบเสมา มีประตูเมืองโดยรอบรวม 10 ประตู กำแพงเมืองยังมีป้อมปราการที่มั่นคงแข็งแรงทั้งที่บริเวณมุมเมืองทั้ง 4 มุมและในแนวกำแพงเมือง รวมทั้งยังมีป้อมรูปสี่เหลี่ยมตั้งอยู่ด้านหน้าประตูเมืองด้วย ถัดจากกำแพงเมืองศิลาแลงเป็นคูเมืองกว้างประมาณ 30 เมตร จากการที่เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิง จึงพบหลักฐานเกี่ยวกับการทดน้ำจากแม่น้ำปิง เพื่อนำน้ำเข้าสู่คูเมืองบริเวณมุมหัวเมือง และเมื่อน้ำล้นคูเมืองเกินความจำเป็นแล้วก็จะระบายออกที่ด้านมุมท้ายเมืองลงสู่ลำคลองธรรมชาติ (องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร, ม.ป.ป.) ภายในเมืองและนอกเมืองกำแพงเพชรมีซากโบราณสถานใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก เกือบทั้งหมดเป็นศาสนสถานเนื่องในพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์ กลางเมืองมีวัดพระแก้ว วัดพระธาตุเป็นศูนย์กลาง เป็นลักษณะวัดหลวงที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาส ไม่มีพระภิกษุจำพรรษา ทางด้านทิศเหนือของวัดพระแก้วเป็นบริเวณที่เรียกว่าสระมน (เชื่อกันว่าเป็นบริเวณวังโบราณ) และเทวสถานศาลพระอิศวร ซึ่งสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา
 +
          บริเวณนอกเมืองทางด้านทิศเหนือ มีกลุ่มวัดโบราณขนาดใหญ่น้อยประมาณ 40 แห่ง สร้างอยู่บนเนินเขาลูกรังขนาดย่อม จัดเป็นเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร โบราณสถานสำคัญ ได้แก่ วัดพระนอน วัดป่ามืด วัดพระสี่อิริยาบถ วัดฆ้องชัย วัดนาคเจ็ดเศียร วัดสิงห์ วัดกำแพงงาม วัดเตาหม้อ วัดช้างรอบ และวัดอาวาสใหญ่ กลุ่มโบราณสถานเขตอรัญญิกนับเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของเมืองกำแพงเพชร ด้วยโบราณสถานสร้างรวมกลุ่มหนาแน่นในบริเวณพื้นที่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน โบราณสถานมีขนาดใหญ่โตอลังการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง และมีความงดงามทางศิลปกรรมของสกุลช่างเมืองกำแพงเพชร
 +
          บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงหรือฝั่งตรงข้ามกับเมืองกำแพงเพชร เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณอีกเมืองหนึ่งที่เรียกว่าเมืองนครชุม ลักษณะตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ตรงปากคลองสวนหมาก กำแพงเมืองเป็นลักษณะคันดินสามชั้น ซึ่งในปัจจุบันถูกทำลายไปมากทั้งการกัดเซาะของแม่น้ำปิง และการขยายตัวของชุมชนปัจจุบัน
 +
          กลุ่มโบราณสถานสำคัญชองเมืองนครชุมตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศใต้ ห่างจากแนวกำแพงเมืองประมาณ 500 เมตร เป็นกลุ่มวัดเขตอรัญญิกของเมืองนครชุม วัดสำคัญได้แก่ วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ และวัดหนองลังกา นอกจากหลักฐานทางโบราณคดีแล้ว ยังปรากฏเรื่องราวในตำนาน และพงศาวดารหลายฉบับที่กล่าวถึงชุมชนในแถบลุ่มแม่น้ำปิง เช่น ตำนานสิงหนวัติกุมารได้กล่าวถึงพระเจ้าชัยศิริได้หนีข้าศึกจากเมืองเหนือมาตั้งเมืองใหม่ชื่อเมืองกำแพงเพชร ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 (โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์ จำกัด, ม.ป.ป.) จากหลักฐานทางโบราณคดี ตลอดจนเรื่องราวในตำนานทำให้ทราบว่าได้มีชุมชนเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำปิง ในเขตจังหวัดกำแพงเพชรก่อนสมัยสุโขทัย แต่การพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนเมืองกำแพงเพชร  ขนาดใหญ่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลายหลักรวมไปถึงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและประติมากรรมจำนวนมาก ทำให้ทราบว่าเมืองกำแพงเพชรและเมืองนครชุมสถานปนาขึ้นในช่วงสมัยสุโขทัย  ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 หรือภายหลังรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง ในระยะแรกเมืองนครชุม คงจะมีบทบาทและความสำคัญมากกว่าเมืองกำแพงเพชร ดังหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาลิไท ได้เสด็จสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุกลางเมืองนครชุม พร้อมปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งได้มาจากลังกาทวีป เมื่อพ.ศ. 1900 ต่อมาได้ย้ายศูนย์กลางเมืองมาอยู่ทางฝั่งเมืองกำแพงเพชร ซึ่งอาจจะเนื่องด้วยสาเหตุทางการเมืองกับกรุงศรีอยุธยาที่ขยายอำนาจทางการเมืองขึ้นมาทางเหนือ เมืองนครชุมตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมในทางยุทธศาสตร์ หรืออาจจะเนื่องจากการประสบปัญหาแม่น้ำปิงกัดเซาะตลิ่ง ตลอดจนเกิดอุทกภัยน้ำหลากจากภูเขาทางทิศตะวันตก น้ำไหลท่วมคลองสวนหมากและตัวเมืองที่เป็นที่ลุ่มต่ำอยู่เสมอ
 +
          เมืองกำแพงเพชรทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงคงจะมีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลางการเมืองการปกครองในแถบลุ่มแม่น้ำปิง ในขณะเดียวกันด้านการศาสนาและศิลปกรรมได้เจริญรุ่งเรืองควบคู่ไปกับอำนาจการเมืองการปกครอง เรื่องราวที่กล่าวไว้ในตำนานที่เกี่ยวข้องกับพระแก้วมรกตและพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองทั้งสององค์มาชั่วระยะหนึ่งสมัยอยุธยา เมืองกำแพงเพชรได้เป็นหัวเมืองหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาในกลุ่มหัวเมืองเหนือ และยังคงมีบทบาทสำคัญในฐานะเมืองหน้าด่านที่ต้องคอยรับศึกจากกองทัพพม่ามาโดยตลอด เมืองกำแพงเพชรคงจะลดบทบาทและร้างไปในที่สุด เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่าครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2310
 +
          จากประวัติศาสตร์ความเป็นมาและเมืองที่ตั้งของเมืองกำแพงเพชรที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างแคว้นสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา และในขณะเดียวกันก็สามารถติดต่อกับบ้านเมืองเขตล้านนาที่อยู่ทางเหนือได้อย่างสะดวก ดังหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่เมืองกำแพงเพชรจึงแสดงลักษณะที่เกี่ยวกับดินแดนทั้งสามแห่ง แต่ก็แฝงไว้ด้วยศิลปะของท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของสกุลช่างเมืองกำแพงเพชรเอาไว้ด้วย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:39, 23 ธันวาคม 2563

บทนำ

         อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง มีพื้นที่ประมาณ 3.4 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 เขต คือ เขตภายในกำแพงเมือง พื้นที่ 503 ไร่ และเขตนอกกำแพงเมืองหรือที่เรียกกันว่าเขตอรัญญิก พื้นที่ 1,611 ไร่ ตั้งอยู่บนเขาลูกรังขนาดย่อม โบราณสถานทั้ง 2 กลุ่ม ตั้งอยู่ในพื้นที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ประมาณ 358 กิโลเมตร กรมศิลปากรได้กำหนดเขตที่ดินโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ประมาณ 2,114 ไร่ (กองโบราณคดี, ม.ป.ป.)
         กรมศิลปากรได้ดำเนินการคุ้มครองป้องกันโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรและเมือนครชุม โดยการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อ พ.ศ. 2478 และ พ.ศ. 2480 ต่อมาได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2511 ในส่วนของการขุดแต่ง บูรณะ และพัฒนาโบราณสถาน ได้เริ่มดำเนินการครั้งแรกเมื่อพ.ศ. 2508 จนถึง พ.ศ. 2525 กรมศิลปากรจึงได้บรรจุงานปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชรในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (2525 – 2529) โดยใช้ชื่อ โครงการอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนากลุ่มโบราณสถานทั้งภายในเมืองเนื้อที่ 503 ไร่ และเขตอรัญญิก เนื้อที่ 1,611 ไร่ เพื่อป้องกันมิให้ถูกทำลายหรือเสื่อมค่า พัฒนาโบราณสถาน และบริเวณเพื่อให้เป็นแหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของชาติ กรมศิลปากรได้ดำเนินการเปิดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 18 เมษายน พุทธศักราช 2524 โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จเป็นองค์ประธาน
         โบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ยังเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ทั้งในด้านการใช้วัสดุศิลาแลงเป็นวัสดุก่อสร้าง รูปแบบทางศิลปกรรมเป็นของแท้ดั้งเดิมที่แสดงถึงฝีมือและความเชื่อของบรรพชนในอดีต ตลอดจนโบราณสถานรวมกลุ่มหนาแน่นในบริเวณป่าธรรมชาติ ซึ่งยังคงบรรยากาศพุทธสถานเขตอรัญวาสีดังเช่นในอดีต (องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร, ม.ป.ป.)
         เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534 "อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร" ได้รับการประกาศเป็น “มรดกโลก” ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ภายใต้ชื่อว่า "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร" (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) โบราณสถานของเมืองกำแพงเพชร เกือบทั้งหมดเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์ โดยมีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 19 หรือสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท พุทธศาสนาในสมัยนั้นมีพระสงฆ์สองฝ่ายคือ ฝ่ายคามวาสีหรือวัดที่อยู่ในเมือง และอรัญวาสีหรือฝ่ายที่อยู่นอกเมือง

คำสำคัญ : ท่องเที่ยว, เมืองมรดกโลก, อุทยานประวัติศาสตร์, กำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาจังหวัดกำแพงเพชรเมืองมรดกโลก

         จังหวัดกำแพงเพชร เป็นที่ตั้งของเมืองเก่าที่ปรากฏหลักฐานอยู่ในประวัติศาสตร์ไทยไม่น้อยกว่า 700 ปี เคยเป็นเมืองเก่าที่นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง เช่น เมืองชากังราว นครชุม ไตรตรึงษ์ เทพนคร และเมืองคณฑี นอกจากนี้ เมืองกำแพงเพชรยังเป็นเมืองที่สองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ครองเมืองมีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาวชิรปราการ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ได้เปลี่ยนเมืองกำแพงเพชรเป็นจังหวัดกำแพงเพชร (ไกด์พงษ์, 2554) ตามประวัติศาสตร์ กล่าวว่า กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เดิมเรียกชื่อว่า "เมืองชากังราว" และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไตรตรึงษ์ เทพนคร ฯลฯ การที่กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านรับศึกสงครามในอดีตอยู่เสมอ จึงเป็นเมืองยุทธศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น กำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการ วัดโบราณ มีหลักฐานให้สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายไว้ว่าเมืองหนึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตก มีพระมหาธาตุอยู่ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นเมืองเดิมที่เรียกชื่อว่า “ชากังราว” พระเจ้าเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.1890 ต่อมามีการสร้างอีกเมืองหนึ่งทางฝั่งตะวันตกเช่นกัน เมืองนี้ปรากฏชื่อในจารึกของพระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นว่า เมืองนครชุม เป็นเมืองที่มีวัดวาอารามใหญ่โตหลายวัด เป็นฝีมือสร้างครั้งสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีอยู่หลายวัด ต่อมาเกิดเกาะขึ้นตรงกลางหน้าเมืองนครชุม สายน้ำเปลี่ยนทางเดินไปทางทิศตะวันตก ทำให้เมืองนครชุมเป็นเมืองดอน จึงได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ทางฝั่งตะวันออกตรงข้ามกัน เมืองที่สร้างใหม่นี้มีป้อมกำแพงมั่นคงแข็งแรงไว้ต่อสู้ข้าศึก มีลำน้ำทั้งเก่าและใหม่เป็นคูเมือง คงเห็นว่าเป็นเขื่อนขันธ์ที่มั่นคงจึงให้ชื่อว่า เมืองกำแพงเพชร
         ครั้นเมื่ออำนาจของกรุงสุโขทัยเริ่มเสื่อมลง พระเจ้าอู่ทองสามารถตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองเอกทางใต้ได้ และ พอถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1(พลั่ว) รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์สามารถยกทัพมาตีกรุงสุโขทัยได้ จากสงครามนี้ทำให้เขตปกครองของสุโขทัยถูกแบ่งออกเป็น 2 อาณาเขตคือ เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) ระแหง (ตาก) และพระบาง (นครสวรรค์) เมืองทางฝั่งแม่น้ำปิงถูกแบ่งเป็นเขตหนึ่ง และเมืองสุโขทัย สองแคว สวรรคโลก พิจิตร เมืองทางฝั่งแม่น้ำยมและน่านอีกเขตหนึ่ง ทั้งสองเขตมีเมืองราชธานีปกครองเมืองเล็กในย่านของตน สำหรับทางแม่น้ำปิงนั้นได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุม ยกเป็นราชธานีปกครองเมืองทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ โดยโปรดฯ ให้พระยายุธิษฐิระ ราชบุตรบุญธรรมเป็นผู้ครองเมือง ส่วนทางด้านลุ่มแม่น้ำยมและน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี มีพระเจ้าไสยลือไท หรือพระมหาธรรมราชาที่ 3 เป็นผู้ครองเมือง และในสมัยที่ยังมีการทำสงครามกับพม่านั้น กำแพงเพชรมีบทบาทในการทำสงครามหลายครั้ง เป็นที่ตั้งในการการทำสงครามต่อสู้กับพม่า ทั้งตั้งรับ ที่พักพล ที่เตรียมเสบียงอาหาร บางครั้งพม่ามีกำลังมากก็ต้องอพยพผู้คนลงมาอยู่ที่อยุธยา เคยถูกพม่ายึดเป็นที่มั่นหลายครั้ง และถูกทำลายเสียหายอยู่เสมอ เป็นเมืองที่พระเจ้าตากสินดำรงพระยศครั้งสุดท้ายก่อนจะเสด็จขึ้นเสวยราชย์ ณ กรุงธนบุรี เป็นพระยาวชิรปราการผู้สำเร็จราชการเมือง
         เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงและเป็นบริเวณที่ตั้งของตัวจังหวัดกำแพงเพชรปัจจุบันลักษณะเมืองมีรูปแบบคล้ายกับสี่เหลี่ยมคางหมูวางยาวขนานไปกับแม่น้ำ ความยาวของกำแพงเมืองด้านเหนือประมาณ 2,400 เมตร ด้านใต้ประมาณ 2,160 เมตร ความกว้างด้านตะวันออกประมาณ 540 เมตร และความกว้างด้านตะวันตกประมาณ 220 เมตร กำแพงเมืองก่อด้วยศิลาแลงทำเป็นชั้นเชิงเทิน ตอนบนสุด ก่อเป็นรูปใบเสมา มีประตูเมืองโดยรอบรวม 10 ประตู กำแพงเมืองยังมีป้อมปราการที่มั่นคงแข็งแรงทั้งที่บริเวณมุมเมืองทั้ง 4 มุมและในแนวกำแพงเมือง รวมทั้งยังมีป้อมรูปสี่เหลี่ยมตั้งอยู่ด้านหน้าประตูเมืองด้วย ถัดจากกำแพงเมืองศิลาแลงเป็นคูเมืองกว้างประมาณ 30 เมตร จากการที่เมืองกำแพงเพชรตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำปิง จึงพบหลักฐานเกี่ยวกับการทดน้ำจากแม่น้ำปิง เพื่อนำน้ำเข้าสู่คูเมืองบริเวณมุมหัวเมือง และเมื่อน้ำล้นคูเมืองเกินความจำเป็นแล้วก็จะระบายออกที่ด้านมุมท้ายเมืองลงสู่ลำคลองธรรมชาติ (องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร, ม.ป.ป.) ภายในเมืองและนอกเมืองกำแพงเพชรมีซากโบราณสถานใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก เกือบทั้งหมดเป็นศาสนสถานเนื่องในพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทแบบลังกาวงศ์ กลางเมืองมีวัดพระแก้ว วัดพระธาตุเป็นศูนย์กลาง เป็นลักษณะวัดหลวงที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาส ไม่มีพระภิกษุจำพรรษา ทางด้านทิศเหนือของวัดพระแก้วเป็นบริเวณที่เรียกว่าสระมน (เชื่อกันว่าเป็นบริเวณวังโบราณ) และเทวสถานศาลพระอิศวร ซึ่งสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา 
         บริเวณนอกเมืองทางด้านทิศเหนือ มีกลุ่มวัดโบราณขนาดใหญ่น้อยประมาณ 40 แห่ง สร้างอยู่บนเนินเขาลูกรังขนาดย่อม จัดเป็นเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร โบราณสถานสำคัญ ได้แก่ วัดพระนอน วัดป่ามืด วัดพระสี่อิริยาบถ วัดฆ้องชัย วัดนาคเจ็ดเศียร วัดสิงห์ วัดกำแพงงาม วัดเตาหม้อ วัดช้างรอบ และวัดอาวาสใหญ่ กลุ่มโบราณสถานเขตอรัญญิกนับเป็นงานสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของเมืองกำแพงเพชร ด้วยโบราณสถานสร้างรวมกลุ่มหนาแน่นในบริเวณพื้นที่ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน โบราณสถานมีขนาดใหญ่โตอลังการใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง และมีความงดงามทางศิลปกรรมของสกุลช่างเมืองกำแพงเพชร
         บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงหรือฝั่งตรงข้ามกับเมืองกำแพงเพชร เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณอีกเมืองหนึ่งที่เรียกว่าเมืองนครชุม ลักษณะตัวเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ตรงปากคลองสวนหมาก กำแพงเมืองเป็นลักษณะคันดินสามชั้น ซึ่งในปัจจุบันถูกทำลายไปมากทั้งการกัดเซาะของแม่น้ำปิง และการขยายตัวของชุมชนปัจจุบัน
         กลุ่มโบราณสถานสำคัญชองเมืองนครชุมตั้งอยู่นอกเมืองทางด้านทิศใต้ ห่างจากแนวกำแพงเมืองประมาณ 500 เมตร เป็นกลุ่มวัดเขตอรัญญิกของเมืองนครชุม วัดสำคัญได้แก่ วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดหนองพิกุล วัดซุ้มกอ และวัดหนองลังกา นอกจากหลักฐานทางโบราณคดีแล้ว ยังปรากฏเรื่องราวในตำนาน และพงศาวดารหลายฉบับที่กล่าวถึงชุมชนในแถบลุ่มแม่น้ำปิง เช่น ตำนานสิงหนวัติกุมารได้กล่าวถึงพระเจ้าชัยศิริได้หนีข้าศึกจากเมืองเหนือมาตั้งเมืองใหม่ชื่อเมืองกำแพงเพชร ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 (โอเชี่ยนสไมล์ทัวร์ จำกัด, ม.ป.ป.) จากหลักฐานทางโบราณคดี ตลอดจนเรื่องราวในตำนานทำให้ทราบว่าได้มีชุมชนเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำปิง ในเขตจังหวัดกำแพงเพชรก่อนสมัยสุโขทัย แต่การพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนเมืองกำแพงเพชร   ขนาดใหญ่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลายหลักรวมไปถึงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและประติมากรรมจำนวนมาก ทำให้ทราบว่าเมืองกำแพงเพชรและเมืองนครชุมสถานปนาขึ้นในช่วงสมัยสุโขทัย   ในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 หรือภายหลังรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหง ในระยะแรกเมืองนครชุม คงจะมีบทบาทและความสำคัญมากกว่าเมืองกำแพงเพชร ดังหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 3 (จารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาลิไท ได้เสด็จสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุกลางเมืองนครชุม พร้อมปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งได้มาจากลังกาทวีป เมื่อพ.ศ. 1900 ต่อมาได้ย้ายศูนย์กลางเมืองมาอยู่ทางฝั่งเมืองกำแพงเพชร ซึ่งอาจจะเนื่องด้วยสาเหตุทางการเมืองกับกรุงศรีอยุธยาที่ขยายอำนาจทางการเมืองขึ้นมาทางเหนือ เมืองนครชุมตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมในทางยุทธศาสตร์ หรืออาจจะเนื่องจากการประสบปัญหาแม่น้ำปิงกัดเซาะตลิ่ง ตลอดจนเกิดอุทกภัยน้ำหลากจากภูเขาทางทิศตะวันตก น้ำไหลท่วมคลองสวนหมากและตัวเมืองที่เป็นที่ลุ่มต่ำอยู่เสมอ
         เมืองกำแพงเพชรทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงคงจะมีบทบาทสำคัญในฐานะศูนย์กลางการเมืองการปกครองในแถบลุ่มแม่น้ำปิง ในขณะเดียวกันด้านการศาสนาและศิลปกรรมได้เจริญรุ่งเรืองควบคู่ไปกับอำนาจการเมืองการปกครอง เรื่องราวที่กล่าวไว้ในตำนานที่เกี่ยวข้องกับพระแก้วมรกตและพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองทั้งสององค์มาชั่วระยะหนึ่งสมัยอยุธยา เมืองกำแพงเพชรได้เป็นหัวเมืองหนึ่งของกรุงศรีอยุธยาในกลุ่มหัวเมืองเหนือ และยังคงมีบทบาทสำคัญในฐานะเมืองหน้าด่านที่ต้องคอยรับศึกจากกองทัพพม่ามาโดยตลอด เมืองกำแพงเพชรคงจะลดบทบาทและร้างไปในที่สุด เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับพม่าครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2310
         จากประวัติศาสตร์ความเป็นมาและเมืองที่ตั้งของเมืองกำแพงเพชรที่เป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างแคว้นสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา และในขณะเดียวกันก็สามารถติดต่อกับบ้านเมืองเขตล้านนาที่อยู่ทางเหนือได้อย่างสะดวก ดังหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่เมืองกำแพงเพชรจึงแสดงลักษณะที่เกี่ยวกับดินแดนทั้งสามแห่ง แต่ก็แฝงไว้ด้วยศิลปะของท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ของสกุลช่างเมืองกำแพงเพชรเอาไว้ด้วย