ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร"

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
แถว 1: แถว 1:
 
== บทนำ ==
 
== บทนำ ==
 
           บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งประกอบด้วย 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านตลาดม้ง ตำบลคลองลานพัฒนา หมู่บ้านใหม่ชุมนุมไทร ตำบลโป่งน้ำร้อน และหมู่บ้านป่าคา ตำบลโป่งน้ำร้อน ชนเผ่าม้งในอำเภอคลองลาน  มีการประกอบอาชีพหลักคือเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าว อาชีพรองคือการค้าขาย และมีกลุ่มอาชีพเสริมในหมู่บ้าน เช่น กลุ่มเกษตรพัฒนา กลุ่มปักผ้าชาวเขา กลุ่มตีมิด เป็นต้น  
 
           บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งประกอบด้วย 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านตลาดม้ง ตำบลคลองลานพัฒนา หมู่บ้านใหม่ชุมนุมไทร ตำบลโป่งน้ำร้อน และหมู่บ้านป่าคา ตำบลโป่งน้ำร้อน ชนเผ่าม้งในอำเภอคลองลาน  มีการประกอบอาชีพหลักคือเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าว อาชีพรองคือการค้าขาย และมีกลุ่มอาชีพเสริมในหมู่บ้าน เช่น กลุ่มเกษตรพัฒนา กลุ่มปักผ้าชาวเขา กลุ่มตีมิด เป็นต้น  
ชนเผ่าม้งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศจีนและประเทศต่างๆใน เอเชียอาคเนย์ คือ เวียดนาม พม่า ลาว และประเทศไทย ชื่อชนเผ่าพื้นเมือง คือ“ม้ง” ภาษาม้ง “ม้ง” ภาษาไทย “ม้ง” ภาษาอังกฤษ “Hmong”  ม้งในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆคือ ม้งขาว เรียกตนเองว่า "ม้ง เด๊อว" (Hmong Daw/Hmoob Dawd) และม้งเขียว เรียกตนเองว่า "ม้ง จั๊ว" (Hmong Njua/ Moob Ntsuad)
+
          ชนเผ่าม้งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศจีนและประเทศต่างๆใน เอเชียอาคเนย์ คือ เวียดนาม พม่า ลาว และประเทศไทย ชื่อชนเผ่าพื้นเมือง คือ“ม้ง” ภาษาม้ง “ม้ง” ภาษาไทย “ม้ง” ภาษาอังกฤษ “Hmong”  ม้งในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆคือ ม้งขาว เรียกตนเองว่า "ม้ง เด๊อว" (Hmong Daw/Hmoob Dawd) และม้งเขียว เรียกตนเองว่า "ม้ง จั๊ว" (Hmong Njua/ Moob Ntsuad)
 
'''คำสำคัญ :''' ชนเผ่าม้ง, อำเภอคลองลาน, กำแพงเพชร
 
'''คำสำคัญ :''' ชนเผ่าม้ง, อำเภอคลองลาน, กำแพงเพชร
 
== ความเป็นมาชนเผ่าม้ง ==
 
== ความเป็นมาชนเผ่าม้ง ==
แถว 44: แถว 44:
 
|}
 
|}
 
'''ที่มา :''' Parsit 2011&2003 (อ้างถึงในประสิทธิ์  ลีปรีชา และคณะ 2554, หน้า 7)
 
'''ที่มา :''' Parsit 2011&2003 (อ้างถึงในประสิทธิ์  ลีปรีชา และคณะ 2554, หน้า 7)
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 1 แผนที่.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 1 แผนที่แสดงถึงการเคลื่อนย้ายของชนเผ่าม้ง ในประเทศไทย''' </p>
 +
<p align = "center"> (ที่มา : มูลนิธิกระจกเงา, 2558) </p>
 +
          ในดินแดนล้านนาหรือภาคเหนือของประเทศไทย ชนเผ่าม้งเริ่มอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งระหว่างช่วงต่อคริสต์ศักราช 1800 และ1900 โดยในบันทึกของชาวตะวันตกพบว่ามีชนเผ่าม้งตั้งหมู่บ้านอยู่ในจังหวัดตากก่อนหน้า ปี ค.ศ.1929  จากเอกสารของกระทรวงศึกษาธิการโรงเรียนของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นในชุมชนชนเผ่าม้งแห่งแรกคือ ที่บ้านนายเลาต๋า  หมู่บ้านชนเผ่าม้ง อำเภออุ้งผาง จังหวัดตากเป็นโรงเรียนประชาบาล สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2478 หรือ  ปี ค.ศ.1935 (ประสิทธ์  ลีปรีชา, 2548 หน้า 7)
 +
          ชนเผ่าม้งในประเทศไทย ในปัจจุบันมีประชากรทั้งสิ้น 124,211 คน โดยกระจายตัวอยู่ใน 12 จังหวัด ทางภาคเหนือ คือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดลำปาง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีชนเผ่าม้งอยู่ในจังหวัดเลย โดยชนเผ่าม้งอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน และจังหวัดเพชรบูรณ์
 +
          ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าม้งในประเทศไทยจะนิยมตั้งหมู่บ้านอยู่ในระดับความสูงประมาณ 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล เนื่องจากความสูงในระดับนี้เหมาะสำหรับการเพาะปลูกฝิ่น ในอดีตนั้นชนเผ่าม้งมักอพยพหมู่บ้านบ่อยครั้ง เนื่องจากปัญหาที่ดินทำกินขาดความอุดมสมบูรณ์ และปัญหาภัยสงครามทางการเมืองระหว่างรัฐบาลไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งการอพยพในแง่หนีสงครามเป็นไปตามความต้องการของรัฐเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและการแย่งชินมวลชนตามนโยบายรัฐบาล (ยศ  สันตสมบัติ และคณะผู้วิจัย, 2547 หน้า 38 - 40)
 +
== ชนเผ่าม้งในอำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร ==
 +
          นายพรมชาติ จิตชยานนท์ (สัมภาษณ์, 1 พฤษภาคม 2561) กล่าวว่า ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน มีการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ราวประมาณ ปี พ.ศ. 2518-2519 บางกลุ่มก็ย้ายเข้ามา ราวปี พ.ศ.2522 ส่วนใหญ่ย้ายมาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก โดยทยอยการย้ายเข้ามาและรวมตัวกันเป็นหมู่บ้านใหญ่ในราวปี พ.ศ.2528 ปัจจุบันมีชนเผ่าม้งตั้งถิ่นฐานอยู่ในอำเภอคลองลาน จำรวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่
 +
          1. บ้านตลาดม้ง
 +
          2. บ้านใหม่ชุมนุมไทร
 +
          3. บ้านป่าคา
 +
== วิถีชีวิตของชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ==
 +
=== '''การประกอบอาชีพ''' ===
 +
          ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก อาชีพรองคือการค้าขาย การทำเกษตรกรรมของชนเผ่าม้งจะอาศัยแหล่งน้ำจากธรรมชาติ ทำไร่ - ทำนา และเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าว เลี้ยงสัตว์และผลไม้ยืนต้น การปลูกข้าวโพด ผักต่างๆ มีเป็นบางครอบครัว นอกจากนี้ ชนเผ่าม้งยังมีกลุ่มอาชีพในหมู่บ้าน เช่น กลุ่มเกษตรพัฒนา กลุ่มปักผ้าชาวเขา กลุ่มการตีมิด และกลุ่มค้าขาย อาชีพทั่วไป เช่น ช่างซ่อมรถยนต์ ช่างซ่อมรถมอเตอร์ไซต์ ช่างก่อสร้างเป็นต้น
 +
=== '''ระบบครอบครัวและญาติ''' ===
 +
          ชนเผ่าม้งในอำเภอคลองลาน จะอาศัยอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ส่วนใหญ่จะเป็นชนเผ่าม้งเขียวหรือชนเผ่าม้งดำเท่านั้น ส่วนชนเผ่าม้งขาวไม่พบว่ามีการตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอคลองลาน ตระกูลแซ่นั้นสามารถแบ่งได้ เป็น 7 ตระกูลใหญ่ๆ ได้แก่ 1) ตระกูลแซ่ม้า 2) ตระกูลแซ่ย่าง  3) ตระกูลแซ่กือ 4) ตระกูลแซ่จ้าง 5) ตระกูลแซ่โซ้ง 6) ตระกูลว่าง และ 7) ตระกูลแซ่หาง โดยตระกูลที่มีจำนวนน้อยที่สุดคือตระกูลแซ่ว่างและตระกูลแซ่หาง
 +
=== '''การแต่งกาย''' ===
 +
          ชนเผ่าม้งมีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีความสวยงามทั้งลวดลายต่าง ๆ บนผ้าและแบบของเสื้อผ้า ในอดีตชนเผ่าม้งใช้ผ้าไหมดิบที่ผลิตเองมาปักเป็นลวดลาย ซึ่งชนเผ่าม้งคิดค้นออกแบบเอง เมื่อมีการปักลวดลายเรียบร้อย จะนำมาแปลรูปเป็นเสื้อผ้าที่จะสวมใส่ในปัจจุบัน เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนบวกกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ชุดชนเผ่าม้งในอำเภอคลองลาน มีการประดิษฐ์ด้วยชุดที่มีสีสวยงามมากขึ้นและมีรูปแบบที่ทันสมัยมากขึ้น การแต่งกายในชีวิตประจำวันก็หันมาแต่งแบบคนไทยพื้นราบแทน หรือบางครั้งจะใส่เพียง เสื้อหรือกางเกงเท่านั้น การแต่งกายด้วยชุดชนเผ่าม้งนี้จะใช้ในงานสำคัญๆ เท่านั้น เช่น งานประเพณีปีใหม่ งานแต่งงาน เป็นต้น
 +
          ลักษณะเครื่องแต่งกายแบบชุดชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
 +
          ผู้หญิง เสื้อสีดำแขนยาว ปลายแขนเสื้อมีการปักลวดลายสวยงาม ด้านหน้าจะผ่ากลางปล่อยสาบเสื้อทั้งสองข้าง แล้วปักลวดลายพร้อมตกแต่งด้วยผ้าสีต่าง ๆ  มีการประดิษฐ์ขึ้นหลายแบบ ผู้หญิงจะใส่กระโปร่ง ซึ่งชนเผ่าม้งดำนิยมทำกระโปร่งด้วยสีที่ฉูดฉาดพร้อมกับใช้ผ้าพันน่องขา มีผ้าปิดหน้า เรียกว่า “เซ๋” ชายผ้าปิดหน้าจะผูกเอวแล้วปล่อยชายไว้ด้านหลัง
 +
          ผู้ชาย ตัวเสื้อจะเป็นแบบเอวลอยด้านหน้าของเสื้อจะผ่ากลางไม่เท่ากัน ซึ่งด้านขวามือจะเหลือเนื้อที่ของผ้าเยอะกว่าเพื่อที่จะปักทำเป็นมุมต่าง กางเกงจะเป็นแบบเป้ายานและขากว้าง ชายกางเกงจะปักด้วยลวดลายที่สวยงาม
 +
[[ไฟล์:ภาพที่ 2 การแต่งกายชนเผ่าม้ง.jpg|thumb|center]]
 +
<p align = "center"> '''ภาพที่ 2 การแต่งกายชนเผ่าม้งในปัจจุบัน''' </p>
 +
<p align = "center"> (ที่มา :  มาลา คำรณธารา, 2559) </p>
 +
=== ''' ที่อยู่อาศัย''' ===
 +
          อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองน้ำไหล ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองลานพัฒนา ตำบลสักงาม มีหมู่บ้านทั้งหมด 68 หมู่บ้าน ซึ่งมีหมู่บ้านที่เป็นชนเผ่าม้งจำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่
 +
          1. หมู่บ้านตลาดม้ง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตําบลคลองลานพัฒนา อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร การคมนาคม มีเส้นทางคมนาคมหลักลักษณะต่าง ๆ ในตำบล ดังนี้ ตำบลคลองลานพัฒนา มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 1117 คือ ถนนคลองแม่ลาย - คลองลาน เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมติดต่อกับเมืองกำแพงเพชรได้อย่างสะดวก มีถนนหลักลาดยางติดต่อกับ จังหวัดกำแพงเพชรและอำเภอคลองลานได้อย่างสะดวก
 +
          2. บ้านใหม่ชุมนุมไทร อําเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางหลวงชนบทหมายเลข 4049 ตำบลโป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร 62180 อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 48.5 กม. ใช้เวลาเดินทางตัวจังหวัดประมาณ 1 ชั่วโมง 3 นาที อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 46.7 กม. ใช้เวลาเดินทางตัวอำเภอประมาณ 1 ชั่วโมง 4 นาที
 +
          3. บ้านป่าคา อําเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร โดยจารีตประเพณีของชนเผ่าม้งนั้นจะสร้างบ้านติดพื้นดินเพื่อความสะดวกของการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น และชนเผ่าม้งส่วนมากก็ย้ายมาอาศัยอยู่พื้นราบ โดยทางการอยู่อาศัยร่วมกัน จึงส่งผลให้รูปแบบในการสร้างบ้านของชนเผ่าม้งอำเภอคลองลานเปลี่ยนแปลงไป มีทั้งบ้านที่สร้างจากไม้ทั้งหลัง บ้านกึ่งไม้กึ่งปูน และบ้านที่สร้างด้วยปูนทั้งหลัง มีทั้งแบบ ชั้นเดียวและแบบ 2 ชั้น เหตุผลหนึ่งที่สำคัญ ถึงแม้จะสร้างบ้านแบบชั้นเดียวแต่แบบบ้านก็จะต่างไปจากสมัยก่อน เพียงแต่รักษาจารีตประเพณีต่างๆไว้ ถึงจะไม่ร้อยเปอร์เซ็น การสร้างบ้านของชนเผ่าม้งในอำเภอคลองลาน นิยมหันมาปลูกบ้านแบบสมัยใหม่กันมากขึ้น

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:49, 28 ธันวาคม 2563

บทนำ

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งประกอบด้วย 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้านตลาดม้ง ตำบลคลองลานพัฒนา หมู่บ้านใหม่ชุมนุมไทร ตำบลโป่งน้ำร้อน และหมู่บ้านป่าคา ตำบลโป่งน้ำร้อน ชนเผ่าม้งในอำเภอคลองลาน  มีการประกอบอาชีพหลักคือเกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าว อาชีพรองคือการค้าขาย และมีกลุ่มอาชีพเสริมในหมู่บ้าน เช่น กลุ่มเกษตรพัฒนา กลุ่มปักผ้าชาวเขา กลุ่มตีมิด เป็นต้น 
         ชนเผ่าม้งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศจีนและประเทศต่างๆใน เอเชียอาคเนย์ คือ เวียดนาม พม่า ลาว และประเทศไทย ชื่อชนเผ่าพื้นเมือง คือ“ม้ง” ภาษาม้ง “ม้ง” ภาษาไทย “ม้ง” ภาษาอังกฤษ “Hmong”  ม้งในประเทศไทยแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆคือ ม้งขาว เรียกตนเองว่า "ม้ง เด๊อว" (Hmong Daw/Hmoob Dawd) และม้งเขียว เรียกตนเองว่า "ม้ง จั๊ว" (Hmong Njua/ Moob Ntsuad)

คำสำคัญ : ชนเผ่าม้ง, อำเภอคลองลาน, กำแพงเพชร

ความเป็นมาชนเผ่าม้ง

         ชนเผ่าม้ง (Hmoob/Moob) เป็นสาขาหนึ่งของชนชาติจีน  มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในมณฑลไกวเจา มณฑลฮูนาน และอพยพเข้าอยู่ในมณฑลกวางสีและมณฑลยูนนานกว่า 500 ปีมาแล้ว เล่ากันว่าชนเผ่าม้งอาศัยอยู่บนเขาทางทิศใต้ของมองโกเลีย และเคลื่อนย้ายเข้ามายังแผ่นดินตอนกลางของประเทศจีนมีอาณาจักรและกษัตริย์ปกครองเป็นของตนเอง ชาวจีนเคยเรียกว่าชนชาติฮั่น
         ชาวจีนตอนใต้ได้แบ่งชนชาติที่ไม่ใช่ชาวจีนออกเป็น 3 ชาติ คือ พวกโล-โล, ฉาน (ไทย) กับ ชนเผ่าม้ง ชนเผ่าม้งแถบแม่น้ำแยงซีเกียงสร้างโรงเรือนคร่อมที่ดินฝาก่อด้วยดินดิบ มีเตาไฟกลางห้องปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวไร่ ถั่ว ฯลฯ เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เวลารับประทานอาหารนั้นจะใช้ตะเกียบมีกระบะไม้ใส่ข้าวตั้งไว้บนโต๊ะ หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันได้พบปะกับชนเผ่าม้ง, ชาวโล - โล และชาวปายีเป็นจำนวนมาก (บุญช่วย ศรีสวัสดิ์, 2545, หน้า 20 - 421)
         ชนเผ่าม้งในมณฑลยูนนานแบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่มย่อย ได้แก่ ชนเผ่าม้งเด้อ (Hmoob Dawd) ชนเผ่าม้งจั๊วะ (Hmoob Ntsuab) ชนเผ่าม้งชื้อ (Hmood Swb) ชนเผ่าม้งเป่ (Hmood Peg) ชนเผ่าม้งเซา (Hmood Xauv) ชนเผ่าม้งซัว (Hmood Sua) และชนเผ่าม้งปัว (Hmood Pua) ปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่มชนเผ่าม้งโดยนำเอาความแตกต่างของการแต่งกายและสำเนียงภาษามาเป็นเครื่องจำแนก  สำหรับในประเทศไทยมีเพียงสองกลุ่มย่อย คือ ชนเผ่าม้งขาวหรือชนเผ่าม้งเด๊อะ (Hmoob Dawd) และชนเผ่าม้งดำหรือชนเผ่าม้งเขียว บางทีก็รู้จักกันในชื่อชนเผ่าม้งน้ำเงินหรือชนเผ่าม้งลาย  ซึ่งพวกเขาเรียกตัวเองว่า ชนเผ่าม้งจั๊วะ (Hmoob Ntsuab) มีแนวคิดซึ่งเป็นการสันนิฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดชนเผ่าม้ง ดังนี้
         แนวคิดที่หนึ่ง โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส นิกายโรมันคาธอลิก ชื่อ ซาวิน่า สันนิฐานว่าบรรพบุรุษของ ชนเผ่าม้งน่าจะอพยพมาจากดินแดนขั้วโลกเหนือ เข้ามาทางตอนเหนือของประเทศจีนสู่ดินแดนมองโกเลียลงมาทางใต้ของจีนเข้าสู่ดินแดนที่ปัจจุบันเป็นรอยต่อของประเทศจีน เวียดนาม ลาว ไทย และพม่า เพราะมีตำนานที่ชนเผ่าม้งได้เล่าว่าที่นั่นเป็นดินแดนที่หนาวจัดและปกคลุมไปด้วยหิมะ ในกลางวันนั้นเห็นพระอาทิตย์เพียงหกเดือน และไม่เห็นอีกหกเดือน (Savina, 1924 อ้างถึงในประสิทธิ์  ลีปรีชา 2548, หน้า 5)
         แนวคิดที่สอง  ได้รับอิทธิพลจากตำนานของลาวกับจีน เน้นถึงความคล้องจองของชื่อสินชัยของลาวกับ Xeem  Xais ของชนเผ่าม้ง และคำว่าชนเผ่าม้ง ( Hmood /Mood) กับ มองโกเลีย (Muam- Nkauj Liag) ความเชื่อโยงทางวัฒนธรรมทั้งสามกลุ่ม รวมถึงระบบตัวเขียนพ่าเฮา (Phaj Hauj)ในประเทศลาวก่อนสิ้นสุด ยุคสงครามเวียดนาม (Bertrais, 1985 อ้างถึงในประสิทธิ์  ลีปรีชา 2548, หน้า 5)
         แนวคิดที่สาม อิงหลักจากฐานทางประวัติศาสตร์ของจีนและตำนานที่สืบทอดจากบรรพบุรุษเป็นหลัก ซึ่งเชื่อว่าบรรพบุรุษชนเผ่าม้งอพยพมาจากชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันออกของประเทศจีน หรือบริเวณทะเลเหลือง โดยค่อยๆ เคลื่อนย้ายทำมาหากินตามแม่น้ำฮวงโห (แม่น้ำเหลือง หรือ Dej - Nag)เข้ามาสู่บริเวณที่ปัจจุบันเป็นภาคกลางของประเทศจีนซึ่งมีหลักฐานทางวัฒนธรรมของชนเผ่าม้งบางอย่างที่เกี่ยวพันกับทะเลและแม่น้ำเหลือง เช่น ลายผ้ารูปก้นหอย เส้นตักขวางสองเส้นบนลายกระโปรงของหญิง ชนเผ่าม้งจั๊วะที่เป็นสัญลักษณ์ของแม่น้ำเหลืองและแม่น้ำแยงซีเกียง และภาษิตกับตำนานชนเผ่าม้งเกี่ยวกับแม่น้ำเหลือง (Vwj, 1997 อ้างถึงในประสิทธิ์  ลีปรีชา 2548, หน้า 5 - 6)
         จากแนวคิดที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของชนเผ่าม้ง แนวคิดที่สามมีความน่าเชื่อถือได้มาก เพราะมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจีนและมีเอกลักษณ์ในวิถีชีวิตประจำวันของชนเผ่าม้งที่สอดคล้องกับบริบทสภาพแวดล้อม ซึ่งตามหลักฐานของจีนกล่าวว่าแหล่งกำเนิดของชนชาติ “เหมียว” มีความสัมพันธ์กับ “ซานเหมียว” และ “หนานหมาน” ในยุคดึกดำบรรพ์ คือประมาณ 5,000 ปีก่อน นักประวัติศาสตร์จีนสันนิฐานว่า บรรพบุรุษชาวเหมียวหรือชนเผ่าม้งน่าจะมาจากสัมพันธมิตรชนเผ่าที่เรียกตัวเองว่า “จิวลี่” ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่ม แม่น้ำเหลืองและแม่น้ำแยงซีเกียง มีจีเย่อ  (Txiv  Yawg) เป็นหัวหน้าและถูกผู้นำชนเผ่าอีกฝ่ายหนึ่ง คือ ห้วงตี่ (Faj  Tim) ในปัจจุบันเข้าใจกันว่าน่าจะเป็นบรรพบุรุษของจีนนำกองกำลังเข้าโจมตีและครอบครองพื้นที่ดังกล่าวจากนั้นชาวเหมียวหรือชนเผ่าม้งจึงอพยพลงทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เข้าสู่ทะเลสาบต้งถิง (Dong Teng) ทะเลสาบโปยาง (PoYang) แล้วเคลื่อนย้ายเข้าสู่มณฑลเสฉวน กุ้ยโจวในที่สุด
         การแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติกับการรุกรานของชาวมองโกล ชาวแมนจู และชาวฮั่น ทำให้เกิดสงครามระหว่างชนเผ่าม้งกับผู้รุกรานหลายครั้ง นอกจากนั้นนโยบายการสร้างรัฐชาติและการขุดรีดภาษีจากรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ทำให้ชนเผ่าม้งทนไม่ไหวและได้ลุกขึ้นก่อการกบฏหลายครั้งในประวัติศาสตร์จีน ในแต่ละครั้งได้รับการปราบปรามอย่างหนัก ส่งผลต่อการอพยพของชนเผ่าม้งจากประเทศจีนเข้าสู่บริเวณภาคเหนือของประเทศเวียดนาม ลาว ไทย และพม่า

ตารางที่ 1 จำนวนประชากรชนเผ่าม้งในประเทศต่าง ๆ ปี 2544 - 2546

ลำดับ ประเทศ จำนวนประชากร หมายเหตุ
1 จีน 7,398,053 รวมม้งทุกกลุ่ม
2 เวียดนาม 787,604 รวมม้งทุกกลุ่ม
3 ลาว 315,465 -
4 สหรัฐอเมริกา 520,000 -
5 ไทย 126,300 -
6 พม่า 25,000 ประมาณ
7 ฝรั่งเศส 10,000 -
8 ออสเตรเลีย 1,600 -
9 เฟรนช์เกียน่า 1,400 -
10 แคนาดา 600 -
11 อาร์เจนติน่า 500 ประมาณ
12 เยอรมัน 150 ประมาณ
13 นิวซีแลนด์ 100 ประมาณ

ที่มา : Parsit 2011&2003 (อ้างถึงในประสิทธิ์ ลีปรีชา และคณะ 2554, หน้า 7)

ภาพที่ 1 แผนที่.jpg

ภาพที่ 1 แผนที่แสดงถึงการเคลื่อนย้ายของชนเผ่าม้ง ในประเทศไทย

(ที่มา : มูลนิธิกระจกเงา, 2558)

         ในดินแดนล้านนาหรือภาคเหนือของประเทศไทย ชนเผ่าม้งเริ่มอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งระหว่างช่วงต่อคริสต์ศักราช 1800 และ1900 โดยในบันทึกของชาวตะวันตกพบว่ามีชนเผ่าม้งตั้งหมู่บ้านอยู่ในจังหวัดตากก่อนหน้า ปี ค.ศ.1929  จากเอกสารของกระทรวงศึกษาธิการโรงเรียนของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นในชุมชนชนเผ่าม้งแห่งแรกคือ ที่บ้านนายเลาต๋า  หมู่บ้านชนเผ่าม้ง อำเภออุ้งผาง จังหวัดตากเป็นโรงเรียนประชาบาล สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2478 หรือ  ปี ค.ศ.1935 (ประสิทธ์  ลีปรีชา, 2548 หน้า 7)
         ชนเผ่าม้งในประเทศไทย ในปัจจุบันมีประชากรทั้งสิ้น 124,211 คน โดยกระจายตัวอยู่ใน 12 จังหวัด ทางภาคเหนือ คือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน จังหวัดลำปาง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดตาก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพิษณุโลก และจังหวัดสุโขทัย ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีชนเผ่าม้งอยู่ในจังหวัดเลย โดยชนเผ่าม้งอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน และจังหวัดเพชรบูรณ์
         ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าม้งในประเทศไทยจะนิยมตั้งหมู่บ้านอยู่ในระดับความสูงประมาณ 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล เนื่องจากความสูงในระดับนี้เหมาะสำหรับการเพาะปลูกฝิ่น ในอดีตนั้นชนเผ่าม้งมักอพยพหมู่บ้านบ่อยครั้ง เนื่องจากปัญหาที่ดินทำกินขาดความอุดมสมบูรณ์ และปัญหาภัยสงครามทางการเมืองระหว่างรัฐบาลไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งการอพยพในแง่หนีสงครามเป็นไปตามความต้องการของรัฐเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและการแย่งชินมวลชนตามนโยบายรัฐบาล (ยศ  สันตสมบัติ และคณะผู้วิจัย, 2547 หน้า 38 - 40)

ชนเผ่าม้งในอำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร

         นายพรมชาติ จิตชยานนท์ (สัมภาษณ์, 1 พฤษภาคม 2561) กล่าวว่า ชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน มีการอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ราวประมาณ ปี พ.ศ. 2518-2519 บางกลุ่มก็ย้ายเข้ามา ราวปี พ.ศ.2522 ส่วนใหญ่ย้ายมาจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก โดยทยอยการย้ายเข้ามาและรวมตัวกันเป็นหมู่บ้านใหญ่ในราวปี พ.ศ.2528 ปัจจุบันมีชนเผ่าม้งตั้งถิ่นฐานอยู่ในอำเภอคลองลาน จำรวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ 
         1. บ้านตลาดม้ง 
         2. บ้านใหม่ชุมนุมไทร
         3. บ้านป่าคา

วิถีชีวิตของชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

การประกอบอาชีพ

         ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก อาชีพรองคือการค้าขาย การทำเกษตรกรรมของชนเผ่าม้งจะอาศัยแหล่งน้ำจากธรรมชาติ ทำไร่ - ทำนา และเลี้ยงสัตว์ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง ข้าว เลี้ยงสัตว์และผลไม้ยืนต้น การปลูกข้าวโพด ผักต่างๆ มีเป็นบางครอบครัว นอกจากนี้ ชนเผ่าม้งยังมีกลุ่มอาชีพในหมู่บ้าน เช่น กลุ่มเกษตรพัฒนา กลุ่มปักผ้าชาวเขา กลุ่มการตีมิด และกลุ่มค้าขาย อาชีพทั่วไป เช่น ช่างซ่อมรถยนต์ ช่างซ่อมรถมอเตอร์ไซต์ ช่างก่อสร้างเป็นต้น

ระบบครอบครัวและญาติ

         ชนเผ่าม้งในอำเภอคลองลาน จะอาศัยอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ส่วนใหญ่จะเป็นชนเผ่าม้งเขียวหรือชนเผ่าม้งดำเท่านั้น ส่วนชนเผ่าม้งขาวไม่พบว่ามีการตั้งถิ่นฐานในเขตอำเภอคลองลาน ตระกูลแซ่นั้นสามารถแบ่งได้ เป็น 7 ตระกูลใหญ่ๆ ได้แก่ 1) ตระกูลแซ่ม้า 2) ตระกูลแซ่ย่าง  3) ตระกูลแซ่กือ 4) ตระกูลแซ่จ้าง 5) ตระกูลแซ่โซ้ง 6) ตระกูลว่าง และ 7) ตระกูลแซ่หาง โดยตระกูลที่มีจำนวนน้อยที่สุดคือตระกูลแซ่ว่างและตระกูลแซ่หาง

การแต่งกาย

         ชนเผ่าม้งมีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีความสวยงามทั้งลวดลายต่าง ๆ บนผ้าและแบบของเสื้อผ้า ในอดีตชนเผ่าม้งใช้ผ้าไหมดิบที่ผลิตเองมาปักเป็นลวดลาย ซึ่งชนเผ่าม้งคิดค้นออกแบบเอง เมื่อมีการปักลวดลายเรียบร้อย จะนำมาแปลรูปเป็นเสื้อผ้าที่จะสวมใส่ในปัจจุบัน เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนบวกกับความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ชุดชนเผ่าม้งในอำเภอคลองลาน มีการประดิษฐ์ด้วยชุดที่มีสีสวยงามมากขึ้นและมีรูปแบบที่ทันสมัยมากขึ้น การแต่งกายในชีวิตประจำวันก็หันมาแต่งแบบคนไทยพื้นราบแทน หรือบางครั้งจะใส่เพียง เสื้อหรือกางเกงเท่านั้น การแต่งกายด้วยชุดชนเผ่าม้งนี้จะใช้ในงานสำคัญๆ เท่านั้น เช่น งานประเพณีปีใหม่ งานแต่งงาน เป็นต้น
         ลักษณะเครื่องแต่งกายแบบชุดชนเผ่าม้ง อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร 
         ผู้หญิง เสื้อสีดำแขนยาว ปลายแขนเสื้อมีการปักลวดลายสวยงาม ด้านหน้าจะผ่ากลางปล่อยสาบเสื้อทั้งสองข้าง แล้วปักลวดลายพร้อมตกแต่งด้วยผ้าสีต่าง ๆ  มีการประดิษฐ์ขึ้นหลายแบบ ผู้หญิงจะใส่กระโปร่ง ซึ่งชนเผ่าม้งดำนิยมทำกระโปร่งด้วยสีที่ฉูดฉาดพร้อมกับใช้ผ้าพันน่องขา มีผ้าปิดหน้า เรียกว่า “เซ๋” ชายผ้าปิดหน้าจะผูกเอวแล้วปล่อยชายไว้ด้านหลัง
         ผู้ชาย ตัวเสื้อจะเป็นแบบเอวลอยด้านหน้าของเสื้อจะผ่ากลางไม่เท่ากัน ซึ่งด้านขวามือจะเหลือเนื้อที่ของผ้าเยอะกว่าเพื่อที่จะปักทำเป็นมุมต่าง กางเกงจะเป็นแบบเป้ายานและขากว้าง ชายกางเกงจะปักด้วยลวดลายที่สวยงาม
ภาพที่ 2 การแต่งกายชนเผ่าม้ง.jpg

ภาพที่ 2 การแต่งกายชนเผ่าม้งในปัจจุบัน

(ที่มา : มาลา คำรณธารา, 2559)

ที่อยู่อาศัย

         อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลคลองน้ำไหล ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองลานพัฒนา ตำบลสักงาม มีหมู่บ้านทั้งหมด 68 หมู่บ้าน ซึ่งมีหมู่บ้านที่เป็นชนเผ่าม้งจำนวน 3 หมู่บ้าน ได้แก่
         1. หมู่บ้านตลาดม้ง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตําบลคลองลานพัฒนา อําเภอคลองลาน จังหวัดกําแพงเพชร การคมนาคม มีเส้นทางคมนาคมหลักลักษณะต่าง ๆ ในตำบล ดังนี้ ตำบลคลองลานพัฒนา มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 1117 คือ ถนนคลองแม่ลาย - คลองลาน เป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมติดต่อกับเมืองกำแพงเพชรได้อย่างสะดวก มีถนนหลักลาดยางติดต่อกับ จังหวัดกำแพงเพชรและอำเภอคลองลานได้อย่างสะดวก
         2. บ้านใหม่ชุมนุมไทร อําเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางหลวงชนบทหมายเลข 4049 ตำบลโป่งน้ำร้อน อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร 62180 อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 48.5 กม. ใช้เวลาเดินทางตัวจังหวัดประมาณ 1 ชั่วโมง 3 นาที อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 46.7 กม. ใช้เวลาเดินทางตัวอำเภอประมาณ 1 ชั่วโมง 4 นาที
         3. บ้านป่าคา อําเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร โดยจารีตประเพณีของชนเผ่าม้งนั้นจะสร้างบ้านติดพื้นดินเพื่อความสะดวกของการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เนื่องจากปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น และชนเผ่าม้งส่วนมากก็ย้ายมาอาศัยอยู่พื้นราบ โดยทางการอยู่อาศัยร่วมกัน จึงส่งผลให้รูปแบบในการสร้างบ้านของชนเผ่าม้งอำเภอคลองลานเปลี่ยนแปลงไป มีทั้งบ้านที่สร้างจากไม้ทั้งหลัง บ้านกึ่งไม้กึ่งปูน และบ้านที่สร้างด้วยปูนทั้งหลัง มีทั้งแบบ ชั้นเดียวและแบบ 2 ชั้น เหตุผลหนึ่งที่สำคัญ ถึงแม้จะสร้างบ้านแบบชั้นเดียวแต่แบบบ้านก็จะต่างไปจากสมัยก่อน เพียงแต่รักษาจารีตประเพณีต่างๆไว้ ถึงจะไม่ร้อยเปอร์เซ็น การสร้างบ้านของชนเผ่าม้งในอำเภอคลองลาน นิยมหันมาปลูกบ้านแบบสมัยใหม่กันมากขึ้น