ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แกงขี้เหล็กวันลอยกระทง จังหวัดกำแพงเพชร"
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (→คุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญ) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 26: | แถว 26: | ||
[[ไฟล์:7-3.jpg|350px|thumb|center]] | [[ไฟล์:7-3.jpg|350px|thumb|center]] | ||
<p align = "center"> '''ภาพที่ 3''' ใบเพสลาด<br> (บ้านสวนอเนกสมบูรณ์, 2560)</p> | <p align = "center"> '''ภาพที่ 3''' ใบเพสลาด<br> (บ้านสวนอเนกสมบูรณ์, 2560)</p> | ||
+ | [[ไฟล์:7-4.jpg|400px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 4''' พริกแกง<br> (Sai, 2564)</p> | ||
+ | [[ไฟล์:7-5.jpg|350px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 5''' กะทิ<br> (บริษัท เอเซียติค อุตสาหกรรมเกษตร จํากัด, ม.ป.ป.)</p> | ||
+ | [[ไฟล์:7-6.jpg|350px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 6''' ปลาย่าง<br> (เส้นทางเศรษฐี, 2562)</p> | ||
+ | [[ไฟล์:7-7.jpg|350px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 7''' น้ำปลาร้า<br> (Mybest, ม.ป.ป.)</p> | ||
+ | [[ไฟล์:7-8 1.jpg|350px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 8'' เนื้อหมู<br> (CPF, 2563)</p> | ||
+ | [[ไฟล์:7-9.jpg|350px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 9'' น้ำปลา<br> (ท็อปส์ ออนไลน์, ม.ป.ป.)</p> | ||
+ | [[ไฟล์:7-10.jpg|350px|thumb|center]] | ||
+ | <p align = "center"> '''ภาพที่ 10'' เกลือเพชรสาคร<br> (เกลือเพชรสาคร, ม.ป.ป.)</p> |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:08, 4 กรกฎาคม 2566
เนื้อหา
บทนำ
ประเพณีกินแกงขี้เหล็กวันลอยกระทงเป็นอาหารโบราณที่มีการส่งรุ่นต่อรุ่นแกงขี้เหล็กเป็นอาหารที่จัดได้ว่าเข้าข่ายอาหารโบราณที่อีกไม่นาน แกงขี้เหล็กวันลอยกระทง สืบทอดประเพณีพื้นถิ่นของนครชุมโบราณ จุดธูปขอขมาแล้วเก็บขี้เหล็กในเวลาเช้ามืดของวันเพ็ญเดือน 12 แกงวันนั้น และกินให้หมดในวันนั้น จะเป็นสุดยอดของยาอายุวัฒนะโดยหลังเที่ยงคืนเข้าสู่วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ชาวตำบลนครชุม จะออกจากบ้าน ไปเก็บใบขี้เหล็ก ซึ่งก่อนทำการเก็บนั้นจะต้องมีการจุดธูปขอขมา บอกล่าวกับต้นขี้เหล็กก่อน หรือชาวบ้านเรียกว่า พลียา หมายถึงขอยาไปรักษาโรคจากนั้นจึงลงมือเก็บยอดขี้เหล็กมาประกอบเป็นอาหารรับประทาน ในวันเพ็ญเดือน 12 ได้ ซึ่งเป็นความเชื่อของคนโบราณว่า ต้องเก็บวันนั้น แกงวันนั้น และกินให้หมดในวันนั้น จะเป็นสุดยอดของยาอายุวัฒนะคมีเพียงภาพและคำบรรยายเก็บเป็นข้อมูลเท่านั้น คนที่รู้จักกินแกงขี้เหล็กในปัจจุบันนี้มักจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ชีวิตไม่น้อยกว่า 40 ปี ถ้าจะกินแกงขี้เหล็ก เราจะรอให้ขี้เหล็กแตกใบอ่อน และดอก ซึ่งต้องเก็บใบมารูดเอาเฉพาะส่วนใบ หรือ ดอก หรือทั้งใบและดอก จากนั้นเอาไปต้ม เทน้ำทิ้ง บีบกากให้แห้ง แล้วต้มซ้ำ 2-3 ครั้ง จนจืด จึงเอาไปแกงได้ รสชาติของแกงขี้เหล็กนั้น เป็นที่ชื่นชอบเฉพาะหมู่ผู้สูงอายุเท่านั้น เด็กๆที่ทำหน้าที่รูดใบจึงค่อนข้างเบื่อหน่ายที่ต้องช่วยเตรียมแทบตาย แต่ไม่ชอบกิน แต่ก็แปลกนะ เมื่อเด็กๆเหล่านั้นรวมทั้งตัวผู้เขียนโตขึ้นเป็นผู้สูงอายุ กลับหันมาชอบกินแกงขี้เหล็กเหมือนคนรุ่นก่อนๆมา บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมา 2) ความสำคัญของแกงขี้เหล็กวันลอยกระทง 3) เครื่องปรุงและขั้นตอนการทำ
คำสำคัญ: แกงขี้เหล็ก, แกงขี้เหล็กประเพณีชุมชนกำแพงเพชร
ประวัติความเป็นมา
แกงขี้เหล็ก มีส่วนประกอบของแกงขี้เหล็ก ใบขี้เหล็กเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง คนโบราณเอาใบอ่อนและดอกมาปรุงเป็นของกิน ในวันเพ็ญ เดือน 12 ทำแกงขี้เหล็กกันทุกครัวเรือน คนนครชุมโบราณถือว่า วันเพ็ญเดือน 12 ยอดขี้เหล็กจะเป็นยารักษาสารพัดโรค แต่ต้องเก็บตอนเช้ามืด โดยมีความเชื่อที่ว่า การปรุงแกงขี้เหล็ก เพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ ก่อนหน้าการลอยกระทงเพียง 12 ชั่วโมง ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นจะมีพิธีพลียาจากต้นขี้เหล็ก เพราะมีความเชื่อว่าต้นขี้เหล็กจะมีเทพเทวดาคอยรักษา จึงต้องทำพิธีนี้ขึ้นเพื่อขออนุญาตนำดอกขี้เหล็กและใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหารและต้องแกงขี้เหล็กให้เสร็จภายในวันนั้น จะเก็บล่วงหน้าไม่ได้ มิฉะนั้นสรรพคุณจะไม่ขลัง การหักช่อดอกต้องทำด้วยความสุภาพและระมัดระวัง ให้ความเคารพต่อเทพเทวดาที่สถิตอยู่กับต้นขี้เหล็กนั้น ปัจจุบันจะมีแกงกันในวันเพ็ญดังกล่าว เฉพาะบ้านผู้รู้ในตำราแพทย์แผนไทย กล่าวว่า แก้ท้องผูก นอนไม่หลับ บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต และทำให้เจริญอาหาร ส่วนคนที่มารับประทาน แกงขี้เหล็กได้ฟรี หรือจะทำบุญแล้วแต่กำลังศรัทธา จะนำเงินที่ได้ทั้งหมดไปถวายวัด (ไทยรัฐออนไลน์, 2557) วีระ กรงทอง (การสัมภาษณ์, 24 ตุลาคม 2565) ได้เล่าว่า แกงขี้เหล็กนี้ เราได้อิทธิพลมาจากเขมรลงมาทางเหนือ และเข้าสู่ จ.กำแพงเพชร คือ ทางนครชุมบ้านเรา อาจจะด้วยสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมการกินมาตั้งแต่สมัยรุ่นก่อนๆจนถึงปัจจุบันด้วยและพบว่าการทำพิธีต่าง ๆ ต้องผ่านขั้นตอนหลายขั้นตอน เริ่มจากการเก็บขี้เหล็กแต่การเก็บขี้เหล็กมาทำแกงนั้น ต้องเก็บในช่วย เที่ยงคืนถึงตี5 ห้ามให้แสงอาทิตย์โดนเพราะแสงอาทิตย์ จะทำให้คุณภาพของยาเสื่อม เพราะมีเรื่องเล่าจากรามเกียรติ์ แสงสว่างจะทำให้ดอกที่เริ่มจะโรย มันจะแห้ง และเริ่มโรยในที่สุด โดยการขอขี้เหล็กต้องมีการขอจากต้นเพราะชาวบ้านเชื่อว่ามีเทวดาอยู่เลยต้องพิธีขอ ที่เรียกว่า (พิธีพลียา) แต่บทสวดขอเรื่องนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันที่ประชุม เพราะว่าไม่มีบทสวด สำหรับชาวบ้าน จึงทำการ ปูเสื่อ จุดธูปเทียน ตั้งสวดมนต์ นะโม 3 จบ ช่วงเวลา 4-5 ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เพื่อจะเก็บใบขี้เหล็กก่อนแสงอาทิตย์และประเพณีนี้จะจัดขึ้น ย้อนยุคนครชุมรวมถึงมีทอดผ้าป่าและมีเจ้าภาพจากเทศบาลทุกปี พิธีพลียาชาวบ้านตำบลนครชุม จะมีพิธีพลียาจากต้นขี้เหล็ก เพราะมีความเชื่อว่าในวันลอยกระทง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ยาทุกชนิดจะมาอยู่ที่ดอกและใบอ่อนของขี้เหล็ก และที่ต้นขี้เหล็กจะมีเทพเทวดาปกปักรักษา จึงมีพิธีพลียาจากต้นขี้เหล็กก่อนทำการเก็บในตอนเช้ามืดและแกงในวันเดียวกัน โดยเริ่มจากการเลือกหาต้นขี้เหล็กที่มีลำต้นที่งดงาม มีปราชญ์ชาวบ้านที่เป็นผู้เฒ่าผู้แก่เป็นผู้ทำพิธีกรรม โดยนุ่งขาวห่มขาว ในเวลาตอนตี 4 หรือตี 5 เช้ามืด ของวันลอยกระทง มีบายศรีปากชาม หมากพลู ดอกไม้ ธูปเทียน ปูด้วยผ้าขาว เพื่อแสดงถึงความสะอาด บริสุทธิ์ เพื่อที่จะขอพรรุกเทวดา ให้ช่วยอำนวยอวยพรให้ยอดยาขี้เหล็ก มีประสิทธิภาพ ให้ยามาเป็นยาวิเศษ เพื่อให้ลูกหลานชาวบ้านนครชุม กินเป็นยารักษา ให้มีอายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บไม่ป่วย การขอยอดขี้เหล็กเป็นยานี้ ทางเจ้าพิธีก็จะสวดมนต์และภาวนาจิตอธิฐาน ให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ในการทำพิธีและเกิดความเชื่อในการขอยาได้ผล (วีระ กรงทอง, การสัมภาษณ์, 24 ตุลาคม 2565)
ภาพที่ 1 สอย‘ขี้เหล็ก’หลังเที่ยงคืนและพลียา
(ไทยรัฐออนไลน์, 2557)
คุณค่าของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่สำคัญ
ต้นขี้เหล็ก จะมีมากตามหมู่บ้านในตำบลนครชุม ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งการปลูกต้นขี้เหล็กนั้นไม่ต้องลงทุนอะไรมากมาย และยังหาได้ง่ายในหมู่บ้านเพื่อใช้ประกอบอาหารในครัวเรือน อีกทั้งขี้เหล็กยังเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณมากมาย ช่วยบ้านนิยมนำมาประกอบอาหารเพื่อรับประทานในครัวเรือน และในเทศกาลต่าง ๆ ตามหมู่บ้าน ชุมชน และวัด ขี้เหล็กเป็นพืชผักสมุนไพรที่หาได้ง่ายตามตลาด นอกจากนำมาใช้เป็นอาหารไว้รับประทานแล้ว ในตำราแพทย์แผนไทยยังได้มีการใช้ประโยชน์ของต้นขี้เหล็กในหลายๆด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก บำรุงโลหิต บำรุงน้ำดี ช่วยเจริญอาหาร ช่วยกำจัดรังแค ทำความสะอาดผมทำให้ชุมชื่นเงางาม เป็นต้น และนอกจากนี้ขี้เหล็กยังมีสาร "บาราคอล”(Baracol) ที่มีฤทธิ์ในการกล่อมประสาทและมีฤทธิ์เป็นยานอนหลับ อย่างอ่อนๆ ทำให้นอนหลับสบาย แต่ก็ใช่ว่ามันจะได้ผลอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะในขบวนการปรุงอาหารให้ปลอดภัยต้องต้มน้ำทิ้งเสียก่อน เพื่อลดความขมและความเฝื่อน ทำให้ความเป็นพิษและออกฤทธิ์ดังกล่าวลดน้อยลงไปด้วย โดยส่วนที่นำไปใช้และมีสรรพคุณทางยา ได้แก่ ดอก ใบ ใบแก่ ฝัก เปลือกฝัก ลำต้น และราก การรับประทานแกงขี้เหล็กอย่างปลอดภัย ต้องเลือกใบเพสลาดหรือตั้งแต่ยอดจนไปถึงใบกลางและนำไปต้มให้เดือดเทน้ำทิ้งสัก 2-3 น้ำ แล้วค่อยนำมาปรุงอาหารหรือทำเป็นยา ซึ่งวิธีการพื้นบ้านนี้จะช่วยฆ่าฤทธิ์และทำลายสารที่เป็นอันตรายต่อตับได้ และยังช่วยลดความขมอีกด้วย แกงขี้เหล็กคือหนึ่งในแกงกะทิที่สำคัญในครัวไทย มีรสชาติ หวาน มัน เผ็ดเล็กน้อย เนื้อสัตว์ที่ใส่แกง อาจเป็นปลาย่าง หรือหมูย่าง ใบขี้เหล็กที่ ต้มเสร็จแล้วนั้น ก่อนใส่ลงไปในแกง แม่บ้านจะตำให้เป็นชิ้นหยาบหรือละเอียด ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละครอบครัว อย่างไรก็ดีไม่ว่าชิ้นหยาบหรือละเอียด เราสังเกตได้ว่าวันรุ่งขึ้นเราก็จะถ่ายออกเป็นชิ้นๆ ทั้งนี้เป็นเพราะใบขี้เหล็กย่อยยาก จึงทำให้มีกากเยอะ ถ่ายได้ง่ายขึ้น จึงนับได้ว่าเป็นภูมิปัญญาอันหนึ่งประชาชนในตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร ตั้งแต่โบราณมาเชื่อกันว่า ในวันที่พระจันทร์เต็มดวง (วันเพ็ญเดือน 12) จะทำให้สารอาหารและสรรพคุณทางยาดึงดูดขึ้นไปที่ยอดต้นขี้เหล็ก เมื่อเก็บยอดขี้เหล็กมาประกอบอาหาร(แกงขี้เหล็ก) และรับประทานแล้วจะมีประโยชน์ที่สุด เนื่องจากสรรพคุณทางยา ในการแก้ท้องผูก แก้อาการนอนไม่หลับ บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต และทำให้เจริญอาหาร เป็นต้น และสิ่งที่สำคัญจะต้องประกอบพิธีการพลียาตอนเช้ามืดหรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ประมาณตี 4 ตี 5 ของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เพราะมีความเชื่อที่ว่าดอกและยอดของต้นขี้เหล็กนั้นเปรียบเสมือนลูกของต้นขี้เหล็กจะไปเก็บเฉยๆไม่ได้ ต้องทำการบอกกล่าวกับต้นขี้เหล็ก ซึ่งเปรียบเสมือนแม่ก่อน (มีความเชื่อว่าต้นขี้เหล็กมีเทวดาปกปักษ์รักษา) ก่อนจะนำไปปรุงอาหาร โดยจุดธูปสามดอกและตั้งนะโมสามจบ ต่อจากนั้นก็ทำการเก็บยอดไปประกอบอาหาร (แกงขี้เหล็ก) พร้อมขอพรจากต้นขี้เหล็ก ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง อาการเจ็บป่วยนั้นหายไป (กาญจนา จันทร์สิงห์, 2565)
ภาพที่ 2 แกงขี้เหล็ก
(ไทยรัฐออนไลน์, 2557)
ความสำคัญของแกงขี้เหล็กวันลอยกระทง
แกงขี้เหล็กวันลอยกระทง ชาวบ้านที่กำแพงเพชร ลุกขึ้นมาแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือน 12 ประเพณีประจำถิ่นของนครชุมเมืองโบราณ แต่ต้องเก็บแล้วแกงให้เสร็จในวันเดียว เชื่อเป็นสุดยอดของยาอายุวัฒนะในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 งานประเพณีลอยกระทง ที่วัดพระบรมธาตุ ต.นครชุม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ชาวบ้านร่วมใจสืบทอดประเพณีวิถีถิ่นของนครชุมเมือง ด้วยการ “แกงขี้เหล็ก”ซึ่งเป็นความเชื่อของคนโบราณว่า เป็นสุดยอดของยาอายุวัฒนะ โดยเมืองนครชุมเป็นเมืองแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมในด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี เอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น “ชาวนครชุมโบราณเอาใบอ่อนและดอกขี้เหล็กมาปรุงเป็นของกินในวันเพ็ญเดือน 12 แกงขี้เหล็กกันทุกครัวเรือน กินเป็นกับข้าวและเท่ากับกินยาไปพร้อมกัน มีผู้รู้ตำรายากล่าวว่า ในวันเพ็ญเดือนสิบสองตัวยาจากต้นขี้เหล็กจะหนีขึ้นสู่ยอด คนนครชุมโบราณ จึงมีพิธีพลียาจากต้นขี้เหล็กก่อนทำการเก็บในตอนเช้ามืดและแกงในวันเดียวกัน” (กาญจนา จันทร์สิงห์, 2565)
เครื่องปรุงแกงขี้เหล็กและขั้นตอนการทำเพื่อจะคัดสรรวัตถุดิบ
- ใบเพสลาดและดอก - พริกแกง (พริกแห้งเม็ดใหญ่ มะกรูด ข่า ตะไคร้ กะปิ กระชาย กระเทียม หัวหอม ปลาย่าง) - กะทิ - ปลาย่าง - น้ำปลาร้า หรือปลาอินทรีย์เค็ม - เนื้อและหนังหมูย่าง - น้ำปลา - เกลือป่น
ภาพที่ 3 ใบเพสลาด
(บ้านสวนอเนกสมบูรณ์, 2560)
ภาพที่ 4 พริกแกง
(Sai, 2564)
ภาพที่ 5 กะทิ
(บริษัท เอเซียติค อุตสาหกรรมเกษตร จํากัด, ม.ป.ป.)
ภาพที่ 6 ปลาย่าง
(เส้นทางเศรษฐี, 2562)
ภาพที่ 7 น้ำปลาร้า
(Mybest, ม.ป.ป.)
'ภาพที่ 8 เนื้อหมู
(CPF, 2563)
'ภาพที่ 9 น้ำปลา
(ท็อปส์ ออนไลน์, ม.ป.ป.)
'ภาพที่ 10 เกลือเพชรสาคร
(เกลือเพชรสาคร, ม.ป.ป.)