ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย จังหวัดกำแพงเพชร"
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
||
แถว 83: | แถว 83: | ||
| 1. เจียวเช้าซินซือ ฉายา ภิกษุในรังนก | | 1. เจียวเช้าซินซือ ฉายา ภิกษุในรังนก | ||
2. จื้อไจ๊ซินซือ เป็นภิกษุอินเดีย ชื่ออิศวร | 2. จื้อไจ๊ซินซือ เป็นภิกษุอินเดีย ชื่ออิศวร | ||
+ | 3. เค้าทงซินซือ อยู่ที่เขาหยกมอง | ||
+ | 4. ฮงกันซินซือ ฉายาผู้ปราบเสือให้เชื่อง | ||
+ | 5. ฮุยเอี๊ยงซินซือ | ||
+ | 6. ซิบติดจื๋อ ฉายาผู้เก็บตก | ||
+ | 7. ฮั้นซัวจื๋อ ฉายาอยู่ในถ้ำ | ||
+ | 8. ฮุยซางซินซือ | ||
+ | 9. กูตี๋ฮั่วเสียง เป็นภิกษุอินเดีย ชื่อคณมติ | ||
+ | 10. เต้าง้วยซินซือ อยู่เกาะทอง | ||
+ | 11. ซีจือปักคูจุนเจี่ย เป็นภิกษุอินเดีย ชื่อสิงหลบุตร | ||
+ | 12. ซ่งซัวะซินซือ | ||
+ | 13. ส่อฮูลอต้นจุนเจีย นามเป็นบาลี คือ ราหุล | ||
+ | 14. เซ่งจันซินซือ | ||
+ | 15. จี้โมโลจั๊บ นามเป็นบาลี คือ กุมารชีพ | ||
+ | 16. โมโหเกียเหยจุนเจีย นามเป็นบาลี คือ มหากัสสป | ||
+ | 17. ม้าเม้งจุนเจีย นามเป็นบาลี คือ อัศวโฆษ | ||
+ | 18. ปโต้ฮั่วเสียง ฉายาพระท้องพลุ้ย | ||
|} | |} | ||
+ | (Raponsan, 2555) |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:48, 4 กรกฎาคม 2566
บทนำ
“เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเสิ้ง) ลิงในวรรณกรรมที่กลายเป็นเทพเจ้า” เป็นวรรณกรรมจากปลายปากกาของ “จรัสศรี จิรภาส” อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวานรตั้งแต่สมัยโบราณกาล โดยมนุษย์เชื่อว่า ลิงเป็นสัตว์ลี้ลับ สามารถปกปักรักษา ป้องภัยให้ และเพื่อสืบทอดความเชื่อเหล่านี้ มนุษย์จึงอาศัยการบอกเล่าเป็นนิทานเพื่อทำให้บอกเล่าง่ายและจดจำง่าย ซึ่งนิทานที่ว่า อาจเกิดจากเค้ามูลของความจริงหรือไม่ก็ได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1 ) ประวัติความเป็นมา 2 ) ขั้นตอนการสักการะ
คำสำคัญ: ศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย, จังหวัดกำแพงเพชร
ประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย
เห้งเจีย หรือซุนหงอคง หนึ่งในพญาวานรที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก และมีผู้คนนับถือศรัทธาในด้านของความมีปฏิภาณไหวพริบ เฉลียวฉลาดรอบรู้ รอดพ้นจากทุกอุปสรรคปัญหาที่เข้ามา ซึ่งในเมืองไทยเองก็มีศาลเจ้าพ่อเห้งเจียอยู่หลายแห่งด้วย (เรียกว่า ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว หรือเจ้าพ่อเห้งเจีย) เป็นการบ่งบอกถึงความนิยม และศรัทธาเลื่อมใสได้เป็นอย่างดี
ภาพที่ 1 เห้งเจีย หรือซุนหงอคง
(BSW, 2564)
“เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเสิ้ง) ลิงในวรรณกรรมที่กลายเป็นเทพเจ้า” เป็นวรรณกรรมจากปลายปากกาของ “จรัสศรี จิรภาส” อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวานรตั้งแต่สมัยโบราณกาล โดยมนุษย์เชื่อว่า ลิงเป็นสัตว์ลี้ลับ สามารถปกปักรักษา ป้องภัยให้ และเพื่อสืบทอดความเชื่อเหล่านี้ มนุษย์จึงอาศัยการบอกเล่าเป็นนิทานเพื่อทำให้บอกเล่าง่ายและจดจำง่าย ซึ่งนิทานที่ว่า อาจเกิดจากเค้ามูลของความจริงหรือไม่ก็ได้ เห้งเจียเป็นตัวละครหนึ่งใน “ไซอิ๋ว” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันตัวละครนี้เสมือนมีตัวตนดำรงอยู่ในโลกความเป็นจริงและเป็นที่เคารพของกลุ่มคน แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงเห้งเจีย อาจต้องเอ่ยถึงต้นฉบับวรรณคดีที่ตัวละครนี้ปรากฏอยู่ นั่นคือ ไซอิ๋ว ซึ่งเดิมทีเชื่อกันว่าเป็นวรรณกรรมสมัยราชวงศ์หมิง เคยเล่ากันว่า “อู๋ เฉิงเอิน” นักประพันธ์ (ค.ศ. 1500-1582) เป็นผู้รวบรวมเรื่องเล่าจากท้องถิ่นต่างๆ มาผสมผสานเป็นวรรณกรรม อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาค้นคว้าของจรัสศรี จิรภาส ผู้เขียนหนังสือ “เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเสิ้ง)” อธิบายว่า ผู้แต่งที่แท้จริงนั้นจะใช่ “อู๋ เฉิงเอิน” หรือไม่ ยังไม่สามารถบ่งชี้อย่างชัดเจน แต่ที่ศึกษากันจนยอมรับกันนั้นคือ เรื่องไซอิ๋วเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง อันเป็นรอยต่อระหว่างราชวงศ์ถัง ภายหลังจากพระถังซัมจั๋งกลับมาจากประเทศอินเดียและแปลคัมภีร์พุทธศาสนาเผยแพร่ในประเทศ เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ ลูกศิษย์ของท่านแต่งหนังสือเรื่อง “ต้าถังซานจั้งชวี่จิงซือฮว้า” (บันทึกการเดินทางไปอาราธนาพระไตรปิฎกของพระตรีปิฎกแห่งมหาราชวงศ์ถัง) ซึ่งเชื่อกันว่าผลงานนี้เป็นจุดเริ่มต้นของวรรณกรรมไซอิ๋ว และเล่มนี้เช่นกันที่ “เห้งเจีย” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก แน่นอนว่าลิงเทพเจ้าที่โด่งดังอย่างเห้งเจีย ก็สืบเนื่องมาจากฉบับไซอิ๋วมากกว่า และกลายเป็นเทพ “ฉีเทียนต้าเสิ้ง” ที่ผู้คนบูชา สำหรับเนื้อเรื่องในไซอิ๋วนั้น ชาวไทยและผู้คนหลายประเทศทั่วโลกน่าจะคุ้นเคยกันดี แต่ในที่นี้ผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเห้งเจีย ตั้งข้อสังเกตกันไว้ว่า ในวรรณกรรมจีนไม่เคยมีตัวละครที่ถูกเขียนให้ท้าทายอาละวาดสวรรค์อย่างหนักหน่วงเช่นนี้ อาจเป็นไปได้ว่า ผู้เขียนแฝงแนวคิดต่อต้านระบอบศักดินาในช่วงเวลานั้น ซึ่งอาจสะท้อนถึงแนวคิดก้าวหน้าของผู้คนในยุคสมัยหมิงเช่นกัน เมื่อมีกำเนิดตัวละครแล้ว พัฒนาการมาสู่ความศรัทธาในภายหลังนั้น อาจต้องเริ่มต้นที่คำอธิบายว่า การนับถือลิงหรือสัตว์อื่นไม่ใช่เรื่องแปลก ประวัติศาสตร์จีนปรากฏพฤติกรรมการบูชาลิงมาก่อน เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ คนยุคโบราณจึงกราบไหว้ลิงเป็นเทพเจ้า แต่ความคิดเห็นของผู้ศึกษาเกี่ยวกับเห้งเจียอย่างจรัสศรี มองว่า การบูชาลิง-เห้งเจีย ซึ่งกำเนิดจากวรรณกรรมเป็นเรื่องแปลก (ณิชมน อินกันยา, 2563) การบูชาลิงจากวรรณกรรมนี้ไม่ใช่แค่ชนชาติอื่นอาจไม่เข้าใจ ชนชาติจีนเองและต้นกำเนิดตัวละครก็ยังไม่เข้าใจสาเหตุ ดังเช่นบันทึกของเผิง กวางโต่ว ชาวจีนสมัยราชวงศ์ชิง เขาบันทึกการเดินทางไปเมืองฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) ว่า เมืองแห่งนี้มีเรื่องประหลาด 3 เรื่อง หนึ่งในนั้นย่อมมีเรื่อง “การบูชาเห้งเจีย” อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวจีนทางใต้เองมองว่าการบูชาลิงเห้งเจียเป็นเรื่องธรรมดา เนื่องจากทางใต้ของจีนบูชาลิงกันมายาวนาน จึงอาจพอสันนิษฐานได้ว่า เมื่อไซอิ๋วเริ่มแพร่หลายโด่งดังไปทั่วประเทศ ชาวจีนในท้องถิ่นที่มีการบูชาลิงจึงผนวกการบูชาลิงที่มีมาแต่โบราณเข้ากับการบูชาเห้งเจีย บันทึกของเผิง กวางโต่ว ยังสะท้อนให้เห็นอีกว่า การกราบไหว้บูชาลิงไม่ได้เป็นเรื่องปกติทั่วไปในจีน แต่นิยมอยู่ในบางท้องถิ่น โดยเฉพาะทางตอนใต้ อาทิ มณฑลหนิงเซี่ยะ กว่างตง (กวางตุ้ง) หูเป่ย และฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) พื้นที่เหล่านี้อยู่ในลุ่มน้ำตอนใต้ โดยเฉพาะฝูเจี้ยน ซึ่งน่าจะเป็นพื้นที่ซึ่งมีการกราบไหว้เห้งเจียกันมากและเก่าแก่ที่สุด มีวัดบูชาเทพเจ้าลิงที่เก่าแก่ในฝูเจี้ยนชื่อ “วัดเหนิงเหยินซื่อ” อีกทั้งยังมีบันทึกโบราณหลายชิ้นบ่งชี้ว่า ทางตอนใต้ของจีนเป็นแหล่งที่อยู่ของฝูงลิง วิถีชีวิตของคนท้องถิ่นย่อมคุ้นเคยกับลิงมาแต่เดิมจรัสศรี ยังสืบค้นต่อไปว่า ชาวจีนภาคใต้มีความเชื่อเรื่องลิงมีจิตวิญญาณคล้ายมนุษย์ โดยมนุษย์โบราณเชื่อว่าลิงชราอายุร้อยปี กลายเป็นลิงวิเศษ หากอายุพันปีจะกลายเป็นมนุษย์ เรื่องเล่าเช่นนี้ทำให้ชาวจีนบางส่วนไม่กล้าทำร้ายลิง และอาจเรียกลิงว่า “ซือฟู่” (อาจารย์) สำหรับลิงขาวก็จะได้รับการยกย่องในหมู่ชาวจีนบางท้องถิ่น และกราบไหว้ลิงขาวเป็น “ไป๋เจี้ยงจวิน” หรือ จอมพลขาว เป็นเทพอารักษ์ในหมู่บ้าน ยิ่งประกอบกับฝูเจี้ยน เป็นแหล่งโรงพิมพ์ขนาดใหญ่ การเผยแพร่และความนิยมเรื่อง “ไซอิ๋ว” น่าจะแพร่กระจายได้ไม่ยาก ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นปัจจัยทำให้เกิดความนิยมความเชื่อบูชาเห้งเจียด้วย แต่ในยุคปัจจุบัน ร่องรอยการบูชาเห้งเจียในจีนตอนใต้โดยเฉพาะฝูเจี้ยนในมุมมองของชาวต่างชาติยังปรากฏหลากหลาย นักวิชาการไต้หวันเคยเขียนบทความว่าเขตเมืองฝูโจว ในมณฑลฝูเจี้ยน ไม่ปรากฏศาลเจ้าฉีเทียนต้าเสิ้ง อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่ศึกษาของจรัสศรี เมื่อพ.ศ. 2546 ได้พบว่า เมืองฝูโจวส่วนหนึ่งยังนิยมกราบไหว้เห้งเจีย มีสถานบูชาเห้งเจียหลายแห่ง แต่เมื่อสำรวจรอบเมืองฝูโจว ในพื้นที่ซึ่งเป็นเมืองโบราณเก่าแก่กลับไปการบูชาเห้งเจียเทียบเท่า ส่วนการแพร่ความเชื่อความศรัทธามาสู่ดินแดนอื่นนั้น เห็นได้ว่า ชาวจีนที่แผ่นดินใหญ่ที่ไปตั้งรกรากในที่ต่างๆ จะปรากฏร่องรอยความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าไปอยู่ด้วย ดินแดนโพ้นทะเลที่มีชาวจีนหรือลูกหลานชาวจีนอาศัยอยู่มากและมีร่องรอยการเคารพบูชาเห้งเจียก็มีตั้งแต่ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ในแง่เส้นทางประวัติศาสตร์ ผู้สืบค้นเกี่ยวกับเห้งเจียมองว่า ชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งในไทยมาจากมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) และกว่างตง (กวางตุ้ง-แต้จิ๋ว) มากพอสมควร กลุ่มนี้นับถือวานรเทพและเห้งเจียอย่างแพร่หลาย จึงสันนิษฐานได้ว่า ความศรัทธาในเห้งเจียเข้ามาในไทยพร้อมเรือสำเภาทะเลผ่านการล่องเรือจากทางตอนใต้ของจีน มาสู่ท่าเรืออ่าวไทย เช่น ชลบุรี สงขลา ภูเก็ต สำหรับภูเก็ตแล้วเป็นพื้นที่ซึ่งมีชาวฮกเกี้ยนอาศัยอยู่มาก เมื่อไปสำรวจพื้นที่เหล่านี้จะพบเห็นศาลเจ้าเห้งเจียจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้ย่อมสะท้อนคุณค่าทางความคิดของชาวบ้านและยังแสดงถึงความศรัทธาและความแพร่หลายของเจ้าพ่อเห้งเจียในเมืองไทยอีกด้วย สำหรับพื้นที่ที่ปรากฏเทพเจ้าเห้งเจียอย่างแพร่หลายย่อมมีชื่อภูเก็ตด้วย โดยจรัสศรี อธิบายว่า เห้งเจียเป็นเทพขวัญใจของคนหนุ่ม คนทรงเห้งเจียมักเป็นกลุ่มวัยรุ่น (จรัสศรี จิรภาส, 2547) ผศ.ดร.อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะคณะโบราณคดี มหาวิทยาศิลปากร เล่าอดีตที่มาของศาลเจ้าว่า “ศาลเจ้าที่พบเห็นในเมืองไทยส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความเชื่อ ซึ่งผูกอยู่กับกลุ่มคนจีน สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่เมื่ออพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย หากแต่หลักฐานเด่นชัดมากขึ้นสมัยอยุธยา ดั่งจารึกบันทึกว่ามีศาลเจ้าภาคใต้ และกรุงเทพฯ แล้ว โดยพงศาวดารสมัยอยุธยา ก็ได้มีบรรยายถึงตลาดคนจีน และพูดถึงศาลเจ้าปุ้นเถ้าก๋ง ซึ่งเป็นหนึ่งในเทพเจ้าที่คนจีนแต้จิ๋วนับถือด้วย (OOM, 2561) จากที่มีหลักฐานเด่นชัดมากขึ้นในสมัยอยุธยา สันนิษฐานได้ว่าเมื่อชาวจีนฮกเกี้ยน และชาวจีนแต้จิ๋ว ได้มีการตั้งถิ่นฐานมากขึ้นในไทย ในหลาย ๆ จังหวัดเริ่มถูกแพร่หลาย และจังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีคนจีนฮกเกี้ยน และจีนแต้จิ๋ว อาศัยอยู่อย่างมาก จึงมีการเผยแพร่ในเรื่องของไซอิ๋ว และการไหว้ลิง หรือองค์เห้งเจียนั่นเอง ทำให้คนหลาย ๆ ในพื้นที่เริ่มเลื่อมใส ศรัทธา และมีการตั้งศาล (ตี่จู้) กราบไหว้กัน และศาลเห้งเจียในจังหวัดกำแพงเพชรก็ได้ก่อตั้งมานานกว่า 40 ปีแล้ว ในส่วนของผู้ดูแลผู้เขียนได้สัมภาษณ์ป้าเรียม (นางจันเรียม จอลเกิด) และลุงอ้วน (นายศิริวัฒน์ จอลเกิด) พี่ชายของป้าเรียม ตามความเชื่อคือ ได้รับเลือกจากอากง ส่วนใหญ่จะมีความผูกพันธ์กับศาล ซึ่งมักจะวนเวียนหรือมากราบไหว้อยู่บ่อย ๆ และได้รับเมตตาเป็นลูกหลานของอากง ป้าเรียมได้เริ่มดูแลศาลมาประมาณ 10 ปี ส่วนลุงอ้วนเริ่มมาดูแลศาลได้ประมาณ 4 ปี ซึ่งการก่อตั้งจากที่เราได้สัมภาษณ์ ป้าเรียมได้บอกว่าคนที่สร้างศาลเจ้าหรือร่างทรงก็ไม่ได้อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งร่างทรงของอากงเห้งเจียจะทำงานอยู่ที่ภาคใต้ มีการไปมาที่ศาลบ้างบางครั้ง แต่ไม่เคยเล่าให้ใครฟังในเรื่องของที่มาอย่างแน่ชัด (จันเรียม จอลเกิด และ ศิริวัฒน์ จอลเกิด, การสัมภาษณ์, 23 ตุลาคม 2565) “ทั้งนี้ศาลเจ้าที่มีอยู่ทั่วไปประเทศไทยนับหมื่นศาลนั้น มีการแบ่งไปตามลักษณะความเชื่อที่สะท้อนผ่านงานสถาปัตยกรรม จิตรกรรม และประติมากรรม ชาวจีน 5 กลุ่มภาษาที่ได้โล้สำเภามาแผ่นดินสยาม ซึ่งได้แก่ จีนแต้จิ๋ว จีนแคะ ฮกเกี้ยน ไหหลำ และกวางตุ้ง “โดยศาลเจ้าจีนแต้จิ๋ว และกวางตุ้ง นิยมสะท้อนสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นผ่านหน้าบันตัวอาคาร ซึ่งส่วนใหญ่ทำเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบต่าง ๆ เช่น อาจจะเป็นรูปทรงโค้งมน หรือรูปทรง 5 เหลี่ยม ที่เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับธาตุทั้ง 5 ของคนจีนทั้งสองเชื้อสายนั่นเอง “อย่างไรก็ตาม ศิลปะในศาลเจ้า ก็ได้มีการแบ่งเป็นศิลปะเหมือนศิลปะไทย คือ แบ่งเป็นศิลปะกระแสหลัก และศิลปะท้องพื้นถิ่น ศาลเจ้าที่พบเห็นส่วนใหญ่จึงมีการผสมผสานระหว่างศิลปะจีนกระแสหลัก และศิลปะจีนพื้นถิ่น นั่นหมายความว่าศิลปะในศาลเจ้ามีทั้งงานศิลปะสถาปัตยกรรมส่วนที่เหมือนกัน และต่างกันไปตามความเชื่อพื้นถิ่นที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน เป็นต้นว่า มีการวางผังในงานสถาปัตยกรรม ที่มีลักษณะเดียวกับวัดในพุทธศาสนานิกายมหายานของจีน และมีการใช้หลักของความสมมาตร โดยจัดตำแหน่งอาคารเป็นแกนกลาง รวมถึงการจัดวางสัญลักษณ์มงคล จำพวกงานประดับต่าง ๆ (OOM, 2561)
ขั้นตอนการสักการะบูชา
เมื่อเดินทางมาถึงศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย เราสามารถซื้อเครื่องบูชาที่ถูกจัดเตรียมไว้กับทางศาลเจ้า โดยชุดบูชาเทพเจ้าเห้งเจียนั้น ถูกแบ่งออกเป็นชุด ที่ประกอบไปด้วย ธูป 1 ห่อ เทียนแดง 2 เล่ม และน้ำมัน 1 ขวด การบูชาเจ้าพ่อเห้งเจียนั้น เราใช้ธูปทั้งหมด 60 ดอก และมีจุดให้เราสักการะเทพเจ้าของทั้งศาล รวมแล้ว 14 จุด ด้วยกัน เกือบทุกองค์ที่จะเป็นการนำของเจมากราบไหว้ และจะมีบางองค์ที่สามารถนำเนื้อสัตว์หรือเหล้ามาถวายได้ ในศาลเห้งเจียในจังหวัดกำแพงเพชรจะมีการกราบไหว้แบ่งเป็น 3 โซน โซนด้านหน้าของตัวศาลเจ้า โซนด้านในของตัวศาลเจ้า และมีโซนด้านหลังจะแบ่งเป็นชั้นบนและชั้นล่าง
ภาพที่ 2 ทางเข้าศาลเห้งเจีย
(Loveอากงเห้งเจีย Love Sun Wukong, 2562)
โดยเริ่มจากการไหว้ด้านหน้าของศาล ใช้ธูปทั้งหมด 19 ดอก ขั้นตอนการไหว้จะเริ่มจาก จุดที่ 1 องค์ทีตี่ จะจุดธูปไหว้ 5 ดอก เราต้องไหว้องค์ทีตี่เป็นองค์แรก (พี่ใหญ่) และยังถือว่าท้องฟ้าเป็นธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังภาพที่ 3
ภาพที่ 3 องค์ทีตี่
จุดที่ 2 องค์ฉีเทียนต้าเสิ้น จะจุดธูปไหว้ 3 ดอก และไหว้เป็นองค์ที่สอง (พี่รอง) นับเป็นผู้ยิ่งใหญ่เสมอฟ้าดิน ภาพที่ 4
ภาพที่ 4 องค์ฉีเทียนต้าเสิ้น
จุดที่ 3 องค์หลักฮี่เก๊า จะจุดธูปไหว้ 3 ดอก และไหว้เป็นองค์ที่สาม (พี่สาม) จะทำในเรื่องพิธีกรรมที่เกี่ยวกับไฟทั้งหมด ของไหว้หรือเหล้าจะเป็นสีแดงเท่านั้น ดังภาพที่ 5
ภาพที่ 5 องค์หลักฮี่เก๊า
จุดที่ 4 องค์หวู่เทียนต้าเสิ้น จะจุดธูปไหว้ 3 ดอก และไหว้เป็นองค์ที่สี่ (น้องรอง) สามารถขอในเรื่องการงานได้ ดังภาพที่ 6
ภาพที่ 6 องค์หวู่เทียนต้าเสิ้น
จุดที่ 5 องค์แปะกง จะจุดธูปไหว้ 5 ดอก และไหว้เป็นองค์ที่ห้า (น้องเล็ก) แปะกงถือว่าเป็นเจ้าที่ที่คอยดูแลศาลเห้งเจีย สามารถนำเนื้อสัตว์มาไหว้ได้ ดังภาพที่ 7
ภาพที่ 7 องค์แปะกง
(Loveอากงเห้งเจีย Love Sun Wukong, 2562)
เมื่อไหว้ทางด้านหน้าของศาลเรียบร้อยแล้ว เราจึงเข้ามาไหว้ด้านในของศาล จะใช้ธูปไหว้ทั้งหมด 17 ดอก ก่อนจะเริ่มไหว้เราต้องนำเทียนทั้ง 2 เล่ม จุดแล้วนำไปปักในกระถางซ้ายและขวา แล้วนำน้ำมันไปเติมให้ครบทั้ง 4 ตะเกียง จากนั้นเราจึงเริ่มไหว้โดยเริ่มจาก จุดที่ 6 องค์ไต้เสี่ยฮุกโจ้ว ตั้งอยู่ตรงกลาง จุดธูปไหว้ 9 ดอก ถือว่าเป็นองค์หลักที่มีปฎิภาณไหวพริบ เฉลียวฉลาดรอบรู้ รอดพ้นจากทุกอุปสรรคปัญหาที่เข้ามา ดังภาพที่ 8
ภาพที่ 8 องค์ไต้เสี่ยฮุกโจ้ว
จุดที่ 7 องค์ไฉ่ซี่งเอี๊ยะ ตั้งอยู่ด้านซ้าย จุดธูปไหว้ 3 ดอก ดังภาพที่ 9
ภาพที่ 9 องค์ไฉ่ซิ่งเอี๊ยะ
จุดที่ 8 องค์กวงเสี่ยตี่กง ตั้งอยู่ด้านขวา จุดธูปไหว้ 3 ดอก ดังภาพที่ 10
ภาพที่ 10 องค์กวงเสี่ยตี่กง
จุดที่ 9 องค์หมิ่งซิ้ง เราจะไหว้ทั้งสองฝั่ง ซ้ายและขวาของหน้าประตูศาล จุดธูปไหว้ 1 ดอก ดังภาพที่ 11
ภาพที่ 11 องค์หมิ่งซิ้ง
เมื่อไหว้ทางด้านหน้าประตูเรียบร้อยแล้ว เราจะจุดธูปที่เหลือทั้งหมด 24 ดอก แล้วไปไหว้ด้านหลังของศาล โดยจะขึ้นไปไหว้ด้านบนก่อน แล้วจึงมาไหว้ด้านล่างตามลำดับ จุดที่ 10 พระยูไลฮุกโจ้ว ตั้งอยู่ตรงกลางชั้นบน จุดธูปไหว้ 9 ดอก เป็นเทพเจ้าแห่งเทศกาลกินเจ ในแต่ละปีจะมีเทศกาลกินเจเพื่อสักการะพระยูไลฮุกโจ้ว ดังภาพที่ 12
ภาพที่ 12 พระยูไลฮุกโจ้ว
จุดที่ 11 พระแม่กวนอิมพันมือ (พระโพธิสัตว์) ตั้งอยู่ด้านซ้ายชั้นบน จุดธูปไหว้ 3 ดอก นับถือช่วยให้พ้นจากภัยพิบัติ นับถือการกินเจดังภาพที่ 13
ภาพที่ 13 พระแม่กวนอิมพันมือ
จุดที่ 12 องค์ไทเสียงเล่ากง ตั้งอยู่ด้านขวาชั้นบน จุดธูปไหว้ 3 ดอก เป็นเทพเจ้าแห่งสุขภาพและความสมดุล ผู้ที่ต้องการให้สุขภาพแข็งแรงจะนิยมกราบไหว้ขอพร ดังภาพที่ 14
ภาพที่ 14 องค์ไทเสียงเล่ากง
จุดที่ 13 พระสังฆจาย (พระอรหันต์) ตั้งอยู่ตรงกลางด้านล่าง จุดธูปไหว้ 3 ดอก สามารถขอบารมี ด้านโชคลาภ ความเจริญ รุ่งเรือง ดังภาพที่ 15
ภาพที่ 15 พระสังฆจาย
จุดที่ 14 18 เซียน จะอยู่ฝั่งด้านซ้ายและขวาของด้านล่าง จะมีเซียนฝั่งละ 9 องค์ จุดธูปไหว้ 3 ดอกทั้งสองฝั่ง อรหันต์ทั้ง 18 องค์ มีดังนี้ ดังภาพที่ 16
1. เจียวเช้าซินซือ ฉายา ภิกษุในรังนก
2. จื้อไจ๊ซินซือ เป็นภิกษุอินเดีย ชื่ออิศวร 3. เค้าทงซินซือ อยู่ที่เขาหยกมอง 4. ฮงกันซินซือ ฉายาผู้ปราบเสือให้เชื่อง 5. ฮุยเอี๊ยงซินซือ 6. ซิบติดจื๋อ ฉายาผู้เก็บตก 7. ฮั้นซัวจื๋อ ฉายาอยู่ในถ้ำ 8. ฮุยซางซินซือ 9. กูตี๋ฮั่วเสียง เป็นภิกษุอินเดีย ชื่อคณมติ 10. เต้าง้วยซินซือ อยู่เกาะทอง 11. ซีจือปักคูจุนเจี่ย เป็นภิกษุอินเดีย ชื่อสิงหลบุตร 12. ซ่งซัวะซินซือ 13. ส่อฮูลอต้นจุนเจีย นามเป็นบาลี คือ ราหุล 14. เซ่งจันซินซือ 15. จี้โมโลจั๊บ นามเป็นบาลี คือ กุมารชีพ 16. โมโหเกียเหยจุนเจีย นามเป็นบาลี คือ มหากัสสป 17. ม้าเม้งจุนเจีย นามเป็นบาลี คือ อัศวโฆษ 18. ปโต้ฮั่วเสียง ฉายาพระท้องพลุ้ย |
(Raponsan, 2555)