ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย จังหวัดกำแพงเพชร"
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) |
Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (→บรรณานุกรม) |
||
แถว 113: | แถว 113: | ||
Loveอากงเห้งเจีย Love Sun Wukong. (10 มกราคม 2562). ''ศาลไต่เสี่ยฮุกโจ่ว กำแพงเพชร เป็นอีกศาลนึงที่คุณไม่ควรพลาด #Loveอากงเฮ้งเจีย...'' [Image]. Facebook. https://m.facebook.com/452923245126746/posts/646956825723386/ | Loveอากงเห้งเจีย Love Sun Wukong. (10 มกราคม 2562). ''ศาลไต่เสี่ยฮุกโจ่ว กำแพงเพชร เป็นอีกศาลนึงที่คุณไม่ควรพลาด #Loveอากงเฮ้งเจีย...'' [Image]. Facebook. https://m.facebook.com/452923245126746/posts/646956825723386/ | ||
OOM. (4 กุมภาพันธ์ 2561). ''ศาลเจ้า “พื้นที่ศิลปะ ตำนาน ความงดงามแห่งศรัทธา”.'' THE LEADER BILINGUAL MAGAZINE. https://lifeandhomemag.com/th/2018/02/04/ศาลเจ้า-พื้นที่ศิลปะ-ตำ- | OOM. (4 กุมภาพันธ์ 2561). ''ศาลเจ้า “พื้นที่ศิลปะ ตำนาน ความงดงามแห่งศรัทธา”.'' THE LEADER BILINGUAL MAGAZINE. https://lifeandhomemag.com/th/2018/02/04/ศาลเจ้า-พื้นที่ศิลปะ-ตำ- | ||
− | Raponsan. (3 มกราคม 2555). ''Re: อยากทราบประวัติ 18 พระอรหันต์ คะ. เว็บบอร์ดสนทนาธรรม.'' http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6131.0 | + | Raponsan. (3 มกราคม 2555). ''Re: อยากทราบประวัติ 18 พระอรหันต์ คะ. เว็บบอร์ดสนทนาธรรม.'' http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6131.0 |
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:53, 4 กรกฎาคม 2566
เนื้อหา
บทนำ
“เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเสิ้ง) ลิงในวรรณกรรมที่กลายเป็นเทพเจ้า” เป็นวรรณกรรมจากปลายปากกาของ “จรัสศรี จิรภาส” อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวานรตั้งแต่สมัยโบราณกาล โดยมนุษย์เชื่อว่า ลิงเป็นสัตว์ลี้ลับ สามารถปกปักรักษา ป้องภัยให้ และเพื่อสืบทอดความเชื่อเหล่านี้ มนุษย์จึงอาศัยการบอกเล่าเป็นนิทานเพื่อทำให้บอกเล่าง่ายและจดจำง่าย ซึ่งนิทานที่ว่า อาจเกิดจากเค้ามูลของความจริงหรือไม่ก็ได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1 ) ประวัติความเป็นมา 2 ) ขั้นตอนการสักการะ
คำสำคัญ: ศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย, จังหวัดกำแพงเพชร
ประวัติความเป็นมาของศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย
เห้งเจีย หรือซุนหงอคง หนึ่งในพญาวานรที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก และมีผู้คนนับถือศรัทธาในด้านของความมีปฏิภาณไหวพริบ เฉลียวฉลาดรอบรู้ รอดพ้นจากทุกอุปสรรคปัญหาที่เข้ามา ซึ่งในเมืองไทยเองก็มีศาลเจ้าพ่อเห้งเจียอยู่หลายแห่งด้วย (เรียกว่า ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว หรือเจ้าพ่อเห้งเจีย) เป็นการบ่งบอกถึงความนิยม และศรัทธาเลื่อมใสได้เป็นอย่างดี
ภาพที่ 1 เห้งเจีย หรือซุนหงอคง
(BSW, 2564)
“เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเสิ้ง) ลิงในวรรณกรรมที่กลายเป็นเทพเจ้า” เป็นวรรณกรรมจากปลายปากกาของ “จรัสศรี จิรภาส” อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวานรตั้งแต่สมัยโบราณกาล โดยมนุษย์เชื่อว่า ลิงเป็นสัตว์ลี้ลับ สามารถปกปักรักษา ป้องภัยให้ และเพื่อสืบทอดความเชื่อเหล่านี้ มนุษย์จึงอาศัยการบอกเล่าเป็นนิทานเพื่อทำให้บอกเล่าง่ายและจดจำง่าย ซึ่งนิทานที่ว่า อาจเกิดจากเค้ามูลของความจริงหรือไม่ก็ได้ เห้งเจียเป็นตัวละครหนึ่งใน “ไซอิ๋ว” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันตัวละครนี้เสมือนมีตัวตนดำรงอยู่ในโลกความเป็นจริงและเป็นที่เคารพของกลุ่มคน แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงเห้งเจีย อาจต้องเอ่ยถึงต้นฉบับวรรณคดีที่ตัวละครนี้ปรากฏอยู่ นั่นคือ ไซอิ๋ว ซึ่งเดิมทีเชื่อกันว่าเป็นวรรณกรรมสมัยราชวงศ์หมิง เคยเล่ากันว่า “อู๋ เฉิงเอิน” นักประพันธ์ (ค.ศ. 1500-1582) เป็นผู้รวบรวมเรื่องเล่าจากท้องถิ่นต่างๆ มาผสมผสานเป็นวรรณกรรม อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาค้นคว้าของจรัสศรี จิรภาส ผู้เขียนหนังสือ “เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเสิ้ง)” อธิบายว่า ผู้แต่งที่แท้จริงนั้นจะใช่ “อู๋ เฉิงเอิน” หรือไม่ ยังไม่สามารถบ่งชี้อย่างชัดเจน แต่ที่ศึกษากันจนยอมรับกันนั้นคือ เรื่องไซอิ๋วเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่ง อันเป็นรอยต่อระหว่างราชวงศ์ถัง ภายหลังจากพระถังซัมจั๋งกลับมาจากประเทศอินเดียและแปลคัมภีร์พุทธศาสนาเผยแพร่ในประเทศ เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ ลูกศิษย์ของท่านแต่งหนังสือเรื่อง “ต้าถังซานจั้งชวี่จิงซือฮว้า” (บันทึกการเดินทางไปอาราธนาพระไตรปิฎกของพระตรีปิฎกแห่งมหาราชวงศ์ถัง) ซึ่งเชื่อกันว่าผลงานนี้เป็นจุดเริ่มต้นของวรรณกรรมไซอิ๋ว และเล่มนี้เช่นกันที่ “เห้งเจีย” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก แน่นอนว่าลิงเทพเจ้าที่โด่งดังอย่างเห้งเจีย ก็สืบเนื่องมาจากฉบับไซอิ๋วมากกว่า และกลายเป็นเทพ “ฉีเทียนต้าเสิ้ง” ที่ผู้คนบูชา สำหรับเนื้อเรื่องในไซอิ๋วนั้น ชาวไทยและผู้คนหลายประเทศทั่วโลกน่าจะคุ้นเคยกันดี แต่ในที่นี้ผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเห้งเจีย ตั้งข้อสังเกตกันไว้ว่า ในวรรณกรรมจีนไม่เคยมีตัวละครที่ถูกเขียนให้ท้าทายอาละวาดสวรรค์อย่างหนักหน่วงเช่นนี้ อาจเป็นไปได้ว่า ผู้เขียนแฝงแนวคิดต่อต้านระบอบศักดินาในช่วงเวลานั้น ซึ่งอาจสะท้อนถึงแนวคิดก้าวหน้าของผู้คนในยุคสมัยหมิงเช่นกัน เมื่อมีกำเนิดตัวละครแล้ว พัฒนาการมาสู่ความศรัทธาในภายหลังนั้น อาจต้องเริ่มต้นที่คำอธิบายว่า การนับถือลิงหรือสัตว์อื่นไม่ใช่เรื่องแปลก ประวัติศาสตร์จีนปรากฏพฤติกรรมการบูชาลิงมาก่อน เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ คนยุคโบราณจึงกราบไหว้ลิงเป็นเทพเจ้า แต่ความคิดเห็นของผู้ศึกษาเกี่ยวกับเห้งเจียอย่างจรัสศรี มองว่า การบูชาลิง-เห้งเจีย ซึ่งกำเนิดจากวรรณกรรมเป็นเรื่องแปลก (ณิชมน อินกันยา, 2563) การบูชาลิงจากวรรณกรรมนี้ไม่ใช่แค่ชนชาติอื่นอาจไม่เข้าใจ ชนชาติจีนเองและต้นกำเนิดตัวละครก็ยังไม่เข้าใจสาเหตุ ดังเช่นบันทึกของเผิง กวางโต่ว ชาวจีนสมัยราชวงศ์ชิง เขาบันทึกการเดินทางไปเมืองฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) ว่า เมืองแห่งนี้มีเรื่องประหลาด 3 เรื่อง หนึ่งในนั้นย่อมมีเรื่อง “การบูชาเห้งเจีย” อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวจีนทางใต้เองมองว่าการบูชาลิงเห้งเจียเป็นเรื่องธรรมดา เนื่องจากทางใต้ของจีนบูชาลิงกันมายาวนาน จึงอาจพอสันนิษฐานได้ว่า เมื่อไซอิ๋วเริ่มแพร่หลายโด่งดังไปทั่วประเทศ ชาวจีนในท้องถิ่นที่มีการบูชาลิงจึงผนวกการบูชาลิงที่มีมาแต่โบราณเข้ากับการบูชาเห้งเจีย บันทึกของเผิง กวางโต่ว ยังสะท้อนให้เห็นอีกว่า การกราบไหว้บูชาลิงไม่ได้เป็นเรื่องปกติทั่วไปในจีน แต่นิยมอยู่ในบางท้องถิ่น โดยเฉพาะทางตอนใต้ อาทิ มณฑลหนิงเซี่ยะ กว่างตง (กวางตุ้ง) หูเป่ย และฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) พื้นที่เหล่านี้อยู่ในลุ่มน้ำตอนใต้ โดยเฉพาะฝูเจี้ยน ซึ่งน่าจะเป็นพื้นที่ซึ่งมีการกราบไหว้เห้งเจียกันมากและเก่าแก่ที่สุด มีวัดบูชาเทพเจ้าลิงที่เก่าแก่ในฝูเจี้ยนชื่อ “วัดเหนิงเหยินซื่อ” อีกทั้งยังมีบันทึกโบราณหลายชิ้นบ่งชี้ว่า ทางตอนใต้ของจีนเป็นแหล่งที่อยู่ของฝูงลิง วิถีชีวิตของคนท้องถิ่นย่อมคุ้นเคยกับลิงมาแต่เดิมจรัสศรี ยังสืบค้นต่อไปว่า ชาวจีนภาคใต้มีความเชื่อเรื่องลิงมีจิตวิญญาณคล้ายมนุษย์ โดยมนุษย์โบราณเชื่อว่าลิงชราอายุร้อยปี กลายเป็นลิงวิเศษ หากอายุพันปีจะกลายเป็นมนุษย์ เรื่องเล่าเช่นนี้ทำให้ชาวจีนบางส่วนไม่กล้าทำร้ายลิง และอาจเรียกลิงว่า “ซือฟู่” (อาจารย์) สำหรับลิงขาวก็จะได้รับการยกย่องในหมู่ชาวจีนบางท้องถิ่น และกราบไหว้ลิงขาวเป็น “ไป๋เจี้ยงจวิน” หรือ จอมพลขาว เป็นเทพอารักษ์ในหมู่บ้าน ยิ่งประกอบกับฝูเจี้ยน เป็นแหล่งโรงพิมพ์ขนาดใหญ่ การเผยแพร่และความนิยมเรื่อง “ไซอิ๋ว” น่าจะแพร่กระจายได้ไม่ยาก ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นปัจจัยทำให้เกิดความนิยมความเชื่อบูชาเห้งเจียด้วย แต่ในยุคปัจจุบัน ร่องรอยการบูชาเห้งเจียในจีนตอนใต้โดยเฉพาะฝูเจี้ยนในมุมมองของชาวต่างชาติยังปรากฏหลากหลาย นักวิชาการไต้หวันเคยเขียนบทความว่าเขตเมืองฝูโจว ในมณฑลฝูเจี้ยน ไม่ปรากฏศาลเจ้าฉีเทียนต้าเสิ้ง อย่างไรก็ตาม จากการลงพื้นที่ศึกษาของจรัสศรี เมื่อพ.ศ. 2546 ได้พบว่า เมืองฝูโจวส่วนหนึ่งยังนิยมกราบไหว้เห้งเจีย มีสถานบูชาเห้งเจียหลายแห่ง แต่เมื่อสำรวจรอบเมืองฝูโจว ในพื้นที่ซึ่งเป็นเมืองโบราณเก่าแก่กลับไปการบูชาเห้งเจียเทียบเท่า ส่วนการแพร่ความเชื่อความศรัทธามาสู่ดินแดนอื่นนั้น เห็นได้ว่า ชาวจีนที่แผ่นดินใหญ่ที่ไปตั้งรกรากในที่ต่างๆ จะปรากฏร่องรอยความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าไปอยู่ด้วย ดินแดนโพ้นทะเลที่มีชาวจีนหรือลูกหลานชาวจีนอาศัยอยู่มากและมีร่องรอยการเคารพบูชาเห้งเจียก็มีตั้งแต่ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย ในแง่เส้นทางประวัติศาสตร์ ผู้สืบค้นเกี่ยวกับเห้งเจียมองว่า ชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งในไทยมาจากมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) และกว่างตง (กวางตุ้ง-แต้จิ๋ว) มากพอสมควร กลุ่มนี้นับถือวานรเทพและเห้งเจียอย่างแพร่หลาย จึงสันนิษฐานได้ว่า ความศรัทธาในเห้งเจียเข้ามาในไทยพร้อมเรือสำเภาทะเลผ่านการล่องเรือจากทางตอนใต้ของจีน มาสู่ท่าเรืออ่าวไทย เช่น ชลบุรี สงขลา ภูเก็ต สำหรับภูเก็ตแล้วเป็นพื้นที่ซึ่งมีชาวฮกเกี้ยนอาศัยอยู่มาก เมื่อไปสำรวจพื้นที่เหล่านี้จะพบเห็นศาลเจ้าเห้งเจียจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้ย่อมสะท้อนคุณค่าทางความคิดของชาวบ้านและยังแสดงถึงความศรัทธาและความแพร่หลายของเจ้าพ่อเห้งเจียในเมืองไทยอีกด้วย สำหรับพื้นที่ที่ปรากฏเทพเจ้าเห้งเจียอย่างแพร่หลายย่อมมีชื่อภูเก็ตด้วย โดยจรัสศรี อธิบายว่า เห้งเจียเป็นเทพขวัญใจของคนหนุ่ม คนทรงเห้งเจียมักเป็นกลุ่มวัยรุ่น (จรัสศรี จิรภาส, 2547) ผศ.ดร.อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะคณะโบราณคดี มหาวิทยาศิลปากร เล่าอดีตที่มาของศาลเจ้าว่า “ศาลเจ้าที่พบเห็นในเมืองไทยส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความเชื่อ ซึ่งผูกอยู่กับกลุ่มคนจีน สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่เมื่ออพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย หากแต่หลักฐานเด่นชัดมากขึ้นสมัยอยุธยา ดั่งจารึกบันทึกว่ามีศาลเจ้าภาคใต้ และกรุงเทพฯ แล้ว โดยพงศาวดารสมัยอยุธยา ก็ได้มีบรรยายถึงตลาดคนจีน และพูดถึงศาลเจ้าปุ้นเถ้าก๋ง ซึ่งเป็นหนึ่งในเทพเจ้าที่คนจีนแต้จิ๋วนับถือด้วย (OOM, 2561) จากที่มีหลักฐานเด่นชัดมากขึ้นในสมัยอยุธยา สันนิษฐานได้ว่าเมื่อชาวจีนฮกเกี้ยน และชาวจีนแต้จิ๋ว ได้มีการตั้งถิ่นฐานมากขึ้นในไทย ในหลาย ๆ จังหวัดเริ่มถูกแพร่หลาย และจังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีคนจีนฮกเกี้ยน และจีนแต้จิ๋ว อาศัยอยู่อย่างมาก จึงมีการเผยแพร่ในเรื่องของไซอิ๋ว และการไหว้ลิง หรือองค์เห้งเจียนั่นเอง ทำให้คนหลาย ๆ ในพื้นที่เริ่มเลื่อมใส ศรัทธา และมีการตั้งศาล (ตี่จู้) กราบไหว้กัน และศาลเห้งเจียในจังหวัดกำแพงเพชรก็ได้ก่อตั้งมานานกว่า 40 ปีแล้ว ในส่วนของผู้ดูแลผู้เขียนได้สัมภาษณ์ป้าเรียม (นางจันเรียม จอลเกิด) และลุงอ้วน (นายศิริวัฒน์ จอลเกิด) พี่ชายของป้าเรียม ตามความเชื่อคือ ได้รับเลือกจากอากง ส่วนใหญ่จะมีความผูกพันธ์กับศาล ซึ่งมักจะวนเวียนหรือมากราบไหว้อยู่บ่อย ๆ และได้รับเมตตาเป็นลูกหลานของอากง ป้าเรียมได้เริ่มดูแลศาลมาประมาณ 10 ปี ส่วนลุงอ้วนเริ่มมาดูแลศาลได้ประมาณ 4 ปี ซึ่งการก่อตั้งจากที่เราได้สัมภาษณ์ ป้าเรียมได้บอกว่าคนที่สร้างศาลเจ้าหรือร่างทรงก็ไม่ได้อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งร่างทรงของอากงเห้งเจียจะทำงานอยู่ที่ภาคใต้ มีการไปมาที่ศาลบ้างบางครั้ง แต่ไม่เคยเล่าให้ใครฟังในเรื่องของที่มาอย่างแน่ชัด (จันเรียม จอลเกิด และ ศิริวัฒน์ จอลเกิด, การสัมภาษณ์, 23 ตุลาคม 2565) “ทั้งนี้ศาลเจ้าที่มีอยู่ทั่วไปประเทศไทยนับหมื่นศาลนั้น มีการแบ่งไปตามลักษณะความเชื่อที่สะท้อนผ่านงานสถาปัตยกรรม จิตรกรรม และประติมากรรม ชาวจีน 5 กลุ่มภาษาที่ได้โล้สำเภามาแผ่นดินสยาม ซึ่งได้แก่ จีนแต้จิ๋ว จีนแคะ ฮกเกี้ยน ไหหลำ และกวางตุ้ง “โดยศาลเจ้าจีนแต้จิ๋ว และกวางตุ้ง นิยมสะท้อนสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นผ่านหน้าบันตัวอาคาร ซึ่งส่วนใหญ่ทำเป็นรูปทรงเรขาคณิตแบบต่าง ๆ เช่น อาจจะเป็นรูปทรงโค้งมน หรือรูปทรง 5 เหลี่ยม ที่เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับธาตุทั้ง 5 ของคนจีนทั้งสองเชื้อสายนั่นเอง “อย่างไรก็ตาม ศิลปะในศาลเจ้า ก็ได้มีการแบ่งเป็นศิลปะเหมือนศิลปะไทย คือ แบ่งเป็นศิลปะกระแสหลัก และศิลปะท้องพื้นถิ่น ศาลเจ้าที่พบเห็นส่วนใหญ่จึงมีการผสมผสานระหว่างศิลปะจีนกระแสหลัก และศิลปะจีนพื้นถิ่น นั่นหมายความว่าศิลปะในศาลเจ้ามีทั้งงานศิลปะสถาปัตยกรรมส่วนที่เหมือนกัน และต่างกันไปตามความเชื่อพื้นถิ่นที่สืบทอดมาอย่างยาวนาน เป็นต้นว่า มีการวางผังในงานสถาปัตยกรรม ที่มีลักษณะเดียวกับวัดในพุทธศาสนานิกายมหายานของจีน และมีการใช้หลักของความสมมาตร โดยจัดตำแหน่งอาคารเป็นแกนกลาง รวมถึงการจัดวางสัญลักษณ์มงคล จำพวกงานประดับต่าง ๆ (OOM, 2561)
ขั้นตอนการสักการะบูชา
เมื่อเดินทางมาถึงศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย เราสามารถซื้อเครื่องบูชาที่ถูกจัดเตรียมไว้กับทางศาลเจ้า โดยชุดบูชาเทพเจ้าเห้งเจียนั้น ถูกแบ่งออกเป็นชุด ที่ประกอบไปด้วย ธูป 1 ห่อ เทียนแดง 2 เล่ม และน้ำมัน 1 ขวด การบูชาเจ้าพ่อเห้งเจียนั้น เราใช้ธูปทั้งหมด 60 ดอก และมีจุดให้เราสักการะเทพเจ้าของทั้งศาล รวมแล้ว 14 จุด ด้วยกัน เกือบทุกองค์ที่จะเป็นการนำของเจมากราบไหว้ และจะมีบางองค์ที่สามารถนำเนื้อสัตว์หรือเหล้ามาถวายได้ ในศาลเห้งเจียในจังหวัดกำแพงเพชรจะมีการกราบไหว้แบ่งเป็น 3 โซน โซนด้านหน้าของตัวศาลเจ้า โซนด้านในของตัวศาลเจ้า และมีโซนด้านหลังจะแบ่งเป็นชั้นบนและชั้นล่าง
ภาพที่ 2 ทางเข้าศาลเห้งเจีย
(Loveอากงเห้งเจีย Love Sun Wukong, 2562)
โดยเริ่มจากการไหว้ด้านหน้าของศาล ใช้ธูปทั้งหมด 19 ดอก ขั้นตอนการไหว้จะเริ่มจาก จุดที่ 1 องค์ทีตี่ จะจุดธูปไหว้ 5 ดอก เราต้องไหว้องค์ทีตี่เป็นองค์แรก (พี่ใหญ่) และยังถือว่าท้องฟ้าเป็นธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังภาพที่ 3
ภาพที่ 3 องค์ทีตี่
จุดที่ 2 องค์ฉีเทียนต้าเสิ้น จะจุดธูปไหว้ 3 ดอก และไหว้เป็นองค์ที่สอง (พี่รอง) นับเป็นผู้ยิ่งใหญ่เสมอฟ้าดิน ภาพที่ 4
ภาพที่ 4 องค์ฉีเทียนต้าเสิ้น
จุดที่ 3 องค์หลักฮี่เก๊า จะจุดธูปไหว้ 3 ดอก และไหว้เป็นองค์ที่สาม (พี่สาม) จะทำในเรื่องพิธีกรรมที่เกี่ยวกับไฟทั้งหมด ของไหว้หรือเหล้าจะเป็นสีแดงเท่านั้น ดังภาพที่ 5
ภาพที่ 5 องค์หลักฮี่เก๊า
จุดที่ 4 องค์หวู่เทียนต้าเสิ้น จะจุดธูปไหว้ 3 ดอก และไหว้เป็นองค์ที่สี่ (น้องรอง) สามารถขอในเรื่องการงานได้ ดังภาพที่ 6
ภาพที่ 6 องค์หวู่เทียนต้าเสิ้น
จุดที่ 5 องค์แปะกง จะจุดธูปไหว้ 5 ดอก และไหว้เป็นองค์ที่ห้า (น้องเล็ก) แปะกงถือว่าเป็นเจ้าที่ที่คอยดูแลศาลเห้งเจีย สามารถนำเนื้อสัตว์มาไหว้ได้ ดังภาพที่ 7
ภาพที่ 7 องค์แปะกง
(Loveอากงเห้งเจีย Love Sun Wukong, 2562)
เมื่อไหว้ทางด้านหน้าของศาลเรียบร้อยแล้ว เราจึงเข้ามาไหว้ด้านในของศาล จะใช้ธูปไหว้ทั้งหมด 17 ดอก ก่อนจะเริ่มไหว้เราต้องนำเทียนทั้ง 2 เล่ม จุดแล้วนำไปปักในกระถางซ้ายและขวา แล้วนำน้ำมันไปเติมให้ครบทั้ง 4 ตะเกียง จากนั้นเราจึงเริ่มไหว้โดยเริ่มจาก จุดที่ 6 องค์ไต้เสี่ยฮุกโจ้ว ตั้งอยู่ตรงกลาง จุดธูปไหว้ 9 ดอก ถือว่าเป็นองค์หลักที่มีปฎิภาณไหวพริบ เฉลียวฉลาดรอบรู้ รอดพ้นจากทุกอุปสรรคปัญหาที่เข้ามา ดังภาพที่ 8
ภาพที่ 8 องค์ไต้เสี่ยฮุกโจ้ว
จุดที่ 7 องค์ไฉ่ซี่งเอี๊ยะ ตั้งอยู่ด้านซ้าย จุดธูปไหว้ 3 ดอก ดังภาพที่ 9
ภาพที่ 9 องค์ไฉ่ซิ่งเอี๊ยะ
จุดที่ 8 องค์กวงเสี่ยตี่กง ตั้งอยู่ด้านขวา จุดธูปไหว้ 3 ดอก ดังภาพที่ 10
ภาพที่ 10 องค์กวงเสี่ยตี่กง
จุดที่ 9 องค์หมิ่งซิ้ง เราจะไหว้ทั้งสองฝั่ง ซ้ายและขวาของหน้าประตูศาล จุดธูปไหว้ 1 ดอก ดังภาพที่ 11
ภาพที่ 11 องค์หมิ่งซิ้ง
เมื่อไหว้ทางด้านหน้าประตูเรียบร้อยแล้ว เราจะจุดธูปที่เหลือทั้งหมด 24 ดอก แล้วไปไหว้ด้านหลังของศาล โดยจะขึ้นไปไหว้ด้านบนก่อน แล้วจึงมาไหว้ด้านล่างตามลำดับ จุดที่ 10 พระยูไลฮุกโจ้ว ตั้งอยู่ตรงกลางชั้นบน จุดธูปไหว้ 9 ดอก เป็นเทพเจ้าแห่งเทศกาลกินเจ ในแต่ละปีจะมีเทศกาลกินเจเพื่อสักการะพระยูไลฮุกโจ้ว ดังภาพที่ 12
ภาพที่ 12 พระยูไลฮุกโจ้ว
จุดที่ 11 พระแม่กวนอิมพันมือ (พระโพธิสัตว์) ตั้งอยู่ด้านซ้ายชั้นบน จุดธูปไหว้ 3 ดอก นับถือช่วยให้พ้นจากภัยพิบัติ นับถือการกินเจดังภาพที่ 13
ภาพที่ 13 พระแม่กวนอิมพันมือ
จุดที่ 12 องค์ไทเสียงเล่ากง ตั้งอยู่ด้านขวาชั้นบน จุดธูปไหว้ 3 ดอก เป็นเทพเจ้าแห่งสุขภาพและความสมดุล ผู้ที่ต้องการให้สุขภาพแข็งแรงจะนิยมกราบไหว้ขอพร ดังภาพที่ 14
ภาพที่ 14 องค์ไทเสียงเล่ากง
จุดที่ 13 พระสังฆจาย (พระอรหันต์) ตั้งอยู่ตรงกลางด้านล่าง จุดธูปไหว้ 3 ดอก สามารถขอบารมี ด้านโชคลาภ ความเจริญ รุ่งเรือง ดังภาพที่ 15
ภาพที่ 15 พระสังฆจาย
จุดที่ 14 18 เซียน จะอยู่ฝั่งด้านซ้ายและขวาของด้านล่าง จะมีเซียนฝั่งละ 9 องค์ จุดธูปไหว้ 3 ดอกทั้งสองฝั่ง อรหันต์ทั้ง 18 องค์ มีดังนี้ ดังภาพที่ 16
1. เจียวเช้าซินซือ ฉายา ภิกษุในรังนก
2. จื้อไจ๊ซินซือ เป็นภิกษุอินเดีย ชื่ออิศวร |
(Raponsan, 2555)
ภาพที่ 16 18 เซียน หรือ 18 อรหันต์
จากที่กล่าวมา ไม่ได้มีเพียงแค่ไหว้ทั้ง 16 จุด แต่ยังมีการเสี่ยงเซียมซี และยังมีโป้ย หรือว่าการเสี่ยงทายด้วยไม้คู่ประกบ นอกจากนี้ ในบางครั้งยังมีร่างทรงที่คอยลงมาเยี่ยมและช่วยเหลือลูกหลานของอากง และทุก ๆ ปีจะมีการจัดงานเทศกาลกินเจ และมีการอาบน้ำมนต์ปีละครั้งเพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดี และสิ่งชั่วร้าย ตามความเชื่อของคนที่เคารพบูชาอากง
บทสรุป
จากการศึกษาเรื่อง ศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย มีวัตถุประสงค์ 1) ประวัติความเป็นมาของเจ้าพ่อเห้งเจีย พบว่า เจ้าพ่อเห้งเจีย หรือไต่เสี่ยฮุกโจ้ว หนึ่งในพญาวานรที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก และมีผู้คนนับถือศรัทธาในด้านของความมีปฏิภาณไหวพริบ เฉลียวฉลาดรอบรู้ รอดพ้นจากทุกอุปสรรคปัญหาที่เข้ามา ซึ่งในเมืองไทยเองก็มีศาลเจ้าพ่อเห้งเจียอยู่หลายแห่งด้วย เป็นการบ่งบอกถึงความนิยม และศรัทธาเลื่อมใสได้เป็นอย่างดี โดยมนุษย์เชื่อว่า ลิงเป็นสัตว์ลี้ลับ สามารถปกปักรักษา ป้องภัยให้ และเพื่อสืบทอดความเชื่อเหล่านี้ มนุษย์จึงอาศัยการบอกเล่าเป็นนิทานเพื่อทำให้บอกเล่าง่ายและจดจำง่าย สันนิษฐานได้ว่าเมื่อชาวจีน ได้มีการตั้งถิ่นฐานมากขึ้นในไทย ในหลาย ๆ จังหวัดเริ่มถูกแพร่หลาย และจังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีคนจีนอาศัยอยู่อย่างมาก จึงมีการเผยแพร่ในเรื่องของไซอิ๋ว ทำให้หลาย ๆ คนในพื้นที่เริ่มเลื่อมใส ศรัทธา และมีการตั้งศาล (ตี่จู้) กราบไหว้กัน และศาลเห้งเจียก็ได้ก่อตั้งมากว่า 40 ปีแล้ว ในส่วนของผู้ดูแลผู้เขียนได้สัมภาษณ์ป้าเรียม (นางจันเรียม จอลเกิด) และลุงอ้วน (นายศิริวัฒน์ จอลเกิด) พี่ชายของป้าเรียม ตามความเชื่อคือ ได้รับเลือกจากอากง มักจะได้รับเมตตาเป็นลูกหลานของอากง ซึ่งการก่อตั้งจากที่เราได้สัมภาษณ์ ป้าเรียมได้บอกว่า คนที่สร้างศาลเจ้าหรือร่างทรงก็ไม่ได้อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งร่างทรงของอากงเห้งเจียจะทำงานอยู่ที่ภาคใต้ มีการไปมาที่ศาลบ้างบางครั้ง แต่ไม่เคยเล่าให้ใครฟังในเรื่องของที่มาอย่างแน่ชัด วัตถุประสงค์ 2) ขั้นตอนสักการะบูชา พบว่า การสักการะบูชาองค์ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว (เจ้าพ่อเห้งเจีย) จังหวัดกำแพงเพชร จะแบ่งเป็นขั้นตอน โดยมีการกำหนดจุดการไหว้เทพเจ้าต่าง ๆ ภายในศาลเจ้าทั้งหมด 16 จุด ก่อให้เกิดความสะดวกและความเข้าใจกับผู้ที่มาสักการะ คือจุดที่ 1 องค์ทีตี่ (เทพฟ้า-ดิน) จะจุดธูปไหว้ 5 ดอก จุดที่ 2 องค์ฉีเทียนต้าเสิ้น (มหาเทพฉีเทียนต้าเสิ้น) จะจุดธูปไหว้ 3 ดอก จุดที่ 3. องค์หลักฮี่เก๊า (เทพแห่งไฟ) จะจุดธูปไหว้ 3 ดอก จุดที่ 4 องค์หวู่เทียนต้าเสิ้น (เทพเรื่องการงาน) จะจุดธูปไหว้ 3 ดอก จุดที่ 5 องค์แปะกง (เจ้าที่) จะจุดธูปไหว้ 5 ดอก จุดที่ 6 องค์ไต้เสี่ยฮุกโจ้ว (เจ้าพ่อเห้งเจีย) จุดธูปไหว้ 9 ดอก จุดที่ 7 องค์ไฉ่ซี่งเอี๊ยะ (เทพเจ้าเงินตรา) จุดธูปไหว้ 3 ดอก จุดที่ 8 องค์กวงเสี่ยตี่กง (เจ้าพ่อกวนอู) จุดธูปไหว้ 3 ดอก จุดที่ 9 องค์หมิ่งซิ้ง (เทพเฝ้าหน้าประตู) จะมีซ้ายและขวาของหน้าประตูศาล จุดธูปไหว้ 1 ดอกทั้งสองฝั่ง จุดที่ 10 พระยูไลฮุกโจ้ว (พระพุทธเจ้า) จุดธูปไหว้ 9 ดอก จุดที่ 11 พระแม่กวนอิมพันมือ (พระโพธิสัตว์) จุดธูปไหว้ 3 ดอก จุดที่ 12 องค์ไทเสียงเล่ากง จุดธูปไหว้ 3 ดอก จุดที่ 13 พระสังฆจาย (พระอรหันต์) จุดธูปไหว้ 3 ดอก จุดที่ 14 18 เซียน (18 อรหันต์) จะมีเซียนฝั่งละ 9 องค์ จุดธูปไหว้ 3 ดอกทั้งสองฝั่ง โดยแต่ละจุด จะมีการใช้ธูปไหว้ที่ไม่เท่ากัน เพราะเป็นการแบ่งชนชั้น หรือยศศักดิ์ของแต่ละองค์ อีกทั้งยังมีเครื่องเซ่นไหว้ที่สามารถนำมาถวาย บางองค์ก็มีข้อจำกัดในการไหว้ อย่างเช่น องค์แปะกงที่สามารถถวายเนื้อสัตว์ได้ แต่องค์อื่น ๆ ต้องเป็นของเจเท่านั้น หรืออย่างองค์หลักฮี่เก๊า ที่จะต้องถวายของแดงเท่านั้น เพราะถือว่าเป็นองค์ไฟ ถึงแต่ละองค์จะไหว้ไม่เหมือนกัน หรือมีความสามารถที่แตกต่างกัน ก็สามารถขอพรในเรื่องอื่นได้ ไม่จำกัดว่าจะต้องขอเพียงเรื่องนั้นเรื่องเดียว ขึ้นอยู่กับตัวเราศรัทธามากแค่ไหน และอยากขอในเรื่องอะไรมากกว่า
บรรณานุกรม
จรัสศรี จิรภาส. (2547). เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเสิ้ง) ลิงในวรรณกรรมที่กลายเป็นเทพเจ้า. สำนักพิมพ์มติชน ณิชมน อินกันยา. (2563). รูปแบบและประติมานวิทยาเจ้าพ่อเห้งเจีย จากศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย วัดไตรมิตรวิทยาราม เยาวราช [รายงานการวิจัย]. คลังปัญญา มหาวิทยาลัยศิลปากร. http://www.sure.su.ac.th/xmlui/bitstream/id/249e82cb-bcd2-4b28-bc3c-4598687b5ca3/BA_Nichon_Inkanya.pdf?attempt=2 BSW. (15 เมษายน 2564). ขอทราบสถานที่ประดิษฐาน องค์บูชาเจ้าพ่อเห้งเจีย ครับ. Pantip. https://pantip.com/topic/40643501 Loveอากงเห้งเจีย Love Sun Wukong. (10 มกราคม 2562). ศาลไต่เสี่ยฮุกโจ่ว กำแพงเพชร เป็นอีกศาลนึงที่คุณไม่ควรพลาด #Loveอากงเฮ้งเจีย... [Image]. Facebook. https://m.facebook.com/452923245126746/posts/646956825723386/ OOM. (4 กุมภาพันธ์ 2561). ศาลเจ้า “พื้นที่ศิลปะ ตำนาน ความงดงามแห่งศรัทธา”. THE LEADER BILINGUAL MAGAZINE. https://lifeandhomemag.com/th/2018/02/04/ศาลเจ้า-พื้นที่ศิลปะ-ตำ- Raponsan. (3 มกราคม 2555). Re: อยากทราบประวัติ 18 พระอรหันต์ คะ. เว็บบอร์ดสนทนาธรรม. http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6131.0