ฐานข้อมูล เรื่อง ศาสนสถานและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
เนื้อหา
- 1 ข้อมูลทั่วไป วัดพระบรมธาตุ
- 2 ข้อมูลจำเพาะ
- 3 ข้อมูลการสำรวจ
- 4 ข้อมูลทั่วไป วัดสว่างอารมณ์
- 5 ข้อมูลจำเพาะ
- 6 ข้อมูลการสำรวจ
- 7 ข้อมูลทั่วไป วัดเจดีย์กลางทุ่ง
- 8 ข้อมูลจำเพาะ
- 9 ข้อมูลการสำรวจ
- 10 ข้อมูลทั่วไป วัดหม่องกาเล
- 11 ข้อมูลจำเพาะ
- 12 ข้อมูลการสำรวจ
- 13 ข้อมูลทั่วไป วัดหนองลังกา
- 14 ข้อมูลจำเพาะ
- 15 ข้อมูลการสำรวจ
- 16 ข้อมูลทั่วไป วัดหนองยายช่วย
- 17 ข้อมูลจำเพาะ
- 18 ข้อมูลการสำรวจ
- 19 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป วัดพระบรมธาตุ
ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง
ชื่อเรียกอื่น ๆ
วัดพระบรมธาตุเจดียาราม
ศาสนา
ศาสนาพุทธ วัดอยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย
ที่ตั้ง (ที่อยู่)
เลขที่ 15 หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์
ละติจูด (Latitude) : 16.480000 ลองติจูด (Longitude) : 99.510000
หน่วยงานที่ดูแลรักษา
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกำแพงเพชร
สถานะการขึ้นทะเบียน
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2497
วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง
พ.ศ.1858
ข้อมูลจำเพาะ
ประวัติความเป็นมา/คำบิกเล่า/ตำนาน
วัดพระบรมธาตุนครชุม เป็นวัดที่อยู่คู่เมืองกำแพงเพชรมาตั้งแต่สมัยเป็นเมืองนครชุมยาวนานมากกว่า 600 ปี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีสร้างโดยกษัตริย์ในสมัยกรุงสุโขทัย คือพระมหาธรรมราชาลิไทหรือพระยาลิไท สร้างขึ้นในปี 1900 เพื่ออุทิศถวายพ่อขุนศรีอินทราทิตย์องค์หนึ่ง พ่อขุนรามคำแหงองค์หนึ่ง และพระเจดีย์ประจำรัชกาลองค์อีก 1 องค์ และได้นำพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ สถาปนาไว้ในพระเจดีย์องค์กลาง และพระองค์ได้เสด็จมาพระมหาธาตุเจดีย์เป็นประจำทุกปี ซึ่งในสมัยสุโขทัยนั้นวัดพระบรมธาตุนครชุมมีความเจริญมากเพราะเป็นวัดพระอารามหลวงประจำเมือง วัดพระบรมธาตุเจริญรุ่งเรืองมากกว่า 200 ปี จนกระทั่งเมืองนครชุมถึงภาวะล่มสลาย เพราะแม่น้ำปิงกัดเซาะแนวกำแพงเมืองนครชุมพังพินาศความเจริญทางพุทธจักรและอาณาจักรได้สูญสิ้นไปจากเมืองนครชุม เมืองฝั่งตรงข้ามทางทิศตะวันออก คือเมืองกำแพงเพชร ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่ วัดพระบรมธาตุร้างมายาวนานกว่า 300 ปี จนกระทั่งถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ วัดพระบรมธาตุมีหลักฐานที่ชัดเจนอีกครั้ง จากหนังสือพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 เมื่อเดือนสิงหาคม 2449 ณ เมืองกำแพงเพชร ความว่า พ.ศ.2329 สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม ได้เสด็จมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร พักที่วัดเสด็จได้อ่านจารึกนครชุมที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดเสด็จ ตำบลเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทราบว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ริมน้ำปิง ฝั่งตะวันตกตรงข้ามเมืองเก่าสามองค์ ขาดผู้ดูแลรักษาได้กลายสภาพเป็นวัดร้างอยู่กลางป่า จึงได้ให้เจ้าเมืองกำแพงเพชรพระยารามณรงค์สงคราม (น้อย) ได้ป่าวร้อง ให้ประชาชนแผ้วถางพบเจดีย์ตามจารึกและปฏิสังขรณ์ขึ้นใน พ.ศ.2414 ภายหลังพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ผู้ว่าราชการเมืองในรัชกาลที่ 5 ได้มีเศรษฐีชาวกระเหรี่ยงชื่อ “พญาตะก่า” ขออนุญาตทางราชการทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ได้นำช่างมาจากพม่าทำการรื้อถอนพระเจดีย์ 3 องค์ แล้วทำการก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นองค์เดียวรูปทรงพม่า แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2491 ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในพระเจดีย์เก่าองค์กลางซึ่งบรรจุในภาชนะรูปสำเภาเงินมีพระธาตุอยู่ 9 องค์ นำมาบรรจุในพระเจดีย์องค์ใหม่ พ.ศ.2445 - 2447 พะโป้ น้องชายพระยาตะก่า ได้ทำการบูรณะต่อ และได้นำยอดฉัตรมาจากพม่าขึ้นประดิษฐานบนยอดพระเจดีย์พระบรมธาตุ ดังปรากฏอยู่เท่าทุกวันนี้
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
พระบรมธาตุนครชุมมหาเจดีย์ทรงสูงใหญ่ สวยงามไปด้วยสถาปัตยกรรมและสีทองอร่ามทั้งองค์ เสมือนดั่งเจดีย์ชเวดากองในเมืองพม่า เป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 9 องค์พระบรมธาตุเจดีย์ เดิมนั้นเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ภายในวัดก็มีแหล่งความรู้ที่สำคัญ คือศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลนครชุม โดยจัดแสดงเป็นอาคารทรงไทยสวยงาม ทำด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ภายในจัดแสดงวัตถุโบราณและข้าวของเครื่องใช้ในอดีตมากมาย และแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อีกหลายอย่าง แสดงวิถีชีวิตของชาวเมือง นอกจากนี้ยังมีมีศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ ศูนย์การศึกษาพระปริยติธรรมสำหรับสำหรับพระถิกษุและสามเณร และมีกุฏิจำนวน 23 หลัง สถานสำคัญของวัดพระบรมธาตุ คือ 1) พระบรมสารีริกธาตุ บรรจุอยู่ในสำเภาเงินมีพระบรมธาตุอยู่ถึง 9 องค์ ปัจจุบันประดิษฐานไว้ในองค์พระบรมธาตุ มีความเชื่อว่า ผู้ใดได้บูชาพระบรมธาตุเหมือนกับได้พบพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง ทำให้ประชาชนพากันมาสักการบูชาพระบรมธาตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันมาฆบูชาและวันสงกรานต์
ภาพที่ 1 สถานสำคัญขอวัดพระบรมธาตุ
วัดพระบรมธาตุนอกจากจะมีสถานที่สำคัญหลายอย่างแล้ว ภายในวัดยังมีแหล่งความรู้ที่สำคัญคือศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลนครชุม โดยจัดแสดงเป็นอาคารทรงไทยสวยงาม ทำด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ภายในจัดแสดงวัตถุโบราณและข้าวของเครื่องใช้ในอดีตมากมาย และแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อีกหลายอย่าง แสดงวิถีชีวิตของชาวเมือง เป็นศูนย์รวบรวมวัตถุโบราณและเรื่องราวต่าง ๆ ของเมืองนครชุมเอาไว้มากมาย เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้และถ่ายทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต แก่ชุมชนและสังคม ในยุคปัจจุบันเพื่อให้ยั่งยืนสืบไป นอกเราจะได้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังสามารถใช้เป็นแหล่งความรู้และเรียนรู้ได้อีกด้วย
ภาพที่ 2 พระพุทธรูปและสิ่งศักสิทธิ์ในวัดพระบรมธาตุ
2) พระศรีมหาโพธิ์ ชาวกำแพงเพชรเชื่อกันว่าพระศรีมหาโพธิ์ที่พระยาลิไททรงปลูกเมื่อ พ.ศ.1900 เป็นต้นโพธิ์ขนาดมหึมา คนโอบ 9 คน ในพุทธศาสนาเดิมกล่าวว่า ถ้าผู้ใดไหว้บูชาต้นโพธิ์เสมือนได้บูชาพระพุทธเจ้าเช่นกันแต่ปัจจุบันความเชื่อนี้ได้จางหายไปจากสังคม
บุคคลที่เกี่ยวข้อง
เจ้าอาวาส พระสิทธิวชิรโสภณ
วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ
-
ข้อมูลการสำรวจ
แหล่งอ้างอิง
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
วัน เดือน ปี ที่สำรวจ
9 กุมภาพันธ์ 2561
วันปรับปรุงข้อมูล
-
ผู้สำรวจข้อมูล
นางสาวไพลิน สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
คำสำคัญ (tag)
วัดพระบรมธาตุ, พระอารามหลวง
ข้อมูลทั่วไป วัดสว่างอารมณ์
ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
วัดสว่างอารมณ์
ชื่อเรียกอื่น ๆ
-
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
ที่ตั้ง (ที่อยู่)
เลขที่ 112 หมู่ที่ 6 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์
ละติจูด (Latitude) : 16.486543 ลองติจูด (Longitude) : 99.493388
หน่วยงานที่ดูแลรักษา
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกำแพงเพชร
สถานะการขึ้นทะเบียน
-
วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง
พ.ศ.2225
ข้อมูลจำเพาะ
ประวัติความเป็นมา/คำบิกเล่า/ตำนาน
วัดสว่างอารมณ์ ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๕ วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 เดิมพื้นที่เป็นป่ารกร้าง ต่อมาชาวบ้านได้ร่วมใจกันพัฒนาวัดให้เป็นปูชนียสถานที่สมบูรณ์จวบจนปัจจุบัน ได้รับราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2230 ภายในวัดมีศาสนสมบัติที่สำคัญเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ให้ความเลื่อมใสศรัทธา ภายในวัดสว่างอารมณ์แห่งนี้ อาทิ หลวงพ่ออุโมงค์ หลวงพ่อมหามงคลนิมิตพระพุทธรูปศิลปะพม่าและมณฑปแบบพม่า พระพุทธรูปยืน “หลวงพ่อประทานพร” ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าหอระฆัง โดยหลังคาของหอระฆังแห่งนี้ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมทางเหนือ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกำแพงเพชรในฐานะหัวเมืองฝ่ายเหนือ วิหารแก้วพระนอน หลวงพ่อศรีมหาโพธิ์ พระสีวลี รูปหล่ออดีตเจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ หลวงพ่อบุญมี ธัมมสโร และหลวงพ่อทองหล่อ ปิยะโส
ภาพที่ 3 หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์
สิ่งที่พุทธศาสนิกชนเข้ามากราบไหว้ขอพรมากที่สุด คือ "หลวงพ่ออุโมงค์" แห่งวัดสว่างอารมณ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร สำหรับประวัติของ "หลวงพ่ออุโมงค์" จากการบอกเล่าต่อกันมาว่าพบหลวงพ่อในดินลักษณะคล้ายจอมปลวกจึงขุดกันออกมา มองดูคล้ายท่านอยู่ในอุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปาฏิหาริย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ ท่าน เป็นที่เคารพบูชาของชาวนครชุม และชาวกำแพงเพชรมาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 4 ชาวจังหวัดกำแพงเพชร จะจัดงานประเพณีนมัสการปิดทอง "หลวงพ่ออุโมงค์" เป็นประจำทุกปี วิหารหลวงพ่ออุโมงค์นั้น สร้างมณฑปสี่เหลี่ยมมีทางเข้าออกด้านหน้าทางเดียว ส่วนมุขที่ต่อยื่นออกมาจากมณฑป มองดูเหมือนว่าจะสร้างต่อกันในยุคหลังๆ
ภาพที่ 4 บริเวณวัดสว่างอารมณ์
บุคคลที่เกี่ยวข้อง
-
วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ
-
ข้อมูลการสำรวจ
แหล่งอ้างอิง
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
วัน เดือน ปี ที่สำรวจ
9 กุมภาพันธ์ 2561
วันปรับปรุงข้อมูล
-
ผู้สำรวจข้อมูล
นางสาวไพลิน สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
คำสำคัญ (tag)
วัดสว่างอารมณ์
ข้อมูลทั่วไป วัดเจดีย์กลางทุ่ง
ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
วัดเจดีย์กลางทุ่ง
ชื่อเรียกอื่น ๆ
-
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
ที่ตั้ง (ที่อยู่)
เมืองนครชุมทางด้านทิศให้ ริมถนนสายกําแพงเพช (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 103)
ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์
ละติจูด (Latitude) : 16.471859 ลองติจูด (Longitude) : 99.513459
หน่วยงานที่ดูแลรักษา
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกำแพงเพชร
สถานะการขึ้นทะเบียน
-
วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง
พุทธศตวรรษที่ 20
ข้อมูลจำเพาะ
ประวัติความเป็นมา/คำบิกเล่า/ตำนาน
วัดเจดีย์กลางทุ่ง เดิมชื่อวัดอะไรไม่ปรากฏหลักฐาน เดิมเห็นแต่มี เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่กลางทุ่งนา จึงเรียกขานกันว่าวัดเจดีย์กลางทุ่ง ลักษณะของวัดเจดีย์กลางทุ่ง น่าจะสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 ในสมัยสุโขทัยเรืองอำนาจ มีคูน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบ ทั้งสี่ด้านที่เรียกกันว่า อุทกสีมา ภายในอุทกสีมา มีวิหารขนาดใหญ่ ลักษณะค่อนข้างแปลก เกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัสตุรัส และอยู่ต่ำกว่าปกติ ด้านหลังมีเจดีย์ประธาน ที่เป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ขนาดใหญ่ ที่ค่อนข้างสมบูรณ์และสมส่วน สร้างด้วยอิฐที่ได้จากดินเหนียวบริเวณทุ่งเศรษฐี ลานประทักษิณรอบๆ เจดีย์ มีขนาดกว้างมาก ทำศาสนพิธี ได้อย่างสะดวกสบาย รูปทรงขององค์เจดีย์ ประกอบด้วย ฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้ว อกไก่ ชั้นแว่นฟ้า และส่วนเรือนธาตุย่อเหลี่ยมไม้สิบ ที่รองรับส่วนยอดของเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ส่วนยอดสุดหักตกลงมาไม่เห็นมีหลักฐาน นับว่าเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ขนาดใหญ่ ที่งดงามมาก เป็นสัญลักษณ์ของเมืองนครชุมเลยทีเดียว ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สภาพค่อนข้างสมบูรณ์
ภาพที่ 5 วัดเจดีย์กลางทุ่ง
รอบๆ เจดีย์ประธาน มีเจดีย์รายที่เห็นมีหลักฐานเหลืออยู่เพียงองค์เดียว นอกนั้นไม่เห็นกุฏิ ศาลา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ถูกทำลายไปสิ้น เพราะที่วัดเจดีย์กลางทุ่งมีพระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐีที่มีชื่อเสียงมาก คือพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงนางพญา และพระกำแพงเขย่ง จึงทำให้ โบราณสถานโบราณวัตถุถูกขุดค้นทำลายลง
บุคคลที่เกี่ยวข้อง
-
วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ
-
ข้อมูลการสำรวจ
แหล่งอ้างอิง
สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
วัน เดือน ปี ที่สำรวจ
14 กุมภาพันธ์ 2561
วันปรับปรุงข้อมูล
-
ผู้สำรวจข้อมูล
นางสาวไพลิน สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
คำสำคัญ (tag)
วัดเจดีย์กลางทุ่ง
ข้อมูลทั่วไป วัดหม่องกาเล
ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
วัดหม่องกาเล
ชื่อเรียกอื่นๆ
-
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
ที่ตั้ง (ที่อยู่)
ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลนครชุม ประมาณ 850 เมตร จะพบทางแยกเข้าซอยทางด้านซ้ายมือบริเวณตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชรวัดหม่องกาแลอยู่ลึกเข้าไปในซอยประมาณ 663 เมตร
ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์
ละติจูด (Latitude) : 16.467628 ลองติจูด (Longitude) : 99.509562
หน่วยงานที่ดูแลรักษา
กรมศิลปากร
สถานะการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร
วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง
พุทธศตวรรษที่ 20
ข้อมูลจำเพาะ
ประวัติความเป็นมา/คำบิกเล่า/ตำนาน
วัดหม่องกาเลเป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังศิลปะสุโขทัย ก่อด้วยอิฐ มีซุ้มพระยืนออกมาจากฐาน ตอนล่างทั้ง 4 ด้าน ชั้นมาลัยเถารองรับองค์ระฆังเป็นแบบบัวถลา องค์ระฆังค่อนข้างเพรียว หรือชะลูด ปากองค์ระฆังไม่ตายออกมากนัก ถัดจากองค์ระฆังเป็นส่วนที่เรียกว่าบัลลังก์ สําหรับส่วนยอดขององค์เจดีย์หักพังทลายเกือบหมด เหลือหลักฐานเฉพาะส่วนของแกน ปล้องไฉนสันนิษฐานว่าบริเวณที่ค้นพบวัดอยู่ในที่จับจองของชาวพม่าที่ชื่อหม่องกาเล ซึ่งสืบหาลูกหลานของท่านไม่ได้รู้แต่ว่าหลังจากหม่องกาเล ที่บริเวณนั้นเป็นที่ครอบครองของตาหมอหร่อง ตาหมอหร่อง มีลูกเขยชื่อนายจันทร์ได้ครอบครองที่ดินบริเวณนี้ต่อมา และได้ขายที่ดินทั้งหมดให้ผู้อื่น ปัจจุบันวัดหม่องกาเล ตั้งอยู่บนแนวถนนโบราณที่ชาวบ้านเรียกว่าถนนพระร่วง หรือถนนตาพระร่วง ยังไม่ถูกบุกรุกทำลายมากอย่างวัดอื่น ผ่านการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วจากกรมศิลปากร มีเจดีย์ประธานที่มีรูปทรงงดงาม ขนาดย่อมกว่าวัดหนองลังกาเล็กน้อย มีซุ้มที่ฐานเจดีย์ อยู่สามซุ้ม ไม่ทราบว่า ไม่ได้บูรณะ 1 ซุ้ม หรือไม่มีแต่แรก แต่ถ้าสังเกตจากวัดหนองลังกา แล้วน่าจะมี 4 ซุ้ม รูปทรงของเจดีย์ เพรียวและสง่างาม ยอดหักพังมาถึงคอระฆัง ไม่พบ ยอดที่หักตกลงมาเลย ในบริเวณนั้น อาจจะอยู่ในหนองน้ำ หรืออุทกสีมา ที่อยู่รอบๆ บริเวณพื้นที่ นั้นก็เป็นได้ ด้านหน้า มีวิหารเตี้ยๆคล้ายวิหารของวัด เจดีย์กลางทุ่ง แต่มีร่องรอยของฐานวิหารที่ชัดเจน โดยรอบไม่มีเจดีย์รายรอบอาจถูกขุดทำลายหมด เพราะเป็นเจดีย์ขนาดเล็ก คูน้ำล้อมรอบ เป็นคูน้ำขนาดใหญ่ที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ยังไม่ถูกรื้อทำลาย วัดหม่องกาเล มีกรุพระเครื่อง ที่มีชื่อเสียงมาก โดยเฉพาะอย่างพระซุ้มกอ ขุดพบที่บริเวณวัดนี้จำนวนมาก
ภาพที่ 6 วัดหม่องกาเล
โบราณสถานวัดหม่องกาเล แผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัววัตตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่ปรากฏแนวกําแพงวัด แต่มีการขุดคูน้ำโดยรอบ เพื่อแสดงขอบเขตของวัดเป็นลักษณะที่เรียกว่า อุทกสีมา ซึ่งเป็นการจัดยังวัดที่นิยมกันมากในสมัยสุโขทัย
บุคคลที่เกี่ยวข้อง
-
วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ
-
ข้อมูลการสำรวจ
แหล่งอ้างอิง
สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
วัน เดือน ปี ที่สำรวจ
14 กุมภาพันธ์ 2561
วันปรับปรุงข้อมูล
-
ผู้สำรวจข้อมูล
นางสาวไพลิน สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
คำสำคัญ (tag)
วัดหม่องกาเล
ข้อมูลทั่วไป วัดหนองลังกา
ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
วัดหนองลังกา
ชื่อเรียกอื่น ๆ
-
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
ที่ตั้ง (ที่อยู่)
ซอยบ้านนา ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์
ละติจูด (Latitude) : 16.468681 ลองติจูด (Longitude) : 99.510821
หน่วยงานที่ดูแลรักษา
กรมศิลปากร
สถานะการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร
วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง
พุทธศตวรรษที่ 20
ข้อมูลจำเพาะ
ประวัติความเป็นมา/คำบิกเล่า/ตำนาน
วัดหนองลังกา หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังศิลปะสุโขทัย ก่อด้วยอิฐ มีซุ้มพระยื่นออกมาจากฐาน ตอนล่างทั้ง 4 ด้าน มีเจดีย์หรือมณฑปเป็นประธานวัด ด้านหน้าเจดีย์เป็นวิหาร แต่สภาพของที่ตั้งวัดอยู่ในที่ลุ่มต่ำ จึงมีการขุดคูเป็นขอบเขตวัด เพื่อนำดินจากการขุดคูไปปรับถมที่บริเวณวัดให้สูงขึ้น และเป็นคูน้ำเพื่อกักเก็บน้ำในฤดูแล้งด้วย วัดหนองลังกา เป็นวัดขนาดใหญ่ที่สุด ในเขตอรัญญิกเมืองนครชุม ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศใต้ แผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีคูน้ำล้อมรอบ 4 ด้าน อันเป็นลักษณะแบบอุทกสีมา ของพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ที่นิยมแพร่หลายในช่วงสุโขทัยเจดีย์ประธาน เป็นลักษณะเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆัง ก่อด้วยอิฐตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว ลักษณะองค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเขียงเตี้ยๆ ฐานล่างทำเป็นซุ้มยื่นมาทั้ง 4 ด้าน มีพระพุทธรูป อยู่ประจำทิศ แต่ถูกขุดค้นทำลายจนสิ้นซาก ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดาน สี่เหลี่ยมและฐานบัวลูกแก้วอกไก่ หรือฐานปัทม์สี่เหลี่ยม ซ้อนลดหลั่นกันไป ชั้นมาลัยเถามีลักษณะเป็นแบบชั้นบัวคว่ำและบัวหงายซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น รองรับองค์ระฆังที่ มีขนาดงดงาม สมบูรณ์ เหมาะสม และสวยงามยิ่งนัก บัลลังก์เป็นฐานปัทม์ สี่เหลี่ยม ส่วนท้องไม้ประดับด้วยลูกแก้วอกไก่ ถัดจากบัลลังก์ขึ้นไปเป็นแกนปล้องไฉน ซึ่งประดับลูกแก้วอกไก่ 2 แถว แล้วเป็นบัวฝาละมี ปล้องไฉน ปลียอด เจดีย์ทรงระฆังวัดหนองลังกา รูปทรงสูงชะลูด หรือเพรียวสมส่วน มีสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่พบในเมืองนครชุม
ภาพที่ 7 วัดหนองลังกา
โบราณสถานวัดหนองลังกา แผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัววัดตั้งหันหน้าไปทาง ทิศตะวันออก ไม่ปรากฏแนวกําแพงวัด แต่มีการขุดคูนาโดยรอบเพื่อแสดงขอบเขตของวัด เป็นลักษณะที่เรียกว่า อุทกสีมา ซึ่งเป็นการจัดตั้งวัดที่นิยมกันมากในสมัยสุโขทัย
บุคคลที่เกี่ยวข้อง
-
วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ
-
ข้อมูลการสำรวจ
แหล่งอ้างอิง
สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
วัน เดือน ปี ที่สำรวจ
14 กุมภาพันธ์ 2561
วันปรับปรุงข้อมูล
-
ผู้สำรวจข้อมูล
นางสาวไพลิน สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
คำสำคัญ (tag)
วัดหนองลังกา
ข้อมูลทั่วไป วัดหนองยายช่วย
ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
วัดหนองยายช่วย
ชื่อเรียกอื่นๆ
วัดหนองพลับ
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
ที่ตั้ง (ที่อยู่)
ตั้งอยู่บนถนนซอยผลบุญ ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร
ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์
ละติจูด (Latitude) : 16.468601 ลองติจูด (Longitude) : 99.514471
หน่วยงานที่ดูแลรักษา
กรมศิลปากร
สถานะการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร
วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง
พุทธศตวรรษที่ 20
ข้อมูลจำเพาะ
ประวัติความเป็นมา/คำบิกเล่า/ตำนาน
วัดหนองยายช่วย เป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังก่อด้วยอิฐ ฐานเขียงด้านล่างเป็นฐานสี่เหลี่ยม หน้ากระดาน ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม และฐานบัวแปดเหลี่ยมซ้อน ลดหลั่นกันขึ้นไป ชั้นมาลัยเถารองรับองค์ระฆังเป็นแบบบัวถลา องค์ระฆังค่อนข้างเล็ก และตั้งอยู่ในตําแหน่งที่สูง นับเป็นเจดีย์ทรงระฆังที่มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์ทรงระฆังทางฝั่ง เมืองกําแพงเพชร โดยเฉพาะการทําชั้นฐานบัวแปดเหลี่ยมรองรับชั้นมาลัยเถา สําหรับ ทางด้านหน้าเจดีย์ประถานมีวิหาร ขนาด 5 ห้อง หรือ ห้าช่วงเสา ก่อด้วยอิฐ 8 หลัง วัดหนองยายช่วย อยู่ถัดจากวัดหนองลังกาไปทางทิศตะวันออกห่างจากวัดหนองลังกาประมาณ ๒๐๐ เมตร มีลักษณะรกร้าง มองจากที่ไกลๆ ดูวัดหนองยายช่วยไม่งดงาม มีขนาดเล็ก ไม่น่าสนใจ แต่เมื่อเข้าไปใกล้ต้องตะลึงในความงดงามของ รูปทรงเจดีย์ ที่เป็นเจดีย์ทรงลังกา ฐานแปดเหลี่ยมที่มีลักษณะที่งดงามมาก มีศิลปะที่อ่อนช้อย รูปทรงเพรียวสมส่วน ยังสมบูรณ์ตั้งแต่คอระฆังลงมา ยอดหัก ไม่สามารถค้นหาได้พบ บริเวณฐานพระเจดีย์มีซุ้มพระอีก 4 ซุ้ม มีลักษณะซุ้มที่ใหญ่มาก แต่ไม่พบพระ ว่ามีลักษณะใด แต่เมื่อเทียบกับวัดหนองลังกาแล้ว น่าจะเป็นพระสี่อิริยาบถคือยืน เดิน นั่ง นอน วัดในบริเวณนี้ที่มีลักษณะเหมือนกันคือ วัดหนองลังกา วัดหม่องกาเล และวัดหนองยายช่วย ถือว่างดงามมาก และมีลักษณะที่พิเศษกว่าทุกวัด คือมีซุ้มพระ มีเจดีย์ราย มีหนองน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบ แบบลัทธิลังกาวงศ์
ภาพที่ 8 วัดหนองยายช่วย
ด้านหน้าวัด มีฐานวิหารขนาดใหญ่ ยังมีฐานที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ฐานพระประธานมีขนาดใหญ่มาก ยังไม่ถูกทำลาย แต่องค์พระไม่มีแล้ว สันนิษฐานว่าจะเป็นพระปูนปั้น จึงถูกทำลายไป พร้อมกับ เจดีย์ที่ถูกขุดค้นขึ้นลักษณะของวิหารเหมือนกับ สร้างโบสถ์ซ้อนอยู่บนวิหารมีลักษณะที่เหมาะสมและงดงามอย่างที่สุด
บุคคลที่เกี่ยวข้อง
-
วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ
-
ข้อมูลการสำรวจ
แหล่งอ้างอิง
สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
วัน เดือน ปี ที่สำรวจ
14 กุมภาพันธ์ 2561
วันปรับปรุงข้อมูล
-
ผู้สำรวจข้อมูล
นางสาวไพลิน สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
คำสำคัญ (tag)
วัดหนองยายช่วย
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ป้อมทุ่งเศรษฐี
ชื่อเรียกอื่น ๆ
-
ศาสนา
ศาสนาพุทธ
ที่ตั้ง (ที่อยู่)
ตั้งอยู่นอกเมืองนครชุมทางด้านทิศใต้ ริมถนนสายกําแพงเพชร-สุโขทัย (ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๑๐๑)
ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์
ละติจูด (Latitude) : ๑๖.๔๗๔๑๔๗ ลองติจูด (Longitude) : ๙๙.๕๐๒๑๐๐ 1.6 หน่วยงานที่ดูแลรักษา กรมศิลปากร 1.7 สถานะการขึ้นทะเบียน ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร 1.8 วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒
๗. ข้อมูลจำเพาะ 2.1 ประวัติความเป็นมา/คำบิกเล่า/ตำนาน ป้อมทุ่งเศรษฐี เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ ตั้งอยู่นอกเมืองนครชุมทางด้านทิศใต้ พื้นที่โดยรอบเป็นทุ่งที่ราบ ลักษณะป้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยศิลาแลงยาวด้านละ ๘๔ เมตร ด้านเหนือถูกรื้อทำลายตลอดแนว แต่ละด้านมีช่องประตูเข้าออกตรงบริเวณกึ่งกลาง ด้านนอกก่อเป็นกำแพงสูงด้านในก่อเป็นแท่นเชิงเทิน ตอนบนสุดก่อเป็นรูปใบเสมา ใต้ใบเสมาทุกใบมีช่องอาจจะใช้เป็นช่องปืน ตรงมุมกำแพงทั้งสี่มุมทำเป็นป้อมรูปสี่เหลี่ยมยื่นออกมา ตอนล่างของแนวกำแพงมีช่องกุดทำเป็นวงโค้งยอดแหลม ภายในบริเวณป้อมไม่ปรากฏร่องรอยสิ่งก่อสร้างอื่น ป้อมทุ่งเศรษฐีคงสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลางและเป็นลักษณะป้อมที่ได้รับอิทธิพลจากยุโรป (กรมศิลปากร, 2552 : 43)
ภาพที่ 9 ป้อมทุ่งเศรษฐี
2.3 บุคคลที่เกี่ยวข้อง - 2.4 วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ - 3. ข้อมูลการสำรวจ 3.1 แหล่งอ้างอิง สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร กรมศิลปากร 3.2 วัน เดือน ปี ที่สำรวจ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ 3.3 วันปรับปรุงข้อมูล - 3.4 ผู้สำรวจข้อมูล นางสาวไพลิน สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3.5 คำสำคัญ (tag) - ป้อมทุ่งเศรษฐี 1. ข้อมูลทั่วไป 1.1 ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ วัดซุ้มกอ 1.2 ชื่อเรียกอื่นๆ - 1.3 ศาสนา ศาสนาพุทธ 1.4 ที่ตั้ง (ที่อยู่) ตั้งอยู่นอกเมืองนครชุมทางด้านทิศใต้ ริมถนนสายกําแพงเพชร-สุโขทัย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓) และอยู่ในเขตอรัญญิกของเมืองนครชุม 1.5 ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์ ละติจูด (Latitude) : ๑๖.๔๗๓๖๐๔ ลองติจูด (Longitude) : ๙๙.๕๐๙๒๙๔ 1.6 หน่วยงานที่ดูแลรักษา สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกำแพงเพชร 1.7 สถานะการขึ้นทะเบียน - 1.8 วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง พุทธศตวรรษที่ ๒๐
๘. ข้อมูลจำเพาะ 2.1 ประวัติความเป็นมา/คำบิกเล่า/ตำนาน วัดซุ้มกอ เมืองนครชุม หรือนครพระชุม สร้างในสมัยสุโขทัย เจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในรัชกาลของพระมหาธรรมราชาลิไท ประกอบด้วยสองเขต เหมือนกับเมืองโบราณโดยทั่วไป คือเขตเมืองที่เรียกว่าคามวาสี และเขตป่าที่เรียกว่าอรัญญิก บริเวณนี้เรียกกันในสมัยโบราณว่า ดงเศรษฐีเมื่อป่าไม้ถูกทำลาย ไปจนหมดสิ้น จึงเรียกกันว่าทุ่งเศรษฐี เป็นอาณาเขต ที่พบ กรุพระเครื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองกำแพงเพชร เรียกตามแหล่งที่พบว่า พระทุ่งเศรษฐี วัดซุ้มกอ อยู่ในเขตอรัญญิกบริเวณทุ่งเศรษฐี บริเวณตรงกันข้ามกับสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วยป้อมทุ่งเศรษฐี วัดหนองพิกุล วัดหนองลังกา วัดหนองพุทรา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล และวัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดซุ้มกอ ที่เรียกว่าวัดซุ้มกอเพราะ พบพระเครื่อง ที่วงการพระเครื่องเรียกกันว่า พระซุ้มกอ ทุกพิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และพิมพ์คะแนน จำนวนมากที่วัดนี้ เนื่องจาก วัดซุ้มกอ มีพระซุ้มกอ ที่มีชื่อเสียง เป็นหนึ่งในเบญจภาคี สุดยอดแห่งจักรพรรดิ์พระเครื่อง ทำให้โบราณสถานและโบราณวัตถุ ในบริเวณวัดซุ้มกอถูกทำลายจนหมดสิ้น ที่พบ ก่อนการบูรณะคือเนินดิน ที่เป็นเจดีย์ทรงลังกา และเนินวิหารขนาดเล็ก มีเจดีย์ราย รอบเจดีย์ใหญ่ แต่ไม่เหลือแม้กระทั่งซาก พระเครื่อง พระบูชา พระพุทธรูป ถูกขนย้ายไปจากบริเวณวัดซุ้มกอทั้งหมด รอบๆวัด มีคูน้ำล้อมรอบ เป็นลักษณะ อุทกสีมา ตามคตินิยมแบบลังกา วัดบริเวณนี้ทั้งหมด มีอุทกสีมาเหมือนกันทั้งหมด ยืนยันได้ว่าสร้าง ในสมัยใกล้เคียงกัน วัดซุ้มกอ ควรจะเป็นหน้าตาของเมืองกำแพงเพชร แต่หาคนที่รู้จักวัดซุ้มกอได้ยากยิ่ง แม้วัดซุ้มกออยู่ริมทางถนนเข้าเมืองกำแพงเพชร แต่ความทรุดโทรมของวัดจึงไม่ได้ มีผู้คนและนักท่องเที่ยวสนใจแต่อย่างใด จังหวัดกำแพงเพชร กำลังจะปรับปรุงภูมิทัศน์ ของวัดซุ้มกอใหม่ ก่อนที่ วัดซุ้มกอ จะถูกถมหายไป หรือกลายเป็น บึง บ่อ ขนาดใหญ่ น่าเสียดายยิ่ง ชาวกำแพงเพชร ชาวนครชุมควร ได้ดูแลรักษา สิ่งที่บรรพบุรุษ สร้างไว้ให้ งดงามและเหมาะสมกับการเป็นเมืองมรดกโลก ก่อนที่วัดซุ้มกอ ตำนานแห่งพระซุ้มกอ จะอันตรธานไปกับความเจริญ ทางวัตถุ ของเมืองนครชุม ขอชาวเราได้ช่วยกัน ดูแลบ้านเมืองของเรา ให้เหมาะสมที่สุดกับที่มาแห่งพระซุ้มกอ พระที่คนทั้งประเทศ ตัองการ
ภาพที่ 10 วัดซุ้มกอ
วัดซุ้มกอเป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังฐานแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐ ส่วนยอด เหนือองค์ระฆังขึ้นไปพังทลายลงหมดแล้ว สําหรับทางด้านหน้าเจดีย์ประธาน มีฐานวิหารขนาดเล็ก ๑ หลัง
2.3 บุคคลที่เกี่ยวข้อง - 2.4 วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ - 3. ข้อมูลการสำรวจ 3.1 แหล่งอ้างอิง สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร 3.2 วัน เดือน ปี ที่สำรวจ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ 3.3 วันปรับปรุงข้อมูล - 3.4 ผู้สำรวจข้อมูล นางสาวไพลิน สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3.5 คำสำคัญ (tag) - วัดซุ้มกอ