ฐานข้อมูล เรื่อง ประเพณีสักการะบวงสรวงเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลทั่วไป

         ประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชรหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “งานงิ้วอำเภอคลองลาน” นั้น ได้ถูกจัดขึ้นจากความเชื่อ ความศรัทธาของคนในชุมชนโดยเฉพาะชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในตัวตลาดอำเภอคลองลานว่า หากได้จัดงานประเพณีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานนี้ขึ้นจะทำให้ชาวบ้านมีแต่ความอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีเหตุเพลิงไหม้ปริศนาเหมือนครั้งอดีต 
         เนื่องจากเมื่อครั้งอดีตก่อนที่จะมีประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานนั้น ภายในตัวตลาดอำเภอคลองลานมักจะเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นอย่างปริศนาหลายครั้งหลายคราว ชาวบ้านหรือชาวตลาดคลองลานไม่มีใครสามารถหาสาเหตุของเพลิงไหม้ดังกล่าวได้ จนเมื่อเวลาผ่านไปได้มีการนิมิตพระสงฆ์มาทำบุญให้กับตลาดจึงเป็นที่มาของความจริงว่า ในบริเวณอำเภอคลองลานนั้นมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นที่ปกปักรักษาสถานที่แห่งนี้อยู่ และเมื่อมีพิธีสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น ก็ไม่เกิดเพลิงไหมในบริเวณตัวตลาดคลองลานอีกเลย นี่จึงเป็นที่มาของประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานจนถึงปัจจุบัน (รายละเอียดของงานประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานสามารถศึกษาได้ในหัวข้อถัดไป 
ภาพที่ 1 บรรยากาศภายในศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่.jpg

ภาพที่ 1 บรรยากาศภายในศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

ภาพที่ 2 บรรยากาศภายในศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่.jpg

ภาพที่ 2 บรรยากาศภายในศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานในช่วงที่ไม่มีเทศกาล

ชื่อเรียก

         งานประจำปีเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน	

ชื่อเรียกอื่น ๆ

         งานงิ้วคลองลาน		

เดือนที่จัดงาน

         เดือน พฤศจิกายนของทุกปี	

เวลาทางจันทรคติ

         ขึ้น 15 ค่ำ เดือน12		

สถานที่

         ตลาดคลองลาน				

ประเภทประเพณี

         ประเพณีไทยในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก คือ จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม ขนบประเพณีหรือสถาบัน และธรรมเนียมประเพณี โดยมีรายละเอียดของแต่ละประเภทดังนี้
         จารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หมายถึง สิ่งซึ่งสังคมใดสังคมหนึ่งยึดถือและปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่องและมั่นคง เป็นเรื่องของความผิดถูก มีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นสมาชิกในสังคมผู้ใดฝ่าฝืนถือว่าเป็นผิดเป็นชั่วจะต้องถูกตำหนิหรือได้รับการลงโทษจากคนในสังคมนั้น เช่น ลูกหลานต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า เป็นต้น 
         ขนบประเพณี หรือสถาบัน หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วปฏิบัติสืบต่อกันมา ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทางตรง ได้แก่ ประเพณีที่มีการกำหนดเป็นระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติอย่างชัดแจ้งว่าบุคคลต้องปฏิบัติอย่างไร เช่น สถาบันโรงเรียน ทางอ้อม ได้แก่ ประเพณีที่รู้กันโดยทั่วๆ ไป โดยไม่ได้วางระเบียบไว้แน่นอน แต่ปฏิบัติไปตามคำบอกเล่าหรือสังคมปฏิบัติ เช่น ประเพณีเกี่ยวกับการเกิด การตาย การแต่งงาน ซึ่งเป็นประเพณีเกี่ยวกับชีวิต หรือประเพณีเกี่ยวกับเทศกาล ตรุษ สารท การขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
         ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญที่ทุกคนควรทำ มีความผิดถูกเหมือนจารีตประเพณี เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ทุกคนปฏิบัติกันทั่วไปจนเกิดความเคยชินและไม่รู้สึกเป็นภาระหน้าที่เพราะเป็นสิ่งที่มีมานาน เช่น การแต่งกาย การพูด การรับประทานอาหาร การเป็นแขกไปเยี่ยมผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วประเพณียังสามารถแบ่งย่อยได้อีก 4 ประเภท คือ
             ก. ประเพณีที่เกี่ยวกับชีวิตหรือประเพณีครอบครัว ได้แก่ประเพณีการเกิด ประเพณีการบวช ประเพณีการแต่งงาน ประเพณีงานศพ
             ข. ประเพณีท้องถิ่นของชุมชนหรือประเพณีส่วนรวมตามเทศกาล ประเพณีการชักพระ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีงานบุญบั้งไฟ ประเพณีการรับประทานอาหาร
             ค. ประเพณีท้องถิ่น ได้แก่ ประเพณีที่เกี่ยวกับอาชีพ เช่น ภาคใต้ ได้แก่ การลงขันลงหิน การทำขันและเครื่องลงยา การทำผ้าบาติก การทำโสร่งปาเต๊ะ ประเพณีการแต่งกาย ประเพณีการแต่งกาย ประเพณีการละเล่นในงานนักขัตฤกษ์ เช่น การละเล่นหนังตะลุง มโนราห์ เป็นต้น
              ง. ประเพณีราชการ คือประเพณีที่ทางราชการเป็นผู้กำหนดขึ้น จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ รัฐพิธีและพระราชพิธี
         ดังนั้น จากการจำแนกหรือแบ่งแยกประเภทของประเพณีตามแบบแผนแล้วนั้น งานสืบสานประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานจีงอยู่ในประเภทขนบประเพณีหรือสถาบัน ประเภทประเพณีท้องถิ่น เนื่องจาก ประเพณีดังกล่าวเป็นประเพณีที่ดำเนินการสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลานานด้วยความเชื่อและความศรัทธาของคนในชุมชน ว่า หากไม่กระทำแล้วนั้น จะเกิดเพลิงไหม้เหมือนดังในอดีตได้ 
ภาพที่ 3 เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน.jpg

ภาพที่ 3 เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

ประวัติความเป็นมาของประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

         เมื่อปี พ.ศ.2538 ตลาดคลองลานได้เกิดเหตุไฟไหม้บ้านกว่า 10 หลังคาเรือน ถึง 2 ครั้งในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากเหตุไฟไหม้ครั้งที่ 2 ประชาชนภายในตลาดคลองลานจึงมีความคิดที่จะรวมตัวกันเพื่อทำบุญตลาดขึ้น โดยได้นิมนต์หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล มาทำพิธี ในระหว่างทำพิธีอยู่นั้น หลวงพ่อไพบูลย์ก็ได้กล่าวกับคนในตลาดว่า เมื่อตอนที่ระหว่างอยู่ในสมาธิ ท่านได้เห็นแสงไฟสีขาว 2 ดวง อยู่บริเวณต้นไทรต้นใหญ่หลังตลาด หลังจากนั้นหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล จึงได้นำชาวบ้านไปยังต้นไทรต้นใหญ่ที่หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ได้เห็นในนิมิต เมื่อถึงต้นไทรต้นดังกล่าวก็พบว่า ใต้ต้นไทรต้นดังกล่าวมีศาลเจ้าเล็กๆ อยู่ 1 ศาลด้วย หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ได้กล่าวต่อไปว่าเมื่อท่านอยู่ในสมาธินั้นได้พบกับคนจีน 2 คน ผู้ชายสูงอายุ 1 คน และผู้หญิงสูงอายุอีก 1 คน ประทับอยู่ที่ศาลแห่งนั้น จากนั้นชาวบ้านภายในตลาดคลองลานจึงได้กราบสักการะผู้ชายและผู้หญิงสูงอายุที่ประทับอยู่ ณ ศาลเจ้าแห่งนั้นตามที่หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ได้เห็นในนิมิตและตั้งให้เป็นปึงเถ่ากงปึงเถ่าม่า (เจ้าพ่อเจ้าแม่) ประจำตลาดคลองลาน นอกจากนั้นแล้วหลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ยังกล่าวต่ออีกว่าสิ่งที่เจ้าพ่อเจ้าแม่ชื่นชอบเป็นอย่างมากนั้นก็คือ หัวใจสีน้ำเงิน สมควรที่จะเอามาสำหรับสักการะ บูชาเป็นอย่างมาก จากนั้นชาวบ้านภายในตลาดคลองลานจึงจัดทำล็อกเก็ตหัวใจสีน้ำเงินขึ้นมาเพื่อนำมาบูชาและสักการะปึงเถ่ากงปึงเถ่าม่า เมื่อสักการะปึงเถ่ากงปึงเถ่าม่าแล้ว หลังจากนั้นตลาดคลองลานก็ไม่เกิดเหตุการณไฟไหม้อีกเลย
         ในปีต่อๆมา ด้วยความเชื่อ เคารพ นับถือและเพื่อสักการะให้เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัวภายในตัวตลาดคลองลานจึงได้มีการจัดงานงิ้ว เพื่อถวายแก่ปึงเถ่ากงปึงเถ่าม่า (เจ้าพ่อเจ้าแม่) เป็นประจำทุกปี จนกลายเป็นงานประเพณีประจำปีพื้นที่อำเภอคลองลานมาจนถึงปัจจุบัน เพราะนอกจากจะเป็นการถวายสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลแล้ว ยังเป็นงานประเพณีที่กระตุ้นให้เกิดความรักความสามัคคีและความปรองดองภายในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย 
ภาพที่ 4 ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานในปัจจุบัน.jpg

ภาพที่ 4 ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานในปัจจุบัน

ภาพที่ 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหน้าศาลเจ้า.jpg

ภาพที่ 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหน้าศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

         ศาลเจ้าพ่อเจ้าที่จัดสร้างขึ้นมานั้นจะต้องมีผู้ที่ดูแลศาลเจ้าและต้องมีคณะกรรมการในการดูแลศาลเจ้าด้วย นอกจากนั้นแล้วเพื่อได้ให้ประชาชนทุกคนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เพื่อสร้างความสามัคคีภายในชุมชนอีก ชาวบ้านจึงตกลงกันว่าคณะกรรมการจะต้องมีการเปลี่ยนคนบริหารทุกๆปี โดยมีวิธีการเลือกคณะกรรมการเพื่อเข้ามาดูแลบริหารศาลเจ้าโดยการใช้ “ปั๊ว” หรือที่เรียกว่า “เสี่ยงทาย” ต่อหน้าเจ้าพ่อเจ้าแม่ เพื่อให้เจ้าพ่อเจ้าแม่เป็นคนเลือกคณะกรรมที่เข้ามาบริหารในแต่ละปีนั้นเอง ซึ่งปั๊ว นั้นคือไม้ที่มีลักษณะเหมือนกรวยไตสีแดง 2 อัน การเสี่ยงทายจะสามารถทำได้โดยการโยนไม้รูปกรวยไตสีแดงหรือที่เรียกว่า “เซ่งปั๊ว” คือการโยนปั๊ว 3 ครั้ง ถ้าคนๆนั้นคือคนที่เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานเลือกสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณีคือ กรณีที่ 1  ปั๊วที่ออกมาจะต้องหงาย 1 อัน หรือควํ่า 1 อัน 2 ครั้ง กรณีที่ 2 คือ ปวยควํ่า 2 อัน 1 ครั้ง นั้นเอง
ภาพที่ 6 ตัวอย่างไม้ปวยที่ใช้สำหรับเสี่ยงทาย.jpg

ภาพที่ 6 ตัวอย่างไม้ปวยที่ใช้สำหรับเสี่ยงทาย

         ก่อนการทำพิธีเสี่ยงทางหรือการโยนปั๊วนั้น คณะกรรมการชุดเก่าต้องไหว้กราบเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่ด้วยของที่ใช้ในการไหว้เชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่ก่อน ซึ่งของที่ใช้ในการเซ่นไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานนั้นประกอบไปด้วย หมู ไก้ เป็ด หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “ซาแซ” ซึ่งหมายถึง การไหว้ด้วย หมู(แทนดิน) ไก่(แทนฟ้า) เป็ด (แทนน้ำ ถ้าไม่มีเป็ดก็สามารถใช้ ปลาหมึก หรือ ไข่เป็ด 3 ฟอง ทาสีแดง ก็ได้) 
ภาพที่ 7 ชุดอาหารคาวที่ไหว้บรรพบุรุษ.jpg

ภาพที่ 7 ชุดอาหารคาวที่ไหว้บรรพบุรุษ

         วิธีการไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน
         ลำดับการไหว้เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน โดยจุดธูปทั้งหมด 27 ดอก ไหว้กลางแจ้ง
             1. เทพเทวดาฟ้าดิน (กระถางธูปทองเหลือง)	3  ดอก
             2. ถังข้าวสาร 3 ใบ (ใบละ 1 ดอก)  3  ดอก
             3. โอ่ง 3 ใบ (ใบละ 1 ดอก)  5  ดอก
         ไหว้ในศาลเจ้า
             4. เจ้าพ่อ  3  ดอก
             5. เจ้าแม่  3  ดอก
             6. องศ์ไทส่วย  3  ดอก
             7. เจ้าที่ หรือ ตี่จู่เอี๊ย  5  ดอก
             8. เทพประตู ซ้ายและขวา (อย่างละ 1 ดอก)  2  ดอก
ภาพที่ 6 ภาพสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลเจ้า.jpg

ภาพที่ 8 ภาพสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

ภาพที่ 7 ภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลเจ้า.jpg

ภาพที่ 9 ภาพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

         คำอธิฐานสำหรับการไหว้ภาษาจีนและภาษาไทย
             จีน : เจ็กเตี่ยวเฮีย ป๋อห่อแกมึ้ง ฉุกยิบเผ่งอัง
             ไทย : ขอให้ทุกคนในครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข เดินทางปลอดภัย
             จีน : หยี่เตี่ยวเฮีย ป๋อห่อแกมึ้ง ไฉ่ง้วงกวงจิ่ง
             ไทย : ขอให้ทุกคนในครอบครัวมีโชคลาภเงินทองไหลมาเทมา
             จีน : ซาเตี่ยวเฮีย ป๋อห่อแกมึ้ง ไม๊อู๋เขาจิ
             ไทย : ขอให้ทุกคนในครอบครัวไม่มีเรื่องทะเลาะวิวาท
             จีน : สี่เตี่ยวเฮีย ป๋อห่อแกมึ้ง สี่หึ่งกุ้ยนั้ย เซียวหู
             ไทย : ขอให้ทุกคนในครอบครัวมีผู้อุปถัมภ์ทั้ง 4 ทิศ
             จีน : โหวงเตี่ยวเฮีย ป๋อห่อแกมึ้ง หนั่งนั้งฮะเสีย
             ไทย : ขอให้ทุกคนในครอบครัวคิดสิ่งใดสมความปรารถนาทุกประการ 
ภาพที่ 8 หน้าศาลเจ้าสำหรับไหว้อัญเชิญ.jpg

ภาพที่ 10 หน้าศาลเจ้าสำหรับไหว้อัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

ภาพที่ 11 สถานที่ไหว้อันเชิญเทพเจ้า.jpg

ภาพที่ 11 สถานที่ไหว้อันเชิญเทพเจ้า

         การแสดงภายในงาน
         การแสดงภายในประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานนั้นมีการแสดงอยู่มากมายหลายประเภท อาทิ การแสดงงิ้ว การแห่มังกรและสิงโต นอกจากนั้นแล้วยังมีการแสดงของศิลปินนักร้องอีกมากมายทำให้ประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นจำนวนมาก 
         1. การแสดงงิ้ว หรือที่เรียกว่า “ป่วงเซียง” เป็นการแสดงโดยมีวัตถุเพื่อให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ซึ่งเป็นเทพเจ้าประจำท้องถิ่นได้ชม นอกจากจะแสดงให้กับเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานได้ชมแล้วยังแสดงให้กับประชาชนทั่วไปได้ดูอีกด้วย โดยงิ้วจะเล่นตามเรื่องราวตำนานต่างๆ ของคนจีน ทั้งนี้คณะงิ้วทุกคณะ จะไม่นิยมเล่นเรื่องการเมืองเพราะอาจเกิดทำให้ความแตกแยกในชุมชนได้
ภาพที่ 10 ตัวอย่างการแสดงงิ้ว.jpg

ภาพที่ 12 ตัวอย่างการแสดงงิ้วในประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

         2. การแห่มังกรและสิงโต คือ พิธีศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่งของคนจีน หรือคนไทยเชื้อสายจีน โดยชาวชุมชนที่นับถือนั้น เมื่อมีพิธีการแห่สิงโต มังกร ก็จะนำเทพที่ปั้นขึ้นมาเป็นกายสมมุติ ที่มีอยู่ภายในบ้านออกมาขึ้นเกี้ยวหรือหาม พร้อมมังกร สิงโต และโหล่โก๊ ไปตามบ้านแต่ละหลัง ให้ได้กราบไหว้สักการะ มังกรและสิงโตนั้นคนจีนและคนไทยเชื้อสายจีนเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความมั่งมี มั่งคั่ง ร่ำรวย โชคลาภ เงินทอง ค้าขายร่ำรวย กิจการเจริญรุ่งเรืองและช่วยขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกไป เป็นต้น
ภาพที่ 12 การแสดงมังกรตามความเชื่อของคนไทย.jpg

ภาพที่ 14 การแสดงมังกรตามความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีนในประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน

ภาพที่ 13 การแสดงสิงโตตามความเชื่อของคนไทย.jpg

ภาพที่ 15 การแสดงสิงโตตามความเชื่อของคนไทยเชื้อสายจีน

         3. การแห่เกี้ยวเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานเข้าในตัวบ้าน
         การแห่เกี้ยวหรือการอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานเข้าสู่ตัวบ้านนั้น เป็นความเชื่อและความศรัทธาของคนในชุมชนคลองลานว่า หากมีการอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานเข้าสู่ตัวบ้านและสักการะแล้วนัย้นจะทำให้คนที่อาศัยอยู่ในบ้านนั้น อยู่เย็นเป็นสุข มีแต่ความเจริญรุ่งเรือน ในอดีตเจ้าของบ้านที่จะอัญเชิญเกี้ยวเจ้าพ่อเจ้าแม่เข้าบ้านนั้นจะมีการจัดเตรียมพื้นที่คือ หน้าบริเวณที่สักการะศาลเจ้าที่ที่อยู่ภายในตัวบ้าน นอกกจากนั้นแล้วจะเตรียมพื้นที่ทำเป็นบ่อหรืออ่างสำหรับให้มังกร ลงไปเล่นน้ำ และพ่นน้ำเพราะชาวบ้านความเชื่อว่า เมื่อมังกรได้เล่นน้ำและพ่นน้ำจะทำให้มังกรมีความสุข และมังกรจะอวยพรให้บ้านนั้นอยู่เย็นเป็นสุข ร่ำรวยเงินทองตามไปด้วย แต่ในปัจจุบันจะชาวบ้านส่วนหนึ่งหันมาปรับเปลี่ยนการรับเกี้ยวเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานที่หน้าบ้านแทนในตัวบ้านนั้นเอง 
ภาพที่ 14 ชาวบ้านอัญเชิญเกี้ยว.jpg

ภาพที่ 16 ชาวบ้านอัญเชิญเกี้ยวเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานเข้าบ้านเพื่อสักการะ

         กำหนดการเตรียมงานเจ้าพ่อ – เจ้าแม่คลองลานของทุกๆ ปี
         ประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานในแต่ละปีนั้น จะมีกำหนดการจัดกิจกรรมที่คล้าย ๆ กัน โดยปกติแล้วจะมีการจัดเตรียมงาน 7-8 วัน ก่อนวันงาน โดยคณะกรรมการของศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานจะแบ่งหน้าที่กันเพื่อทำงานในแต่ละวันจนกว่าจะจบงานประเพณีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน โดยในงานประเพณีดังกล่าวนั้นจะมีกิจกรรมหลักๆคือ การเปียของเข้าศาลเจ้าเพื่อใช้ในการจัดงานประเพณี การทำบุญตักบาตรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ศาลเจ้า ขยวนแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานไปตามตลาดและตามบ้านเรือนที่มีความประสงค์จะสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน การจัดโต๊ะในงานเลี้ยง การเตรียมการประมูลสินค้า เป็นต้น

ตารางที่ 1 กำหนดการเตรียมงานเจ้าพ่อ – เจ้าแม่คลองลานของทุก ๆ ปี มีการจัดเตรียมดังนี้

วันที่ เวลา การเตรียมงาน หมายเหตุ
วันที่ 1 09.30 น. จัดของเปียเข้าศาลเจ้าชั่วคราว ฝ่ายบัญชีจัดเจ้าหน้าที่ประจำศาลเจ้า 1 ท่าน ตลอด ช่วงกลางวัน และกลางคืน
วันที่ 2 07.30 น. คณะกรรมการทุกท่านพร้อมกันที่ศาลเจ้าชั่วคราว ห้ามขาดเพราะเป็น มงคลสูงสุด
เพื่อเชิญองศ์เจ้าพ่อ - เจ้าแม่ มาศาลเจ้าชั่วคราว
15.00 น. คณะกรรมการทุกท่านพร้อมกันที่ศาลเจ้าชั่วคราว ห้ามขาดเพราะท่าน ได้ผลบุญเอง
เพื่อขึ้นกงเต็ง และเตรียมการเจริญพุทธมนต์เย็น
วันที่ 3 06.30 น. คณะกรรมการทุกท่านพร้อมกันที่ศาลเจ้าชั่วคราว ขอให้ตรงเวลา เสื้อคุมสีฟ้า
เพื่อทำบุญถวายภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุสงฆ์
และจัดขบวนแห่เจ้าพ่อ - เจ้าแม่คลองลาน
วันที่ 4 06.30 น. คณะกรรมการทุกท่านพร้อมกันที่ศาลเจ้าชั่วคราว ตั้งแต่เวลา 06.30-12.00น.
เพื่อทำพิธีกราบไหว้เจ้าพ่อ - เจ้าแม่คลองลาน
และดูแลคอยอำนวยความสะดวก แก่ผู้มากราบไหว้เจ้าพ่อ-เจ้าแม่
14.00 น. ดูแลการจัดตั้งโต๊ะกินเลี้ยง ที่ศาลเจ้าชั่วคราว เวลากลางคืนเสื้อคอปกสีขาว
และช่วยกันวางแผนจัดของออกประมูล

วันที่ 5-7 09.30 น. จัดส่งของเปียส่ง กรรมการทุกคน วันที่ 8 08.30 น. อัญเชิญเจ้าพ่อ - เจ้าแม่คลองลานกลับศาลเจ้าและ จัดส่งของเปียส่ง (สมพงษ์ พงศ์สุทธิยากร, 2561) นอกจากนั้นแล้ว ภายในงานประเพณีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานยังมีรายละเอียดในการจัดขบวนแห่เกี้ยวเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานทั้งหมด 3 ชุด โดยมีรายละเอียดดังตารางที่ 2 ตารางที่ 2 การจัดขบวนแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่คลองลานตั้งขบวนแห่เวลา 08:00 น. ลำดับที่ ขบวน คณะกรรมการคุมขบวน 1 รถตำรวจนำขบวน ชุดที่ 1 2 วงดุริยางค์ ชุดที่ 1 3 ขบวนเด็กหาบกระเช้าดอกไม้ ชุดที่ 1 4 ป้ายต่างๆ ผ้าสีชมพู ชุดที่ 1 5 ผ้าแดงผูกไม้ไผ่ ชุดที่ 1 6 ป้ายเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน ชุดที่ 2 7 เต็กลั้ง 2 ลูก ชุดที่ 2 8 กระถางธูป เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน ชุดที่ 2 9 องค์เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน ชุดที่ 3 10 มังกรทอง ชุดที่ 3 11 สิงโตกวางตุ้ง ชุดที่ 3 12 สิงโตกวางเจา 4 ตัว ชุดที่ 3 13 สิงโตปักกิ่ง 2 ตัว ชุดที่ 3 14 เอ็งกอ 65 ชีวิต ชุดที่ 3 15 ขบวนประชาชน ชุดที่ 3 16 รถพยาบาลอนามัยคลองลาน ชุดที่ 3 (สมพงษ์ พงศ์สุทธิยากร, 2561)


บทสรุป ประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานนั้น เป็นงานประเพณีที่ถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ประชาชนปละชาวบ้านในอำเภอคลองลานทั้งชาวบ้านเชื้อสายจีนและชาวไทยเชื้อสายอื่นๆที่มีจิตศรัทธาได้มีโอกาสเข้าร่วมสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน ซึ่งถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านในเขตอำเภอคลองลานใช้เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นการกระทำที่เสริมสิริมงคลให้กับตนเองและครอบครัวด้วย นอกจากนั้นแล้วประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานยังเป็นการเสริมสร้างความรัก ความสามัคคีอันดีระหว่างชาวบ้านในเขตอำเภอคลองลาน เนื่องจากเป็นงานประจำปีที่จะต้องอาศัยทั้งกำลังทรัพย์และกำลังแรงงานของชาวบ้านมาช่วยดำเนินกิจกรรมให้งานประจำปีนี้สามารถสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีนั้นเอง (สมพงษ์ พงศ์สุทธิยากร, 2561)

2. ข้อมูลการสำรวจ 2.1 แหล่งอ้างอิง ธนกฤต เสรีรักษ์. (2550, ตุลาคม __). การใช้ไม้เสี่ยงทาย (เช้งปวย) อย่างถูกวิธี. [Online]. Available : http://www.keawkhumkrong.com/articles/50009/1425457531991. (2562, , มีนาคม 28). ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน. (2561, พฤศจิกายน 24). มังกรพ่นไฟ. [Online]. Available : https://www.facebook.com/390093947863975/photos/pcb. (2562, , มีนาคม 28). ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน. (2561, พฤศจิกายน 24). วันแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน. [Online]. Available : https://www.facebook.com/390093947863975/photos/pcb. (2562, , มีนาคม 28). สมพงษ์ พงศ์สุทธิยากร. (2561, กรกฎาคม 21). ประเพณีงานประจำปีสักการะเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน. สัมภาษณ์. Chinatown Yaowarach. (มปป.). ชุดอาหารคาวที่ไหว้บรรพบุรุษ. [Online]. Available : http://www.chinatownyaowarach.com/articles/. (2562, , มีนาคม 28). ___, (2559). ประเภทของประเพณี. [Online]. Available : https://thaicultureandthaitradition.wordpress.com. (2562, มกราคม 30). 2.2 วันเดือนปีที่สำรวจ 5-6 มกราคม 2562 2.3 วันปรับปรุงข้อมูล 23 มีนาคม 2562 2.4 ผู้สำรวจข้อมูล นางสาววีรวรรณ แจ้งโม้ 2.5 คำสำคัญ(Tag) เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน, ประเพณีท้องถิ่น, คลองลาน, กำแพงเพชร