ทอยสะบ้า

จาก KPPStudies
รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:48, 4 เมษายน 2567 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (แหล่งอ้างอิง)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อการละเล่น

         ทอยสะบ้า

ชื่อเรียกอื่น ๆ

         -

ประเภทการละเล่น

         สะบ้าหนุ่มสาว (สะบ้าบ่อน) เป็นการละเล่นที่เน้นความสนุกสนานและสะบ้าช้าง (สะบ้าทอย) ที่เน้นการแข่งขันรู้แพ้รู้ชนะ ส่วนสะบ้ารำเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของชาวมอญบางไส้ไก่เขตธนบุรี กรุงเทพฯ เท่านั้น ซึ่งจะเน้นการรำาโดยมีดนตรีประกอบระหว่างการเล่นสะบ้าสะบ้าบ่อน (สะบ้าหนุ่มสาว) มักจะใช้ลานดินใต้ถุนบ้านเป็นสนามสมัยก่อนบ้านคนมอญมักเป็นบ้าน 2 ชั้นใต้ถุนโปร่งแต่ละหมู่บ้านจะมีการเล่นสะบ้ากันเกือบทุกหลังคาเรือนบ้านที่มีหญิงสาวมักจะมีบ่อนสะบ้าไว้ต้อนรับชายหนุ่มต่างหมู่บ้านหนุ่มสาวหมู่บ้านเดียวกันจะไม่เล่นด้วยกันเด็ดขาด แต่ปัจจุบันจะมีการเล่นเฉพาะบ้านที่มีความพร้อมและได้รับเลือกไว้และส่วนใหญ่จะคล้ายกับการแสดงท่านองการสาธิตมิได้เป็นการละเล่นซึ่งชายหนุ่มหญิงสาวรอคอยมาทั้งปีเพื่อโอกาสในการพบปะและสานสัมพันธ์ต่อกัน (พิพิธภัณฑ์เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย, 2564)

โอกาสที่ใช้การละเล่น

         เทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ 

ผู้คิดค้น

         -

สถานที่จัดกิจกรรม

         บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ข้อมูลการละเล่น

ประวัติความเป็นมา

         ความเป็นมาของการละเล่นทอยสะบ้า เป็นการละเล่นของชาวปกาเกอะญอโดยมักเล่นกันในช่วงสงกรานต์ การเล่นสะบ้าแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ สะบ้าทอย และสะบ้าบ่อน แต่เดิมนั้นในตำบลเจ็ดริ้วนั้น มักเล่นสะบ้าบ่อนเป็นส่วนใหญ่ โดยชาวบ้านจะนัดและตกลงกันว่า การเล่นสะบ้าจะเล่นที่บ้านของผู้ใดจะให้ผู้นั้นเป็นเจ้าของบ่อน ส่วนชาวบ้านคนอื่น ๆ จะช่วยกันออกเงินคนละ 5 บาทบ้าง 10 บาทหรือตามกำลังเพื่อเป็นเงินกองกลางให้กับเจ้าของบ่อนเป็นค่าตกแต่งบ่อน เช่น การประดับธงราวบ้าง ลูกมะหวดแขวน ประดับบ้าง ตลอดจนเป็นค่าข้าวต้มเลี้ยงคนที่มาเล่นสะบ้า แต่เดิมการเล่นสะบ้า นิยมเล่น ในหมู่หนุ่ม สาว เพื่อทำความรู้จักกันหลังจากเสร็จงาน ในตอนกลางวัน ครั้นถึงเวลาค่ำ จะมีการนัดเล่นบริเวณลานบ้านที่บ้านของคนที่เป็นเจ้าของบ่อน (ยุวดี ศรีห้วยยอด, 2564) รูปแบบการละเล่นทอยสะบ้า แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละกี่คนก็ได้ เท่าจำนวนลูกสะบ้าที่ตั้งไว้ด้านหน้าของผู้เล่นแต่ละฝ่าย ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายยืนห่างกันประมาณ 3 เมตร กติกา คือ ผู้เล่นต้องทอย หรือโยนลูกสะบ้าในมือของตน ให้ไปตีลูกสะบ้าที่ตั้งไว้ด้านหน้าฝ่ายตรงข้ามให้ล้มระเนระนาดไป ฝ่ายไหนทำให้ลูกสะบ้าของฝ่ายตรงข้ามล้มได้หมดก่อน ถือเป็นฝ่ายชนะ สิ่งที่ได้จากการละเล่นทอยสะบ้า คือ ผู้เล่นได้ฝึกความแม่ยำ มีสมาธิ มีความตั้งใจที่จะทอยสะบ้า ที่มีลักษณะ บางลูกกลม บางลูกรี หรือเบี้ยว ทำให้ไม่เที่ยง ควบคุมทิศทางได้ยาก เกิดการผิดพลาดได้ง่าย ส่วนผู้ชมก็สนุกสนาน มีการแสดงความรู้สึกดีใจ เสียใจ แต่ที่สำคัญการละเล่นทอยสะบ้าเป็นวัฒนธรรมที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวปะกากะญอมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ ดังนั้น จึงเป็นที่น่าภาคภูมิใจที่เด็กรุ่นใหม่ของบ้านกะเหรี่ยงน้ำตก ยังมีโอกาสได้สัมผัสความสนุกสนานของการละเล่นชนิดนี้ (Kainui, 2555)

อุปกรณ์ประกอบ

         1. ลูกสะบ้า
         2. ไม้กระดาน

วิธีการเล่น

         การละเล่นทอยสะบ้า แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละกี่คนก็ได้ เท่าจำนวนลูกสะบ้าที่ตั้งไว้ด้านหน้าของผู้เล่นแต่ละฝ่าย ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายยืนห่างกันประมาณ 3 เมตร กติกา คือ ผู้เล่นต้องทอย หรือโยนลูกสะบ้าในมือของตน ให้ไปตีลูกสะบ้าที่ตั้งไว้ด้านหน้าฝ่ายตรงข้ามให้ล้มระเนระนาดไป ฝ่ายไหนทำให้ลูกสะบ้าของฝ่ายตรงข้ามล้มได้หมดก่อน ถือเป็นฝ่ายชนะ (Kainui, 2555)

กฎกติกา/มารยาท

         แบ่งผู้เล่นหรือผู้แข่งขันออกเป็น 2 ฝ่าย แต่ละฝ่ายมีลูกสะบ้าคนละ 20 ลูกเท่ากัน ตั้งเป็นลูกเป้า (ดีบ) บนพื้นสนามฝ่ายตรงข้าม 10 ลูก ลูกยิง (โกย) ในมือของผู้ยิง 10 ลูก ผลัดกันดีดลูกยิงของตนให้โดนลูกเป้าของอีกฝ่าย ใครดีดถูกลูกเป้าฝ่ายตรงข้ามล้มหมดก่อนจะเป็นฝ่ายชนะในเกมนั้น ๆ (องค์ บรรจุน, 2565)

ระยะเวลา

         เล่นตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน เป็นต้นไป มีกำหนด 3 วัน 7 วัน หรือ 15 วัน

ข้อมูลผู้เล่น

เพศผู้เล่น

         เพศหญิงและเพศชาย

จำนวนผู้เล่น

         ไม่กำหนดจำนวนผู้เล่น

ลักษณะผู้เล่น

          -

การแต่งกายของผู้เล่น

         เสื้อพื้นเมืองทั่วไป 

ข้อมูลการสำรวจ

แหล่งอ้างอิง

พิพิธภัณฑ์เทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย. (22 พฤศจิกายน 2564). สะบ้า (Saba). https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02ZTs9VUCJnkCiJzqfbdibojZK5onZT6RMfPhnfgvTA8T1gfkhosWgVz55yPRkneS8l&id=109206644570885&locale=cy_GB
ยุวดี ศรีห้วยยอด. (18 มิถุนายน 2564). การเล่นสะบ้า. คลังข้อมูลชุมชน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). https://communityarchive.sac.or.th/blog/119
องค์ บรรจุน. (2565). สะบ้า  :  เกมกีฬาของมอญ เขมร และอื่น ๆ. ศิลปะวัฒนธรรม SILPA-MAG.COM. https://www.silpa-mag.com/culture/article_10854
Kainui. (12 ตุลาคม 2555). การละเล่นทอยสะบ้า บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. http://www.m-culture.in.th/album/164096/การละเล่นทอยสะบ้า_บ้านกะเหรี่ยงน้ำตก
Sanook. (ม.ป.ป.). สะบ้า. https://www.sanook.com/dictionary/dict/dict-th-en-sedthabut/search/สะบ้า/

วันเดือนปีที่สำรวจ

         21 ธันวาคม 2566

วันปรับปรุงข้อมูล

         -

ผู้สำรวจข้อมูล

         พรลดา พิมพ์แปลก
         ชฎาพร ฉัตรธรรม
         ณัฏฐ์ธิดา เทศวัง
         พันธ์นภา ทองเนตร
         วินิจสา รักษ์พงษ์
         น้องทราย ใจดี

คำสำคัญ (tag)

         ลูกสะบ้า เป็นชื่อไม้เถาชนิด Entada rheedii Spreng. ในวงศ์ Mimonaceae ฝักขอบขนานแบน มีเมล็ดกลมแบนแข็ง เรียกว่า ลูกสะบ้า ใช้ขัดสมุดไทย ทำยาได้ และเป็นชื่อการเล่นอย่างหนึ่งตามประเพณีของชาวมอญ ใช้ลูกสะบ้า หรือของที่มีลักษณะกลม ๆ ล้อ หรือทอยให้ล้ม (Sanook, ม.ป.ป.)