เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว
เนื้อหา
บทนำ
งานเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกําแพงเพชร เป็นงานมหกรรมอาหารพื้นบ้านของจังหวัดกำแพงเพชร ที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบันเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับประชาชนและสร้างภาพลักษณ์ในอัตลักษณ์ด้านการกินอาหารเส้นของจังหวัดกำแพงเพชร โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาของเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว 2) ความสำคัญของเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว
คำสำคัญ: มหกรรมอาหารพื้นบ้าน, เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว, เที่ยวเมืองกำแพงเพชร
ประวัติความเป็นมาของเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว
ก๋วยเตี๋ยวเกิดขึ้นเริ่มต้นมาจากจีน แต่เป็นแค่ข้อสันนิษฐานจากหนังสืออิลมีลีโอเน หรือ บันทึกการเดินทางของมาโค โปโล ที่ได้กล่าวถึง เส้น (Common team, 2561)
ภาพที่ 1 Il Milione บันทึกการเดินทางของมาโค โปโล
(Common team, 2561)
โดยเริ่มต้นในราชวงศ์ ช่วง 200 ปี ยุคที่จีนเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับเอเชียกลาง และตอนนั้นก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่ได้รับความนิยม ต่อมาสมัยราชวงศ์ซ่ง ก๋วยเตี๋ยวนั้นได้มีการแพร่หลายกว่าเดิม โดยว่ากันว่าเมืองจีนในสมัยราชวงศ์ซ่ง ค.ศ 960-1279 ได้ตั้งร้านก๋วยเตี๋ยวอยู่ทั่วไป ทำให้ก๋วยเตี๋ยวจึงได้เป็นอาหารที่สามารถรับประทานได้ง่ายในชีวิตประจำวัน สมัยนั้นเป็นการปกครองภายใต้อาณาจักรสุโขทัยและนั้นคือจุดเริ่มต้นของ “ก๋วยเตี๋ยว” ในประเทศไทย มีหลักฐานการค้าขายกับประเทศจีนจริง ก๋วยเตี๋ยวจึงอาจเข้ามาในสมัยนั้น แต่ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนพอ และตอนนั้นอาหารหลักของคนไทย คือ ข้าว (มาลี เพชรพิพัฒน์, 2552) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า ก๋วยเตี๋ยวเริ่มต้นมาจากจีน ในราชวงศ์ซ่ง ซึ่งอยู่ในสมัยสุโขทัยที่เป็นจุดเริ่มต้นของ “ก๋วยเตี๋ยว” ในประเทศไทย แต่หลักฐานนั้นยังไม่ชัดเจนพอ สมัยนั้นคนไทยนั้นยังไม่นิยมกินก๋วยเตี๋ยว เพราะคนนิยมทานข้าวมากกว่าทานก๋วยเตี๋ยวเพราะข้าวในสมัยนั้นคืออาหารหลักของคนไทย
ภาพที่ 2 ข้าวสวย
(มาลี เพชรพิพัฒน์, 2552)
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เห็นไปในทางเดียวกัน คือสมัยอยุธยา ยุคสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ค.ศ 1656-1688 ได้มีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับก๋วยเตี๋ยวข้อแรก คือ การเข้ามาในสมัยพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากมีการค้าขายกับต่างชาติ จีนก็เข้ามาในช่วงนั้นด้วย อีกทั้งยังได้ชื่อว่าเป็นยุครุ่งเรืองของอาหาร ส่วนก๋วยเตี๋ยวนั้นเป็นเพียงคำบอกเล่ามาจากพ่อค้าจีนที่นำบะหมี่มาต้มกิน คนไทยจึงได้รู้จักกับอาหารประเภทบะหมี่ แต่ตอนนั้นไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน (มาลี เพชรพิพัฒน์, 2552) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า ทางประวัติศาสตร์ ในสมัยอยุธยาได้มีข้อสัณนิฐานในเรื่องของการเกิดขึ้นมาของก๋วยเตี๋ยว ว่ามีความเป็นไปว่า คนไทยอาจจะรู้จักเส้นบะหมี่เพราะพ่อค้าจีนได้มีการนำบะหมี่มาต้มกิน แต่หลักฐานนั้นยังไม่ชัดเจนพอ
ภาพที่ 3 ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว
(ยุวดี ศิริ, 2558)
ส่วนอีกข้อสันนิษฐานคือ เข้ามาหลังจากช่วงปลายอยุธยา ที่ได้ตัดความสัมพันธ์กับต่างชาติตะวันตก หลังจากนั้นจีนได้เริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น ประกอบกับความชัดเจนในบันทึกที่เกี่ยวกับเส้นบะหมี่ จึงได้ข้อสันนิฐานว่า ก๋วยเตี๋ยวมาจากจีนและเป็นคนจีนนั้นเองที่เป็นคนเริ่มสัมผัสกับก๋วยเตี๋ยว และจีนได้ก่อตั้งรกรากในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา (มาลี เพชรพิพัฒน์, 2552) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า จากข้อสันนิฐานอีกข้อ คนไทยรู้จักก๋วยเตี๋ยวเพราะคนจีนเป็นคนนำเข้ามาให้คนไทยได้สัมผัสกับก๋วยเตี๋ยว เพราะตอนนั้นคนจีนเริ่มมีอิทธิมากขึ้น จึงทำให้คนจีนได้มีการมาตั้งถิ่นฐานที่ประเทศไทยในช่วงสมัยอยุธยา
ภาพที่ 4 บันทึกเรื่องอาหารชาวสยามในหนังสือ Du Royaume de Siam ของลาลูแบร์
(Common team, 2561)
ต่อมายุคหลังสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนเกิดการปฏิรูปประเทศสมัยรัชกาลที่ 5 มีการพบหลักฐานที่กล่าวถึงการกินเส้นก๋วยเตี๋ยวของไทย ปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดาวกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 4 กล่าวถึงเหตุการณ์เมื่อ “พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคต มีผู้สงสัยว่าทรงพระประชวรด้วยมีผู้ลอบกระท้าคุณไสย ในพระกระยาหารที่เรียกว่า แกงก๋วยเตี๋ยว” และก็ไม่ได้มีการพูดถึงอาหารประเภทเส้นอีกเลย (มาลี เพชรพิพัฒน์, 2552) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า สมัยในช่วงรัชกาลที่ 5 มีการพบหลักฐานว่ามีการกินเส้นก๋วยเตี๋ยวของคน แต่สมัยรัชกาลที่ 4 ไม่ได้มีการพูดถึงเส้นก๋วยเตี๋ยวปรากฏขึ้น เพราะเนื่องจากว่า “พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคต มีผู้สงสัยว่าทรงพระประชวรด้วยมีผู้ลอบกระท้าคุณไสย ในพระกระยาหารที่เรียกว่า แกงก๋วยเตี๋ยว” จึงทำให้ไม่ปรากฏอาหารประเภทเส้น
ภาพที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ไทยโพสต์, 2564)
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรว่า “ทรงโปรดหมี่กรอบและหมี่ผัด” เป็นสูตรที่คนจีนคิดค้นเพื่อให้ถูกลิ้นคนไทย และสมัยนั้นคนไทยเริ่มหันมาสนใจนิยมอาหารประเภทเส้นมากขึ้น รายการอาหารประเภทเส้นก็เพิ่มขึ้นมากมาย (กาญจนา จันทร์สิงห์, 2565) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดหมี่กรอบและหมี่ผัด เพราะคนจีนนั้นคิดค้นสูตรมาเพื่อถูกปากคนไทย เลยทำให้คนไทยสนใจอาหารประเภทเส้นมากขึ้น
ภาพที่ 6 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2548)
ต่อมาในสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นคนที่ทำให้ก๋วยเตี๋ยวแพร่หลายไปทั่วประเทศไทย เล่าย้อนความในช่วงที่ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะข้าวยากหมากแพง เกิดจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงทำให้เศรษฐกิจตกเหมือนช่วงสงครามโควิด 19 ทำให้จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ออกนโยบายรัฐนิยมที่สนับสนุนให้คนไทยหันมากินก๋วยเตี๋ยว เพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับคนไทยได้กินอาหารราคาถูก มีคุณค่าต่อสุขภาพและที่สำคัญคือ อยากให้คนไทยหันมาทำอาชีพค้าขายมากขึ้น เพราะสมัยนั้นคนไทยไม่นิยมค้าขาย จึงทำให้การค้าขายตกไปอยู่ในกำมือของคนจีน และได้มีการแจกรถให้เร่ขาย ตั้งชื่อว่า “ก๋วยเตี๋ยวสามัคคีชัย” ตามชื่อของทำเนียบรัฐบาลตอนนั้น โดยสูตรก๋วยเตี๋ยวสามัคคีชัย จะใส่ถั่งงอกแทนผักจีน เพราะถั่งงอกเพาะง่ายจากถั่วเขียว (กาญจนา จันทร์สิงห์, 2565) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงข้าวยากหมากแพง จึงทำให้มีการตั้งนโยบายรัฐนิยมเพื่อสนับสนุนให้คนไทย หันมาสนใจกินก๋วยเตี๋ยว เพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสริมให้คนไทยกินอาหารราคาถูก ที่ดีต่อสุขภาพ
ภาพที่ 7 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม
(Tattharit Rathee, 2554)
ต่อมาสมัยจอมพล แปลก ได้มีการเริ่มพัฒนาเป็นบะหมี่ชากังราว จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อสนับสนุนให้คนไทยกินก๋วยเตี๋ยวมากขึ้น สมัยสงครามครั้งที่ 2 มีชื่อร้านก๋วยเตี๋ยวที่มีชื่อเสียง คือ ร้านเจ๊กเท่ง ร้านเจ๊กฮ้อ และร้านเจ๊กเซี้ยง ซึ่ง “บะหมี่ชากังราว” เป็นบะหมี่ชั้นหนึ่งคู่เมืองจังหวัดกำแพงเพชร และปัจจุบันได้มีการจัดเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว ประจำเดือนธันวาคมของต้นเดือน เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดกำแพงเพชร (ชมนำพา, 2562) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า จอมพล แปลก ได้มีการพัฒนาบะหมี่ชากังราว ของจังหวัดกำแพงเพชรขึ้น และปัจจุบันได้มีการจัดเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยวขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดกำแพงเพชร
ภาพที่ 8 บะหมี่ชากังราว
(ชมนำพา, 2562)
ภาพที่ 9 บะหมี่ชากังราว
(ชมนำพา, 2562)
จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก UNESCO เป็นมรดกโลกคือ อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยม อีกเรื่องที่สำคัญคือ อาหารการกิน หอการค้าจังหวัดกำแพงเพชรจึงได้จัดงาน เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยวเที่ยวเมืองกำแพงเพชรขึ้น เรียกสั้นๆว่า “งานก๋วยเตี๋ยว” จัดครั้งแรก เมื่อวันที่ 3-5 ธันวาคม 2542 ในปีที่ประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อแรงงานที่อยู่ในภาคอุสาหกรรม ภาคบริการถูกเลิกจ้าง ทำให้นายพิทักษ์ ประธานหอการค้า ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมนี้ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของจังหวัด ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี 2560-2564 เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร ปี พ.ศ.2560 จัดขึ้นวันที่ 1-3 ธันวาคม ณ ลานอนุรักษ์วัฒนธรรม ถนนเลียบแม่น้ำปิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การออกร้านจำหน่ายอาหารและก๋วยเตี๋ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเลือกได้ตามใจชอบ รวมทั้งมีการออกร้านจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งในจังหวัดกำแพงเพชรมีร้านก๋วยเตี๋ยวอร่อยๆ หลายร้านที่อร่อยแบบไม่ต้องเติมเครื่องปรุงอีกด้วย ต่อมาปี พ.ศ.2561 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2561 ที่ลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยสิริจิตอุทยานริมแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยปี 2561 มีการจัดแสดงจากโรงเรียนเทศบาล 1 เกริกกฤตยาอุปถัมภ์ โรงเรียนเทศบาล 2 วัดทุ่งสวน และการแสดงของเด็กนักเรียน ว.ธวิชการดนตรี และวงดนตรีของเด็กนักเรียนโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม ร่วมสร้างสรรค์บนเวทีให้ความบันเทิงกับผู้ที่มาร่วมงาน ต่อมาปี พ.ศ.2562 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2562 ที่ลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยสิริจิตอุทยาน ริมแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยภายในงานมีการแสดงจากนักโรงเรียนปัทมดรุณวิทย์ ร่วมสร้างสรรค์บนเวทีให้ความบันเทิงกับผู้ที่มาร่วมงาน และร้านอาหารที่หลากหลายมาเปิดบริการให้ชิมกันถึงที่เกือบทุกชนิด และอาหารประเภทอื่นๆอีกมากมาย ต่อมาปี พ.ศ. 2563 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-13 ธันวาคม 2563 ณ บริเวณหน้าลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตอุทยาน ริมแม่น้ำปิง โดยภายในงานจะพบกับซุ้มจำหน่ายอาหารพื้นบ้าน อาหารนานาชนิด การแสดงจากสถาบันการศึกษา โรงเรียนต่างๆ การประกวดวงดนตรีเยาวชน และกิจกรรมอื่นๆ และปี พ.ศ. 2564 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2564 - 5 ธันวาคม 2564 ณ ลานวัฒนธรรมสิริจิตรอุทยาน ริมแม่น้ำปิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โดยภายในงานประกอบด้วยการออกร้านจำหน่ายก๋วยเตี๋ยวจากร้านที่มีชื่อเสียงในจังหวัดกำแพงเพชร ผลิตภัณฑ์ OTOP ขึ้นชื่อ และการแสดงจากเยาวชนในจังหวัดกำแพงเพชร อีกทั้ง ยังเป็นการช่วยส่งเสริมประชาสัมพันธ์ การท่องเที่ยวในจังหวัด ให้เป็นที่รู้จักให้มากขึ้น เพราะก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารจานด่วนและเป็นที่นิยมของคนกำแพงเพชรอีกด้วย (วิทยา จตุรภาค, 2562) จากข้อมูลข้างต้นผู้เขียนสรุปได้ว่า จังหวัดกำแพงเพชร ได้มีการจัดเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยวขึ้นทุกปีของต้นเดือนธันวาคม โดยภายในงานแต่ละปีก็จะมีการออกร้านจำหน่ายก๋วยเตี๋ยวจากร้านที่มีชื่อเสียงในจังหวัดกำแพงเพชร ผลิตภัณฑ์ OTOP ขึ้นชื่อ และการแสดงจากเยาวชนในจังหวัดกำแพงเพชรของทุกปี โดยสถานทีในการจัดเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยวของทุกปีก็จะเป็น ณ ลานวัฒนธรรมสิริจิตรอุทยาน ริมแม่น้ำปิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร ของจังหวัดกำแพงเพชร โดยการจัดเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยวมีจุดประสงค์ขึ้นเพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชร และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด ภายใต้ชื่อ “เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว”
ภาพที่ 10 เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยวเที่ยวเมืองกำแพง ครั้งที่ 19
(สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 2561)
ภาพที่ 11 เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยวเที่ยวเมืองกำแพง ครั้งที่ 12
(TimeNews, 2565)
ความสำคัญเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว
จุดประสงค์หลักที่มีการจัดเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยวขึ้นเป็นประจำทุกเดือนธันวาคม เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชร และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในจังหวัดกำแพงเพชร โดยมหกรรมอาหารพื้นบ้านหรือเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เป็นอาหารจานด่วนยอดนิยมของคนจังหวัดกำแพงเพชร ทั้งยังขึ้นชื่อในเรื่องของ ก๋วยเตี๋ยวชากังราว ก๋วยเตี๋ยวไก่ ก๋วยเตี๋ยวโบราณ ผัดไท และอาหารพื้นบ้านอื่นๆ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้กับคนในของจังหวัดกำแพงเพชรได้มีการโชว์ฝีมือการทำก๋วยเตี๋ยวขึ้นชื่อของจังหวัด และสินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร และยังเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนจังหวัดอื่น ได้มาออกร้านเพื่อเป็นการโชว์สินค้าขึ้นชื่อของจังหวัดตนเองด้วย จึงทำให้เกิดมหกรรมอาหารพื้นบ้าน เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยวเที่ยวเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ขึ้นเป็นประจำทุกต้นเดือนธันวาคมของแต่ละปี ภายในงานก็จะประกอบด้วยการแสดงของนักเรียนและนักศึกษา อาหารพื้นบ้านของจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดอื่นๆและร่วมไปถึงก๋วยเตี๋ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เลือกตามใจชอบได้เลย
ภาพที่ 12 มหกรรมอาหารพื้นบ้าน เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยวเที่ยวเมืองกำแพงเพชร
(วิทยา จตุรภาค, 2562)
บทสรุป
จากการศึกษาเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพงเพชร วัตถุประสงค์ที่ 1) ประวัติความเป็นมาเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว พบว่า ก๋วยเตี๋ยวเริ่มต้นมาจากจีน ในราชวงศ์ซ่ง ซึ่งอยู่ในสมัยสุโขทัยที่เป็นจุดเริ่มต้นของ “ก๋วยเตี๋ยว” ในประเทศไทย และได้มีข้อสัณฐานในเรื่องของการเกิดมาขึ้นมาของก๋วยเตี๋ยว ว่ามีความเป็นไปว่า คนไทยอาจจะรู้จักเส้นบะหมี่ เพราะพ่อค้าจีนได้มีการนำบะหมี่มาต้มกิน แต่หลักฐานนั้นยังไม่ชัดเจนพอ ต่อมาจากข้อสันนิฐานอีกข้อ คนไทยรู้จักก๋วยเตี๋ยวเพราะคนประเทศจีนเป็นคนนำเข้ามาให้คนไทยได้สัมผัสกับก๋วยเตี๋ยว เพราะตอนนั้นคนจีนเริ่มมีอิทธิมากขึ้น จึงทำให้คนจีนได้มีการมาตั้งถิ่นฐานที่ประเทศไทย แต่สมัยนั้นคนไทยนั้นยังไม่นิยมกินก๋วยเตี๋ยว เพราะคนไทยนิยมทานข้าวมากกว่าทานก๋วยเตี๋ยว เนื่องจากข้าวในสมัยนั้นคืออาหารหลักของคนไทย ต่อมาในช่วงรัชกาลที่ 5 มีการพบหลักฐานว่ามีการกินเส้นก๋วยเตี๋ยว แต่สมัยรัชกาลที่ 4 ไม่ได้มีการพูดถึงเส้นก๋วยเตี๋ยวปรากฏขึ้น แต่รัชกาลที่5 ทรงโปรดหมี่กรอบและหมี่ผัด เพราะคนจีนนั้นคิดค้นสูตรมาเพื่อถูกปากคนไทย เลยทำให้คนไทยสนใจอาหารประเภทเส้นมากขึ้น พอเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ได้มีการเกิดข้าวยากหมากแพง จึงทำให้มีการตั้งนโยบายรัฐนิยมเพื่อให้คนไทยหันมาสนใจกินก๋วยเตี๋ยว เพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสริมให้คนไทยกินอาหารราคาถูก ที่ดีต่อสุขภาพ ต่อมาจอมพลแปลก ได้มีการพัฒนาบะหมี่ชากังราว ของจังหวัดกำแพงเพชรขึ้น จนทำให้มีชื่อเสียงและปัจจุบันได้มีการจัดเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยวขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัดกำแพงเพชร โดยได้มีการจัดขึ้นทุกปีของต้นเดือนธันวาคม ภายในงานแต่ละปีก็จะมีการออกร้านจำหน่ายก๋วยเตี๋ยวจากร้านที่มีชื่อเสียงในจังหวัดกำแพงเพชร ผลิตภัณฑ์ OTOP ขึ้นชื่อ และการแสดงจากเยาวชนในจังหวัดกำแพงเพชรของทุกปี วัตถุประสงค์ที่ 2) ความสำคัญเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว พบว่า ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารจานด่วนที่ยอดนิยมของคนจังหวัดกำแพงเพชร และยังขึ้นชื่อในเรื่องของ ก๋วยเตี๋ยวชากังราว ก๋วยเตี๋ยวไก่ ก๋วยเตี๋ยวโบราณ ผัดไท และอาหารพื้นบ้าน ในจุดประสงค์หลักที่มีการจัดเทศกาลกินก๋วยเตี๋ยวขึ้นเป็นประจำทุกเดือนธันวาคม เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดกำแพงเพชร และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายใต้ชื่อ “เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว”
บรรณานุกรม
กาญจนา จันทร์สิงห์. (21 มิถุนายน 2565). บะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร. ฐานข้อมูลท้องถิ่น จังหวัดกำแพงเพชร-ตาก. https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2110&code_db ชมนำพา. (3 มีนาคม 2562). ถวิลหา ‘บะหมี่ชากังราว’ บะหมี่ชั้นหนึ่งคู่เมืองกำแพง. มติชนออนไลน์. https://www.matichon.co.th/lifestyle/food-travel/news_1389513 ไทยโพสต์. (16 มิถุนายน 2564). พ.ศ. 2408: มีคนปล่อยข่าวลือว่ารัชกาลที่สี่เป็นกษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์. ไทยโพสต์. https://www.thaipost.net/main/detail/106585 มาลี เพชรพิพัฒน์. (2 มกราคม 2552). บะหมีเซี้ยงชากังราว. Gotoknow. https://www.gotoknow.org/posts/233110 ยุวดี ศิริ. (2558). ถนนเส้นก๋วยเตี๋ยว. สำนักพิมพ์มติชน. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (7 มีนาคม 2548). พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. https://th.wikipedia.org/wiki/พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วิทยา จตุรภาค. (2 ธันวาคม 2562). กำแพงเพชร-เปิดงาน "มหกรรมอาหารพื้นบ้าน เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยว เที่ยวเมืองกำแพง" ครั้งที่ 20 (มีคลิป). Vsport. https://www.vsportkamphaeng.com/post/7059 สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (3 ธันวาคม 2561). เทศกาลกินก๋วยเตี๋ยวเที่ยวเมืองกำแพง ครั้งที่ 19. https://acc.kpru.ac.th/main/?page_id=141&lang=TH Common team. (15 ตุลาคม 2561). ตามรอยเส้น กว่าจะมาเป็น ‘ก๋วยเตี๋ยว’ ตอนที่ 1: คนไทยกิน ‘เตี๋ยว’ ตั้งแต่เมื่อไหร่?. https://becommon.co/culture/noodle-history-1/#accept Tattharit Rathee. (25 กรกฎาคม 2554). จอมพล แปลก พิบูลสงคราม. Google Sites. https://sites.google.com/site/doqfiqht/home/cxmphl-paelk-phibul-sngkhram TimeNews. (9 ธันวาคม 2565). ยกทัพรับลมหนาว!!อาหารพื้นบ้าน กินก๋วยเตี๋ยวเที่ยวเมืองกำแพง. https://timenews.in.th/2022/12/09/102146