ฐานข้อมูล เรื่อง ต้นทับทิมกับฮวงจุ้ยแบบไทยๆ

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อทางพฤกษศาสตร์

         ทับทิมมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Punica granatum L.วงศ์ Punicaceae ภาษาอังกฤษ เรียก Pomegranate ภาคเหนือทั่วไปเรียก มะกอ ชาวน่านเรียก มะก่องแก้ว ชาวแม่ฮ่องสอน เรียก หมากจัง ชาวหนองคาย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เรียก พิลา ชาวจีนเรียก เซี๊ยะลิ้ว ชาวสเปนเรียก Granada ส่วนชาวอินเดียเรียก Darim (โชติอนันต์ และคณะ, 2551)

ต้นกำเนิดของต้นทับทิม

         ทับทิมมีถิ่นกำเนิดบริเวณรอยต่อของเอเชียตะวันตกกับตอนบนของเอเชียใต้ คือบริเวณ ตะวันออกของประเทศอิหร่าน ทางตอนใต้ของอัฟกานิสถานและทางตอนเหนือของเทือกเขา หิมาลัย ทับทิมคงเป็นพืชที่ได้รับความนิยมมากว่าพันปีแล้ว จึงมีการปลูกแพร่กระจายออกไปทั้งใน เขตร้อน (tropical) และกึ่งร้อน (Sub-tropical) ของทวีปเอเชีย ยุโรป รวมทั้งในทวีปแอฟริกา ด้วย (คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก, 2549) 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

         ทับทิมเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ 4-6 เมตร ทรงพุ่มโปร่ง มีหนามแหลมตามกิ่ง ก้าน ใบเดี่ยวขนาดเล็ก รูปใบยาวปลายแหลม ยาว 3-4 เซนติเมตร ดอกสีแดงหรือสีขาว ผล ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 เซนติเมตร เมื่อแก่จัดเปลือกผลสีเหลืองอมแดงหรือ น้ำตาลอมส้ม ผิวมักแตกออกเห็นเมล็ดใสอยู่ภายในมากมาย เมล็ดมีเนื้อใสสีแดงหรือสีชมพูหุ้มอยู่ แยกแต่ละเมล็ด เนื้อทับทิมมีน้ำมาก รสหวานหรือเปรี้ยวอมหวาน ส่วนที่เรียกทับทิมหนูเป็นทับทิม เช่นกันแต่ต่างสายพันธุ์ สูงเต็มที่ไม่เกิน 120 เซนติเมตร มีดอกสีแดงตลอดปี นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
         ส่วนประกอบของต้นทับทิม
         ทับทิมจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กที่มีอายุยืนกว่า 100 ปี นอกจากเป็นไม้มงคลแล้ว ต้น ทับทิมยังถือว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ ที่มีคุณประโยชน์และให้สรรพคุณทางยามากมายที่ดีต่อ ร่างกาย (วชิรพงศ์ หวลบุตตา, 2542)
              ลักษณะของลำต้น
              ทรงพุ่มสูงประมาณ 2-4 เมตร แตกกิ่งก้านตั้งแต่ด้านล่างต้นไล่เรียงลำดับขึ้นไป ลำต้นแข็ง และเหนียว เปลือกลำต้นมีลักษณะบาง มีสีเทามันเงา และติดแน่นกับแก่นไม้ กิ่งอ่อนและยอดมี ลักษณะทรงเหลี่ยมและมีหนาวยาวแต่ไม่คม
ต้นทับทิม.jpg
              ราก
              ระบบรากของต้นทับทิมที่ขยายพันธุ์จากเมล็ดมีทั้งรากแก้ว  และรากฝอยส่วนต้นที่ถูกขยายพันธุ์ด้วยการตอนจะมีเพียงระบบรากฝอยเท่านั้น
รากของต้นทับทิม.jpg
              ใบ
              ลักษณะของใบเป็นใบเลี้ยงคู่ เรียวยาวเหมือนหอก ปลายใบแหลม มีสีเขียวเข้มและมันวาว มองเห็นเส้นใบชัดเจน แทงออกจากกิ่งอ่อนวนสลับกัน มีขนาดกว้างประมาณ 1 ซม. และยาวประมาณ 2-6 ซม..
ใบของต้นทับทิม.jpg
              ดอก
              ช่อดอกทับทิมจะประกอบด้วยดอกทับทิม 3-5 ดอก หรือออกเดี่ยว ๆ จะแทงออกตาม ปลายยอดหรือง่ามกิ่ง ขนาดประมาณ 2-3 ซม. เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ประกอบด้วย กลีบเลี้ยง ลักษณะคล้ายหม้อและกลีบดอก 6 กลีบ ให้ดอกหลายสี และบานประมาณ 2 วัน
ดอกของต้นทับทิม.jpg
              ผล
              ลักษณะของผลทับทิมจะมีเปลือกหนา มีผิวมันวาว เมื่อแก่จัดจะมีสีแดงอมชมพูหรือแดง เข้ม เนื้อด้านในจะขยายตัวจนทำให้เปลือกด้านนอกปริแตกได้ ส่วนเนื้อหุ้มเมล็ดเป็นทรงเหลี่ยม เนื้อฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว เมื่อยังไม่สุกเนื้อจะออกสีขาวอมชมพู และเปลี่ยนเป็นสีแดงก่ำเมื่อ สุกเต็มที่ ในเนื้อมีเมล็ดยาวรีสีน้ำตาลอ่อน
ผลของต้นทับทิม.jpg
         ประโยชน์ของต้นทับทิม
         ผลทับทิมใช้รับประทานเป็นผลไม้มีรสหวานหรือเปรี้ยวอมหวานทับทิมเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพน้ำทับทิมมีวิตามินซีสูงและยังมีสารเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่สูง เหมาะสำหรับการดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกายน้ำทับทิมมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดและมีประสิทธิภาพสูงมากสามารถลดภาวะการ แข็งตัวของเลือดจากไขมันในเลือดสูง บรรเทาโรคโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง ช่วยเพิ่มพลังและ ความงาม ดื่มน้ำทับทิมคั้นวันละแก้วจะช่วยส่งเสริมการทำงานของหลอดเลือด ลดการแข็งตัวของ หลอดเลือดแดงและช่วยเสริมสุขภาพของหัวใจให้ดีขึ้นเปลือกทับทิมรักษาโรคท้องเดินและโรคบิด
         เปลือกทับทิม
         จากการศึกษาวิจัยพบว่าในเปลือกทับทิมมีสารในกลุ่มแทนนินสูง 22-25% โดย ประกอบด้วยสารแทนนินในกลุ่ม มี Gallotannin เปลือกทับทิมตากแห้งใช้เป็นยาแก้ท้องเดินและ โรคบิดได้[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ยังพบสารแทนนินในกลุ่ม Ellagictannin ในปริมาณสูงสารในกลุ่ม นี้มีคุณสมบัติเป็นตัวต้านอนุมูลอิสระที่ดี สารสกัดจากเปลือกผลด้วยเอทานอลมีฤทธิ์กำจัดอนุมูล อิสระ[1] โดยมีสรรพคุณลดอาการอักเสบ ทั้งยังมีฤทธิ์ต่อต้านมะเร็งกว่า 13 ชนิด ไม่ให้เพิ่มจำนวน ขึ้น เช่น มะเร็งผิวหนัง มะเร็งลำไส้ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งตับ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่ามี คุณสมบัติในการทำลายเซลล์มะเร็งหลอดอาหาร และลำไส้ใหญ่ ซึ่งพบว่าการให้กรดเอลลาจิกกับ สัตว์ทดลอง สารดังกล่าวจะไปเร่งการเจริญของเซลล์มะเร็งแบบอะมอพโดซีส (Amoptosis) ทำให้ เซลล์มะเร็งถูกทำลายโดยกลไกการแตกตัวของตัวมันเองได้ (อุไร จิรมงคลการ, 2547)

ความเชื่อการปลูกต้นทับทิมไว้หน้าบ้านและประสบการณ์