ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

บทนำ

         ลีซอเรียกตนเองว่า “ลีซู” (คำว่า “ลี” มาจาก “อิ๊หลี่” แปลว่า จารีต ประเพณีหรือวัฒนธรรม “ซู” แปลว่า “คน”) มีความหมายว่ากลุ่มชนที่มีขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง
         ลีซอ หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย ต่อมามีอีก 15 ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสังค์เพื่อการศึกษา 1) ความเป็นมาของชนเผ่าลีซอ (ลีซู)  2) ภาษาที่ใช้เขียน 3) ที่อยู่อาศัย/ความเป็นอยู่ 4) การแต่งกาย และ 5) วัฒนธรรมด้านความเชื่อและพิธีกรรม

คำสำคัญ : ชนเผ่าลีซอ (ลีซู) ตำบลคลองลานพัฒนา วัฒนธรรมชุมชน

ความเป็นมาของชนเผ่าลีซอ

         ลีซอเรียกตนเองว่า “ลีซู” เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่มีภูลำเนาเดิมอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของประเทศธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลยูนนานในประเทศจีน ได้อพยพลงมาทางใต้เนื่องจากเกิดการสู้รบกันกับชนเผ่าอื่นนับเวลาหลายศตวรรษ ลีซอได้ร่นถอยเรื่อยลงมาจนในที่สุดก็แตกกระจายกันอยู่ในเมียนมาร์ จีน อินเดีย และประเทศไทย สำหรับการอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยครั้งแรกจากการสอบถามลีซอคนเฒ่าคนแก่ที่บ้านลีซอดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ได้ข้อมูลว่าเข้ามาระหว่างปี พ.ศ.2462 – 2464 อพยพมาจากหมู่บ้านหนึ่งทางตอนใต้ของเมืองเชียงตุงประเทศเมียนมาร์ เข้ามาตั้งฐานอยู่ที่บ้านลีซอดอยช้าง อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ยังคงมีอยู่ประมาณ 80 หลังคาเรือน
         การแบ่งกลุ่มลีซอแบ่งกลุ่มย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ลีซูลาย กับลีซูดำ ชาวลีซูที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นลีซูลาย ส่วนลีซูดำ จะอยู่ในประเทศจีน พม่าอินเดีย และไทย ในประเทศไทยมีชุมชนลีซูอาศัยอยู่ 9 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย และลำปาง ตระกูลดั้งเดิมของชาวลีซูเดิมมี 6 กลุ่ม คือ น้ำผึ้ง (เบี่ยซือวี) ไม้ (ซือผ่า) ปลา (งัวะผ่า) หมี แมลงข้าว สาลี และกัญชง ตระกูลน้ำผึ้งใหญที่สุด แตกออกเป็นอีก 3 กลุ่มย่อย มีอยู่ 9 สายตระกูลจากการแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวจีนฮ่อ เช่น ลี ย่าง ว่าง เหยา วู เขา โฮ จู และจ้าง ในกลุ่มนี้ ย่าง และลีเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในกลางปี พ.ศ. 2526 มีลีซูประมาณ 18,000 คน กระจายกันตั้งหมู่บ้านราว 110 หมู่ อยู่ในเมืองไทย เมื่อ พ.ศ. 2501 สำรวจประชากรลีซูได้ประมาณ 7,500 คน คิดเป็นอัตราเพิ่ม 3.6% ต่อปี ตลอดระยะ 25 ปี ที่ผ่านมาซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มโดยธรรมชาติ เพราะมีการอพยพเข้ามาขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2526 นี้มีประชากรลีซูอยู่ในพม่า 250,000 และในจีนราว 500,000 คน มีหลายร้อยครอบครัวที่เข้ามาอยู่ในทางชายแดนของตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ไม่มีอยู่ในลาว และเวียดนามเลย ลีซูในไทยนั้นอยู่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ราว 47% เชียงราย 23 % แม่ฮ่องสอน 19% อีก 11% กระจัดกระจายกันอยู่ในพะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ และสุโขทัย ลีซูในเมืองไทยปัจจุบันแตกต่างไปจากชนเผ่าในตอนเหนือของพม่ามากมาย อาจเป็นเพราะได้แยกแตกตัวมาจากจีนส่วนใหญ่หลายชั่วคนแล้ว แถมยังมีการสมรสกับจีนฮ่อ จนผสมผสานกันถึงขั้นเรียกตนเองว่า ลีซูจีน ประชากรลีซูจากการสำรวจในปี พ.ศ.2540 ของสถาบันวิจัยชาวเขามี 30,940 คน 151 หมู่บ้าน 5,114 ครัวเรือน คิดเป็น 4.11% ของประชากรชาวเขาทั้งหมด อาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ 23% จังหวัดเชียงราย 19% จังหวัดแม่ฮ่องสอน 11% และกระจายทั่วไปในจังหวัด พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย
         สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน ด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบ ดินร่วนปนทราย ภูเขาแต่ละลูกเชื่อมโยงติดต่อกับขุนคลองลานซึ่งเป็นจุดสูงสุดในบริเวณนี้ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,439 เมตร สภาพป่าสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย เช่น คลองขลุง คลองสวนหมาก ไหลรวมกันลงสู่                        แม่น้ำปิง (มูลนิธิกระจกเงา, 2562, ออนไลน์)

ภาษาที่ใช้พูดเขียน

         ภาษาแม่ ลีซูพูดภาษาในกลุ่มหยี (โลโล) ธิเบต – พม่า ไม่มีภาษาเขียนของตนเอง ต่อมากลุ่มมิชชั่นนารีที่เผยแพร่ศาสนาคริสต์ก็ได้นำเอาอักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของลีซู เช่น
         สรรพนามแทนตัว
             ฉัน - งัว เธอ - นู (นา) เขา - ยี้
             คูมา - ครูผู้หญิงมา คูผะ - ครูผู้ชาย
         สรรพนามเรียกเครือญาติ
             พ่อ - บ๊ะ บ่า (อา บ่า) แม่ - มะ มา (อา มา)
             ลุง - อู๊ ผะ ป้า - อู๊ มา
             ปู่ ตา - อา ปา ย่า - อาผ่อ 
             ยาย - อาผ่อ (โผ่)
             พี่ชาย - กู๊ กู พี่สาว - จี๊ จิ (อาจิ) ตามด้วยชื่อ
             น้องชาย - งึสะ น้องสาว - งึ มา
             หลานชาย - ลี๊ ป๊า หลานสาว - ลี๊ มา
             ลูกเขย - มู้ (ว) ลูกสะใภ้ ลูกสะใภ้ - สึ มา

ที่อยู่อาศัย/ความเป็นอยู่

         ลักษณะบ้านแบบคร่อมดิน
         ลักษณะของบ้านแบบปลูกคร่อมดินนั้น มักจะปลูกในพื้นดินที่เรียบเสมอกัน ส่วนวัสดุการก่อสร้างใช้ไม้ไผ่ ยกเว้นเสาบ้านที่ต้องใช้ไม้เนื้อแข็งเพื่อความมั่นคง ส่วนฝานั้นกั้นด้วยฟากแบบสานขัดแตะ ส่วนหลังคามุงด้วยหญ้าคา ตัวบ้านจะไม่มีหน้าต่างมีประตูเข้าด้านหน้าด้านเดียว ภายในค่อนข้างจะมืด ส่วนบริเวณลานบ้านด้านนอกจะเป็นที่ตั้งครก กระเดื่องสำหรับตำข้าวประจำบ้าน และหลังบ้านจะเป็นเล้าไก่หลังเล็ก ๆ สำหรับไก่ที่เลี้ยงไว้ สร้างแบบยกพื้นมีหลังคาคลุมที่นอนของไก่ และมีรังไข่ ลักษณะ และรูปแบบในการสร้างบ้านของลีซูนั้น แบบเดียวกับอาข่า เพราะคำนึงถึงประโยชนใช้สอย ดังนั้นการสร้างบ้านในลักษณะนี้กันทั้งฝน และลมหนาวได้ดี (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2562, ออนไลน์)
ภาพที่ 1 บ้านชนเผ่าลีซอ.jpg

ภาพที่ 1 บ้านชนเผ่าลีซอ

ที่มา: ชนเผ่าลีซอ(ลีซู)ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

         ลักษณะบ้านยกพื้น
         ปกติบ้านของลีซูโดยทั่วไปจะสร้างคร่อมดิน แต่ก็มีบางหมู่บ้านที่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลาดเขาพื้นที่ราบมีน้อย การปลูกสร้างบ้านจึงจำเป็นต้องยกพื้นให้ เพื่อให้เหมาะกับสภาพของพื้นที่ และใต้ถุนก็จะเป็นผลพลอยได้ซึ่งใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น เป็นที่ตั้งครกกระเดื่องตำข้าว ที่เก็บฝืน และที่ตั้งเล้าไก่ ส่วนหน้าบ้านก็จะเป็นที่นั่งพักผ่อน และอาบแดดช่วงเช้าในยามหน้าหนาว ส่วนบันไดทางขึ้นนั้นจะอยู่ด้านของชานด้านในไม่มีหน้าต่าง มีประตูเข้าออกทางเดียว บ้านลีซูโดยทั่วไปไม่มีรั้ว ปลูกโล่งๆ เรียงรายกันทั้งหมู่บ้าน
         ในการสร้างปลูกบ้านแต่ละหลังของชาวลีซูนั้นก็มีวิธีการแบบเดียวกับอาข่า ไม่ว่าจะเป็นบ้านเล็ก หรือหลังใหญ่จะสร้างเสร็จภายในวันเดียวโดยใช้เวลาช่วงเช้าถึงเย็นเท่านั้น ที่สามารถปลูกสร้างกันได้อย่างรวดเร็วนั้นก็เพราะจะช่วยกันสร้าง หรือใช้วิธีเดียวกับการลงแขกเกี่ยวข้าว ช่วยกับลงมือลงแรงพร้อมๆ กันโดยเจ้าบ้านจะเตรียมวัสดุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ เสา ฟาก หญ้งคา และอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ล่วงหน้าเป็นที่เรียบร้อย พอถึงเวลาก็ลุยกันไม่เสร็จไม่เลิก ทางฝ่ายเจ้าบ้านที่เป็นสตรีก็มีหน้าที่เตรียมกับข้าว และเหล้าเลี้ยงผู้ที่มาช่วยสร้างบ้าน พิธีที่สำคัญที่จะละเลยกันไม่ได้ในการปลูกบ้าน คือการทำพิธีเสี่ยงทายอธิษฐานเสียก่อน ใช้ไม้วัดอาณาเขตที่จะปลูกบ้านสีทิศแล้วนำข้าวสารจำนวนหนึ่งใส่ในถ้วย แล้วยกขึ้นจบอธิษฐานขออนุญาตต่อผีป่า ผีดอย ผีเจ้าที่เจ้าทาง เสร็จแล้วจึงหยิบข้าวสารโรยลงไปในหลุมขุด และเปิดดู หากเม็ดข้าวสารในหลุมยังอยู่เป็นระเบียบเหมือนเดิม ก็แสดงว่าผีเจ้าที่เจ้าทางอนุญาต ถ้าหากว่าเม็ดข้าวในหลุมเกิดกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบเหมือนกับตอนที่โรยที่แรก แสดงว่าผีเจ้าที่เจ้าทาง ผีป่า และผีดอยท่านไม่อนุญาต (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2562, ออนไลน์)
ภาพที่ 2 แบบจำลองบ้านชนเผ่าลีซอ.jpg

ภาพที่ 2 แบบจำลองบ้านชนเผ่าลีซอ

ที่มา: ศูนย์ชาวเขาคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

         ครอบครัว
         ครอบครัวลีซอ โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก บางครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวขยาย เช่น ครอบครัวที่บุตรชายแต่งงานกับหญิงสาวแล้วหญิงสาวเข้ามาอยู่ในบ้านของฝ่ายชายหรือชายเข้าไปอยู่ในครอบครัวของพ่อแม่ฝ่ายหญิง เนื่องจากต้องไปชดเชยแรงงานเป็นค่าสินสอดของฝ่ายหญิง แต่เมื่อถึงเวลาที่สมควรหรือเหมาะสม ชายหญิงที่แต่งงานกันก็จะแยกตัวไปเป็นครอบครัวใหม่ขึ้นเช่นเดียวกันกับครอบครัวของสังคมไทยเรา อย่างไรก็ตามลีซอนิยมตั้งบ้านเรือนหรือตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้กันกับญาติที่เป็นพี่เป็นน้องหรือมีแซ่สกุลเดียวกัน แซ่สกุล ของลีซอมีประมาณ 20 แซ่สกุลเศษ มีทั้งสิบเชื้อสายมาจากจีนและเป็นเป็นลีซอแท้ ๆ สำหรับที่เป็นลีซอแท้ ๆ มีน้อยกว่าแซ่สกุลที่สืบเชื้อสายมาจากจีน แต่ละแซ่สกุลเขารู้จักกันดี ไม่ว่าจะอยู่ในท้องที่จังหวัดใด มีการเคารพนับถือกันตามลำดับชั้น เมื่อเป็นแซ่สกุลเดียวกัน และอยู่ในกลุ่มย่อยของแซ่สกุลเดียวกัน จะเกี้ยวพาราสีหรือแต่งงานกันไม่ได้ (รัตนา อรชุม, 2562, ออนไลน์)

วิถีชีวิต

         เผ่าลีซอมีการปลูกข้าว ข้าวโพด  พืชผักและการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ก็มีอุตสาหกรรมในครัวเรือนเป็นอาชีพรอง เช่นการทอผ้า การเย็บปักลายผ้า การทำเครื่องประดับด้วยโลหะเงิน การต้มสุรา มีอยู่บ้างที่มีอาชีพรับจ้างเป็นครั้งครา (รัตนา อรชุม, 2562 , ออนไลน์)
         อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ในชนเผ่าลีซอ
ภาพที่ 3 มีดปลายแหลม ภาษาลีซอ อาณะเฌ้อะ.jpg

ภาพที่ 3 มีดปลายแหลม ภาษาลีซอ อาณะเฌ้อะ

ที่มา: ศูนย์ชาวเขาคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ภาพที่ 4 ตะเกียบ ภาษาลีซอ อาจุ.jpg

ภาพที่ 4 ตะเกียบ ภาษาลีซอ อาจุ

ที่มา: ศูนย์ชาวเขาคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ภาพที่ 5 แก้วไม้ไผ่ ภาษา ลีซอมะคว่า.jpg

ภาพที่ 5 แก้วไม้ไผ่ ภาษา ลีซอมะคว่า

ที่มา: ศูนย์ชาวเขาคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ภาพที่ 6 เตาสามขา ภาษา ฉาจู๋.jpg

ภาพที่ 6 เตาสามขา ภาษา ฉาจู๋

ที่มา: ศูนย์ชาวเขาคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ภาพที่ 7 หีบใส่ผ้า ภาษาลีซอ ลือกี.jpg

ภาพที่ 7 หีบใส่ผ้า ภาษาลีซอ ลือกี

ที่มา: ศูนย์ชาวเขาคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ภาพที่ 8 ฆ้อนไม้ ภาษาลีซอ ปามุบิ.jpg

ภาพที่ 8 ฆ้อนไม้ ภาษาลีซอ ปามุบิ

ที่มา: ศูนย์ชาวเขาคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ภาพที่ 9 ตะกร้าสะพายหลัง ภาษาลีซอ กาหู.jpg

ภาพที่ 9 ตะกร้าสะพายหลัง ภาษาลีซอ กาหู

ที่มา: ศูนย์ชาวเขาคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

ภาพที่ 10 ช้อนไม้ ภาษาลีซอ ลุกุ.jpg

ภาพที่ 10 ช้อนไม้ ภาษาลีซอ ลุกุ

ที่มา: ศูนย์ชาวเขาคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร