ฐานข้อมูล เรื่อง ต้นทับทิมกับฮวงจุ้ยแบบไทยๆ

จาก KPPStudies
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:39, 20 กันยายน 2566 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (สร้างหน้าด้วย "=='''ข้อมูลทั่วไป'''== ==='''ชื่อทางพฤกษศาสตร์'''=== ทับทิมมีชื...")
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อทางพฤกษศาสตร์

         ทับทิมมีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Punica granatum L.วงศ์ Punicaceae ภาษาอังกฤษ เรียก Pomegranate ภาคเหนือทั่วไปเรียก มะกอ ชาวน่านเรียก มะก่องแก้ว ชาวแม่ฮ่องสอน เรียก หมากจัง ชาวหนองคาย และภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เรียก พิลา ชาวจีนเรียก เซี๊ยะลิ้ว ชาวสเปนเรียก Granada ส่วนชาวอินเดียเรียก Darim (โชติอนันต์ และคณะ, 2551)

ต้นกำเนิดของต้นทับทิม

         ทับทิมมีถิ่นกำเนิดบริเวณรอยต่อของเอเชียตะวันตกกับตอนบนของเอเชียใต้ คือบริเวณ ตะวันออกของประเทศอิหร่าน ทางตอนใต้ของอัฟกานิสถานและทางตอนเหนือของเทือกเขา หิมาลัย ทับทิมคงเป็นพืชที่ได้รับความนิยมมากว่าพันปีแล้ว จึงมีการปลูกแพร่กระจายออกไปทั้งใน เขตร้อน (tropical) และกึ่งร้อน (Sub-tropical) ของทวีปเอเชีย ยุโรป รวมทั้งในทวีปแอฟริกา ด้วย (คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก, 2549) 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

         ทับทิมเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ 4-6 เมตร ทรงพุ่มโปร่ง มีหนามแหลมตามกิ่ง ก้าน ใบเดี่ยวขนาดเล็ก รูปใบยาวปลายแหลม ยาว 3-4 เซนติเมตร ดอกสีแดงหรือสีขาว ผล ค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 เซนติเมตร เมื่อแก่จัดเปลือกผลสีเหลืองอมแดงหรือ น้ำตาลอมส้ม ผิวมักแตกออกเห็นเมล็ดใสอยู่ภายในมากมาย เมล็ดมีเนื้อใสสีแดงหรือสีชมพูหุ้มอยู่ แยกแต่ละเมล็ด เนื้อทับทิมมีน้ำมาก รสหวานหรือเปรี้ยวอมหวาน ส่วนที่เรียกทับทิมหนูเป็นทับทิม เช่นกันแต่ต่างสายพันธุ์ สูงเต็มที่ไม่เกิน 120 เซนติเมตร มีดอกสีแดงตลอดปี นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
         ส่วนประกอบของต้นทับทิม