ฐานข้อมูล เรื่อง ศาสนสถานและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

จาก KPPStudies
รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:24, 21 กุมภาพันธ์ 2564 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (ข้อมูลทั่วไป วัดหม่องกาเล)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

เนื้อหา

ข้อมูลทั่วไป วัดพระบรมธาตุ[แก้ไข]

ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์[แก้ไข]

         วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         วัดพระบรมธาตุเจดียาราม

ศาสนา[แก้ไข]

         ศาสนาพุทธ วัดอยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย

ที่ตั้ง (ที่อยู่)[แก้ไข]

         เลขที่ 15 หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]

         ละติจูด (Latitude) : 16.480000
         ลองติจูด (Longitude) : 99.510000

หน่วยงานที่ดูแลรักษา[แก้ไข]

         สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกำแพงเพชร

สถานะการขึ้นทะเบียน[แก้ไข]

         ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2497

วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง[แก้ไข]

         พ.ศ.1858

ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา/คำบอกเล่า/ตำนาน[แก้ไข]

         วัดพระบรมธาตุนครชุม เป็นวัดที่อยู่คู่เมืองกำแพงเพชรมาตั้งแต่สมัยเป็นเมืองนครชุมยาวนานมากกว่า 600 ปี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีสร้างโดยกษัตริย์ในสมัยกรุงสุโขทัย คือพระมหาธรรมราชาลิไทหรือพระยาลิไท สร้างขึ้นในปี 1900 เพื่ออุทิศถวายพ่อขุนศรีอินทราทิตย์องค์หนึ่ง พ่อขุนรามคำแหงองค์หนึ่ง  และพระเจดีย์ประจำรัชกาลองค์อีก 1 องค์ และได้นำพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ สถาปนาไว้ในพระเจดีย์องค์กลาง และพระองค์ได้เสด็จมาพระมหาธาตุเจดีย์เป็นประจำทุกปี ซึ่งในสมัยสุโขทัยนั้นวัดพระบรมธาตุนครชุมมีความเจริญมากเพราะเป็นวัดพระอารามหลวงประจำเมือง 
         วัดพระบรมธาตุเจริญรุ่งเรืองมากกว่า 200 ปี จนกระทั่งเมืองนครชุมถึงภาวะล่มสลาย เพราะแม่น้ำปิงกัดเซาะแนวกำแพงเมืองนครชุมพังพินาศความเจริญทางพุทธจักรและอาณาจักรได้สูญสิ้นไปจากเมืองนครชุม เมืองฝั่งตรงข้ามทางทิศตะวันออก คือเมืองกำแพงเพชร ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่ วัดพระบรมธาตุร้างมายาวนานกว่า 300 ปี จนกระทั่งถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ วัดพระบรมธาตุมีหลักฐานที่ชัดเจนอีกครั้ง จากหนังสือพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 เมื่อเดือนสิงหาคม 2449  ณ เมืองกำแพงเพชร ความว่า 
         พ.ศ.2329 สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม ได้เสด็จมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร พักที่วัดเสด็จได้อ่านจารึกนครชุมที่ประดิษฐาน  ณ อุโบสถวัดเสด็จ ตำบลเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทราบว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุอยู่ริมน้ำปิง ฝั่งตะวันตกตรงข้ามเมืองเก่าสามองค์ ขาดผู้ดูแลรักษาได้กลายสภาพเป็นวัดร้างอยู่กลางป่า จึงได้ให้เจ้าเมืองกำแพงเพชรพระยารามณรงค์สงคราม (น้อย) ได้ป่าวร้อง ให้ประชาชนแผ้วถางพบเจดีย์ตามจารึกและปฏิสังขรณ์ขึ้นใน 
         พ.ศ.2414 ภายหลังพระยากำแพงเพชร (อ่อง) ผู้ว่าราชการเมืองในรัชกาลที่ 5 ได้มีเศรษฐีชาวกระเหรี่ยงชื่อ “พญาตะก่า” ขออนุญาตทางราชการทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ได้นำช่างมาจากพม่าทำการรื้อถอนพระเจดีย์ 3 องค์ แล้วทำการก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นองค์เดียวรูปทรงพม่า แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2491 ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในพระเจดีย์เก่าองค์กลางซึ่งบรรจุในภาชนะรูปสำเภาเงินมีพระธาตุอยู่ 9 องค์ นำมาบรรจุในพระเจดีย์องค์ใหม่ 
         พ.ศ.2445 - 2447 พะโป้ น้องชายพระยาตะก่า ได้ทำการบูรณะต่อ และได้นำยอดฉัตรมาจากพม่าขึ้นประดิษฐานบนยอดพระเจดีย์พระบรมธาตุ ดังปรากฏอยู่เท่าทุกวันนี้

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม[แก้ไข]

         พระบรมธาตุนครชุมมหาเจดีย์ทรงสูงใหญ่ สวยงามไปด้วยสถาปัตยกรรมและสีทองอร่ามทั้งองค์ เสมือนดั่งเจดีย์ชเวดากองในเมืองพม่า เป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 9 องค์พระบรมธาตุเจดีย์ เดิมนั้นเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) สามองค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ภายในวัดก็มีแหล่งความรู้ที่สำคัญ คือศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลนครชุม โดยจัดแสดงเป็นอาคารทรงไทยสวยงาม ทำด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ภายในจัดแสดงวัตถุโบราณและข้าวของเครื่องใช้ในอดีตมากมาย และแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อีกหลายอย่าง แสดงวิถีชีวิตของชาวเมือง นอกจากนี้ยังมีมีศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ ศูนย์การศึกษาพระปริยติธรรมสำหรับสำหรับพระถิกษุและสามเณร และมีกุฏิจำนวน 23 หลัง สถานสำคัญของวัดพระบรมธาตุ คือ
         1) พระบรมสารีริกธาตุ บรรจุอยู่ในสำเภาเงินมีพระบรมธาตุอยู่ถึง 9 องค์ ปัจจุบันประดิษฐานไว้ในองค์พระบรมธาตุ มีความเชื่อว่า ผู้ใดได้บูชาพระบรมธาตุเหมือนกับได้พบพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง ทำให้ประชาชนพากันมาสักการบูชาพระบรมธาตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันมาฆบูชาและวันสงกรานต์ 
1 สถานสำคัญของวัดพระบรมธาตุ.jpg

ภาพที่ 1 สถานสำคัญขอวัดพระบรมธาตุ

         วัดพระบรมธาตุนอกจากจะมีสถานที่สำคัญหลายอย่างแล้ว ภายในวัดยังมีแหล่งความรู้ที่สำคัญคือศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลนครชุม โดยจัดแสดงเป็นอาคารทรงไทยสวยงาม ทำด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ภายในจัดแสดงวัตถุโบราณและข้าวของเครื่องใช้ในอดีตมากมาย และแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อีกหลายอย่าง แสดงวิถีชีวิตของชาวเมือง เป็นศูนย์รวบรวมวัตถุโบราณและเรื่องราวต่าง ๆ ของเมืองนครชุมเอาไว้มากมาย เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้และถ่ายทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต แก่ชุมชนและสังคม ในยุคปัจจุบันเพื่อให้ยั่งยืนสืบไป นอกเราจะได้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังสามารถใช้เป็นแหล่งความรู้และเรียนรู้ได้อีกด้วย 
2 พระพุทธรูปและสิ่งศักสิทธิ์ในวัดพระบรมธาตุ.jpg

ภาพที่ 2 พระพุทธรูปและสิ่งศักสิทธิ์ในวัดพระบรมธาตุ

         2) พระศรีมหาโพธิ์ ชาวกำแพงเพชรเชื่อกันว่าพระศรีมหาโพธิ์ที่พระยาลิไททรงปลูกเมื่อ พ.ศ.1900 เป็นต้นโพธิ์ขนาดมหึมา คนโอบ 9 คน ในพุทธศาสนาเดิมกล่าวว่า ถ้าผู้ใดไหว้บูชาต้นโพธิ์เสมือนได้บูชาพระพุทธเจ้าเช่นกันแต่ปัจจุบันความเชื่อนี้ได้จางหายไปจากสังคม

บุคคลที่เกี่ยวข้อง[แก้ไข]

         เจ้าอาวาส พระสิทธิวชิรโสภณ

วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ[แก้ไข]

         -

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]

         สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร

วัน เดือน ปี ที่สำรวจ[แก้ไข]

         9 กุมภาพันธ์ 2561

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         -

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         นางสาวไพลิน  สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

         วัดพระบรมธาตุ, พระอารามหลวง

ข้อมูลทั่วไป วัดสว่างอารมณ์[แก้ไข]

ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์[แก้ไข]

         วัดสว่างอารมณ์

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         -

ศาสนา[แก้ไข]

         ศาสนาพุทธ 

ที่ตั้ง (ที่อยู่)[แก้ไข]

         เลขที่ 112 หมู่ที่ 6 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]

         ละติจูด (Latitude) : 16.486543
         ลองติจูด (Longitude) : 99.493388

หน่วยงานที่ดูแลรักษา[แก้ไข]

         สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกำแพงเพชร

สถานะการขึ้นทะเบียน[แก้ไข]

         -

วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง[แก้ไข]

         พ.ศ.2225

ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา/คำบอกเล่า/ตำนาน[แก้ไข]

         วัดสว่างอารมณ์ ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๕ วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 เดิมพื้นที่เป็นป่ารกร้าง ต่อมาชาวบ้านได้ร่วมใจกันพัฒนาวัดให้เป็นปูชนียสถานที่สมบูรณ์จวบจนปัจจุบัน ได้รับราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2230 
         ภายในวัดมีศาสนสมบัติที่สำคัญเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวคลองสวนหมาก เมืองนครชุม ให้ความเลื่อมใสศรัทธา ภายในวัดสว่างอารมณ์แห่งนี้ อาทิ หลวงพ่ออุโมงค์ หลวงพ่อมหามงคลนิมิตพระพุทธรูปศิลปะพม่าและมณฑปแบบพม่า พระพุทธรูปยืน “หลวงพ่อประทานพร” ประดิษฐานอยู่บริเวณด้านหน้าหอระฆัง โดยหลังคาของหอระฆังแห่งนี้ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมทางเหนือ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของกำแพงเพชรในฐานะหัวเมืองฝ่ายเหนือ วิหารแก้วพระนอน หลวงพ่อศรีมหาโพธิ์ พระสีวลี รูปหล่ออดีตเจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ หลวงพ่อบุญมี ธัมมสโร และหลวงพ่อทองหล่อ ปิยะโส 
3 หลวงพ่ออุโมงค์.jpg

ภาพที่ 3 หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์

         สิ่งที่พุทธศาสนิกชนเข้ามากราบไหว้ขอพรมากที่สุด คือ "หลวงพ่ออุโมงค์" แห่งวัดสว่างอารมณ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร สำหรับประวัติของ "หลวงพ่ออุโมงค์" จากการบอกเล่าต่อกันมาว่าพบหลวงพ่อในดินลักษณะคล้ายจอมปลวกจึงขุดกันออกมา มองดูคล้ายท่านอยู่ในอุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปาฏิหาริย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ ท่าน เป็นที่เคารพบูชาของชาวนครชุม และชาวกำแพงเพชรมาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือน 4 ชาวจังหวัดกำแพงเพชร จะจัดงานประเพณีนมัสการปิดทอง "หลวงพ่ออุโมงค์" เป็นประจำทุกปี วิหารหลวงพ่ออุโมงค์นั้น สร้างมณฑปสี่เหลี่ยมมีทางเข้าออกด้านหน้าทางเดียว ส่วนมุขที่ต่อยื่นออกมาจากมณฑป มองดูเหมือนว่าจะสร้างต่อกันในยุคหลังๆ
4 บริเวณวัดสว่างอารมณ์.jpg

ภาพที่ 4 บริเวณวัดสว่างอารมณ์

บุคคลที่เกี่ยวข้อง[แก้ไข]

         -

วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ[แก้ไข]

         -

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]

         สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร

วัน เดือน ปี ที่สำรวจ[แก้ไข]

         9 กุมภาพันธ์ 2561

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         -

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         นางสาวไพลิน  สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

         วัดสว่างอารมณ์

ข้อมูลทั่วไป วัดเจดีย์กลางทุ่ง[แก้ไข]

ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์[แก้ไข]

        วัดเจดีย์กลางทุ่ง

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         -

ศาสนา[แก้ไข]

         ศาสนาพุทธ 

ที่ตั้ง (ที่อยู่)[แก้ไข]

         เมืองนครชุมทางด้านทิศให้ ริมถนนสายกําแพงเพช (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 103)

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]

         ละติจูด (Latitude) : 16.471859
         ลองติจูด (Longitude) : 99.513459

หน่วยงานที่ดูแลรักษา[แก้ไข]

         สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกำแพงเพชร

สถานะการขึ้นทะเบียน[แก้ไข]

         -

วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง[แก้ไข]

         พุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา/คำบอกเล่า/ตำนาน[แก้ไข]

         วัดเจดีย์กลางทุ่ง เดิมชื่อวัดอะไรไม่ปรากฏหลักฐาน เดิมเห็นแต่มี เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่กลางทุ่งนา จึงเรียกขานกันว่าวัดเจดีย์กลางทุ่ง ลักษณะของวัดเจดีย์กลางทุ่ง น่าจะสร้างราวพุทธศตวรรษที่ 18-19 ในสมัยสุโขทัยเรืองอำนาจ มีคูน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบ ทั้งสี่ด้านที่เรียกกันว่า อุทกสีมา ภายในอุทกสีมา มีวิหารขนาดใหญ่ ลักษณะค่อนข้างแปลก เกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัสตุรัส และอยู่ต่ำกว่าปกติ ด้านหลังมีเจดีย์ประธาน ที่เป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ขนาดใหญ่ ที่ค่อนข้างสมบูรณ์และสมส่วน สร้างด้วยอิฐที่ได้จากดินเหนียวบริเวณทุ่งเศรษฐี ลานประทักษิณรอบๆ เจดีย์ มีขนาดกว้างมาก ทำศาสนพิธี ได้อย่างสะดวกสบาย รูปทรงขององค์เจดีย์ ประกอบด้วย ฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกัน 3 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้ว อกไก่ ชั้นแว่นฟ้า และส่วนเรือนธาตุย่อเหลี่ยมไม้สิบ ที่รองรับส่วนยอดของเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ส่วนยอดสุดหักตกลงมาไม่เห็นมีหลักฐาน นับว่าเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ขนาดใหญ่ ที่งดงามมาก เป็นสัญลักษณ์ของเมืองนครชุมเลยทีเดียว ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ 
5 วัดเจดีย์กลางทุ่ง.jpg

ภาพที่ 5 วัดเจดีย์กลางทุ่ง

         รอบๆ เจดีย์ประธาน มีเจดีย์รายที่เห็นมีหลักฐานเหลืออยู่เพียงองค์เดียว นอกนั้นไม่เห็นกุฏิ ศาลา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ถูกทำลายไปสิ้น เพราะที่วัดเจดีย์กลางทุ่งมีพระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐีที่มีชื่อเสียงมาก คือพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงนางพญา และพระกำแพงเขย่ง  จึงทำให้ โบราณสถานโบราณวัตถุถูกขุดค้นทำลายลง   

บุคคลที่เกี่ยวข้อง[แก้ไข]

-

วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ[แก้ไข]

-

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]

         สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร

วัน เดือน ปี ที่สำรวจ[แก้ไข]

         14 กุมภาพันธ์ 2561

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

          -

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         นางสาวไพลิน  สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

         วัดเจดีย์กลางทุ่ง

ข้อมูลทั่วไป วัดหม่องกาเล[แก้ไข]

ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์[แก้ไข]

         วัดหม่องกาเล

ชื่อเรียกอื่นๆ[แก้ไข]

         -

ศาสนา[แก้ไข]

         ศาสนาพุทธ 

ที่ตั้ง (ที่อยู่)[แก้ไข]

         ทางหลวงหมายเลข 101 มุ่งหน้าทางทิศตะวันตกสู่ตำบลนครชุม ประมาณ 850 เมตร จะพบทางแยกเข้าซอยทางด้านซ้ายมือบริเวณตรงข้ามสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชรวัดหม่องกาแลอยู่ลึกเข้าไปในซอยประมาณ 663 เมตร

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]

         ละติจูด (Latitude) : 16.467628
         ลองติจูด (Longitude) : 99.509562

หน่วยงานที่ดูแลรักษา[แก้ไข]

         กรมศิลปากร

สถานะการขึ้นทะเบียน[แก้ไข]

         ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง[แก้ไข]

         พุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา/คำบิกเล่า/ตำนาน[แก้ไข]

         วัดหม่องกาเลเป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังศิลปะสุโขทัย ก่อด้วยอิฐ มีซุ้มพระยืนออกมาจากฐาน ตอนล่างทั้ง 4 ด้าน ชั้นมาลัยเถารองรับองค์ระฆังเป็นแบบบัวถลา องค์ระฆังค่อนข้างเพรียว หรือชะลูด ปากองค์ระฆังไม่ตายออกมากนัก ถัดจากองค์ระฆังเป็นส่วนที่เรียกว่าบัลลังก์ สําหรับส่วนยอดขององค์เจดีย์หักพังทลายเกือบหมด เหลือหลักฐานเฉพาะส่วนของแกน ปล้องไฉนสันนิษฐานว่าบริเวณที่ค้นพบวัดอยู่ในที่จับจองของชาวพม่าที่ชื่อหม่องกาเล ซึ่งสืบหาลูกหลานของท่านไม่ได้รู้แต่ว่าหลังจากหม่องกาเล ที่บริเวณนั้นเป็นที่ครอบครองของตาหมอหร่อง ตาหมอหร่อง มีลูกเขยชื่อนายจันทร์ได้ครอบครองที่ดินบริเวณนี้ต่อมา และได้ขายที่ดินทั้งหมดให้ผู้อื่น
         ปัจจุบันวัดหม่องกาเล ตั้งอยู่บนแนวถนนโบราณที่ชาวบ้านเรียกว่าถนนพระร่วง หรือถนนตาพระร่วง ยังไม่ถูกบุกรุกทำลายมากอย่างวัดอื่น ผ่านการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วจากกรมศิลปากร มีเจดีย์ประธานที่มีรูปทรงงดงาม ขนาดย่อมกว่าวัดหนองลังกาเล็กน้อย มีซุ้มที่ฐานเจดีย์ อยู่สามซุ้ม  ไม่ทราบว่า ไม่ได้บูรณะ 1 ซุ้ม หรือไม่มีแต่แรก แต่ถ้าสังเกตจากวัดหนองลังกา แล้วน่าจะมี 4 ซุ้ม รูปทรงของเจดีย์ เพรียวและสง่างาม ยอดหักพังมาถึงคอระฆัง ไม่พบ ยอดที่หักตกลงมาเลย ในบริเวณนั้น อาจจะอยู่ในหนองน้ำ หรืออุทกสีมา ที่อยู่รอบๆ บริเวณพื้นที่ นั้นก็เป็นได้ ด้านหน้า มีวิหารเตี้ยๆคล้ายวิหารของวัด เจดีย์กลางทุ่ง แต่มีร่องรอยของฐานวิหารที่ชัดเจน โดยรอบไม่มีเจดีย์รายรอบอาจถูกขุดทำลายหมด เพราะเป็นเจดีย์ขนาดเล็ก คูน้ำล้อมรอบ เป็นคูน้ำขนาดใหญ่ที่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ยังไม่ถูกรื้อทำลาย วัดหม่องกาเล มีกรุพระเครื่อง ที่มีชื่อเสียงมาก โดยเฉพาะอย่างพระซุ้มกอ ขุดพบที่บริเวณวัดนี้จำนวนมาก    
ภาพที่ 5 วัดหม่องกาเล.jpg

ภาพที่ 6 วัดหม่องกาเล

         โบราณสถานวัดหม่องกาเล แผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัววัตตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ไม่ปรากฏแนวกําแพงวัด แต่มีการขุดคูน้ำโดยรอบ เพื่อแสดงขอบเขตของวัดเป็นลักษณะที่เรียกว่า อุทกสีมา ซึ่งเป็นการจัดยังวัดที่นิยมกันมากในสมัยสุโขทัย

บุคคลที่เกี่ยวข้อง[แก้ไข]

         -

วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ[แก้ไข]

         -

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]

         สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร

วัน เดือน ปี ที่สำรวจ[แก้ไข]

         14 กุมภาพันธ์ 2561

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         -

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         นางสาวไพลิน  สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

         วัดหม่องกาเล

ข้อมูลทั่วไป วัดหนองลังกา[แก้ไข]

ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์[แก้ไข]

         วัดหนองลังกา

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         -

ศาสนา[แก้ไข]

         ศาสนาพุทธ 

ที่ตั้ง (ที่อยู่)[แก้ไข]

         ซอยบ้านนา ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร 

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]

         ละติจูด (Latitude) : 16.468681
         ลองติจูด (Longitude) : 99.510821

หน่วยงานที่ดูแลรักษา[แก้ไข]

         กรมศิลปากร

สถานะการขึ้นทะเบียน[แก้ไข]

         ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง[แก้ไข]

         พุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา/คำบอกเล่า/ตำนาน[แก้ไข]

         วัดหนองลังกา หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังศิลปะสุโขทัย ก่อด้วยอิฐ มีซุ้มพระยื่นออกมาจากฐาน ตอนล่างทั้ง 4 ด้าน มีเจดีย์หรือมณฑปเป็นประธานวัด ด้านหน้าเจดีย์เป็นวิหาร แต่สภาพของที่ตั้งวัดอยู่ในที่ลุ่มต่ำ จึงมีการขุดคูเป็นขอบเขตวัด เพื่อนำดินจากการขุดคูไปปรับถมที่บริเวณวัดให้สูงขึ้น และเป็นคูน้ำเพื่อกักเก็บน้ำในฤดูแล้งด้วย วัดหนองลังกา เป็นวัดขนาดใหญ่ที่สุด ในเขตอรัญญิกเมืองนครชุม ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศใต้ แผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีคูน้ำล้อมรอบ 4 ด้าน อันเป็นลักษณะแบบอุทกสีมา ของพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ ที่นิยมแพร่หลายในช่วงสุโขทัยเจดีย์ประธาน เป็นลักษณะเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆัง ก่อด้วยอิฐตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว ลักษณะองค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเขียงเตี้ยๆ ฐานล่างทำเป็นซุ้มยื่นมาทั้ง 4 ด้าน มีพระพุทธรูป อยู่ประจำทิศ แต่ถูกขุดค้นทำลายจนสิ้นซาก ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดาน สี่เหลี่ยมและฐานบัวลูกแก้วอกไก่ หรือฐานปัทม์สี่เหลี่ยม ซ้อนลดหลั่นกันไป ชั้นมาลัยเถามีลักษณะเป็นแบบชั้นบัวคว่ำและบัวหงายซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น รองรับองค์ระฆังที่ มีขนาดงดงาม สมบูรณ์ เหมาะสม และสวยงามยิ่งนัก บัลลังก์เป็นฐานปัทม์ สี่เหลี่ยม ส่วนท้องไม้ประดับด้วยลูกแก้วอกไก่ ถัดจากบัลลังก์ขึ้นไปเป็นแกนปล้องไฉน ซึ่งประดับลูกแก้วอกไก่ 2 แถว แล้วเป็นบัวฝาละมี ปล้องไฉน ปลียอด เจดีย์ทรงระฆังวัดหนองลังกา รูปทรงสูงชะลูด หรือเพรียวสมส่วน มีสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่พบในเมืองนครชุม    
ภาพที่ 6 วัดหนองลังกา.jpg

ภาพที่ 7 วัดหนองลังกา

         โบราณสถานวัดหนองลังกา แผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัววัดตั้งหันหน้าไปทาง ทิศตะวันออก ไม่ปรากฏแนวกําแพงวัด แต่มีการขุดคูนาโดยรอบเพื่อแสดงขอบเขตของวัด เป็นลักษณะที่เรียกว่า อุทกสีมา ซึ่งเป็นการจัดตั้งวัดที่นิยมกันมากในสมัยสุโขทัย

บุคคลที่เกี่ยวข้อง[แก้ไข]

         -

วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ[แก้ไข]

         -

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]

         สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร

วัน เดือน ปี ที่สำรวจ[แก้ไข]

         14 กุมภาพันธ์ 2561

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         -

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         นางสาวไพลิน  สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

         วัดหนองลังกา

ข้อมูลทั่วไป วัดหนองยายช่วย[แก้ไข]

ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์[แก้ไข]

         วัดหนองยายช่วย

ชื่อเรียกอื่นๆ[แก้ไข]

         วัดหนองพลับ

ศาสนา[แก้ไข]

         ศาสนาพุทธ 

ที่ตั้ง (ที่อยู่)[แก้ไข]

         ตั้งอยู่บนถนนซอยผลบุญ ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]

         ละติจูด (Latitude) : 16.468601
         ลองติจูด (Longitude) : 99.514471

หน่วยงานที่ดูแลรักษา[แก้ไข]

         กรมศิลปากร

สถานะการขึ้นทะเบียน[แก้ไข]

         ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง[แก้ไข]

         พุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา/คำบอกเล่า/ตำนาน[แก้ไข]

         วัดหนองยายช่วย เป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังก่อด้วยอิฐ ฐานเขียงด้านล่างเป็นฐานสี่เหลี่ยม หน้ากระดาน ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม และฐานบัวแปดเหลี่ยมซ้อน ลดหลั่นกันขึ้นไป ชั้นมาลัยเถารองรับองค์ระฆังเป็นแบบบัวถลา องค์ระฆังค่อนข้างเล็ก และตั้งอยู่ในตําแหน่งที่สูง นับเป็นเจดีย์ทรงระฆังที่มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์ทรงระฆังทางฝั่ง เมืองกําแพงเพชร โดยเฉพาะการทําชั้นฐานบัวแปดเหลี่ยมรองรับชั้นมาลัยเถา สําหรับ ทางด้านหน้าเจดีย์ประถานมีวิหาร ขนาด 5 ห้อง หรือ ห้าช่วงเสา ก่อด้วยอิฐ 8 หลัง    
         วัดหนองยายช่วย อยู่ถัดจากวัดหนองลังกาไปทางทิศตะวันออกห่างจากวัดหนองลังกาประมาณ ๒๐๐ เมตร มีลักษณะรกร้าง มองจากที่ไกลๆ ดูวัดหนองยายช่วยไม่งดงาม มีขนาดเล็ก ไม่น่าสนใจ แต่เมื่อเข้าไปใกล้ต้องตะลึงในความงดงามของ รูปทรงเจดีย์ ที่เป็นเจดีย์ทรงลังกา ฐานแปดเหลี่ยมที่มีลักษณะที่งดงามมาก มีศิลปะที่อ่อนช้อย รูปทรงเพรียวสมส่วน ยังสมบูรณ์ตั้งแต่คอระฆังลงมา ยอดหัก ไม่สามารถค้นหาได้พบ บริเวณฐานพระเจดีย์มีซุ้มพระอีก 4 ซุ้ม มีลักษณะซุ้มที่ใหญ่มาก แต่ไม่พบพระ ว่ามีลักษณะใด แต่เมื่อเทียบกับวัดหนองลังกาแล้ว น่าจะเป็นพระสี่อิริยาบถคือยืน เดิน นั่ง นอน วัดในบริเวณนี้ที่มีลักษณะเหมือนกันคือ วัดหนองลังกา วัดหม่องกาเล และวัดหนองยายช่วย ถือว่างดงามมาก และมีลักษณะที่พิเศษกว่าทุกวัด คือมีซุ้มพระ มีเจดีย์ราย มีหนองน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบ แบบลัทธิลังกาวงศ์		 
ภาพที่ 7 วัดหนองยายช่วย.jpg

ภาพที่ 8 วัดหนองยายช่วย

         ด้านหน้าวัด มีฐานวิหารขนาดใหญ่ ยังมีฐานที่ชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ฐานพระประธานมีขนาดใหญ่มาก ยังไม่ถูกทำลาย แต่องค์พระไม่มีแล้ว สันนิษฐานว่าจะเป็นพระปูนปั้น จึงถูกทำลายไป พร้อมกับ เจดีย์ที่ถูกขุดค้นขึ้นลักษณะของวิหารเหมือนกับ สร้างโบสถ์ซ้อนอยู่บนวิหารมีลักษณะที่เหมาะสมและงดงามอย่างที่สุด

บุคคลที่เกี่ยวข้อง[แก้ไข]

         -

วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ[แก้ไข]

         -

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]

         สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร

วัน เดือน ปี ที่สำรวจ[แก้ไข]

         14 กุมภาพันธ์ 2561

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         -

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         นางสาวไพลิน  สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

         วัดหนองยายช่วย

ข้อมูลทั่วไป ป้อมทุ่งเศรษฐี[แก้ไข]

ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์[แก้ไข]

         ป้อมทุ่งเศรษฐี

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         -

ศาสนา[แก้ไข]

         ศาสนาพุทธ 

ที่ตั้ง (ที่อยู่)[แก้ไข]

         ตั้งอยู่นอกเมืองนครชุมทางด้านทิศใต้ ริมถนนสายกําแพงเพชร-สุโขทัย (ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 101) 

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]

         ละติจูด (Latitude) : 16.474147 
         ลองติจูด (Longitude) : 99.502100

หน่วยงานที่ดูแลรักษา[แก้ไข]

         กรมศิลปากร

สถานะการขึ้นทะเบียน[แก้ไข]

         ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร

วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง[แก้ไข]

         พุทธศตวรรษที่ 21-22

ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา/คำบอกเล่า/ตำนาน[แก้ไข]

         ป้อมทุ่งเศรษฐี เป็นโบราณสถานขนาดใหญ่ ตั้งอยู่นอกเมืองนครชุมทางด้านทิศใต้ พื้นที่โดยรอบเป็นทุ่งที่ราบ ลักษณะป้อมเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยศิลาแลงยาวด้านละ 84 เมตร ด้านเหนือถูกรื้อทำลายตลอดแนว แต่ละด้านมีช่องประตูเข้าออกตรงบริเวณกึ่งกลาง ด้านนอกก่อเป็นกำแพงสูงด้านในก่อเป็นแท่นเชิงเทิน ตอนบนสุดก่อเป็นรูปใบเสมา ใต้ใบเสมาทุกใบมีช่องอาจจะใช้เป็นช่องปืน ตรงมุมกำแพงทั้งสี่มุมทำเป็นป้อมรูปสี่เหลี่ยมยื่นออกมา ตอนล่างของแนวกำแพงมีช่องกุดทำเป็นวงโค้งยอดแหลม ภายในบริเวณป้อมไม่ปรากฏร่องรอยสิ่งก่อสร้างอื่น ป้อมทุ่งเศรษฐีคงสร้างในสมัยอยุธยาตอนกลางและเป็นลักษณะป้อมที่ได้รับอิทธิพลจากยุโรป 
9 ป้อมทุ่งเศรษฐี.jpg

ภาพที่ 9 ป้อมทุ่งเศรษฐี

บุคคลที่เกี่ยวข้อง[แก้ไข]

         -

วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ[แก้ไข]

         -

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]

         สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
          กรมศิลปากร

วัน เดือน ปี ที่สำรวจ[แก้ไข]

         14 กุมภาพันธ์ 2561

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         -

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         นางสาวไพลิน  สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

         ป้อมทุ่งเศรษฐี

ข้อมูลทั่วไป วัดซุ้มกอ[แก้ไข]

ชื่อศาสนสถาน และสิ่งศักดิ์สิทธิ์[แก้ไข]

         วัดซุ้มกอ

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         -

ศาสนา[แก้ไข]

         ศาสนาพุทธ 

ที่ตั้ง (ที่อยู่)[แก้ไข]

         ตั้งอยู่นอกเมืองนครชุมทางด้านทิศใต้ ริมถนนสายกําแพงเพชร-สุโขทัย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 303) และอยู่ในเขตอรัญญิกของเมืองนครชุม 

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]

         ละติจูด (Latitude) : 16.473604
         ลองติจูด (Longitude) : 99.509294

หน่วยงานที่ดูแลรักษา[แก้ไข]

         สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกำแพงเพชร

สถานะการขึ้นทะเบียน[แก้ไข]

         -

วัน เดือน ปี ที่ก่อสร้าง[แก้ไข]

         พุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา/คำบอกเล่า/ตำนาน[แก้ไข]

         วัดซุ้มกอ เมืองนครชุม หรือนครพระชุม สร้างในสมัยสุโขทัย เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในรัชกาลของพระมหาธรรมราชาลิไท ประกอบด้วยสองเขต เหมือนกับเมืองโบราณโดยทั่วไป คือเขตเมืองที่เรียกว่าคามวาสี และเขตป่าที่เรียกว่าอรัญญิก บริเวณนี้เรียกกันในสมัยโบราณว่า ดงเศรษฐีเมื่อป่าไม้ถูกทำลายไปจนหมดสิ้น จึงเรียกกันว่าทุ่งเศรษฐีเป็นอาณาเขตที่พบกรุพระเครื่องที่มีชื่อเสียงที่สุดของเมืองกำแพงเพชร เรียกตามแหล่งที่พบว่า พระทุ่งเศรษฐี วัดซุ้มกอ อยู่ในเขตอรัญญิกบริเวณทุ่งเศรษฐี บริเวณตรงกันข้ามกับสถานีขนส่งจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบด้วยป้อมทุ่งเศรษฐี วัดหนองพิกุล วัดหนองลังกา วัดหนองพุทรา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล และวัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดซุ้มกอ ที่เรียกว่าวัดซุ้มกอเพราะพบพระเครื่อง ที่วงการพระเครื่องเรียกกันว่า พระซุ้มกอ ทุกพิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก และพิมพ์คะแนน จำนวนมากที่วัดนี้ เนื่องจาก วัดซุ้มกอ มีพระซุ้มกอที่มีชื่อเสียงเป็นหนึ่งในเบญจภาคีสุดยอดแห่งจักรพรรดิ์พระเครื่อง ทำให้โบราณสถานและโบราณวัตถุในบริเวณวัดซุ้มกอถูกทำลายจนหมดสิ้น ที่พบ ก่อนการบูรณะคือเนินดิน ที่เป็นเจดีย์ทรงลังกา และเนินวิหารขนาดเล็ก มีเจดีย์ราย รอบเจดีย์ใหญ่ แต่ไม่เหลือแม้กระทั่งซาก พระเครื่อง พระบูชา พระพุทธรูป ถูกขนย้ายไปจากบริเวณวัดซุ้มกอทั้งหมด รอบๆวัด มีคูน้ำล้อมรอบเป็นลักษณะอุทกสีมาตามคตินิยมแบบลังกา วัดบริเวณนี้ทั้งหมดมีอุทกสีมาเหมือนกันทั้งหมดยืนยันได้ว่าสร้างในสมัยใกล้เคียงกัน วัดซุ้มกอควรจะเป็นหน้าตาของเมืองกำแพงเพชร แต่หาคนที่รู้จักวัดซุ้มกอได้ยากยิ่ง แม้วัดซุ้มกออยู่ริมทางถนนเข้าเมืองกำแพงเพชร แต่ความทรุดโทรมของวัดจึงไม่ได้มีผู้คนและนักท่องเที่ยวสนใจแต่อย่างใด จังหวัดกำแพงเพชรกำลังจะปรับปรุงภูมิทัศน์ของวัดซุ้มกอใหม่ก่อนที่วัดซุ้มกอจะถูกถมหายไปหรือกลายเป็น บึง บ่อ ขนาดใหญ่ น่าเสียดายยิ่ง ชาวกำแพงเพชร ชาวนครชุมควรได้ดูแลรักษาสิ่งที่บรรพบุรุษสร้างไว้ให้งดงามและเหมาะสมกับการเป็นเมืองมรดกโลก ก่อนที่วัดซุ้มกอตำนานแห่งพระซุ้มกอจะอันตรธานไปกับความเจริญทางวัตถุของเมืองนครชุม ขอชาวเราได้ช่วยกันดูแลบ้านเมืองของเรา ให้เหมาะสมที่สุดกับที่มาแห่งพระซุ้มกอ พระที่คนทั้งประเทศตัองการ					 
ภาพที่ 8 วัดซุ้มกอ.jpg

ภาพที่ 10 วัดซุ้มกอ

         วัดซุ้มกอเป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังฐานแปดเหลี่ยมก่อด้วยอิฐ ส่วนยอด หนือองค์ระฆังขึ้นไปพังทลายลงหมดแล้ว สําหรับทางด้านหน้าเจดีย์ประธาน มีฐานวิหารขนาดเล็ก 1 หลัง

บุคคลที่เกี่ยวข้อง[แก้ไข]

         -

วิธี/ ขั้นตอน/ กระบวนการในการสักการะ[แก้ไข]

-

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]

         สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร
         องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร			

วัน เดือน ปี ที่สำรวจ[แก้ไข]

         14 กุมภาพันธ์ 2561

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         -

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         นางสาวไพลิน  สุ่มแก้ว และ นักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

         วัดซุ้มกอ