ฐานข้อมูล เรื่อง อาหาร ขนม และเครื่องดื่มประจําถิ่น ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

อาหารพื้นถิ่น ก่อนปี พ.ศ.2499 (เสด็จประพาส) – ปี พ.ศ.2520

เชื้อชาติ อาหารคาว อาหารหวาน อาหารว่าง
อาหารไทย แกงบอน กระยาสารท กล้วยกวน
แกงหยวก ขนมด้วงกะทิ มะพร้าวเสวย
แกงขี้เหล็ก ขนมดอกดิน เมี่ยงไส้
แกงผักหวาน ข้าวเหนียมแก้ว เมี่ยงคำ
แกงหน่อไม้ใส่เห็ดหอบ ข้าวเหนียวแดง เมี่ยงลาว
แกงพันงู ข้าวต้มลูกโยน ข้าวหมาก
ต้มกะทิปลาเกลือ ขนมกวน ข้าวตอกอัด
ปลาเห็ด แดกงา ขนมฝักบัว
ยำหัวปลี ขนมปลากริม มะปรางลอยแก้ว
ยำใหญ่ ขนมขี้หนู ปลาแนม
แกงยอดหวาย ซาลาเปาทอด มะม่วงแก้วกวน
ยำหวาย ไข่เหี้ย ส้มแผ่น
ขนมห่อใบตองนึ่ง ข้าวพอง
ตะโก้
ขนมเปียกปูน
ขนมหูช้าง
ลอดช่องไทย
ขนมบ้าบิ่น
ขนมหัวผักกาด
ข้าวต้มลาว
ทองหยอด
ทองหยิบ
ฝอยทอง
ขนมหม้อแกงถั่ว
วุ้นหน้าต่าง ๆ
ข้าวเหนียวสังขยา เผือก
ฟักทองกวน
กล้วยบวชชี
แกงบวดต่าง ๆ
ขนนมกล้วยปิ้ง
อาหารพม่า แกงฮังเล
แกงมะเขือลื่นใส่ใบกระเจี๊ยบ
อาหารไทยใหญ่ แกงอุ๊บมะเขือ ไส้กรอกถั่ว
แกงถั่วมะแฮะ ขนมจีบแป้งสด
แกงกล้วยดิบ ผักห่อ
แกงไข่ต้ม
ข้าวกั๋นจิ้น (ข้าวคั้นชิ้นหมู)
อาหารลาว แกงแค เมี่ยงกับเกลือ
แกงชะอมใส่เส้นหมี่ (แกงเอาะ) กินกับหมาก
แกงเผ็ดด้วยน้ำมันมะพร้าว ใบพลูหลาม (พลูนึ่ง)
หน่อไม้นอนาง
แกงต้นตูน (คูณ)
ส้มตำลาว
หมูส้ม
ซวกมะเขือ
งบปลา-กุ้ง
อาหารกะเหรี่ยง แกงแค ข้าวเหนียวห่อด้วยใบตองนึ่งจิ้มน้ำผึ้ง (ปัจจุบันไม่มีผู้สืบทอด)
แกงเปอะหน่อไม้
แกงผักหวานใส่ข้าวสุก
ปลาร้าเนื้อสัตว์
เนื้อสัตว์ย่างแห้ง
อาหารจีน ขนมกุยช่าย เฉาก๊วย ปาท่องโก๋
ห่ำช้อย ห่ำช้อย
เส้นบะหมี่ ขนมเทียน
บ๊ะจ่าง

อาหารพื้นบ้านประถิ่น ปี พ.ศ.2521 – ปี พ.ศ.2550 (อาหารที่เริ่มหายไป ไม่มีผู้สืบทอด)

เชื้อชาติ อาหารคาว อาหารหวาน อาหารว่าง ข้อสังเกต
อาหารไทย แกงบวน ขนมกวน ปลาแนม เริ่มหายไป
ยำใหญ่ แดกงา มีผู้ทำกินเป็น
แกงยอดหวาย ขนมปลากริม บางครัวเรือน
ปลาเห็ด ขนมขี้หนู
ยำหัวปลี ซาลาเปาทอด
แกงบอน ไข่เหี้ย
กระยาสารท
ข้าวเหนียวแก้ว
ข้าวเหนียวแดง
ข้าวต้มลูกโยน
ขนมหัวผักกาด
อาหารพม่า แกงมะเขือลื่นใส่ใบกระเจี๊ยบ ไม่มีผู้สืบทอด
อาหารไทยใหญ่ แกงไข่ต้ม ไม่มีผู้สืบทอด
แกงกล้วยดิบ ทำเป็นบางครัวเรือน
ข้าวกั๋นจิ้น ไม่มีผู้สืบทอด เริ่มหายไป
อาหารลาว แกงเผ็ดด้วยน้ำมันมะพร้าว ทำเป็นบางครัวเรือน
อาหารกะเหรี่ยง ส้มตำลาว หายไป
หมูส้ม หายไป
แกงปรุงรสด้วยปลาร้าทุกชนิด สูญหาย
อาหารจีน หำช้อย เฉาก๊วย ปาท่องโก๋ ไม่มีผู้สืบทอด

อาหารพื้นถิ่น ปี พ.ศ.2535 – ปี พ.ศ.2550

เชื้อชาติ อาหารคาว อาหารหวาน อาหารว่าง ข้อสังเกต
อาหารไทย ยำหัวปลี กระยาสารท มีผู้ทำเป็นน้อยลง
แกงบอน ข้าวเหนียวแก้ว
ข้าวเหนียวแดง
ข้าวต้มลูกโยน
ขนมหัวผักกาด หายไป
อาหารลาว เมี่ยงกับเกลือ

อาหารพื้นถิ่นที่กำลังทำในปัจุบัน

เชื้อชาติ อาหารคาว อาหารหวาน อาหารว่าง ข้อสังเกต
อาหารไทย แกงบอน ขนมถ้วยกะทิ กล้วยกวน ทุกอย่างมีผู้ทำเป็น
แกงขี้เหล็ก ขนมดอกดิน มะพร้าวเสวย น้อยลง แต่ยังมี
แกงผักหวาน ขนมห่อใบตองนิ่ง เมี่ยงไส้ ผู้สืบทอด
แกงหน่อไม้ใส่เห็ดถอบ ตะโก้ เมี่ยงคำ
ขนมหัวผักกาด หายไป
แกงพันงู ขนมถาด เมี่ยงลาว
ต้มกะทิกับปลาเกลือ แกงบวดต่าง ๆ ข้าวหมาก
แกงหยวก ขนมกล้วยปิ้ง ข้าวตอกอัด
แกงเลียง ขนมฝักบัว
มะปรางลอยแก้ว
อาหารพม่า แกงฮังเล มีผู้ทำเป็นน้อยลง แต่ยังมีผู้สืบทอด
อาหารไทยใหญ่ แกงอุ๊บมะเขือ มีผู้ทำเป็นน้อยลง แต่ยังมีผู้สืบทอด
แกงถั่วมะแฮะ มีผู้ทำเป็นน้อยลง แต่ยังมีผู้สืบทอด
อาหารลาว แกงแค มีผู้ทำเป็นน้อยลง
แกงปรุงรสด้วยปลาร้า แต่ยังมีผู้สืบทอด
อาหารจีน ขนมกุยช่าย ขนมเข่ง มีผู้ทำเป็นน้อยลง
การทำเส้นบะหมี่ ขนมเทียน แต่ยังมีผู้สืบทอด

อาหารและขนมที่หากินได้เฉพาะฤดูกาล

เดือน อาหารและขนม
มกราคม -
กุมภาพันธ์ ข้าวหลาม
มีนาคม เห็ดโคน แกงถั่วมะแฮะ มะปรางลอยแก้ว
เมษายน แกงส้ม เห็ดโคน แกงถั่วมะแฮะ เห็ดถอบ แมงอีนูน มะปรางลอยแก้ว
พฤษภาคม เห็ดโคน เห็ดไข่ เห็ดถอบ แมงอีนูน
มิถุนายน แกงพันงู เห็ดถอบ
กรกฎาคม แกงพันงู เห็ดถอบ
สิงหาคม หน่อไม้ มะโห่ ขนมดอกดิน กล้วยไข่
กันยายน ขนมดอกดิน กล้วยไข่ กระยาสารท (ปัจจุบันมีขายตลอด)
ตุลาคม ขนมดอกดิน ข้าวต้มลูกโยน แกงส้มดอกแค (แก้ไข้หัวลม)
พฤศจิกายน แกงขี้เหล็ก กินเป็นยาในวันเพ็ญเดือน 12
ธันวาคม -

ข้อมูลทั่วไป

ชื่ออาหาร/ขนม/เครื่องดื่ม

         แกงพันงู

ชื่อเรียกอื่น ๆ

         แกงผักอีรอก

แหล่ง / ถิ่นอาหาร

        ตำบลนครชุม

ประเภท อาหาร/ขนม/ ครื่องดื่ม

         อาหาร

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์

         ละติจูด (Latitude) : 16.479090
         ลองจิจูด (Longitude) : 99.506511

ผู้คิดค้น

         -

ข้อมูลจำเพาะ

ประวัติความเป็นมา

         เป็นแกงของคนโบราณ 1 ปี กินได้ 1 ครั้ง ออกช่วงเดือนเมษา แกงได้หลายวิธี เช่น แกงใส่หมูสับ หมูย่าง แย้ อึ่ง กบ ปลาย่าง  พันงู หรือบุกอีรอกเป็นผักที่คุณค่าทางอาหาร นิยมใช้บำรุงกำลังช่วยในการสูบฉีดโลหิต ป้องกันโรคไหลตายได้
1 พันงู (ผักอีรอก).jpg

ภาพที่ 1 พันงู (ผักอีรอก)

สรรพคุณ

         1) ช่วยใช้เป็นยากัดเสมหะ
         2) ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
         3) ช่วยลดระดับน้ำตาลในหลอดเลือด และการดูดซึมของน้ำตาลในทางเดินอาหาร

ข้อมูลการประกอบอาหาร

เครื่องปรุง

         พันงู (ผักอีรอก) กะทิ น้ำพริกแกงเผ็ด เนื้อหมู ปลาย่าง ใบมะขามอ่อน ผักชะอม 
2 เครื่องปรุงแกงพันงู (แกงผักอีรอก).jpg

ภาพที่ 2 เครื่องปรุงแกงพันงู (แกงผักอีรอก)

ขั้นตอนการปรุง

         ลอกพันงูหั่นเป็นท่อนๆ ประมาณ 1 นิ้ว ไม่ต้องล้างน้ำเพราะจะทำให้คัน โขลกเครื่องพริกแกงให้แหลกปลาย่างแกะเอาแต่เนื้อโขลกลงไป คั้นกะทิแยกหัว แยกหางกะทิ นำส่วนหางกะทิตั้งไฟ เคี่ยวให้แตกมัน ผัดน้ำพริงแกงที่เตรียมไว้ให้หอม ใส่หมูผัดให้สุก เทกะทิใส่ เติมเกลือเล็กน้อย พอน้ำแกงเดือด ใส่พันงูลงไปเคี่ยวจนสุก ใส่ใบมะขามและชะอม ยกกะทะลงจากเตาไฟ ถ้าเป็นหน้าเห็ดถอบจะนิยมใส่ลงไปด้วยเพื่อให้อร่อยยิ่งขึ้น
ภาพที่ 4 เครื่องปรุงแกงพันงู.jpg

ภาพที่ 3 เครื่องปรุงแกงพันงู (แกงผักอีรอก)

การเสิร์ฟ/การรับประทาน

         รับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ

4. ข้อมูลการสำรวจ 4.1 แหล่งอ้างอิง ดวงรัตน์ พยอม เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนนครชุม 4.2 วัน เดือน ปี ที่สำรวจ 5 มีนาคม 2561 4.3 วันปรับปรุงข้อมูล - 4.4 ผู้สำรวจข้อมูล นางสาวไพลิน สุ่มแก้ว และ นางสาวยุพดี จุลสุข 4.5 คำสำคัญ (tag) -

1. ข้อมูลทั่วไป 1.1 ชื่ออาหาร / ขนม / เครื่องดื่ม แกงขี้เหล็ก 1.2 ชื่อเรียกอื่นๆ - 1.3 แหล่ง / ถิ่นอาหาร ตำบลนครชุม 1.4 ประเภท อาหาร/ ขนม/ เครื่องดื่ม อาหาร 1.5 ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์ ละติจูด (Latitude) : 16.479576 ลองติจูด (Longitude) : 99.507163 1.6 ผู้คิดค้น - 2. ข้อมูลจำเพาะ 2.1 ประวัติความเป็นมา ขี้เหล็กเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่คนโบราณนำใบอ่อนและดอกมาปรุงเป็นอาหาร ซึ่ง ในวันเพ็ญเดือน 12 ชาวบ้านนครชุมร่วมมือร่วมใจกันทำแกงขี้เหล็กทุกครัวเรือน คนโบราณถือว่า วันเพ็ญเดือน 12 ยอดขี้เหล็กจะเป็นยารักษาสารพัดโรค แต่ต้องเก็บตอนเช้ามืดหรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เพราะพระจันทร์นั้นได้ดูดสารอาหารและสรรพคุณทางยาขึ้นมาที่ยอด เมื่อพระจันทร์ได้ผ่านหายไปสรรพคุณทางยาอาจไม่ได้อยู่ที่ยอดและดอกมากนัก และจะต้องแกงให้เสร็จภายในวันนั้น มิฉะนั้นสรรพคุณจะไม่ขลัง ปัจจุบันจะแกงในวันเพ็ญดังกล่าว เฉพาะบ้านผู้รู้ ในตำราแพทย์แผนไทย 2.2 สรรพคุณ เป็นสุดยอดของยาอายุวัฒนะ แก้ท้องผูก แก้อาการนอนไม่หลับ บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิต และทำให้เจริญอาหาร

3. ข้อมูลการประกอบอาหาร 3.1 เครื่องปรุง ขี้เหล็ก (ต้มแล้ว) เนื้อสันคอหมูย่าง ปลาย่างแกะเอาก้างออก กระชายหั่นฝอย หนังหมูย่าง กะทิ น้ำตาลปิ๊บ น้ำพริกแกง

ภาพที่ 4 เครื่องปรุงแกงขี้เหล็ก (ที่มา : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร, 2560) 3.2 ขั้นตอนการปรุง ต้มขี้เหล็กให้หายขม 1 ครั้ง หรือ 2 ครั้ง แล้วแต่ชนิดของขี้เหล็ก ถ้ายอดขาวจะขมน้อยกว่ายอดแดง บีบน้ำให้แห้งพักไว้ จากนั้นผัดน้ำพริกแกงกับหัวกะทิจนหอม เติมกะทิทีละน้อยไม่ให้แตกมันมากนัก ใส่หมูย่างหรือปลาย่างลงเคล้าให้เข้ากัน เติมเกลือ เติมหางกะทิลงไปพอเดือด ใส่ขี้เใส่ขี้เหล็ก เดือดดีแล้วเคี่ยวด้วยไฟอ่อน โดยไม่ต้องคนหม้อบ่อยนัก เนื่องจากการคนหม้อบ่อยอาจทำให้ความขมของขี้เหล็กออกมาได้


ภาพที่ 5 แกงขี้เหล็ก (ที่มา : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร, 2560) 3.3 การเสิร์ฟ/ การรับประทาน รับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ 4. ข้อมูลการสำรวจ 4.1 แหล่งอ้างอิง ปิยะมัย คงเดช เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนนครชุม 4.2 วัน เดือน ปี ที่สำรวจ 8 มีนาคม 2561 4.3 วันปรับปรุงข้อมูล - 4.4 ผู้สำรวจข้อมูล นางสาวไพลิน สุ่มแก้ว และ นางสาวยุพดี จุลสุข 4.5 คำสำคัญ (tag) -

1. ข้อมูลทั่วไป 1.1 ชื่ออาหาร / ขนม / เครื่องดื่ม แกงกล้วยดิบ 1.2 ชื่อเรียกอื่นๆ - 1.3 แหล่ง / ถิ่นอาหาร ตำบลนครชุม 1.4 ประเภท อาหาร/ ขนม/ เครื่องดื่ม อาหารไทยใหญ่ 1.5 ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์ ละติจูด (Latitude) : - ลองติจูด (Longitude) : - 1.6 ผู้คิดค้น - 2. ข้อมูลจำเพาะ 2.1 ประวัติความเป็นมา เป็นแกงพื้นบ้านผสมกับว่านม่วง ถ้าไม่มีว่านม่วงก็ใช้กล้วยดิบ 2.2 สรรพคุณ - 3. ข้อมูลการประกอบอาหาร 3.1 เครื่องปรุง กล้วยน้ำว้าดิบ ไก่/ เนื้อหมู/ปลาดุก กะทิ พริกแกง น้ำปลา เกลือ น้ำตาล โหรพา พริกสดสีแดง

ภาพที่ 6 กล้วยน้ำว้าดิบปอกเปลือกแช่น้ำ

3.2 ขั้นตอนการปรุง 1) ปอกกล้วยดิบหั่นเป็นเส้น แช่น้ำ 2) นำกล้วยดิบที่หั่นเป็นเส้นไปล้างน้ำ 3 - 4 ครั้ง เพื่อเอายางออก 3) หั่นเนื้อไก่/เนื้อหมู/ปลา 4} นำกะทืใส่ลงในหม้อตั้งไฟ จากนั้นใส่พริกแกงลงไปผัดจนเริ่มหอม 5) ใส่เนื้อไก่/เนื้อหมู/ปลา ลงไปพอเริ่มสุกให้ใส่กล้วยดิบที่สะเด็ดน้ำแล้วลงไป 6) ใส่กะทิที่เหลือลงไปให้หมดเคี่ยวต่อไปจนกล้วยสุก 7) ปรุงรสตามชอบ จากนั้นใสเพริกสดสีแดงและใบโหรพาลงไป


ภาพที่ 7 แกงกล้วยดิบ 3.3 การเสิร์ฟ/ การรับประทาน รับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ 4. ข้อมูลการสำรวจ 4.1 แหล่งอ้างอิง รวงรัตน์ ยศปัญญา บ้านปากคลองใต้ เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนนครชุม 4.2 วัน เดือน ปี ที่สำรวจ 8 มีนาคม 2561 4.3 วันปรับปรุงข้อมูล - 4.4 ผู้สำรวจข้อมูล นางสาวไพลิน สุ่มแก้ว และ นางสาวยุพดี จุลสุข 4.5 คำสำคัญ (tag) -

1. ข้อมูลทั่วไป 1.1 ชื่ออาหาร / ขนม / เครื่องดื่ม แกงยอดหวาย 1.2 ชื่อเรียกอื่นๆ - 1.3 แหล่ง / ถิ่นอาหาร ตำบลนครชุม 1.4 ประเภท อาหาร/ ขนม/ เครื่องดื่ม อาหารไทย 1.5 ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์ ละติจูด (Latitude) : - ลองติจูด (Longitude) : - 1.6 ผู้คิดค้น - 2. ข้อมูลจำเพาะ 2.1 ประวัติความเป็นมา - 2.2 สรรพคุณ หวายเป็นยารสขมเย็น ช่วยบำรุงน้ำดี บำรุงธาตุไฟ สมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยขับเหงื่อ ระบายท้อง แก้พิษไข้ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศชาย 3. ข้อมูลการประกอบอาหาร 3.1 เครื่องปรุง หวาย ผักสะแงะ ใบแมงลัก พริกสด เนื้อไก่ น้ำใบย่านาง เกลือป่น ข้าวเบือ (ข้าวเหนียวแช่น้ำ โขลกละเอียด) 3.2 ขั้นตอนการปรุง 1) หวายปอกเปลือกและหนามแหลมออก เลือกแต่ลำต้นอ่อน ตัดเป็นชิ้นๆ แช่น้ำไว้ไม่ให้หวายดำ 2) ต้มหวายและเทน้ำออกเพื่อให้หายขม (สำหรับคนไม่ชอบรสขม) แต่คนไม่นิยมต้มก่อนเพราะชอบรสขมเนื่องจากเชื่อว่าเป็นยา 3) นำพริกสด ข้าวเบื่อ เกลือ โขลกเข้าด้วยกัน (ข้าวเบื่อทำให้น้ำแกงข้น) 4) ใส่น้ำใบย่านางในหม้อต้มจนเดือด จากนั้นใส่เครื่องแกงที่โขลกไว้ เนื้อไก่ และเมื่อไก่สุกใส่หวาย 5) ปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่น้ำปลาร้า ใส่ผักสะแงะ (ผักพื้นบ้านช่วยแต่งกลิ่น) ตามด้วยใบแมงลัก


ภาพที่ 8 แกงยอดหวาย

3.3 การเสิร์ฟ/ การรับประทาน ทานเป็นกับข้าว 4. ข้อมูลการสำรวจ 4.1 แหล่งอ้างอิง นางเยาวเรศ จุลสุข บ้านเลขที่ 25/62 ซ.5 ต.นครชุม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนนครชุม 4.2 วัน เดือน ปี ที่สำรวจ 8 มีนาคม 2561 4.3 วันปรับปรุงข้อมูล - 4.4 ผู้สำรวจข้อมูล นางสาวไพลิน สุ่มแก้ว และ นางสาวยุพดี จุลสุข 4.5 คำสำคัญ (tag) -

1. ข้อมูลทั่วไป 1.1 ชื่ออาหาร / ขนม / เครื่องดื่ม ข้าวเหนียวแก้ว 1.2 ชื่อเรียกอื่นๆ - 1.3 แหล่ง / ถิ่นอาหาร ตำบลนครชุม 1.4 ประเภท อาหาร/ ขนม/ เครื่องดื่ม ขนม 1.5 ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์ ละติจูด (Latitude) : - ลองติจูด (Longitude) : - 1.6 ผู้คิดค้น - 2. ข้อมูลจำเพาะ 2.1 ประวัติความเป็นมา - 2.2 สรรพคุณ - 3. ข้อมูลการประกอบอาหาร 3.1 เครื่องปรุง ข้าวเหนียว กระทิ น้ำตาลทราย กลือ น้ำใบเตย น้ำปูนใส าขาวคั่วสำหรับโรยหน้า 3.2 ขั้นตอนการปรุง ใส่ข้าวเหนียวร้อนๆ กะทิ เกลือ น้ำใบเตย และน้ำปูนใสลงในข้าวผสมให้เข้ากัน มัดพลาสติกไว้ประมาณ 20-30 นาที ใส่น้ำตาลทราย เทส่วนผสมใส่กระทะ ใช้ไฟกลางๆ กวนไปเรื่อยๆ กวนมา 5 นาทีจนน้ำตาลเริ่มละลายกวนต่ออีก 10-15 นาที ตักใส่ภาชนะตัดเป็นคำ ๆ ตามต้องการ พอจับตัวเป็นก้อนก็ทิ้งให้เย็นแล้วนำมารับประทาน


ภาพที่ 9 ข้าวเหนียวแก้ว

3.3 การเสิร์ฟ/ การรับประทาน รับประทานเป็นอาหารว่าง 4. ข้อมูลการสำรวจ 4.1 แหล่งอ้างอิง นางเยาวเรศ จุลสุข เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนนครชุม 4.2 วัน เดือน ปี ที่สำรวจ 8 มีนาคม 2561 4.3 วันปรับปรุงข้อมูล - 4.4 ผู้สำรวจข้อมูล นางสาวไพลิน สุ่มแก้ว และ นางสาวยุพดี จุลสุข 4.5 คำสำคัญ (tag) -

1. ข้อมูลทั่วไป 1.1 ชื่ออาหาร / ขนม / เครื่องดื่ม มะปรางลอยแก้ว 1.2 ชื่อเรียกอื่นๆ - 1.3 แหล่ง / ถิ่นอาหาร ตำบลนครชุม 1.4 ประเภท อาหาร/ ขนม/ เครื่องดื่ม ขนม 1.5 ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์ ละติจูด (Latitude) : - ลองติจูด (Longitude) : - 1.6 ผู้คิดค้น - 2. ข้อมูลจำเพาะ 2.1 ประวัติความเป็นมา - 2.2 สรรพคุณ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยบำรุงและรักษาสายตา 3. ข้อมูลการประกอบอาหาร 3.1 เครื่องปรุง มะปรางสุก น้ำตาลทราย เกลือป่น ใบเตย น้ำเปล่า น้ำแข็ง

ภาพที่ 10 มะปรางสุก 3.2 ขั้นตอนการปรุง 1) นำมะปรางสุกมาหั่นหรือตว้านเม็ดออก 2) ตั้งน้ำให้พอเดือดใส่น้ำตาลลงไป จากนั้นใส่ใบเตยลงไป 3) พักให้พอเย็น จากนั้นนำน้ำแข็งใส่ถ้วย พร้อมจัดเรียงมะปรางให้สวยงาม 4) เทน้ำเชื่อมใส่ลงไป

ภาพที่ 11 มะปรางลอยแก้ว


3.3 การเสิร์ฟ/ การรับประทาน นิยมเสิร์ฟเป็นอาหารหวาน หลังจากการรับประทานอาหาคาว 4. ข้อมูลการสำรวจ 4.1 แหล่งอ้างอิง นายแอ๊ด ทับจีน เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนนครชุม 4.2 วัน เดือน ปี ที่สำรวจ 8 มีนาคม 2561 4.3 วันปรับปรุงข้อมูล - 4.4 ผู้สำรวจข้อมูล นางสาวไพลิน สุ่มแก้ว และ นางสาวยุพดี จุลสุข 4.5 คำสำคัญ (tag) -