ฐานข้อมูล เรื่อง ประเพณีม้าแห่นาค อำเภอคลองขลุง

จาก KPPStudies
รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:16, 19 เมษายน 2564 โดย Admin (คุย | มีส่วนร่วม) (ประวัติความเป็นมาของประเพณีม้าแห่นาค)
(ต่าง) ←รุ่นแก้ไขก่อนหน้า | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นแก้ไขถัดไป→ (ต่าง)
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลทั่วไป

ภาพที่ 1 แสดงลักษณะการใช้ม้าแห่นาค.jpg

ภาพที่ 1 แสดงลักษณะการใช้ม้าแห่นาค

         “ม้าแห่นาค” เป็นประเพณีที่ถูกสืบทอดต่อกันมาจากโบราณ โดยจัดขึ้นจากชาวบ้านหมู่บ้านดอนคา ตำบลดอนคา อำเภออู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อคนในท้องถิ่นได้อพยพย้ายถิ่นมายังจังหวัดกำแพงเพชร คนกลุ่มนี้จึงนำประเพณีม้าแห่นาคที่กลุ่มของตนมีความเชื่อและนับถือมาเผยแพร่สู่พื้นที่ที่ตนเองอาศัยอยู่ นั้นก็คือ จังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันคนกลุ่มนี้ได้อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 1 ตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากชาวบ้านมีการย้ายถิ่นฐานมาเพื่อประกอบอาชีพ แต่งงาน โดยมีความเชื่อว่า เมื่อลูกหลานอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ลูกหลานบ้านนั้นก็จะจัดประเพณีงานบวชพระหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ม้าแห่นาค” ขึ้นเพื่อให้ลูกหรือหลานคนนั้นได้บวชเพื่อทดแทนพระคุณบิดา มารดา โดยชาวบ้านจะช่วยกันสร้างม้าปลอมที่ทำมาจากฟางข้าวขึ้น เพื่อใช้เป็นตัวแทนม้าที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นพาหนะในการออกผนวช นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการทดสอบความอดทนของนาค เนื่องจากตอนแห่นาคจากบ้านไปสู่อุโบสถของวัดนั้น ระหว่างทางผู้แบกจะขย่มม้าให้มีลักษณะเหมือนม้าย่อง ตามจังหวะเพลง (เอียงไปซ้ายขวา) นั้นเอง 

เดือนที่จัดงาน

         วันที่ 7 – 8 เดือนเมษายน พ.ศ.2561 หรือตามฤกษ์ดีของแต่ละปี

เวลาทางจันทรคติ

         ตรงกับแรม 8 ค่ำ เดือน 5

สถานที่

         สถานที่จัดงานบวช : บ้านเลขที่ 166/1 หมู่ 1 ตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 
         สถานที่บรรพชา : วัดจันทาราม เลขที่ 1 หมู่ที่ 1 ตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร 
ภาพที่ 2 แสดงสถานที่บรรพชา.jpg

ภาพที่ 2 แสดงสถานที่บรรพชา

ประเภทประเพณี

         ประเพณีไทยในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก คือ จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม ขนบประเพณีหรือสถาบัน และธรรมเนียมประเพณี ประเพณีม้าแห่นาคก็เช่นเดียวกัน ถือว่าเป็นจารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรม เนื่องจากประเพณีบวชพระเป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม เพราะเมื่อชายใดที่อายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ จะต้องบวชเพื่อทดแทนคุณบิดา มารดา แต่หากผู้ชายคนนั้น ไม่บวชตามจารีตประเพณีที่สืบทอดต่อกันมานั้น ก็จะถูกถูกตำหนิหรือได้รับการลงโทษจากคนในสังคมนั้น ว่าชายคนนั้น เป็นคนอกตัญญู เช่นเดียวกับความเชื่อที่ว่า ลูกหลานต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า ถ้าใครไม่เลี้ยงดูถือว่าเป็นคนเนรคุณหรือลูกอกตัญญูนั้นเอง 
ภาพที่ 2 แสดงการแห่นาคด้วยม้าปลอม.jpg

ภาพที่ 3 แสดงการแห่นาคด้วยม้าปลอม

ประวัติความเป็นมาของประเพณีม้าแห่นาค

         เมื่อนามมาแล้วชาวบ้านหมู่ 1 ตำบลวังแขม อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ได้ย้ายถิ่นฐานกันมาจากบ้านดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีและมีประเพณีที่สำคัญที่ได้นำมาจากบ้านดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีด้วยก็คือ “ประเพณีม้าแห่นาค” เหตุผลที่เป็นม้าก็เพราะชาวบ้านมีความเชื่อกันมาว่าในสมัยที่พระพุทธเจ้าออกผนวชนั้นมีม้าเป็นพาหนะในการออกผนวช ดังนั้น ชาวบ้านจึงเลียนแบบการออกผนวชของพระพุทธเจ้าซึ่งใช้ม้าเป็นพาหนะ โดยการทำม้าปลอมขึ้นมา ม้าปลอมจะถูกสร้างขึ้นมาจากหญ้าแฝกโดยความร่วมมือของคนในหมู่บ้าน และตกแต่งม้าปลอมนั้นอย่างประณีต สวยงาม เมื่อตกแต่งเรียบร้อยแล้วนั้นจึงนำม้านั้นไปผูกติดกับไม้ไผ่เพื่อให้นาคได้ขี่บนหลังม้า เมื่อนาคขึ้นบนหลังม้าปลอมเรียบร้อยแล้วจะมีกลุ่มเพื่อนนาคประมาณ 10 คน ผลัดเปลี่ยนกันแบกม้าไปสู้อุโบสถของวัด ระหว่างทางจากบ้านสู่อุโบสถของวัดนั้น คนแบกม้าจะมีการแบกอย่างเป็นจังหวะม้าย่อง เพื่อให้การเดิน ถูกเดินอย่างมีจังหวะ จังหวะม้าย่องเป็นการบ่งบอกว่าจังหวะนี้ควรหยุด ควรเดินหน้าหรือควรถอยหลัง นอกจากนั้นแล้วขบวนแห่นั้นจะแห่ไปรอบๆหมู่บ้านเพื่อเป็นการเชิญชวนให้ผู้คนในหมู่บ้านมาร่วมงานอุปสมบทดังกล่าวอีกด้วย ประเพณีม้าแห่นาคถูกสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จนถึงปัจจุบัน 
         ขั้นตอนการจัดประเพณีบวชพระแห่นาค
         1. โกนผมนาค 
             เริ่มโดยพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่มาร่วมบุญงานบวชพระในครั้งนี้ ทำการขลิบผมให้นาคเป็นปฐมฤกษ์ จากนั้นพระสงฆ์จะทำการโกนผมให้นาค ตามประเพณีการบวชพระที่ปฏิบัติโดยทั่วกันนั้น ผมนาคที่โกนแล้วจะห่อด้วยใบบัวแล้วนำไปลอยที่แม่น้ำหรือวางไว้ใต้ร่มโพธิ์ โดยเชื่อว่าจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ในการปลงผมนั้นจะปลงที่บ้านหรือที่วัดก็ได้แล้วแต่ความสะดวก แต่โดยทั่วไปนิยมปลงผมที่วัดมากกว่า เนื่องจากญาติหรือแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงานจะได้มีโอกาสร่วมพิธีตัดผมนาค อีกทั้งยังเป็นการประหยัดเวลาของเจ้าภาพและแขกที่มาร่วมงานอีกด้วย เพราะเมื่อปลงผมเสร็จจะได้ทำพิธีเวียนประทักษิณรอบสีมา และเข้าอุโบสถประกอบพิธีอุปสมบทต่อไป
ภาพที่ 3 แสดงการโกนผมนาคจากญาติผู้ใหญ่.jpg

ภาพที่ 4 แสดงการโกนผมนาคจากญาติผู้ใหญ่และผู้มาร่วมงาน

ภาพที่ 5 แสดงการล้างตัวนาคหลังจากโกนผมเสร็จเรียบร้อยแล้ว.jpg

ภาพที่ 5 แสดงการล้างตัวนาคหลังจากโกนผมเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ภาพที่ 6 การโกนผมนาค.jpg

ภาพที่ 6 การโกนผมนาค

7 แสดงการล้างตัวนาคหลังจากโกนผมเสร็จเรียบร้อยแล้ว.jpg

ภาพที่ 7 แสดงการล้างตัวนาคหลังจากโกนผมเสร็จเรียบร้อยแล้ว

         2. แต่งตัวนาค
             การแต่งตัวนาคนั้นควรแต่งด้วยชุดขาวทั้งหมด ซึ่งจะบ่งบอกถึงความสะอาดบริสุทธิ์ ทั้งกาย วาจา ใจ ของผู้ที่จะบวช การแต่งตัวนาค ไม่ควรมีเครื่องประดับประดามากจนเกินไป โดยขอแนะนำเครื่องแต่งตัวนาคตามประเพณีนิยมดังนี้ 
             2.1 เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว 
             2.2 สบงขาว 
             2.3 อังสะขาว 
             2.4 เข็มขัด หรือสายรัดสำหรับรัดสบง ในส่วนเข็มขัดนี้ ใช้สำหรับรัดสบงขาว ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมใช้เข็มขัดนาค ในกรณีที่ไม่มีเข็มขัดนาคจะใช้เข็มขัดอย่างอื่นหรือสายรัดแทนก็ได้ ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว แต่การใช้เข็มขัดนาคเป็นการปฏิบัติตามประเพณีการบวชพระที่นิยม เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่า "นาค" ซึ่งเป็นชื่อเรียกผู้ที่จะบวชในพระพุทธศาสนาเท่านั้น  
             2.5 เสื้อคลุมนาค 
             2.6 สร้อยคอ หากมีสร้อยคอจะสวมให้นาคก็ได้หรือไม่สวมก็ได้ แต่ไม่ควรคล้องพวงมาลัยให้นาค เพราะจากนาคจะกลายเป็นนักร้องแทน
ภาพที่ 4 การแต่งกายนาคในงานประเพณีม้าแห่นาค.jpg

ภาพที่ 8 การแต่งกายนาคในงานประเพณีม้าแห่นาค

         3. การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา 
             การเวียนประทักษิณในทางพระพุทธศาสนา คือ การกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ การหมุนไปทางขวา คือการหมุนไปสู่ความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ตรงกันข้ามกับการหมุนไปด้านซ้ายเป็นการหมุนทวนความดี คือ การกระทำที่เป็นทุจริตทางกาย วา และใจ การทำประทักษิณเวียนขวารอบสีมาก่อนเข้าอุโบสถของผู้ที่จะบวชพระนี้ นอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ยังเป็นอุบายที่คนโบราณสอนให้รู้ว่า สิ่งที่จะทำต่อไปนี้เป็นการกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจ
9 การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา.jpg

ภาพที่ 9 การเดินประทักษิณเวียนขวารอบสีมา

         4. การบรรพชา (บวชสามเณร) 
             เมื่อนาคได้เข้าไปในอุโบสถแล้ว นาคจะวันทาพระประธานอีกครั้งด้วยวิธีอย่างเดียวกันกับวันทาสีมา จากนั้นกลับไปนั่ง ณ สถานที่ที่จัดเตรียมไว้สำหรับนาค บิดา มารดา (หรือญาติผู้ใหญ่)มอบผ้าไตรให้นาค นาคคุกเข่ากราบ 3 หน ยื่นแขนประณมมือรับผ้าไตร จากนั้นประณมมือประคองผ้าไตรเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ เมื่อถึงแนวพระสงฆ์ให้คุกเข่าลงแล้วคลานเข่าเข้าไปถวายผ้าไตรนั้นแก่ท่าน รับดอกไม้ ธูปเทียนแพเครื่องสักการะ (มีผู้ส่งให้ข้างหลัง) ถวายพระอุปัชฌาย์ กราบลง 3 หน            พระอุปัชฌาย์มอบผ้าไตรคืนให้ ประณมมือประคองผ้าไตร กล่าวคำขอบรรพชานาคโน้มตัวเข้าไปใกล้ๆพระอุปัชฌาย์เพื่อคล้องผ้าอังสะให้ จากนั้นนั่งพับเพียบลงประณมมือ ตั้งใจฟังโอวาทของพระอุปัชฌาย์
10 แสดงการบรรพชาต่อหน้าพระภิกษุสงฆ์.jpg

ภาพที่ 10 แสดงการบรรพชาต่อหน้าพระภิกษุสง

         5. การอุปสมบท (การบวชพระ)  
             การอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุนี้  มีข้อที่ควรทำความเข้าใจ  คือ ถึงแม้จะบวชเป็นพระภิกษุ แต่ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการบวชเป็นสามเณรก่อนทุกครั้ง ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุต้องขอนิสัยจากพระอุปัชฌาย์ การจะอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ บริขารต้องครบทุกอย่างที่เรียกว่าบริขาร 8 จึงจะสามารถบวชได้ สามเณรรับบาตรจากบิดามารดาที่นำมาประเคนเดินด้วยเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ น้อมบาตรถวายท่าน กราบลง 3 หน แล้วยืนขึ้นกล่าวคำขออุปสมบท 
ภาพที่ 7 แสดงภาพพระใหม่หลังจากผ่านพิธีบวชเรียบร้อยแล้ว.jpg

ภาพที่ 7 แสดงภาพพระใหม่หลังจากผ่านพิธีบวชเรียบร้อยแล้ว

         6. การซักซ้อมอันตริยกธรรม 
             อันตริยกธรรม แปลว่า ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบวช การซักซ้อมอันตริยกธรรม หมายถึง การซักซ้อมสอบถามสิ่งที่เป็นข้อห้ามสำหรับผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ หากมีข้อห้ามเหล่านี้แล้วบวชเป็นภิกษุไม่ได้ ซึ่งผู้ขอบวชจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ ตามความเป็นจริง ท่ามกลางสงฆ์ จากนั้น ฟังสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาเพื่อยกสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด เสร็จแล้วกราบ 3 หน ประนมมือคลานเข่าถอยหลังออกไป พอพ้นพระสงฆ์แล้วลุกขึ้นไปยืนอยู่ที่เดิม ในกรณีที่พระอุปัชฌาย์ไม่บอกอนุศาสน์เอง ท่านจะมอบให้พระคู่สวดเป็นผู้บอกอนุศาสน์ พระคู่สวดเดินตามไปยืนบนอาสนะสวดบอกอนุศาสน์ การสวดบอกอนุสาสน์ท่านจะบอกเป็นภาษาบาลีไว้ก่อนพระใหม่ฟังสวดอนุศาสน์ไปจนจบ เมื่อกลับถึงที่พักแล้ว พระอาจารย์หรือพระพี่เลี้ยงจะแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับอนุศาสน์อีกครั้ง(คำสอนหรือคำชี้แจงที่พระอุปัชฌาย์หรือพระกรรมวาจาจารย์บอกแก่พระภิกษุผู้บวชใหม่หลังจากบวชเสร็จ)

ความสำคัญ

         ประเพณีบวชนาค หรือ อุปสมบทของชายไทยที่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จะต้องบวชเพื่อทดแทนบุญคุณของบิดามารดาและถือเป็นการอบรมบ่มนิสัยให้มีศีลธรรมอันเป็นประเพณีสืบทอดกันมายาวนานตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน ซึ่งในการที่นาคขี่ม้าเป็นการทดสอบจิตใจและความอดทนของนาคโดยตลอด 3-4ชั่วโมง จะมีจังหวะที่นาคจะโดดเด้งไปตามจังหวะเนื่องจากคนแบกม้าโยกม้าไปตามจังหวะ และยังมีความร้อนของแดดเป็นอุปสรรค และม้าที่นาคขี่นั้นยังมีความแข็ง จึงเป็นความลำบากที่ทำให้เจ็บตัวเป็นการทดสอบความอดทนของนาคและทดสอบจิตใจของนาคก่อนเข้าพิธี อีกนัยหนึ่งคือ เพื่อระลึกถึงการออกผนวชขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ทรงสระสิริราชสมบัติออกผนวชโดยการขี่ม้า
         การบวชยังมีกุศโลบาย ที่นำเอาความเชื่อที่ว่า กุศลของการบวชนั้นจะทำให้ พ่อแม่ได้ “เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์”  ทั้งนี้เพราะเมื่อลูกชายไปบวช คนที่เป็นพ่อเป็นแม่ หรือเป็นญาติ ๆ ก็มักจะมีโอกาสได้ทำบุญบ่อยขึ้น เช่น การตักบาตร การเข้าวัดไปถวายเพลพระลูกชาย 
ภาพที่ 8 ส่งนาคเข้าโบสถ์.jpg

ภาพที่ 11 ส่งนาคเข้าโบสถ์

ภาพที่ 9 ฉลองพระใหม่.jpg

ภาพที่ 12 ฉลองพระใหม่

ข้อมูลการสำรวจ

วันเดือนปีที่สำรวจ

         วันที่ 20 เดือน มกราคม พ.ศ.2562

วันปรับปรุงข้อมูล

         วันที่ 26 เดือน มกราคม พ.ศ.2562

ผู้ควบคุมการสำรวจ

         อาจารย์วิษณุเดช  นันไชยแก้ว
         อาจารย์วีรวรรณ  แจ้งโม้
         อาจารย์ชูเกียรติ  เนื้อไม้

ผู้สำรวจข้อมูล

         1. นายวรัญชิต  เขตร์ขัน    
         2. นางสาววราภรณ์  ทันมา
         3. นางสาวลลิตา  ทองดาดาษ 
         4. นางสาวรัมภ์รดา   แหวนพรม